Youtube :Travel MGR
ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2562 แล้วที่ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นที่ประเทศจีน ก่อนจะแพร่ระบาดในประเทศใกล้เคียง และสุดท้ายก็แพร่ไปทั่วโลก ได้ชื่อใหม่ว่าโรคโควิด-19 (Covid-19) จนเข้าเดือนที่ 3 ของปี 2563 แล้วก็ยังมีผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างไม่หยุดยั้ง
เหตุการณ์ดังกล่าวทำเอาเศรษฐกิจการท่องเที่ยวทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกหยุดชะงัก แต่ชีวิตก็ต้องดำเนินต่อไปท่ามกลางโรคโควิด-19 ในวันนี้เราจึงรวมคำแนะนำทั้งในการดูแลตัวเองในชีวิตประจำวันและระหว่างเดินทางให้ปลอดโรคปลอดภัยกัน
“ท่องให้ขึ้นใจ กินร้อนช้อนกลางล้างมือ”
ข้อแรกที่ควรปฏิบัติอยู่เป็นประจำแม้จะไม่มีการระบาดของโรคใดๆ ก็ตาม เพราะเชื้อโรคจะตายในความร้อน และการใช้ช้อนกลางจะไม่ทำให้เชื้อโรคแพร่ถึงกันขณะกินอาหาร และการล้างมือบ่อยๆ ก็จะเป็นการลดความเสี่ยงในการนำเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย
“หน้ากากอนามัย+แอลกอฮอล์ล้างมือ อาวุธคู่กาย”
แม้ในวันนี้ทั้งสองอย่างจะกลายเป็นของหายากแถมราคาแพงไปเสียแล้ว แต่ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องใช้ขณะเดินทาง แม้ WHO หรือองค์การอนามัยโลกจะออกมาบอกว่าผู้ที่ไม่ติดเชื้อไม่จำเป็นต้องใส่หน้ากาก แต่เพื่อความปลอดภัยขณะอยู่ในที่ชุมชนการใส่เพื่อป้องกันตนเองก็น่าจะดีกว่า เพราะไม่มีใครรับประกันได้ว่าคนแปลกหน้าข้างๆ เราจะไม่ได้รับเชื้อจากที่ไหนมา
สำหรับคนที่หาซื้อหน้ากากอนามัยไม่ได้ ก็สามารถใช้ผ้าเช็ดหน้ามาพับทบร้อยด้วยหนังยางรัดผมแทนแก้ขัดได้ หรือหากเข้าตาจนมีอาการไอหรือจามโดยไม่มีหน้ากากหรือผ้าปิดปาก ก็ให้ไอใส่ข้อพับแขนด้านในของตัวเองแทนการใช้มือปิดปาก
“งดประเทศเสี่ยง เลี่ยงจุดเสี่ยง”
ขอย้ำกันอีกครั้งว่าช่วงนี้ขอให้งดหรือยกเลิกการเดินทางไปยังประเทศที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงและมีการระบาดภายในประเทศอย่างชัดเจน โดยกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศประเทศที่เป็นกลุ่มเสี่ยงทั้งหมด 11 ประเทศ (8 ประเทศ+3 เขตปกครองพิเศษ) ได้แก่ จีน ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ อิตาลี อิหร่าน เยอรมัน ฝรั่งเศส
