Youtube :Travel MGR
“เจ็ตสกี” เป็นกิจกรรมกีฬาทางน้ำประเภทหนึ่งที่ถูกใจคนรักความเร็วและกิจกรรมผาดโผน มีลักษณะคล้ายมอเตอร์ไซต์ที่ขับขี่บนผิวน้ำ ซึ่งมีความท้าทายในด้านการควบคุมร่างกายและเครื่องยนต์ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้กลางสายน้ำ ในบ้านเราก็มีกลุ่มคนจำนวนไม่น้อยที่หลงใหลในกิจกรรมประเภทนี้ และมักจะเห็นกลุ่มคนขับเจ็ทสกีรวมตัวกันไปขับขี่ตามที่ต่างๆ ทั้งในบึงซึ่งเป็นพื้นที่ปิด รวมไปถึงในแม่น้ำและในทะเล
แต่เมื่อเร็วๆ นี้เพิ่งมีดรามากลางทะเลเรื่องการใช้เจ็ตสกีใกล้กับเขตอนุรักษ์สัตว์ทะเลที่ “เกาะลิบง” โดยมีรายการท่องเที่ยวรายการหนึ่งไปถ่ายทำที่เกาะลิบงซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ “เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง” (อ.กันตัง จ.ตรัง) อันเป็นที่อยู่อาศัยของ “พะยูน” สัตว์สงวนในทะเลไทย
ดรามาเกิดขึ้นเมื่อมีผู้พบเห็นทีมงานถ่ายทำรายการกลุ่มนี้ขี่เจ็ตสกีอยู่ใกล้บริเวณเกาะลิบง จึงได้ถ่ายภาพโพสต์ลงโซเชียลพร้อมกับตัดพ้อเบาๆ ว่าทีชาวบ้านชาวประมงยังถูกสั่งให้ชะลอเรือ ห้ามเรือนักท่องเที่ยววิ่งเรือไล่พะยูน แล้วเหตุใดจึงปล่อยให้เจ็ตสกีมาวิ่งกันแบบนี้
พร้อมกับแสดงความเป็นห่วงว่า พะยูนเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีความละเอียดอ่อน บอบบาง และเรายังต้องเรียนรู้พฤติกรรมเพื่อดูแล อนุรักษ์และ รักษาพวกมันอีกมาก และสำหรับพะยูนแค่ได้ยินเสียงอะไรที่แปลกปลอมรบกวนการอยู่อาศัยแบบเป็นธรรมชาติก็จะตกใจ จนอาจเกิดภาวะเครียด สัตว์ประเภทนี้ต้องระมัดระวังเรื่องการเกิดความเครียดซึ่งเป็นเรื่องใหญ่และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
ทำให้ทางรายการ Viewfinder The Bucketlist ทำหนังสือชี้แจงผ่านเฟซบุคแฟนเพจของรายการ โดยมีใจความสรุปว่า ในทริปนี้รายการมุ่งเน้นที่เรื่องการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ (พะยูน) ป่าอนุรักษ์ธรรมชาติและวิถีชาวบ้าน ทางรายการได้ปฏิบัติตามกฎของเกาะลิบงทุกประการทั้งเรื่องการใช้ยานพาหนะของชาวบ้านเดินทางบนเกาะ นอนโฮมสเตย์ และใช้เรือหางยาวของชาวบ้านในการออกเรือไปดูพะยูน ส่วนเจ็ตสกีนั้นจอดไว้ที่ทุ่นผูกเรือห่างไกลจากแหล่งที่อยู่ของพะยูน และใช้เจ็ตสกีเป็นยานพาหนะสำหรับข้ามไปเกาะอื่นต่อเท่านั้น ไม่ได้นำเจ็ตสกีขี่เล่นรอบเกาะหรือเข้าใกล้จุดที่เป็นแหล่งอาศัยของพะยูน
ส่วนภาพที่มีการแชร์ออกไปนั้นเป็นการขี่ออกจากจุดท่าเรือบ้านพร้าว เพื่อที่จะมุ่งออกไปยังเกาะอื่นๆ ซึ่งเป็นเส้นทางเดินเรือของชาวบ้านที่ใช้สัญจรตามปกติ
