นางสุจินดา เชิดชัย นายกสมาคมผู้ประกอบการรถยนต์โดยสาร เปิดเผยภายหลังการยื่นหนังสือเรื่องการขออนุมัติให้ปรับเพิ่มอัตราค่าโดยสารต่อนายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ว่า เนื่องจากราคาน้ำมันได้เพิ่มสูงขึ้นมาโดยตลอด ทำให้ผู้ประกอบการเดินรถโดยสารประจำทางได้รับความเดือดร้อน ทางสมาคมฯ จึงทำหนังสือให้กระทรวงคมนาคมพิจารณา ประกอบด้วย 1. ปรับขึ้นอัตราค่าโดยสาร 9 สตางค์/กม. เพราะนอกจากราคาค่าน้ำมันจะสูงขึ้น ค่าอะไหล่ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ยังขึ้นราคาอย่างต่อเนื่อง 2. ขอให้อนุมัติลดเที่ยววิ่งทั้งขาขึ้นและขาล่องร้อยละ 30 ของเที่ยววิ่งจริง และให้สามารถรวมเที่ยววิ่งได้ แต่เที่ยววิ่งสุดท้ายให้ยังคงเดิมไว้ รวมถึงให้บริษัท ขนส่ง จำกัด หรือ บขส. ให้พื้นที่กับรถร่วมฯ ในการจัดทำห้องรับรองผู้โดยสาร โดยทางรถร่วมฯ จะเป็นผู้ดำเนินการเองเพื่อรองรับผู้โดยสารที่ต้องรอขึ้นรถกรณีที่เที่ยววิ่งที่จองตั๋วไว้ไม่มีผู้โดยสารมากพอ ทำให้ต้องรอขึ้นรถเที่ยวต่อไป ซึ่งจะเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้โดยสารอีกทางหนึ่ง 3. ขอให้นิรโทษกรรมด้วยการลดหนี้อันเกิดจากรถร่วมฯ กระทำผิดโดยไม่เจตนา หรือปัญหาที่ไม่สามารถหาเอกสารมาประกอบเรื่องได้ เช่น เอกสารเกี่ยวกับการโอนรถ หรือเอกสารการเกิดอุบัติเหตุ โดยให้คิดค่าปรับเพียงร้อยละ 30 ของโทษจริง จนกว่าจะพ้นวิกฤตไปแล้ว 4. กรณีจะสั่งลงโทษเจ้าของรถต้องเลิกสัญญา ขอให้แจ้งเจ้าของรถเพื่อเจรจาสอบสวนก่อนจะลงโทษเป็นลายลักษณ์อักษร 5. กรณีที่รถคันใดไม่วิ่งเพราะไม่มีผู้โดยสาร ขอให้แจ้งหรือขอพักรถไว้ก่อน 1 ปีเป็นการชั่วคราว และขออนุญาตให้ต่อสัญญาประจำปีได้โดยไม่ต้องใช้เอกสารประกอบ นอกจากเล่มทะเบียนเท่านั้น 6. การเก็บเงินค่าบำรุงจากเจ้าของรถในกรณีเพิ่มรถใหม่ หรือปรับสภาพรถให้อยู่ในมาตรฐาน หมวด 1 ก ข ค หมวด 4 ก ข ค และหมวด 2 ข ค ซึ่งเดิมคิดสูตรไว้แพงมาก เพราะขณะนั้นภาวะเศรษฐกิจยังดีอยู่ แต่ปัจจุบันนี้เกิดภาวะวิกฤต โดยเฉพาะเรื่องน้ำมัน จึงขอให้ปรับลดการคิดค่าบำรุงเสียใหม่ เพื่อเจ้าของรถจะได้มีการปรับปรุงและเพิ่มรถมากขึ้น เพื่อที่ บขส.จะได้มีรถดี ๆ มาบริการประชาชนเพิ่มมากขึ้น และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ซึ่งบางคันเก็บถึง 1,100,000 บาทเศษ ควรที่จะอยู่ในระดับไม่เกิน 400,000 บาท สำหรับรถ ม.4 250,000 บาท สำหรับรถ ม.1 และ 150,000 บาท สำหรับรถ ม.2 และขอผ่อนชำระได้โดยไม่ต้องเสียดอกเบี้ย
