Youtube :Travel MGR
หลังจากทดลองเปิดให้เข้าชมเมื่อกลางปีที่ผ่านมา ตอนนี้ “พิพิธภัณฑ์พระราม ๙” พิพิธภัณฑ์น้องใหม่ล่าสุด (ที่มีพื้นที่ใหญ่มากๆ) ก็ได้ฤกษ์เปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้ว
“พิพิธภัณฑ์พระราม ๙” เป็นพิพิธภัณฑ์ในเครือของ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ตั้งอยู่ในพื้นที่เทคโนธานี คลองห้า ปทุมธานี โดยได้รับการอนุมัติโครงการขึ้นเนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ ๙) ให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านความหลากหลายของระบบนิเวศทั่วโลกแห่งแรกของประเทศไทยและใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ที่นี่มีเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างโลกทั้งใบ มนุษย์ และสิ่งแวดล้อม เชื่อมโยงกับเรื่องของในหลวงรัชกาลที่ ๙ และศาสตร์พระราชา โดยแบ่งการจัดแสดงออกเป็นสามส่วน ได้แก่ Our Home, Our Life และ Our King
ส่วนแรกของการจัดแสดงคือ “Our Home” หรือ บ้านของเรา นำเสนอเรื่องราวของการก่อกำเนิดจักรวาลระบบสุริยะและโลก ไปจนถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต จนกระทั่งเกิดสายพันธุ์มนุษย์ที่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันในพื้นที่ต่างๆ ของโลก โดยเปิดตัวด้วยโรงหนังแบบ Half Dome ที่เล่าเรื่องราวความเป็นมาของโลกและจักรวาล ส่วนนี้มีพื้นที่กว้างขวาง ถ้าจะให้ดูได้แบบครอบคลุมทั่วถึง แนะนำให้นอนดูก็จะเห็นภาพกว้างของโดม
ถัดจากโดมก็จะเป็นส่วนที่เรียกว่า “Shelter” แสดงวิวัฒนาการของโลกกว่าจะมาเป็นบ้านของเราในวันนี้ จะต้องเกิดปรากฏการณ์ต่างๆ มากมาย เช่น การก่อตัวและการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก
ซึ่งทำให้เกิดสภาพภูมิประเทศแบบต่างๆ วัฏจักรของน้ำที่ก่อให้เกิดการหมุนเวียนของน้ำภายในโลก ฯลฯ ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้เอื้อให้สิ่งมีชีวิตกำเนิดขึ้น ซึ่งในเวลาต่อมาได้มีการปรับตัวให้เข้ากับลักษณะทางกายภาพของโลกที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่
ต่อด้วยส่วนของ “Life” ชีวิตบนโลกเริ่มต้นขึ้นจากการเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว ต่อมาอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมส่งผลให้สิ่งมีชีวิตปรับตัวจนมีรูปแบบที่ซับซ้อนขึ้นและถ่ายทอดลักษณะต่างๆ สู่ลูกหลานผ่านดีเอ็นเอ
ต่อมาจะเข้าสู่สิ่งมีชีวิตยุคของไดโนเสาร์ ซึ่งด้านหน้าจะมีหุ่นจำลอง “สยามโมไทรันนัส อิสานเอนซิส” ไดโนเสาร์กินเนื้อที่ขุดพบในไทยขนาดเท่าจริง และ “ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน” ไดโนเสาร์คอยาวตัวมหึมาที่ขุดพบในไทย ยืนเคลื่อนไหวส่งเสียงคำรามอยู่ เมื่อผ่านยุคไดโนเสาร์เข้าไปก็จะเริ่มเข้าสู่วิวัฒนาการของมนุษย์ยุคดึกดำบรรพ์นั่นเอง
