Youtube :Travel MGR
อยู่ๆ ก็เป็นเรื่องขึ้นมาสำหรับ “ลิงเก็บมะพร้าว” ที่ก่อนหน้านี้มีข่าวว่าองค์กรพัฒนาเอกชน หรือ NGO ด้านการคุ้มครองสัตว์ป่าในต่างประเทศได้ทักท้วงถึงการใช้ลิงเก็บมะพร้าวในประเทศไทย เพื่อนำไปผลิตเป็นกะทิสำเร็จรูปส่งออกต่างประเทศว่าเป็นการทรมานสัตว์ จนอาจส่งผลสะเทือนถึงตลาดคู่ค้ารายใหญ่อย่างสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา
ประเด็นที่ว่า “ทรมานสัตว์” ทำเอาเกษตรกรสวนมะพร้าวและผู้เลี้ยงลิงในประเทศไทยถึงกับงง เพราะลิงเก็บมะพร้าวนั้นถือเป็นวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของคนภาคใต้มาช้านาน ไม่ใช่งานง่ายในการสอนลิงกังธรรมดาๆ ให้เป็นลิงเก็บมะพร้าว แต่ต้องฝึกกันเป็นเรื่องเป็นราว จนต้องมี “โรงเรียนสอนลิง” เกิดขึ้น เช่นที่ศูนย์ฝึกลิงเพื่อการเกษตรคลองน้อย ต.คลองน้อย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี ที่ดูแลโดยนิรันดร์ วงศ์วานิช ครูฝึกลิงที่สอนลิงซนๆ ให้กลายเป็นลิงเก็บมะพร้าวมาแล้วจำนวนนับไม่ถ้วน
เนื่องด้วยการเก็บผลมะพร้าวบนยอดสูง 20-30 เมตร นั้นเป็นเรื่องที่คนทำได้ยาก จึงใช้ประโยชน์จากลิงที่ชำนาญการปีนป่ายต้นไม้มาเป็นตัวช่วยชั้นดีในการเก็บมะพร้าว แต่ก่อนที่เจ้าลิงจะก้าวเข้าสู่การเป็นมืออาชีพในวงการการเก็บมะพร้าวนั้น จะต้องผ่านการฝึกฝนให้รู้จักกับท่วงท่าและวิธีการเก็บมะพร้าว เข้าใจในคำสั่งของคนเลี้ยง และมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันเป็นอย่างดี
นิรันดร์ เล่าว่า การฝึกลิงเก็บมะพร้าวต้องมีความอดทนเป็นสำคัญ เพราะนิสัยของลิงโดยธรรมชาตินั้นรักอิสระและไม่อยู่นิ่ง การจะเปลี่ยนนิสัยที่มีมาแต่เดิมนั้นต้องใช้ระยะเวลาและมีขั้นตอน เริ่มแรกจะคัดเลือกลิงที่มีอายุ 1.5-2 ปี ซึ่งกำลังพอเหมาะพอดีในการนำมาฝึกฝน โดยส่วนมากจะนิยมเลือกลิงกังสายพันธุ์นาคบุตร ซึ่งเป็นลิงกังป่าภาคใต้ มีนิสัยดุแต่ฉลาดกว่าลิงป่าชายเลน
“ลิงที่นำมาเก็บมะพร้าวนั้นส่วนมากจะเป็นตัวผู้ มีเคล็ดลับในการเลือกลิงคือต้องดูที่นิ้วของมัน ตัวที่มีนิ้วอ้วนสั้นจะขยันกว่า ตัวที่นิ้วยาวๆ ส่วนมากจะขี้เกียจ ส่วนตัวเมียจะไม่ค่อยใช้ เพราะตัวเมียจะมีความขี้เกียจมากกว่า จะใช้ฝึกไว้เก็บผลไม้ที่ใช้เวลาไม่นาน” นิรันดร์กล่าว
สำหรับขั้นตอนการฝึกลิงของที่นี่จะมีอยู่ 5 ขั้นตอนด้วยกัน แต่ละขั้นตอนใช้เวลา 10 วัน กว่าลิงจะเรียนจบออกไปทำงานได้ก็จะใช้เวลาประมาณ 40-50 วัน จะมีการฝึกเช้าเย็นครั้งละไม่เกิน 10 นาที หากฝึกนานเกินไปลิงจะดื้อและไม่อยากทำอะไรเหมือนกับเด็กๆ ในการฝึกแต่ละขั้นตอนอาจจะต้องมีการลงไม้ลงมือกันบ้างซึ่งอาจจะดูใจร้ายแต่ก็เป็นวิธีเดียวที่จะสามารถดัดนิสัยลิงซนๆ จนกลายมาเป็นมืออาชีพในการเก็บมะพร้าวได้