7. กรณีการแก้ปัญหารถตู้ผิดกฎหมาย ให้ปรับสภาพรถคันใหญ่เป็นคันเล็กอัตรา 1 ต่อ 3 คันนั้น ขอให้ยกเว้นค่าบำรุง ขอให้คิดค่าขาลดลงในอัตรา 1 คน ต่อ 1 วัน ไม่ใช่ต่อ 1 เที่ยววิ่ง และให้แก้ไขเส้นทางสัมปทานคือ ให้รถนั้นวิ่งเวียนในตัวเมืองได้ 8. กรณีต่อสัญญารถร่วมประจำปีให้ยึดถือวันที่ 31 ธ.ค.ของทุกปี ขอให้ต่อสัญญาปีละ 1 ครั้งและให้ต่อสัญญาล่วงหนาได้ 90 วันก่อนสิ้นปี และให้ต่อสัญญาได้ครั้งละ 1-3 ปีตามความสมัครใจของผู้ประกอบการ และรถที่เพิ่มใหม่ในระหว่างปีให้คิดเป็นถึงสิ้นปี 9. ให้ยกเว้นไม่เก็บค่าขาจากรถทุกเส้นทางที่ขาดทุนจนกว่าจะผ่านวิกฤติ โดยให้ตั้งคณะกรรมการ 1 ชุดขึ้นมาดูแล และ 10. สมาคมจะจัดให้มีการเอาประกันชีวิตของผู้โดยสารเพื่อคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถโดยสารรถร่วม บขส.ในวงเงินคุ้มครองที่นั่งละ 1 ล้านบาท โดยผู้โดยสารจะต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยสำหรับรถที่วิ่งในระยะทาง 1-300 กิโลเมตร อัตราเบี้ยประกัน 5 บาท ระยะทาง 300-600 กิโลเมตร เบี้ยประกัน 10 บาท ระยะทาง 600-900 บาท เบี้ยประกัน 15 บาท และ 900-1,200 กิโลเมตร เบี้ยประกัน 20 บาท ส่วนผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจะได้รับวงเงินชดเชยค่ารักษาพยาบาล 50,000 บาท ซึ่งทั้งสองกรณีจะได้รับการชดเชยไม่เกิน 7 วัน ซึ่งวิธีการดังกล่าวจะช่วยให้ผู้โดยสารมั่นใจในการเดินทางกับรถร่วมฯ มากขึ้น เพราะที่ผ่านมาหลังเกิดอุบัติเหตุขึ้นจะต้องเสียเวลาในการฟ้องร้องกันทำให้เสียเวลากันทั้งสองฝ่าย
นอกจากนี้นางสุจินดา ยังกล่าวต่อว่า หากทางกระทรวงคมนาคมไม่อนุมัติตนจะดำเนินการฟ้องร้องไปยังศาลปกครองเพื่อให้ดำเนินการตามกฎหมายต่อไป เพราะเห็นว่าผู้ประกอบการรถยนต์โดยสารในปัจจุบันประสบปัญหาการขาดทุนมานาน ที่สำคัญยังพบว่ามีผู้ประกอบการรายย่อยจำนวนมากที่ทยอยปิดตัว เพราะทนรับสภาพขาดทุนไม่ไหว เช่นสายกรุงเทพฯ-ผักไห่ และกรุงเทพฯ-จปร. ได้ยกเลิกเดินรถไปแล้ว และต่อไปมีแนวโน้มว่าจะเหลือเพียงกิจการเดินรถโดยสารของรายใหญ่เท่านั้นที่ยังสามารถดำเนินการต่อไปได้ ดังนั้น กระทรวงคมนาคมจึงต้องเร่งเข้ามาแก้ปัญหาให้อย่างเร่งด่วน
7. กรณีการแก้ปัญหารถตู้ผิดกฎหมาย ให้ปรับสภาพรถคันใหญ่เป็นคันเล็กอัตรา 1 ต่อ 3 คันนั้น ขอให้ยกเว้นค่าบำรุง ขอให้คิดค่าขาลดลงในอัตรา 1 คน ต่อ 1 วัน ไม่ใช่ต่อ 1 เที่ยววิ่ง และให้แก้ไขเส้นทางสัมปทานคือ ให้รถนั้นวิ่งเวียนในตัวเมืองได้ 8. กรณีต่อสัญญารถร่วมประจำปีให้ยึดถือวันที่ 31 ธ.ค.ของทุกปี ขอให้ต่อสัญญาปีละ 1 ครั้งและให้ต่อสัญญาล่วงหนาได้ 90 วันก่อนสิ้นปี และให้ต่อสัญญาได้ครั้งละ 1-3 ปีตามความสมัครใจของผู้ประกอบการ และรถที่เพิ่มใหม่ในระหว่างปีให้คิดเป็นถึงสิ้นปี 9. ให้ยกเว้นไม่เก็บค่าขาจากรถทุกเส้นทางที่ขาดทุนจนกว่าจะผ่านวิกฤติ โดยให้ตั้งคณะกรรมการ 1 ชุดขึ้นมาดูแล และ 10. สมาคมจะจัดให้มีการเอาประกันชีวิตของผู้โดยสารเพื่อคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถโดยสารรถร่วม บขส.ในวงเงินคุ้มครองที่นั่งละ 1 ล้านบาท โดยผู้โดยสารจะต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยสำหรับรถที่วิ่งในระยะทาง 1-300 กิโลเมตร อัตราเบี้ยประกัน 5 บาท ระยะทาง 300-600 กิโลเมตร เบี้ยประกัน 10 บาท ระยะทาง 600-900 บาท เบี้ยประกัน 15 บาท และ 900-1,200 กิโลเมตร เบี้ยประกัน 20 บาท ส่วนผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจะได้รับวงเงินชดเชยค่ารักษาพยาบาล 50,000 บาท ซึ่งทั้งสองกรณีจะได้รับการชดเชยไม่เกิน 7 วัน ซึ่งวิธีการดังกล่าวจะช่วยให้ผู้โดยสารมั่นใจในการเดินทางกับรถร่วมฯ มากขึ้น เพราะที่ผ่านมาหลังเกิดอุบัติเหตุขึ้นจะต้องเสียเวลาในการฟ้องร้องกันทำให้เสียเวลากันทั้งสองฝ่าย
นอกจากนี้นางสุจินดา ยังกล่าวต่อว่า หากทางกระทรวงคมนาคมไม่อนุมัติตนจะดำเนินการฟ้องร้องไปยังศาลปกครองเพื่อให้ดำเนินการตามกฎหมายต่อไป เพราะเห็นว่าผู้ประกอบการรถยนต์โดยสารในปัจจุบันประสบปัญหาการขาดทุนมานาน ที่สำคัญยังพบว่ามีผู้ประกอบการรายย่อยจำนวนมากที่ทยอยปิดตัว เพราะทนรับสภาพขาดทุนไม่ไหว เช่นสายกรุงเทพฯ-ผักไห่ และกรุงเทพฯ-จปร. ได้ยกเลิกเดินรถไปแล้ว และต่อไปมีแนวโน้มว่าจะเหลือเพียงกิจการเดินรถโดยสารของรายใหญ่เท่านั้นที่ยังสามารถดำเนินการต่อไปได้ ดังนั้น กระทรวงคมนาคมจึงต้องเร่งเข้ามาแก้ปัญหาให้อย่างเร่งด่วน