Youtube :Travel MGR
หลังข่าวดีที่ CNN ยกให้เกาะลิบง เป็นสวรรค์ของพะยูนไทย ก็มีข่าวฉาวมาทำให้สะดุดกับกรณี มีดาราขับเจ็ตสกีถ่ายรายการในเขตเกาะลิบง จนมีคนตำหนิกันเป็นจำนวนมาก ด้าน รมว.ทส ไม่นิ่งนอนใจ กำชับนโยบาย ต่อไปใครมาทำกิจกรรมให้ใช้เรือของชาวบ้านในพื้นที่
เกาะลิบง สวรรค์พะยูนไทย
เพิ่งจะมีข่าวดีไปไม่กี่วันมานี้ เมื่อ CNN สำนักข่าวชื่อดังระดับโลกยก “เกาะลิบง” เป็นดังสวรรค์ของประชากรพะยูนในประเทศไทย โดยได้หยิบยกเรื่องราวของ “มาเรียม” พะยูนน้อยขวัญใจชาวไทยผู้ล่วงลับ ที่ได้เดินทางจาก อ่าวทึง จ.กระบี่ มาอาศัยที่เกาะลิบง จนเป็นข่าวโด่งดัง อีกทั้งยังปลุกกระแสการอนุรักษ์ รวมไปถึงกระแสการงดใช้ถุงพลาสติกในเมืองไทย ซึ่งเป็นสาเหตุให้มาเรียมต้องเสียชีวิต
สำหรับเกาะลิบง เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของ จ.ตรัง (อ.กันตัง) เป็นส่วนหนึ่งของ “เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง” ซึ่งมีความหลากหลายทางชีวภาพ มีทรัพยากรทางทะเลที่อุดมสมบูรณ์ อีกทั้งเป็นอาหารและแหล่งอาศัยที่สำคัญของนกอพยพในฤดูหนาว รวมถึงมีการพบนกใกล้สูญพันธุ์และถูกคุกคามในระดับโลก อาทิ นกหัวโตมลายู นกฟินฟุต เป็นต้น
ที่สำคัญคือบริเวณนี้เป็นแหล่งหญ้าทะเล (อาหารของพะยูน) ขนาดใหญ่ที่สุดในเมืองไทย มีเนื้อที่กว่า 18,000 ไร่ ทำให้ที่นี่เป็น ทำให้ที่นี่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของ “พะยูน” แหล่งใหญ่ที่สุดของเมืองไทย ซึ่งจากการสำรวจล่าสุด มีประมาณ 180 ตัว ในพื้นที่บริเวณเกาะลิบง
ด้วยความโดดเด่นในด้านทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง ทำให้ที่นี่ได้รับการการประกาศให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ หรือแรมซาร์ไซต์ ในปี 2545 (อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม-หมู่เกาะลิบง-ปากน้ำตรัง) และล่าสุดได้รับการประกาศเป็นอุทยานมรดกแห่งอาเซียน เมื่อปี 2562 (อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม-เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง)
นอกจากนี้ปัจจุบันยังมีการผลักดันให้เกาะลิบง เป็นเกาะต้นแบบในการศึกษาเรียนรู้รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับพะยูน หญ้าทะเล ปะการัง สัตว์ทะเล สิ่งแวดล้อมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง วิถีชุมชน
ทั้งนี้โครงการดังกล่าวจะใช้พื้นที่กว่า 200 ไร่ บริเวณอ่าวทุ่งจีน ซึ่งอยู่ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง เป็นสถานที่ก่อสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยเทียบเท่ากับระดับสากล สร้างแหล่งเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ โรงพยาบาลสัตว์ทะเลหายาก สร้างแหล่งอนุบาล และบริบาลสัตว์ทะเลที่ครบวงจร เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลเชิงนิเวศ ที่ยิ่งใหญ่ในอาเซียน (ASEAN Sea Word) เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ จ.ตรัง และชุมชนใน 6 จังหวัดชายฝั่งอันดามัน