นิรันดร์เล่าต่อให้ฟังถึงขั้นตอนการฝึกลิง โดยขั้นตอนแรกนั้นคือการ “เข้าแป้น” คือการนำลิงมาผูกไว้กับไม้กระดานเพื่อให้รู้จักการสงบนิ่ง ขั้นที่สองคือการ “ห้อยปั่น” โดยจะนำลูกมะพร้าวมาผูกไว้ในระดับที่ยังไม่สูงมากและจะฝึกให้ลิงปั่นลูกมะพร้าวให้หลุดตกลงมา ขั้นตอนที่สามคือการ “ขึ้นราว” เป็นการฝึกให้ลิงปีนขึ้นบันไดที่พาดไว้กับต้นมะพร้าว เพื่อให้คุ้นชินกับการที่จะปีนขึ้นไปเก็บลูกมะพร้าว
จากนั้นจะเป็นการ “ขึ้นต้นจริง” โดยทักษะทั้งหมดที่เจ้าลิงเรียนมาจะถูกใช้และทดสอบในขั้นตอนนี้ว่าจะสามารถมาเป็นคู่หูในการเก็บมะพร้าวกับเจ้าของได้หรือไม่ และขั้นตอนสุดท้ายที่คุณนิรันได้คิดเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่นั้นก็คือ “การแก้เชือก” หรือการฝึกให้ลิงหัดแก้เชือกเพื่อเอาตัวรอดเวลาที่เกิดเชือกพันอยู่บนยอดมะพร้าว
หลังจากจบการฝึกฝนทักษะทั้ง 5 ขั้นตอนแล้วเจ้าลิงก็สามารถเคียงคู่เจ้าของออกเดินหน้าประกอบอาชีพเก็บมะพร้าวได้ทันที โดยในหนึ่งวันหากเจ้าของและเจ้าลิงขยันก็สามารถที่จะเก็บมะพร้าวได้ถึงราว 700 ลูก และค่าจ้างในการเก็บมะพร้าวอยู่ที่ลูกละ 2.2-3 บาท เรียกได้ว่าถ้าเป็นลิงขยันทำงานแล้วละก็ จะสร้างรายได้ต่อวันเป็น 1,500-2,000 บาท เลยทีเดียว
นิรันดร์กล่าวว่าที่ศูนยฝึกลิงจะมีทั้งลิงของตนเองที่ฝึกไว้เพื่อขายให้ชาวสวนมะพร้าว และมีเจ้าของลิงที่นำลิงของตนเองมาให้ช่วยฝึกด้วย โดยค่าสอนต่อตัวคือ 5,000 บาท พร้อมอธิบายว่าลิงหนึ่งตัวสามารถทำงานได้จนถึงอายุ 20 ปี (โดยส่วนมากลิงจะมีอายุขัย 25-30 ปี)
จะเห็นได้ว่า อาชีพ “ลิงเก็บมะพร้าว” เป็นอีกหนึ่งภูมิปัญญาดั้งเดิมของคนไทย ที่แสดงให้เห็นถึงมิตรภาพต่างสายพันธุ์ระหว่างคนกับลิง ซึ่งไม่ใช่แค่การเลี้ยงแบบเจ้านายกับลูกน้องเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีความเมตตาและผูกพันฉันท์เพื่อนเพื่อให้การทำงานในแต่ละครั้งสำเร็จลุล่วง
ดังนั้นเมื่อถามว่าคิดอย่างไรที่มีคนกล่าวว่าลิงเก็บมะพร้าวคือการทรมานสัตว์ ครูฝึกลิงกล่าวว่า “ไม่ใช่การทรมานสัตว์ แต่เป็นวิถีชีวิตชาวบ้านที่ทำกันมานานแสนนานแล้ว เป็นความผูกพันของคนและลิง ที่เลี้ยงดูกันอย่างดีเหมือนสมาชิกในครอบครัว แม้ในยามที่ลิงอายุมากขึ้นเลิกเก็บมะพร้าว เราก็ยังเลี้ยงดูมันอย่างดี” นิรันดร์กล่าวปิดท้าย
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
ชมคลิปต่าง ๆ ได้ที่ Travel MGR
