โดย : ปิ่น บุตรี (pinn109@hotmail.com)
“...ให้มีการทดลองทำดินให้เปรี้ยวจัด โดยการระบายน้ำให้แห้ง และศึกษาวิธีการแก้ดินเปรี้ยว เพื่อนำผลไปแก้ปัญหาดินเปรี้ยวให้แก่ราษฎรที่มีปัญหาในเรื่องนี้ ในเขตจังหวัดนราธิวาส โดยให้ทำโครงการศึกษา ทดลองในกำหนด 2 ปี และพืชที่ทดลองควรเป็นข้าว...”
พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ ๙ พระราชทาน ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ จ.นราธิวาส วันที่ 16 กันยายน 2527
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ
จากการที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ ๙ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในเขตพื้นที่ภาคใต้ โดยเฉพาะที่จังหวัดนราธิวาส พบว่าพื้นที่ส่วนมากมีสภาพเป็น“ดินพรุ” ซึ่งเป็นพื้นดินที่มีสภาพน้ำขัง เป็นดินเปรี้ยวที่มีสภาพความเป็นกรดอย่างรุนแรง และเป็นดินที่มีคุณภาพต่ำ ไม่สามารถทำการเกษตรได้
สำหรับการแก้ปัญหาสำคัญในเรื่องดินพรุ ดินเปรี้ยว หรือดินเป็นกรดนั้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงใช้พระอัจฉริยะภาพคิดค้นวิธีการที่เรียกว่า“แกล้งดิน” หรือ “ทำให้ดินโกรธ” โดยการทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกันไป เพื่อให้ดินปล่อยแร่ธาตุที่เป็นกรดออกมา กลายเป็นดินที่มีกรดจัด เปรี้ยวจัด
จากนั้นจึงใช้น้ำชะล้างดินควบคู่ไปกับปูน ซึ่งทรงเรียกว่า “ระบบซักผ้า” เมื่อใช้น้ำจืด ชะล้างกรดในดินไปเรื่อยๆ ความเป็นกรดจะค่อยๆจางลง จนสามารถใช้เพาะปลูก ทำการเกษตรได้
ทั้งนี้หนึ่งในความสำเร็จที่เด่นชัดในเรื่องการแก้ปัญหาดินพรุ ดินเปรี้ยว ก็คือโครงการ“ศูนย์ศึกษาพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ” ที่ตั้งอยู่ที่ ต.ทะลุวอเหนือ อ.เมือง จ.นราธิวาส ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโครงการพระราชดำริแห่งนี้ขึ้น เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2525
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ จัดตั้งขึ้นเพื่อศึกษาค้นคว้า วิจัยทดลอง และแก้ปัญหาเรื่องดินพรุ ดินเปรี้ยว เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร ภายใต้แนวคิด “ป่าพรุเสื่อมโทรม สะสมดินเปรี้ยว แกล้งดินอย่างเดียว พัฒนาได้ยั่งยืน” ซึ่งผลสำเร็จจากการแกล้งดิน สามารถพลิกฟื้นเปลี่ยนพื้นดินจากที่เคยใช้ประโยชน์ไม่ได้ให้กลับมาปลูกพืชผักและทำการเกษตรชนิดต่างๆได้เป็นอย่างดี
นับเป็นความมหัศจรรย์ใต้พระบารมีจากน้ำพระทัยในหลวงรัชกาลที่ ๙ ซึ่งผลสำเร็จจากโครงการแล้งดิน ได้ถูกต่อยอดนำไปสู่การพัฒนาด้านอื่นๆอีกหลากหลายในศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ แห่งนี้
พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต
ปัจจุบันศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ เป็นศูนย์กลางการดำเนินงานแบบบูรณาการเพื่อสนองแนวพระราชดำริ เน้นการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้และการขยายผลสู่ประชาชนภายนอกโครงการ