จากนั้นก็จะเป็นวิวัฒนาการของสายพันธุ์มนุษย์ ในส่วนของ “Human Odyssey” แสดงตัวอย่างมนุษย์สายพันธุ์หลักๆ ที่แสดงถึงวิวัฒนาการทางกายภาพ จนกระทั่งมนุษย์สามารถยืนตัวตรง เดินสองขาได้อย่างมั่นคง รวมไปถึงการใช้มือที่มีลักษณะพิเศษ และสติปัญญาในการสร้างสรรค์วัฒนธรรม เพื่อปรับตัวและอยู่รอดตามสภาพแวดล้อมของโลกที่แตกต่างกันออกไป
เดินต่อมาก็จะเข้าสู่การจัดแสดงส่วนที่สอง “Our Life” แสดงสิ่งแวดล้อมและการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตรวมถึงมนุษย์ ภายในชีวนิเวศ (Biome) ต่างๆ ตลอดจนอิทธิพลของมนุษย์ต่อสภาพแวดล้อมนั้นๆ ซึ่งบางกิจกรรมก่อให้เกิดผลกระทบในทางลบต่อระบบนิเวศ นอกจากนี้ยังแสดงถึงเขตภูมินิเวศ (Ecoregion) ของประเทศไทยอีกด้วย
ชีวนิเวศต่างๆ เริ่มจาก “แอนตาร์กติกา” เป็นชีวนิเวศบริเวณขั้วโลกใต้ที่ไม่มีมนุษย์อาศัยอยู่อย่างถาวร ยกเว้นนักวิทยาศาสตร์ที่เข้าไปศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับโลกและสิ่งมีชีวิต เนื่องจากมีความหนาวเย็นมาก อุณหภูมิต่ำสุดอยู่ระหว่าง -49 ถึง -89 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ตามสิ่งมีชีวิตบางชนิดทั้งพืชและสัตว์ที่สามารถปรับตัวและดำรงชีวิตอยู่ได้ท่ามกลางสภาพอากาศอันรุนแรงนี้
“อาร์กติก” เป็นชีวนิเวศที่เต็มไปด้วยน้ำแข็งและเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตหลากหลายสายพันธุ์ที่ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมแบบนี้ได้ เช่น วาฬ หมีขาว วอลรัส แมวน้ำ รวมทั้งมนุษย์ เช่น ชาวอินูอิท (Inuit) ซึ่งสร้างที่อยู่อาศัยชั่วคราวจากก้อนน้ำแข็ง
“ทุนดรา” เป็นชีวนิเวศที่มีความหนาวเย็น มีช่วงอากาศอบอุ่นสั้นมาก ประมาณ 50-60 วัน พืชส่วนใหญ่จึงเป็นพืชขนาดเล็ก เช่น หญ้า มอสส์ ดอกไม้ต่างๆ มีมนุษย์อาศัยอยู่หลายเผ่าพันธุ์ เช่น ชาว Nuatak, ชาว Yupik ซึ่งดำรงชีพโดยการเลี้ยงเรนเดียร์ ความโดดเด่นที่ไม่เหมือนชีวนิเวศเขตอื่นคือการเกิดขึ้นของฝูงยุงนับล้านตัวในช่วงฤดูร้อน
“ไทก้า” ความโดดเด่นของชีวนิเวศเขตนี้ คือแนวป่าสนขนาดใหญ่ เป็นชีวนิเวศบนบกที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศแบบสุดโต่งคือมีฤดูหนาวยาวนานมีฤดูร้อนช่วงสั้นๆ เป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อปัญหาสภาพแวดล้อม เช่น ไฟป่า การบุกรุกจากแมลง เป็นต้น
“ทะเลทราย” มีสภาพภูมิอากาศแบบสุดโต่งในอีกลักษณะหนึ่ง คือเต็มไปด้วยความแห้งแล้ง สิ่งมีชีวิตต่างๆ จึงต้องมีการปรับตัวเพื่อความอยู่รอด เช่น อาศัยในหลุมหรือรู การเปลี่ยนใบให้เป็นหนามของต้นกระบองเพชร เป็นต้น
“เขตอบอุ่น” ที่จัดแสดงการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตและผืนป่าใน 4 ฤดูกาล ได้แก่ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว นำเสนอผ่าน 5 พื้นที่ ได้แก่ Central Europe, North America, South America, Australia และ East Asia โดยมีไฮไลต์อยู่ที่ “ต้นโอ๊คยักษ์” ที่ทำเป็นสไลเดอร์ให้ลื่นลงมาจากบ้านต้นไม้อีกด้วย
