โดย : ปิ่น บุตรี(pinn109@hotmail.com)
“...กล้วยไม้ไทยมีความงาม และมีกลิ่นหอมมาก ซึ่งนับวันจะหาดูได้ยากและใกล้สูญพันธุ์ไปทุกขณะ ขอให้ช่วยกันหาทางรวบรวมและอนุรักษ์ไว้ พร้อมกับการขยายพันธุ์ให้มีปริมาณมากพอที่จะคืนสู่ป่าธรรมชาติได้…”
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชดำรัส เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นองค์ประธานเปิดงานกล้วยไม้เอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2535
หลังจากนั้นหลายหน่วยงานได้น้อมรับนำไปดำเนินงาน โดยหนึ่งในนั้นก็คือการจัดตั้งสวนพฤกษศาสตร์ขึ้นที่ ต.แม่แรม อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2536 ในชื่อ “สวนพฤกษศาสตร์ แม่สา”
ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อว่า “สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์” (QueenSirikitBotanic Garden) ซึ่งถือเป็นสวนพฤกษศาสตร์สากลแห่งแรกของประเทศไทย
จากนั้นองค์การสวนพฤกษศาสตร์ก็มีการจัดตั้งสวนพฤกษศาสตร์สาขาขึ้นทั่วประเทศ ได้แก่ สวนพฤกษศาสตร์เมืองพล ขอนแก่น, สวนพฤกษศาสตร์บ้านร่มเกล้า พิษณุโลก, สวนพฤกษศาสตร์พระแม่ย่า สุโขทัย, สวนพฤกษศาสตร์เกาะระ พังงา และ “สวนพฤกษศาสตร์ระยอง” ที่ผมเพิ่งมีโอกาสไปสัมผัสมาเมื่อไม่นาน แล้วประทับใจในความน่าตื่นตาตื่นใจ
ชนิดที่ไม่น่าเชื่อว่าในระยองจะมีธรรมชาติอันน่าทึ่งกึ่งมหัศจรรย์อย่างนี้อยู่ด้วย
1...
“สวนพฤกษศาสตร์ระยอง” ตั้งอยู่ใน อ.แกลง จ.ระยอง จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์ศึกษาวิจัย และรวบรวมพรรณไม้ในภาคตะวันออก และเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรพันธุ์พืช โดยเฉพาะสภาพนิเวศวิทยาของพื้นที่ชุ่มน้ำและป่าเสม็ด รวมถึงเพื่อเป็นแหล่งให้ความรู้ของประชาชน แหล่งพักผ่อนหย่อนใจ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ในเชิงนิเวศแก่ผู้เข้าชม
สวนพฤกษศาสตร์จังหวัดระยอง มีพื้นที่กว่า 2,500 ไร่ โดยพื้นที่หลักๆส่วนใหญ่ของสวนพฤกษ์ฯ ระยองจะเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ ซึ่งมีคุณประโยชน์หลากหลาย ทั้งลดการพังทลายของชายฝั่ง ช่วยป้องกันน้ำเค็มไม่ให้เข้ามาในแผ่นดินจนเกินไป และเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์และพืชพรรณต่างๆ ซึ่งหลายชนิดเป็นพืชเฉพาะถิ่น พบเจอไม่ได้ง่ายในเมืองไทย
ด้วยความโดดเด่นของพื้นที่ชุ่มน้ำ สวนพฤกษ์ฯ แห่งนี้จึงจัดกิจกรรมท่องเที่ยวในรูปแบบสะเทินน้ำ สะเทินบก คือเที่ยวได้ทั้งทางบก ทางน้ำ และผสมผสานระหว่างทางบกและทางน้ำ ซึ่งก็เป็นกิจกรรมที่ผมกับเพื่อนๆเลือกเที่ยวกันในทริปนี้
โดยเราจะนั่งเรือท้องแบนล่องไปใน “บึงสำนักใหญ่” หรือ “หนองจำรุง” หนองน้ำตามธรรมชาติขนาดใหญ่ที่มีพื้นที่กว่า 3,800 ไร่ พื้นที่ส่วนหนึ่งประมาณพันกว่าไร่ อยู่ในความดูแลของสวนพฤกษ์ฯ ระยอง