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ มีพื้นที่กว่า 1,740 ไร่ แบ่งออกเป็นส่วนต่างๆภายใต้แนวคิด“พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต” ที่มีการจัดโซนพื้นที่อย่างเป็นระบบ และมีการจัดแต่งภูมิทัศน์อย่างสวยงาม
พร้อมกันนี้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ยังเปิดให้ผู้คนทั่วไปได้เข้าไปศึกษาท่องเที่ยวเรียนรู้ดูงาน สัมผัสกับสิ่งที่น่าสนใจต่างๆภายในศูนย์ อาทิ
ศูนย์บริการข้อมูล ณ จุดเดียว เป็นศูนย์รวมข้อมูลด้านการศึกษาและงานขยายผลการพัฒนาพื้นที่ โดยถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่เกษตรกรในพื้นที่และการให้บริการข้อมูลโดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
ศูนย์บริการวิเคราะห์ดิน ให้บริการวิเคราะห์ดิน น้ำ และคำแนะนำการปรับปรุงบำรุงดิน รวมไปถึงการใช้ประโยชน์ของดิน ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
ฐานดิน เรียนรู้เกี่ยวกับการเกิดดิน ชั้นดิน การใช้ประโยชน์ที่ดิน การฟื้นฟูทรัพยากรดินโดยใช้ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพจากกรมพัฒนาที่ดิน การปลูกหญ้าแฝกและการใช้ประโยชน์ การปลูกพืชปุ๋ยสดและการใช้ประโยชน์ การใช้วัสดุปรับปรุงบำรุงดินและการใช้ประโยชน์ที่ดิน
โครงการแกล้งดิน ศึกษาการเกิด การพัฒนาของดินเปรี้ยวจัด และเทคนิคการปรับปรุงดินเปรี้ยวจัด เพื่อใช้ประโยชน์ในการปลูกพืช
การปลูกข้าวพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด สาธิต การปลูกข้าวพันธุ์ต่างๆ ที่เหมาะสมในพื้นที่ดินเปรี้ยว ตลอดจนการเปรียบเทียบการใช้ปุ๋ยอัตราต่างๆ ที่เหมาะสมกับการปลูกข้าวและให้ผลผลิตสูง
เกษตรทฤษฎีใหม่ แปลงสาธิตการบริหารจัดการดินและน้ำ ตามความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
การเลี้ยงปลาเสริมรายได้ ศึกษาการเพาะเลี้ยงขยายพันธ์ปลาที่ทนต่อน้ำเปรี้ยว และการเลี้ยงปลาสวยงามในพื้นพรุ การเลี้ยงกบในกระชัง รวมไปถึงการทำการเกษตรผสมผสานบริเวณของบ่อเลี้ยงปลา และแจกจ่ายพันธ์ปลา
พืชสวนครัวประดับ แบบเกษตรอินทรีย์ เรียนรู้การจัดปลูกผักสวนครัวเชิงภูมิทัศน์ การนำภาชนะและวัสดุเหลือใช่มาประยุกต์ การปลูกพืชผักรูปแบบต่างๆ และเน้นการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ
ป่าพรุและป่าเสม็ดจำลอง การปลูกป่าในพื้นที่พรุ เพื่อการศึกษาระบบนิเวศน์ธรรมชาติของป่าพรุ และวิวัฒนาการการเกิดพรุ ศึกษาการนำไม้และใบไม้เสม็ด เพื่อการแปรรูป พร้อมทั้งการผลิตกล้าไม้ไว้สำหรับแจกจ่ายประชาชนทั่วไป เพื่อนำไปปลูกที่บ้าน ชุมชน และสถานที่ต่างๆ
ไบโอดีเซล เรียนรู้เทคนิคและกระบวนการสกัดและแปรรูปน้ำมันปาล์ม และการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลแบบง่ายๆ ที่สามารถผลิตเองได้ในครัวเรือนจากน้ำมันพืช ช่วยลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน
นอกจากนี้ก็ยังมีสวนสวยต่างๆ ได้แก่
