โดย : ปิ่น บุตรี(pinn109@hotmail.com)
“ตราด” เป็นจังหวัดชายทะเลตะวันออกที่มี “หมู่เกาะช้าง”เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญกับจำนวนเกาะมากถึง 52 เกาะ นั่นจึงทำให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ยกให้ตราดเป็น 1 ใน 12 “เมืองต้องห้าม...พลาด” อันเป็นหนึ่งในแคมเปญท่องเที่ยวหลักของปีนี้ พร้อมกับดึงเสน่ห์ความเป็นเมืองแห่งหมู่เกาะมาชูเป็นสโลแกน “ตราด เมืองเกาะในฝัน”
อย่างไรก็ดีนอกจากจะมากไปด้วยเกาะงามๆ แล้ว ตราดยังมีสิ่งที่น่าสนใจให้เที่ยวชมกันอีกหลากหลาย ทั้งธรรมชาติ หาดทรายชายทะเล วิถีชุมชน สวนผลไม้ ซึ่งในช่วงเดือน พ.ค. - ก.ค. เช่นนี้ กำลังเป็นช่วงฤดูกาลผลไม้ของภาคตะวันออก (ระยอง จันทบุรี ตราด) พอดี
นอกจากนี้ตราดก็ยังมีวัดวาอารามที่น่าสนใจอีกไม่น้อย โดยเฉพาะกับ “วัดบุปผาราม” นั้นถือเป็นหนึ่งในวัดสำคัญแห่งเมืองตราด ที่ประกอบไปด้วยสิ่งน่าสนใจมากหลาย
1...
“วัดบุปผาราม” ตั้งอยู่บนถนนพัฒนาการ บ้านปลายคลอง ต.วังกระแจะ อ.เมือง เป็นวัดที่ได้ชื่อว่ามีอายุเก่าแก่ที่สุดในจังหวัดตราด มีอายุมากกว่า 300 ปี ตามประวัติระบุว่า...วัดบุปผารามสร้างขึ้นมาตั้งแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในสมัยของพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ.2195) โดย “หลวงเมือง” คหบดีชาวบ้านเกาะกันเกราผู้คิดริเริ่มสร้างวัด ได้ร่วมมือกับชาวบ้านเสาะหาพื้นที่สร้างวัด
เมื่อพวกเขาออกสำรวจเรื่อยมาจนถึงบริเวณที่ตั้งวัดในปัจจุบัน ต่างพากันได้กลิ่นดอกไม้หอมอบอวล แต่ว่าหาต้นดอกไม้แหล่งกำเนิดกลิ่นไม่พบ หลวงเมืองกับชาวบ้านจึงตกลงปลงใจที่จะสร้างวัดขึ้นในบริเวณนี้ เพราะเชื่อว่านี่คือนิมิตหมายอันดี แถมทำเลที่ตั้งวัดก็ดีคือตั้งอยู่บนเนิน เมื่อสร้างวัดขึ้นมาจะทำให้ดูโดดเด่น พวกเขาจึงร่วมกันสร้างวัดขึ้นมาพร้อมกับตั้งชื่อว่า “วัดบุปผาราม” ที่หมายถึงสวนดอกไม้ หรืออารามแห่งดอกไม้...
