โดย : ปิ่น บุตรี(pinn109@hotmail.com)
หลายจังหวัดในบ้านเรา ต่างมีสถานที่ท่องเที่ยวเป็นสัญลักษณ์หรือไม่ก็สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองที่เมื่อไปเยือนแล้ว ห้ามพลาดด้วยประการทั้งปวง เพราะถ้าพลาดก็เหมือนกับว่ายังไปไม่ถึงจังหวัดนั้นๆ
สำหรับจังหวัดพิษณุโลก เป็นที่รู้กันดีว่าจังหวัดนี้มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองที่โด่งดังไปไกลถึงต่างประเทศ ที่หากใครไปเยือนแล้วยังไม่ได้ไปสักการะท่านก็เหมือนกับว่ายังไปไม่ถึงเมืองสองแควโดยสมบูรณ์นั่นก็คือ “พระพุทธชินราช” พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์สำคัญแห่งสยามประเทศที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดในเมืองไทย
1…
พระพุทธชินราช ประดิษฐานอยู่ที่ “วัดพระศรีรัตมหาธาตุวรมหาวิหาร” ตั้งอยู่ใน อ.เมือง จ.พิษณุโลก บนถนนพุทธบูชาริมฝั่งแม่น้ำน่านด้านทิศตะวันออกตรงข้ามกับศาลหลักเมือง
วัดแห่งนี้ชาวบ้านนิยมเรียกว่า “วัดใหญ่” หรือไม่ก็ “วัดพระศรี” เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. 1500 สมัยพระยาลิไท (พระมหาธรรมราชาที่ 1) เมื่อสร้างวัดพระศรีรัตมหาธาตุเสร็จเรียบร้อยแล้ว มีตำนานเล่าขานกันสืบมาว่า
...พระยาลิไทโปรดฯให้สร้างพระพุทธรูปขึ้น 3 องค์ คือ พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา โดยได้ระดมสุดยอดช่างฝีมือทั้งจากเมืองศรีสัชนาลัย เชียงแสน หริภุญชัย มาช่วยกันหล่อพระพุทธรูป
ปรากฏว่าการเททองหล่อพระทำสำเร็จเพียง 2 องค์ คือพระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา ส่วนพระพุทธชินราช ไม่ว่าจะทำอย่างไรก็ไม่สามารถเททองหล่อองค์พระได้ เล่นเอาช่างยอดฝีมือถอดใจไปตามๆกัน แต่จู่ๆได้มีชีปะขาว(ตาปะขาว)โผล่มาจากไหนไม่รู้เดินเข้ามาช่วยเททอง จนทองแล่นเต็มองค์เกิดเป็นพระพุทธชินราชองค์งามที่เราเห็นกันในทุกวันนี้...
ตามตำนานว่ากันว่าชีปะขาวท่านนี้ คือพระอินทร์แปลงกายมาช่วยเททอง เพราะหลังหล่อพระพุทธชินราชเสร็จสมบูรณ์ชีปะขาวก็หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย ทิ้งไว้เพียงตำนานแห่งพระพุทธชินราชอันเพริศแพร้วให้คนรุ่นหลังได้เล่าขานสืบต่อไป
สำหรับพระพุทธชินราช หรือ “หลวงพ่อใหญ่” เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะสุโขทัย หล่อด้วยทองสำริด เส้นรอบนอกพระวรกายอ่อนช้อย ชายผ้าสังฆาฏิแยกเป็นเขี้ยวตะขาบ พระขนงโก่ง พระเกตุมาลาเป็นเปลวเพลิง พระหัตถ์มีปลายนิ้วทั้งสี่เสมอกัน ส่วนซุ้มเรือนแก้วทำด้วยไม้แกะสลักอย่างงดงามคาดว่าน่าจะสร้างในสมัยอยุธยา ซึ่งด้วยพุทธลักษณะอันงดงามโดดเด่น พระพุทธชินราชจึงได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในประติมากรรมพุทธศิลป์ชั้นสูงสุดของเมืองไทย
นอกจากองค์พระพุทธชินราชอันงดงามวิจิตรแล้ว วิหารพระพุทธชินราชหรือ“พระวิหารหลวง” ยังโดดเด่นไปด้วยลักษณะของวิหารเก้าห้อง มีเสาหานร่วมในวิหาร 2 แถว เขียนลายลงรักปิดทองประดับอย่างสวยงาม เป็นดังเส้นนำสายตาสู่องค์พระพุทธชินราช
ขณะที่ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระวิหารหลวงก็งดงามน่ายลเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะกับภาพเทวดาทรงเครื่องที่แตกต่างกัน เพียงแต่ว่าภายในวิหารมีโต๊ะตั้งวางวัตถุมงคลให้เช่าเยอะไปหน่อย จึงบดบังภาพสวยๆงามๆของจิตรกรรมฝาผนังไปในหลายจุดด้วยกัน
ส่วนอีกหนึ่งที่เป็นความงามเอกอุของพระวิหารแห่งนี้ก็คือ บานประตูประดับมุก 2 บานซ้าย-ขวา ตรงด้านหน้าทางเข้า-ทางออกของวิหาร ที่มีภาพของสัตว์ในวรรณคดี อาทิ ราชสีห์ ครุฑ กินรี และสัตว์หิมพานต์อื่นๆ เป็นลวดลายประดับอยู่ในบานประตูอันสวยงามวิจิตร จนได้รับการยกย่องให้เป็น “บานประตูประดับมุกที่งดงามที่สุดในเมืองไทย”
อย่างไรก็ดีผู้ที่มาไหว้พระพุทธชินราชหลายคนมักจะมองข้ามความงามตรงจุดนี้ไป นับว่าน่าเสียดายไม่น้อยเลย
2...