อยู่ๆ ก็เป็นเรื่องขึ้นมาสำหรับ “ลิงเก็บมะพร้าว” ที่ก่อนหน้านี้มีข่าวว่าองค์กรพัฒนาเอกชน หรือ NGO ด้านการคุ้มครองสัตว์ป่าในต่างประเทศได้ทักท้วงถึงการใช้ลิงเก็บมะพร้าวในประเทศไทย เพื่อนำไปผลิตเป็นกะทิสำเร็จรูปส่งออกต่างประเทศว่าเป็นการทรมานสัตว์ จนอาจส่งผลสะเทือนถึงตลาดคู่ค้ารายใหญ่อย่างสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา
ประเด็นที่ว่า “ทรมานสัตว์” ทำเอาเกษตรกรสวนมะพร้าวและผู้เลี้ยงลิงในประเทศไทยถึงกับงง เพราะลิงเก็บมะพร้าวนั้นถือเป็นวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของคนภาคใต้มาช้านาน ไม่ใช่งานง่ายในการสอนลิงกังธรรมดาๆ ให้เป็นลิงเก็บมะพร้าว แต่ต้องฝึกกันเป็นเรื่องเป็นราว จนต้องมี “โรงเรียนสอนลิง” เกิดขึ้น เช่นที่ศูนย์ฝึกลิงเพื่อการเกษตรคลองน้อย ต.คลองน้อย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี ที่ดูแลโดยนิรันดร์ วงศ์วานิช ครูฝึกลิงที่สอนลิงซนๆ ให้กลายเป็นลิงเก็บมะพร้าวมาแล้วจำนวนนับไม่ถ้วน
เนื่องด้วยการเก็บผลมะพร้าวบนยอดสูง 20-30 เมตร นั้นเป็นเรื่องที่คนทำได้ยาก จึงใช้ประโยชน์จากลิงที่ชำนาญการปีนป่ายต้นไม้มาเป็นตัวช่วยชั้นดีในการเก็บมะพร้าว แต่ก่อนที่เจ้าลิงจะก้าวเข้าสู่การเป็นมืออาชีพในวงการการเก็บมะพร้าวนั้น จะต้องผ่านการฝึกฝนให้รู้จักกับท่วงท่าและวิธีการเก็บมะพร้าว เข้าใจในคำสั่งของคนเลี้ยง และมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันเป็นอย่างดี
นิรันดร์ เล่าว่า การฝึกลิงเก็บมะพร้าวต้องมีความอดทนเป็นสำคัญ เพราะนิสัยของลิงโดยธรรมชาตินั้นรักอิสระและไม่อยู่นิ่ง การจะเปลี่ยนนิสัยที่มีมาแต่เดิมนั้นต้องใช้ระยะเวลาและมีขั้นตอน เริ่มแรกจะคัดเลือกลิงที่มีอายุ 1.5-2 ปี ซึ่งกำลังพอเหมาะพอดีในการนำมาฝึกฝน โดยส่วนมากจะนิยมเลือกลิงกังสายพันธุ์นาคบุตร ซึ่งเป็นลิงกังป่าภาคใต้ มีนิสัยดุแต่ฉลาดกว่าลิงป่าชายเลน
“ลิงที่นำมาเก็บมะพร้าวนั้นส่วนมากจะเป็นตัวผู้ มีเคล็ดลับในการเลือกลิงคือต้องดูที่นิ้วของมัน ตัวที่มีนิ้วอ้วนสั้นจะขยันกว่า ตัวที่นิ้วยาวๆ ส่วนมากจะขี้เกียจ ส่วนตัวเมียจะไม่ค่อยใช้ เพราะตัวเมียจะมีความขี้เกียจมากกว่า จะใช้ฝึกไว้เก็บผลไม้ที่ใช้เวลาไม่นาน” นิรันดร์กล่าว
สำหรับขั้นตอนการฝึกลิงของที่นี่จะมีอยู่ 5 ขั้นตอนด้วยกัน แต่ละขั้นตอนใช้เวลา 10 วัน กว่าลิงจะเรียนจบออกไปทำงานได้ก็จะใช้เวลาประมาณ 40-50 วัน จะมีการฝึกเช้าเย็นครั้งละไม่เกิน 10 นาที หากฝึกนานเกินไปลิงจะดื้อและไม่อยากทำอะไรเหมือนกับเด็กๆ ในการฝึกแต่ละขั้นตอนอาจจะต้องมีการลงไม้ลงมือกันบ้างซึ่งอาจจะดูใจร้ายแต่ก็เป็นวิธีเดียวที่จะสามารถดัดนิสัยลิงซนๆ จนกลายมาเป็นมืออาชีพในการเก็บมะพร้าวได้