ขับเจ็ตสกี สะเทือนถึงสวรรค์พะยูนไทย
จากข่าวดีล่าสุดที่เกาะลิบงเพิ่งจะได้นับการยกย่องให้เป็นสวรรค์ของพะยูนไทย (ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น) ผ่านพ้นมาเพียงไม่กี่วัน เกาะลิบงก็มีเรื่องฉาวเกิดขึ้นเป็นข่าวโด่งดัง เมื่อมีดารากับทีมงานไปขับเจ็ตสกีถ่ายทำรายการ ในบริเวณ “อ่าวทุ่งจีน” หมู่เกาะลิบงซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของพะยูน
เรื่องนี้ทำให้ ผู้ใช้เฟซบุ๊ก “Tom Potisit” รู้สึกทนไม่ได้ ได้ออกมาโพสต์ตำหนิการกระทำดังกล่าว (14 ก.พ. 63) โดยระบุว่า พะยูนเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีความละเอียดอ่อน บอบบาง และเรายังต้องเรียนรู้พฤติกรรมเพื่อดูแล อนุรักษ์และ รักษาพวกมันอีกมาก และสำหรับพะยูนแค่ได้ยินเสียงอะไรที่แปลกปลอมรบกวนการอยู่อาศัยแบบเป็นธรรมชาติก็จะตกใจ จนอาจเกิดภาวะเครียด สัตว์ประเภทนี้ต้องระมัดระวังเรื่องการเกิดความเครียดซึ่งเป็นเรื่องใหญ่และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
ทั้งนี้จากในภาพจะเห็นว่าพะยูนว่ายน้ำหนีเพราะเครื่องบินสำรวจ (โดรน) บินลงต่ำ ขี้ตกใจมาก เวลาที่ทำการสำรวจจึงต้องรักษาระยะความสูงเพื่อไม่ให้รบกวน จากการสำรวจโดยศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอันดามัน ในปีที่ผ่านมา ประเทศไทยเหลือพะยูน อยู่ประมาณ 250 ตัว ส่วนสถิติการตายหากเทียบกับสถิติช่วง 12 ปีที่ผ่านมา พบว่าปีที่แล้วมีพะยูนเกยตื้นและตายมากที่สุด มากกว่า 20 ตัว
สำหรับประเด็นที่มีกลุ่มคนเข้าไปทำถ่ายทำภาพยนต์และนำเจ็ตสกีเข้าไปในพื้นที่ แม้ไม่มีใบพัดแต่ด้วยความเร็ว มันชนจนเกิดอันตรายได้และเป็นการรบกวนสัตว์สงวนในถิ่นอาศัย ในอดีตมีสถิติการตายจากกิจกรรมท่องเที่ยวโดยเฉพาะเรือเร็วอาจชนทำให้พะยูนบาดเจ็บหรือตายได้นั้น ในระยะหลัง มักเจอสัตว์หายากที่บาดเจ็บหรือตายจากเรือชนหรือโดนใบจักรเป็นประจำ
หลังโพสต์ดังกล่าวได้มีผู้คนทั้งในโลกออนไลน์และออฟไลน์แสดงความเห็นตำหนิการกระทำของรายการดังกล่าวอย่างมาก ว่าเป็นเรื่องไม่สมควรกระทำ
ขณะที่ นายชัยพฤกษ์ วีระวงศ์ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง ก็ได้ออกมาโพสต์ชี้แจงว่า
เรียน ผู้บังคับบัญชา
เพื่อโปรดทราบ
ตามที่มีผู้ร้องไปทางสื่อ ประเด็นมีกลุ่มบุคคลได้นำเรือเจ็ทสกีเข้ามาขับในเขตฯลิบงบริเวณ (อ่าวทุ่งจีน) และอาจทำให้เกิดอันตรายจากการชนจากเรือต่อพะยูนและสัตว์ทะเลอื่น ๆ ได้ นั้น
ข้าพเจ้า นายชัยพฤกษ์ วีระวงศ์ หัวหน้าเขตฯลิบงขอเรียนชี้แจงข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าวดังนี้
