Youtube :Travel MGR
จากสถานการณ์ของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ หรือ โควิด -19 (Covid-19) ที่แพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดมีพุทธสถานออกมาตรการเพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อ โดยมีวัดจำนวน 5 แห่งประกาศงดการเข้าเยี่ยมชม รวมถึงสักการะเป็นการชั่วคราว เพื่อควบคุมและหยุดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ
โดยวัดที่ประกาศงดการเข้าชมชั่วคราวทั้ง 5 แห่ง ได้แก่
วัดโสธรวรารามวรวิหาร
เจ้าอาวาสวัดโสธรวรารามวรวิหาร ได้มีบัญชาด้วยความห่วงใยพุทธศาสนิกชนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จึงของดการเข้าสักการะหลวงพ่อโสธรในพระอุโบสถเป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 19 - 31 มีนาคมนี้ นอกจากนี้ยังงดจัดงานอัญเชิญหลวงพ่อโสธรขึ้นจากน้ำ (งานกลางเดือน 5) ระหว่างวันที่ 8-10 เม.ย. เพื่อ ลดความแออัด และความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ซึ่งเป็นการคุมเข้มตามมาตรการสาธารณสุขไม่ให้เชื้อแพร่กระจาย
“วัดหลวงพ่อโสธร” จ.ฉะเชิงเทรา ก็เป็นอีกแห่งหนึ่งที่ผู้คนนิยมแวะเวียนมาขอพระจากพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ เพื่อเป็นสิริมงคลให้กับชีวิตของตนเองและครอบครัว
“วัดโสธรวรารามวรวิหาร” หรือที่เรียกกันติดปากว่า “วัดหลวงพ่อโสธร” เป็นวัดศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองแปดริ้ว ที่มีประวัติการสร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยเดิมนั้นชื่อว่า “วัดหงส์” เนื่องจากมีหงส์ทำด้วยทองเหลืองอยู่บนยอดเสา ต่อมาหงส์ที่ยอดเสาหักตกลงมาเสียชำรุด ทางวัดจึงเอาธงไปติดไว้ที่ยอดเสาแทนรูปหงส์ จึงได้ชื่อว่าวัดเสาธง แล้วต่อมาก็เกิดมีพายุพัดเสานี้หักลงส่วนหนึ่ง จึงได้ชื่อว่าวัดเสาทอน และต่อมาชื่อนี้กลายไปเป็น “วัดโสธร” ในปัจจุบัน
สำหรับภายในวัดหลวงพ่อโสธร เป็นสถานที่ประดิษฐาน “หลวงพ่อพระพุทธโสธร” หรือ “หลวงพ่อโสธร” พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพสักการะของชาวแปดริ้วและประชาชนทั่วไป ใครผ่านไปผ่านมาในเมืองแปดริ้ว ก็จะต้องแวะมาสักการะหลวงพ่อเพื่อความเป็นสิริมงคลอยู่เสมอ
วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร
เนื่องจากสถานการณ์ของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่หรือ Covid-19 ยังคงระบาดอย่างต่อเนื่อง ในการนี้คณะสงฆ์วัดไตรมิตรวิทยารามจึงมีมติงดการเยี่ยมชมอาคารพระมหามณฑปฯ รวมถึงการสักการะหลวงพ่อทองคำเป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม-31 มีนาคม 2563 ตามมาตรการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส Covid-19 เป็นการชั่วคราวหรือจนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดดังกล่าวจะคลี่คลาย
“วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร” ตั้งอยู่ถนนเจริญกรุง เขตสัมพันธวงศ์ เป็นวัดโบราณแต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างเมื่อสมัยใด เดิมชือ “วัดสามจีน” จุดเด่นอันเป็นเอกลักษณ์ คือ พุทธสถาปัตกรรมอันทรงคุณค่า “พระมหามณฑป” ถือเป็นสิ่งที่ดึงดูดใครต่อใครให้อยากไปเยือน
