Facebook :Travel @ Manager
วันที่ 12 ธันวาคม 2562 เป็นอีกหนึ่งวันประวัติศาสตร์ของชาติไทย เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 โดยมีพสกนิกรชาวไทยเฝ้ารอรับเสด็จ และเป็นอีกครั้งที่ชาวไทยจะได้ชมภาพอันงดงามตระการตาของริ้วขบวนเรือพระที่นั่งที่ลอยลำงามสง่ากลางท้องน้ำเจ้าพระยา รวมถึงได้ฟังกาพย์เห่เรืออันไพเราะดังก้องไปทั่วคุ้งน้ำ
“ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค” หมายถึงริ้วขบวนเรือที่จัดขึ้นในการที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินไปในการต่างๆ โดยทางน้ำ ทั้งเป็นการส่วนพระองค์และการพระราชพิธี อาทิ พระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน พระราชพิธีบรมราชาภิเษก การเสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการรอยพระพุทธบาท การอัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญจากหัวเมืองเข้าประดิษฐานในเมืองหลวง การต้อนรับทูตต่างประเทศ เป็นต้น
การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ได้มีปรากฏมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยและสืบทอดต่อมาถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์และนับเป็นต้นแบบสำคัญของขบวนพยุหยาตราฯ ในสมัยต่อมาคือ ขบวนพยุหยาตราฯ ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา ปรากฏหลักฐานว่าเมื่อพระองค์เสด็จแปรพระราชฐานไปยังหัวเมืองต่างๆ มีการจัดขบวนพยุหยาตราฯ ที่เรียกว่า “ขบวนเพชรพวง” เป็นริ้วขบวนยิ่งใหญ่ 5 สาย มีเรือทั้งสิ้นไม่ต่ำกว่า 100 ลำ
ความงดงามของขบวนเรือในสมัยนั้นได้ถูกบันทึกไว้โดย นิโคลาส แชแวร์ หนึ่งในคณะทูตฝรั่งเศสซึ่งเดินทางเข้ามาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ว่า “...ไม่สามารถเทียบความงามกับขบวนเรืออื่นใดได้ เป็นขบวนเรือที่มโหฬาร มีเรือกว่า 200 ลำ โดยมีเรือพระที่นั่งพายเป็นคู่ๆ ไปข้างหน้า เรือพระที่นั่งนั้น ใช้ฝีพายของพวกแขนแดงที่ได้รับการฝึกพายมาจนชำนาญ ทุกคนสวมหมวก เสื้อ ปลอกเข่า ปลอกแขน มีทองคำประกอบ เวลาพายพร้อมกับเป็นจังหวะจะโคน พายนั้นก็เป็นทอง เสียงพายกระทบเป็นเสียงประสานไปกับทำนองเพลงยอพระเกียรติของพระเจ้าแผ่นดิน...”
ส่วนในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระองค์ได้โปรดเกล้าฯ ให้ฟื้นฟูประเพณีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคใหญ่ โดยทรงเสด็จทอดผ้าพระกฐินที่วัดอรุณราชวรารามตั้งแต่ปี 2502 เป็นต้นมา และได้มีการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคสืบต่อมารวมแล้วถึง 17 ครั้ง อีกทั้งในรัชกาลของพระองค์ยังได้มีการสร้าง “เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙” ขึ้น ในวโรกาสที่ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ในปี 2539
ครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ได้มีการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 โดยเป็นพิธีเบื้องปลาย มีการจัดรูปขบวนเรือพระราชพิธีจํานวน 52 ลํา กําลังพลฝีพายจํานวน 2,200 นาย แบ่งออกเป็น 5 ริ้ว 3 สาย ดังนี้
“ริ้วสายกลาง” ซึ่งเป็นเรือสายสำคัญ ประกอบด้วยเรือพระที่นั่ง 4 ลำ ได้แก่ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ (เรือพระที่นั่งทรง) เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 (เรือพระที่นั่งรอง) เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช และเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ นอกจากนี้มีเรืออีเหลืองเป็นเรือกลองนอก เรือแตงโมซึ่งเป็นเรือของผู้บัญชาการขบวนเรือเป็นเรือกลองใน พร้อมด้วยเรือตำรวจนอกและเรือตำรวจ
“ริ้วสายใน” ขนาบข้างสายเรือพระที่นั่ง มีเรือทองขวานฟ้าและเรือทองบ้าบิ่นเป็นเรือประตูหน้า เรือเสือทยานชลและเรือเสือคำรณสินธุ์เป็นเรือพิฆาตเรือรูปสัตว์ 8 ลำ และปิดท้ายริ้วสายในด้วยเรือเอกไชยเหินหาวและเรือเอกไชยหลาวทองซึ่งเป็นเรือคู่ชัก
“ริ้วสายนอก” ประกอบด้วยเรือดั้ง และเรือแซง สายละ 14 ลำ