วัดบุปผารามยังมีอีกชื่อที่ชาวบ้านนิยมเรียกขานกันนั่นก็คือ “วัดปลายคลอง” เพราะตั้งอยู่ในเขตหมู่บ้านปลายคลอง นอกจากนี้ก็ยังมีชื่อเรียกอื่นๆ ได้แก่ “วัดเนินหย่อง” เพราะเดิมใกล้ๆ วัดมีต้นหย่องขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก, “วัดปากทาง” เพราะตั้งอยู่ช่วงต้นของเส้นทางไปทำสวนพริกไทยซึ่งเป็นอาชีพที่นิยมกันมากในสมัยโบราณ
วัดบุปผารามมีหลักฐานบันทึกความเป็นมาสำคัญๆ ของวัด อาทิ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาในปี พ.ศ. 2225 ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ส่วนในสมัยรัชกาลที่ 5 ท่านพระครูคุณสารพิสุทธิ์หรือหลวงพ่อโหได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์วัดบุปผารามครั้งใหญ่
ครั้นมาถึงยุคปัจจุบันก่อนที่วัดบุปผารามจะมีความงดงามน่าอยู่ดังเช่นทุกวันนี้ หลวงพี่ท่านหนึ่งที่วัดบุปผารามเล่าให้ผมฟังว่า วัดแห่งนี้เคยถูกทอดทิ้งทรุดโทรมมาช่วงระยะเวลาหนึ่ง จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2521 ท่านพระครูสุวรรณสารวิบูล เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน ได้ร่วมแรงร่วมใจกับชาวบ้านทำการบูรณะพัฒนาวัดบุปผารามเรื่อยมา จนได้รางวัลวัดพัฒนาตัวอย่างในปี 2537 และได้รับรางวัลวัดอนุรักษ์สถาปัตยกรรมไทยดีเด่น ปี 2544 จากสมาคมสถาปนิกสยาม
ปัจจุบันวัดบุปผารามมีการจัดภูมิทัศน์ที่เป็นระเบียบสวยงาม ร่มรื่น สะอาดสะอ้านดูสบายตา มากไปด้วยความเขียวขจีของต้นไม้ใบหญ้า โดยเฉพาะสนามหญ้าสีเขียวกลางวัดนั้น ช่วยเบรกสายตาจากความร้อนแรงของแสงแดดบ้านเราได้ดีทีเดียว
2…
สำหรับสิ่งน่าสนใจในวัดแห่งนี้ ผมขอเริ่มที่ “พระอุโบสถ” หรือ “โบสถ์” ที่ไม่ใช่โบสถ์ธรรมดา หากแต่เป็นโบสถ์ 2 ชั้นที่ไม่ใช่ชั้นบนกับชั้นล่าง แต่ว่าเป็น“โบสถ์ชั้นนอก” กับ “โบสถ์ชั้นใน”
โดยโบสถ์ชั้นในนั้นเป็นโบสถ์เก่าแก่ดั้งเดิม แต่ด้วยความที่โบสถ์เดิมนั้นมีสภาพชำรุดทรุดโทรมหนัก ทางกรมศิลป์ (โดยผู้รับเหมาอีกที) ได้เข้ามาบูรณะในปี 2526 แล้วสร้างโบสถ์ชั้นนอกครอบโบสถ์เก่า กลายเป็นโบสถ์ 2 ชั้น
แต่..อนิจจา โบสถ์ชั้นนอกนี้ไม่รู้ใครเลือกวัสดุ เพราะดันฉาบผนังด้านนอกด้วยทรายล้าง ที่เมื่อดูเผินๆไกลๆ อาจดูเหมือนโบสถ์ทั่วๆไป แต่ว่าเมื่อเข้าไปดูใกล้ๆมันประดักประเดิดพิลึก ไม่กลมกลืน ไม่เข้าพวกกับของเดิม
เรื่องนี้ผมยังจำคำพูด(บ่น) ของหลวงพี่ท่านหนึ่งที่เคยพาผมชมวัดในการมาเที่ยววัดบุปผารามครั้งแรกเมื่อหลายปีที่แล้วได้ดี หลวงพี่ท่านนั้นบ่นให้ผมฟังว่า ช่วงที่กรมศิลป์ให้ผู้รับเหมามาทำการบูรณะ ได้กันพระในวัดออก ไม่ให้ไปยุ่งเกี่ยว งานที่ออกมาเลยดูไม่จืดแบบนี้