สำหรับการล่องเรือคราวนี้ เราได้พี่ “ศรัญวุฒน์ แสวงสวาท” หรือ “พี่ชัช” นักวิชาการประจำสวนพฤกษ์ฯ ระยอง มาคอยให้ข้อมูลความรู้ โดยในการล่องเรือช่วงแรกๆ จะมีนกให้เห็นเยอะเป็นพิเศษทั้งนกประจำถิ่น นกอพยพ เช่น นกอ้ายงั่ว นกปากห่าง นกเป็ดน้ำ บ้างเกาะอยู่ตามยอดไม้ บ้างก็โฉบโผผินบินไป-มา
ต่อจากนั้นก็จะเป็นหนึ่งในส่วนสำคัญของที่นี่ซึ่งผมมองดูคล้ายเป็นผืนแผ่นดินอยู่ขนาบข้างทั้งสองฝั่งที่เรือล่องไป แต่เปล่าเลยนั่นคือแพกอหญ้าที่ชาวบ้านเรียกขานกันว่า “หญ้าหนังหมา” หรือ “แพหนังหมา”
หญ้าหนังหมาเป็นแพกอหญ้าที่ทับถมกันเป็นชั้นๆ หนาถึง 50-100 ซม. ลอยเป็นผืนแผ่นเล็กบ้าง ใหญ่บ้าง และบางช่วงก็ใหญ่มากจนคล้ายผืนแผ่นดินยังไงยังงั้น บนแพหญ้าหนังหมาถือว่ามีความแข็งแรงใช่ย่อยเพราะมันมีรากที่ยาวลึกลงไปใต้น้ำยาวถึงประมาณ 1 เมตรเลยทีเดียว
พี่ชัชให้ข้อมูลว่าบนหญ้าหนังหมาเราสามารถขึ้นเดินบนนั้นได้ แต่ต้องเป็นแบบกระจายตัวเฉลี่ยน้ำหนัก ไม่ใช่ไปรวมกันที่จุดเดียว ซึ่งในช่วงราวๆเดือน พ.ย. – ก.พ. ของทุกปี บนแพหญ้าหนังหมาจะมีกล้วยไม้ดินหายากใกล้สูญพันธุ์อย่าง เอื้องสีสนิม เอื้องอึ่งอ่าง แห้วชะครู ผักไผ่น้ำ ออกดอกให้ชมกัน
นอกจากหญ้าหนังหมาแล้วในบึงใหญ่แห่งนี้ยังมีพืชพันธุ์เด่นๆ ได้แก่ “บัว” ที่มีทั้งบัวหลวง บัวสาย บัวเผื่อน บัวบา ซึ่งในบางช่วงเราได้เห็นชาวบ้านมาลอยเรือเก็บฝักบัว, ไหลบัว เพื่อนำไปทำอาหารและนำไปขายที่ถือเป็นรายได้เสริมอีกอย่างหนึ่งของชาวบ้านในแถบนั้น รวมถึงมี “สาหร่ายข้าวเหนียว” ที่ออกดอกเล็กๆทั้งสีเหลือง สีชมพู ให้ได้ยลกันในระหว่างล่องเรือ
ขณะที่อีกหนึ่งพืชพันธุ์เด่นที่มีปริมาณมากและพบเห็นได้ทั่วไปในบึงแห่งนี้ก็คือ “กระจูด” ไม้ล้มลุกตระกูลเดียวกับต้นกก ลำต้นมีลักษณะกลม ภายในกลวง ขนาดเท่าก้านธูป สูง 1-3 เมตร ปกติจะพบมากในแถบภาคใต้ ส่วนที่ภาคตะวันออกพบที่เดียวคือที่นี่
กระจูดสามารถนำต้นไปสานทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เสื่อ กระเป๋า หมวก ตะกร้า หรือของใช้อื่นๆ ซึ่งถือเป็นพืชเศรษฐกิจของชาวบ้านในแถบนี้ โดยเฉพาะที่ “บ้านมาบเหลาชะโอน” ซึ่งมีการสืบทอดภูมิปัญญาสานเสื่อกกกระจูดมากว่า 200 ปี โดยมีบันทึกเขียนไว้ใน“นิราศเมืองแกลง” ของ “สุนทรภู่” ถึงการทำกระจูดของชาวบ้านในพื้นที่แถบนี้ว่า
“...ถึงศาลเจ้าอ่าวสมุทรที่สุดหาด เลียบลีลาศขึ้นตามช่องที่คลองขวาง
ถึงบ้านแกลงลัดบ้านไปย่านกลาง เห็นฝูงนางสานเสื่อนั้นเหลือใจ
แต่ปากพรอดมือสอดขยุกขยิก จนมือหงิกงอแงไม่แบได้
เป็นส่วยบ้านสานส่งเข้ากรุงไกร เด็กผู้ใหญ่ทำเป็นไม่เว้นคน...”
ครับ...นี่ผมก็ถือว่าเรากำลังล่องเรือตามรอยท่านสุนทรภู่ยอดกวีเอกแห่งสยามอยู่เหมือนกัน
2...
