โดย : ปิ่น บุตรี(pinn109@hotmail.com)
“นราธิวาส” หมายถึง “ที่อยู่อันยิ่งใหญ่ของประชาชน” (อ้างอิงจากเอกสารงาน “ร้อยใจ 100 ปีนราธิวาส และงานกาชาดประจำปี 2558”) ไม่ใช่“ที่อยู่ของคนดี”ตามที่หลายๆคนมักเข้าใจผิด(เนื่องจากปรากฏเป็นข้อมูลอยู่หลากหลายทั้งตามเอกสารและอินเตอร์เน็ต)
100 ปี นราธิวาส
เมืองนราธิวาส ในอดีตคือ “บ้านบางนรา” หรือ “มะนารอ” เป็นหมู่บ้านชาวประมงตั้งอยู่ปากแม่น้ำบางนราติดชายทะเลอ่าวไทย
ในสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก(รัชกาลที่ 1) บ้านบางนราขึ้นอยู่กับเมืองสายบุรี ต่อมาเมืองปัตตานีถูกยกฐานะเป็นมณฑล บ้านบางนราจึงโอนไปขึ้นกับเมืองระแงะ แห่งมณฑลปัตตานี
ในปี พ.ศ. 2449 สมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 5) บ้านบางนรามีความเป็นอยู่หนาแน่นขึ้น พร้อมกับเติบโตเจริญเป็นชุมชนใหญ่กว่าตัวเมืองระแงะ จึงมีการย้ายศาลาว่าการเมืองมาตั้งที่บ้านบางนราพร้อมยกฐานะขึ้นเป็น“เมืองบางนรา”
ต่อมาในปี พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 6) ได้เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลปักษ์ใต้ และได้เสด็จพระราชดำเนินมาถึงบางนรา หลังจากนั้น ในวันที่ 10 มิถุนายน 2458 ร.6 ได้มีพระบรมราชโองการเปลี่ยนชื่อเมืองบางนราเป็น“นราธิวาส” โดยมีบันทึกไว้ใน เอกสารงาน “ร้อยใจ 100 ปีนราธิวาส และงานกาชาดประจำปี 2558” ว่า
“...ครั้นวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2458 ได้มีพระบรมราชโองการ เปลี่ยนชื่อเมืองบางนราเป็นเมืองนราธิวาส มีความหมายว่า “ที่อยู่อันยิ่งใหญ่ของประชาชน” ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2458 เล่ม 12 หน้า 125”
สำหรับในปี พ.ศ. 2558 นี้ จังหวัดนราธิวาสมีอายุครบ 100 ปี จากการเปลี่ยนชื่อเมืองจาก“บางนรามา” เป็น “นราธิวาส” ทางจังหวัดนราธิวาสจึงมีการจัดงานฉลองครบรอบ 100 ปี มาอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยล่าสุดจังหวัดนราธิวาสได้จัดงาน“ของดีเมืองนราฯ” ประจำปี 2558 ขึ้น ตั้งแต่วันที่ 17 - 25 ก.ย. 2558 ที่สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา (สวนหลวง ร.5) บริเวณศูนย์ราชการ อ.เมือง จ.นราธิวาส
งานของดีเมืองนราฯ จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น และเป็นการประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ที่ดีของของจังหวัดนราธิวาส โดยงานปีนี้จัดใหญ่เป็นพิเศษเพื่อร่วมฉลองครบรอบ 100 ปี นราธิวาส
ภายในงานประกอบด้วยกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย ไม่ว่าจะเป็น การจัดแสดงเรื่องราวความเป็นมาของเมืองนราธิวาสผ่านตัวนิทรรศการที่จัดแสดงไว้ได้อย่างน่าสนใจ การจัดแสดงนิทรรศการของส่วนราชการต่างๆ อาทิ กรมปศุสัตว์ กรมชลประทาน ที่มาจัดแสดงเรื่องราวที่น่าสนใจและให้ความรู้มากมาย มีผลิตภัณฑ์ของดีของเมืองนรา ผลิตภัณฑ์โอทอปต่างๆ ผลิตภัณฑ์กระจูด การโชว์การทำเรือกอและจำลอง และมีงานศิลปาชีพมากมายโชว์และให้เลือกซื้อหากัน