เรือพระราชพิธีจํานวน 52 ลํานี้ทำขึ้นจากไม้ มีอายุในการสร้างมาก โดยเฉพาะเรือพระที่นั่งทั้ง 3 ลํา ได้แก่ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ สร้างในรัชกาลที่ ๕ แล้วเสร็จสิ้นในรัชกาลที่ ๖ มีอายุ 108 ปี เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ สร้างในรัชกาลที่ ๕ มีอายุกว่า 102 ปี เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช สร้างในรัชกาลที่ ๖ มีอายุ 95 ปี ส่วนเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙ สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ.2539 มีอายุ 23 ปี และเรืออื่นๆ ในขบวน โดยเฉพาะเรือรูปสัตว์แต่ละลํา มีอายุการสร้างนับร้อยปี
ในการนี้ได้ประพันธ์บทเห่เรือขึ้นใหม่จำนวน 3 องก์ โดย นาวาเอกทองย้อย แสงสินชัย ศิลปินแห่งชาติ และมีนาวาเอกณัฏวัฒน์ อร่ามเกลื้อ เป็นผู้เห่เรือ ส่วนเครื่องแต่งกายฝีพายยึดถือรูปแบบเดิมตามโบราณราชประเพณี
ส่วนเส้นทางเสด็จพระราชดําเนินเป็นเส้นทางเดียวกับที่เคยใช้มาตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร คือเส้นทางจากท่าวาสุกรีถึงท่ามหาราช
ในขณะนี้ได้มีการซ้อมกำลังพลฝีพายและเตรียมการจัดขบวนเรือพระราชพิธี โดยถึงวันนี้ได้ซ้อมย่อยไปแล้ว 7 ครั้ง และจะมีการซ้อมย่อยอีก 3 ครั้ง ในวันที่ 3, 7 และ 17 ตุลาคม จากนั้นจะเป็นการซ้อมใหญ่ในวันที่ 17 และ 21 ตุลาคม
มีการซ้อมย่อยจำนวน 4 ครั้ง ในวันที่ 12, 19, 26 พฤศจิกายน และวันที่ 3 ธันวาคม 2562 ส่วนการซ้อมใหญ่จำนวน 1 ครั้ง ในวันที่ 9 ธันวาคม 2562 ก่อนจะถึงวันเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในวันที่ 12 ธันวาคม 2562
ทั้งนี้การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ในวันที่ 12 ธันวาคม 2562 นอกจากประชาชนจะได้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีตลอดสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาแล้ว ยังเป็นโอกาสที่ได้สัมผัสกับบรรยากาศแห่งความงดงามของประเพณีและวัฒนธรรมไทยของริ้วขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันยิ่งใหญ่ของชาติไทยเพียงแห่งเดียวในโลก
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
วันที่ 12 ธันวาคม 2562 เป็นอีกหนึ่งวันประวัติศาสตร์ของชาติไทย เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 โดยมีพสกนิกรชาวไทยเฝ้ารอรับเสด็จ และเป็นอีกครั้งที่ชาวไทยจะได้ชมภาพอันงดงามตระการตาของริ้วขบวนเรือพระที่นั่งที่ลอยลำงามสง่ากลางท้องน้ำเจ้าพระยา รวมถึงได้ฟังกาพย์เห่เรืออันไพเราะดังก้องไปทั่วคุ้งน้ำ
“ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค” หมายถึงริ้วขบวนเรือที่จัดขึ้นในการที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินไปในการต่างๆ โดยทางน้ำ ทั้งเป็นการส่วนพระองค์และการพระราชพิธี อาทิ พระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน พระราชพิธีบรมราชาภิเษก การเสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการรอยพระพุทธบาท การอัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญจากหัวเมืองเข้าประดิษฐานในเมืองหลวง การต้อนรับทูตต่างประเทศ เป็นต้น
การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ได้มีปรากฏมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยและสืบทอดต่อมาถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์และนับเป็นต้นแบบสำคัญของขบวนพยุหยาตราฯ ในสมัยต่อมาคือ ขบวนพยุหยาตราฯ ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา ปรากฏหลักฐานว่าเมื่อพระองค์เสด็จแปรพระราชฐานไปยังหัวเมืองต่างๆ มีการจัดขบวนพยุหยาตราฯ ที่เรียกว่า “ขบวนเพชรพวง” เป็นริ้วขบวนยิ่งใหญ่ 5 สาย มีเรือทั้งสิ้นไม่ต่ำกว่า 100 ลำ
ความงดงามของขบวนเรือในสมัยนั้นได้ถูกบันทึกไว้โดย นิโคลาส แชแวร์ หนึ่งในคณะทูตฝรั่งเศสซึ่งเดินทางเข้ามาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ว่า “...ไม่สามารถเทียบความงามกับขบวนเรืออื่นใดได้ เป็นขบวนเรือที่มโหฬาร มีเรือกว่า 200 ลำ โดยมีเรือพระที่นั่งพายเป็นคู่ๆ ไปข้างหน้า เรือพระที่นั่งนั้น ใช้ฝีพายของพวกแขนแดงที่ได้รับการฝึกพายมาจนชำนาญ ทุกคนสวมหมวก เสื้อ ปลอกเข่า ปลอกแขน มีทองคำประกอบ เวลาพายพร้อมกับเป็นจังหวะจะโคน พายนั้นก็เป็นทอง เสียงพายกระทบเป็นเสียงประสานไปกับทำนองเพลงยอพระเกียรติของพระเจ้าแผ่นดิน...”