ด้วยเวลาจำกัดทำให้หลายๆคนเมื่อไปไหว้พระพุทธชินราชที่วัดใหญ่เสร็จแล้วก็มักจะเดินทางกลับ นับว่าเป็นเรื่องที่น่าเสียดายยิ่ง เพราะที่วัดใหญ่แห่งนี้มีงานพุทธศิลป์ชั้นเยี่ยมและพระพุทธรูปอีกสักหลายให้สักการะชื่นชมกัน ใครที่มีเวลาผมขอแนะนำให้เดินเที่ยวที่วัดใหญ่ให้ทั่วแล้วจะได้พบกับของดีมากมายในวัดแห่งนี้
สำหรับพระพุทธรูปที่น่าสนใจในกลุ่มแรกก็คือ “พระพุทธชินสีห์”และ“พระศรีศาสดา” อีกสองพระพุทธรูปองค์งามที่ตามตำนานระบุว่าสร้างขึ้นมาพร้อมๆกับพระพุทธชินราช
พระพุทธชินสีห์ประดิษฐานอยู่ในวิหารพระพุทธชินสีห์ทางด้านทิศเหนือของพระปรางค์(อยู่ด้านหลังทางซ้ายมือของวิหารพระพุทธชินราช) เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัย หล่อด้วยทองสำริด องค์จริงถูกอัญเชิญล่องแพมาประดิษฐานที่วัดบวรนิเวศตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ส่วนที่ประดิษฐานอยู่ในวิหารพระพุทธชินสีห์ เป็นองค์ที่สร้างขึ้นมาใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 4
ส่วนพระศรีศาสดาประดิษฐานอยู่ในวิหารพระศรีศาสดาทางด้านทิศใต้(ฝั่งตรงข้ามกับวิหารพระพุทธชินสีห์) เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัย หล่อด้วยทองสำริด เช่นเดียวกับพระพุทธชินสีห์ องค์จริงปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดบวรนิเวศในสมัยรัชกาลที่ 4 ส่วนที่ประดิษฐานอยู่ในวิหารพระศรีศาสดา เป็นองค์ที่สร้างขึ้นมาใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 4
พระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดาเป็นอีก 2 พระพุทธรูปอันงดงามแห่งวัดใหญ่เคียงคู่กับพระพุทธชินราช ดังที่มีคำกลอนเขียนไว้ในเอกสารของวัดว่า
...ตามประวัติชัดแจ้งแถลงไข องค์พญาลิไทรังสรรค์
สร้างคู่กับพระพุทธชินราชคราวเดียวกัน งามเฉิดฉันท์พุทธลักษณ์ประจักษ์ตา...
3...