อีกทั้งยังมีงานวันลองกองที่จัดขึ้นรวมกับงานของดีเมืองนราด้วย ซึ่งลองกองเป็นผลไม้ขึ้นชื่อของเมืองนรา และมีบุฟเฟต์ผลไม้ให้ได้อิ่มอร่อยกันด้วย อีกทั้งภายในงานของดีเมืองนรายังมีการแข่งขันประชันเสียงนกเขาขวาเสียงชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งมีนกเขาชวาเข้าร่วมแข่งขันในงานนี้เป็นจำนวนมาก
นอกจากนี้ก็ยังมีขบวนแห่เรือบุปผชาติทางน้ำที่สวยงามให้ได้ชม และการแข่งขันเรือชิงถ้วยรางวัลพระราชทาน ที่มีทั้ง เรือกอและ เรือยาว เรือยอกอง และเรือคชสีห์กับรูปลักษณะเฉพาะตัวโดยจัดขึ้นที่บริเวณพลับพลาเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ริมแม่น้ำบางนรา อ.เมือง จ.นราธิวาส
นับเป็นอีกหนึ่งสีสันเมืองนราฯ ที่เป็นดังการบอกให้คนภายนอกรับรู้ว่านราธิวาสไม่ได้น่ากลัวอย่างที่หลายๆคนคิดกัน
ไฮไลท์เที่ยวในเมืองนรา
สำหรับผู้มาเยือนนราธิวาส ในตัวเมืองนรามีสิ่งน่าสนใจเด่นๆให้เที่ยวชมกัน อาทิ
-“ชายหาดนราทัศน์” หาดทรายงามยาวประมาณ 5 กม. ใกล้กับชายหาดมีหมู่บ้านชาวประมงให้สัมผัสกับวิถีชาวประมงพื้นบ้านและเรือกอและที่จอดเรียงรายให้ชื่นชมในความงาม
-“มัสยิดกลาง” เป็นมัสยิดกลางประจำจังหวัดนราธิวาส ตั้งอยู่ก่อนถึงหาดนราทัศน์ กับสถาปัตยกรรมสไตล์อาหรับ บนยอดมีโดมขนาดใหญ่
-“ตลาดสดเทศบาล” อยู่ตรงข้ามโรงแรมอิมพีเรียล กับบรรยากาศตลาดเช้าอันแสนคึกคึก ผู้คนน่ารักใจดี มีของขายสารพัดสารพัน พืชผักผลไม้ และอาหารทะเลปลามากมายที่เป็นจุดเด่นของที่นี่ น่าไปเดินเที่ยวชมสัมผัสวิถีชาวบ้านเป็นอย่างยิ่ง
-“ตึกชิโนโปรตุกีส” กับสถาปัตยกรรมโปรตุเกสผสมจีนน่ารักๆ ไม่กี่ห้องใจกลางเมือง ที่แสดงถึงความเก่าแก่คลาสสิก และมีเอกลักษณ์ตรงที่บางหลังชั้นล่างเป็นบ้านคน แต่ชั้นบนเป็นบ้านนกนางแอ่นที่น่าสนใจไม่น้อย
-“พระพุทธทักษิณมิ่งมงคล” ตั้งอยู่ที่ “พุทธอุทยานเขากง”(วัดเขากง) เป็นพระพุทธรูปสีทองอร่ามปางปฐมเทศนาขัดสมาธิเพชร ประทับนั่งกลางแจ้งดูโดดเด่นเปี่ยมศรัทธาอยู่บนเนินเขา องค์พระสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กประดับโมเสคสีทอง หน้าตักกว้าง 15 เมตร สูง 24 เมตร นับเป็นพระพุทธรูปกลางแจ้งที่มีความงดงามและและมีขนาดใหญ่ที่สุดในภาคใต้
นอกจากนี้ในตัวเมืองนรายังมีดินแดนแห่งสิ่งศักดิ์สิทธ์ 3 วัฒนธรรม ได้แก่ “เขามงคลพิพิธ”(ไทย), “ศาลเจ้าโก้วเล้งจี่”(จีน)และ“องค์พระศรีคเณศ”(ฮินดู) ที่ตั้งอยู่ติดๆในพื้นที่เดียวกัน บนถนนพิพิธคีรี ต.บางนาค อ.เมือง
สำหรับจุดแรกผมขอเริ่มที่ “เขามงคลพิพิธ” เป็นพุทธสถานลักษณะเป็นโขดหินน้อยใหญ่ในพื้นที่ของวัดบางนรา มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์หลากหลายให้เคารพบูชา ได้แก่ พระปางไสยยาสน์หรือพระนอน พระสังกัจจายน์ รอยพระพุทธบาทจำลอง รูปเคารพหลวงปู่ทวด และพระพุทธรูปอีกหลากหลาย
ส่วนถัดไปจากพุทธสถานเขามงคลพิพิธ(ทางขวา)จะเป็น “ศาลเจ้าโก้วเล้งจี่” เป็นศาลเจ้าแห่งแรกของเมืองนราธิวาส สร้างขึ้นในปีพ.ศ.2458 พร้อมๆกับการตั้งเมืองนราธิวาส(เปลี่ยนชื่อเมือง) ปัจจุบันมีอายุเก่าแก่ถึง 100 ปีเช่นเดียวกับเมืองนราธิวาส
เดิมศาลเจ้าโก้วเล้งจี่เป็นศาลเจ้าไม้เก่าแก่ตั้งอยู่ใต้ต้นโพธิ์ แต่เนื่องจากมีสภาพทรุดโทรม จึงมีการสร้างศาลเจ้าปูนขึ้นแทนในปี พ.ศ. 2499
องค์ศาลเจ้าด้านนอก(ผนังด้านนอก) ตกแต่งด้วยงานปูนปั้นนูนต่ำอันสวยงาม ละเมียด เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับวิถีวัฒนธรรมประเพณีจีน ตามตำนานพงศาวดารจีน