ส่วนในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระองค์ได้โปรดเกล้าฯ ให้ฟื้นฟูประเพณีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคใหญ่ โดยทรงเสด็จทอดผ้าพระกฐินที่วัดอรุณราชวรารามตั้งแต่ปี 2502 เป็นต้นมา และได้มีการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคสืบต่อมารวมแล้วถึง 17 ครั้ง อีกทั้งในรัชกาลของพระองค์ยังได้มีการสร้าง “เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙” ขึ้น ในวโรกาสที่ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ในปี 2539
ครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ได้มีการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 โดยเป็นพิธีเบื้องปลาย มีการจัดรูปขบวนเรือพระราชพิธีจํานวน 52 ลํา กําลังพลฝีพายจํานวน 2,200 นาย แบ่งออกเป็น 5 ริ้ว 3 สาย ดังนี้
“ริ้วสายกลาง” ซึ่งเป็นเรือสายสำคัญ ประกอบด้วยเรือพระที่นั่ง 4 ลำ ได้แก่ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ (เรือพระที่นั่งทรง) เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 (เรือพระที่นั่งรอง) เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช และเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ นอกจากนี้มีเรืออีเหลืองเป็นเรือกลองนอก เรือแตงโมซึ่งเป็นเรือของผู้บัญชาการขบวนเรือเป็นเรือกลองใน พร้อมด้วยเรือตำรวจนอกและเรือตำรวจ
“ริ้วสายใน” ขนาบข้างสายเรือพระที่นั่ง มีเรือทองขวานฟ้าและเรือทองบ้าบิ่นเป็นเรือประตูหน้า เรือเสือทยานชลและเรือเสือคำรณสินธุ์เป็นเรือพิฆาตเรือรูปสัตว์ 8 ลำ และปิดท้ายริ้วสายในด้วยเรือเอกไชยเหินหาวและเรือเอกไชยหลาวทองซึ่งเป็นเรือคู่ชัก
“ริ้วสายนอก” ประกอบด้วยเรือดั้ง และเรือแซง สายละ 14 ลำ
เรือพระราชพิธีจํานวน 52 ลํานี้ทำขึ้นจากไม้ มีอายุในการสร้างมาก โดยเฉพาะเรือพระที่นั่งทั้ง 3 ลํา ได้แก่ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ สร้างในรัชกาลที่ ๕ แล้วเสร็จสิ้นในรัชกาลที่ ๖ มีอายุ 108 ปี เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ สร้างในรัชกาลที่ ๕ มีอายุกว่า 102 ปี เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช สร้างในรัชกาลที่ ๖ มีอายุ 95 ปี ส่วนเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙ สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ.2539 มีอายุ 23 ปี และเรืออื่นๆ ในขบวน โดยเฉพาะเรือรูปสัตว์แต่ละลํา มีอายุการสร้างนับร้อยปี
ในการนี้ได้ประพันธ์บทเห่เรือขึ้นใหม่จำนวน 3 องก์ โดย นาวาเอกทองย้อย แสงสินชัย ศิลปินแห่งชาติ และมีนาวาเอกณัฏวัฒน์ อร่ามเกลื้อ เป็นผู้เห่เรือ ส่วนเครื่องแต่งกายฝีพายยึดถือรูปแบบเดิมตามโบราณราชประเพณี
ส่วนเส้นทางเสด็จพระราชดําเนินเป็นเส้นทางเดียวกับที่เคยใช้มาตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร คือเส้นทางจากท่าวาสุกรีถึงท่ามหาราช
ในขณะนี้ได้มีการซ้อมกำลังพลฝีพายและเตรียมการจัดขบวนเรือพระราชพิธี โดยถึงวันนี้ได้ซ้อมย่อยไปแล้ว 7 ครั้ง และจะมีการซ้อมย่อยอีก 3 ครั้ง ในวันที่ 3, 7 และ 17 ตุลาคม จากนั้นจะเป็นการซ้อมใหญ่ในวันที่ 17 และ 21 ตุลาคม
มีการซ้อมย่อยจำนวน 4 ครั้ง ในวันที่ 12, 19, 26 พฤศจิกายน และวันที่ 3 ธันวาคม 2562 ส่วนการซ้อมใหญ่จำนวน 1 ครั้ง ในวันที่ 9 ธันวาคม 2562 ก่อนจะถึงวันเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในวันที่ 12 ธันวาคม 2562
ทั้งนี้การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ในวันที่ 12 ธันวาคม 2562 นอกจากประชาชนจะได้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีตลอดสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาแล้ว ยังเป็นโอกาสที่ได้สัมผัสกับบรรยากาศแห่งความงดงามของประเพณีและวัฒนธรรมไทยของริ้วขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันยิ่งใหญ่ของชาติไทยเพียงแห่งเดียวในโลก
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager