ภายหลังคณะกรรมการนโยบายชั่วคราวองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ไทยพีบีเอส) ประกอบด้วย นายขวัญสรวง อติโพธิ ประธานคณะกรรมการชั่วคราว ไทยพีบีเอส นายเทพชัย หย่อง รักษาการผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส รศ.ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์ นายอภิชาติ ทองอยู่ และ รศ.ณรงค์ ใจหาญ กรรมการชั่วคราวไทยพีบีเอส ร่วมประชุมเพื่อวางกรอบนโยบาย โครงสร้างสถานี และผังรายการ ที่โรงแรมโรสการ์เด้น สวนสามพราน จังหวัดนครปฐม ตั้งแต่เมื่อวานนี้ นายเทพชัย กล่าวว่า ที่ประชุมได้ข้อยุติเรื่องของผังรายการในเฟสแรกที่จะเปิดสถานีอย่างเป็นทางการ วันที่ 1 กุมภาพันธ์นี้ โดยให้น้ำหนักในการออกอากาศช่วงค่ำก่อน เริ่มตั้งแต่เวลา 18.00-24.00 น. เพราะถือว่าเป็นช่วงเวลาที่มีคนดูเยอะที่สุด โดยจะเป็นรายการสำหรับเด็กและเยาวชน ต่อด้วยข่าวภาคค่ำ รายการวิเคราะห์ข่าวต่างประเทศ สารคดี และสุดท้าย อาจเป็นภาพยนตร์ หรือหนังสั้นที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม แต่ไม่เคยได้รับพื้นที่ในการออกอากาศในสถานีโทรทัศน์ทั่วไป
ส่วนผังรายการในช่วงอื่น คณะกรรมการเห็นตรงกันว่า จะเริ่มในเฟสที่ 2 เนื่องมาจากความไม่พร้อมที่คณะกรรมการมีเวลาเตรียมตัวน้อยเกินไป จึงคิดทำในส่วนที่ดีที่สุดก่อน และเป็นคำอธิบายว่าทำไมช่วงแรกถึงมีการรับพนักงานแค่ 150 คน แต่หากพ้นในช่วง 1-2 เดือนนี้ จะมีการรับพนักงานเพิ่ม เพื่อขยายเวลาในการออกอากาศจนครบ 24 ชั่วโมง ทั้งนี้ โครงสร้างการบริหารงานจะแบ่งออกเป็น 5 ส่วน คือ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายข่าว ฝ่ายรายการ ฝ่ายผลิต และฝ่ายวิศวกรรม และอาจมีการตั้งฝ่ายสาธารณะสัมพันธ์ ขึ้นในภายหลัง
นายเทพชัย กล่าวด้วยว่า สิ่งที่เร่งด่วนที่สุดในตอนนี้ เรื่องของการถ่ายโอนทรัพย์สิน และพันธะต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะจัดการ เพราะทรัพย์สินของบริษัททีไอทีวีมีอยู่ทั่วประเทศ อาจต้องใช้ระยะเวลา อาจจะเป็น 1 หรือ 2 เดือน โดยจะมีการตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาพิจารณาว่าจะทำอย่างไรกับทรัพย์สินเหล่านั้น
ด้านนายขวัญสรวง กล่าวว่า การที่คณะกรรมการนโยบายชั่วคราวฯ จัดรายการลักษณะนี้ ถือเป็นการถามไถ่ หรือลองให้ชิม เพื่อรับฟังความคิดเห็นของชาวบ้านว่ารูปแบบและผังรายการลักษณะนี้จะใช้ได้หรือไม่ ก่อนจะมีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับการต้องการของประชาชน ถือเป็นครั้งแรกที่มีการเปิดกว้างและรับฟังความเห็นของประชาชน และตรงกับเจตนารมณ์ของทีวีสาธารณะ