พวกเราล่องเรือต่อไปได้อีกสักพัก สภาพของบึงเริ่มเปลี่ยนไป กลายเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำมีต้นเสม็ดขึ้นอยู่มากมาย ซึ่งพี่ชัชบอกว่าเราได้เข้าเขตป่าเสม็ดแล้ว
“ป่าเสม็ดที่นี่เป็นรอยต่อระหว่างบึงกับแผ่นดินใหญ่ เป็นส่วนบริเวณขอบบึง มีเนื้อที่กว่า 400 ไร่ ถือเป็นป่าเสม็ดที่สมบูรณ์ที่สุดในภาคตะวันออก” พี่ชัชอธิบาย
ป่าเสม็ดที่นี่รับการเรียกขานว่า“ป่าเสม็ดพันปี”ที่ส่วนใหญ่จะเป็นต้นเสม็ดขาว แต่ก็มีเสม็ดแดงขึ้นอยู่บ้าง โดยต้นเสม็ดที่นี่จะขึ้นอยู่บนพื้นทราย มีสภาพพื้นที่เป็นดินและป่าพรุน้ำท่วมขังมาก-น้อย ตามฤดูกาล ส่วนที่เกาะเสม็ดจะเป็นต้นเสม็ดแดง
สำหรับต้นเสม็ดนั้นพบได้ทั้งภาคใต้และภาคตะวันออก โดยมักจะขึ้นในป่าพรุที่มีน้ำท่วมขังในหน้าฝน ส่วนในหน้าแล้งจะมีไฟไหม้ป่าอยู่เป็นประจำซึ่งพืชพันธุ์ไม้ชนิดอื่นๆไม่สามารถปรับตัวอยู่ได้ แต่เสม็ดสามารถอยู่ได้ เพราะต้นเสม็ดสุดอึดทนได้ทั้งน้ำทั้งไฟ เนื่องจากลำต้นมีเปลือกหนานุ่มซ้อนกันเป็นชั้นๆเพื่อปกป้องแก่นของต้นซึ่งเนื้อแข็งมาก
ในอดีตชาวบ้านจะนำเปลือกที่ลอกได้เป็นชั้นๆ นี้ไปทำเป็นฝาบ้านหรือมุงหลังคาได้ ส่วนแก่นต้นที่แข็งแกร่งก็นำไปเผาเป็นถ่านได้
ต้นเสม็ดที่นี่มีอยู่เป็นจำนวนมากหลายร้อยต้น ส่วนใหญ่เป็นต้นเสม็ดเก่าแก่ที่ขึ้นมาช้านาน โดยดูได้จากขนาดลำต้นที่ใหญ่และของต้นขึ้นสูงตระหง่าน โดยมันจะแผ่กิ่งก้านสาขาและลำต้นขยายออกไปไกล อีกทั้งยังมีรูปทรงที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์กับความโย้เย้ หงิกหงอ เห็นแล้วชวนให้นึกถึง“ป่าดึกดำบรรพ์” ในอารมณ์ จูราสสิกเวิลด์ ไม่น้อย ยิ่งเมื่อเดินอยู่ในช่วงเวลาเย็นๆแสงแดดอ่อนๆมันก็จะยิ่งดูลี้ลับ ลึกลับยิ่งขึ้น
ขณะที่หากเดินชมในฤดูที่มีน้ำขังเล็กน้อย มันก็จะได้บรรยากาศของป่าเสม็ดที่ดูสวยงามแปลกตาไปอีกแบบ โดยเฉพาะบรรยากาศของป่าเสม็ดสะท้อนเงาน้ำนี่ดูแล้วน่าตื่นตาตื่นใจดีทีเดียว
3...
ป่าเสม็ดพันปีที่นี่มีพื้นที่เชื่อมต่อกับ “เกาะกลางน้ำ” อีกหนึ่งจุดท่องเที่ยวไฮไลต์ที่ผมกับคณะได้ลงจากเรือแล้วเดินเท้าดูสิ่งที่น่าสนใจบนเกาะกลางน้ำแห่งนี้ โดยพื้นที่เกาะกลางน้ำ ไม่ใช่เกาะเดียวโดดๆ หากแต่เป็นพื้นที่ของเกาะน้อยใหญ่จำนวน 5 เกาะ ได้แก่ 1. เกาะแต้วใหญ่ 2.เกาะแต้วเล็ก 3.เกาะชะมวง 4.เกาะกก และ 5.เกาะนรก
พี่ชัชบอกกับผมว่า เกาะกลางน้ำทั้ง 5 ตั้งชื่อตามชื่อต้นไม้ เช่น ต้นแต้ว ต้นชะมวง ต้นกก...แต่เอ...ไอ้เกาะนรกนี่มันตั้งตามชื่ออะไร??? เพราะผมไม่เคยได้ยินชื่อต้นนรกมาก่อน ผมจึงเดาว่า เกาะนรก เป็นเกาะที่เต็มไปด้วย “ต้นงิ้ว” แต่ไม่ใช่ เพราะพี่ชัชได้ไขข้อข้องใจว่า เกาะนรก เดิมชื่อเกาะไม้หนาม บนเกาะมีต้นไม้มีหนามอยู่เยอะ จึงเปรียบเป็นดังเกาะนรก