อย่างไรก็ดีด้วยรูปทรงอันสมส่วนและองค์ประกอบทางพุทธศิลป์ดั้งเดิมในบริเวณโบสถ์ที่ช่างโบราณสร้างสรรค์ออกมาได้อย่างสวยงาม มันก็ช่วยทำให้ผม(แกล้ง)ลืมจุดด้อยเรื่องผนังทรายล้างไปไม่น้อยโดยเฉพาะเจดีย์ย่อมุมไม้ 12 ที่สร้างเรียงรายรอบข้างโบสถ์ ช่างโบราณสร้างสรรค์ออกมาได้สวยงามดูคลาสสิกทรงเสน่ห์มาก
เช่นเดียวกับภายในโบสถ์ที่ถือเป็นอีกหนึ่งความงามอันสุดคลาสสิกแถมยังมีอันซีนให้สังเกตกันอีกด้วย โดยเมื่อเข้ามาในโบสถ์จะพบกับ “หลวงพ่อโต” องค์พระประธานของโบสถ์ที่สร้างด้วยงานศิลปกรรมพื้นบ้านที่แม้จะเรียบง่าย แต่ดูมีเสน่ห์และขลัง
องค์หลวงพ่อโตสร้างจากทรายแดงฉาบปูน สันนิษฐานว่าท่านสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีพระพักตร์อมยิ้มละไม
หลวงพ่อโตองค์นี้ได้ชื่อว่าเป็นพระอันซีนของเมืองตราด เพราะท่านมีพุทธลักษณะที่ต่างไปจากพระพุทธรูปทั่วไป คือ ทั้งที่นิ้วมือและนิ้วเท้าของท่านมี “เล็บมือ-เล็บเท้า” สีขาวขุ่นเหมือนเล็บของมนุษย์อย่างเราๆท่านๆซึ่งถือว่าแปลกทีเดียว เพราะปกติพระพุทธรูปทั่วๆไป นิ้วมือจะเขียนเป็นลายเล็บแบบเรียบๆ ไม่ได้มีการลงสีสันเล็บให้เหมือนกับเล็บคนแต่อย่างใด
นอกจากนี้หลวงพ่อโตยังได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองตราด โดยชาวตราดเคารพนับถือท่านไม่ต่างไปจากพระพุทธชินราช หลวงพ่อโสธร หรือ หลวงพ่อวัดไร่ขิงเลยทีเดียว
3…
ภายในโบสถ์ดั้งเดิมหรือโบสถ์ชั้นในหลังนี้ ยังมีอีกหนึ่งสิ่งอันโดดเด่นเป็นพิเศษนั่นก็คือภาพจิตรกรรมฝาผนังที่สุดคลาสสิก ซึ่งแม้ปัจจุบันภาพหลายส่วนจะชำรุดเลอะเลือนไป แต่ว่างานส่วนใหญ่ที่เลือกก็ยังคงความงามและความขลังเอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้ชื่นชมกัน เพียงแต่ว่าใครที่มีโอกาสได้เข้าไปชมภาพจิตรกรรมฝาผนังที่นี่ ต้องไม่ไปสัมผัสกับภาพเหล่านั้น และเวลาถ่ายรูปก็ต้องไม่ใช้แฟลชอันมีส่วนทำให้ภาพเสื่อมสภาพเร็วยิ่งขึ้นไปอีก
สำหรับภาพจิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์วัดบุปผารามนั้นวาดด้วยฝีมือช่างพื้นบ้านสมัยรัตนโกสินทร์ กับรูปแบบการวาดสไตล์จีนที่แม้จะไม่ได้สวยปิ๊งนิ้งเนี้ยบ แต่ว่างานฝีมือลายเส้นที่ถ่ายทอดออกมานั้นถึงอารมณ์มาก มีทั้งภาพที่วาดเป็นเรื่องราวอย่าง ภาพพระพุทธเจ้าแสดงธรรม ภาพกระตั้วแทงเสือ ภาพชาย-หญิงชาวจีนมีทั้งที่ถืออาวุธและถืออุปกรณ์อื่นๆ ภาพหญิงสาวชาวไทยสมัยก่อน และภาพเลียนแบบลายกระเบื้องประดับแซมด้วยดอกไม้ประดับไปทั่วผนัง ทั้งที่ผนังซ้าย-ขวาด้านข้างองค์พระประธานนั้นช่างวาดเป็นดอกโบตั๋น
ส่วนกลุ่มดอกไม้(และนก)ที่ประดับเรียงรายบนผนังหลังองค์พระประธานนั้นช่างวาดเป็นดอกพุดตาน ซึ่งภาพวาดดอกไม้ต่างๆ ในวัดแห่งนี้ไม่ว่าจะเป็นในโบสถ์ วิหารพระนอน หรือตามจุดอื่นๆ นั้นเป็นการสื่อสัญลักษณ์อันชัดเจนถึงความเป็นอารามดอกไม้ของวัดแห่งนี้
4…
