โดย : ปิ่น บุตรี(pinn109@hotmail.com)
พูดถึงทะเลหมอก ใครและใครหลายคนมักนึกถึงจุดชมทะเลหมอกบนขุนเขา ภูดอย ในภาคเหนือภาคอีสาน
พูดถึงทะเลหมอก ใครและใครหลายคนมักนึกถึงช่วงหน้าหนาว เพราะช่วงนี้มีทะเลหมอกแสนงามให้ชมกัน
แต่ประทานโทษ!!! การไปชมทะเลหมอกของผมในทริปนี้ สวนทางกับข้อความข้างต้นโดยสิ้นเชิง
เพราะผมเลือกไปชมทะเลหมอกที่ภาคใต้ในจังหวัดพังงา และไปในช่วงหน้าร้อนที่อากาศร้อนระยับ ดูๆแล้วไม่น่าเชื่อ ซึ่งตอนแรกผมก็ไม่เชื่อเหมือนกัน หากไม่ได้ไปสัมผัสมากับตัวของตัวเอง
จากอบต.สีชมพูสู่เขาไข่นุ้ย
จังหวัดพังงานั้นมีแหล่งท่องเที่ยวเด่นดังด้านทะเล แต่การล่องใต้มาพังงาในครั้งนี้ หนึ่งในเป้าหมายหลักของผมกลับเป็นการไปชมทะเลหมอกอันชวนทึ่งบน “เขาไข่นุ้ย” แห่งบ้านฝายท่า ต.ทุ่งมะพร้าว อ.ท้ายเหมือง
เขาไข่นุ้ย เป็นแหล่งท่องเที่ยวน้องใหม่มาแรง(มาก) เพิ่งเปิดตัวให้เที่ยวอย่างไม่เป็นทางการเมื่อเร็วๆนี้ ซึ่งทางจังหวัดพังงา กับศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยวจังหวัดพังงา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้ร่วมแรงกันผลักดัน หวังให้แจ้งเกิดเป็นหนึ่งในจุดชมทะเลหมอกชื่อดังของภาคใต้ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเที่ยวพังงาควบคู่ไปกับการเที่ยวทะเลอันเลื่องชื่อของจังหวัดนี้
สำหรับการขึ้นไปเที่ยวชมทะเลหมอกบนยอดเขาไข่นุ้ยของผม เริ่มต้นขึ้นที่ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งมะพร้าว ที่มีอาคารที่ทำการดูกิ๊บเก๋มากเป็นสีชมพูสดใส จนหลายๆคนเรียกว่า “อบต.สีชมพู”
อบต.ทุ่งมะพร้าวเป็นหน่วยงานหลักที่ทำหน้าที่จัดกิจกรรมท่องเที่ยวชุมชน พาขึ้นไปสัมผัสกับความงามบนยอดเขาไข่นุ้ย ซึ่งนี่เป็นแค่ช่วงเริ่มต้นตั้งไข่ของการบริหารจัดการ หลายสิ่งหลายอย่างอาจยังไม่เข้าที่เข้าทาง แต่ดูจากความตั้งใจของพี่ๆทีมงาน อบต. ทุ่งมะพร้าวแล้ว น่าจะไปได้สวย ถ้าสามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้ชุมชนได้ในเรื่องของเงินและผลประโยชน์ที่จะตามมาในอนาคตหลังเขาไข่นุ้ยโด่งดัง เพราะต้องยอมรับความจริงๆที่ผ่านมามีหลายๆชุมชนที่มีศักยภาพสูงทางการท่องเที่ยว แต่ว่าพอผลประโยชน์เข้ามา เม็ดเงินเข้ามาแล้วทำให้ชาวบ้านขัดแย้ง แตกแยก จน