สำหรับเกาะกลางน้ำทั้ง 5 ทางสวนพฤกษ์ฯ ระยองได้ทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติและสะพานให้เดินเชื่อมโยงถึงกัน รวมถึงสามารถปั่นจักรยานเข้ามาเที่ยวชมได้ โดยสภาพพื้นที่ภายในเกาะกลางน้ำเป็นการผสมผสานกันระหว่างบึงน้ำจืดและป่าพรุที่รวมอยู่ในสภาพนิเวศเดียวกัน ถือเป็นลักษณะพิเศษที่หาได้ยากยิ่ง
เมื่อเดินไปบนเกาะกลางน้ำทั้ง 5 เราจะได้พบกับความหลากหลายของพรรณไม้ท้องถิ่นบนเกาะที่เกี่ยวข้องกับชีวิตชุมชน ทั้งผักพื้นบ้าน พืชสมุนไพร ลานดินโป่ง ทุ่งหญ้าชุ่มน้ำ ไม้หนาม ป่าพรุ ฯลฯ
โดยพืชพรรณน่าสนใจที่ถือเป็นดาวเด่นของเกาะกลางน้ำนั้นก็ได้แก่
-“หม้อข้าวหม้อแกงลิง” หรือ “เขนงนายพราน” พืชไม้เลื้อยที่มีกระเปาะดักจับแมลง
-“แต้ว” ต้นไม้ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ยอดอ่อนใบอ่อนและช่อดอกอ่อนสามารถกินได้ มักกินเป็นผักสดแกล้มกับน้ำพริก
-“ชะมวง” พืชที่พบได้ในภาคตะวันออกและภาคใต้ มีฤทธิ์เป็นยาสมุนไพร ใบและผลรสเปรี้ยว ทางภาคตะวันออกนำมาทำเป็นอาหารท้องถิ่นอย่าง “หมูชะมวง” ที่แม้จะมันเยอะแต่ว่าก็อร่อยไม่น้อยเลย
-“พรวด” พืชพื้นบ้านที่สามารถพบเห็นได้บริเวณป่าชายหาด หรือป่าพรุน้ำจืด พรวดเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ากุหลาบบูรพา เนื่องจากมีดอกสีชมพูสดใสคล้ายกุหลาบ ลูกของมันมีสีม่วงอมดำกินได้
ส่วนพืชพรรณเด่นอื่นๆ นั้นก็อย่างเช่น “หว้า”, “ตีนนก”, “ขันทองพยาบาท”, “กะอวม”, “มะหวด”,“คุย” , “ผักหวานป่า”
นอกจากนี้ก็ยังมี “ย่านลิเภา” ที่เป็นเถาวัลย์ชนิดหนึ่ง(ภาษาท้องถิ่นภาคใต้เรียกเถาวัลย์ว่า “ย่าน”) ซึ่งในบางพื้นที่ของภาคใต้นิยมนำไปทำงานฝีมือเป็นผลิตภัณฑ์จากย่านลิเภาอันสวยงามประณีต
ย่านลิเภาที่นี่จะขึ้นเป็นกลุ่มตามธรรมชาติทั้งขึ้นตามพื้นดิน และเลื้อยได้ไปเกาะบนต้นไม้ใหญ่ ถือเป็นระบบนิเวศที่พึ่งพาอาศัยกันของพืชพันธุ์น้อยใหญ่ที่มีความสวยงามแปลกตาเป็นยิ่งนัก
ส่วนอีกจุดหนึ่งที่ผมสนใจมากก็คือที่นี่มีการบวชป่าเพื่ออนุรักษ์ผืนป่าให้ดำรงคงอยู่ โดยมีการนำผ้าจีวรไปผูกไว้ตามต้นไม้ต่างๆ อยู่หลายต้นด้วยกัน
ครับและนี่ก็คือมนต์เสน่ห์ส่วนหนึ่งของสวนพฤกษศาสตร์ระยองที่ใครได้มาลองเที่ยวอย่างผมแล้ว จะติดใจและประทับใจในสภาพพื้นที่ที่เป็นเอกลักษณ์ โดยเฉพาะบรรยากาศของป่าเสม็ดพันปีที่นี่ ถือเป็นอีกหนึ่งมุมมองใหม่ในเมืองระยองที่ให้บรรยากาศชวนทึ่งไม่น้อยเลย
ชนิดที่ไม่น่าเชื่อว่าในระยองจะมีธรรมชาติอันน่าทึ่งกึ่งมหัศจรรย์อย่างนี้อยู่ด้วย...ฮิ
*****************************************
“สวนพฤกษศาสตร์ระยอง” ตั้งอยู่ในตำบลชากพง อำเภอแกลง จังหวัดระยอง เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่ 08.30-16.00 น. ทางสวนฯ มีบริการเรือ และเจ้าหน้าที่นำชมหากมาเป็นหมู่คณะ สอบถามค่าใช้จ่ายและรายละเอียดอื่นๆ ได้ที่ โทร.0-3863-8880-1, 0-3863-8981 หรือสอบถามที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานระยอง (ดูแลพื้นที่ระยอง, จันทบุรี) โทร.0-3865-5420-1, 0-3866-4585,0-3865-5422