ภายในวัดบุปผารามบริเวณเขตพุทธาวาสใกล้ๆ กับโบสถ์ยังมีสิ่งน่าสนใจอื่นๆ ให้เที่ยวชม ได้แก่ มณฑปหลังคากระโจม ที่มีอยู่ 3 หลัง หลังแรกประดิษฐานรอยพระพุทธบาท 4 รอย,หลังที่สองประดิษฐานรอยพระพุทธบาทมงคล 108, ส่วนหลังที่สามสร้างทับซ้อนรากของเจดีย์องค์เดิมที่พังทลายลงไป
นอกจากนี้ก็ยังมี“โบสถ์หลังเก่า”(บางข้อมูลเรียกวิหารฝากระดาน) เป็นอาคารครึ่งปูนครึ่งไม้ รูปทรงโค้งแบบเรือสำเภาอันเป็นสิ่งก่อสร้างที่เก่าแก่ที่สุดในวัด สร้างตั้งแต่สมัยอยุธยา ซึ่งปัจจุบันทางวัดกำลังทำการบูรณะซ่อมแซมโบสถ์เก่าหลังนี้อยู่
ส่วนวิหารอีกหลังที่อยู่กลางระหว่างโบสถ์หลวงพ่อโตกับโบสถ์หลังเก่าเป็น “วิหารพระพุทธไสยาสน์” หรือ “วิหารพระนอน” ที่ก่อสร้างด้วยศิลาแลง หน้าบันและซุ้มหน้าต่างประดับด้วยเครื่องถ้วยจีนและเครื่องถ้วยยุโรป
ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ หรือ พระนอนที่สร้างด้วยงานศิลปกรรมแบบพื้นบ้าน ที่ผนังมีภาพจิตรกรรมฝาผนังสไตล์เดียวกับภายในโบสถ์หลวงพ่อโต แต่ส่วนใหญ่ภาพเลือนหายไป หลวงเหลือเพียงบางส่วนกับภาพดอกไม้ และภาพนก ที่มีทั้งภาพดั้งเดิมและภาพที่ดูเหมือนเขียนซ่อมแซมใหม่
ส่วนอีกหนึ่งสิ่งน่าสนใจภายในวัดแต่ไม่ได้อยู่บริเวณโบสถ์หลวงพ่อโตนั่นก็คือ “พระพุทธรูปไม้องค์ใหญ่” ที่ประดิษฐานอยู่ใน "เรือนพระพุทธรูปไม้องค์ใหญ่" เป็นอาคารไม้ทรงไทย กลางสนามหญ้า
พระพุทธรูปไม้แกะสลักเก่าแก่องค์นี้เป็นงานศิลปะแบบพม่า ที่ประดิษฐานร่วมกับพระพุทธรูปน่าสนใจอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น พระนอน พระยืน พระพุทธรูปทรงเครื่อง ซึ่งส่วนใหญ่ต่างเป็นพระพุทธรูปไม้แกะสลักอันสวยงามเป็นเอกลักษณ์
ในพื้นที่สนามหญ้ากลางวัดยังมีศาลาประดิษฐานรูปเคารพหุ่นขี้ผึ้ง “หลวงพ่อโห” และรูปเคารพ “สมเด็จพระเจ้าตากสิน” กำลังประทับนั่งอยู่ใกล้ๆ กัน
นอกจากนี้ที่วัดบุปผารามยังมีพระบรมราชานุสาวรีย์ “สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงม้า”อยู่ที่ด้านหน้าพิพิธภัณฑ์หลังเล็ก ซึ่งที่วัดแห่งนี้มีพิพิธภัณฑ์ 2 หลัง ใหญ่-เล็ก เก็บศิลปวัตถุอันทรงคุณค่าให้เราได้ศึกษาเรียนรู้
นี่ก็คือมนต์เสน่ห์และสิ่งน่าสนใจต่างๆ ของวัดบุปผาราม วัดงามแห่งเมืองตราด ซึ่งสำหรับผมนี่ไม่ใช่ครั้งแรกในการมาเยือนวัดบุปผาราม (เคยเขียนแนะนำวัดแห่งนี้ไปครั้งหนึ่งแล้ว) แต่ถึงแม้จะมาซ้ำสอง ซ้ำสาม หรือซ้ำบ่อยๆ ยังไงๆ ผมก็ยังหลงใหลชื่นชอบในมนต์เสน่ห์ของวัดแห่งนี้อยู่ไม่เสื่อมคลาย
เพราะวัดแห่งนี้ยังคงเป็นวัดที่มีความเป็น “วัด” ต่างไปจากวัดหลายๆ แห่งที่มีแต่ความเป็น “วัตถุ” มากมาย แต่ทว่าหาแก่นของความเป็นวัดไม่เจอ ซึ่งสำหรับวัดบุปผารามแล้วในวันที่ผมเข้าไปเที่ยวชม แม้เราอาจจะรู้สึกร้อนกายไปตามสภาพอากาศอันร้อนระยับ
แต่วัดแห่งนี้กลับให้ความรู้สึก “เย็นใจ” ได้ดีทีเดียว