ภายในศาลเจ้าประดิษฐานองค์พระและเทพเจ้าต่างๆกว่า 20 องค์ อาทิ องค์พระยูไลฮุกโจ้ว, องค์เจ้าแม่กวนอิมพันมือ, องค์เจ้าแม่โต๊ะโม๊ะ, องค์เจ้าแม่ทับทิม, องค์เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว,องค์เทพเจ้ากวนอู, องค์พระอรหันต์จี้กงฮัวฮุก เป็นต้น
ส่วนผนังภายในมีงานภาพเขียนสีกับงานปูนปั้นสดรูปเทพรูปพระอรหันต์อันสวยงามน่ายล ปั้นในปี 2505 บนหลังมีช่วงเปิดโล่งให้แสงธรรมชาติสาดส่องลงมา16 ศาลเจ้าโก้วเล้งจี่
นอกจากนี้ศาลเจ้าโก้วเล้งจี่ ยังมี“เจ้าที่”หรือ“เจ้าศาล” เป็น“หัวมังกรคาบแก้ว” ลำตัวใหญ่ยาวที่คอยปกปักดูแลศาลเจ้าแห่งนี้และลูกหลานชาวนราธิวาส ซึ่งนับว่าแปลกกว่าศาลเจ้าจีนที่ไหนๆ
ศาลเจ้าโก้วเล้งจี่เป็นศาสนาสถานในวัฒนธรรมจีนที่ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญคู่บ้านคู่เมืองนรา ที่โดดเด่นทั้งด้านความศักดิ์สิทธิ์และความสวยงาม ซึ่งจะมีคนเดินทางมากราบขอพรอยู่เป็นประจำ
พระพิฆเนศองค์โต สวยงามที่สุดในเมืองไทย
ถัดจากศาลเจ้าโก้วเล้งจี่ไป(ทางขวามือ)เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองนราแห่งใหม่ ที่วันนี้ถือเป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ของจังหวัดนราธิวาส นั่นก็คือ “องค์พระศรีคเณศ พระพิฆเนศ ณ นราธิวาส” ที่เป็นพระพิฆเนศองค์โตกับรูปร่างสรีระอันอ่อนช้อย วิจิตร ตระการตา จนได้ชื่อว่าเป็น “พระพิฆเนศกลางแจ้งองค์ใหญ่ที่งดงามที่สุดในเมืองไทย”
พระพิฆเนศองค์งาม สร้างขึ้นโดยคณะผู้ร่วมสร้างที่นำโดยคุณ“อินดาร์แซล บุศรี” ชายใจดีอายุกว่า 70 ปี ที่ชาวนราธิวาสรู้จักกันดีในฐานะเจ้าของกิจการ“ห้างดีวรรณพาณิชย์” ผู้จำหน่ายผ้ารายใหญ่ในนราธิวาส
คุณอินดาร์แซลให้ข้อมูลกับผมถึงวัตถุประสงค์ในการสร้างองค์พระศรีคเณศว่า เขาเริ่มคิดสร้างด้วยความเลื่อมใสศรัทธาในองค์พระพิฆเนศ ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งศิลปะ ความเมตาและความสำเร็จ ประกอบกับเพื่อต้องการตอบแทนบุญคุณแผ่นดินไทยที่ได้พำนักอาศัย ประกอบธุรกิจจนเจริญก้าวหน้าเป็นปึกแผ่นมากว่า 60 ปี ทั้งนี้เพื่อให้องค์พระพิฆเนศเป็นที่สักการะบูชาสำหรับผู้ที่นับถือในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส และในจังหวัดใกล้เคียง รวมถึงเพื่อเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ของนราธิวาส
สำหรับองค์พระศรีคเณศ เป็นพระพิฆเนศมีขนาดหน้าตักกว้าง 7 เมตร สูง 16 เมตร มี 4 กร ประทับนั่งในท่าลลิตาสนะ สวมศิลาภรณ์มงกุฎประดับโมเสคแก้วหลากสี งวงเยื้องไปทางขวาแล้วเวียนกลับมาทางซ้ายขององค์ เหนือพระนาคีมีสายธุรำเป็นงูแผ่พังพานใต้พระถันด้านซ้าย ส่วนงาข้างซ้ายนั้นหักเพื่อให้นำสิ่งไม่ดีออกไป
ขณะที่พระหัตถ์ขวาบนถือดอกบัวซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนสติปัญญา พระหัตถ์ขวาล่างถือประคำแสดงท่าประทานพรให้ความสำเร็จ พระหัตถ์ซ้ายบนถือปรศุและขอช้างรวมกันเพื่อเป็นดังสัญลักษณ์ของการฟันฝ่าปัญหาอุปสรรค ให้ความคุ้มครองและนำทิศทางการเดินไปสู่ความรู้โดยปราศจากมายา พระหัตถ์ซ้ายล่างถือชามขนมโมทกะเป็นสัญลักษณ์รางวัลแห่งความเจริญรุ่งเรือง งอพระชานุซ้ายวางราบบนพระเพลา ห้อยพระบาทลงสู่เบื้องล่างบนฐานดอกบัว