“เขตร้อน” ที่มีขบวนพาเหรดสัตว์นานาชนิดในป่าเขตร้อนจัดแสดงอยู่ เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง และมีความแตกต่างกัน นำเสนอผ่าน 5 พื้นที่สำคัญ ได้แก่ Africa, Madagascar, Neotropic, Southeast Asia และ Papua New Guinea และใกล้ๆ กันจะเป็นนิทรรศการเกี่ยวกับดิน น้ำ ระบบนิเวศใต้ทะเล รวมถึงมีการแสดงผลกระทบต่างๆ ในแต่ละระบบนิเวศที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ เช่น ขยะในท้องทะเล เป็นต้น
มาถึงโซน “วนนิเวศของไทย” แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนจัดแสดงสำหรับการอธิบายแนวคิด และความหมายของคำว่าเขตภูมินิเวศ (Ecoregion) ซึ่งเป็นการแบ่งพื้นที่ตามความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตตามชีวภูมิศาสตร์ (Biogeography) พื้นที่อีกส่วนหนึ่งเป็นการจำลองป่าที่มีความแตกต่างกัน 4 แห่ง ได้แก่ ป่าดิบเขา ป่าเต็งรัง ป่าดิบชื้น และป่าพรุ สำหรับพื้นที่ด้านนอกอาคาร ทำการจำลองพื้นที่ชุ่มน้ำซึ่งเป็นระบบนิเวศดั้งเดิมของทุ่งรังสิต ซึ่งเป็นบริเวณพื้นที่เดิมที่พิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่นี้
และสำหรับการจัดแสดงส่วนสุดท้าย “Our King” ส่วนนี้เป็นหอเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ ๙ จัดแสดงพระราชกรณียกิจและหลักการทรงงานต่างๆ ไว้ รวมถึงมีจำลองรถทรงงานและเครื่องใช้ที่พระองค์ใช้เป็นประจำ เช่น แผนที่ นาฬิกาข้อมือ กล้องถ่ายรูป ฯลฯ ให้ลูกหลานได้ชื่นชมกัน ซึ่งการจัดแสดงในส่วนนี้เน้นที่เบื้องหลังของโครงการตามพระราชดำริต่างๆ เป็นการแก้ไขปัญหาด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของในหลวงรัชกาลที่ ๙ มี 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ ดิน น้ำ ป่า และคน (อาชีพ) เป็นการปรับปรุงทรัพยากรธรรมชาติให้เหมาะสมกับการใช้ประโยชน์ที่ยั่งยืนของประชาชนในท้องถิ่น
มาเดินชมพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ไม่ใช่ว่าจะได้เรียนรู้เฉพาะเรื่องทางวิทยาศาสตร์เพียงอย่างเดียว แต่ยังมีความเชื่อมโยงไปถึงเรื่องราวทางสังคมศาสตร์ ที่ร้อยเรียงผ่านการจัดแสดงในส่วนต่างๆ มีกิจกรรม และระบบอินเตอร์แอคทีฟต่างๆ ให้ได้ลองเล่น ทำให้พิพิธภัณฑ์น้องใหม่แห่งนี้ไม่น่าเบื่อ นอกจากมีพื้นที่กว้างขวาง ก็ยังมีอะไรสนุกๆ ให้เล่นมากมาย ใช้เวลาเดินชมราวๆ 3 ชั่วโมง แต่ถ้าจะดูอย่างละเอียดจริงๆ อาจจต้องใช้เวลาทั้งวัน ใครอยากมาก็แนะนำให้เตรียมพลังร่างกายมาให้พร้อมจะได้มาสนุกสนานและเรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน
* * * * * * * * * * * * * *
“พิพิธภัณฑ์พระราม ๙” ตั้งอยู่ที่เทคโนธานี ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี เปิดให้บริการวันอังคาร-วันศุกร์ เวลา 09.30-16.00 น. วันเสาร์ - วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 09.30-17.00 น. (หยุดวันจันทร์) สอบถามเพิ่มเติมโทร: 0-2577-9960 Facebook : พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า อพวช. RAMA9 MUSEUM หรือที่ http://www.nsm.or.th/rama9-homepage.html
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
ชมคลิปต่าง ๆ ได้ที่ Travel MGR