ส่วนจุดเสี่ยงที่ควรหลีกเลี่ยงไม่ว่าจะอยู่ที่เมืองไทยหรือต่างประเทศก็คือที่ที่มีคนอยู่รวมกันเยอะๆ และมีอากาศปิด อาทิ ขนส่งสาธารณะอย่างรถประจำทาง รถไฟฟ้า ในห้างสรรพสินค้า โรงหนัง ที่มีผู้คนมากหน้าหลายตามาอยู่รวมกัน หรือสถานที่ที่มีคนใช้งานร่วมกันเยอะๆ เช่น ห้องน้ำสาธารณะ ร้านอาหาร หากต้องเดินทางหรือต้องใช้สถานที่เหล่านี้ควรใส่หน้ากากอนามัยป้องกันตัวเอง และหยิบจับสิ่งของสาธารณะให้น้อยที่สุด หรือใช้กระดาษเปียกเช็ดฆ่าเชื้อในจุดที่เราจำเป็นต้องสัมผัส และอย่าลืมล้างมือบ่อยๆ
“จำเป็นต้องไป ทำอย่างไรดี”
หากเลี่ยงไม่ได้ จำเป็นหรือมีกิจธุระเร่งด่วนที่ต้องเดินทางให้ได้ ก็ควรเตรียมตัวเองให้พร้อม เตรียมหน้ากากอนามัยและแอลกอฮอล์ล้างมือให้เพียงพอตลอดการเดินทาง ระมัดระวังในการสัมผัสสิ่งของสาธารณะต่างๆ ทั้งในสนามบิน ภายในเครื่องบิน (หรือในยานพาหนะอื่นๆ ที่ใช้) ล้างมืออยู่เสมอ ทำประกันสุขภาพที่ครอบคลุมการตรวจและการรักษาโรคโควิด-19 และที่สำคัญคือ เมื่อไปประเทศเสี่ยงกลับมาแล้วให้งดการออกสู่สังคม กักตัวเองก่อน 14 วันเพื่อสังเกตอาการ
“ไปประเทศเสี่ยง รับผิดชอบสังคม กักตัวเอง 14 วัน”
สำหรับคนที่ไปประเทศเสี่ยงกลับมา เพื่อความปลอดภัยของคนส่วนรวม ขอความกรุณากักตัวเองอยู่ในบ้าน 14 วัน ไม่ว่าจะมีอาการหรือไม่ก็ตาม หลีกเลี่ยงการไปที่สาธารณะและคอยสังเกตอาการตนเอง วัดไข้ทุกวัน ใน 14 วันนี้งดคลุกคลีกับคนใกล้ชิด สวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ใกล้กับคนในบ้าน งดใช้ข้าวของร่วมกับผู้อื่น เช่น จานชามช้อนส้อมแก้วน้ำ หมั่นทำความสะอาดสถานที่ที่จำเป็นต้องใช้ร่วมกัน เช่น ห้องน้ำ ชักโครก ลูกบิดประตู รวมไปถึงเสื้อผ้าก็แนะนำให้ซักแยกกับคนอื่นด้วย
“อาการเข้าข่าย พบแพทย์ทันที”
ลองสังเกตตัวเองว่ามีอาการเหล่านี้หรือไม่ ถ้าคุณมีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ หอบเหนื่อย หรือมีอาการของโรคปอดอักเสบ ไม่ว่าจะเดินทางไปประเทศเสี่ยงหรืออยู่บ้านเฉยๆ แล้วเป็น ก็ควรรีบไปหาหมอให้เร็วที่สุด โดยหากมีอาการเข้าเกณฑ์เหล่านี้สามารถไปรับการตรวจที่โรงพยาบาลตามสิทธิ์ เช่น สิทธิประกันสังคม สิทธิบัตรทอง ก็จะไม่เสียค่าใช้จ่ายในการตรวจหรือรักษา แต่ถ้ายังไม่มีอาการใดๆ หรืออาการไม่เข้าข่ายตามหลักเกณฑ์ ตรงนี้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการตรวจเองหลายพันไปจนถึงหลักหมื่นบาท ทั้งนี้หากใครมีอาการต้องสงสัย สามารถโทรสอบถามได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422 ตลอด 24 ช.ม.
