โดย : ปิ่น บุตรี(pinn109@hotmail.com)

การเปิด “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” หรือ “เออีซี”(AEC : ASEAN Economic Community) ถือเป็นอีกหนึ่งก้าวย่างทางเดินสำคัญต่อการพัฒนาในด้านต่างๆของกลุ่มประเทศในอาเซียน ไม่ว่าจะเป็น ด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การคมนาคม รวมไปถึงในด้าน“การท่องเที่ยว” ที่การเปิด AEC นั้นมีคุณูปการสำคัญอย่างยิ่งต่อภาคการท่องเที่ยว เพราะสามารถเปิดประตูเชื่อมโยงระหว่างประเทศต่างๆในกลุ่มภูมิภาคอาเซียนให้สะดวกง่ายดายคล่องตัวมากยิ่งขึ้น
สำหรับจังหวัด“เชียงราย” ที่มี อ.แม่สาย ดินแดนเหนือสุดแดนสยาม เป็น 1 ใน 3 ด่านพรมแดนสำคัญ คือ “แม่สาย - ท่าขี้เหล็ก”(ประเทศเมียนมาร์) หลังการเปิด AEC ก็ยิ่งทำให้ด่านแม่สายมีความคึกคักมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้หลังเกิดการเปลี่ยนแปลงสำคัญทางการปกครองในเมียนมาร์ เปลี่ยนมือจากรัฐบาลทหารมาสู่รัฐบาลพลเรือน ก็ทำให้เมียนมาร์เดินหน้าเปิดประเทศมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ชาวต่างชาติเดินทางเข้าไปลงทุนทำธุรกิจ และท่องเที่ยวในพม่ามากยิ่งขึ้น
นั่นจึงทำให้ทาง “การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)” ภูมิภาค ภาคเหนือ และ ททท. สำนักงานเชียงราย ได้เดินหน้าจัดกิจกรรมกระตุ้นการท่องเที่ยวเชื่อมโยง AEC ในรัฐฉาน ประเทศเมียนมาร์ขึ้น ในเส้นทาง “เชียงราย-เชียงตุง-เฮโฮ-ทะเลสาบอินเล-ตองยี” ที่จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 18-23 กันยายน 2559 ที่ผ่านมา

โครงการนี้ ททท. ได้นำผู้ประกอบการนำเที่ยวในภาคเหนือและภาคใต้มาร่วมสำรวจแหล่งท่องเที่ยวและศักยภาพด้านการขายในเส้นท่องเที่ยวดังกล่าว เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางการท่องเที่ยวในรูปแบบของการ“เที่ยวข้ามภาค”ขึ้น เพื่อเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวระหว่างภูมิภาคต่างๆในเมืองไทยให้มากยิ่งขึ้น
นายเลิศชาย หวังตระกูลดี ผู้อำนวยการ ททท. สำนักงานเชียงราย เปิดเผยว่า จังหวัดเชียงรายถือเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญทางตอนเหนือของประเทศไทย มีความได้เปรียบทางสภาพภูมิศาสตร์ เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกับประเทศในกลุ่มอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง(GMS) มีความได้เปรียบทางเส้นทางคมนาคมขนส่งเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนๆบ้าน(เมียนมาร์ สปป.ลาว) และจีนตอนใต้ (มณฑลยูนนาน) ทั้งทางบก ทางเรือ และทางอากาศ เนื่องจากเชียงรายมีด่านพรมแดนถาวรในการเป็นประตูเชื่อมโยงสู่ประเทศต่างๆ ใน 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแม่สาย อำเภอเชียงแสน และอำเภอเชียงของ ประกอบกับในปีนี้(2559) บริษัทสายการบินต่างๆ ให้ความสนใจเปิดเส้นทางการบินเพิ่มขึ้น อาทิ เส้นทาง เชียงราย-หาดใหญ่ เส้นทาง เชียงราย-ภูเก็ต เป็นต้น ส่งผลให้เกิดการท่องเที่ยวเชื่อมโยงข้ามภูมิภาค
ที่เที่ยวใหม่ในเชียงราย