***********************************************************
หมายเหตุ : การเที่ยวชมสถานที่ภายในของวัดบุปผารามบางจุดต้องขออนุญาตจากทางวัดก่อน
- ผู้สนใจสอบถามข้อมูลวัดบุปผาราม และข้อมูลทางการท่องเที่ยว ร้านอาหาร ที่พักโรงแรม และข้อมูลการเดินทางใน จ.ตราด เพิ่มเติมได้ที่ ททท.ตราด โทร. 0-3959-7259-60
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล travel_astvmgr@hotmail.com
“ตราด” เป็นจังหวัดชายทะเลตะวันออกที่มี “หมู่เกาะช้าง”เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญกับจำนวนเกาะมากถึง 52 เกาะ นั่นจึงทำให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ยกให้ตราดเป็น 1 ใน 12 “เมืองต้องห้าม...พลาด” อันเป็นหนึ่งในแคมเปญท่องเที่ยวหลักของปีนี้ พร้อมกับดึงเสน่ห์ความเป็นเมืองแห่งหมู่เกาะมาชูเป็นสโลแกน “ตราด เมืองเกาะในฝัน”
อย่างไรก็ดีนอกจากจะมากไปด้วยเกาะงามๆ แล้ว ตราดยังมีสิ่งที่น่าสนใจให้เที่ยวชมกันอีกหลากหลาย ทั้งธรรมชาติ หาดทรายชายทะเล วิถีชุมชน สวนผลไม้ ซึ่งในช่วงเดือน พ.ค. - ก.ค. เช่นนี้ กำลังเป็นช่วงฤดูกาลผลไม้ของภาคตะวันออก (ระยอง จันทบุรี ตราด) พอดี
นอกจากนี้ตราดก็ยังมีวัดวาอารามที่น่าสนใจอีกไม่น้อย โดยเฉพาะกับ “วัดบุปผาราม” นั้นถือเป็นหนึ่งในวัดสำคัญแห่งเมืองตราด ที่ประกอบไปด้วยสิ่งน่าสนใจมากหลาย
1...
“วัดบุปผาราม” ตั้งอยู่บนถนนพัฒนาการ บ้านปลายคลอง ต.วังกระแจะ อ.เมือง เป็นวัดที่ได้ชื่อว่ามีอายุเก่าแก่ที่สุดในจังหวัดตราด มีอายุมากกว่า 300 ปี ตามประวัติระบุว่า...วัดบุปผารามสร้างขึ้นมาตั้งแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในสมัยของพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ.2195) โดย “หลวงเมือง” คหบดีชาวบ้านเกาะกันเกราผู้คิดริเริ่มสร้างวัด ได้ร่วมมือกับชาวบ้านเสาะหาพื้นที่สร้างวัด
เมื่อพวกเขาออกสำรวจเรื่อยมาจนถึงบริเวณที่ตั้งวัดในปัจจุบัน ต่างพากันได้กลิ่นดอกไม้หอมอบอวล แต่ว่าหาต้นดอกไม้แหล่งกำเนิดกลิ่นไม่พบ หลวงเมืองกับชาวบ้านจึงตกลงปลงใจที่จะสร้างวัดขึ้นในบริเวณนี้ เพราะเชื่อว่านี่คือนิมิตหมายอันดี แถมทำเลที่ตั้งวัดก็ดีคือตั้งอยู่บนเนิน เมื่อสร้างวัดขึ้นมาจะทำให้ดูโดดเด่น พวกเขาจึงร่วมกันสร้างวัดขึ้นมาพร้อมกับตั้งชื่อว่า “วัดบุปผาราม” ที่หมายถึงสวนดอกไม้ หรืออารามแห่งดอกไม้...
วัดบุปผารามยังมีอีกชื่อที่ชาวบ้านนิยมเรียกขานกันนั่นก็คือ “วัดปลายคลอง” เพราะตั้งอยู่ในเขตหมู่บ้านปลายคลอง นอกจากนี้ก็ยังมีชื่อเรียกอื่นๆ ได้แก่ “วัดเนินหย่อง” เพราะเดิมใกล้ๆ วัดมีต้นหย่องขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก, “วัดปากทาง” เพราะตั้งอยู่ช่วงต้นของเส้นทางไปทำสวนพริกไทยซึ่งเป็นอาชีพที่นิยมกันมากในสมัยโบราณ
