xs
xsm
sm
md
lg

เยือน “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย” ชม 10 ไฮไลต์วัตถุโบราณ แห่งดินแดนอีสานตอนล่าง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย
ใครที่ชื่นชอบสถานที่ท่องเที่ยวโบราณสถาน หรือชอบเรื่องราวทางประวัติศาสตร์แล้วล่ะก็ เราขอพาไปที่โคราชเมืองย่าโม ชม “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย” จังหวัดนครราชสีมา แหล่งจัดแสดงเรื่องราวด้านประวัติศาสตร์ดินแดนอีสานตอนล่างให้ทุกคนได้รู้จักกัน

ปัจจุบัน “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย” เป็นแหล่งรวบรวมองค์ความรู้ด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี โดยเก็บรวบรวมหลักฐานโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับรากฐาน และพัฒนาการของวัฒนธรรมอีสานในอดีต ที่เจริญรุ่งเรืองในพื้นที่อีสานตอนล่าง แถบลุ่มแม่น้ำมูลถึงแม่น้ำชี ในจังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิและบุรีรัมย์ ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อประมาณ 3,000 ปีมาแล้วจนถึงสมัยปัจจุบัน

โดยภายใน “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย” ได้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 อาคารจัดแสดงชั้นบน จัดแสดงเรื่องพัฒนาการของสังคมในดินแดนอีสานตอนล่าง ส่วนที่ 2 อาคารชั้นล่าง จัดแสดงโบราณวัตถุศิลปะเขมรในอีสานตอนล่าง ส่วนที่ 3 อาคารโถง จัดแสดงโบราณวัตถุซึ่งเป็นส่วนประกอบสถาปัตยกรรมหินทราย เช่น ทับหลัง เสาประดับกรอบประตู กลีบขนุน บัวยอดปราสาท เป็นต้น

โบราณวัตถุที่ถูกเก็บรวบรวมและนำมาจัดแสดงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมายมีอยู่มากมาย และยังมีมีสิ่งที่น่าสนใจอยู่หลายชิ้นด้วยกัน ครั้งนี้จึงขอหยิบยก 10 ไฮไลต์ที่เมื่อมาเยือนแล้วไม่ควรพลาด ได้แก่

พระเจ้าชัยวรมันที่ 7
พระเจ้าชัยวรมันที่ 7
พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ศิลปะลพบุรี พุทธศตวรรษที่ 18 เป็นประติมากรรมรูปเคารพ ความสูงนับรวมฐานประมาณ 1.4 เมตร มีลักษณะเป็นศิลปะขอมแบบบายน อายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 พบที่ปราสาทหินพิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา บริเวณภายในปรางค์พรหมทัต

ภาชนะดินเผาแบบพิมายดำ
ภาชนะดินเผาแบบพิมายดำ
ภาชนะดินเผาแบบพิมายดำ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ อายุประมาณ 2,500 - 1,500 ปีมาแล้ว พบที่แหล่งโบราณคดีบ้านส่วย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา มีลักษณะเป็นภาชนะสีดำซึ่งเกิดจากการรมดำ ผิวภาชนะตกแต่งด้วยการขัดมันเป็นเส้น โดยในพื้นที่บริเวณอำเภอพิมาย โดยเฉพาะในแหล่งโบราณคดีบ้านสวย ได้พบหลักฐานเป็นภาชนะสีดำผิวภาชนะตกแต่งด้วยการขัดมัน ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีการพบภาชนะลักษณะดังกล่าว จึงเรียกภาชนะรูปแบบนี้ว่า ภาชนะดินเผาแบบพิมายดำ เนื่องจากมีสีดำตลอดทั้งใบ และพบที่พิมายเป็นแห่งแรก

จารึกบ่ออีกา
จารึกบ่ออีกา
จารึกบ่ออีกา ศิลปะทวารวดี พุทธศักราช 1411 อักษรหลังปัลลวะ ภาษาสันสกฤตและเขมร พบที่บ้านบ่ออีกา อำเภอสูงเนินจังหวัดนครราชสีมา มีลักษณะเป็นหินทรายสีแดง ชำรุดแตกออกเป็น 2 ชิ้น