สวน 50 ปี ครองราชย์ รวบรวมพืชตระกูลปาล์มนานาชนิดทั้งในและต่างประเทศ,สวนพฤกษาศาสตร์พันธุ์ไม้ม่วงเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สวนเรียนรู้พันธุ์ไม้ม่วงกว่า 100 ชนิด,สวน 72 พรรษา สวนรวบรวมพันธุ์ไม้หายากใกล้สูญพันธุ์และพืชสมุนไพร กว่า 400 ชนิด,สวนไม้มงคลเฉลิมพระชนม์ 76 พรรษา สวนพรรณไม้มงคลนานาชนิด,สวนสาธิตการเกษตรเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา สวนสาธิตการปลูกไม้ผล พืชผัก เลี้ยงปลา เป็นต้น,สวนเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา สวนพักผ่อนหย่อนใจที่ปลูกด้วยไม้โตเร็ว พันธุ์ไม้พื้นเมือง พันธุ์ไม้หอม และสระบัว
และนี่ก็คือสิ่งน่าสนใจอันหลากหลายในพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ซึ่งนอกจากจะเป็นพื้นที่ต้นแบบของโครงการแก้ปัญหาดินพรุ ดินเปรี้ยว ดินเป็นกรดจัด ด้วยวิธีการ“แกล้งดิน”ตามแนวพระราชดำริแล้ว ยังสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ภายในศูนย์ฯแห่งนี้มาปรับใช้เป็นแนวทางในการทำมาหากิน หรือมาประยุกต์ให้ในการดำรงชีวิต โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพื่อให้สามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน
นับเป็นอีกหนึ่งความมหัศจรรย์ใต้พระบารมีของ “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช” ในหลวงรัชกาลที่ ๙
...พระมหากษัตริย์ผู้ทรงงานหนักที่สุดในโลก ที่ยังคงอยู่ในดวงใจของคนไทยตลอดไป
“...ให้มีการทดลองทำดินให้เปรี้ยวจัด โดยการระบายน้ำให้แห้ง และศึกษาวิธีการแก้ดินเปรี้ยว เพื่อนำผลไปแก้ปัญหาดินเปรี้ยวให้แก่ราษฎรที่มีปัญหาในเรื่องนี้ ในเขตจังหวัดนราธิวาส โดยให้ทำโครงการศึกษา ทดลองในกำหนด 2 ปี และพืชที่ทดลองควรเป็นข้าว...”
พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ ๙ พระราชทาน ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ จ.นราธิวาส วันที่ 16 กันยายน 2527
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ
จากการที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ ๙ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในเขตพื้นที่ภาคใต้ โดยเฉพาะที่จังหวัดนราธิวาส พบว่าพื้นที่ส่วนมากมีสภาพเป็น“ดินพรุ” ซึ่งเป็นพื้นดินที่มีสภาพน้ำขัง เป็นดินเปรี้ยวที่มีสภาพความเป็นกรดอย่างรุนแรง และเป็นดินที่มีคุณภาพต่ำ ไม่สามารถทำการเกษตรได้
สำหรับการแก้ปัญหาสำคัญในเรื่องดินพรุ ดินเปรี้ยว หรือดินเป็นกรดนั้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงใช้พระอัจฉริยะภาพคิดค้นวิธีการที่เรียกว่า“แกล้งดิน” หรือ “ทำให้ดินโกรธ” โดยการทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกันไป เพื่อให้ดินปล่อยแร่ธาตุที่เป็นกรดออกมา กลายเป็นดินที่มีกรดจัด เปรี้ยวจัด
จากนั้นจึงใช้น้ำชะล้างดินควบคู่ไปกับปูน ซึ่งทรงเรียกว่า “ระบบซักผ้า” เมื่อใช้น้ำจืด ชะล้างกรดในดินไปเรื่อยๆ ความเป็นกรดจะค่อยๆจางลง จนสามารถใช้เพาะปลูก ทำการเกษตรได้