*****************************************
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล travel_astvmgr@hotmail.com
“...กล้วยไม้ไทยมีความงาม และมีกลิ่นหอมมาก ซึ่งนับวันจะหาดูได้ยากและใกล้สูญพันธุ์ไปทุกขณะ ขอให้ช่วยกันหาทางรวบรวมและอนุรักษ์ไว้ พร้อมกับการขยายพันธุ์ให้มีปริมาณมากพอที่จะคืนสู่ป่าธรรมชาติได้…”
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชดำรัส เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นองค์ประธานเปิดงานกล้วยไม้เอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2535
หลังจากนั้นหลายหน่วยงานได้น้อมรับนำไปดำเนินงาน โดยหนึ่งในนั้นก็คือการจัดตั้งสวนพฤกษศาสตร์ขึ้นที่ ต.แม่แรม อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2536 ในชื่อ “สวนพฤกษศาสตร์ แม่สา”
ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อว่า “สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์” (QueenSirikitBotanic Garden) ซึ่งถือเป็นสวนพฤกษศาสตร์สากลแห่งแรกของประเทศไทย
จากนั้นองค์การสวนพฤกษศาสตร์ก็มีการจัดตั้งสวนพฤกษศาสตร์สาขาขึ้นทั่วประเทศ ได้แก่ สวนพฤกษศาสตร์เมืองพล ขอนแก่น, สวนพฤกษศาสตร์บ้านร่มเกล้า พิษณุโลก, สวนพฤกษศาสตร์พระแม่ย่า สุโขทัย, สวนพฤกษศาสตร์เกาะระ พังงา และ “สวนพฤกษศาสตร์ระยอง” ที่ผมเพิ่งมีโอกาสไปสัมผัสมาเมื่อไม่นาน แล้วประทับใจในความน่าตื่นตาตื่นใจ
ชนิดที่ไม่น่าเชื่อว่าในระยองจะมีธรรมชาติอันน่าทึ่งกึ่งมหัศจรรย์อย่างนี้อยู่ด้วย
1...
“สวนพฤกษศาสตร์ระยอง” ตั้งอยู่ใน อ.แกลง จ.ระยอง จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์ศึกษาวิจัย และรวบรวมพรรณไม้ในภาคตะวันออก และเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรพันธุ์พืช โดยเฉพาะสภาพนิเวศวิทยาของพื้นที่ชุ่มน้ำและป่าเสม็ด รวมถึงเพื่อเป็นแหล่งให้ความรู้ของประชาชน แหล่งพักผ่อนหย่อนใจ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ในเชิงนิเวศแก่ผู้เข้าชม
สวนพฤกษศาสตร์จังหวัดระยอง มีพื้นที่กว่า 2,500 ไร่ โดยพื้นที่หลักๆส่วนใหญ่ของสวนพฤกษ์ฯ ระยองจะเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ ซึ่งมีคุณประโยชน์หลากหลาย ทั้งลดการพังทลายของชายฝั่ง ช่วยป้องกันน้ำเค็มไม่ให้เข้ามาในแผ่นดินจนเกินไป และเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์และพืชพรรณต่างๆ ซึ่งหลายชนิดเป็นพืชเฉพาะถิ่น พบเจอไม่ได้ง่ายในเมืองไทย
ด้วยความโดดเด่นของพื้นที่ชุ่มน้ำ สวนพฤกษ์ฯ แห่งนี้จึงจัดกิจกรรมท่องเที่ยวในรูปแบบสะเทินน้ำ สะเทินบก คือเที่ยวได้ทั้งทางบก ทางน้ำ และผสมผสานระหว่างทางบกและทางน้ำ ซึ่งก็เป็นกิจกรรมที่ผมกับเพื่อนๆเลือกเที่ยวกันในทริปนี้