วิถีชุมชนเสียศูนย์ไป
อบต.ทุ่งมะพร้าว ปัจจุบันมี “ศุภศักดิ์ โภคบุตร” เป็นนายกอบต. โดยคุณศุภศักดิ์ได้ให้ข้อมูลของเขาไข่นุ้ยกับผมเป็นการเรียกน้ำย่อยก่อนขึ้นไปสัมผัสของจริง ว่า เขาไข่นุ้ยเดิมเป็นพื้นที่ทำสวนยางของชาวบ้าน พวกเขาเห็นทะเลหมอกกันจนชินตา แต่ไม่คิดว่ามันจะกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ จนเมื่อทางอบต.ไปพบและทำการประชาสัมพันธ์ออกไปก็ได้รับการตอบรับอย่างดีเยี่ยม
“เขาไข่นุ้ยมีจุดเด่นอยู่ที่ 5 มหัศจรรย์ คือ 1.พระอาทิตย์ขึ้น 2.พระอาทิตย์ตก 3.ทะเลหมอก 4.ทะเลอันดามัน และ 5.ทิวเขา”
นายกอบต.ทุ่งมะพร้าว ให้ข้อมูลอีกว่า จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของเขาไข่นุ้ยคือสามารถเดินทางขึ้นไปชมทะเลหมอกบนยอดเขาได้ไม่ยาก เพราะเขาไข่นุ้ยอยู่ห่างจากที่ทำการอบต.ทุ่งมะพร้าวแค่ 4 กม. เป็นถนนลูกรัง 3 กม. การเดินทางต้องใช้รถขับเคลื่อน 4 ล้อขับขึ้นไป เพราะมี 2 ช่วงสุดท้ายก่อนถึงยังไม่ได้ปรับถนนเส้นทางจึงชันมาก แต่ก็เป็นแค่ช่วงสั้นๆเท่านั้น จึงใช้เวลาเดินทางจากที่ทำการอบต.ขึ้นไปไม่นาน
นั่นจึงทำให้นักท่องเที่ยวสามารถเลือกพักที่ด้านล่างและเดินทางขึ้นไปชมทะเลหมอกในตอนเช้ามืดได้(มีคนนิยมทำแบบนี้กันพอสมควร) แต่คุณศุภศักดิ์บอกกับผมว่า ถ้าขึ้นไปค้างแรมแบบแคมป์ปิ้งบนยอดเขาไข่นุ้ยจะได้อรรถรส ได้บรรยากาศมากกว่า
แล้วการออกผจญยอดเขาไข่ยุ้ยก็เริ่มขึ้นในช่วงเย็นของวันนั้น
จากอบต. สีชมพู ผมใช่เวลาแค่ประมาณครึ่งชั่วโมงก็มาถึงบนยอดเขาไข่นุ้ย บนนี้สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ของทิวเขาเบื้องหน้าได้อย่างกว้างไกล ให้ความรู้สึกคล้ายกับว่าผมกำลังยืนอยู่บนที่สูงนับพันเมตร แต่นายกอบต. ทุ่งมะพร้าวบอกกับผมว่า บนนี้สูงแค่ 280 กว่าเมตรเท่านั้น(อ้างอิงจากการวัดระดับความสูงของเจ้าหน้าที่ป่าไม้)
อืม...ยอดเขาสูงแค่นี้ แถมรอบข้างยังเป็นสวนยางอีกต่างหาก แล้วมันจะมีทะเลหมอกให้เห็นหรือ...สงสัยจะขึ้นมาฟรีหรือเปล่า...งานนี้ผมอดคิดในใจไม่ได้
แต่ไม่เห็นทะเลหมอกก็ไม่เป็นไร เพราะภาพดวงตะวันลาลับขอบฟ้าของที่นี่ในเย็นวันนั้นถือว่าใช้ได้ พระอาทิตย์ดวงกลมโตค่อยๆลาหายเข้าไปในกลีบเมฆ ท่ามกลางองค์ประกอบของทิวทัศน์ที่มองลงไปเห็นทะเลอันดามัน มีเขาหน้ายักษ์ทอดตัวขวางหน้าอีกที ซึ่งถ้าวันไหนท้องฟ้าเปิดเป็นใจ คุณศุภศักดิ์บอกว่าสามารถมองเห็นไปถึงเกาะสิมิลันเลยทีเดียว