ภายในมี "พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร" หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "หลวงพ่อทองคำ" เป็นหนึ่งในพระพุทธรูปอันศักดิ์สิทธิ์สวยงาม และเคยได้รับการบันทึกว่าเป็นพระพุทธรูปทองคำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร
ด้านวัดปทุมวนาราม ประกาศงดกิจกรรมภายในวัดปทุมวนาราม ตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม - 3 เมษายน 2563 จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19) นั้น เพื่อสนองมติของรัฐบาล วัดปทุมวนารามได้กำหนดงดกิจกรรมต่างๆ ของวัดและจะทำความสะอาดฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อในอาคารต่างๆ ตลอดจนบริเวณพื้นที่ภายในวัดตามมาตรการดูแล สุขภาพของประชาชนเป็นการเฝ้าระวังและป้องกันพร้อมทั้งควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19) ด้วย
จึงของดกิจกรรมต่างๆ ของวัดตั้งแต่ 19 มีนาคม - 2 เมษายน 2563 และจะเปิดให้สาธุชนมาที่วัดได้ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 3 เมษายน 2563 เป็นต้นไป
วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ตั้งอยู่ที่เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร สถาปนาขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงมีพระราชประสงค์ให้สร้างวัดนี้ขึ้น เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแก่สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี พระมเหสี และพระราชทานนามวัดว่า “วัดปทุมวนาราม” แต่ชาวบ้านมักเรียกว่า “วัดสระปทุม” ภายในพระอุโบสถมี “พระสายน์” หรือ พระไส ประดิษฐานอยู่ เป็นพระพุทธรูปที่อัญเชิญมาจากเมืองมหาไชย แขวงล้านช้าง ในสมัยรัชกาลที่ 4 เช่นกัน
วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร
ด้วยวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหารมีองค์พระธาตุพนมบรรจุพระอุรังคธาตุเป็นพุทธเจดีย์ที่สำคัญของโลกพุทธศาสนิกชนเดินทางมากราบ นมัสการเป็นจำนวนมากและข้างในได้บรรจุสิ่งของสำคัญไว้มากมายปัจจุบันเนื่องด้วยการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 และรวมไปถึงความเหมาะสมในการที่จะเข้าข้างในองค์พระธาตุพนมด้วย
เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 และเป็นการรักษาองค์พระธาตุพนมคณะกรรมการวัดพระธาตุพนมพิจารณาเห็นสมควรปิดองค์พระธาตุพนมไม่ให้เข้าข้างในองค์เจดีย์ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
“พระธาตุพนม” ที่วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อำเภอธาตุพนม จ.นครพนม เป็นพระธาตุประจำวันเกิดวันอาทิตย์ตามคติความเชื่อทางภาคอีสานที่เชื่อว่า ณ ที่แห่งใดซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุหลัก บริเวณใกล้เคียงก็จะมีพระธาตุบริวารเกิดขึ้นรายล้อมพระบรมธาตุองค์หลัก ซึ่งพระธาตุพนมถือเป็นพระบรมธาตุองค์หลักนั่นเอง
อีกทั้งพระธาตุพนมยังเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนปีวอก โดยพระธาตุพนมไม่เพียงเป็นพระธาตุคู่บ้านคู่เมืองของชาวนครพนม แต่ยังเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวอีสาน รวมไปถึงพี่น้องชาวลาวด้วยเช่นกัน
วัดพระธาตุผาซ่อนแก้ว
คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเพชรบูรณ์ มีมติที่ประชุมเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2563 กำหนดมาตรการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 เพื่อการยับยั้งการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัส โดยมีคำสั่งปิดชั่วคราวสถานที่ที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาด และมีคนอัดเบียดเสียดเป็นเวลา 14 วัน นับตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม - 31 มีนาคม นอกจากนี้ยังมีมติให้ปิดชั่วคราววัดพระธาตุผาซ่อนแก้ว อำเภอเขาค้อ เป็นเวลา 14 วันเช่นกัน เนื่องจากเป็นสถานที่ท่องเที่ยวโดยมีนักท่องเที่ยวมากันเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีมติปิดชั่วคราววัดพระวรราชาทินัดดามาตุ อำเภอศรีเทพ ด้วยเช่นกัน
“วัดพระธาตุผาซ่อนแก้ว” ตั้งอยู่ที่ อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ เดิมคือ “วัดพระธาตุผาแก้ว” ที่มาของชื่อวัด มีเรื่องเล่าขานกันว่า ท่ามกลางขุนเขาที่สลับซับซ้อนแห่งนี้มีถ้ำอยู่ที่ส่วนบนของยอดเขา ชาวบ้านในแถบนี้หลายคนเคยเห็นลูกแก้วลอยขึ้นสู่ฟากฟ้าและหายเข้าไปในถ้ำอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นพระบรมสารีริกธาตุเสด็จมา จึงเรียกขานที่นี่ว่า “ผาซ่อนแก้ว” อันเป็นที่มาของชื่อวัด
ภายในวัดประกอบไปด้วยงานพุทธศิลป์สำคัญใน 2 ส่วนด้วยกัน คือ “มหาวิหารพระพุทธเจ้า 5 พระองค์” และ “เจดีย์พระธาตุผาซ่อนแก้ว สิริราชย์ธรรมนฤมิต” นอกจากนี้ที่วัดพระธาตุผาซ่อนแก้วยังโดดเด่นไปด้วยการประดับตกแต่งอันงดงามวิจิตร จากเครื่องถ้วยเบญจรงค์ อัญมณี แก้ว แหวน เงินทองมากมาย ไม่ว่าจะเป็นตามผนัง เสา หรือแม้กระทั่งพื้นก็ยังมีการตกแต่งเป็นลวดลายทางเดินอย่างสวยงาม
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
ชมคลิปต่าง ๆ ได้ที่ Travel MGR
จากสถานการณ์ของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ หรือ โควิด -19 (Covid-19) ที่แพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดมีพุทธสถานออกมาตรการเพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อ โดยมีวัดจำนวน 5 แห่งประกาศงดการเข้าเยี่ยมชม รวมถึงสักการะเป็นการชั่วคราว เพื่อควบคุมและหยุดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ
โดยวัดที่ประกาศงดการเข้าชมชั่วคราวทั้ง 5 แห่ง ได้แก่
วัดโสธรวรารามวรวิหาร
เจ้าอาวาสวัดโสธรวรารามวรวิหาร ได้มีบัญชาด้วยความห่วงใยพุทธศาสนิกชนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จึงของดการเข้าสักการะหลวงพ่อโสธรในพระอุโบสถเป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 19 - 31 มีนาคมนี้ นอกจากนี้ยังงดจัดงานอัญเชิญหลวงพ่อโสธรขึ้นจากน้ำ (งานกลางเดือน 5) ระหว่างวันที่ 8-10 เม.ย. เพื่อ ลดความแออัด และความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ซึ่งเป็นการคุมเข้มตามมาตรการสาธารณสุขไม่ให้เชื้อแพร่กระจาย
“วัดหลวงพ่อโสธร” จ.ฉะเชิงเทรา ก็เป็นอีกแห่งหนึ่งที่ผู้คนนิยมแวะเวียนมาขอพระจากพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ เพื่อเป็นสิริมงคลให้กับชีวิตของตนเองและครอบครัว
“วัดโสธรวรารามวรวิหาร” หรือที่เรียกกันติดปากว่า “วัดหลวงพ่อโสธร” เป็นวัดศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองแปดริ้ว ที่มีประวัติการสร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยเดิมนั้นชื่อว่า “วัดหงส์” เนื่องจากมีหงส์ทำด้วยทองเหลืองอยู่บนยอดเสา ต่อมาหงส์ที่ยอดเสาหักตกลงมาเสียชำรุด ทางวัดจึงเอาธงไปติดไว้ที่ยอดเสาแทนรูปหงส์ จึงได้ชื่อว่าวัดเสาธง แล้วต่อมาก็เกิดมีพายุพัดเสานี้หักลงส่วนหนึ่ง จึงได้ชื่อว่าวัดเสาทอน และต่อมาชื่อนี้กลายไปเป็น “วัดโสธร” ในปัจจุบัน