แต่จากกระแสข่าวที่เกิดขึ้นก็ทำให้นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต้องขยับตัวออกมาบอกว่า เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ซ้ำอีกจึงได้ให้นโยบายกับอธิบดีไปว่า ต่อจากนี้ถ้ามีใครมาขออนุญาตทำกิจกรรมในแนวเช่นนี้อีกในเขตอุทยานฯ จะอนุญาตโดยมีเงื่อนไขว่า ต้องใช้ยานพาหนะหรือเรือของชาวบ้าน ชาวประมง หรือคนที่อยู่ในพื้นที่ท้องถิ่นเท่านั้น
กรณีดังกล่าวนี้ทำให้นึกย้อนไปถึงเหตุการณ์คล้ายกันที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม 2562 เมื่อชาวเจ็ตสกีนับสิบลำได้ขับไปชมวาฬบรูด้าในท้องทะเลอ่าวไทยรูป ตัว ก.ไก่ ในเขตจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นการรบกวนการหากินของวาฬบรูด้า รวมถึงเรือนักท่องเที่ยวอื่นๆ เนื่องจากมีการใช้ความเร็วในการขับขี่สูงและส่งเสียงดัง ขี่วนเวียนรอบเรือประมงที่รับนักท่องเที่ยวไปชมวาฬ รวมถึงเข้าใกล้วาฬบรูด้าจนเป็นการรบกวน
ในครั้งนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ลงพื้นที่โดยด่วนไปตักเตือนนักท่องเที่ยวกลุ่มดังกล่าวไม่ให้นำขบวนเจ็ตสกีไปรบกวนวาฬอีก พร้อมประสานหน่วยงานเจ้าท่าในพื้นที่เพื่อตรวจสอบใบอนุญาตการใช้เรือและใบนายท้ายเรือของกลุ่มผู้ขับเจ็ตสกี ส่วนกลุ่มผู้ขับเจ็ตสกีได้ทราบและเข้าใจถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นและพร้อมหยุดการกระทำดังกล่าวอย่างเด็ดขาด
ทั้งนี้ วาฬบรูด้าเป็นเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ในทะเล หายใจด้วยปอด ขนาดโตเต็มวัยมีความยาวประมาณ 14-15 เมตร น้ำหนักประมาณ 20 ตัน ปัจจุบันวาฬบรูด้าได้รับการประกาศให้เป็นสัตว์สงวน ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ในพื้นที่อ่าวไทยมีประชากรวาฬบรูด้า ประมาณ 50 ตัว จากการสำรวจในแต่ละวัน อาจพบได้ตั้งแต่ 1 ตัว หรือมากถึง 10 ตัว ขึ้นกับปริมาณของปลาที่เป็นอาหาร
ส่วนข้อปฏิบัติในการชมวาฬบรูด้าที่สำคัญ คือ ความเร็วเรือต้องต่ำกว่า 7 น็อต ในรัศมี 400 เมตร และต่ำกว่า 4 น็อต ในรัศมี 100-300 เมตร จำนวนเรือไม่เกิน 3 ลำ โดยรอบพื้นที่ นอกจากนี้ การสร้างเสียงรบกวนทั้งจากเหนือน้ำและใต้น้ำก็จะส่งผลกระทบต่อวาฬด้วย ดังนั้น จึงไม่ควรกระทำการใดๆ ให้เกิดเสียงดัง เช่น เร่งเครื่องยนต์เรือ หรือการส่งเสียงดังของนักท่องเที่ยว
ด้าน ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม ก็ได้ออกมาโพสต์ถึงกรณีครั้งนั้นว่า วาฬบรูด้าเป็นสัตว์สงวน การขี่เจ็ตสกีไล่ดูบรูด้า ก็เหมือนกับการขี่มอเตอร์ไซค์ไล่ดูควายป่า อีกทั้งยังกล่าวว่า เท่าที่จำได้ หนนี้เป็นหนที่ 3 แล้วที่มีการขี่เจ็ตสกีไล่ดูวาฬ ทุกครั้งจบลงด้วยการตักเตือน ขออภัย รู้เท่าไม่ถึงการณ์