หลังจากทดลองเปิดให้เข้าชมเมื่อกลางปีที่ผ่านมา ตอนนี้ “พิพิธภัณฑ์พระราม ๙” พิพิธภัณฑ์น้องใหม่ล่าสุด (ที่มีพื้นที่ใหญ่มากๆ) ก็ได้ฤกษ์เปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้ว
“พิพิธภัณฑ์พระราม ๙” เป็นพิพิธภัณฑ์ในเครือของ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ตั้งอยู่ในพื้นที่เทคโนธานี คลองห้า ปทุมธานี โดยได้รับการอนุมัติโครงการขึ้นเนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ ๙) ให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านความหลากหลายของระบบนิเวศทั่วโลกแห่งแรกของประเทศไทยและใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ที่นี่มีเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างโลกทั้งใบ มนุษย์ และสิ่งแวดล้อม เชื่อมโยงกับเรื่องของในหลวงรัชกาลที่ ๙ และศาสตร์พระราชา โดยแบ่งการจัดแสดงออกเป็นสามส่วน ได้แก่ Our Home, Our Life และ Our King
ส่วนแรกของการจัดแสดงคือ “Our Home” หรือ บ้านของเรา นำเสนอเรื่องราวของการก่อกำเนิดจักรวาลระบบสุริยะและโลก ไปจนถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต จนกระทั่งเกิดสายพันธุ์มนุษย์ที่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันในพื้นที่ต่างๆ ของโลก โดยเปิดตัวด้วยโรงหนังแบบ Half Dome ที่เล่าเรื่องราวความเป็นมาของโลกและจักรวาล ส่วนนี้มีพื้นที่กว้างขวาง ถ้าจะให้ดูได้แบบครอบคลุมทั่วถึง แนะนำให้นอนดูก็จะเห็นภาพกว้างของโดม
ถัดจากโดมก็จะเป็นส่วนที่เรียกว่า “Shelter” แสดงวิวัฒนาการของโลกกว่าจะมาเป็นบ้านของเราในวันนี้ จะต้องเกิดปรากฏการณ์ต่างๆ มากมาย เช่น การก่อตัวและการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก
ซึ่งทำให้เกิดสภาพภูมิประเทศแบบต่างๆ วัฏจักรของน้ำที่ก่อให้เกิดการหมุนเวียนของน้ำภายในโลก ฯลฯ ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้เอื้อให้สิ่งมีชีวิตกำเนิดขึ้น ซึ่งในเวลาต่อมาได้มีการปรับตัวให้เข้ากับลักษณะทางกายภาพของโลกที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่
ต่อด้วยส่วนของ “Life” ชีวิตบนโลกเริ่มต้นขึ้นจากการเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว ต่อมาอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมส่งผลให้สิ่งมีชีวิตปรับตัวจนมีรูปแบบที่ซับซ้อนขึ้นและถ่ายทอดลักษณะต่างๆ สู่ลูกหลานผ่านดีเอ็นเอ
ต่อมาจะเข้าสู่สิ่งมีชีวิตยุคของไดโนเสาร์ ซึ่งด้านหน้าจะมีหุ่นจำลอง “สยามโมไทรันนัส อิสานเอนซิส” ไดโนเสาร์กินเนื้อที่ขุดพบในไทยขนาดเท่าจริง และ “ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน” ไดโนเสาร์คอยาวตัวมหึมาที่ขุดพบในไทย ยืนเคลื่อนไหวส่งเสียงคำรามอยู่ เมื่อผ่านยุคไดโนเสาร์เข้าไปก็จะเริ่มเข้าสู่วิวัฒนาการของมนุษย์ยุคดึกดำบรรพ์นั่นเอง