1.กลุ่มบุคคลดังกล่าวคือ คณะของบริษัททวิน เชอร์รี่ จำกัด มีทีมงานจำนวน 6 คน เข้าไปใช้สถานที่เขตฯลิบง เพื่อถ่ายทำรายการ Viewfinder The Buckylist (Viewfinder The Bucket List : แก้ไขชื่อรายการที่สะกดผิดจากโพสต์นี้) โดยใช้อากาศยานไร้คนขับ (โดรน) โดยในเรื่องนี้คณะดังกล่าวได้มีหนังสือขออนุญาตถ่ายทำภาพยนตร์ในเขตฯลิบง จ.ตรัง ไปยังสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่าแล้วและทางสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่าได้มีหนังสือสำนักฯที่ ทส 0909.105/ 739 ลงวันที่ 6 ก.พ.2563 อนุญาตให้บริษัทดังกล่าวเข้าไปใช้สถาน ที่โดยให้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. สงวนฯ พ.ศ.2562
2.เมื่อวันที่ 13 ก.พ.2563 ข้าพเจ้าได้ไปพบคณะดังกล่าวพร้อมกับกำชับให้คณะดังกล่าวปฏิบัติภายใต้ระเบียบและกฎหมายตลอดจนแนวปฏิบัติตามกติกาชุมชน โดยเฉพาะบริเวณอ่าวทุ่งจีนที่เป็นที่อาศัยของพะยูนซึ่งต้องชลอความเร็วของยานยนต์ต่างๆทางคณะผู้ถ่ายทำก็ได้ปฏิบัติตามระเบียบคือชลอความเร็วยานยนต์และนำเจ็ทสกีไปผูกกับทุ่นจอดเรือจากนั้นก็ได้นำโดรนขึ้นบินบันทึกภาพ และเดินทางกลับที่พักที่เกาะลิบง
3.วันที่ 14 ก.พ.2563 คณะดังกล่าวได้ทำการถ่ายทำเรื่อง กะปิ บริเวณ ร้านค้าบนเกาะลิบง และเวลาประมาณ 10.00 น. คณะดังกล่าวก็ได้เดินทางโดยรถยนต์จากหมู่บ้านบนเกาะลิบง มายังท่าเรือบ้านพร้าว ซึ่งเทสกีจอดอยู่บริเวณท่าเรือ และคณะได้ขับเจ็ทสกีออกจากเกาะลิบงเพื่อเดินทางไปยังเกาะเหลาเหลียง ซึ่งอยู่ นอกเขตฯลิบง การถ่ายทำภาพยนตร์ที่เกาะลิบงจึงจบลง
4.สำหรับประเด็นตามรูปจะเห็นว่าเจ็ทสกีมีความเร็วนั้นได้ตรวจสอบแล้วทราบว่าเส้นทางที่เจ็ทสกีมีความเร็วเป็นเส้นทางที่อยู่ห่างจากบริเวณที่พะยูนอาศัยหากินพอสมควรจึงไม่ก่อให้เกิดการชนของยานยนต์ต่อพะยูน อีกทั้งได้ตรวจยานยนต์แล้วพบว่าเป็นยานยนต์ที่ไม่มีใบพัดการขับเคลื่อนโดยใช้แรงดันจากน้ำ เมื่อควบคุมความเร็วในบริเวณที่กำหนดไว้ก็จะไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์ทะเลและอื่น ๆ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา
นายชัยพฤกษ์ วีระวงศ์ หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง รายงาน
ทั้งนี้หลังเหตุการณ์ดังกล่าวได้มีผู้ร้องเรียนไปยังพรรคการเมืองที่ดูแลงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งหลังจากนั้นไม่นาน นาย “วราวุธ ศิลปอาชา” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ได้ออกมาเปิดเผยกับสื่อมวลชน (มติชนออนไลน์) ว่า
จากกรณีที่มีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นหลายครั้งแล้ว บางครั้งวิจารณญาณของเจ้าหน้าที่ กับวิจารณญาณของผู้ที่พบเห็น อาจจะแตกต่างกันไป บางครั้งเจ้าหน้าที่คิดว่าปลอดภัยแล้ว แต่ผู้ที่พบเห็นบอกว่ายังไม่ปลอดภัย ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ซ้ำอีก ผมได้ให้นโยบายกับอธิบดีไปว่า ต่อจากนี้ถ้ามีใครมาขออนุญาตทำกิจกรรมในแนวเช่นนี้อีกในเขตอุทยานฯ จะอนุญาตโดยมีเงื่อนไขว่า ต้องใช้ยานพาหนะหรือเรือของชาวบ้าน ชาวประมง หรือคนที่อยู่ในพื้นที่ ท้องถิ่น เท่านั้น ด้วยเหตุผลว่า
1.เป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจในชุมชน ให้เกิดการหมุนเวียนเม็ดเงินเข้ามาในลักษณะของนักท่องเที่ยว
2.เพื่อใช้คนในพื้นที่เป็นผู้นำทาง ด้วยความชำนาญ