“ปิดบังข้อมูลมีความผิด พรบ.โรคติดต่อ”
จากการระบาดของโรคที่ยังมีต่อเนื่อง ประเทศไทยโดยกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้โรคโควิด-19 เป็นโรคติดต่ออันตราย ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ทั้งนี้ก็เพื่อประโยชน์ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่ออันตราย โดยหากประชาชน ผู้รับผิดชอบในสถานพยาบาล หรือผู้ควบคุมสถานประกอบการ หรือสถานที่อื่นใด เช่น โรงแรม ต้องแจ้งเมื่อพบมีผู้ต้องสงสัยหรือผู้ป่วยที่เป็นโรคติดต่ออันตราย ฝ่าฝืนมีโทษปรับ 20,000 บาท
ผู้ที่เป็นโรคติดต่ออันตราย หรือเข้าข่ายต้องสงสัย หรือมารับการตรวจรักษา ต้องเข้าสู่การแยกกัก กักกัน หรือคุมไว้สังเกต ในสถานที่ที่กำหนด จนกว่าจะพ้นระยะติดต่อ ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท ดังนั้น หากใครมีอาการเข้าข่ายแต่ไม่ยอมมาตรวจ หรือไปประเทศเสี่ยงมาแล้วไม่ยอมบอกความจริง บอกเลยว่ามีความผิด
“ยกเลิกทริป เลื่อนไฟลท์”
ช่วงที่โรคกำลังระบาดนี้กำลังเป็นฤดูการท่องเที่ยวของคนไทยเลยทีเดียว จึงมีหลายๆ คนที่ต้องยกเลิกหรือเลื่อนการเดินทาง สำหรับคนที่เลือกยกเลิกเดินทาง หากจองและจ่ายเงินกับทัวร์ไปแล้ว ตามประกาศคณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับอัตราการจ่ายเงินค่าบริการคืนให้แก่นักท่องเที่ยว พ.ศ.2553 ระบุว่า หากขอยกเลิกก่อนเดินทางมากกว่า 30 วัน จะสามารถขอเงินคืนได้เต็มจำนวน โดยต้องหักค่าใช้จ่ายตามจริงที่บริษัททัวร์จ่ายไปก่อนแล้ว เช่น ค่าธรรมเนียมขอวีซ่า ค่ามัดจำตั๋วเครื่องบิน ค่ามัดจำโรงแรม เป็นต้น หากขอยกเลิกก่อนเดินทาง 15-29 วัน จะได้รับเงินคืน 50% หักค่าใช้จ่ายตามจริงที่บริษัททัวร์จ่ายไปก่อนแล้ว ส่วนผู้ที่ขอยกเลิกก่อนเดินทาง 0-14 วัน จะไม่ได้รับเงินคืน ทั้งนี้สอบถามข้อมูลได้ที่สายด่วนกรมการท่องเที่ยว โทร.0 2401 1111 ตลอด 24 ช.ม.
สำหรับนักท่องเที่ยวที่จองตั๋วเครื่องบินเอง หลายๆ สายการบินก็ออกประกาศให้เลื่อนตั๋วหรือขอเงินคืนได้ อาทิ ไทยแอร์เอเชีย เอ็กซ์ สามารถเปลี่ยนเที่ยวบินหรือเก็บวงเงินไว้ใช้ได้ สายการบินนกสกู๊ตสามารถเปลี่ยนวันเดินทางได้สำหรับเส้นทางประเทศญี่ปุ่น ขอเงินคืนได้สำหรับเส้นทางประเทศจีน และขอเงินคืนได้ในรูปของบัตรกำนัลสำหรับเส้นทางไต้หวัน การบินไทย ยกเว้นค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนแปลงการเดินทางหรือเปลี่ยนแปลงเส้นทาง เป็นต้น ทั้งนี้ต้องดูรายละเอียดจากเว็บไซต์หรือสอบถาม Call Center ของแต่ละสายการบิน
“เที่ยวไทยไปก่อน”