ไม่เพียงสองกรณีนี้เท่านั้น ในเดือนสิงหาคม 2562 มีรายงานข่าวว่า นักท่องเที่ยวนำเรือเจ็ตสกีเกือบ 10 ลำ มาขับแข่งซิ่งกันในพื้นที่อ่าวเขากาโรส ต.เขาคราม อ.เมืองกระบี่ โดยทราบว่าเป็นเรือที่มาจากจังหวัดใกล้เคียง ทำให้คนในพื้นที่ไม่สบายใจ เพราะจังหวัดกระบี่เน้นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ผิดข้อประกาศของจังหวัด เรื่องกำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในพื้นที่จังหวัดกระบี่ ที่ห้ามกระทำการหรือประกอบกิจกรรม การเล่นเรือสกูตเตอร์ การเล่นเจ็ตสกี หรือการเล่นเรือลากทุกชนิด
อีกทั้งการขับขี่อย่างรวดเร็วและส่งเสียงดังยังส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำในทะเลด้วย เนื่องจากบริเวณอ่าวเขากาโรสมีป่าชายเลนที่ค่อนข้างจะสมบูรณ์ เป็นที่วางไข่ ฟักไข่ และเลี้ยงลูกอ่อนของสัตว์ทะเล คนในชุมชนทำการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เช่น พายเรือคายัคชมป่าชายเลน และยังเป็นแหล่งประมงพื้นบ้าน การขับเรือเจ็ตสกีที่มีเสียงดังอาจทำให้สัตว์ทะเลตกใจ หรือถึงขั้นหยุดฟักไข่ เลี้ยงลูกวัยอ่อนได้
เช่นเดียวกับในเดือนกรกฎาคม 2562 ที่มีการแชร์คลิปกลุ่มคนขับเจ็ตสกีกว่า 10 ลำ ขับขี่ผาดโผนด้วยความเร็ว ในพื้นที่ของ อ.เกาะยาว จ.พังงา และพบว่ามาขัยขี่กันเป็นประจำ จนทำให้นักท่องเที่ยวเริ่มรู้สึกไม่สงบ และปลอดภัย และการกระทำดังกล่าวยังขัดต่อประกาศสิ่งแวดล้อมจังหวัด ที่ห้ามไม่ให้มีเครื่องเล่นประเภทเจ็ตสกี ร่มบิน เรือลาก ที่อาจสร้างความเสียหายให้กับทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ ความไม่ปลอดภัยต่อนักท่องเที่ยวที่ต้องการความสงบ
ส่วนในเดือนกรกฎาคม 2559 ก็มีการรายงานข่าวชาวบ้านเกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี ยื่นหนังสือค้านกิจการเรือเจ็ตสกี บริเวณหาดท้องนายปาน หวั่นทำลายธรรมชาติ-ระบบนิเวศในพื้นที่ เพราะเป็นพื้นที่อุดมไปด้วยสัตว์น้ำอย่างกุ้งเคย ซึ่งชาวบ้านนำมาผลิตเป็นกะปิสร้างรายได้ให้ชุมชน แต่เมื่อมีธุรกิจเรือเจ็ตสกี ทำให้สัตว์เหล่านี้หายไปจากระบบนิเวศ รวมทั้งเกรงว่าจะเกิดความไม่ปลอดภัยกับนักท่องเที่ยวที่ลงไปเล่นน้ำ
ปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้งจึงเป็นข้อชวนคิดสำหรับคนที่รักกิจกรรมทางน้ำอย่างเจ็ตสกี ที่หากจะไปเล่นในแหล่งน้ำสาธารณะที่ใดก็ควรจะต้องหาข้อมูลเกี่ยวกับกฎระเบียบของแต่ละพื้นที่ รวมถึงรักษามารยาทในการไม่รบกวนคนในพื้นที่ เพื่อไม่ให้เกิดดรามาดังที่ผ่านมา ที่จะสร้างภาพลักษณ์ทางลบให้แก่กลุ่มคนรักเจ็ตสกีต่อไป
อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง
“เกาะลิบง”สะอื้น ดาราขับเจ็ตสกีถ่ายหนัง ทำสวรรค์พะยูนไทยมัวหมอง
“ภูริ” โต้ดรามาขี่เจ็ตสกีเกาะลิบง ยันอยู่ทะเลตั้งแต่เด็ก “รู้อะไรควร ไม่ควร”
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
ชมคลิปต่าง ๆ ได้ที่ Travel MGR