องค์พระพิฆเนศมีการผสมผสานระหว่างศิลปะไทยกับอินเดีย โดยรูปแบบถนิมพิมพาภรณ์ใช้แบบไทยประดับโมเสคแก้วหลากสี รูปแบบพัสตราภรณ์ใช้ลักษณะนุ่งแบบอินเดีย
นอกจากนี้ภายในบริเวณเทวสถาน ยังมีวิหารหนุมาน วิหารไสบาบา และงานประดับตกแต่งเกี่ยวกับการกวนเกษียณสมุทรอันสวยงาม
พระพิฆเนศองค์นี้ออกแบบและดูแลงานก่อสร้างโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เจริญชัย ต้นครองจันทร์ ซึ่งมีจุดเด่นตรงที่เป็นพระพิฆเนศองค์โตที่มีสีสันสวยงาม สร้างได้อย่างสมส่วน อ่อนช้อย และมีลาดละเอียดประดับที่ประณีต วิจิตร งดงาม ซึ่งก็ใช้เวลาสร้างถึง 9 ปี(2546-2555) โดยได้ทำพิธีเบิกเนตรไปเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2555
แต่ว่าเมื่อสร้างแล้วเสร็จ ผลที่ออกมาก็คือผลงานอันทรงคุณค่าและความประทับใจของเหล่าบรรดาผู้มาเยือน ซึ่งวันนี้องค์พระศรีคเณศนอกจากจะได้ชื่อว่าเป็น“พระพิฆเนศกลางแจ้งองค์ใหญ่ที่งดงามที่สุดในเมืองไทย”แล้ว ยังถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ เป็นสัญลักษณ์แห่งใหม่ในนราธิวาส ที่ผู้มาเยือนไม่ควรพลาดการไปเยี่ยมชมในความงามแห่งศิลปะจากศรัทธาด้วยประการทั้งปวง
สำหรับผู้ที่มาไหว้องค์พระพิฆเนศสามารถขอพรได้ตามประสงค์ โดยมีความเชื่อว่าถ้าไปพูดบอกป้องหูหนูข้างซ้าย(ตัวที่ตั้งอยู่หน้าองค์พระพิฆเนศ) แล้วอธิษฐานจะสมหวัง
อย่างไรก็ดีหากอธิษฐานขอพรอย่างเดียว หากไม่ลงมือปฏิบัติก็ยากที่จะสัมฤทธิ์ผลสมดังหวัง
และนี่ก็คือมนต์เสน่ห์แห่งนราธิวาส กับ 100 ปีอันมากเรื่องราว ซึ่งแม้ว่านราฯจะเป็น หนึ่งในจังหวัดที่มีเหตุการณ์ไม่สงบเกิดขึ้น แต่ในอีกด้านหนึ่ง นราธิวาสยังคงมีแง่งามที่สิ่งน่าสนใจหลากหลายให้สัมผัส และมีน้ำใจไมตรีของผู้คนชวนให้ประทับใจ ต่างไปจากภาพที่หลายคนรับรู้ถึงแต่เรื่องราวความไม่สงบ
เป็นเมืองนราฯน่าทึ่งที่น่าเที่ยวไม่น้อย
*****************************************
การเดินทางสู่นราธิวาส นอกจากทางบกด้วยรถยนต์ รถโดยสารประจำทาง และรถไฟแล้ว ปัจจุบันมีการเดินทางทางอากาศที่สะดวกสบาย กับ 2 สายการบินคือ สายการบินแอร์เอเชียมีเที่ยวบินจาก“สนามบินดอนเมือง” ไป จ.นราธิวาส ทุกวัน วันละ 1 เที่ยวบิน เที่ยวไป FD 3130 ออกจากดอนเมืองเวลา 10.30 น. ถึงนราธิวาสเวลา 12.00 น. เที่ยวกลับ FD 3130 ออกจากนราธิวาสเวลา 12.30 ถึงดอนเมืองเวลา 14.00 น. โทร. 0-2515-9999
และสายการบินไทยสมายล์ มีเที่ยวบินจากสุวรรณภูมิ ไป จ.นราธิวาส ทุกวัน วันละ 1 เที่ยวบิน ขาไป เที่ยวบิน WE291 ออกจากสุวรรณภูมิเวลา 13.55 ถึงนราธิวาสเวลา 15.30 เที่ยวกลับ ออกจากนราธิวาสเวลา 16.05 ถึงสุวรรณภูมิเวลา 17.40 โทร. 0-2118-8888
ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหาร และการเดินทางในจังหวัดนราธิวาสเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวที่กล่าวมาในบทความเพิ่มเติมได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานนราธิวาส (พื้นที่รับผิดชอบ นราธิวาส,ปัตตานี,ยะลา และศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยว อ.เบตง ) โทร.0 7352 2411 , 0 7354 2345
