นายสุทธิพงษ์ เทพพิทักษ์ รองผู้ว่าการนโยบายและแผน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในประเทศไทยมีศักยภาพการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำได้มากกว่า 2,000 เมกะวัตต์ ทั้งเขื่อนในภาคเหนือ ภาคกลาง และ ภาคใต้ แต่ต้องทำความเข้าใจกับประชาชนให้ชัดเจนถึงประโยชน์ของเขื่อน เทียบได้กับแหล่งน้ำมันในประเทศ เมื่อย้อนมองหลายเขื่อน เช่น เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ จะเห็นได้ว่า มีประโยชน์ทั้งการผลิตไฟฟ้าที่ต้นทุนต่ำมาก ด้านการเกษตร และช่วยป้องกันน้ำท่วม ขณะที่ประชาชนรอบพื้นที่เขื่อนก็ได้ประโยชน์ตามโครงการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่อีกด้วย
รองผู้ว่าการ กฟผ.กล่าวเพิ่มเติมว่าโครงการสร้างเขื่อน ในช่วงแรกแม้จะมีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ต้องอพยพชาวบ้านที่อยู่รอบพื้นที่ แต่หากทำโครงการรองรับที่ดี ก็ย่อมผ่อนคลายผลกระทบได้ และผลประโยชน์จะอยู่กับประเทศไทยได้ยาวนาน แม้อีก 40-50 ปีน้ำมันจะหมด หรือถ่านหินจะมีราคาแพงขึ้น แต่น้ำก็จะยัง ไม่หมดไปจากโลกนี้ หากไทยมีเขื่อนเพิ่มขึ้นก็น่าจะเปรียบเทียบได้กับมีบ่อน้ำมันเพิ่มขึ้น
ปัจจุบัน ศักยภาพการสร้างเขื่อนที่มีการศึกษาเบื้องต้นมีหลายโครงการ เช่น เขื่อนแม่ปาย จ.แม่ฮ่องสอน 208 เมกวัตต์ เขื่อนสายบุรี 56 เมกะวัตต์ เขื่อนแก่งกรุง 80 เมกะวัตต์ และยังมีโครงการอื่นๆ อีก เช่น โขงชีมูล แก่งเสือเต้น เป็นต้น
รองผู้ว่าการ กฟผ.กล่าวเพิ่มเติมว่าโครงการสร้างเขื่อน ในช่วงแรกแม้จะมีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ต้องอพยพชาวบ้านที่อยู่รอบพื้นที่ แต่หากทำโครงการรองรับที่ดี ก็ย่อมผ่อนคลายผลกระทบได้ และผลประโยชน์จะอยู่กับประเทศไทยได้ยาวนาน แม้อีก 40-50 ปีน้ำมันจะหมด หรือถ่านหินจะมีราคาแพงขึ้น แต่น้ำก็จะยัง ไม่หมดไปจากโลกนี้ หากไทยมีเขื่อนเพิ่มขึ้นก็น่าจะเปรียบเทียบได้กับมีบ่อน้ำมันเพิ่มขึ้น
ปัจจุบัน ศักยภาพการสร้างเขื่อนที่มีการศึกษาเบื้องต้นมีหลายโครงการ เช่น เขื่อนแม่ปาย จ.แม่ฮ่องสอน 208 เมกวัตต์ เขื่อนสายบุรี 56 เมกะวัตต์ เขื่อนแก่งกรุง 80 เมกะวัตต์ และยังมีโครงการอื่นๆ อีก เช่น โขงชีมูล แก่งเสือเต้น เป็นต้น