วิหารพระพุทธชินสีห์นอกจากจะเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธชินสีห์องค์งามแล้ว ยังจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงโบราณวัตถุศิลปวัตถุต่างๆ เช่นเดียวกับภายในวิหารพระศรีศาสดาที่จัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงโบราณวัตถุศิลปวัตถุน่าสนใจต่างๆให้ได้ชมกัน
นอกจากนี้ที่ด้านหน้าวิหารพระศรีศาสดายังมี “หลวงพ่อดำ” ประดิษฐานอยู่ หลวงพ่อดำเป็นพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย มีอายุเก่าแก่ประมาณ 100-200 ปี ส่วนเหตุที่เรียกว่าหลวงพ่อดำนั้น มีเรื่องเล่าว่า ผู้มีจิตศรัทธาได้สร้างท่านขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา แต่เมื่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ไม่ทราบด้วยเหตุผลประการใดจึงไม่ทำการปิดทองแต่เพียงแต่ลงรักสีดำไว้เฉยๆ ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า “หลวงพ่อดำ”
หลวงพ่อดำองค์นี้ท่านมีตำนานที่ฟังแล้วน่าตื่นตาตื่นใจกับเรื่องราวของ “พระกินเณร” หรือ “หลวงพ่อกินเณร” ซึ่งมีเรื่องเล่าขานสืบต่อกันมาว่า...มีสามเณรรูปหนึ่งจะทำการลาสิกขาได้ถือดอกไม้ธูปเทียนเข้าไปสักการบูชาหลวงพ่อดำ แต่แล้วสามเณรก็หายไป ไม่มีใครพบเห็น ชาวบ้านที่สงสัยจึงเข้าไปดูที่หลวงพ่อดำใกล้ๆ พบเห็นรอยเลือดอยู่ทั่วพระโอษฐ์ขององค์พระ จึงลงความเห็นว่าหลวงพ่อกินเณรเข้าไป ก่อนที่จะใช้ตะปูอาคมตีตอกลงบนพระโอษฐ์เพื่อกันไม่ให้กินใครได้อีก...
อย่างไรก็ดีนี่เป็นเพียงตำนานเรื่องเล่าที่อาจจะมีที่มาจากสิ่งที่ชาวบ้านเห็นเกี่ยวกับองค์หลวงพ่อดำแล้วนำไปเล่าเสริมเติมแต่งใส่จินตนาการเข้าไปตามความเชื่อแบบไทยๆ(ในครั้งอดีต) ซึ่งในข้อมูลจากป้ายของทางวัดที่องค์หลวงพ่อดำได้เขียนกำกับไขความกระจ่างของพระกินเณรไว้ว่า
...เหตุที่เรียกว่าพระกินเณร...ขณะที่พระพุทธรูปองค์นี้เป็นสีดำอยู่นั้น เวลาฝนตกลงมา หลังคาตรงพระเศียรของพระพุทธรูปองค์นี้ได้เกิดรั่ว ยางไม้ได้ไหลย้อยสีแดงเป็นทางลงมาที่พระโอษฐ์ของท่านคล้ายเลือด
ขณะนั้นทางวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ได้มีสามเณรอยู่เป็นจำนวนมาก ตอนกลางวันหลังจากสามเณรฉันภัตตาหารเพลเสร็จ ก็ได้เดินเที่ยวเล่นในบริเวณวิหารคดด้านหลังของหลวงพ่อพระพุทธชินราช ซึ่งสมัยนั้นเป็นสถานที่เงียบสงบมาก พอสามเณรเดินไปถึงองค์หลวงพ่อดำ ก็เข้าไปหลบด้านหลังหลวงพ่อดำ และทิ้งจีวรเอาไว้ แล้วหลบหนีไป เพื่อนตามหาอย่างไรก็ไม่พบ จึงคิดว่าพระพุทธรูปองค์นี้ได้กินเณร เป็นตำนานที่เล่าขานกันมาจนถึงทุกวันนี้...
นับเป็นตำนานของหลวงพ่อดำที่ช่วยไขความกระจ่างของฉายาพระกินเณรได้ดีทีเดียว
4...
พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นมาพร้อมกับพระพุทธชินราชไม่ได้มี 3 องค์ คือ พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดาเท่านั้น แต่ในตำนานยังกล่าวว่า เมื่อช่างได้สร้างพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์เสร็จแล้ว พระยาลิไทได้รับสั่งให้ช่างนำทองที่เหลือจากการหล่อพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา มาหล่อเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยองค์เล็ก พร้อมถวายนามว่า “พระเหลือ” ก่อนที่ในปี พ.ศ. 2405 เมื่อรัชกาลที่ 4 เสด็จมานมัสการพระพุทธชินราช ทรงเฉลิมพระนามว่า “พระเสสันตปฏิมา”
พระเสสันตปฏิมาหรือที่คนส่วนใหญ่รู้จักกันดีในนามชื่อดั้งเดิมคือ“พระเหลือ” หรือ “หลวงพ่อเหลือ” ประดิษฐานอยู่ในวิหารหลังเล็กบนเนินต้นโพธิ์สามเส้า บริเวณหน้าวัดทางด้านหน้าทิศใต้ของพระวิหารหลวง(อยู่ขวามือเมื่อมองเข้าไป)
ปัจจุบันมีความเชื่อกันว่าใครที่มาไหว้พระเหลือแล้วจะมีเงินทองเหลือกินเหลือใช้ ซึ่งก็ทำให้มีผู้คนแวะเวียนมาสักการะทำบุญพระเหลือกันไม่ได้ขาด
ในวัดพระศรีมหาธาตุยังมีพระพุทธรูปสำคัญยุคเดียวกับพระพุทธชินราชอีกหนึ่งองค์ คือ “พระอัฏฐารส” ที่ประดิษฐานอยู่ด้านหน้าองค์ปรางค์ทางทิศตะวันออก
พระอัฏฐารส เป็นพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยปางประทับยืน ยกพระหัตถ์ขวามีขนาดสูงใหญ่ประทับอยู่กลางแจ้งแบบสงบนิ่ง
เดิมพระอัฏฐารสไม่ได้ยืนกลางแจ้งตากแดดตากฝนอย่างทุกวันนี้ หากแต่ประดิษฐานอยู่ในวิหารขนาดใหญ่ แต่วิหารหลังนี้ได้พังทลายกลายเป็นลานพระยืนที่เหลือเพียงซากกำแพงวิหารกับซากเสาศิลาแรงขนาดใหญ่ หรือที่เรียกขานกันว่า “เนินวิหารเก้าห้อง” ซึ่งนี่ถือเป็นหลักฐานสำคัญทางโบราณสถานของรูปแบบสถาปัตยกรรมดั้งเดิมที่ยังคงหลงเหลืออยู่
ที่วัดพระศรีมหาธาตุยังมีพระพุทธรูปสำคัญอีกองค์หนึ่ง นั่นก็คือ “พระพุทธรูปปางพระพุทธเจ้าเข้านิพพาน” ที่ประดิษฐานอยู่ในวิหารพระพุทธเจ้าเข้านิพพานหรือวิหารแกลบ
พระพุทธรูปปางพระพุทธเจ้าเข้านิพพานมีลักษณะเป็นหีบศพสีทอง มีพระบาทพระพุทธเจ้ายื่นออกมา 2 ข้าง พร้อมด้วยสาวกมีพระมหากัสสปะเถระ นั่งนมัสการพระบรมศพอยู่รอบๆ โดยมีพระพุทธรูปขนาดใหญ่นั่งอยู่ด้านหลัง นับเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะแตกต่างจากทั่วไปจนถูกยกให้เป็นอันซีนแห่งเมืองสองแควที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง
อย่างไรก็ดีด้วยความเชื่อ(เดิม)ที่ว่า หากใครต้องการผลสำเร็จในสิ่งที่ปรารถนาให้มากราบที่พระพุทธบาทคู่ ทำให้มีคนมากราบที่พระบาทคู่กันเป็นจำนวนมาก จนทองที่ปิดพระบาทลอกสึก เหลือแต่รอยลงรักสีดำ ทำให้วัดต้องห้ามไปสัมผัสจับแตะที่พระบาทคู่ หีบพระบรมศพและเหล่าพระพุทธสาวก เพื่อป้องกันศิลปวัตถุอันทรงคุณค่าเสื่อมชำรุด
และนี่ก็คือบรรดาพระพุทธรูปน่าสนใจในวัดพระศรีมหาธาตุหรือวัดพระพุทธชินราชแห่งเมืองพิษณุโลก หากใครมีเวลาน่าจะลองเดินเที่ยวชมให้ทั่ว เพราะนอกจากเรื่องราวความศักดิ์สิทธิ์ ตำนานเรื่องเล่าอันน่าตื่นตาตื่นใจแล้ว จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของพระพุทธรูปเหล่านี้ก็คือมนต์เสน่ห์ความงามแห่งงานพุทธศิลป์ งานศิลปะไทย
ที่ชาติไทยเราไม่เป็นรองชาติใดในโลก
*****************************************
ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตมหาธาตุ และที่พัก ร้านอาหาร การเดินทาง สถานที่ท่องเที่ยวเชื่อมโยงในจังหวัดพิษณุโลกเพิ่มเติมได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานพิษณุโลก (พื้นที่รับผิดชอบ พิษณุโลก, เพชรบูรณ์, พิจิตร) โทร.0-5525-2742-3, 0-5525-9907
*****************************************
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล travel_astvmgr@hotmail.com
หลายจังหวัดในบ้านเรา ต่างมีสถานที่ท่องเที่ยวเป็นสัญลักษณ์หรือไม่ก็สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองที่เมื่อไปเยือนแล้ว ห้ามพลาดด้วยประการทั้งปวง เพราะถ้าพลาดก็เหมือนกับว่ายังไปไม่ถึงจังหวัดนั้นๆ
สำหรับจังหวัดพิษณุโลก เป็นที่รู้กันดีว่าจังหวัดนี้มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองที่โด่งดังไปไกลถึงต่างประเทศ ที่หากใครไปเยือนแล้วยังไม่ได้ไปสักการะท่านก็เหมือนกับว่ายังไปไม่ถึงเมืองสองแควโดยสมบูรณ์นั่นก็คือ “พระพุทธชินราช” พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์สำคัญแห่งสยามประเทศที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดในเมืองไทย
1…
พระพุทธชินราช ประดิษฐานอยู่ที่ “วัดพระศรีรัตมหาธาตุวรมหาวิหาร” ตั้งอยู่ใน อ.เมือง จ.พิษณุโลก บนถนนพุทธบูชาริมฝั่งแม่น้ำน่านด้านทิศตะวันออกตรงข้ามกับศาลหลักเมือง
วัดแห่งนี้ชาวบ้านนิยมเรียกว่า “วัดใหญ่” หรือไม่ก็ “วัดพระศรี” เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. 1500 สมัยพระยาลิไท (พระมหาธรรมราชาที่ 1) เมื่อสร้างวัดพระศรีรัตมหาธาตุเสร็จเรียบร้อยแล้ว มีตำนานเล่าขานกันสืบมาว่า
...พระยาลิไทโปรดฯให้สร้างพระพุทธรูปขึ้น 3 องค์ คือ พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา โดยได้ระดมสุดยอดช่างฝีมือทั้งจากเมืองศรีสัชนาลัย เชียงแสน หริภุญชัย มาช่วยกันหล่อพระพุทธรูป
ปรากฏว่าการเททองหล่อพระทำสำเร็จเพียง 2 องค์ คือพระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา ส่วนพระพุทธชินราช ไม่ว่าจะทำอย่างไรก็ไม่สามารถเททองหล่อองค์พระได้ เล่นเอาช่างยอดฝีมือถอดใจไปตามๆกัน แต่จู่ๆได้มีชีปะขาว(ตาปะขาว)โผล่มาจากไหนไม่รู้เดินเข้ามาช่วยเททอง จนทองแล่นเต็มองค์เกิดเป็นพระพุทธชินราชองค์งามที่เราเห็นกันในทุกวันนี้...
ตามตำนานว่ากันว่าชีปะขาวท่านนี้ คือพระอินทร์แปลงกายมาช่วยเททอง เพราะหลังหล่อพระพุทธชินราชเสร็จสมบูรณ์ชีปะขาวก็หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย ทิ้งไว้เพียงตำนานแห่งพระพุทธชินราชอันเพริศแพร้วให้คนรุ่นหลังได้เล่าขานสืบต่อไป
สำหรับพระพุทธชินราช หรือ “หลวงพ่อใหญ่” เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะสุโขทัย หล่อด้วยทองสำริด เส้นรอบนอกพระวรกายอ่อนช้อย ชายผ้าสังฆาฏิแยกเป็นเขี้ยวตะขาบ พระขนงโก่ง พระเกตุมาลาเป็นเปลวเพลิง พระหัตถ์มีปลายนิ้วทั้งสี่เสมอกัน ส่วนซุ้มเรือนแก้วทำด้วยไม้แกะสลักอย่างงดงามคาดว่าน่าจะสร้างในสมัยอยุธยา ซึ่งด้วยพุทธลักษณะอันงดงามโดดเด่น พระพุทธชินราชจึงได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในประติมากรรมพุทธศิลป์ชั้นสูงสุดของเมืองไทย
นอกจากองค์พระพุทธชินราชอันงดงามวิจิตรแล้ว วิหารพระพุทธชินราชหรือ“พระวิหารหลวง” ยังโดดเด่นไปด้วยลักษณะของวิหารเก้าห้อง มีเสาหานร่วมในวิหาร 2 แถว เขียนลายลงรักปิดทองประดับอย่างสวยงาม เป็นดังเส้นนำสายตาสู่องค์พระพุทธชินราช
ขณะที่ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระวิหารหลวงก็งดงามน่ายลเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะกับภาพเทวดาทรงเครื่องที่แตกต่างกัน เพียงแต่ว่าภายในวิหารมีโต๊ะตั้งวางวัตถุมงคลให้เช่าเยอะไปหน่อย จึงบดบังภาพสวยๆงามๆของจิตรกรรมฝาผนังไปในหลายจุดด้วยกัน
ส่วนอีกหนึ่งที่เป็นความงามเอกอุของพระวิหารแห่งนี้ก็คือ บานประตูประดับมุก 2 บานซ้าย-ขวา ตรงด้านหน้าทางเข้า-ทางออกของวิหาร ที่มีภาพของสัตว์ในวรรณคดี อาทิ ราชสีห์ ครุฑ กินรี และสัตว์หิมพานต์อื่นๆ เป็นลวดลายประดับอยู่ในบานประตูอันสวยงามวิจิตร จนได้รับการยกย่องให้เป็น “บานประตูประดับมุกที่งดงามที่สุดในเมืองไทย”
อย่างไรก็ดีผู้ที่มาไหว้พระพุทธชินราชหลายคนมักจะมองข้ามความงามตรงจุดนี้ไป นับว่าน่าเสียดายไม่น้อยเลย
2...
ด้วยเวลาจำกัดทำให้หลายๆคนเมื่อไปไหว้พระพุทธชินราชที่วัดใหญ่เสร็จแล้วก็มักจะเดินทางกลับ นับว่าเป็นเรื่องที่น่าเสียดายยิ่ง เพราะที่วัดใหญ่แห่งนี้มีงานพุทธศิลป์ชั้นเยี่ยมและพระพุทธรูปอีกสักหลายให้สักการะชื่นชมกัน ใครที่มีเวลาผมขอแนะนำให้เดินเที่ยวที่วัดใหญ่ให้ทั่วแล้วจะได้พบกับของดีมากมายในวัดแห่งนี้
สำหรับพระพุทธรูปที่น่าสนใจในกลุ่มแรกก็คือ “พระพุทธชินสีห์”และ“พระศรีศาสดา” อีกสองพระพุทธรูปองค์งามที่ตามตำนานระบุว่าสร้างขึ้นมาพร้อมๆกับพระพุทธชินราช
พระพุทธชินสีห์ประดิษฐานอยู่ในวิหารพระพุทธชินสีห์ทางด้านทิศเหนือของพระปรางค์(อยู่ด้านหลังทางซ้ายมือของวิหารพระพุทธชินราช) เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัย หล่อด้วยทองสำริด องค์จริงถูกอัญเชิญล่องแพมาประดิษฐานที่วัดบวรนิเวศตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ส่วนที่ประดิษฐานอยู่ในวิหารพระพุทธชินสีห์ เป็นองค์ที่สร้างขึ้นมาใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 4
ส่วนพระศรีศาสดาประดิษฐานอยู่ในวิหารพระศรีศาสดาทางด้านทิศใต้(ฝั่งตรงข้ามกับวิหารพระพุทธชินสีห์) เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัย หล่อด้วยทองสำริด เช่นเดียวกับพระพุทธชินสีห์ องค์จริงปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดบวรนิเวศในสมัยรัชกาลที่ 4 ส่วนที่ประดิษฐานอยู่ในวิหารพระศรีศาสดา เป็นองค์ที่สร้างขึ้นมาใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 4
พระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดาเป็นอีก 2 พระพุทธรูปอันงดงามแห่งวัดใหญ่เคียงคู่กับพระพุทธชินราช ดังที่มีคำกลอนเขียนไว้ในเอกสารของวัดว่า
...ตามประวัติชัดแจ้งแถลงไข องค์พญาลิไทรังสรรค์
สร้างคู่กับพระพุทธชินราชคราวเดียวกัน งามเฉิดฉันท์พุทธลักษณ์ประจักษ์ตา...
3...