“นราธิวาส” หมายถึง “ที่อยู่อันยิ่งใหญ่ของประชาชน” (อ้างอิงจากเอกสารงาน “ร้อยใจ 100 ปีนราธิวาส และงานกาชาดประจำปี 2558”) ไม่ใช่“ที่อยู่ของคนดี”ตามที่หลายๆคนมักเข้าใจผิด(เนื่องจากปรากฏเป็นข้อมูลอยู่หลากหลายทั้งตามเอกสารและอินเตอร์เน็ต)
100 ปี นราธิวาส
เมืองนราธิวาส ในอดีตคือ “บ้านบางนรา” หรือ “มะนารอ” เป็นหมู่บ้านชาวประมงตั้งอยู่ปากแม่น้ำบางนราติดชายทะเลอ่าวไทย
ในสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก(รัชกาลที่ 1) บ้านบางนราขึ้นอยู่กับเมืองสายบุรี ต่อมาเมืองปัตตานีถูกยกฐานะเป็นมณฑล บ้านบางนราจึงโอนไปขึ้นกับเมืองระแงะ แห่งมณฑลปัตตานี
ในปี พ.ศ. 2449 สมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 5) บ้านบางนรามีความเป็นอยู่หนาแน่นขึ้น พร้อมกับเติบโตเจริญเป็นชุมชนใหญ่กว่าตัวเมืองระแงะ จึงมีการย้ายศาลาว่าการเมืองมาตั้งที่บ้านบางนราพร้อมยกฐานะขึ้นเป็น“เมืองบางนรา”
ต่อมาในปี พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 6) ได้เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลปักษ์ใต้ และได้เสด็จพระราชดำเนินมาถึงบางนรา หลังจากนั้น ในวันที่ 10 มิถุนายน 2458 ร.6 ได้มีพระบรมราชโองการเปลี่ยนชื่อเมืองบางนราเป็น“นราธิวาส” โดยมีบันทึกไว้ใน เอกสารงาน “ร้อยใจ 100 ปีนราธิวาส และงานกาชาดประจำปี 2558” ว่า
“...ครั้นวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2458 ได้มีพระบรมราชโองการ เปลี่ยนชื่อเมืองบางนราเป็นเมืองนราธิวาส มีความหมายว่า “ที่อยู่อันยิ่งใหญ่ของประชาชน” ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2458 เล่ม 12 หน้า 125”
สำหรับในปี พ.ศ. 2558 นี้ จังหวัดนราธิวาสมีอายุครบ 100 ปี จากการเปลี่ยนชื่อเมืองจาก“บางนรามา” เป็น “นราธิวาส” ทางจังหวัดนราธิวาสจึงมีการจัดงานฉลองครบรอบ 100 ปี มาอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยล่าสุดจังหวัดนราธิวาสได้จัดงาน“ของดีเมืองนราฯ” ประจำปี 2558 ขึ้น ตั้งแต่วันที่ 17 - 25 ก.ย. 2558 ที่สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา (สวนหลวง ร.5) บริเวณศูนย์ราชการ อ.เมือง จ.นราธิวาส
งานของดีเมืองนราฯ จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น และเป็นการประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ที่ดีของของจังหวัดนราธิวาส โดยงานปีนี้จัดใหญ่เป็นพิเศษเพื่อร่วมฉลองครบรอบ 100 ปี นราธิวาส
ภายในงานประกอบด้วยกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย ไม่ว่าจะเป็น การจัดแสดงเรื่องราวความเป็นมาของเมืองนราธิวาสผ่านตัวนิทรรศการที่จัดแสดงไว้ได้อย่างน่าสนใจ การจัดแสดงนิทรรศการของส่วนราชการต่างๆ อาทิ กรมปศุสัตว์ กรมชลประทาน ที่มาจัดแสดงเรื่องราวที่น่าสนใจและให้ความรู้มากมาย มีผลิตภัณฑ์ของดีของเมืองนรา ผลิตภัณฑ์โอทอปต่างๆ ผลิตภัณฑ์กระจูด การโชว์การทำเรือกอและจำลอง และมีงานศิลปาชีพมากมายโชว์และให้เลือกซื้อหากัน