นิรันดร์เล่าต่อให้ฟังถึงขั้นตอนการฝึกลิง โดยขั้นตอนแรกนั้นคือการ “เข้าแป้น” คือการนำลิงมาผูกไว้กับไม้กระดานเพื่อให้รู้จักการสงบนิ่ง ขั้นที่สองคือการ “ห้อยปั่น” โดยจะนำลูกมะพร้าวมาผูกไว้ในระดับที่ยังไม่สูงมากและจะฝึกให้ลิงปั่นลูกมะพร้าวให้หลุดตกลงมา ขั้นตอนที่สามคือการ “ขึ้นราว” เป็นการฝึกให้ลิงปีนขึ้นบันไดที่พาดไว้กับต้นมะพร้าว เพื่อให้คุ้นชินกับการที่จะปีนขึ้นไปเก็บลูกมะพร้าว
จากนั้นจะเป็นการ “ขึ้นต้นจริง” โดยทักษะทั้งหมดที่เจ้าลิงเรียนมาจะถูกใช้และทดสอบในขั้นตอนนี้ว่าจะสามารถมาเป็นคู่หูในการเก็บมะพร้าวกับเจ้าของได้หรือไม่ และขั้นตอนสุดท้ายที่คุณนิรันได้คิดเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่นั้นก็คือ “การแก้เชือก” หรือการฝึกให้ลิงหัดแก้เชือกเพื่อเอาตัวรอดเวลาที่เกิดเชือกพันอยู่บนยอดมะพร้าว
หลังจากจบการฝึกฝนทักษะทั้ง 5 ขั้นตอนแล้วเจ้าลิงก็สามารถเคียงคู่เจ้าของออกเดินหน้าประกอบอาชีพเก็บมะพร้าวได้ทันที โดยในหนึ่งวันหากเจ้าของและเจ้าลิงขยันก็สามารถที่จะเก็บมะพร้าวได้ถึงราว 700 ลูก และค่าจ้างในการเก็บมะพร้าวอยู่ที่ลูกละ 2.2-3 บาท เรียกได้ว่าถ้าเป็นลิงขยันทำงานแล้วละก็ จะสร้างรายได้ต่อวันเป็น 1,500-2,000 บาท เลยทีเดียว
นิรันดร์กล่าวว่าที่ศูนยฝึกลิงจะมีทั้งลิงของตนเองที่ฝึกไว้เพื่อขายให้ชาวสวนมะพร้าว และมีเจ้าของลิงที่นำลิงของตนเองมาให้ช่วยฝึกด้วย โดยค่าสอนต่อตัวคือ 5,000 บาท พร้อมอธิบายว่าลิงหนึ่งตัวสามารถทำงานได้จนถึงอายุ 20 ปี (โดยส่วนมากลิงจะมีอายุขัย 25-30 ปี)
จะเห็นได้ว่า อาชีพ “ลิงเก็บมะพร้าว” เป็นอีกหนึ่งภูมิปัญญาดั้งเดิมของคนไทย ที่แสดงให้เห็นถึงมิตรภาพต่างสายพันธุ์ระหว่างคนกับลิง ซึ่งไม่ใช่แค่การเลี้ยงแบบเจ้านายกับลูกน้องเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีความเมตตาและผูกพันฉันท์เพื่อนเพื่อให้การทำงานในแต่ละครั้งสำเร็จลุล่วง
ดังนั้นเมื่อถามว่าคิดอย่างไรที่มีคนกล่าวว่าลิงเก็บมะพร้าวคือการทรมานสัตว์ ครูฝึกลิงกล่าวว่า “ไม่ใช่การทรมานสัตว์ แต่เป็นวิถีชีวิตชาวบ้านที่ทำกันมานานแสนนานแล้ว เป็นความผูกพันของคนและลิง ที่เลี้ยงดูกันอย่างดีเหมือนสมาชิกในครอบครัว แม้ในยามที่ลิงอายุมากขึ้นเลิกเก็บมะพร้าว เราก็ยังเลี้ยงดูมันอย่างดี” นิรันดร์กล่าวปิดท้าย
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
ชมคลิปต่าง ๆ ได้ที่ Travel MGR