ศ.ดร.วิรุณ ตั้งเจริญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว ) กล่าวถึงรายชื่อคณะรัฐมนตรีที่จะมานั่งดูแลกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)ซึ่งได้แก่ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และนายบุญลือ ประเสริฐโสภา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ว่า สังคม และประชาชนจะต้องเฝ้าดูการทำงานของบุคคลทั้งคู่ต่อไป ตนไม่อยากเห็นรัฐบาลปล่อยเรื่องการศึกษาของประเทศให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ทำงานอย่างโดดเดี่ยว แต่นายกรัฐมนตรีตลอดถึงทีมคณะรัฐมนตรีทุกคนควรจะได้ร่วมกันทำงานด้านการศึกษาของชาติด้วย เพราะอย่าลืมว่าเรื่องการศึกษานั้นเป็นการแก้ปัญญาอย่างยั่งยืน และเป็นการสร้างชาติ
ศ.ดร.วิรุณ กล่าวด้วยว่า อยากฝากถึงรัฐบาลว่าสาระ และปัญหาของ ศธ. มีหลายเรื่อง จะต้องดูว่าการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาระดับอุดมศึกษาเข้มแข็งมากหรือยัง อยากให้ได้เปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย เวียดนาม เกาหลี ญี่ปุ่น จีน สิงคโปร์ จะหยุดนิ่งอย่างนี้ไม่ได้อีกต่อไปแล้ว ที่ผ่านมาประเทศต่างๆ เรียนรู้ภาษาไทยมากมาย คนญี่ปุ่นเรียนรู้ภาษาไทย คนจีนหันมาเรียนภาษาไทย คนเกาหลี คนเวียดนาม ขณะที่เด็กไทย และคนไทยยังรู้ภาษาที่สองซึ่งไม่ได้หมายถึงภาษาอังกฤษ แต่หมายถึงภาษาของเพื่อนบ้านเรา คนไทยยังไม่สนใจ นโยบายระดับชาติก็ไม่สนใจแล้วเราจะไปแข่งขันในเวทีโลกกับประเทศอื่นๆ ได้อย่างไร อยากเห็นรัฐบาลคิดเรื่องโรงเรียนเฉพาะทางให้มากขึ้น และต้องทำอย่างเป็นจริงเป็นจัง แต่ก็ต้องระวังอย่าให้เด็กเก่งเพียงด้านเดียว การเรียนการสอนต้องจัดให้เด็กที่สนใจในเรื่องเหล่านี้ได้เรียนรู้ด้านอื่นๆ เพื่อให้สมองทั้งสองด้านทำงานอย่างสมดุล
ศ.ดร.วิรุณ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า รัฐบาลต้องมีนโยบายเอาคนเก่งมาเรียนครูให้ได้ ที่ผ่านมาเคยมีการให้ทุนการศึกษาเพียงแค่ 1 รุ่น จากนั้นก็เงียบไป การได้คนเก่งมาเรียนครูจะทำให้เราได้ครูที่เก่ง มีความรู้และที่สำคัญนอกจากเก่งแล้วสถาบันการศึกษาทุกแห่งที่ผลิตครู ต้องเน้นเรื่องจิตวิญญาณความเป็นครูด้วย ซึ่งคนที่เข้าสู่อาชีพนี้ส่วนใหญ่เขาก็ได้รับการปลูกฝังในเรื่องจิตวิญญาณความเป็นครูอยู่แล้ว แต่การที่สังคมคาดหวังกับครูอยากเห็นครูเสียสละ อดทน สอนดีสอนเก่งแล้ว รัฐบาลเองก็ต้องกลับมาดูเรื่องเกียรติ และศักดิ์ศรีที่ครูจะได้รับด้วย เรื่องของรายได้ สวัสดิการต่างๆ หน่วยงานที่ดูแลครูต้องมาทบทวนบทบาทตัวเองว่าได้ทำเรื่องเหล่านี้บ้างแล้วหรือยัง เพราะเมื่อพูดว่าครูต้องรู้จักเสียสละ บางครั้งสังคมก็พูดด้วยความเห็นแก่ตัวมากเกินไป ไม่ได้มองความเป็นจริงใจสังคมว่าครูต้องรับภาระต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะบรรดาครูใน 3 จังหวัดชายแดนใต้
ศ.ดร.วิรุณ กล่าวด้วยว่า อยากฝากถึงรัฐบาลว่าสาระ และปัญหาของ ศธ. มีหลายเรื่อง จะต้องดูว่าการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาระดับอุดมศึกษาเข้มแข็งมากหรือยัง อยากให้ได้เปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย เวียดนาม เกาหลี ญี่ปุ่น จีน สิงคโปร์ จะหยุดนิ่งอย่างนี้ไม่ได้อีกต่อไปแล้ว ที่ผ่านมาประเทศต่างๆ เรียนรู้ภาษาไทยมากมาย คนญี่ปุ่นเรียนรู้ภาษาไทย คนจีนหันมาเรียนภาษาไทย คนเกาหลี คนเวียดนาม ขณะที่เด็กไทย และคนไทยยังรู้ภาษาที่สองซึ่งไม่ได้หมายถึงภาษาอังกฤษ แต่หมายถึงภาษาของเพื่อนบ้านเรา คนไทยยังไม่สนใจ นโยบายระดับชาติก็ไม่สนใจแล้วเราจะไปแข่งขันในเวทีโลกกับประเทศอื่นๆ ได้อย่างไร อยากเห็นรัฐบาลคิดเรื่องโรงเรียนเฉพาะทางให้มากขึ้น และต้องทำอย่างเป็นจริงเป็นจัง แต่ก็ต้องระวังอย่าให้เด็กเก่งเพียงด้านเดียว การเรียนการสอนต้องจัดให้เด็กที่สนใจในเรื่องเหล่านี้ได้เรียนรู้ด้านอื่นๆ เพื่อให้สมองทั้งสองด้านทำงานอย่างสมดุล
ศ.ดร.วิรุณ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า รัฐบาลต้องมีนโยบายเอาคนเก่งมาเรียนครูให้ได้ ที่ผ่านมาเคยมีการให้ทุนการศึกษาเพียงแค่ 1 รุ่น จากนั้นก็เงียบไป การได้คนเก่งมาเรียนครูจะทำให้เราได้ครูที่เก่ง มีความรู้และที่สำคัญนอกจากเก่งแล้วสถาบันการศึกษาทุกแห่งที่ผลิตครู ต้องเน้นเรื่องจิตวิญญาณความเป็นครูด้วย ซึ่งคนที่เข้าสู่อาชีพนี้ส่วนใหญ่เขาก็ได้รับการปลูกฝังในเรื่องจิตวิญญาณความเป็นครูอยู่แล้ว แต่การที่สังคมคาดหวังกับครูอยากเห็นครูเสียสละ อดทน สอนดีสอนเก่งแล้ว รัฐบาลเองก็ต้องกลับมาดูเรื่องเกียรติ และศักดิ์ศรีที่ครูจะได้รับด้วย เรื่องของรายได้ สวัสดิการต่างๆ หน่วยงานที่ดูแลครูต้องมาทบทวนบทบาทตัวเองว่าได้ทำเรื่องเหล่านี้บ้างแล้วหรือยัง เพราะเมื่อพูดว่าครูต้องรู้จักเสียสละ บางครั้งสังคมก็พูดด้วยความเห็นแก่ตัวมากเกินไป ไม่ได้มองความเป็นจริงใจสังคมว่าครูต้องรับภาระต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะบรรดาครูใน 3 จังหวัดชายแดนใต้