วัดบุปผารามมีหลักฐานบันทึกความเป็นมาสำคัญๆ ของวัด อาทิ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาในปี พ.ศ. 2225 ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ส่วนในสมัยรัชกาลที่ 5 ท่านพระครูคุณสารพิสุทธิ์หรือหลวงพ่อโหได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์วัดบุปผารามครั้งใหญ่
ครั้นมาถึงยุคปัจจุบันก่อนที่วัดบุปผารามจะมีความงดงามน่าอยู่ดังเช่นทุกวันนี้ หลวงพี่ท่านหนึ่งที่วัดบุปผารามเล่าให้ผมฟังว่า วัดแห่งนี้เคยถูกทอดทิ้งทรุดโทรมมาช่วงระยะเวลาหนึ่ง จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2521 ท่านพระครูสุวรรณสารวิบูล เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน ได้ร่วมแรงร่วมใจกับชาวบ้านทำการบูรณะพัฒนาวัดบุปผารามเรื่อยมา จนได้รางวัลวัดพัฒนาตัวอย่างในปี 2537 และได้รับรางวัลวัดอนุรักษ์สถาปัตยกรรมไทยดีเด่น ปี 2544 จากสมาคมสถาปนิกสยาม
ปัจจุบันวัดบุปผารามมีการจัดภูมิทัศน์ที่เป็นระเบียบสวยงาม ร่มรื่น สะอาดสะอ้านดูสบายตา มากไปด้วยความเขียวขจีของต้นไม้ใบหญ้า โดยเฉพาะสนามหญ้าสีเขียวกลางวัดนั้น ช่วยเบรกสายตาจากความร้อนแรงของแสงแดดบ้านเราได้ดีทีเดียว
2…
สำหรับสิ่งน่าสนใจในวัดแห่งนี้ ผมขอเริ่มที่ “พระอุโบสถ” หรือ “โบสถ์” ที่ไม่ใช่โบสถ์ธรรมดา หากแต่เป็นโบสถ์ 2 ชั้นที่ไม่ใช่ชั้นบนกับชั้นล่าง แต่ว่าเป็น“โบสถ์ชั้นนอก” กับ “โบสถ์ชั้นใน”
โดยโบสถ์ชั้นในนั้นเป็นโบสถ์เก่าแก่ดั้งเดิม แต่ด้วยความที่โบสถ์เดิมนั้นมีสภาพชำรุดทรุดโทรมหนัก ทางกรมศิลป์ (โดยผู้รับเหมาอีกที) ได้เข้ามาบูรณะในปี 2526 แล้วสร้างโบสถ์ชั้นนอกครอบโบสถ์เก่า กลายเป็นโบสถ์ 2 ชั้น
แต่..อนิจจา โบสถ์ชั้นนอกนี้ไม่รู้ใครเลือกวัสดุ เพราะดันฉาบผนังด้านนอกด้วยทรายล้าง ที่เมื่อดูเผินๆไกลๆ อาจดูเหมือนโบสถ์ทั่วๆไป แต่ว่าเมื่อเข้าไปดูใกล้ๆมันประดักประเดิดพิลึก ไม่กลมกลืน ไม่เข้าพวกกับของเดิม
เรื่องนี้ผมยังจำคำพูด(บ่น) ของหลวงพี่ท่านหนึ่งที่เคยพาผมชมวัดในการมาเที่ยววัดบุปผารามครั้งแรกเมื่อหลายปีที่แล้วได้ดี หลวงพี่ท่านนั้นบ่นให้ผมฟังว่า ช่วงที่กรมศิลป์ให้ผู้รับเหมามาทำการบูรณะ ได้กันพระในวัดออก ไม่ให้ไปยุ่งเกี่ยว งานที่ออกมาเลยดูไม่จืดแบบนี้
อย่างไรก็ดีด้วยรูปทรงอันสมส่วนและองค์ประกอบทางพุทธศิลป์ดั้งเดิมในบริเวณโบสถ์ที่ช่างโบราณสร้างสรรค์ออกมาได้อย่างสวยงาม มันก็ช่วยทำให้ผม(แกล้ง)ลืมจุดด้อยเรื่องผนังทรายล้างไปไม่น้อยโดยเฉพาะเจดีย์ย่อมุมไม้ 12 ที่สร้างเรียงรายรอบข้างโบสถ์ ช่างโบราณสร้างสรรค์ออกมาได้สวยงามดูคลาสสิกทรงเสน่ห์มาก
เช่นเดียวกับภายในโบสถ์ที่ถือเป็นอีกหนึ่งความงามอันสุดคลาสสิกแถมยังมีอันซีนให้สังเกตกันอีกด้วย โดยเมื่อเข้ามาในโบสถ์จะพบกับ “หลวงพ่อโต” องค์พระประธานของโบสถ์ที่สร้างด้วยงานศิลปกรรมพื้นบ้านที่แม้จะเรียบง่าย แต่ดูมีเสน่ห์และขลัง