อีกทั้งยังมีงานวันลองกองที่จัดขึ้นรวมกับงานของดีเมืองนราด้วย ซึ่งลองกองเป็นผลไม้ขึ้นชื่อของเมืองนรา และมีบุฟเฟต์ผลไม้ให้ได้อิ่มอร่อยกันด้วย อีกทั้งภายในงานของดีเมืองนรายังมีการแข่งขันประชันเสียงนกเขาขวาเสียงชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งมีนกเขาชวาเข้าร่วมแข่งขันในงานนี้เป็นจำนวนมาก
นอกจากนี้ก็ยังมีขบวนแห่เรือบุปผชาติทางน้ำที่สวยงามให้ได้ชม และการแข่งขันเรือชิงถ้วยรางวัลพระราชทาน ที่มีทั้ง เรือกอและ เรือยาว เรือยอกอง และเรือคชสีห์กับรูปลักษณะเฉพาะตัวโดยจัดขึ้นที่บริเวณพลับพลาเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ริมแม่น้ำบางนรา อ.เมือง จ.นราธิวาส
นับเป็นอีกหนึ่งสีสันเมืองนราฯ ที่เป็นดังการบอกให้คนภายนอกรับรู้ว่านราธิวาสไม่ได้น่ากลัวอย่างที่หลายๆคนคิดกัน
ไฮไลท์เที่ยวในเมืองนรา
สำหรับผู้มาเยือนนราธิวาส ในตัวเมืองนรามีสิ่งน่าสนใจเด่นๆให้เที่ยวชมกัน อาทิ
-“ชายหาดนราทัศน์” หาดทรายงามยาวประมาณ 5 กม. ใกล้กับชายหาดมีหมู่บ้านชาวประมงให้สัมผัสกับวิถีชาวประมงพื้นบ้านและเรือกอและที่จอดเรียงรายให้ชื่นชมในความงาม
-“มัสยิดกลาง” เป็นมัสยิดกลางประจำจังหวัดนราธิวาส ตั้งอยู่ก่อนถึงหาดนราทัศน์ กับสถาปัตยกรรมสไตล์อาหรับ บนยอดมีโดมขนาดใหญ่
-“ตลาดสดเทศบาล” อยู่ตรงข้ามโรงแรมอิมพีเรียล กับบรรยากาศตลาดเช้าอันแสนคึกคึก ผู้คนน่ารักใจดี มีของขายสารพัดสารพัน พืชผักผลไม้ และอาหารทะเลปลามากมายที่เป็นจุดเด่นของที่นี่ น่าไปเดินเที่ยวชมสัมผัสวิถีชาวบ้านเป็นอย่างยิ่ง
-“ตึกชิโนโปรตุกีส” กับสถาปัตยกรรมโปรตุเกสผสมจีนน่ารักๆ ไม่กี่ห้องใจกลางเมือง ที่แสดงถึงความเก่าแก่คลาสสิก และมีเอกลักษณ์ตรงที่บางหลังชั้นล่างเป็นบ้านคน แต่ชั้นบนเป็นบ้านนกนางแอ่นที่น่าสนใจไม่น้อย
-“พระพุทธทักษิณมิ่งมงคล” ตั้งอยู่ที่ “พุทธอุทยานเขากง”(วัดเขากง) เป็นพระพุทธรูปสีทองอร่ามปางปฐมเทศนาขัดสมาธิเพชร ประทับนั่งกลางแจ้งดูโดดเด่นเปี่ยมศรัทธาอยู่บนเนินเขา องค์พระสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กประดับโมเสคสีทอง หน้าตักกว้าง 15 เมตร สูง 24 เมตร นับเป็นพระพุทธรูปกลางแจ้งที่มีความงดงามและและมีขนาดใหญ่ที่สุดในภาคใต้
นอกจากนี้ในตัวเมืองนรายังมีดินแดนแห่งสิ่งศักดิ์สิทธ์ 3 วัฒนธรรม ได้แก่ “เขามงคลพิพิธ”(ไทย), “ศาลเจ้าโก้วเล้งจี่”(จีน)และ“องค์พระศรีคเณศ”(ฮินดู) ที่ตั้งอยู่ติดๆในพื้นที่เดียวกัน บนถนนพิพิธคีรี ต.บางนาค อ.เมือง
สำหรับจุดแรกผมขอเริ่มที่ “เขามงคลพิพิธ” เป็นพุทธสถานลักษณะเป็นโขดหินน้อยใหญ่ในพื้นที่ของวัดบางนรา มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์หลากหลายให้เคารพบูชา ได้แก่ พระปางไสยยาสน์หรือพระนอน พระสังกัจจายน์ รอยพระพุทธบาทจำลอง รูปเคารพหลวงปู่ทวด และพระพุทธรูปอีกหลากหลาย
ส่วนถัดไปจากพุทธสถานเขามงคลพิพิธ(ทางขวา)จะเป็น “ศาลเจ้าโก้วเล้งจี่” เป็นศาลเจ้าแห่งแรกของเมืองนราธิวาส สร้างขึ้นในปีพ.ศ.2458 พร้อมๆกับการตั้งเมืองนราธิวาส(เปลี่ยนชื่อเมือง) ปัจจุบันมีอายุเก่าแก่ถึง 100 ปีเช่นเดียวกับเมืองนราธิวาส
เดิมศาลเจ้าโก้วเล้งจี่เป็นศาลเจ้าไม้เก่าแก่ตั้งอยู่ใต้ต้นโพธิ์ แต่เนื่องจากมีสภาพทรุดโทรม จึงมีการสร้างศาลเจ้าปูนขึ้นแทนในปี พ.ศ. 2499
องค์ศาลเจ้าด้านนอก(ผนังด้านนอก) ตกแต่งด้วยงานปูนปั้นนูนต่ำอันสวยงาม ละเมียด เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับวิถีวัฒนธรรมประเพณีจีน ตามตำนานพงศาวดารจีน