โดยเราจะนั่งเรือท้องแบนล่องไปใน “บึงสำนักใหญ่” หรือ “หนองจำรุง” หนองน้ำตามธรรมชาติขนาดใหญ่ที่มีพื้นที่กว่า 3,800 ไร่ พื้นที่ส่วนหนึ่งประมาณพันกว่าไร่ อยู่ในความดูแลของสวนพฤกษ์ฯ ระยอง
สำหรับการล่องเรือคราวนี้ เราได้พี่ “ศรัญวุฒน์ แสวงสวาท” หรือ “พี่ชัช” นักวิชาการประจำสวนพฤกษ์ฯ ระยอง มาคอยให้ข้อมูลความรู้ โดยในการล่องเรือช่วงแรกๆ จะมีนกให้เห็นเยอะเป็นพิเศษทั้งนกประจำถิ่น นกอพยพ เช่น นกอ้ายงั่ว นกปากห่าง นกเป็ดน้ำ บ้างเกาะอยู่ตามยอดไม้ บ้างก็โฉบโผผินบินไป-มา
ต่อจากนั้นก็จะเป็นหนึ่งในส่วนสำคัญของที่นี่ซึ่งผมมองดูคล้ายเป็นผืนแผ่นดินอยู่ขนาบข้างทั้งสองฝั่งที่เรือล่องไป แต่เปล่าเลยนั่นคือแพกอหญ้าที่ชาวบ้านเรียกขานกันว่า “หญ้าหนังหมา” หรือ “แพหนังหมา”
หญ้าหนังหมาเป็นแพกอหญ้าที่ทับถมกันเป็นชั้นๆ หนาถึง 50-100 ซม. ลอยเป็นผืนแผ่นเล็กบ้าง ใหญ่บ้าง และบางช่วงก็ใหญ่มากจนคล้ายผืนแผ่นดินยังไงยังงั้น บนแพหญ้าหนังหมาถือว่ามีความแข็งแรงใช่ย่อยเพราะมันมีรากที่ยาวลึกลงไปใต้น้ำยาวถึงประมาณ 1 เมตรเลยทีเดียว
พี่ชัชให้ข้อมูลว่าบนหญ้าหนังหมาเราสามารถขึ้นเดินบนนั้นได้ แต่ต้องเป็นแบบกระจายตัวเฉลี่ยน้ำหนัก ไม่ใช่ไปรวมกันที่จุดเดียว ซึ่งในช่วงราวๆเดือน พ.ย. – ก.พ. ของทุกปี บนแพหญ้าหนังหมาจะมีกล้วยไม้ดินหายากใกล้สูญพันธุ์อย่าง เอื้องสีสนิม เอื้องอึ่งอ่าง แห้วชะครู ผักไผ่น้ำ ออกดอกให้ชมกัน
นอกจากหญ้าหนังหมาแล้วในบึงใหญ่แห่งนี้ยังมีพืชพันธุ์เด่นๆ ได้แก่ “บัว” ที่มีทั้งบัวหลวง บัวสาย บัวเผื่อน บัวบา ซึ่งในบางช่วงเราได้เห็นชาวบ้านมาลอยเรือเก็บฝักบัว, ไหลบัว เพื่อนำไปทำอาหารและนำไปขายที่ถือเป็นรายได้เสริมอีกอย่างหนึ่งของชาวบ้านในแถบนั้น รวมถึงมี “สาหร่ายข้าวเหนียว” ที่ออกดอกเล็กๆทั้งสีเหลือง สีชมพู ให้ได้ยลกันในระหว่างล่องเรือ
ขณะที่อีกหนึ่งพืชพันธุ์เด่นที่มีปริมาณมากและพบเห็นได้ทั่วไปในบึงแห่งนี้ก็คือ “กระจูด” ไม้ล้มลุกตระกูลเดียวกับต้นกก ลำต้นมีลักษณะกลม ภายในกลวง ขนาดเท่าก้านธูป สูง 1-3 เมตร ปกติจะพบมากในแถบภาคใต้ ส่วนที่ภาคตะวันออกพบที่เดียวคือที่นี่
กระจูดสามารถนำต้นไปสานทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เสื่อ กระเป๋า หมวก ตะกร้า หรือของใช้อื่นๆ ซึ่งถือเป็นพืชเศรษฐกิจของชาวบ้านในแถบนี้ โดยเฉพาะที่ “บ้านมาบเหลาชะโอน” ซึ่งมีการสืบทอดภูมิปัญญาสานเสื่อกกกระจูดมากว่า 200 ปี โดยมีบันทึกเขียนไว้ใน“นิราศเมืองแกลง” ของ “สุนทรภู่” ถึงการทำกระจูดของชาวบ้านในพื้นที่แถบนี้ว่า
“...ถึงศาลเจ้าอ่าวสมุทรที่สุดหาด เลียบลีลาศขึ้นตามช่องที่คลองขวาง
ถึงบ้านแกลงลัดบ้านไปย่านกลาง เห็นฝูงนางสานเสื่อนั้นเหลือใจ
แต่ปากพรอดมือสอดขยุกขยิก จนมือหงิกงอแงไม่แบได้
เป็นส่วยบ้านสานส่งเข้ากรุงไกร เด็กผู้ใหญ่ทำเป็นไม่เว้นคน...”
ครับ...นี่ผมก็ถือว่าเรากำลังล่องเรือตามรอยท่านสุนทรภู่ยอดกวีเอกแห่งสยามอยู่เหมือนกัน
2...