สำหรับเส้นทางท่องเที่ยว AEC ไทย-เมียนมาร์ “เชียงราย-เชียงตุง-ทะเลสาบอินเล-ตองยี”(แบบสรุปย่อ)นั้น วันแรก เราออกทัวร์ชมความน่าสนใจของสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ๆในเชียงราย เริ่มจาก “มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง” (ต.ท่าสุด อ.เมือง) หรือ ที่นิยมเรียกกันสั้นๆว่า “ม.แม่ฟ้าหลวง” ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่ได้ชื่อว่าสวยที่สุดในประเทศไทย
วันนี้ ม.แม่ฟ้าหลวง โดยนักศึกษาและครูบาอาจารย์สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว ในนาม กลุ่ม “Triple T Travel” ได้จัดกิจกรรม“แคมปัสทัวร์”(Campus Tour)ขึ้น เพื่อต้องการฝึกบรรดานักศึกษาที่เรียนมาทางด้านการท่องเที่ยว ได้สัมผัสกับประสบการณ์จริงในงานด้านการท่องเที่ยว

โดยกิจกรรมแคมปัสทัวร์เป็นรูปแบบของโครงการนำร่อง นั่งรถรางพาทัวร์ชมสิ่งน่าสนใจต่างๆใน ม.แม่ฟ้าหลวง ใน 4 เส้นทาง 8 ไฮไลท์ ได้แก่ “พระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี”(สมเด็จย่า), “ลานดาว”, “วิหารพระเจ้าล้านทอง”, “พิพิธภัณฑ์อายธรรมลุ่มน้ำโขง”, “ศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมจีนสิรินธรและสถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง”, “โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง”, “ศูนย์กีฬา” และ “สวนพฤกษศาสตร์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง”

จากนั้นเราไปชมความงามของ “วัดร่องเสือเต้น” (ต.ริมกก อ.เมือง) สถานที่ท่องเที่ยวใหม่ในเชียงรายที่กำลังมาแรงกับผลงานการสร้างสรรค์ของ “นายพุทธา กาบแก้ว” หรือ “สล่านก” ศิลปินท้องถิ่นชาวเชียงราย(ลูกศิษย์อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติ ผู้สร้างสรรค์วัดร่องขุ่นอันลือลั่น)

วัดร่องเสือเต้นโดดเด่นไปด้วยโทนสีน้ำเงิน มีลวดลายประดับตกแต่งจากศิลปะงานปูนปั้นและงานประติมากรรม อันงดงาม ประณีตอ่อนช้อย ในแทบทุกอณูของวัด นอกจากนี้ยังมี “พระพุทธรัชมงคลบดีตรีโลกนาถ” พระประธานสิงห์หนึ่งองค์งามในวิหารเป็นไฮไลท์สำคัญ ที่ผู้คนต่างเดินทางมากราบสักการะกันไม่ขาดสาย

ถัดไปเป็น“วัดหิรัญญาวาส”(ต.เกาะช้าง อ.แม่สาย) ที่เป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวใหม่มาแรง เนื่องจากวัดแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐาน “พระสิงห์สานชนะมาร” พระพุทธรูปสานด้วยไม้ไผ่ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก หน้าตักกว้าง 9.9 ศอก สูง 19 ศอก ซึ่งในวันที่ 31 ธ.ค. 59 นี้ ทางวัดหิรัญญาวาส จะทำพิธีบรรจุหัวใจพระพุทธรูปที่ทำจากเงินบริสุทธิ์ 7.5 กก. ผู้ใดสนใจสามารถไปร่วมพิธีบรรจุหัวใจพระพุทธรูปกันได้ตามจิตศรัทธา

ทริปเที่ยวในจังหวัดเชียงรายปิดท้ายกันที่ “จินนาลักษณ์กระดาษสา”(ต.เกาะช้าง อ.แม่สาย) ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ประเภท DIY แห่งใหม่ที่น่าสนใจใน จ.เชียงราย
จินนาลักษณ์กระดาษสา ผลิตกระดาษสามานานกว่า 20 ปี เป็นผู้บุกเบิกการนำวัสดุธรรมชาติ อย่างเช่นดอกไม้ มาสร้างสรรค์เป็นลวดลายในกระดาษสา ที่ความสวยงามเก๋ไก๋มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว

นอกจากนี้จินนาลักษณ์กระดาษสายังเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้เกี่ยวกับกระดาษสา เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการเลือกวัสดุไปจนถึงกระบวนการผลิตจนออกมาเป็นกระดาษสาอันสวยงาม โดยเปิดโอกาสให้ผู้มาเยือนได้ร่วมทดลองทำกระดาษสาด้วยตัวเอง นับเป็นผลงานที่เกิดจากไอเดียและการสร้างสรรค์ของแต่ละคนที่มีเพียงชิ้นเดียวในโลกเท่านั้น
ท่าขี้เหล็ก-เชียงตุง