ภายในศาลเจ้าประดิษฐานองค์พระและเทพเจ้าต่างๆกว่า 20 องค์ อาทิ องค์พระยูไลฮุกโจ้ว, องค์เจ้าแม่กวนอิมพันมือ, องค์เจ้าแม่โต๊ะโม๊ะ, องค์เจ้าแม่ทับทิม, องค์เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว,องค์เทพเจ้ากวนอู, องค์พระอรหันต์จี้กงฮัวฮุก เป็นต้น
ส่วนผนังภายในมีงานภาพเขียนสีกับงานปูนปั้นสดรูปเทพรูปพระอรหันต์อันสวยงามน่ายล ปั้นในปี 2505 บนหลังมีช่วงเปิดโล่งให้แสงธรรมชาติสาดส่องลงมา16 ศาลเจ้าโก้วเล้งจี่
นอกจากนี้ศาลเจ้าโก้วเล้งจี่ ยังมี“เจ้าที่”หรือ“เจ้าศาล” เป็น“หัวมังกรคาบแก้ว” ลำตัวใหญ่ยาวที่คอยปกปักดูแลศาลเจ้าแห่งนี้และลูกหลานชาวนราธิวาส ซึ่งนับว่าแปลกกว่าศาลเจ้าจีนที่ไหนๆ
ศาลเจ้าโก้วเล้งจี่เป็นศาสนาสถานในวัฒนธรรมจีนที่ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญคู่บ้านคู่เมืองนรา ที่โดดเด่นทั้งด้านความศักดิ์สิทธิ์และความสวยงาม ซึ่งจะมีคนเดินทางมากราบขอพรอยู่เป็นประจำ
พระพิฆเนศองค์โต สวยงามที่สุดในเมืองไทย
ถัดจากศาลเจ้าโก้วเล้งจี่ไป(ทางขวามือ)เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองนราแห่งใหม่ ที่วันนี้ถือเป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ของจังหวัดนราธิวาส นั่นก็คือ “องค์พระศรีคเณศ พระพิฆเนศ ณ นราธิวาส” ที่เป็นพระพิฆเนศองค์โตกับรูปร่างสรีระอันอ่อนช้อย วิจิตร ตระการตา จนได้ชื่อว่าเป็น “พระพิฆเนศกลางแจ้งองค์ใหญ่ที่งดงามที่สุดในเมืองไทย”
พระพิฆเนศองค์งาม สร้างขึ้นโดยคณะผู้ร่วมสร้างที่นำโดยคุณ“อินดาร์แซล บุศรี” ชายใจดีอายุกว่า 70 ปี ที่ชาวนราธิวาสรู้จักกันดีในฐานะเจ้าของกิจการ“ห้างดีวรรณพาณิชย์” ผู้จำหน่ายผ้ารายใหญ่ในนราธิวาส
คุณอินดาร์แซลให้ข้อมูลกับผมถึงวัตถุประสงค์ในการสร้างองค์พระศรีคเณศว่า เขาเริ่มคิดสร้างด้วยความเลื่อมใสศรัทธาในองค์พระพิฆเนศ ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งศิลปะ ความเมตาและความสำเร็จ ประกอบกับเพื่อต้องการตอบแทนบุญคุณแผ่นดินไทยที่ได้พำนักอาศัย ประกอบธุรกิจจนเจริญก้าวหน้าเป็นปึกแผ่นมากว่า 60 ปี ทั้งนี้เพื่อให้องค์พระพิฆเนศเป็นที่สักการะบูชาสำหรับผู้ที่นับถือในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส และในจังหวัดใกล้เคียง รวมถึงเพื่อเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ของนราธิวาส
สำหรับองค์พระศรีคเณศ เป็นพระพิฆเนศมีขนาดหน้าตักกว้าง 7 เมตร สูง 16 เมตร มี 4 กร ประทับนั่งในท่าลลิตาสนะ สวมศิลาภรณ์มงกุฎประดับโมเสคแก้วหลากสี งวงเยื้องไปทางขวาแล้วเวียนกลับมาทางซ้ายขององค์ เหนือพระนาคีมีสายธุรำเป็นงูแผ่พังพานใต้พระถันด้านซ้าย ส่วนงาข้างซ้ายนั้นหักเพื่อให้นำสิ่งไม่ดีออกไป
ขณะที่พระหัตถ์ขวาบนถือดอกบัวซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนสติปัญญา พระหัตถ์ขวาล่างถือประคำแสดงท่าประทานพรให้ความสำเร็จ พระหัตถ์ซ้ายบนถือปรศุและขอช้างรวมกันเพื่อเป็นดังสัญลักษณ์ของการฟันฝ่าปัญหาอุปสรรค ให้ความคุ้มครองและนำทิศทางการเดินไปสู่ความรู้โดยปราศจากมายา พระหัตถ์ซ้ายล่างถือชามขนมโมทกะเป็นสัญลักษณ์รางวัลแห่งความเจริญรุ่งเรือง งอพระชานุซ้ายวางราบบนพระเพลา ห้อยพระบาทลงสู่เบื้องล่างบนฐานดอกบัว