โรคโควิด-19 กำลังระบาดทั่วโลก ช่วงนี้หากอยากไปเที่ยวต่างประเทศไม่ว่าที่ไหนก็เสี่ยงตั้งแต่ก้าวเท้าเข้าสนามบินแล้ว ดังนั้นหากใครอยากเที่ยวจริงๆ เที่ยวเมืองไทยกันไปก่อนน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด แต่ถ้าว่ากันตามจริงแล้ว ประเทศไทยไม่มีนโยบายกักกันผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ ดังนั้นแม้เดินทางท่องเที่ยวในประเทศเองก็ถือว่ามีความเสี่ยงอยู่เหมือนกัน ดังนั้นหากอยากไปก็เลือกจังหวัดที่นักท่องเที่ยวต่างชาติน้อยๆ หรือเลือกสถานที่ที่ไม่ต้องอยู่รวมกับคนเป็นจำนวนมากๆ แต่ถ้าจะให้ดีที่สุดก็คืออดทนรอให้สถานการณ์ระบาดเบาบางลงกว่านี้ก่อน แล้วจะเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลกอีกครั้งก็ทำได้อย่างสบายใจไม่ต้องกังวลอะไร
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
ชมคลิปต่าง ๆ ได้ที่ Travel MGR
ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2562 แล้วที่ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นที่ประเทศจีน ก่อนจะแพร่ระบาดในประเทศใกล้เคียง และสุดท้ายก็แพร่ไปทั่วโลก ได้ชื่อใหม่ว่าโรคโควิด-19 (Covid-19) จนเข้าเดือนที่ 3 ของปี 2563 แล้วก็ยังมีผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างไม่หยุดยั้ง
เหตุการณ์ดังกล่าวทำเอาเศรษฐกิจการท่องเที่ยวทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกหยุดชะงัก แต่ชีวิตก็ต้องดำเนินต่อไปท่ามกลางโรคโควิด-19 ในวันนี้เราจึงรวมคำแนะนำทั้งในการดูแลตัวเองในชีวิตประจำวันและระหว่างเดินทางให้ปลอดโรคปลอดภัยกัน
“ท่องให้ขึ้นใจ กินร้อนช้อนกลางล้างมือ”
ข้อแรกที่ควรปฏิบัติอยู่เป็นประจำแม้จะไม่มีการระบาดของโรคใดๆ ก็ตาม เพราะเชื้อโรคจะตายในความร้อน และการใช้ช้อนกลางจะไม่ทำให้เชื้อโรคแพร่ถึงกันขณะกินอาหาร และการล้างมือบ่อยๆ ก็จะเป็นการลดความเสี่ยงในการนำเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย
“หน้ากากอนามัย+แอลกอฮอล์ล้างมือ อาวุธคู่กาย”
แม้ในวันนี้ทั้งสองอย่างจะกลายเป็นของหายากแถมราคาแพงไปเสียแล้ว แต่ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องใช้ขณะเดินทาง แม้ WHO หรือองค์การอนามัยโลกจะออกมาบอกว่าผู้ที่ไม่ติดเชื้อไม่จำเป็นต้องใส่หน้ากาก แต่เพื่อความปลอดภัยขณะอยู่ในที่ชุมชนการใส่เพื่อป้องกันตนเองก็น่าจะดีกว่า เพราะไม่มีใครรับประกันได้ว่าคนแปลกหน้าข้างๆ เราจะไม่ได้รับเชื้อจากที่ไหนมา
สำหรับคนที่หาซื้อหน้ากากอนามัยไม่ได้ ก็สามารถใช้ผ้าเช็ดหน้ามาพับทบร้อยด้วยหนังยางรัดผมแทนแก้ขัดได้ หรือหากเข้าตาจนมีอาการไอหรือจามโดยไม่มีหน้ากากหรือผ้าปิดปาก ก็ให้ไอใส่ข้อพับแขนด้านในของตัวเองแทนการใช้มือปิดปาก
“งดประเทศเสี่ยง เลี่ยงจุดเสี่ยง”
ขอย้ำกันอีกครั้งว่าช่วงนี้ขอให้งดหรือยกเลิกการเดินทางไปยังประเทศที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงและมีการระบาดภายในประเทศอย่างชัดเจน โดยกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศประเทศที่เป็นกลุ่มเสี่ยงทั้งหมด 11 ประเทศ (8 ประเทศ+3 เขตปกครองพิเศษ) ได้แก่ จีน ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ อิตาลี อิหร่าน เยอรมัน ฝรั่งเศส