พวกเราล่องเรือต่อไปได้อีกสักพัก สภาพของบึงเริ่มเปลี่ยนไป กลายเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำมีต้นเสม็ดขึ้นอยู่มากมาย ซึ่งพี่ชัชบอกว่าเราได้เข้าเขตป่าเสม็ดแล้ว
“ป่าเสม็ดที่นี่เป็นรอยต่อระหว่างบึงกับแผ่นดินใหญ่ เป็นส่วนบริเวณขอบบึง มีเนื้อที่กว่า 400 ไร่ ถือเป็นป่าเสม็ดที่สมบูรณ์ที่สุดในภาคตะวันออก” พี่ชัชอธิบาย
ป่าเสม็ดที่นี่รับการเรียกขานว่า“ป่าเสม็ดพันปี”ที่ส่วนใหญ่จะเป็นต้นเสม็ดขาว แต่ก็มีเสม็ดแดงขึ้นอยู่บ้าง โดยต้นเสม็ดที่นี่จะขึ้นอยู่บนพื้นทราย มีสภาพพื้นที่เป็นดินและป่าพรุน้ำท่วมขังมาก-น้อย ตามฤดูกาล ส่วนที่เกาะเสม็ดจะเป็นต้นเสม็ดแดง
สำหรับต้นเสม็ดนั้นพบได้ทั้งภาคใต้และภาคตะวันออก โดยมักจะขึ้นในป่าพรุที่มีน้ำท่วมขังในหน้าฝน ส่วนในหน้าแล้งจะมีไฟไหม้ป่าอยู่เป็นประจำซึ่งพืชพันธุ์ไม้ชนิดอื่นๆไม่สามารถปรับตัวอยู่ได้ แต่เสม็ดสามารถอยู่ได้ เพราะต้นเสม็ดสุดอึดทนได้ทั้งน้ำทั้งไฟ เนื่องจากลำต้นมีเปลือกหนานุ่มซ้อนกันเป็นชั้นๆเพื่อปกป้องแก่นของต้นซึ่งเนื้อแข็งมาก
ในอดีตชาวบ้านจะนำเปลือกที่ลอกได้เป็นชั้นๆ นี้ไปทำเป็นฝาบ้านหรือมุงหลังคาได้ ส่วนแก่นต้นที่แข็งแกร่งก็นำไปเผาเป็นถ่านได้
ต้นเสม็ดที่นี่มีอยู่เป็นจำนวนมากหลายร้อยต้น ส่วนใหญ่เป็นต้นเสม็ดเก่าแก่ที่ขึ้นมาช้านาน โดยดูได้จากขนาดลำต้นที่ใหญ่และของต้นขึ้นสูงตระหง่าน โดยมันจะแผ่กิ่งก้านสาขาและลำต้นขยายออกไปไกล อีกทั้งยังมีรูปทรงที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์กับความโย้เย้ หงิกหงอ เห็นแล้วชวนให้นึกถึง“ป่าดึกดำบรรพ์” ในอารมณ์ จูราสสิกเวิลด์ ไม่น้อย ยิ่งเมื่อเดินอยู่ในช่วงเวลาเย็นๆแสงแดดอ่อนๆมันก็จะยิ่งดูลี้ลับ ลึกลับยิ่งขึ้น
ขณะที่หากเดินชมในฤดูที่มีน้ำขังเล็กน้อย มันก็จะได้บรรยากาศของป่าเสม็ดที่ดูสวยงามแปลกตาไปอีกแบบ โดยเฉพาะบรรยากาศของป่าเสม็ดสะท้อนเงาน้ำนี่ดูแล้วน่าตื่นตาตื่นใจดีทีเดียว
3...
ป่าเสม็ดพันปีที่นี่มีพื้นที่เชื่อมต่อกับ “เกาะกลางน้ำ” อีกหนึ่งจุดท่องเที่ยวไฮไลต์ที่ผมกับคณะได้ลงจากเรือแล้วเดินเท้าดูสิ่งที่น่าสนใจบนเกาะกลางน้ำแห่งนี้ โดยพื้นที่เกาะกลางน้ำ ไม่ใช่เกาะเดียวโดดๆ หากแต่เป็นพื้นที่ของเกาะน้อยใหญ่จำนวน 5 เกาะ ได้แก่ 1. เกาะแต้วใหญ่ 2.เกาะแต้วเล็ก 3.เกาะชะมวง 4.เกาะกก และ 5.เกาะนรก
พี่ชัชบอกกับผมว่า เกาะกลางน้ำทั้ง 5 ตั้งชื่อตามชื่อต้นไม้ เช่น ต้นแต้ว ต้นชะมวง ต้นกก...แต่เอ...ไอ้เกาะนรกนี่มันตั้งตามชื่ออะไร??? เพราะผมไม่เคยได้ยินชื่อต้นนรกมาก่อน ผมจึงเดาว่า เกาะนรก เป็นเกาะที่เต็มไปด้วย “ต้นงิ้ว” แต่ไม่ใช่ เพราะพี่ชัชได้ไขข้อข้องใจว่า เกาะนรก เดิมชื่อเกาะไม้หนาม บนเกาะมีต้นไม้มีหนามอยู่เยอะ จึงเปรียบเป็นดังเกาะนรก
สำหรับเกาะกลางน้ำทั้ง 5 ทางสวนพฤกษ์ฯ ระยองได้ทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติและสะพานให้เดินเชื่อมโยงถึงกัน รวมถึงสามารถปั่นจักรยานเข้ามาเที่ยวชมได้ โดยสภาพพื้นที่ภายในเกาะกลางน้ำเป็นการผสมผสานกันระหว่างบึงน้ำจืดและป่าพรุที่รวมอยู่ในสภาพนิเวศเดียวกัน ถือเป็นลักษณะพิเศษที่หาได้ยากยิ่ง