องค์พระพิฆเนศมีการผสมผสานระหว่างศิลปะไทยกับอินเดีย โดยรูปแบบถนิมพิมพาภรณ์ใช้แบบไทยประดับโมเสคแก้วหลากสี รูปแบบพัสตราภรณ์ใช้ลักษณะนุ่งแบบอินเดีย
นอกจากนี้ภายในบริเวณเทวสถาน ยังมีวิหารหนุมาน วิหารไสบาบา และงานประดับตกแต่งเกี่ยวกับการกวนเกษียณสมุทรอันสวยงาม
พระพิฆเนศองค์นี้ออกแบบและดูแลงานก่อสร้างโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เจริญชัย ต้นครองจันทร์ ซึ่งมีจุดเด่นตรงที่เป็นพระพิฆเนศองค์โตที่มีสีสันสวยงาม สร้างได้อย่างสมส่วน อ่อนช้อย และมีลาดละเอียดประดับที่ประณีต วิจิตร งดงาม ซึ่งก็ใช้เวลาสร้างถึง 9 ปี(2546-2555) โดยได้ทำพิธีเบิกเนตรไปเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2555
แต่ว่าเมื่อสร้างแล้วเสร็จ ผลที่ออกมาก็คือผลงานอันทรงคุณค่าและความประทับใจของเหล่าบรรดาผู้มาเยือน ซึ่งวันนี้องค์พระศรีคเณศนอกจากจะได้ชื่อว่าเป็น“พระพิฆเนศกลางแจ้งองค์ใหญ่ที่งดงามที่สุดในเมืองไทย”แล้ว ยังถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ เป็นสัญลักษณ์แห่งใหม่ในนราธิวาส ที่ผู้มาเยือนไม่ควรพลาดการไปเยี่ยมชมในความงามแห่งศิลปะจากศรัทธาด้วยประการทั้งปวง
สำหรับผู้ที่มาไหว้องค์พระพิฆเนศสามารถขอพรได้ตามประสงค์ โดยมีความเชื่อว่าถ้าไปพูดบอกป้องหูหนูข้างซ้าย(ตัวที่ตั้งอยู่หน้าองค์พระพิฆเนศ) แล้วอธิษฐานจะสมหวัง
อย่างไรก็ดีหากอธิษฐานขอพรอย่างเดียว หากไม่ลงมือปฏิบัติก็ยากที่จะสัมฤทธิ์ผลสมดังหวัง
และนี่ก็คือมนต์เสน่ห์แห่งนราธิวาส กับ 100 ปีอันมากเรื่องราว ซึ่งแม้ว่านราฯจะเป็น หนึ่งในจังหวัดที่มีเหตุการณ์ไม่สงบเกิดขึ้น แต่ในอีกด้านหนึ่ง นราธิวาสยังคงมีแง่งามที่สิ่งน่าสนใจหลากหลายให้สัมผัส และมีน้ำใจไมตรีของผู้คนชวนให้ประทับใจ ต่างไปจากภาพที่หลายคนรับรู้ถึงแต่เรื่องราวความไม่สงบ
เป็นเมืองนราฯน่าทึ่งที่น่าเที่ยวไม่น้อย
*****************************************
การเดินทางสู่นราธิวาส นอกจากทางบกด้วยรถยนต์ รถโดยสารประจำทาง และรถไฟแล้ว ปัจจุบันมีการเดินทางทางอากาศที่สะดวกสบาย กับ 2 สายการบินคือ สายการบินแอร์เอเชียมีเที่ยวบินจาก“สนามบินดอนเมือง” ไป จ.นราธิวาส ทุกวัน วันละ 1 เที่ยวบิน เที่ยวไป FD 3130 ออกจากดอนเมืองเวลา 10.30 น. ถึงนราธิวาสเวลา 12.00 น. เที่ยวกลับ FD 3130 ออกจากนราธิวาสเวลา 12.30 ถึงดอนเมืองเวลา 14.00 น. โทร. 0-2515-9999
และสายการบินไทยสมายล์ มีเที่ยวบินจากสุวรรณภูมิ ไป จ.นราธิวาส ทุกวัน วันละ 1 เที่ยวบิน ขาไป เที่ยวบิน WE291 ออกจากสุวรรณภูมิเวลา 13.55 ถึงนราธิวาสเวลา 15.30 เที่ยวกลับ ออกจากนราธิวาสเวลา 16.05 ถึงสุวรรณภูมิเวลา 17.40 โทร. 0-2118-8888
ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหาร และการเดินทางในจังหวัดนราธิวาสเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวที่กล่าวมาในบทความเพิ่มเติมได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานนราธิวาส (พื้นที่รับผิดชอบ นราธิวาส,ปัตตานี,ยะลา และศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยว อ.เบตง ) โทร.0 7352 2411 , 0 7354 2345