เช้าวันถัดไป เราออกเดินทางกันแต่เช้าตรูเพื่อไปข้ามพรมแดนที่ ด่านแม่สายสู่เมืองท่าขี้เหล็กประเทศเมียนมาร์(ปัจจุบันการไปเที่ยวพม่าทางถนนยังต้องทำวีซ่าอยู่) จากนั้นเดินทางจากจังหวัดท่าขี้เหล็กสู่“จังหวัดเชียงตุง” แห่งรัฐฉาน (ท่าขี้เหล็ก-เชียงตุง มีระยะทางประมาณ 164 กม.ใช้เวลาทางรถยนต์ประมาณ 3 ชม. รถบัสประมาณ 4 ชม.)
ระหว่างทางจากท่าขี้เหล็กสู่เชียงตุง มีหลายจุดที่มีวิวทิวทัศน์อันสวยงามไม่ว่าจะเป็นมีวิวทิวทัศน์ของขุนเขา สายน้ำ หมู่บ้าน และทุ่งนาขั้นบันไดอันสวยงาม ก่อนจะเข้าเขตเมืองเชียงตุงที่มีป้ายยินดีต้อนรับสู่เมืองเชียงตุง(และลาก่อนเมืองเชียงตุง) ที่นักท่องเที่ยวนิยมลงไปถ่ายรูปคู่กับป้ายแห่งนี้เป็นที่ระลึกกันเป็นจำนวนมาก

จังหวัดเชียงตุงเป็นเมืองที่มีชาวไตใหญ่(ไทใหญ่)และชาวไตเขิน(ไทเขิน)อาศัยอยู่เป็นหลัก ในอดีตมีความเจริญเทียบเท่ากับเมืองเชียงใหม่แห่งล้านนา และเมืองเชียงรุ่งแห่งสิบสองปันนา(มณฑลยูนนานประเทศจีน)
แต่ปัจจุบันเมืองเชียงตุงมีบรรยากาศดูคล้ายเมืองไทยย้อนยุคไปเมื่อประมาณ 30-40 ปีที่แล้ว โดยเฉพาะในชนบท จะอวลไปด้วยกลิ่นอายของเมืองไทยย้อนยุคอย่างชัดเจน

เชียงตุงเป็นอีกหนึ่งเมืองที่มีความโดดเด่นในพระพุทธศาสนา ในเชียงตุงมีวัดและสิ่งศักดิ์สิทธิ์น่าสนใจหลากหลาย สำหรับสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญๆที่เป็นไฮไลท์ทางการท่องเที่ยวในตัวเมืองเชียงตุงนั้นก็อย่างเช่น

-“วัดจอมคำ” หรือ “วัดพระธาตุจอมคำ” เป็นวัดสำคัญคู่บ้านคู่เมือง มีองค์พระธาตุจอมคำสีทองงามอร่าม ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า
-“วัดพระมหามัยมุนี” หรือ “วัดพระเจ้าหลวง” เป็นที่ประดิษฐานพระมหามัยมุนีที่จำลองมาจาก องค์พระมหามัยมุนี เมืองมัณฑะเลย์ ที่เป็น 1 ใน 5 สิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญสูงสุด(เบญจมหาบูชาสถาน) ของประเทศเมียนมาร์

-“พระชี้นิ้ว” เป็นพระพุทธรูปปางประทับยืนบนเขาจอมสัก ทำท่ากำลังชี้นิ้วไปยังตัวเมืองเชียงตุง ซึงมีประวัติการสร้างเกี่ยวเนื่องกับการก่อกำเนิดเมืองเชียงตุง ปัจจุบันถือเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์สำคัญอันโดดเด่นของเมืองเชียงตุง

นอกจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆแล้วในตัวเมืองแล้ว หากออกนอกเมืองเชียงตุงไปก็ยังมีหมู่บ้านต่างๆเป็นอีกหนึ่งสิ่งดึงดูดให้นักท่องเที่ยวไปสัมผัสกับวิถีชีวิตชนบทอันงดงามเป็นเอกลักษณ์ของชาวเชียงตุง

ขณะที่ในตัวเมืองนั้นก็มี “กาดหลวง” หรือ “ตลาดเชียงตุง” เป็นอีกหนึ่งจุดน่าสนใจที่นอกจากจะเป็นแหล่งซื้อขายข้าวของเครื่องใช้สำคัญทั้งของชาวเมืองเชียงตุงและนักท่องเที่ยวแล้ว ที่นี่ยังโดดเด่นไปด้วยภาพวิถีชีวิตของชาวไตใหญ่และชาวไตเขิน รวมถึงชนเผ่าอื่นๆให้สัมผัสกันอย่างน่าตื่นตาตื่นใจ
อินเล-ตองยี