“ที่สำคัญที่สุดคือเขาจะมีความหวงแหนทรัพยากรที่ท้องถิ่นมีอยู่ เช่น พานักท่องเที่ยวไปเที่ยวถ้ำ แล้วถ้านักท่องเที่ยวจะไปขีดเขียนอะไร เขาจะมีความรู้สึกว่า นี่คือสมบัติของท้องถิ่นของเขา และเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของคนพื้นที่ทุกคน เขาก็จะไม่ยอมให้ใครมาทำอะไร เป็นการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ ทั้งทางบกและทางน้ำ และเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ไปในตัว ผมมอบแนวทางดังกล่าวให้กับอธิบดีไปแล้วว่าต่อไปนี้ทุกกรณีต้องใช้ยานพาหนะของคนในท้องถิ่น”
และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งบทเรียนราคาแพงของการกระทำที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งแม้บางครั้งอาจจะไม่ได้ส่งผลกระทบทางตรง แต่ก็อาจส่งผลกระทบทางอ้อม โดยเฉพาะในกรณีของพะยูน สัตว์ป่าสงวนที่มีความสุ่มเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ และมีความอ่อนไหวง่าย ซึ่งในขณะที่เรื่องราวของน้องมาเรียมนั้น ได้ทำให้หมู่เกาะลิบงถิ่นที่อยู่อาศัยสำคัญของพะยูนเป็นที่รู้จักโด่งดังไปทั่วโลก
แต่กระนั้นก็ยังมีการกระทำที่ไม่เหมาะของคนเพียงไม่กี่คนที่ทำให้สวรรค์ของพะยูนไทยต้องสะเทือนและมัวหมองไป
....................................................................................................
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
ชมคลิปต่าง ๆ ได้ที่ Travel MGR
หลังข่าวดีที่ CNN ยกให้เกาะลิบง เป็นสวรรค์ของพะยูนไทย ก็มีข่าวฉาวมาทำให้สะดุดกับกรณี มีดาราขับเจ็ตสกีถ่ายรายการในเขตเกาะลิบง จนมีคนตำหนิกันเป็นจำนวนมาก ด้าน รมว.ทส ไม่นิ่งนอนใจ กำชับนโยบาย ต่อไปใครมาทำกิจกรรมให้ใช้เรือของชาวบ้านในพื้นที่
เกาะลิบง สวรรค์พะยูนไทย
เพิ่งจะมีข่าวดีไปไม่กี่วันมานี้ เมื่อ CNN สำนักข่าวชื่อดังระดับโลกยก “เกาะลิบง” เป็นดังสวรรค์ของประชากรพะยูนในประเทศไทย โดยได้หยิบยกเรื่องราวของ “มาเรียม” พะยูนน้อยขวัญใจชาวไทยผู้ล่วงลับ ที่ได้เดินทางจาก อ่าวทึง จ.กระบี่ มาอาศัยที่เกาะลิบง จนเป็นข่าวโด่งดัง อีกทั้งยังปลุกกระแสการอนุรักษ์ รวมไปถึงกระแสการงดใช้ถุงพลาสติกในเมืองไทย ซึ่งเป็นสาเหตุให้มาเรียมต้องเสียชีวิต
สำหรับเกาะลิบง เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของ จ.ตรัง (อ.กันตัง) เป็นส่วนหนึ่งของ “เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง” ซึ่งมีความหลากหลายทางชีวภาพ มีทรัพยากรทางทะเลที่อุดมสมบูรณ์ อีกทั้งเป็นอาหารและแหล่งอาศัยที่สำคัญของนกอพยพในฤดูหนาว รวมถึงมีการพบนกใกล้สูญพันธุ์และถูกคุกคามในระดับโลก อาทิ นกหัวโตมลายู นกฟินฟุต เป็นต้น
ที่สำคัญคือบริเวณนี้เป็นแหล่งหญ้าทะเล (อาหารของพะยูน) ขนาดใหญ่ที่สุดในเมืองไทย มีเนื้อที่กว่า 18,000 ไร่ ทำให้ที่นี่เป็น ทำให้ที่นี่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของ “พะยูน” แหล่งใหญ่ที่สุดของเมืองไทย ซึ่งจากการสำรวจล่าสุด มีประมาณ 180 ตัว ในพื้นที่บริเวณเกาะลิบง