ส่วนจุดเสี่ยงที่ควรหลีกเลี่ยงไม่ว่าจะอยู่ที่เมืองไทยหรือต่างประเทศก็คือที่ที่มีคนอยู่รวมกันเยอะๆ และมีอากาศปิด อาทิ ขนส่งสาธารณะอย่างรถประจำทาง รถไฟฟ้า ในห้างสรรพสินค้า โรงหนัง ที่มีผู้คนมากหน้าหลายตามาอยู่รวมกัน หรือสถานที่ที่มีคนใช้งานร่วมกันเยอะๆ เช่น ห้องน้ำสาธารณะ ร้านอาหาร หากต้องเดินทางหรือต้องใช้สถานที่เหล่านี้ควรใส่หน้ากากอนามัยป้องกันตัวเอง และหยิบจับสิ่งของสาธารณะให้น้อยที่สุด หรือใช้กระดาษเปียกเช็ดฆ่าเชื้อในจุดที่เราจำเป็นต้องสัมผัส และอย่าลืมล้างมือบ่อยๆ
“จำเป็นต้องไป ทำอย่างไรดี”
หากเลี่ยงไม่ได้ จำเป็นหรือมีกิจธุระเร่งด่วนที่ต้องเดินทางให้ได้ ก็ควรเตรียมตัวเองให้พร้อม เตรียมหน้ากากอนามัยและแอลกอฮอล์ล้างมือให้เพียงพอตลอดการเดินทาง ระมัดระวังในการสัมผัสสิ่งของสาธารณะต่างๆ ทั้งในสนามบิน ภายในเครื่องบิน (หรือในยานพาหนะอื่นๆ ที่ใช้) ล้างมืออยู่เสมอ ทำประกันสุขภาพที่ครอบคลุมการตรวจและการรักษาโรคโควิด-19 และที่สำคัญคือ เมื่อไปประเทศเสี่ยงกลับมาแล้วให้งดการออกสู่สังคม กักตัวเองก่อน 14 วันเพื่อสังเกตอาการ
“ไปประเทศเสี่ยง รับผิดชอบสังคม กักตัวเอง 14 วัน”
สำหรับคนที่ไปประเทศเสี่ยงกลับมา เพื่อความปลอดภัยของคนส่วนรวม ขอความกรุณากักตัวเองอยู่ในบ้าน 14 วัน ไม่ว่าจะมีอาการหรือไม่ก็ตาม หลีกเลี่ยงการไปที่สาธารณะและคอยสังเกตอาการตนเอง วัดไข้ทุกวัน ใน 14 วันนี้งดคลุกคลีกับคนใกล้ชิด สวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ใกล้กับคนในบ้าน งดใช้ข้าวของร่วมกับผู้อื่น เช่น จานชามช้อนส้อมแก้วน้ำ หมั่นทำความสะอาดสถานที่ที่จำเป็นต้องใช้ร่วมกัน เช่น ห้องน้ำ ชักโครก ลูกบิดประตู รวมไปถึงเสื้อผ้าก็แนะนำให้ซักแยกกับคนอื่นด้วย
“อาการเข้าข่าย พบแพทย์ทันที”
ลองสังเกตตัวเองว่ามีอาการเหล่านี้หรือไม่ ถ้าคุณมีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ หอบเหนื่อย หรือมีอาการของโรคปอดอักเสบ ไม่ว่าจะเดินทางไปประเทศเสี่ยงหรืออยู่บ้านเฉยๆ แล้วเป็น ก็ควรรีบไปหาหมอให้เร็วที่สุด โดยหากมีอาการเข้าเกณฑ์เหล่านี้สามารถไปรับการตรวจที่โรงพยาบาลตามสิทธิ์ เช่น สิทธิประกันสังคม สิทธิบัตรทอง ก็จะไม่เสียค่าใช้จ่ายในการตรวจหรือรักษา แต่ถ้ายังไม่มีอาการใดๆ หรืออาการไม่เข้าข่ายตามหลักเกณฑ์ ตรงนี้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการตรวจเองหลายพันไปจนถึงหลักหมื่นบาท ทั้งนี้หากใครมีอาการต้องสงสัย สามารถโทรสอบถามได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422 ตลอด 24 ช.ม.