สำหรับสภาผู้ชมที่จะเข้ามาตรวจสอบการทำงานของผู้บริหารและคณะกรรมการนโยบายนั้น อยู่ในระหว่างการดำเนินการ ที่จะเข้าไปพบกับตัวแทนจากกลุ่มต่างๆ ก่อนคัดเลือกคนเหล่านั้น เป็นตัวแทนของผู้ชมทั้งประเทศ ซึ่งช่วงแรกอาจจะมีแค่ 10 คน ก่อน เพราะตามกฎหมายระบุว่าต้องมีสภาผู้ชม แต่ไม่เกิน 50 คน ซึ่งในวันพรุ่งนี้ (21 ม.ค.) เวลา 10.00 น. คณะกรรมการทั้ง 5 คน จะไปตรวจสอบสถานที่ และเครื่องมือที่อาคารชินวัตร 3 เพื่อใช้ในการออกอากาศ ก่อนที่เวลา 13.30 น. จะร่วมประชุมกับตัวแทนภาคประชาชนจากองค์กรคุ้มครองผู้บริโภค ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
ส่วนผังรายการในช่วงอื่น คณะกรรมการเห็นตรงกันว่า จะเริ่มในเฟสที่ 2 เนื่องมาจากความไม่พร้อมที่คณะกรรมการมีเวลาเตรียมตัวน้อยเกินไป จึงคิดทำในส่วนที่ดีที่สุดก่อน และเป็นคำอธิบายว่าทำไมช่วงแรกถึงมีการรับพนักงานแค่ 150 คน แต่หากพ้นในช่วง 1-2 เดือนนี้ จะมีการรับพนักงานเพิ่ม เพื่อขยายเวลาในการออกอากาศจนครบ 24 ชั่วโมง ทั้งนี้ โครงสร้างการบริหารงานจะแบ่งออกเป็น 5 ส่วน คือ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายข่าว ฝ่ายรายการ ฝ่ายผลิต และฝ่ายวิศวกรรม และอาจมีการตั้งฝ่ายสาธารณะสัมพันธ์ ขึ้นในภายหลัง
นายเทพชัย กล่าวด้วยว่า สิ่งที่เร่งด่วนที่สุดในตอนนี้ เรื่องของการถ่ายโอนทรัพย์สิน และพันธะต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะจัดการ เพราะทรัพย์สินของบริษัททีไอทีวีมีอยู่ทั่วประเทศ อาจต้องใช้ระยะเวลา อาจจะเป็น 1 หรือ 2 เดือน โดยจะมีการตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาพิจารณาว่าจะทำอย่างไรกับทรัพย์สินเหล่านั้น
ด้านนายขวัญสรวง กล่าวว่า การที่คณะกรรมการนโยบายชั่วคราวฯ จัดรายการลักษณะนี้ ถือเป็นการถามไถ่ หรือลองให้ชิม เพื่อรับฟังความคิดเห็นของชาวบ้านว่ารูปแบบและผังรายการลักษณะนี้จะใช้ได้หรือไม่ ก่อนจะมีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับการต้องการของประชาชน ถือเป็นครั้งแรกที่มีการเปิดกว้างและรับฟังความเห็นของประชาชน และตรงกับเจตนารมณ์ของทีวีสาธารณะ
สำหรับสภาผู้ชมที่จะเข้ามาตรวจสอบการทำงานของผู้บริหารและคณะกรรมการนโยบายนั้น อยู่ในระหว่างการดำเนินการ ที่จะเข้าไปพบกับตัวแทนจากกลุ่มต่างๆ ก่อนคัดเลือกคนเหล่านั้น เป็นตัวแทนของผู้ชมทั้งประเทศ ซึ่งช่วงแรกอาจจะมีแค่ 10 คน ก่อน เพราะตามกฎหมายระบุว่าต้องมีสภาผู้ชม แต่ไม่เกิน 50 คน ซึ่งในวันพรุ่งนี้ (21 ม.ค.) เวลา 10.00 น. คณะกรรมการทั้ง 5 คน จะไปตรวจสอบสถานที่ และเครื่องมือที่อาคารชินวัตร 3 เพื่อใช้ในการออกอากาศ ก่อนที่เวลา 13.30 น. จะร่วมประชุมกับตัวแทนภาคประชาชนจากองค์กรคุ้มครองผู้บริโภค ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย