แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สคช.) เปิดเผยว่า นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการ สศช. เตรียมหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อขอทราบปัจจัยที่ทำให้เกิดความผันผวนของเงินบาทที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่อง เพื่อมาประเมินว่าต้องปรับจีดีพี ปี 51 ใหม่หรือไม่ จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ร้อยละ 4 - 5 โดยเบื้องต้นคาดว่าปัจจัยหลักมาจาก 3 กรณี คือ เงินดอลลาร์อ่อนค่า เงินทุนต่างประเทศไหลเข้าไทยเพื่อเตรียมลงทุนหลังจากที่มีรัฐบาลชุดใหม่ และผู้ส่งออกไทยขายเทเงินดอลลาร์จำนวนมาก
สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่ สศช. และคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนรวมเป็นห่วงคือ ความผันผวนของราคาน้ำมัน อัตราแลกเปลี่ยน ความไม่แน่นอนจากการเมือง และเศรษฐกิจของโลก ซึ่งหากมีความผันผวนมากจะกระทบดัชนีต่างๆ ที่ประเมินไว้ในปี 51 เช่น การลงทุนรวมคาดว่าขยายตัวร้อยละ 5.8 การบริโภครวมร้อยละ 4.5 การส่งออก 163.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 10 นำเข้ามูลค่า 155.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 12.5 เกินดุลการค้า 7.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 9.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เงินเฟ้อร้อยละ 3 - 3.5 และอัตราการว่างงานร้อยละ 1.5
สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่ สศช. และคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนรวมเป็นห่วงคือ ความผันผวนของราคาน้ำมัน อัตราแลกเปลี่ยน ความไม่แน่นอนจากการเมือง และเศรษฐกิจของโลก ซึ่งหากมีความผันผวนมากจะกระทบดัชนีต่างๆ ที่ประเมินไว้ในปี 51 เช่น การลงทุนรวมคาดว่าขยายตัวร้อยละ 5.8 การบริโภครวมร้อยละ 4.5 การส่งออก 163.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 10 นำเข้ามูลค่า 155.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 12.5 เกินดุลการค้า 7.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 9.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เงินเฟ้อร้อยละ 3 - 3.5 และอัตราการว่างงานร้อยละ 1.5