ทั้งนี้หนึ่งในความสำเร็จที่เด่นชัดในเรื่องการแก้ปัญหาดินพรุ ดินเปรี้ยว ก็คือโครงการ“ศูนย์ศึกษาพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ” ที่ตั้งอยู่ที่ ต.ทะลุวอเหนือ อ.เมือง จ.นราธิวาส ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโครงการพระราชดำริแห่งนี้ขึ้น เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2525
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ จัดตั้งขึ้นเพื่อศึกษาค้นคว้า วิจัยทดลอง และแก้ปัญหาเรื่องดินพรุ ดินเปรี้ยว เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร ภายใต้แนวคิด “ป่าพรุเสื่อมโทรม สะสมดินเปรี้ยว แกล้งดินอย่างเดียว พัฒนาได้ยั่งยืน” ซึ่งผลสำเร็จจากการแกล้งดิน สามารถพลิกฟื้นเปลี่ยนพื้นดินจากที่เคยใช้ประโยชน์ไม่ได้ให้กลับมาปลูกพืชผักและทำการเกษตรชนิดต่างๆได้เป็นอย่างดี
นับเป็นความมหัศจรรย์ใต้พระบารมีจากน้ำพระทัยในหลวงรัชกาลที่ ๙ ซึ่งผลสำเร็จจากโครงการแล้งดิน ได้ถูกต่อยอดนำไปสู่การพัฒนาด้านอื่นๆอีกหลากหลายในศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ แห่งนี้
พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต
ปัจจุบันศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ เป็นศูนย์กลางการดำเนินงานแบบบูรณาการเพื่อสนองแนวพระราชดำริ เน้นการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้และการขยายผลสู่ประชาชนภายนอกโครงการ
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ มีพื้นที่กว่า 1,740 ไร่ แบ่งออกเป็นส่วนต่างๆภายใต้แนวคิด“พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต” ที่มีการจัดโซนพื้นที่อย่างเป็นระบบ และมีการจัดแต่งภูมิทัศน์อย่างสวยงาม
พร้อมกันนี้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ยังเปิดให้ผู้คนทั่วไปได้เข้าไปศึกษาท่องเที่ยวเรียนรู้ดูงาน สัมผัสกับสิ่งที่น่าสนใจต่างๆภายในศูนย์ อาทิ
ศูนย์บริการข้อมูล ณ จุดเดียว เป็นศูนย์รวมข้อมูลด้านการศึกษาและงานขยายผลการพัฒนาพื้นที่ โดยถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่เกษตรกรในพื้นที่และการให้บริการข้อมูลโดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
ศูนย์บริการวิเคราะห์ดิน ให้บริการวิเคราะห์ดิน น้ำ และคำแนะนำการปรับปรุงบำรุงดิน รวมไปถึงการใช้ประโยชน์ของดิน ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
ฐานดิน เรียนรู้เกี่ยวกับการเกิดดิน ชั้นดิน การใช้ประโยชน์ที่ดิน การฟื้นฟูทรัพยากรดินโดยใช้ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพจากกรมพัฒนาที่ดิน การปลูกหญ้าแฝกและการใช้ประโยชน์ การปลูกพืชปุ๋ยสดและการใช้ประโยชน์ การใช้วัสดุปรับปรุงบำรุงดินและการใช้ประโยชน์ที่ดิน
โครงการแกล้งดิน ศึกษาการเกิด การพัฒนาของดินเปรี้ยวจัด และเทคนิคการปรับปรุงดินเปรี้ยวจัด เพื่อใช้ประโยชน์ในการปลูกพืช
