นายวุฒิพงศ์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) เปิดเผยถึงแนวคิดการส่งเสริมการปลูกต้นยูคาลิปตัสบนคันนา ว่า ประเด็นสำคัญคือ การแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน เป็นพลังงานทางเลือก และปลุกกระแสให้คนหันมาเห็นความสำคัญของการปลูกต้นไม้เพื่อช่วยลดภาวะโลกร้อน โดยพันธุ์ไม้ยูคาลิปตัสที่จะส่งเสริมนี้ เป็นพันธุ์ที่มีการผสมและปรับปรุงพันธุ์ในไทย ชื่อว่า พันธุ์เค 51 ซึ่งมีลักษณะเด่นคือ เหมาะสมกับภูมิอากาศในประเทศไทย ลำต้นตรง โตเร็ว น้ำหนักโตเต็มที่ 250 กิโลกรัมต่อต้น หรือจะได้ผลผลิต 5 ตันต่อปีต่อไร่เมื่อปลูกรอบคันนา ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มจากการปลูกข้าวได้ถึง 6,000 บาทต่อปีต่อไร่
นายวุฒิพงศ์ กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ยังไม่พบการปลูกไม้ยูคาลิปตัสพันธุ์นี้อย่างจริงจัง แต่หากได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์แล้ว จะทำให้มีพื้นที่ปลูกได้ถึง 32 ล้านไร่ เฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อนึ่ง ในเร็วๆ นี้จะพาสื่อมวลชนไปดูสถานที่ซึ่งได้ทดลองปลูกไม้ชนิดนี้แล้วว่า สามารถเพิ่มผลผลิตให้เกษตรกรได้อย่างไร รวมทั้งจะเผยแพร่งานวิจัยแก่กระทรวงเกษตรฯ เพื่อบอกเกษตรกร ให้ภาครัฐส่งเสริมกระบวนการรองรับผลผลิต กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ จะทำโรงงานต้นแบบสำหรับผลิตเชื้อเพลิง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้อ้างอิงเอกสารของคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาการตราพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานปลูกไม้เศรษฐกิจ ตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ.2542 ในคณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการพลังงาน วุฒิสภา โดยกล่าวถึงปัญหาผลเสียต่อระบบนิเวศสิ่งแวดล้อมจากการปลูกยูคาลิปตัส ว่า เอกสารดังกล่าวยืนยันว่า ไม้ยูคาลิปตัสไม่ได้ส่งผลเสียตามที่คนทั่วไปเคยเข้าใจ แต่กลับพบว่า ไม้ยูคาลิปตัสให้ประโยชน์ เช่น ช่วยให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น ไม่ทำให้ดินเป็นกรดมากขึ้นแต่อย่างใด นอกจากนี้ ในต่างประเทศยังมีการนำไม้ยูคาลิปตัส ผ่านกรรมวิธีไพโรลิซิส (Pyrolysis) หรือเทคโนโลยีการเผาไหม้ด้วยความร้อนสูงให้เกิดการควบแน่นเพื่อให้ได้ของเหลวที่ใช้แทนเชื้อเพลิงได้ ซึ่งหากเอกชนสนใจ กระทรวงวิทยาศาสตร์ยินดีสนับสนุนด้านวิชาการเพื่อการวิจัยเรื่องนี้ต่อไป
นายวุฒิพงศ์ กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ยังไม่พบการปลูกไม้ยูคาลิปตัสพันธุ์นี้อย่างจริงจัง แต่หากได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์แล้ว จะทำให้มีพื้นที่ปลูกได้ถึง 32 ล้านไร่ เฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อนึ่ง ในเร็วๆ นี้จะพาสื่อมวลชนไปดูสถานที่ซึ่งได้ทดลองปลูกไม้ชนิดนี้แล้วว่า สามารถเพิ่มผลผลิตให้เกษตรกรได้อย่างไร รวมทั้งจะเผยแพร่งานวิจัยแก่กระทรวงเกษตรฯ เพื่อบอกเกษตรกร ให้ภาครัฐส่งเสริมกระบวนการรองรับผลผลิต กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ จะทำโรงงานต้นแบบสำหรับผลิตเชื้อเพลิง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้อ้างอิงเอกสารของคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาการตราพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานปลูกไม้เศรษฐกิจ ตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ.2542 ในคณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการพลังงาน วุฒิสภา โดยกล่าวถึงปัญหาผลเสียต่อระบบนิเวศสิ่งแวดล้อมจากการปลูกยูคาลิปตัส ว่า เอกสารดังกล่าวยืนยันว่า ไม้ยูคาลิปตัสไม่ได้ส่งผลเสียตามที่คนทั่วไปเคยเข้าใจ แต่กลับพบว่า ไม้ยูคาลิปตัสให้ประโยชน์ เช่น ช่วยให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น ไม่ทำให้ดินเป็นกรดมากขึ้นแต่อย่างใด นอกจากนี้ ในต่างประเทศยังมีการนำไม้ยูคาลิปตัส ผ่านกรรมวิธีไพโรลิซิส (Pyrolysis) หรือเทคโนโลยีการเผาไหม้ด้วยความร้อนสูงให้เกิดการควบแน่นเพื่อให้ได้ของเหลวที่ใช้แทนเชื้อเพลิงได้ ซึ่งหากเอกชนสนใจ กระทรวงวิทยาศาสตร์ยินดีสนับสนุนด้านวิชาการเพื่อการวิจัยเรื่องนี้ต่อไป