จากเมืองเชียงตุง เราเดินทางไปยังเมืองเฮโฮ แล้วเดินทางต่อไปยังอีกหนึ่งจุดหมายสำคัญของทริปนั่นก็คือ “ทะเลสาบอินเล” (เมืองยองชเว จังหวัดตองยี) ที่อยู่ห่างจากตัวจังหวัดตองยี เมืองหลวงของรัฐฉานประมาณ 25 กม.
ทะเลสาบอินเล เป็นทะเลสาบขนาดใหญ่มีพื้นที่กว้างขวางกว่า 158 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ในหุบแวดล้อมของขุนเขาแห่งรัฐฉาน

ภายในทะเลสาบอินเล มีชาวอินตา(อินทา) อาศัยอยู่เป็นชนเผ่าหลักมากยาวนานนับร้อยปี ชาวอินตาแห่งทะเลสาบอินเล ขึ้นชื่อในเรื่องของการทำประมงที่สามารถใช้เท้าพายเรือ(ขาเดียว) แทนมือได้ ยามที่ต้องการเหวี่ยงแห ตีปลา หรือ วางสุ่มสำหรับจับสัตว์น้ำ
นอกจากนี้ชาวอินตายังปลูกบ้านเรือนอยู่ในน้ำ ทำการเกษตรในสายน้ำกับสวนผักลอยน้ำ ปลูกพืชผักต่างๆ เช่น พริก ผักกาด และโดยเฉพาะ “มะเขือเทศ” ที่ปลูกเป็นจำนวนมาก และส่งขายไปทั่วทั้งประเทศเมียนมาร์

ภายในทะเลสาบอินเลนอกจากจะมีภาพวิถีชีวิตที่ผูกพันกับสายน้ำให้สัมผัสกันอย่างน่าตื่นตาตื่นใจแล้ว ยังมีวัดสำคัญๆให้เที่ยวชมกันได้แก่
-“วัดงาแพเชา”(งาแพจอง) หรือ ที่คนไทยรู้จักกันดีในนาม “วัดแมวกระโดด” ที่เป็นวัดอันสวยงามกลางน้ำ เป็นแหล่งรวมพระพุทธรูปสำคัญๆที่ประดิษฐานอยู่ในบุษบกอันงดงามมากมาย

-“วัดผ่องต่ออู” วัดที่ประดิษฐาน “พระบัวเข็ม” พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ 5 องค์ ที่แกะจากไม้แก่นจันทน์ อายุนับพันปี ซึ่งเดิมเล่าขานกันว่ามีขนาดเล็กแค่ประมาณ 5 ซ.ม. แต่ด้วยชื่อเสียงความศักดิ์สิทธิ์บวกกับความศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทำให้มีคนเดินทางมาปิดทองท่านกันเป็นจำนวนมาก จนปัจจุบันพระบัวเข็ม วัดผ่องต่ออู มีขนาดใหญ่กว่าเดิมมากขึ้นหลายเท่า และไม่สามารถเห็นถึงพุทธลักษณะดั้งเดิม เนื่องจากถูกปิดทองจนกลมเกลี้ยงไปหมดทุกองค์(ห้ามผู้หญิงขึ้นไปปิดทององค์พระบัวเข็ม)

หลังท่องเที่ยวเพลิดเพลิน(และพักค้าง)ที่ทะเลสาบอินเล คณะเราเดินทางสู่เมือง“ตองยี” เมืองหลวงของรัฐฉาน เพื่อสักการะ“เจดีย์สุระมะณี” สิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญของเมืองตองยี ที่จำลองแบบมาจากเจดีย์วัดอนันดา เมืองพุกาม ก่อนเดินทางจากเมืองตองยีสู่เมืองท่าขี้เหล็ก แล้วข้ามด่านแม่สายกลับสู่จังหวัดเชียงราย โดยสวัสดิภาพ
นับเป็นอีกหนึ่งเส้นทางอันชวนประทับใจ ที่วันนี้บนวิถีแห่งความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกยุคใหม่ การได้เห็นภาพชีวิตดั้งเดิมของผู้คนที่ดำรงวิถีอย่างเรียบง่าย พอเพียง แต่มีความสุขนั้น ถือเป็นหนึ่งในสิ่งช่วยปลอบประโลมใจของใครและใครหลายๆคนได้เป็นอย่างดี