“เจ็ตสกี” เป็นกิจกรรมกีฬาทางน้ำประเภทหนึ่งที่ถูกใจคนรักความเร็วและกิจกรรมผาดโผน มีลักษณะคล้ายมอเตอร์ไซต์ที่ขับขี่บนผิวน้ำ ซึ่งมีความท้าทายในด้านการควบคุมร่างกายและเครื่องยนต์ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้กลางสายน้ำ ในบ้านเราก็มีกลุ่มคนจำนวนไม่น้อยที่หลงใหลในกิจกรรมประเภทนี้ และมักจะเห็นกลุ่มคนขับเจ็ทสกีรวมตัวกันไปขับขี่ตามที่ต่างๆ ทั้งในบึงซึ่งเป็นพื้นที่ปิด รวมไปถึงในแม่น้ำและในทะเล
แต่เมื่อเร็วๆ นี้เพิ่งมีดรามากลางทะเลเรื่องการใช้เจ็ตสกีใกล้กับเขตอนุรักษ์สัตว์ทะเลที่ “เกาะลิบง” โดยมีรายการท่องเที่ยวรายการหนึ่งไปถ่ายทำที่เกาะลิบงซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ “เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง” (อ.กันตัง จ.ตรัง) อันเป็นที่อยู่อาศัยของ “พะยูน” สัตว์สงวนในทะเลไทย
ดรามาเกิดขึ้นเมื่อมีผู้พบเห็นทีมงานถ่ายทำรายการกลุ่มนี้ขี่เจ็ตสกีอยู่ใกล้บริเวณเกาะลิบง จึงได้ถ่ายภาพโพสต์ลงโซเชียลพร้อมกับตัดพ้อเบาๆ ว่าทีชาวบ้านชาวประมงยังถูกสั่งให้ชะลอเรือ ห้ามเรือนักท่องเที่ยววิ่งเรือไล่พะยูน แล้วเหตุใดจึงปล่อยให้เจ็ตสกีมาวิ่งกันแบบนี้
พร้อมกับแสดงความเป็นห่วงว่า พะยูนเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีความละเอียดอ่อน บอบบาง และเรายังต้องเรียนรู้พฤติกรรมเพื่อดูแล อนุรักษ์และ รักษาพวกมันอีกมาก และสำหรับพะยูนแค่ได้ยินเสียงอะไรที่แปลกปลอมรบกวนการอยู่อาศัยแบบเป็นธรรมชาติก็จะตกใจ จนอาจเกิดภาวะเครียด สัตว์ประเภทนี้ต้องระมัดระวังเรื่องการเกิดความเครียดซึ่งเป็นเรื่องใหญ่และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
ทำให้ทางรายการ Viewfinder The Bucketlist ทำหนังสือชี้แจงผ่านเฟซบุคแฟนเพจของรายการ โดยมีใจความสรุปว่า ในทริปนี้รายการมุ่งเน้นที่เรื่องการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ (พะยูน) ป่าอนุรักษ์ธรรมชาติและวิถีชาวบ้าน ทางรายการได้ปฏิบัติตามกฎของเกาะลิบงทุกประการทั้งเรื่องการใช้ยานพาหนะของชาวบ้านเดินทางบนเกาะ นอนโฮมสเตย์ และใช้เรือหางยาวของชาวบ้านในการออกเรือไปดูพะยูน ส่วนเจ็ตสกีนั้นจอดไว้ที่ทุ่นผูกเรือห่างไกลจากแหล่งที่อยู่ของพะยูน และใช้เจ็ตสกีเป็นยานพาหนะสำหรับข้ามไปเกาะอื่นต่อเท่านั้น ไม่ได้นำเจ็ตสกีขี่เล่นรอบเกาะหรือเข้าใกล้จุดที่เป็นแหล่งอาศัยของพะยูน
ส่วนภาพที่มีการแชร์ออกไปนั้นเป็นการขี่ออกจากจุดท่าเรือบ้านพร้าว เพื่อที่จะมุ่งออกไปยังเกาะอื่นๆ ซึ่งเป็นเส้นทางเดินเรือของชาวบ้านที่ใช้สัญจรตามปกติ
