ทีมแพทย์จากโรงพยาบาลเด็กในนครซิดนีย์ กล่าวว่า เดมี-ลี เบรนแนน ได้เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนตับขณะมีอายุได้ 9 ขวบ หลังป่วยหนักจากภาวะตับล้มเหลว ซึ่งปรากฎว่า 9 เดือนต่อมา แพทย์พบว่า เบรนแนนได้สับเปลี่ยนกรุ๊ปเลือดและระบบภูมิคุ้มกันไปเป็นกรุ๊ปเลือดและระบบภูมิคุ้มกันซึ่งเคยเป็นของผู้บริจาคอวัยวะ หลังจากเซลล์ต้นกำเนิดของตับชิ้นใหม่ได้เจริญเติบโตในไขกระดูกของเธอ
ไมเคิล สตอร์มอน แพทย์โรคตับซึ่งให้การรักษาเบรนแนน กล่าวว่า ขณะนี้เบรนแนนมีอายุได้ 15 ปี และมีสุขภาพแข็งแรงดี ซึ่งก่อนหน้านี้เขาได้นำปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับเบรนแนนไปเสนอในการประชุมตามประเทศต่างๆ ทั่วโลก แต่ก็ยังไม่พบกรณีใดที่เหมือนกับเบรนแนนมาก่อน
“มันเป็นเรื่องที่แปลกมาก ที่จริงแล้วเราไม่รู้ว่าในวงการแพทย์เคยเกิดกรณีดังกล่าวมาก่อนหรือไม่ ซึ่งผลจากการผ่าตัดครั้งนี้ไม่ต่างกับการผ่าตัดเปลี่ยนไขกระดูก เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของเบรนแนนได้เปลี่ยนไปเป็นระบบภูมิคุ้มกันของผู้บริจาคอวัยวะเกือบทั้งหมด” แพทย์คนเดิมกล่าว
สตอร์มอน กล่าวด้วยว่า กรณีที่เกิดขึ้นถือเป็นความโชคดีที่ร่างกายของเบรนแนนและอวัยวะที่ได้รับบริจาคสามารถเข้ากันได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อันได้แก่ ชนิดของอาการตับล้มเหลว การติดเชื้อไวรัสหลังการผ่าตัด และการใช้ยากดภูมิคุ้มกัน ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของเธออ่อนแอลง ก่อนที่เซลล์ต้นกำเนิดของตับชิ้นใหม่มีโอกาสเติบโตในไขกระดูกของเธอในที่สุด
อย่างไรก็ตามคำถามของทีมแพทย์ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ก็คือ ผลลัพธ์ดังกล่าวจะสามารถเกิดขึ้นกับผู้ป่วยรายอื่นที่เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนถ่ายอวัยวะหรือไม่ โดยเฉพาะในกรณีที่ระบบภูมิคุ้มกันเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ร่างกายของผู้ป่วยไม่สามารถรับอวัยวะที่ได้รับบริจาคได้
ด้านเคอร์รี มิลล์ส แม่ของเบรนแนน ได้กล่าวภายหลังลูกสาวหายจากอาการป่วยว่า เรื่องที่เกิดขึ้นถือเป็นปาฏิหาริย์สำหรับครอบครัวของเธอ
ขณะที่ตัวเบรนแนนเอง ซึ่งขณะนี้เป็นเพียงผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาล กล่าวด้วยความดีใจว่า “หนูไม่รู้จะขอบคุณหมออย่างไร มันเหมือนกับหนูได้กลับมามีชีวิตใหม่อีกครั้ง”
ทั้งนี้บทความเกี่ยวกับการผ่าตัดของเบรนแนนได้ถูกนำไปตีพิมพ์ลงในวารสารเดอะ นิว อิงแลนด์ เจอร์นัล ออฟ เมดิซีน ฉบับวันพฤหัสบดี (24) ที่ผ่านมา
ไมเคิล สตอร์มอน แพทย์โรคตับซึ่งให้การรักษาเบรนแนน กล่าวว่า ขณะนี้เบรนแนนมีอายุได้ 15 ปี และมีสุขภาพแข็งแรงดี ซึ่งก่อนหน้านี้เขาได้นำปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับเบรนแนนไปเสนอในการประชุมตามประเทศต่างๆ ทั่วโลก แต่ก็ยังไม่พบกรณีใดที่เหมือนกับเบรนแนนมาก่อน
“มันเป็นเรื่องที่แปลกมาก ที่จริงแล้วเราไม่รู้ว่าในวงการแพทย์เคยเกิดกรณีดังกล่าวมาก่อนหรือไม่ ซึ่งผลจากการผ่าตัดครั้งนี้ไม่ต่างกับการผ่าตัดเปลี่ยนไขกระดูก เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของเบรนแนนได้เปลี่ยนไปเป็นระบบภูมิคุ้มกันของผู้บริจาคอวัยวะเกือบทั้งหมด” แพทย์คนเดิมกล่าว
สตอร์มอน กล่าวด้วยว่า กรณีที่เกิดขึ้นถือเป็นความโชคดีที่ร่างกายของเบรนแนนและอวัยวะที่ได้รับบริจาคสามารถเข้ากันได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อันได้แก่ ชนิดของอาการตับล้มเหลว การติดเชื้อไวรัสหลังการผ่าตัด และการใช้ยากดภูมิคุ้มกัน ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของเธออ่อนแอลง ก่อนที่เซลล์ต้นกำเนิดของตับชิ้นใหม่มีโอกาสเติบโตในไขกระดูกของเธอในที่สุด
อย่างไรก็ตามคำถามของทีมแพทย์ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ก็คือ ผลลัพธ์ดังกล่าวจะสามารถเกิดขึ้นกับผู้ป่วยรายอื่นที่เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนถ่ายอวัยวะหรือไม่ โดยเฉพาะในกรณีที่ระบบภูมิคุ้มกันเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ร่างกายของผู้ป่วยไม่สามารถรับอวัยวะที่ได้รับบริจาคได้
ด้านเคอร์รี มิลล์ส แม่ของเบรนแนน ได้กล่าวภายหลังลูกสาวหายจากอาการป่วยว่า เรื่องที่เกิดขึ้นถือเป็นปาฏิหาริย์สำหรับครอบครัวของเธอ
ขณะที่ตัวเบรนแนนเอง ซึ่งขณะนี้เป็นเพียงผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาล กล่าวด้วยความดีใจว่า “หนูไม่รู้จะขอบคุณหมออย่างไร มันเหมือนกับหนูได้กลับมามีชีวิตใหม่อีกครั้ง”
ทั้งนี้บทความเกี่ยวกับการผ่าตัดของเบรนแนนได้ถูกนำไปตีพิมพ์ลงในวารสารเดอะ นิว อิงแลนด์ เจอร์นัล ออฟ เมดิซีน ฉบับวันพฤหัสบดี (24) ที่ผ่านมา