*****************************************
ผู้สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานเชียงราย (ดูแลพื้นที่เชียงราย,พะเยา) 0-5371-7433
หมายเหตุ : รายละเอียดของแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ แบบเจาะลึก จะนำเสนอในโอกาสต่อไป
*****************************************
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com
การเปิด “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” หรือ “เออีซี”(AEC : ASEAN Economic Community) ถือเป็นอีกหนึ่งก้าวย่างทางเดินสำคัญต่อการพัฒนาในด้านต่างๆของกลุ่มประเทศในอาเซียน ไม่ว่าจะเป็น ด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การคมนาคม รวมไปถึงในด้าน“การท่องเที่ยว” ที่การเปิด AEC นั้นมีคุณูปการสำคัญอย่างยิ่งต่อภาคการท่องเที่ยว เพราะสามารถเปิดประตูเชื่อมโยงระหว่างประเทศต่างๆในกลุ่มภูมิภาคอาเซียนให้สะดวกง่ายดายคล่องตัวมากยิ่งขึ้น
สำหรับจังหวัด“เชียงราย” ที่มี อ.แม่สาย ดินแดนเหนือสุดแดนสยาม เป็น 1 ใน 3 ด่านพรมแดนสำคัญ คือ “แม่สาย - ท่าขี้เหล็ก”(ประเทศเมียนมาร์) หลังการเปิด AEC ก็ยิ่งทำให้ด่านแม่สายมีความคึกคักมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้หลังเกิดการเปลี่ยนแปลงสำคัญทางการปกครองในเมียนมาร์ เปลี่ยนมือจากรัฐบาลทหารมาสู่รัฐบาลพลเรือน ก็ทำให้เมียนมาร์เดินหน้าเปิดประเทศมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ชาวต่างชาติเดินทางเข้าไปลงทุนทำธุรกิจ และท่องเที่ยวในพม่ามากยิ่งขึ้น
นั่นจึงทำให้ทาง “การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)” ภูมิภาค ภาคเหนือ และ ททท. สำนักงานเชียงราย ได้เดินหน้าจัดกิจกรรมกระตุ้นการท่องเที่ยวเชื่อมโยง AEC ในรัฐฉาน ประเทศเมียนมาร์ขึ้น ในเส้นทาง “เชียงราย-เชียงตุง-เฮโฮ-ทะเลสาบอินเล-ตองยี” ที่จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 18-23 กันยายน 2559 ที่ผ่านมา
โครงการนี้ ททท. ได้นำผู้ประกอบการนำเที่ยวในภาคเหนือและภาคใต้มาร่วมสำรวจแหล่งท่องเที่ยวและศักยภาพด้านการขายในเส้นท่องเที่ยวดังกล่าว เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางการท่องเที่ยวในรูปแบบของการ“เที่ยวข้ามภาค”ขึ้น เพื่อเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวระหว่างภูมิภาคต่างๆในเมืองไทยให้มากยิ่งขึ้น
นายเลิศชาย หวังตระกูลดี ผู้อำนวยการ ททท. สำนักงานเชียงราย เปิดเผยว่า จังหวัดเชียงรายถือเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญทางตอนเหนือของประเทศไทย มีความได้เปรียบทางสภาพภูมิศาสตร์ เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกับประเทศในกลุ่มอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง(GMS) มีความได้เปรียบทางเส้นทางคมนาคมขนส่งเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนๆบ้าน(เมียนมาร์ สปป.ลาว) และจีนตอนใต้ (มณฑลยูนนาน) ทั้งทางบก ทางเรือ และทางอากาศ เนื่องจากเชียงรายมีด่านพรมแดนถาวรในการเป็นประตูเชื่อมโยงสู่ประเทศต่างๆ ใน 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแม่สาย อำเภอเชียงแสน และอำเภอเชียงของ ประกอบกับในปีนี้(2559) บริษัทสายการบินต่างๆ ให้ความสนใจเปิดเส้นทางการบินเพิ่มขึ้น อาทิ เส้นทาง เชียงราย-หาดใหญ่ เส้นทาง เชียงราย-ภูเก็ต เป็นต้น ส่งผลให้เกิดการท่องเที่ยวเชื่อมโยงข้ามภูมิภาค