ด้วยความโดดเด่นในด้านทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง ทำให้ที่นี่ได้รับการการประกาศให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ หรือแรมซาร์ไซต์ ในปี 2545 (อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม-หมู่เกาะลิบง-ปากน้ำตรัง) และล่าสุดได้รับการประกาศเป็นอุทยานมรดกแห่งอาเซียน เมื่อปี 2562 (อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม-เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง)
นอกจากนี้ปัจจุบันยังมีการผลักดันให้เกาะลิบง เป็นเกาะต้นแบบในการศึกษาเรียนรู้รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับพะยูน หญ้าทะเล ปะการัง สัตว์ทะเล สิ่งแวดล้อมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง วิถีชุมชน
ทั้งนี้โครงการดังกล่าวจะใช้พื้นที่กว่า 200 ไร่ บริเวณอ่าวทุ่งจีน ซึ่งอยู่ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง เป็นสถานที่ก่อสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยเทียบเท่ากับระดับสากล สร้างแหล่งเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ โรงพยาบาลสัตว์ทะเลหายาก สร้างแหล่งอนุบาล และบริบาลสัตว์ทะเลที่ครบวงจร เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลเชิงนิเวศ ที่ยิ่งใหญ่ในอาเซียน (ASEAN Sea Word) เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ จ.ตรัง และชุมชนใน 6 จังหวัดชายฝั่งอันดามัน
ขับเจ็ตสกี สะเทือนถึงสวรรค์พะยูนไทย
จากข่าวดีล่าสุดที่เกาะลิบงเพิ่งจะได้นับการยกย่องให้เป็นสวรรค์ของพะยูนไทย (ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น) ผ่านพ้นมาเพียงไม่กี่วัน เกาะลิบงก็มีเรื่องฉาวเกิดขึ้นเป็นข่าวโด่งดัง เมื่อมีดารากับทีมงานไปขับเจ็ตสกีถ่ายทำรายการ ในบริเวณ “อ่าวทุ่งจีน” หมู่เกาะลิบงซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของพะยูน
เรื่องนี้ทำให้ ผู้ใช้เฟซบุ๊ก “Tom Potisit” รู้สึกทนไม่ได้ ได้ออกมาโพสต์ตำหนิการกระทำดังกล่าว (14 ก.พ. 63) โดยระบุว่า พะยูนเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีความละเอียดอ่อน บอบบาง และเรายังต้องเรียนรู้พฤติกรรมเพื่อดูแล อนุรักษ์และ รักษาพวกมันอีกมาก และสำหรับพะยูนแค่ได้ยินเสียงอะไรที่แปลกปลอมรบกวนการอยู่อาศัยแบบเป็นธรรมชาติก็จะตกใจ จนอาจเกิดภาวะเครียด สัตว์ประเภทนี้ต้องระมัดระวังเรื่องการเกิดความเครียดซึ่งเป็นเรื่องใหญ่และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
ทั้งนี้จากในภาพจะเห็นว่าพะยูนว่ายน้ำหนีเพราะเครื่องบินสำรวจ (โดรน) บินลงต่ำ ขี้ตกใจมาก เวลาที่ทำการสำรวจจึงต้องรักษาระยะความสูงเพื่อไม่ให้รบกวน จากการสำรวจโดยศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอันดามัน ในปีที่ผ่านมา ประเทศไทยเหลือพะยูน อยู่ประมาณ 250 ตัว ส่วนสถิติการตายหากเทียบกับสถิติช่วง 12 ปีที่ผ่านมา พบว่าปีที่แล้วมีพะยูนเกยตื้นและตายมากที่สุด มากกว่า 20 ตัว