จากนั้นก็จะเป็นวิวัฒนาการของสายพันธุ์มนุษย์ ในส่วนของ “Human Odyssey” แสดงตัวอย่างมนุษย์สายพันธุ์หลักๆ ที่แสดงถึงวิวัฒนาการทางกายภาพ จนกระทั่งมนุษย์สามารถยืนตัวตรง เดินสองขาได้อย่างมั่นคง รวมไปถึงการใช้มือที่มีลักษณะพิเศษ และสติปัญญาในการสร้างสรรค์วัฒนธรรม เพื่อปรับตัวและอยู่รอดตามสภาพแวดล้อมของโลกที่แตกต่างกันออกไป
เดินต่อมาก็จะเข้าสู่การจัดแสดงส่วนที่สอง “Our Life” แสดงสิ่งแวดล้อมและการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตรวมถึงมนุษย์ ภายในชีวนิเวศ (Biome) ต่างๆ ตลอดจนอิทธิพลของมนุษย์ต่อสภาพแวดล้อมนั้นๆ ซึ่งบางกิจกรรมก่อให้เกิดผลกระทบในทางลบต่อระบบนิเวศ นอกจากนี้ยังแสดงถึงเขตภูมินิเวศ (Ecoregion) ของประเทศไทยอีกด้วย
ชีวนิเวศต่างๆ เริ่มจาก “แอนตาร์กติกา” เป็นชีวนิเวศบริเวณขั้วโลกใต้ที่ไม่มีมนุษย์อาศัยอยู่อย่างถาวร ยกเว้นนักวิทยาศาสตร์ที่เข้าไปศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับโลกและสิ่งมีชีวิต เนื่องจากมีความหนาวเย็นมาก อุณหภูมิต่ำสุดอยู่ระหว่าง -49 ถึง -89 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ตามสิ่งมีชีวิตบางชนิดทั้งพืชและสัตว์ที่สามารถปรับตัวและดำรงชีวิตอยู่ได้ท่ามกลางสภาพอากาศอันรุนแรงนี้
“อาร์กติก” เป็นชีวนิเวศที่เต็มไปด้วยน้ำแข็งและเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตหลากหลายสายพันธุ์ที่ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมแบบนี้ได้ เช่น วาฬ หมีขาว วอลรัส แมวน้ำ รวมทั้งมนุษย์ เช่น ชาวอินูอิท (Inuit) ซึ่งสร้างที่อยู่อาศัยชั่วคราวจากก้อนน้ำแข็ง
“ทุนดรา” เป็นชีวนิเวศที่มีความหนาวเย็น มีช่วงอากาศอบอุ่นสั้นมาก ประมาณ 50-60 วัน พืชส่วนใหญ่จึงเป็นพืชขนาดเล็ก เช่น หญ้า มอสส์ ดอกไม้ต่างๆ มีมนุษย์อาศัยอยู่หลายเผ่าพันธุ์ เช่น ชาว Nuatak, ชาว Yupik ซึ่งดำรงชีพโดยการเลี้ยงเรนเดียร์ ความโดดเด่นที่ไม่เหมือนชีวนิเวศเขตอื่นคือการเกิดขึ้นของฝูงยุงนับล้านตัวในช่วงฤดูร้อน
“ไทก้า” ความโดดเด่นของชีวนิเวศเขตนี้ คือแนวป่าสนขนาดใหญ่ เป็นชีวนิเวศบนบกที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศแบบสุดโต่งคือมีฤดูหนาวยาวนานมีฤดูร้อนช่วงสั้นๆ เป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อปัญหาสภาพแวดล้อม เช่น ไฟป่า การบุกรุกจากแมลง เป็นต้น
“ทะเลทราย” มีสภาพภูมิอากาศแบบสุดโต่งในอีกลักษณะหนึ่ง คือเต็มไปด้วยความแห้งแล้ง สิ่งมีชีวิตต่างๆ จึงต้องมีการปรับตัวเพื่อความอยู่รอด เช่น อาศัยในหลุมหรือรู การเปลี่ยนใบให้เป็นหนามของต้นกระบองเพชร เป็นต้น
“เขตอบอุ่น” ที่จัดแสดงการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตและผืนป่าใน 4 ฤดูกาล ได้แก่ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว นำเสนอผ่าน 5 พื้นที่ ได้แก่ Central Europe, North America, South America, Australia และ East Asia โดยมีไฮไลต์อยู่ที่ “ต้นโอ๊คยักษ์” ที่ทำเป็นสไลเดอร์ให้ลื่นลงมาจากบ้านต้นไม้อีกด้วย