ที่เที่ยวใหม่ในเชียงราย
สำหรับเส้นทางท่องเที่ยว AEC ไทย-เมียนมาร์ “เชียงราย-เชียงตุง-ทะเลสาบอินเล-ตองยี”(แบบสรุปย่อ)นั้น วันแรก เราออกทัวร์ชมความน่าสนใจของสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ๆในเชียงราย เริ่มจาก “มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง” (ต.ท่าสุด อ.เมือง) หรือ ที่นิยมเรียกกันสั้นๆว่า “ม.แม่ฟ้าหลวง” ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่ได้ชื่อว่าสวยที่สุดในประเทศไทย
วันนี้ ม.แม่ฟ้าหลวง โดยนักศึกษาและครูบาอาจารย์สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว ในนาม กลุ่ม “Triple T Travel” ได้จัดกิจกรรม“แคมปัสทัวร์”(Campus Tour)ขึ้น เพื่อต้องการฝึกบรรดานักศึกษาที่เรียนมาทางด้านการท่องเที่ยว ได้สัมผัสกับประสบการณ์จริงในงานด้านการท่องเที่ยว
โดยกิจกรรมแคมปัสทัวร์เป็นรูปแบบของโครงการนำร่อง นั่งรถรางพาทัวร์ชมสิ่งน่าสนใจต่างๆใน ม.แม่ฟ้าหลวง ใน 4 เส้นทาง 8 ไฮไลท์ ได้แก่ “พระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี”(สมเด็จย่า), “ลานดาว”, “วิหารพระเจ้าล้านทอง”, “พิพิธภัณฑ์อายธรรมลุ่มน้ำโขง”, “ศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมจีนสิรินธรและสถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง”, “โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง”, “ศูนย์กีฬา” และ “สวนพฤกษศาสตร์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง”
จากนั้นเราไปชมความงามของ “วัดร่องเสือเต้น” (ต.ริมกก อ.เมือง) สถานที่ท่องเที่ยวใหม่ในเชียงรายที่กำลังมาแรงกับผลงานการสร้างสรรค์ของ “นายพุทธา กาบแก้ว” หรือ “สล่านก” ศิลปินท้องถิ่นชาวเชียงราย(ลูกศิษย์อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติ ผู้สร้างสรรค์วัดร่องขุ่นอันลือลั่น)
วัดร่องเสือเต้นโดดเด่นไปด้วยโทนสีน้ำเงิน มีลวดลายประดับตกแต่งจากศิลปะงานปูนปั้นและงานประติมากรรม อันงดงาม ประณีตอ่อนช้อย ในแทบทุกอณูของวัด นอกจากนี้ยังมี “พระพุทธรัชมงคลบดีตรีโลกนาถ” พระประธานสิงห์หนึ่งองค์งามในวิหารเป็นไฮไลท์สำคัญ ที่ผู้คนต่างเดินทางมากราบสักการะกันไม่ขาดสาย
ถัดไปเป็น“วัดหิรัญญาวาส”(ต.เกาะช้าง อ.แม่สาย) ที่เป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวใหม่มาแรง เนื่องจากวัดแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐาน “พระสิงห์สานชนะมาร” พระพุทธรูปสานด้วยไม้ไผ่ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก หน้าตักกว้าง 9.9 ศอก สูง 19 ศอก ซึ่งในวันที่ 31 ธ.ค. 59 นี้ ทางวัดหิรัญญาวาส จะทำพิธีบรรจุหัวใจพระพุทธรูปที่ทำจากเงินบริสุทธิ์ 7.5 กก. ผู้ใดสนใจสามารถไปร่วมพิธีบรรจุหัวใจพระพุทธรูปกันได้ตามจิตศรัทธา
ทริปเที่ยวในจังหวัดเชียงรายปิดท้ายกันที่ “จินนาลักษณ์กระดาษสา”(ต.เกาะช้าง อ.แม่สาย) ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ประเภท DIY แห่งใหม่ที่น่าสนใจใน จ.เชียงราย