สำหรับประเด็นที่มีกลุ่มคนเข้าไปทำถ่ายทำภาพยนต์และนำเจ็ตสกีเข้าไปในพื้นที่ แม้ไม่มีใบพัดแต่ด้วยความเร็ว มันชนจนเกิดอันตรายได้และเป็นการรบกวนสัตว์สงวนในถิ่นอาศัย ในอดีตมีสถิติการตายจากกิจกรรมท่องเที่ยวโดยเฉพาะเรือเร็วอาจชนทำให้พะยูนบาดเจ็บหรือตายได้นั้น ในระยะหลัง มักเจอสัตว์หายากที่บาดเจ็บหรือตายจากเรือชนหรือโดนใบจักรเป็นประจำ
หลังโพสต์ดังกล่าวได้มีผู้คนทั้งในโลกออนไลน์และออฟไลน์แสดงความเห็นตำหนิการกระทำของรายการดังกล่าวอย่างมาก ว่าเป็นเรื่องไม่สมควรกระทำ
ขณะที่ นายชัยพฤกษ์ วีระวงศ์ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง ก็ได้ออกมาโพสต์ชี้แจงว่า
เรียน ผู้บังคับบัญชา
เพื่อโปรดทราบ
ตามที่มีผู้ร้องไปทางสื่อ ประเด็นมีกลุ่มบุคคลได้นำเรือเจ็ทสกีเข้ามาขับในเขตฯลิบงบริเวณ (อ่าวทุ่งจีน) และอาจทำให้เกิดอันตรายจากการชนจากเรือต่อพะยูนและสัตว์ทะเลอื่น ๆ ได้ นั้น
ข้าพเจ้า นายชัยพฤกษ์ วีระวงศ์ หัวหน้าเขตฯลิบงขอเรียนชี้แจงข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าวดังนี้
1.กลุ่มบุคคลดังกล่าวคือ คณะของบริษัททวิน เชอร์รี่ จำกัด มีทีมงานจำนวน 6 คน เข้าไปใช้สถานที่เขตฯลิบง เพื่อถ่ายทำรายการ Viewfinder The Buckylist (Viewfinder The Bucket List : แก้ไขชื่อรายการที่สะกดผิดจากโพสต์นี้) โดยใช้อากาศยานไร้คนขับ (โดรน) โดยในเรื่องนี้คณะดังกล่าวได้มีหนังสือขออนุญาตถ่ายทำภาพยนตร์ในเขตฯลิบง จ.ตรัง ไปยังสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่าแล้วและทางสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่าได้มีหนังสือสำนักฯที่ ทส 0909.105/ 739 ลงวันที่ 6 ก.พ.2563 อนุญาตให้บริษัทดังกล่าวเข้าไปใช้สถาน ที่โดยให้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. สงวนฯ พ.ศ.2562
2.เมื่อวันที่ 13 ก.พ.2563 ข้าพเจ้าได้ไปพบคณะดังกล่าวพร้อมกับกำชับให้คณะดังกล่าวปฏิบัติภายใต้ระเบียบและกฎหมายตลอดจนแนวปฏิบัติตามกติกาชุมชน โดยเฉพาะบริเวณอ่าวทุ่งจีนที่เป็นที่อาศัยของพะยูนซึ่งต้องชลอความเร็วของยานยนต์ต่างๆทางคณะผู้ถ่ายทำก็ได้ปฏิบัติตามระเบียบคือชลอความเร็วยานยนต์และนำเจ็ทสกีไปผูกกับทุ่นจอดเรือจากนั้นก็ได้นำโดรนขึ้นบินบันทึกภาพ และเดินทางกลับที่พักที่เกาะลิบง
3.วันที่ 14 ก.พ.2563 คณะดังกล่าวได้ทำการถ่ายทำเรื่อง กะปิ บริเวณ ร้านค้าบนเกาะลิบง และเวลาประมาณ 10.00 น. คณะดังกล่าวก็ได้เดินทางโดยรถยนต์จากหมู่บ้านบนเกาะลิบง มายังท่าเรือบ้านพร้าว ซึ่งเทสกีจอดอยู่บริเวณท่าเรือ และคณะได้ขับเจ็ทสกีออกจากเกาะลิบงเพื่อเดินทางไปยังเกาะเหลาเหลียง ซึ่งอยู่ นอกเขตฯลิบง การถ่ายทำภาพยนตร์ที่เกาะลิบงจึงจบลง