องค์หลวงพ่อโตสร้างจากทรายแดงฉาบปูน สันนิษฐานว่าท่านสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีพระพักตร์อมยิ้มละไม
หลวงพ่อโตองค์นี้ได้ชื่อว่าเป็นพระอันซีนของเมืองตราด เพราะท่านมีพุทธลักษณะที่ต่างไปจากพระพุทธรูปทั่วไป คือ ทั้งที่นิ้วมือและนิ้วเท้าของท่านมี “เล็บมือ-เล็บเท้า” สีขาวขุ่นเหมือนเล็บของมนุษย์อย่างเราๆท่านๆซึ่งถือว่าแปลกทีเดียว เพราะปกติพระพุทธรูปทั่วๆไป นิ้วมือจะเขียนเป็นลายเล็บแบบเรียบๆ ไม่ได้มีการลงสีสันเล็บให้เหมือนกับเล็บคนแต่อย่างใด
นอกจากนี้หลวงพ่อโตยังได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองตราด โดยชาวตราดเคารพนับถือท่านไม่ต่างไปจากพระพุทธชินราช หลวงพ่อโสธร หรือ หลวงพ่อวัดไร่ขิงเลยทีเดียว
3…
ภายในโบสถ์ดั้งเดิมหรือโบสถ์ชั้นในหลังนี้ ยังมีอีกหนึ่งสิ่งอันโดดเด่นเป็นพิเศษนั่นก็คือภาพจิตรกรรมฝาผนังที่สุดคลาสสิก ซึ่งแม้ปัจจุบันภาพหลายส่วนจะชำรุดเลอะเลือนไป แต่ว่างานส่วนใหญ่ที่เลือกก็ยังคงความงามและความขลังเอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้ชื่นชมกัน เพียงแต่ว่าใครที่มีโอกาสได้เข้าไปชมภาพจิตรกรรมฝาผนังที่นี่ ต้องไม่ไปสัมผัสกับภาพเหล่านั้น และเวลาถ่ายรูปก็ต้องไม่ใช้แฟลชอันมีส่วนทำให้ภาพเสื่อมสภาพเร็วยิ่งขึ้นไปอีก
สำหรับภาพจิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์วัดบุปผารามนั้นวาดด้วยฝีมือช่างพื้นบ้านสมัยรัตนโกสินทร์ กับรูปแบบการวาดสไตล์จีนที่แม้จะไม่ได้สวยปิ๊งนิ้งเนี้ยบ แต่ว่างานฝีมือลายเส้นที่ถ่ายทอดออกมานั้นถึงอารมณ์มาก มีทั้งภาพที่วาดเป็นเรื่องราวอย่าง ภาพพระพุทธเจ้าแสดงธรรม ภาพกระตั้วแทงเสือ ภาพชาย-หญิงชาวจีนมีทั้งที่ถืออาวุธและถืออุปกรณ์อื่นๆ ภาพหญิงสาวชาวไทยสมัยก่อน และภาพเลียนแบบลายกระเบื้องประดับแซมด้วยดอกไม้ประดับไปทั่วผนัง ทั้งที่ผนังซ้าย-ขวาด้านข้างองค์พระประธานนั้นช่างวาดเป็นดอกโบตั๋น
ส่วนกลุ่มดอกไม้(และนก)ที่ประดับเรียงรายบนผนังหลังองค์พระประธานนั้นช่างวาดเป็นดอกพุดตาน ซึ่งภาพวาดดอกไม้ต่างๆ ในวัดแห่งนี้ไม่ว่าจะเป็นในโบสถ์ วิหารพระนอน หรือตามจุดอื่นๆ นั้นเป็นการสื่อสัญลักษณ์อันชัดเจนถึงความเป็นอารามดอกไม้ของวัดแห่งนี้
4…
ภายในวัดบุปผารามบริเวณเขตพุทธาวาสใกล้ๆ กับโบสถ์ยังมีสิ่งน่าสนใจอื่นๆ ให้เที่ยวชม ได้แก่ มณฑปหลังคากระโจม ที่มีอยู่ 3 หลัง หลังแรกประดิษฐานรอยพระพุทธบาท 4 รอย,หลังที่สองประดิษฐานรอยพระพุทธบาทมงคล 108, ส่วนหลังที่สามสร้างทับซ้อนรากของเจดีย์องค์เดิมที่พังทลายลงไป
นอกจากนี้ก็ยังมี“โบสถ์หลังเก่า”(บางข้อมูลเรียกวิหารฝากระดาน) เป็นอาคารครึ่งปูนครึ่งไม้ รูปทรงโค้งแบบเรือสำเภาอันเป็นสิ่งก่อสร้างที่เก่าแก่ที่สุดในวัด สร้างตั้งแต่สมัยอยุธยา ซึ่งปัจจุบันทางวัดกำลังทำการบูรณะซ่อมแซมโบสถ์เก่าหลังนี้อยู่