วิหารพระพุทธชินสีห์นอกจากจะเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธชินสีห์องค์งามแล้ว ยังจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงโบราณวัตถุศิลปวัตถุต่างๆ เช่นเดียวกับภายในวิหารพระศรีศาสดาที่จัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงโบราณวัตถุศิลปวัตถุน่าสนใจต่างๆให้ได้ชมกัน
นอกจากนี้ที่ด้านหน้าวิหารพระศรีศาสดายังมี “หลวงพ่อดำ” ประดิษฐานอยู่ หลวงพ่อดำเป็นพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย มีอายุเก่าแก่ประมาณ 100-200 ปี ส่วนเหตุที่เรียกว่าหลวงพ่อดำนั้น มีเรื่องเล่าว่า ผู้มีจิตศรัทธาได้สร้างท่านขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา แต่เมื่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ไม่ทราบด้วยเหตุผลประการใดจึงไม่ทำการปิดทองแต่เพียงแต่ลงรักสีดำไว้เฉยๆ ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า “หลวงพ่อดำ”
หลวงพ่อดำองค์นี้ท่านมีตำนานที่ฟังแล้วน่าตื่นตาตื่นใจกับเรื่องราวของ “พระกินเณร” หรือ “หลวงพ่อกินเณร” ซึ่งมีเรื่องเล่าขานสืบต่อกันมาว่า...มีสามเณรรูปหนึ่งจะทำการลาสิกขาได้ถือดอกไม้ธูปเทียนเข้าไปสักการบูชาหลวงพ่อดำ แต่แล้วสามเณรก็หายไป ไม่มีใครพบเห็น ชาวบ้านที่สงสัยจึงเข้าไปดูที่หลวงพ่อดำใกล้ๆ พบเห็นรอยเลือดอยู่ทั่วพระโอษฐ์ขององค์พระ จึงลงความเห็นว่าหลวงพ่อกินเณรเข้าไป ก่อนที่จะใช้ตะปูอาคมตีตอกลงบนพระโอษฐ์เพื่อกันไม่ให้กินใครได้อีก...
อย่างไรก็ดีนี่เป็นเพียงตำนานเรื่องเล่าที่อาจจะมีที่มาจากสิ่งที่ชาวบ้านเห็นเกี่ยวกับองค์หลวงพ่อดำแล้วนำไปเล่าเสริมเติมแต่งใส่จินตนาการเข้าไปตามความเชื่อแบบไทยๆ(ในครั้งอดีต) ซึ่งในข้อมูลจากป้ายของทางวัดที่องค์หลวงพ่อดำได้เขียนกำกับไขความกระจ่างของพระกินเณรไว้ว่า
...เหตุที่เรียกว่าพระกินเณร...ขณะที่พระพุทธรูปองค์นี้เป็นสีดำอยู่นั้น เวลาฝนตกลงมา หลังคาตรงพระเศียรของพระพุทธรูปองค์นี้ได้เกิดรั่ว ยางไม้ได้ไหลย้อยสีแดงเป็นทางลงมาที่พระโอษฐ์ของท่านคล้ายเลือด
ขณะนั้นทางวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ได้มีสามเณรอยู่เป็นจำนวนมาก ตอนกลางวันหลังจากสามเณรฉันภัตตาหารเพลเสร็จ ก็ได้เดินเที่ยวเล่นในบริเวณวิหารคดด้านหลังของหลวงพ่อพระพุทธชินราช ซึ่งสมัยนั้นเป็นสถานที่เงียบสงบมาก พอสามเณรเดินไปถึงองค์หลวงพ่อดำ ก็เข้าไปหลบด้านหลังหลวงพ่อดำ และทิ้งจีวรเอาไว้ แล้วหลบหนีไป เพื่อนตามหาอย่างไรก็ไม่พบ จึงคิดว่าพระพุทธรูปองค์นี้ได้กินเณร เป็นตำนานที่เล่าขานกันมาจนถึงทุกวันนี้...
นับเป็นตำนานของหลวงพ่อดำที่ช่วยไขความกระจ่างของฉายาพระกินเณรได้ดีทีเดียว
4...
พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นมาพร้อมกับพระพุทธชินราชไม่ได้มี 3 องค์ คือ พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดาเท่านั้น แต่ในตำนานยังกล่าวว่า เมื่อช่างได้สร้างพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์เสร็จแล้ว พระยาลิไทได้รับสั่งให้ช่างนำทองที่เหลือจากการหล่อพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา มาหล่อเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยองค์เล็ก พร้อมถวายนามว่า “พระเหลือ” ก่อนที่ในปี พ.ศ. 2405 เมื่อรัชกาลที่ 4 เสด็จมานมัสการพระพุทธชินราช ทรงเฉลิมพระนามว่า “พระเสสันตปฏิมา”
พระเสสันตปฏิมาหรือที่คนส่วนใหญ่รู้จักกันดีในนามชื่อดั้งเดิมคือ“พระเหลือ” หรือ “หลวงพ่อเหลือ” ประดิษฐานอยู่ในวิหารหลังเล็กบนเนินต้นโพธิ์สามเส้า บริเวณหน้าวัดทางด้านหน้าทิศใต้ของพระวิหารหลวง(อยู่ขวามือเมื่อมองเข้าไป)
ปัจจุบันมีความเชื่อกันว่าใครที่มาไหว้พระเหลือแล้วจะมีเงินทองเหลือกินเหลือใช้ ซึ่งก็ทำให้มีผู้คนแวะเวียนมาสักการะทำบุญพระเหลือกันไม่ได้ขาด
ในวัดพระศรีมหาธาตุยังมีพระพุทธรูปสำคัญยุคเดียวกับพระพุทธชินราชอีกหนึ่งองค์ คือ “พระอัฏฐารส” ที่ประดิษฐานอยู่ด้านหน้าองค์ปรางค์ทางทิศตะวันออก
พระอัฏฐารส เป็นพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยปางประทับยืน ยกพระหัตถ์ขวามีขนาดสูงใหญ่ประทับอยู่กลางแจ้งแบบสงบนิ่ง
เดิมพระอัฏฐารสไม่ได้ยืนกลางแจ้งตากแดดตากฝนอย่างทุกวันนี้ หากแต่ประดิษฐานอยู่ในวิหารขนาดใหญ่ แต่วิหารหลังนี้ได้พังทลายกลายเป็นลานพระยืนที่เหลือเพียงซากกำแพงวิหารกับซากเสาศิลาแรงขนาดใหญ่ หรือที่เรียกขานกันว่า “เนินวิหารเก้าห้อง” ซึ่งนี่ถือเป็นหลักฐานสำคัญทางโบราณสถานของรูปแบบสถาปัตยกรรมดั้งเดิมที่ยังคงหลงเหลืออยู่
ที่วัดพระศรีมหาธาตุยังมีพระพุทธรูปสำคัญอีกองค์หนึ่ง นั่นก็คือ “พระพุทธรูปปางพระพุทธเจ้าเข้านิพพาน” ที่ประดิษฐานอยู่ในวิหารพระพุทธเจ้าเข้านิพพานหรือวิหารแกลบ
พระพุทธรูปปางพระพุทธเจ้าเข้านิพพานมีลักษณะเป็นหีบศพสีทอง มีพระบาทพระพุทธเจ้ายื่นออกมา 2 ข้าง พร้อมด้วยสาวกมีพระมหากัสสปะเถระ นั่งนมัสการพระบรมศพอยู่รอบๆ โดยมีพระพุทธรูปขนาดใหญ่นั่งอยู่ด้านหลัง นับเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะแตกต่างจากทั่วไปจนถูกยกให้เป็นอันซีนแห่งเมืองสองแควที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง
อย่างไรก็ดีด้วยความเชื่อ(เดิม)ที่ว่า หากใครต้องการผลสำเร็จในสิ่งที่ปรารถนาให้มากราบที่พระพุทธบาทคู่ ทำให้มีคนมากราบที่พระบาทคู่กันเป็นจำนวนมาก จนทองที่ปิดพระบาทลอกสึก เหลือแต่รอยลงรักสีดำ ทำให้วัดต้องห้ามไปสัมผัสจับแตะที่พระบาทคู่ หีบพระบรมศพและเหล่าพระพุทธสาวก เพื่อป้องกันศิลปวัตถุอันทรงคุณค่าเสื่อมชำรุด
และนี่ก็คือบรรดาพระพุทธรูปน่าสนใจในวัดพระศรีมหาธาตุหรือวัดพระพุทธชินราชแห่งเมืองพิษณุโลก หากใครมีเวลาน่าจะลองเดินเที่ยวชมให้ทั่ว เพราะนอกจากเรื่องราวความศักดิ์สิทธิ์ ตำนานเรื่องเล่าอันน่าตื่นตาตื่นใจแล้ว จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของพระพุทธรูปเหล่านี้ก็คือมนต์เสน่ห์ความงามแห่งงานพุทธศิลป์ งานศิลปะไทย
ที่ชาติไทยเราไม่เป็นรองชาติใดในโลก
*****************************************
ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตมหาธาตุ และที่พัก ร้านอาหาร การเดินทาง สถานที่ท่องเที่ยวเชื่อมโยงในจังหวัดพิษณุโลกเพิ่มเติมได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานพิษณุโลก (พื้นที่รับผิดชอบ พิษณุโลก, เพชรบูรณ์, พิจิตร) โทร.0-5525-2742-3, 0-5525-9907
*****************************************
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล travel_astvmgr@hotmail.com