จินนาลักษณ์กระดาษสา ผลิตกระดาษสามานานกว่า 20 ปี เป็นผู้บุกเบิกการนำวัสดุธรรมชาติ อย่างเช่นดอกไม้ มาสร้างสรรค์เป็นลวดลายในกระดาษสา ที่ความสวยงามเก๋ไก๋มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
นอกจากนี้จินนาลักษณ์กระดาษสายังเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้เกี่ยวกับกระดาษสา เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการเลือกวัสดุไปจนถึงกระบวนการผลิตจนออกมาเป็นกระดาษสาอันสวยงาม โดยเปิดโอกาสให้ผู้มาเยือนได้ร่วมทดลองทำกระดาษสาด้วยตัวเอง นับเป็นผลงานที่เกิดจากไอเดียและการสร้างสรรค์ของแต่ละคนที่มีเพียงชิ้นเดียวในโลกเท่านั้น
ท่าขี้เหล็ก-เชียงตุง
เช้าวันถัดไป เราออกเดินทางกันแต่เช้าตรูเพื่อไปข้ามพรมแดนที่ ด่านแม่สายสู่เมืองท่าขี้เหล็กประเทศเมียนมาร์(ปัจจุบันการไปเที่ยวพม่าทางถนนยังต้องทำวีซ่าอยู่) จากนั้นเดินทางจากจังหวัดท่าขี้เหล็กสู่“จังหวัดเชียงตุง” แห่งรัฐฉาน (ท่าขี้เหล็ก-เชียงตุง มีระยะทางประมาณ 164 กม.ใช้เวลาทางรถยนต์ประมาณ 3 ชม. รถบัสประมาณ 4 ชม.)
ระหว่างทางจากท่าขี้เหล็กสู่เชียงตุง มีหลายจุดที่มีวิวทิวทัศน์อันสวยงามไม่ว่าจะเป็นมีวิวทิวทัศน์ของขุนเขา สายน้ำ หมู่บ้าน และทุ่งนาขั้นบันไดอันสวยงาม ก่อนจะเข้าเขตเมืองเชียงตุงที่มีป้ายยินดีต้อนรับสู่เมืองเชียงตุง(และลาก่อนเมืองเชียงตุง) ที่นักท่องเที่ยวนิยมลงไปถ่ายรูปคู่กับป้ายแห่งนี้เป็นที่ระลึกกันเป็นจำนวนมาก
จังหวัดเชียงตุงเป็นเมืองที่มีชาวไตใหญ่(ไทใหญ่)และชาวไตเขิน(ไทเขิน)อาศัยอยู่เป็นหลัก ในอดีตมีความเจริญเทียบเท่ากับเมืองเชียงใหม่แห่งล้านนา และเมืองเชียงรุ่งแห่งสิบสองปันนา(มณฑลยูนนานประเทศจีน)
แต่ปัจจุบันเมืองเชียงตุงมีบรรยากาศดูคล้ายเมืองไทยย้อนยุคไปเมื่อประมาณ 30-40 ปีที่แล้ว โดยเฉพาะในชนบท จะอวลไปด้วยกลิ่นอายของเมืองไทยย้อนยุคอย่างชัดเจน
เชียงตุงเป็นอีกหนึ่งเมืองที่มีความโดดเด่นในพระพุทธศาสนา ในเชียงตุงมีวัดและสิ่งศักดิ์สิทธิ์น่าสนใจหลากหลาย สำหรับสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญๆที่เป็นไฮไลท์ทางการท่องเที่ยวในตัวเมืองเชียงตุงนั้นก็อย่างเช่น
-“วัดจอมคำ” หรือ “วัดพระธาตุจอมคำ” เป็นวัดสำคัญคู่บ้านคู่เมือง มีองค์พระธาตุจอมคำสีทองงามอร่าม ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า
-“วัดพระมหามัยมุนี” หรือ “วัดพระเจ้าหลวง” เป็นที่ประดิษฐานพระมหามัยมุนีที่จำลองมาจาก องค์พระมหามัยมุนี เมืองมัณฑะเลย์ ที่เป็น 1 ใน 5 สิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญสูงสุด(เบญจมหาบูชาสถาน) ของประเทศเมียนมาร์
-“พระชี้นิ้ว” เป็นพระพุทธรูปปางประทับยืนบนเขาจอมสัก ทำท่ากำลังชี้นิ้วไปยังตัวเมืองเชียงตุง ซึงมีประวัติการสร้างเกี่ยวเนื่องกับการก่อกำเนิดเมืองเชียงตุง ปัจจุบันถือเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์สำคัญอันโดดเด่นของเมืองเชียงตุง
นอกจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆแล้วในตัวเมืองแล้ว หากออกนอกเมืองเชียงตุงไปก็ยังมีหมู่บ้านต่างๆเป็นอีกหนึ่งสิ่งดึงดูดให้นักท่องเที่ยวไปสัมผัสกับวิถีชีวิตชนบทอันงดงามเป็นเอกลักษณ์ของชาวเชียงตุง