4.สำหรับประเด็นตามรูปจะเห็นว่าเจ็ทสกีมีความเร็วนั้นได้ตรวจสอบแล้วทราบว่าเส้นทางที่เจ็ทสกีมีความเร็วเป็นเส้นทางที่อยู่ห่างจากบริเวณที่พะยูนอาศัยหากินพอสมควรจึงไม่ก่อให้เกิดการชนของยานยนต์ต่อพะยูน อีกทั้งได้ตรวจยานยนต์แล้วพบว่าเป็นยานยนต์ที่ไม่มีใบพัดการขับเคลื่อนโดยใช้แรงดันจากน้ำ เมื่อควบคุมความเร็วในบริเวณที่กำหนดไว้ก็จะไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์ทะเลและอื่น ๆ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา
นายชัยพฤกษ์ วีระวงศ์ หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง รายงาน
ทั้งนี้หลังเหตุการณ์ดังกล่าวได้มีผู้ร้องเรียนไปยังพรรคการเมืองที่ดูแลงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งหลังจากนั้นไม่นาน นาย “วราวุธ ศิลปอาชา” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ได้ออกมาเปิดเผยกับสื่อมวลชน (มติชนออนไลน์) ว่า
จากกรณีที่มีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นหลายครั้งแล้ว บางครั้งวิจารณญาณของเจ้าหน้าที่ กับวิจารณญาณของผู้ที่พบเห็น อาจจะแตกต่างกันไป บางครั้งเจ้าหน้าที่คิดว่าปลอดภัยแล้ว แต่ผู้ที่พบเห็นบอกว่ายังไม่ปลอดภัย ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ซ้ำอีก ผมได้ให้นโยบายกับอธิบดีไปว่า ต่อจากนี้ถ้ามีใครมาขออนุญาตทำกิจกรรมในแนวเช่นนี้อีกในเขตอุทยานฯ จะอนุญาตโดยมีเงื่อนไขว่า ต้องใช้ยานพาหนะหรือเรือของชาวบ้าน ชาวประมง หรือคนที่อยู่ในพื้นที่ ท้องถิ่น เท่านั้น ด้วยเหตุผลว่า
1.เป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจในชุมชน ให้เกิดการหมุนเวียนเม็ดเงินเข้ามาในลักษณะของนักท่องเที่ยว
2.เพื่อใช้คนในพื้นที่เป็นผู้นำทาง ด้วยความชำนาญ
“ที่สำคัญที่สุดคือเขาจะมีความหวงแหนทรัพยากรที่ท้องถิ่นมีอยู่ เช่น พานักท่องเที่ยวไปเที่ยวถ้ำ แล้วถ้านักท่องเที่ยวจะไปขีดเขียนอะไร เขาจะมีความรู้สึกว่า นี่คือสมบัติของท้องถิ่นของเขา และเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของคนพื้นที่ทุกคน เขาก็จะไม่ยอมให้ใครมาทำอะไร เป็นการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ ทั้งทางบกและทางน้ำ และเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ไปในตัว ผมมอบแนวทางดังกล่าวให้กับอธิบดีไปแล้วว่าต่อไปนี้ทุกกรณีต้องใช้ยานพาหนะของคนในท้องถิ่น”
และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งบทเรียนราคาแพงของการกระทำที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งแม้บางครั้งอาจจะไม่ได้ส่งผลกระทบทางตรง แต่ก็อาจส่งผลกระทบทางอ้อม โดยเฉพาะในกรณีของพะยูน สัตว์ป่าสงวนที่มีความสุ่มเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ และมีความอ่อนไหวง่าย ซึ่งในขณะที่เรื่องราวของน้องมาเรียมนั้น ได้ทำให้หมู่เกาะลิบงถิ่นที่อยู่อาศัยสำคัญของพะยูนเป็นที่รู้จักโด่งดังไปทั่วโลก
แต่กระนั้นก็ยังมีการกระทำที่ไม่เหมาะของคนเพียงไม่กี่คนที่ทำให้สวรรค์ของพะยูนไทยต้องสะเทือนและมัวหมองไป
....................................................................................................
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
ชมคลิปต่าง ๆ ได้ที่ Travel MGR