“เขตร้อน” ที่มีขบวนพาเหรดสัตว์นานาชนิดในป่าเขตร้อนจัดแสดงอยู่ เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง และมีความแตกต่างกัน นำเสนอผ่าน 5 พื้นที่สำคัญ ได้แก่ Africa, Madagascar, Neotropic, Southeast Asia และ Papua New Guinea และใกล้ๆ กันจะเป็นนิทรรศการเกี่ยวกับดิน น้ำ ระบบนิเวศใต้ทะเล รวมถึงมีการแสดงผลกระทบต่างๆ ในแต่ละระบบนิเวศที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ เช่น ขยะในท้องทะเล เป็นต้น
มาถึงโซน “วนนิเวศของไทย” แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนจัดแสดงสำหรับการอธิบายแนวคิด และความหมายของคำว่าเขตภูมินิเวศ (Ecoregion) ซึ่งเป็นการแบ่งพื้นที่ตามความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตตามชีวภูมิศาสตร์ (Biogeography) พื้นที่อีกส่วนหนึ่งเป็นการจำลองป่าที่มีความแตกต่างกัน 4 แห่ง ได้แก่ ป่าดิบเขา ป่าเต็งรัง ป่าดิบชื้น และป่าพรุ สำหรับพื้นที่ด้านนอกอาคาร ทำการจำลองพื้นที่ชุ่มน้ำซึ่งเป็นระบบนิเวศดั้งเดิมของทุ่งรังสิต ซึ่งเป็นบริเวณพื้นที่เดิมที่พิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่นี้
และสำหรับการจัดแสดงส่วนสุดท้าย “Our King” ส่วนนี้เป็นหอเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ ๙ จัดแสดงพระราชกรณียกิจและหลักการทรงงานต่างๆ ไว้ รวมถึงมีจำลองรถทรงงานและเครื่องใช้ที่พระองค์ใช้เป็นประจำ เช่น แผนที่ นาฬิกาข้อมือ กล้องถ่ายรูป ฯลฯ ให้ลูกหลานได้ชื่นชมกัน ซึ่งการจัดแสดงในส่วนนี้เน้นที่เบื้องหลังของโครงการตามพระราชดำริต่างๆ เป็นการแก้ไขปัญหาด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของในหลวงรัชกาลที่ ๙ มี 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ ดิน น้ำ ป่า และคน (อาชีพ) เป็นการปรับปรุงทรัพยากรธรรมชาติให้เหมาะสมกับการใช้ประโยชน์ที่ยั่งยืนของประชาชนในท้องถิ่น
มาเดินชมพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ไม่ใช่ว่าจะได้เรียนรู้เฉพาะเรื่องทางวิทยาศาสตร์เพียงอย่างเดียว แต่ยังมีความเชื่อมโยงไปถึงเรื่องราวทางสังคมศาสตร์ ที่ร้อยเรียงผ่านการจัดแสดงในส่วนต่างๆ มีกิจกรรม และระบบอินเตอร์แอคทีฟต่างๆ ให้ได้ลองเล่น ทำให้พิพิธภัณฑ์น้องใหม่แห่งนี้ไม่น่าเบื่อ นอกจากมีพื้นที่กว้างขวาง ก็ยังมีอะไรสนุกๆ ให้เล่นมากมาย ใช้เวลาเดินชมราวๆ 3 ชั่วโมง แต่ถ้าจะดูอย่างละเอียดจริงๆ อาจจต้องใช้เวลาทั้งวัน ใครอยากมาก็แนะนำให้เตรียมพลังร่างกายมาให้พร้อมจะได้มาสนุกสนานและเรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน
* * * * * * * * * * * * * *
“พิพิธภัณฑ์พระราม ๙” ตั้งอยู่ที่เทคโนธานี ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี เปิดให้บริการวันอังคาร-วันศุกร์ เวลา 09.30-16.00 น. วันเสาร์ - วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 09.30-17.00 น. (หยุดวันจันทร์) สอบถามเพิ่มเติมโทร: 0-2577-9960 Facebook : พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า อพวช. RAMA9 MUSEUM หรือที่ http://www.nsm.or.th/rama9-homepage.html
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
ชมคลิปต่าง ๆ ได้ที่ Travel MGR