เมื่อเดินไปบนเกาะกลางน้ำทั้ง 5 เราจะได้พบกับความหลากหลายของพรรณไม้ท้องถิ่นบนเกาะที่เกี่ยวข้องกับชีวิตชุมชน ทั้งผักพื้นบ้าน พืชสมุนไพร ลานดินโป่ง ทุ่งหญ้าชุ่มน้ำ ไม้หนาม ป่าพรุ ฯลฯ
โดยพืชพรรณน่าสนใจที่ถือเป็นดาวเด่นของเกาะกลางน้ำนั้นก็ได้แก่
-“หม้อข้าวหม้อแกงลิง” หรือ “เขนงนายพราน” พืชไม้เลื้อยที่มีกระเปาะดักจับแมลง
-“แต้ว” ต้นไม้ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ยอดอ่อนใบอ่อนและช่อดอกอ่อนสามารถกินได้ มักกินเป็นผักสดแกล้มกับน้ำพริก
-“ชะมวง” พืชที่พบได้ในภาคตะวันออกและภาคใต้ มีฤทธิ์เป็นยาสมุนไพร ใบและผลรสเปรี้ยว ทางภาคตะวันออกนำมาทำเป็นอาหารท้องถิ่นอย่าง “หมูชะมวง” ที่แม้จะมันเยอะแต่ว่าก็อร่อยไม่น้อยเลย
-“พรวด” พืชพื้นบ้านที่สามารถพบเห็นได้บริเวณป่าชายหาด หรือป่าพรุน้ำจืด พรวดเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ากุหลาบบูรพา เนื่องจากมีดอกสีชมพูสดใสคล้ายกุหลาบ ลูกของมันมีสีม่วงอมดำกินได้
ส่วนพืชพรรณเด่นอื่นๆ นั้นก็อย่างเช่น “หว้า”, “ตีนนก”, “ขันทองพยาบาท”, “กะอวม”, “มะหวด”,“คุย” , “ผักหวานป่า”
นอกจากนี้ก็ยังมี “ย่านลิเภา” ที่เป็นเถาวัลย์ชนิดหนึ่ง(ภาษาท้องถิ่นภาคใต้เรียกเถาวัลย์ว่า “ย่าน”) ซึ่งในบางพื้นที่ของภาคใต้นิยมนำไปทำงานฝีมือเป็นผลิตภัณฑ์จากย่านลิเภาอันสวยงามประณีต
ย่านลิเภาที่นี่จะขึ้นเป็นกลุ่มตามธรรมชาติทั้งขึ้นตามพื้นดิน และเลื้อยได้ไปเกาะบนต้นไม้ใหญ่ ถือเป็นระบบนิเวศที่พึ่งพาอาศัยกันของพืชพันธุ์น้อยใหญ่ที่มีความสวยงามแปลกตาเป็นยิ่งนัก
ส่วนอีกจุดหนึ่งที่ผมสนใจมากก็คือที่นี่มีการบวชป่าเพื่ออนุรักษ์ผืนป่าให้ดำรงคงอยู่ โดยมีการนำผ้าจีวรไปผูกไว้ตามต้นไม้ต่างๆ อยู่หลายต้นด้วยกัน
ครับและนี่ก็คือมนต์เสน่ห์ส่วนหนึ่งของสวนพฤกษศาสตร์ระยองที่ใครได้มาลองเที่ยวอย่างผมแล้ว จะติดใจและประทับใจในสภาพพื้นที่ที่เป็นเอกลักษณ์ โดยเฉพาะบรรยากาศของป่าเสม็ดพันปีที่นี่ ถือเป็นอีกหนึ่งมุมมองใหม่ในเมืองระยองที่ให้บรรยากาศชวนทึ่งไม่น้อยเลย
ชนิดที่ไม่น่าเชื่อว่าในระยองจะมีธรรมชาติอันน่าทึ่งกึ่งมหัศจรรย์อย่างนี้อยู่ด้วย...ฮิ
*****************************************
“สวนพฤกษศาสตร์ระยอง” ตั้งอยู่ในตำบลชากพง อำเภอแกลง จังหวัดระยอง เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่ 08.30-16.00 น. ทางสวนฯ มีบริการเรือ และเจ้าหน้าที่นำชมหากมาเป็นหมู่คณะ สอบถามค่าใช้จ่ายและรายละเอียดอื่นๆ ได้ที่ โทร.0-3863-8880-1, 0-3863-8981 หรือสอบถามที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานระยอง (ดูแลพื้นที่ระยอง, จันทบุรี) โทร.0-3865-5420-1, 0-3866-4585,0-3865-5422
*****************************************
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล travel_astvmgr@hotmail.com