ขณะที่ในตัวเมืองนั้นก็มี “กาดหลวง” หรือ “ตลาดเชียงตุง” เป็นอีกหนึ่งจุดน่าสนใจที่นอกจากจะเป็นแหล่งซื้อขายข้าวของเครื่องใช้สำคัญทั้งของชาวเมืองเชียงตุงและนักท่องเที่ยวแล้ว ที่นี่ยังโดดเด่นไปด้วยภาพวิถีชีวิตของชาวไตใหญ่และชาวไตเขิน รวมถึงชนเผ่าอื่นๆให้สัมผัสกันอย่างน่าตื่นตาตื่นใจ
อินเล-ตองยี
จากเมืองเชียงตุง เราเดินทางไปยังเมืองเฮโฮ แล้วเดินทางต่อไปยังอีกหนึ่งจุดหมายสำคัญของทริปนั่นก็คือ “ทะเลสาบอินเล” (เมืองยองชเว จังหวัดตองยี) ที่อยู่ห่างจากตัวจังหวัดตองยี เมืองหลวงของรัฐฉานประมาณ 25 กม.
ทะเลสาบอินเล เป็นทะเลสาบขนาดใหญ่มีพื้นที่กว้างขวางกว่า 158 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ในหุบแวดล้อมของขุนเขาแห่งรัฐฉาน
ภายในทะเลสาบอินเล มีชาวอินตา(อินทา) อาศัยอยู่เป็นชนเผ่าหลักมากยาวนานนับร้อยปี ชาวอินตาแห่งทะเลสาบอินเล ขึ้นชื่อในเรื่องของการทำประมงที่สามารถใช้เท้าพายเรือ(ขาเดียว) แทนมือได้ ยามที่ต้องการเหวี่ยงแห ตีปลา หรือ วางสุ่มสำหรับจับสัตว์น้ำ
นอกจากนี้ชาวอินตายังปลูกบ้านเรือนอยู่ในน้ำ ทำการเกษตรในสายน้ำกับสวนผักลอยน้ำ ปลูกพืชผักต่างๆ เช่น พริก ผักกาด และโดยเฉพาะ “มะเขือเทศ” ที่ปลูกเป็นจำนวนมาก และส่งขายไปทั่วทั้งประเทศเมียนมาร์
ภายในทะเลสาบอินเลนอกจากจะมีภาพวิถีชีวิตที่ผูกพันกับสายน้ำให้สัมผัสกันอย่างน่าตื่นตาตื่นใจแล้ว ยังมีวัดสำคัญๆให้เที่ยวชมกันได้แก่
-“วัดงาแพเชา”(งาแพจอง) หรือ ที่คนไทยรู้จักกันดีในนาม “วัดแมวกระโดด” ที่เป็นวัดอันสวยงามกลางน้ำ เป็นแหล่งรวมพระพุทธรูปสำคัญๆที่ประดิษฐานอยู่ในบุษบกอันงดงามมากมาย
-“วัดผ่องต่ออู” วัดที่ประดิษฐาน “พระบัวเข็ม” พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ 5 องค์ ที่แกะจากไม้แก่นจันทน์ อายุนับพันปี ซึ่งเดิมเล่าขานกันว่ามีขนาดเล็กแค่ประมาณ 5 ซ.ม. แต่ด้วยชื่อเสียงความศักดิ์สิทธิ์บวกกับความศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทำให้มีคนเดินทางมาปิดทองท่านกันเป็นจำนวนมาก จนปัจจุบันพระบัวเข็ม วัดผ่องต่ออู มีขนาดใหญ่กว่าเดิมมากขึ้นหลายเท่า และไม่สามารถเห็นถึงพุทธลักษณะดั้งเดิม เนื่องจากถูกปิดทองจนกลมเกลี้ยงไปหมดทุกองค์(ห้ามผู้หญิงขึ้นไปปิดทององค์พระบัวเข็ม)
หลังท่องเที่ยวเพลิดเพลิน(และพักค้าง)ที่ทะเลสาบอินเล คณะเราเดินทางสู่เมือง“ตองยี” เมืองหลวงของรัฐฉาน เพื่อสักการะ“เจดีย์สุระมะณี” สิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญของเมืองตองยี ที่จำลองแบบมาจากเจดีย์วัดอนันดา เมืองพุกาม ก่อนเดินทางจากเมืองตองยีสู่เมืองท่าขี้เหล็ก แล้วข้ามด่านแม่สายกลับสู่จังหวัดเชียงราย โดยสวัสดิภาพ
นับเป็นอีกหนึ่งเส้นทางอันชวนประทับใจ ที่วันนี้บนวิถีแห่งความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกยุคใหม่ การได้เห็นภาพชีวิตดั้งเดิมของผู้คนที่ดำรงวิถีอย่างเรียบง่าย พอเพียง แต่มีความสุขนั้น ถือเป็นหนึ่งในสิ่งช่วยปลอบประโลมใจของใครและใครหลายๆคนได้เป็นอย่างดี
*****************************************
ผู้สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานเชียงราย (ดูแลพื้นที่เชียงราย,พะเยา) 0-5371-7433
หมายเหตุ : รายละเอียดของแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ แบบเจาะลึก จะนำเสนอในโอกาสต่อไป
*****************************************
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com