การปลูกข้าวพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด สาธิต การปลูกข้าวพันธุ์ต่างๆ ที่เหมาะสมในพื้นที่ดินเปรี้ยว ตลอดจนการเปรียบเทียบการใช้ปุ๋ยอัตราต่างๆ ที่เหมาะสมกับการปลูกข้าวและให้ผลผลิตสูง
เกษตรทฤษฎีใหม่ แปลงสาธิตการบริหารจัดการดินและน้ำ ตามความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
การเลี้ยงปลาเสริมรายได้ ศึกษาการเพาะเลี้ยงขยายพันธ์ปลาที่ทนต่อน้ำเปรี้ยว และการเลี้ยงปลาสวยงามในพื้นพรุ การเลี้ยงกบในกระชัง รวมไปถึงการทำการเกษตรผสมผสานบริเวณของบ่อเลี้ยงปลา และแจกจ่ายพันธ์ปลา
พืชสวนครัวประดับ แบบเกษตรอินทรีย์ เรียนรู้การจัดปลูกผักสวนครัวเชิงภูมิทัศน์ การนำภาชนะและวัสดุเหลือใช่มาประยุกต์ การปลูกพืชผักรูปแบบต่างๆ และเน้นการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ
ป่าพรุและป่าเสม็ดจำลอง การปลูกป่าในพื้นที่พรุ เพื่อการศึกษาระบบนิเวศน์ธรรมชาติของป่าพรุ และวิวัฒนาการการเกิดพรุ ศึกษาการนำไม้และใบไม้เสม็ด เพื่อการแปรรูป พร้อมทั้งการผลิตกล้าไม้ไว้สำหรับแจกจ่ายประชาชนทั่วไป เพื่อนำไปปลูกที่บ้าน ชุมชน และสถานที่ต่างๆ
ไบโอดีเซล เรียนรู้เทคนิคและกระบวนการสกัดและแปรรูปน้ำมันปาล์ม และการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลแบบง่ายๆ ที่สามารถผลิตเองได้ในครัวเรือนจากน้ำมันพืช ช่วยลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน
นอกจากนี้ก็ยังมีสวนสวยต่างๆ ได้แก่
สวน 50 ปี ครองราชย์ รวบรวมพืชตระกูลปาล์มนานาชนิดทั้งในและต่างประเทศ,สวนพฤกษาศาสตร์พันธุ์ไม้ม่วงเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สวนเรียนรู้พันธุ์ไม้ม่วงกว่า 100 ชนิด,สวน 72 พรรษา สวนรวบรวมพันธุ์ไม้หายากใกล้สูญพันธุ์และพืชสมุนไพร กว่า 400 ชนิด,สวนไม้มงคลเฉลิมพระชนม์ 76 พรรษา สวนพรรณไม้มงคลนานาชนิด,สวนสาธิตการเกษตรเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา สวนสาธิตการปลูกไม้ผล พืชผัก เลี้ยงปลา เป็นต้น,สวนเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา สวนพักผ่อนหย่อนใจที่ปลูกด้วยไม้โตเร็ว พันธุ์ไม้พื้นเมือง พันธุ์ไม้หอม และสระบัว
และนี่ก็คือสิ่งน่าสนใจอันหลากหลายในพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ซึ่งนอกจากจะเป็นพื้นที่ต้นแบบของโครงการแก้ปัญหาดินพรุ ดินเปรี้ยว ดินเป็นกรดจัด ด้วยวิธีการ“แกล้งดิน”ตามแนวพระราชดำริแล้ว ยังสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ภายในศูนย์ฯแห่งนี้มาปรับใช้เป็นแนวทางในการทำมาหากิน หรือมาประยุกต์ให้ในการดำรงชีวิต โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพื่อให้สามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน
นับเป็นอีกหนึ่งความมหัศจรรย์ใต้พระบารมีของ “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช” ในหลวงรัชกาลที่ ๙
...พระมหากษัตริย์ผู้ทรงงานหนักที่สุดในโลก ที่ยังคงอยู่ในดวงใจของคนไทยตลอดไป