สำหรับภายในวัดหลวงพ่อโสธร เป็นสถานที่ประดิษฐาน “หลวงพ่อพระพุทธโสธร” หรือ “หลวงพ่อโสธร” พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพสักการะของชาวแปดริ้วและประชาชนทั่วไป ใครผ่านไปผ่านมาในเมืองแปดริ้ว ก็จะต้องแวะมาสักการะหลวงพ่อเพื่อความเป็นสิริมงคลอยู่เสมอ
วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร
เนื่องจากสถานการณ์ของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่หรือ Covid-19 ยังคงระบาดอย่างต่อเนื่อง ในการนี้คณะสงฆ์วัดไตรมิตรวิทยารามจึงมีมติงดการเยี่ยมชมอาคารพระมหามณฑปฯ รวมถึงการสักการะหลวงพ่อทองคำเป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม-31 มีนาคม 2563 ตามมาตรการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส Covid-19 เป็นการชั่วคราวหรือจนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดดังกล่าวจะคลี่คลาย
“วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร” ตั้งอยู่ถนนเจริญกรุง เขตสัมพันธวงศ์ เป็นวัดโบราณแต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างเมื่อสมัยใด เดิมชือ “วัดสามจีน” จุดเด่นอันเป็นเอกลักษณ์ คือ พุทธสถาปัตกรรมอันทรงคุณค่า “พระมหามณฑป” ถือเป็นสิ่งที่ดึงดูดใครต่อใครให้อยากไปเยือน
ภายในมี "พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร" หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "หลวงพ่อทองคำ" เป็นหนึ่งในพระพุทธรูปอันศักดิ์สิทธิ์สวยงาม และเคยได้รับการบันทึกว่าเป็นพระพุทธรูปทองคำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร
ด้านวัดปทุมวนาราม ประกาศงดกิจกรรมภายในวัดปทุมวนาราม ตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม - 3 เมษายน 2563 จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19) นั้น เพื่อสนองมติของรัฐบาล วัดปทุมวนารามได้กำหนดงดกิจกรรมต่างๆ ของวัดและจะทำความสะอาดฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อในอาคารต่างๆ ตลอดจนบริเวณพื้นที่ภายในวัดตามมาตรการดูแล สุขภาพของประชาชนเป็นการเฝ้าระวังและป้องกันพร้อมทั้งควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19) ด้วย
จึงของดกิจกรรมต่างๆ ของวัดตั้งแต่ 19 มีนาคม - 2 เมษายน 2563 และจะเปิดให้สาธุชนมาที่วัดได้ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 3 เมษายน 2563 เป็นต้นไป
วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ตั้งอยู่ที่เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร สถาปนาขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงมีพระราชประสงค์ให้สร้างวัดนี้ขึ้น เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแก่สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี พระมเหสี และพระราชทานนามวัดว่า “วัดปทุมวนาราม” แต่ชาวบ้านมักเรียกว่า “วัดสระปทุม” ภายในพระอุโบสถมี “พระสายน์” หรือ พระไส ประดิษฐานอยู่ เป็นพระพุทธรูปที่อัญเชิญมาจากเมืองมหาไชย แขวงล้านช้าง ในสมัยรัชกาลที่ 4 เช่นกัน
วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร
ด้วยวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหารมีองค์พระธาตุพนมบรรจุพระอุรังคธาตุเป็นพุทธเจดีย์ที่สำคัญของโลกพุทธศาสนิกชนเดินทางมากราบ นมัสการเป็นจำนวนมากและข้างในได้บรรจุสิ่งของสำคัญไว้มากมายปัจจุบันเนื่องด้วยการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 และรวมไปถึงความเหมาะสมในการที่จะเข้าข้างในองค์พระธาตุพนมด้วย
เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 และเป็นการรักษาองค์พระธาตุพนมคณะกรรมการวัดพระธาตุพนมพิจารณาเห็นสมควรปิดองค์พระธาตุพนมไม่ให้เข้าข้างในองค์เจดีย์ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
“พระธาตุพนม” ที่วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อำเภอธาตุพนม จ.นครพนม เป็นพระธาตุประจำวันเกิดวันอาทิตย์ตามคติความเชื่อทางภาคอีสานที่เชื่อว่า ณ ที่แห่งใดซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุหลัก บริเวณใกล้เคียงก็จะมีพระธาตุบริวารเกิดขึ้นรายล้อมพระบรมธาตุองค์หลัก ซึ่งพระธาตุพนมถือเป็นพระบรมธาตุองค์หลักนั่นเอง
อีกทั้งพระธาตุพนมยังเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนปีวอก โดยพระธาตุพนมไม่เพียงเป็นพระธาตุคู่บ้านคู่เมืองของชาวนครพนม แต่ยังเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวอีสาน รวมไปถึงพี่น้องชาวลาวด้วยเช่นกัน
วัดพระธาตุผาซ่อนแก้ว
คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเพชรบูรณ์ มีมติที่ประชุมเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2563 กำหนดมาตรการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 เพื่อการยับยั้งการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัส โดยมีคำสั่งปิดชั่วคราวสถานที่ที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาด และมีคนอัดเบียดเสียดเป็นเวลา 14 วัน นับตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม - 31 มีนาคม นอกจากนี้ยังมีมติให้ปิดชั่วคราววัดพระธาตุผาซ่อนแก้ว อำเภอเขาค้อ เป็นเวลา 14 วันเช่นกัน เนื่องจากเป็นสถานที่ท่องเที่ยวโดยมีนักท่องเที่ยวมากันเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีมติปิดชั่วคราววัดพระวรราชาทินัดดามาตุ อำเภอศรีเทพ ด้วยเช่นกัน
“วัดพระธาตุผาซ่อนแก้ว” ตั้งอยู่ที่ อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ เดิมคือ “วัดพระธาตุผาแก้ว” ที่มาของชื่อวัด มีเรื่องเล่าขานกันว่า ท่ามกลางขุนเขาที่สลับซับซ้อนแห่งนี้มีถ้ำอยู่ที่ส่วนบนของยอดเขา ชาวบ้านในแถบนี้หลายคนเคยเห็นลูกแก้วลอยขึ้นสู่ฟากฟ้าและหายเข้าไปในถ้ำอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นพระบรมสารีริกธาตุเสด็จมา จึงเรียกขานที่นี่ว่า “ผาซ่อนแก้ว” อันเป็นที่มาของชื่อวัด
ภายในวัดประกอบไปด้วยงานพุทธศิลป์สำคัญใน 2 ส่วนด้วยกัน คือ “มหาวิหารพระพุทธเจ้า 5 พระองค์” และ “เจดีย์พระธาตุผาซ่อนแก้ว สิริราชย์ธรรมนฤมิต” นอกจากนี้ที่วัดพระธาตุผาซ่อนแก้วยังโดดเด่นไปด้วยการประดับตกแต่งอันงดงามวิจิตร จากเครื่องถ้วยเบญจรงค์ อัญมณี แก้ว แหวน เงินทองมากมาย ไม่ว่าจะเป็นตามผนัง เสา หรือแม้กระทั่งพื้นก็ยังมีการตกแต่งเป็นลวดลายทางเดินอย่างสวยงาม
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
ชมคลิปต่าง ๆ ได้ที่ Travel MGR