แต่จากกระแสข่าวที่เกิดขึ้นก็ทำให้นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต้องขยับตัวออกมาบอกว่า เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ซ้ำอีกจึงได้ให้นโยบายกับอธิบดีไปว่า ต่อจากนี้ถ้ามีใครมาขออนุญาตทำกิจกรรมในแนวเช่นนี้อีกในเขตอุทยานฯ จะอนุญาตโดยมีเงื่อนไขว่า ต้องใช้ยานพาหนะหรือเรือของชาวบ้าน ชาวประมง หรือคนที่อยู่ในพื้นที่ท้องถิ่นเท่านั้น
กรณีดังกล่าวนี้ทำให้นึกย้อนไปถึงเหตุการณ์คล้ายกันที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม 2562 เมื่อชาวเจ็ตสกีนับสิบลำได้ขับไปชมวาฬบรูด้าในท้องทะเลอ่าวไทยรูป ตัว ก.ไก่ ในเขตจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นการรบกวนการหากินของวาฬบรูด้า รวมถึงเรือนักท่องเที่ยวอื่นๆ เนื่องจากมีการใช้ความเร็วในการขับขี่สูงและส่งเสียงดัง ขี่วนเวียนรอบเรือประมงที่รับนักท่องเที่ยวไปชมวาฬ รวมถึงเข้าใกล้วาฬบรูด้าจนเป็นการรบกวน
ในครั้งนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ลงพื้นที่โดยด่วนไปตักเตือนนักท่องเที่ยวกลุ่มดังกล่าวไม่ให้นำขบวนเจ็ตสกีไปรบกวนวาฬอีก พร้อมประสานหน่วยงานเจ้าท่าในพื้นที่เพื่อตรวจสอบใบอนุญาตการใช้เรือและใบนายท้ายเรือของกลุ่มผู้ขับเจ็ตสกี ส่วนกลุ่มผู้ขับเจ็ตสกีได้ทราบและเข้าใจถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นและพร้อมหยุดการกระทำดังกล่าวอย่างเด็ดขาด
ทั้งนี้ วาฬบรูด้าเป็นเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ในทะเล หายใจด้วยปอด ขนาดโตเต็มวัยมีความยาวประมาณ 14-15 เมตร น้ำหนักประมาณ 20 ตัน ปัจจุบันวาฬบรูด้าได้รับการประกาศให้เป็นสัตว์สงวน ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ในพื้นที่อ่าวไทยมีประชากรวาฬบรูด้า ประมาณ 50 ตัว จากการสำรวจในแต่ละวัน อาจพบได้ตั้งแต่ 1 ตัว หรือมากถึง 10 ตัว ขึ้นกับปริมาณของปลาที่เป็นอาหาร
ส่วนข้อปฏิบัติในการชมวาฬบรูด้าที่สำคัญ คือ ความเร็วเรือต้องต่ำกว่า 7 น็อต ในรัศมี 400 เมตร และต่ำกว่า 4 น็อต ในรัศมี 100-300 เมตร จำนวนเรือไม่เกิน 3 ลำ โดยรอบพื้นที่ นอกจากนี้ การสร้างเสียงรบกวนทั้งจากเหนือน้ำและใต้น้ำก็จะส่งผลกระทบต่อวาฬด้วย ดังนั้น จึงไม่ควรกระทำการใดๆ ให้เกิดเสียงดัง เช่น เร่งเครื่องยนต์เรือ หรือการส่งเสียงดังของนักท่องเที่ยว
ด้าน ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม ก็ได้ออกมาโพสต์ถึงกรณีครั้งนั้นว่า วาฬบรูด้าเป็นสัตว์สงวน การขี่เจ็ตสกีไล่ดูบรูด้า ก็เหมือนกับการขี่มอเตอร์ไซค์ไล่ดูควายป่า อีกทั้งยังกล่าวว่า เท่าที่จำได้ หนนี้เป็นหนที่ 3 แล้วที่มีการขี่เจ็ตสกีไล่ดูวาฬ ทุกครั้งจบลงด้วยการตักเตือน ขออภัย รู้เท่าไม่ถึงการณ์