เขาไข่นุ้ย ชื่อนี้ได้แต่ใดมา
หลังพระอาทิตย์ลาลับ ความมืดย่างกรายเข้ามาเยี่ยมเยือน
บนยอดเขาไข่นุ้ยมีจุดกางเต็นท์ให้เลือกทั้งที่เป็นลานโล่ง หรือในสวนยางที่มีความเป็นส่วนตัวได้บรรยากาศแตกต่างไปอีกแบบ
ใครใคร่นอนในทำเลแบบไหนก็สามารถเลือกเอาได้ตามสะดวก โดยทั้ง 2 จุด มีห้องน้ำลำลองไว้บริการ ให้ปลดทุกข์ หนัก - เบา ส่วนเรื่องการอาบน้ำนั้นยังไม่พร้อม แต่ไม่ต้องอาบหรอกครับ เพราะไม่น่าเชื่อว่าในหน้าร้อนที่อากาศเบื้องล่างร้อนระยับ บนยอดเขาเตี้ยๆลูกนี้ในยามค่ำคืนกลับมีอากาศเย็นระยับ ยิ่งผสมกับสายลมแรงลมที่พัดกระโชก ทำให้ในค่ำคืนนั้นบนยอดเขาไข่นุ้ยมีอากาศหนาวยะเยือกในระดับน้องๆของยอดดอยสูงๆในภาคเหนือ
เมื่อได้ที่ทางกางเต็นท์ เก็บสัมภาระกันเรียบร้อยแล้ว พวกเรามานั่งหม่ำอาหารกัน
ให้หายหิว หลังจากนั้นก็นั่งสังสรรค์พูดคุยกันใต้ม่านฟ้าท่ามกลางแสงดาวที่พราวพร่าง
ระหว่างนั้นมีคุณลุงคนหนึ่งเข้ามาร่วมพูดคุยด้วย ชาวบ้านในวงเรียกแกว่า“บังไข่” พร้อมกับบอกกับผมว่า ยังขาด“บังนุ้ย”อีกคน นี่ถ้ามาครบทั้งคู่ ใช่เลย “เขาไข่นุ้ย”
หะแรกผมนึกว่าชาวบ้านคนนั้นพูดเล่น แต่คล้อยหลังไปสักพักคุณลุงที่ชาวบ้านเรียกว่าบังนุ้ยได้เดินเข้ามาร่วมวงด้วยเหมือนมีใครเขียนบทไว้
แล้วทั้งบังไข่กับบังนุ้ยก็ได้เล่าตำนานที่มาของชื่อเขาไข่นุ้ยให้ผมฟังว่า แต่ก่อนเขาลูกนี้ไม่มีชื่อเรียก เป็นพื้นที่สวนยางของชาวบ้าน บังไข่ หรือ “ศักดิ์ แคล่วคลอง” มีพื้นที่สวนยางอยู่ฝั่งตะวันตกหรือฝั่งทะเลอันดามัน ส่วนบังนุ้ย หรือ “นุ้ย นิ่งราวี” มีพื้นที่สวนยางอยู่ฝั่งตะวันออกหรือฝั่งภูตาจอ
จากนั้นเมื่อไม่นานมานี้ได้มีนักศึกษาจากลาดกระบังมาทำกิจกรรมแล้วมาพักอยู่ในชุมชน แล้วบังทั้งคู่ได้นำน้องๆนักศึกษาขึ้นมาชมทะเลหมอกบนยอดเขา พวกนักศึกษาจึงตั้งชื่อเขาลูกนี้ว่า “ภูไข่นุ้ย” ตามชื่อเล่นของบังไข่และบังนุ้ยซึ่งมีสวนยางอยู่ติดกับพื้นที่ยอดเขา
ครั้นเมื่อเขาลูกนี้เปิดตัวเป็นแหล่งท่องเที่ยวจุดชมทะเลหมอกอันสวยงามแห่งใหม่ในภาคใต้ ทางผู้ว่าราชการจังหวัดพังงาได้มีโอกาสมาสำรวจยอดเขาลูกนี้เพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว จึงได้เสนอแนะทางอบต.ทุ่งมะพร้าวว่า น่าจะเปลี่ยนชื่อเป็น “เขาไข่นุ้ย” เพราะชื่อภูนั้นฟังออกไปทางภาคอีสาน ภาคเหนือมากกว่า
สำหรับในช่วงกลางดึกของคืนวันนั้น ระหว่างที่พวกเราพูดคุยกันอย่างออกรส จู่ๆก็มีสายหมอกขาวโพลนลอยละลิ่วปลิวฟุ้งมาปกคลุมอย่างหนาแน่นไปทั่วบริเวณ ชนิดที่หากนั่งห่างกันออกไปแค่ประมาณ 5 เมตรก็ไม่สามารถมองเห็นหน้าคร่าตากันได้แล้ว
ละอองหมอกที่ปลิวฟุ้งในค่ำคืนนั้นมันทำให้ผมมุดเข้าเต็นท์นอนตาหลับ ด้วยเปี่ยมไปด้วยความหวังว่าเช้าวันรุ่งขึ้น บนยอดเขาไข่นุ้ยจะมีทะเลหมอกให้ยลกัน ไม่มากก็น้อย
เขาไข่นุ้ย ทะเลหมอกสุดเจ๋ง
เวลาประมาณ 6 โมงเช้าของวันใหม่ ผมมุดเต็นท์ออกมาไล่เลี่ยกับนักท่องเที่ยวคนอื่นๆที่มาพักค้างแรมบนยอดเขาไข่นุ้ย ขณะที่มีนักท่องเที่ยวอีกหลายคนได้เดินทางจากพื้นล่างขึ้นมาสมทบเพื่อเฝ้ารอชมทะเลหมอกบนยอดเขาแห่งนี้
แล้วช่วงเวลาไม่นานเกินรอ ท้องฟ้าก็ค่อยๆไล่โทนสว่างขึ้น เบื้องหน้าทางฝั่งตะวันออก มองลงไปเห็นทะเลหมอกขาวโพลนลอยอ้อยอิ่งปกคลุมทิวเขาน้อยใหญ่ โดยมีเขาลูกสูงๆโผล่แพลมพ้นยอดออกมา มองเห็นเป็นมิติไล่ระดับเป็นชั้นๆซ้อนกันไปท่ามกลางทองฟ้าสีทองไล่เฉดโทน สาดส่องแสงลงไปอาบไล้มวลหมู่ทะเลหมอกที่ลอยอยู่เบื้องล่างอย่างสวยงาม ดูปานประหนึ่งจุดเชื่อมระหว่างโลกมนุษย์กับสวรรค์ชั้นฟ้าเลยทีเดียว
สำหรับกลุ่มเขาลูกน้อยใหญ่ที่เห็นเบื้องหน้า มีแนวเขาลำแก่น เขากะปง เขาพังงา และแนวเทือกเขาภูตาจอที่ตั้งตระหง่านอยู่ในแนวหลังมองเห็นเด่นสุด ซึ่งยอดภูตาจอ(ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโตนปริวรรต)นั้น ได้ชื่อว่าเป็นอีกหนึ่งจุดชมทะเลหมอกที่สวยงามในอันดับต้นๆของภาคใต้ ที่วันนี้ถูกเทียบชั้นด้วยแหล่งท่องเที่ยวน้องใหม่อย่างเขาไข่นุ้ยที่มีความงามสูสีกัน(ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคน) เพียงแต่ว่าเขาไข่นุ้ยนั้นเตี้ยกว่า ขึ้นไปสะดวกกว่า
บนยอดเขาไข่นุ้ยมีจุดชมวิวทะเลหมอกอยู่ 2 จุด จุดบนมองเห็นได้ในมุมกว้างไกล ส่วนจุดล่างมีต้นไม้ขึ้นเป็นฉากหน้า และมีป้ายให้ถ่ายรูป ส่วนทิวทัศน์โดยรวมนั้นมองเห็นคล้ายๆกัน แตกต่างกันในรายละเอียดนิดหน่อย