ส่วนวิหารอีกหลังที่อยู่กลางระหว่างโบสถ์หลวงพ่อโตกับโบสถ์หลังเก่าเป็น “วิหารพระพุทธไสยาสน์” หรือ “วิหารพระนอน” ที่ก่อสร้างด้วยศิลาแลง หน้าบันและซุ้มหน้าต่างประดับด้วยเครื่องถ้วยจีนและเครื่องถ้วยยุโรป
ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ หรือ พระนอนที่สร้างด้วยงานศิลปกรรมแบบพื้นบ้าน ที่ผนังมีภาพจิตรกรรมฝาผนังสไตล์เดียวกับภายในโบสถ์หลวงพ่อโต แต่ส่วนใหญ่ภาพเลือนหายไป หลวงเหลือเพียงบางส่วนกับภาพดอกไม้ และภาพนก ที่มีทั้งภาพดั้งเดิมและภาพที่ดูเหมือนเขียนซ่อมแซมใหม่
ส่วนอีกหนึ่งสิ่งน่าสนใจภายในวัดแต่ไม่ได้อยู่บริเวณโบสถ์หลวงพ่อโตนั่นก็คือ “พระพุทธรูปไม้องค์ใหญ่” ที่ประดิษฐานอยู่ใน "เรือนพระพุทธรูปไม้องค์ใหญ่" เป็นอาคารไม้ทรงไทย กลางสนามหญ้า
พระพุทธรูปไม้แกะสลักเก่าแก่องค์นี้เป็นงานศิลปะแบบพม่า ที่ประดิษฐานร่วมกับพระพุทธรูปน่าสนใจอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น พระนอน พระยืน พระพุทธรูปทรงเครื่อง ซึ่งส่วนใหญ่ต่างเป็นพระพุทธรูปไม้แกะสลักอันสวยงามเป็นเอกลักษณ์
ในพื้นที่สนามหญ้ากลางวัดยังมีศาลาประดิษฐานรูปเคารพหุ่นขี้ผึ้ง “หลวงพ่อโห” และรูปเคารพ “สมเด็จพระเจ้าตากสิน” กำลังประทับนั่งอยู่ใกล้ๆ กัน
นอกจากนี้ที่วัดบุปผารามยังมีพระบรมราชานุสาวรีย์ “สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงม้า”อยู่ที่ด้านหน้าพิพิธภัณฑ์หลังเล็ก ซึ่งที่วัดแห่งนี้มีพิพิธภัณฑ์ 2 หลัง ใหญ่-เล็ก เก็บศิลปวัตถุอันทรงคุณค่าให้เราได้ศึกษาเรียนรู้
นี่ก็คือมนต์เสน่ห์และสิ่งน่าสนใจต่างๆ ของวัดบุปผาราม วัดงามแห่งเมืองตราด ซึ่งสำหรับผมนี่ไม่ใช่ครั้งแรกในการมาเยือนวัดบุปผาราม (เคยเขียนแนะนำวัดแห่งนี้ไปครั้งหนึ่งแล้ว) แต่ถึงแม้จะมาซ้ำสอง ซ้ำสาม หรือซ้ำบ่อยๆ ยังไงๆ ผมก็ยังหลงใหลชื่นชอบในมนต์เสน่ห์ของวัดแห่งนี้อยู่ไม่เสื่อมคลาย
เพราะวัดแห่งนี้ยังคงเป็นวัดที่มีความเป็น “วัด” ต่างไปจากวัดหลายๆ แห่งที่มีแต่ความเป็น “วัตถุ” มากมาย แต่ทว่าหาแก่นของความเป็นวัดไม่เจอ ซึ่งสำหรับวัดบุปผารามแล้วในวันที่ผมเข้าไปเที่ยวชม แม้เราอาจจะรู้สึกร้อนกายไปตามสภาพอากาศอันร้อนระยับ
แต่วัดแห่งนี้กลับให้ความรู้สึก “เย็นใจ” ได้ดีทีเดียว
***********************************************************
หมายเหตุ : การเที่ยวชมสถานที่ภายในของวัดบุปผารามบางจุดต้องขออนุญาตจากทางวัดก่อน
- ผู้สนใจสอบถามข้อมูลวัดบุปผาราม และข้อมูลทางการท่องเที่ยว ร้านอาหาร ที่พักโรงแรม และข้อมูลการเดินทางใน จ.ตราด เพิ่มเติมได้ที่ ททท.ตราด โทร. 0-3959-7259-60
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล travel_astvmgr@hotmail.com