ไม่เพียงสองกรณีนี้เท่านั้น ในเดือนสิงหาคม 2562 มีรายงานข่าวว่า นักท่องเที่ยวนำเรือเจ็ตสกีเกือบ 10 ลำ มาขับแข่งซิ่งกันในพื้นที่อ่าวเขากาโรส ต.เขาคราม อ.เมืองกระบี่ โดยทราบว่าเป็นเรือที่มาจากจังหวัดใกล้เคียง ทำให้คนในพื้นที่ไม่สบายใจ เพราะจังหวัดกระบี่เน้นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ผิดข้อประกาศของจังหวัด เรื่องกำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในพื้นที่จังหวัดกระบี่ ที่ห้ามกระทำการหรือประกอบกิจกรรม การเล่นเรือสกูตเตอร์ การเล่นเจ็ตสกี หรือการเล่นเรือลากทุกชนิด
อีกทั้งการขับขี่อย่างรวดเร็วและส่งเสียงดังยังส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำในทะเลด้วย เนื่องจากบริเวณอ่าวเขากาโรสมีป่าชายเลนที่ค่อนข้างจะสมบูรณ์ เป็นที่วางไข่ ฟักไข่ และเลี้ยงลูกอ่อนของสัตว์ทะเล คนในชุมชนทำการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เช่น พายเรือคายัคชมป่าชายเลน และยังเป็นแหล่งประมงพื้นบ้าน การขับเรือเจ็ตสกีที่มีเสียงดังอาจทำให้สัตว์ทะเลตกใจ หรือถึงขั้นหยุดฟักไข่ เลี้ยงลูกวัยอ่อนได้
เช่นเดียวกับในเดือนกรกฎาคม 2562 ที่มีการแชร์คลิปกลุ่มคนขับเจ็ตสกีกว่า 10 ลำ ขับขี่ผาดโผนด้วยความเร็ว ในพื้นที่ของ อ.เกาะยาว จ.พังงา และพบว่ามาขัยขี่กันเป็นประจำ จนทำให้นักท่องเที่ยวเริ่มรู้สึกไม่สงบ และปลอดภัย และการกระทำดังกล่าวยังขัดต่อประกาศสิ่งแวดล้อมจังหวัด ที่ห้ามไม่ให้มีเครื่องเล่นประเภทเจ็ตสกี ร่มบิน เรือลาก ที่อาจสร้างความเสียหายให้กับทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ ความไม่ปลอดภัยต่อนักท่องเที่ยวที่ต้องการความสงบ
ส่วนในเดือนกรกฎาคม 2559 ก็มีการรายงานข่าวชาวบ้านเกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี ยื่นหนังสือค้านกิจการเรือเจ็ตสกี บริเวณหาดท้องนายปาน หวั่นทำลายธรรมชาติ-ระบบนิเวศในพื้นที่ เพราะเป็นพื้นที่อุดมไปด้วยสัตว์น้ำอย่างกุ้งเคย ซึ่งชาวบ้านนำมาผลิตเป็นกะปิสร้างรายได้ให้ชุมชน แต่เมื่อมีธุรกิจเรือเจ็ตสกี ทำให้สัตว์เหล่านี้หายไปจากระบบนิเวศ รวมทั้งเกรงว่าจะเกิดความไม่ปลอดภัยกับนักท่องเที่ยวที่ลงไปเล่นน้ำ
ปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้งจึงเป็นข้อชวนคิดสำหรับคนที่รักกิจกรรมทางน้ำอย่างเจ็ตสกี ที่หากจะไปเล่นในแหล่งน้ำสาธารณะที่ใดก็ควรจะต้องหาข้อมูลเกี่ยวกับกฎระเบียบของแต่ละพื้นที่ รวมถึงรักษามารยาทในการไม่รบกวนคนในพื้นที่ เพื่อไม่ให้เกิดดรามาดังที่ผ่านมา ที่จะสร้างภาพลักษณ์ทางลบให้แก่กลุ่มคนรักเจ็ตสกีต่อไป
อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง
“เกาะลิบง”สะอื้น ดาราขับเจ็ตสกีถ่ายหนัง ทำสวรรค์พะยูนไทยมัวหมอง
“ภูริ” โต้ดรามาขี่เจ็ตสกีเกาะลิบง ยันอยู่ทะเลตั้งแต่เด็ก “รู้อะไรควร ไม่ควร”
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
ชมคลิปต่าง ๆ ได้ที่ Travel MGR