ทับหลังสลัก ภาพพุทธประวัติ ตอนมารผจญ
ทับหลังสลัก ภาพพุทธประวัติ ตอนมารผจญ
ทับหลังสลัก ภาพพุทธประวัติ ตอนมารผจญ ศิลปะลพบุรี อายุราวพุทธศตวรรษที่ 17 พบที่ปราสาทพิมาย อำเภอพิมายจังหวัดนครราชสีมา ลักษณะเป็นหินทรายสีขาว กว้าง 94 เซนติเมตร ยาว 280 เซนติเมตร หนา 30 เซนติเมตร สภาพชำรุด ภาพสลักลบเลือน นำมาจากปรางค์ประธาน ปราสาทพิมาย

ทับหลังสลักภาพนารายณ์อวตาร ปางวามนาวตาร วิษณุตรีวิกรม
ทับหลังสลักภาพนารายณ์อวตาร ปางวามนาวตาร วิษณุตรีวิกรม
ทับหลังสลักภาพนารายณ์อวตาร ปางวามนาวตาร วิษณุตรีวิกรม ศิลปะลพบุรี อายุราวพุทธศตวรรษที่ 15 พบที่ปราสาทเมืองแขก อำเภอสูงเนิน

พระพุทธรูปนาคปรก
พระพุทธรูปนาคปรก
พระพุทธรูปนาคปรก ศิลปะลพบุรี พุทธศตวรรษที่ 18 พบที่ปราสาทพิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ลักษณะหินทรายปิดทอง สูงจากฐาน 137 เซนติเมตร หน้าตักกว้าง 74 เซนติเมตร เป็นพระพุทธรูปนาคปรก ปางสมาธิ ชำรุด พระเศียรหัก เศียรนาคหักชำรุดแตกเป็น 2 ท่อนต่อกันได้ พบในบริเวณปราสาทหินพิมาย เดิมพบเศียรก่อนแล้วพบองค์ภายหลัง

พระคเณศ
พระคเณศ
พระคเณศ ศิลปะลพบุรี พุทธศตวรรษที่ 15 พบที่ปราสาทเมืองต่ำ อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ มีลักษณะเป็นหินทราย สวมเครื่องประดับศีรษะ กระบังหน้าปรากฏลวดลายตกแต่งและผูกเชือกด้านหลัง นั่งขัดสมาธิราบบนฐานสี่เหลี่ยมสวมเครื่องประดับ นุ่งผ้าสั้นจีบเป็นริ้ว ชักชายผ้าเป็นวงโค้งที่เบื้องหน้า พระหัตถ์ซ้ายเห็นร่องรอยว่าถือขนมโมฑกะ

พระพุทธรูปประทับยืน
พระพุทธรูปประทับยืน
พระพุทธรูปประทับยืน ศิลปะลพบุรี พุทธศตวรรษที่ 18 พบที่ปราสาทพิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา

แท่งหินจำหลักภาพตรีมูรติ
แท่งหินจำหลักภาพตรีมูรติ
แท่งหินจำหลักภาพตรีมูรติ (พระศิวะ พระวิษณุ และพระพรหม) ศิลปะลพบุรี พุทธศตวรรษที่ 15 พบที่สถานพระนารายณ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

แท่นหินสลักรูปพระกุเวร ทรงคชสีห์
แท่นหินสลักรูปพระกุเวร ทรงคชสีห์
แท่นหินสลักรูปพระกุเวร ทรงคชสีห์ เทพประจำทิศเหนือ ศิลปะลพบุรี อายุราวพุทธศตวรรษที่ 17 พบที่ปราสาทพนมรุ้ง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ มีลักษณะเป็นหินทราย กว้าง 47 เซนติเมตร 49 เซนติเมตร สูง 35 เซนติเมตร สลักภาพท้าวกุเวร ที่ด้านข้างด้านหนึ่ง ประทับอยู่บนหลังคชสีห์ พระกรขวาถือบ่วงบาศชูขึ้น ด้านบนของแท่งหินทรายสลักรูปดอกบัวแปดกลีบซึ่งหมายถึงเทพประจำทิศทั้ง 8

บรรยากาศภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย ตั้งอยู่ที่ ถนนท่าสงกรานต์ ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนคราชสีมา โทร. 0-4447-1167 เปิดให้บริการทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น.

สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือ ชมคลิปต่าง ๆ ได้ที่ Youtube :Travel MGR และ Instagram : @travelfoodonline และ TikTok : @travelfoodonline


กำลังโหลดความคิดเห็น