“ปิดบังข้อมูลมีความผิด พรบ.โรคติดต่อ”
จากการระบาดของโรคที่ยังมีต่อเนื่อง ประเทศไทยโดยกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้โรคโควิด-19 เป็นโรคติดต่ออันตราย ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ทั้งนี้ก็เพื่อประโยชน์ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่ออันตราย โดยหากประชาชน ผู้รับผิดชอบในสถานพยาบาล หรือผู้ควบคุมสถานประกอบการ หรือสถานที่อื่นใด เช่น โรงแรม ต้องแจ้งเมื่อพบมีผู้ต้องสงสัยหรือผู้ป่วยที่เป็นโรคติดต่ออันตราย ฝ่าฝืนมีโทษปรับ 20,000 บาท
ผู้ที่เป็นโรคติดต่ออันตราย หรือเข้าข่ายต้องสงสัย หรือมารับการตรวจรักษา ต้องเข้าสู่การแยกกัก กักกัน หรือคุมไว้สังเกต ในสถานที่ที่กำหนด จนกว่าจะพ้นระยะติดต่อ ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท ดังนั้น หากใครมีอาการเข้าข่ายแต่ไม่ยอมมาตรวจ หรือไปประเทศเสี่ยงมาแล้วไม่ยอมบอกความจริง บอกเลยว่ามีความผิด
“ยกเลิกทริป เลื่อนไฟลท์”
ช่วงที่โรคกำลังระบาดนี้กำลังเป็นฤดูการท่องเที่ยวของคนไทยเลยทีเดียว จึงมีหลายๆ คนที่ต้องยกเลิกหรือเลื่อนการเดินทาง สำหรับคนที่เลือกยกเลิกเดินทาง หากจองและจ่ายเงินกับทัวร์ไปแล้ว ตามประกาศคณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับอัตราการจ่ายเงินค่าบริการคืนให้แก่นักท่องเที่ยว พ.ศ.2553 ระบุว่า หากขอยกเลิกก่อนเดินทางมากกว่า 30 วัน จะสามารถขอเงินคืนได้เต็มจำนวน โดยต้องหักค่าใช้จ่ายตามจริงที่บริษัททัวร์จ่ายไปก่อนแล้ว เช่น ค่าธรรมเนียมขอวีซ่า ค่ามัดจำตั๋วเครื่องบิน ค่ามัดจำโรงแรม เป็นต้น หากขอยกเลิกก่อนเดินทาง 15-29 วัน จะได้รับเงินคืน 50% หักค่าใช้จ่ายตามจริงที่บริษัททัวร์จ่ายไปก่อนแล้ว ส่วนผู้ที่ขอยกเลิกก่อนเดินทาง 0-14 วัน จะไม่ได้รับเงินคืน ทั้งนี้สอบถามข้อมูลได้ที่สายด่วนกรมการท่องเที่ยว โทร.0 2401 1111 ตลอด 24 ช.ม.
สำหรับนักท่องเที่ยวที่จองตั๋วเครื่องบินเอง หลายๆ สายการบินก็ออกประกาศให้เลื่อนตั๋วหรือขอเงินคืนได้ อาทิ ไทยแอร์เอเชีย เอ็กซ์ สามารถเปลี่ยนเที่ยวบินหรือเก็บวงเงินไว้ใช้ได้ สายการบินนกสกู๊ตสามารถเปลี่ยนวันเดินทางได้สำหรับเส้นทางประเทศญี่ปุ่น ขอเงินคืนได้สำหรับเส้นทางประเทศจีน และขอเงินคืนได้ในรูปของบัตรกำนัลสำหรับเส้นทางไต้หวัน การบินไทย ยกเว้นค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนแปลงการเดินทางหรือเปลี่ยนแปลงเส้นทาง เป็นต้น ทั้งนี้ต้องดูรายละเอียดจากเว็บไซต์หรือสอบถาม Call Center ของแต่ละสายการบิน
“เที่ยวไทยไปก่อน”
โรคโควิด-19 กำลังระบาดทั่วโลก ช่วงนี้หากอยากไปเที่ยวต่างประเทศไม่ว่าที่ไหนก็เสี่ยงตั้งแต่ก้าวเท้าเข้าสนามบินแล้ว ดังนั้นหากใครอยากเที่ยวจริงๆ เที่ยวเมืองไทยกันไปก่อนน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด แต่ถ้าว่ากันตามจริงแล้ว ประเทศไทยไม่มีนโยบายกักกันผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ ดังนั้นแม้เดินทางท่องเที่ยวในประเทศเองก็ถือว่ามีความเสี่ยงอยู่เหมือนกัน ดังนั้นหากอยากไปก็เลือกจังหวัดที่นักท่องเที่ยวต่างชาติน้อยๆ หรือเลือกสถานที่ที่ไม่ต้องอยู่รวมกับคนเป็นจำนวนมากๆ แต่ถ้าจะให้ดีที่สุดก็คืออดทนรอให้สถานการณ์ระบาดเบาบางลงกว่านี้ก่อน แล้วจะเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลกอีกครั้งก็ทำได้อย่างสบายใจไม่ต้องกังวลอะไร
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
ชมคลิปต่าง ๆ ได้ที่ Travel MGR