เหตุที่เขาไข่นุ้ยแม้จะเป็นเขาลูกเตี้ยๆ แต่ว่ามีหมอกเยอะ มีทะเลหมอกอย่างหนาแน่นให้สัมผัสกันนั้น “กิติศักดิ์ ใจเย็น” หรือ “โจ” เลขาฯอบต.ทุ่งมะพร้าว ผู้ขึ้น-ลง เขาไข่นุ้ยมานับสิบๆครั้ง ให้ข้อมูลกับผมว่า บริเวณที่เห็นทะเลหมอกในเบื้องหน้านั้นเป็นช่องเขาขนาดใหญ่ ล้อมรอบด้วยภูเขาใหญ่ๆตามที่กล่าวมาข้างต้น ถือเป็นจุดรวมของหมอกชั้นดี
“ทะเลหมอกบนเขาไข่นุ้ยจะเปลี่ยนรูปทรงอยู่เรื่อยๆไปตามกระแสลม ส่วนโอกาสในการพบทะเลหมอกในทุกๆเช้านั้นมีมากถึง 80% มากน้อยต่างกันไป ดูสวยงามแตกต่างกันแล้วแต่คนชอบ และสามารถชมทะเลหมอกได้ทุกฤดู อย่างฤดูร้อนที่ใครคิดว่าจะไม่มีหมอก บนยอดเขาไข่นุ้ยก็มีหมอกให้สัมผัสกันอย่างที่เห็น”
โจบอกกับผม พร้อมๆกับตั้งข้อสังเกตอีกว่า บริเวณใต้ดินเหนือทะเลหมอกน่าจะมีสายแร่เยอะ เพราะในอดีตคนสมัยก่อนแถวนี้มีวิธีดูว่าบริเวณไหนถ้ามีหมอกเยอะ ใต้ดินบริเวณนั้นจะมีแร่เยอะ
เรื่องนี้จริงเท็จอย่างไรผมมิอาจรู้ได้ รู้แต่ว่าภาพเบื้องหน้าของผม หากถ่ายภาพแล้วนำไปให้คนอื่นดูโดยไม่บอกสถานที่ บอกจังหวัด หลายคนคงเดาผิด คิดว่าเป็นทะเลหมอกหน้าหนาวตามขุนเขาภูดอยทางภาคเหนือ ภาคอีสาน หรือไม่ถ้าเป็นใกล้กรุงฯ ก็แถวมวกเหล็ก ปากช่อง วังน้ำเขียว หรือแก่งกระจาน
แต่นี่ไม่น่าเชื่อว่าภาพที่เห็นมันเกิดขึ้นที่จังหวัดพังงาแถมเป็นในช่วงหน้าร้อนอีกต่างหาก
นับว่าเขาไข่นุ้ยเป็นบรรยากาศของพังงาไม่น่าเชื่อ ที่หากใครได้ไปสัมผัสทะเลหมอกอันสวยงามบนยอดเขาแห่งนี้แล้ว
แม้จะไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ
*****************************************
เขาไข่นุ้ย ตั้งอยู่ที่ บ้านฝายท่า ต.ทุ่งมะพร้าว อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา โดยทางอบต.ทุ่งมะพร้าวมีโครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ด้วยการปรับพื้นที่ จัดแต่งภูมิทัศน์ให้เหมาะสม ปรับแต่งลานการเต็นท์ จัดสร้างห้องน้ำ ห้องอาบน้ำ และไฟส่องสว่าง
การขึ้นยอดเขาไข่นุ้ย เมื่อการบริหารจัดการเข้าที่เข้าทาง ทางอบต.ทุ่งมะพร้าวจะกำหนดให้ใช้บริการรถของชุมชนเพื่อเป็นการกระจายรายได้ โดยให้นักท่องเที่ยวมาต่อรถ เปลี่ยนรถ ที่อบต. แล้วเดินทางด้วยรถโฟล์วีลขึ้นสู่ยอดเขา ในอัตราค่ารถขึ้น-ลงคนละ 100 บาท(เที่ยวละ 50 บาท) หรือหากเหมาคิดคันละ 500 บาท นั่งได้ 6 คน
การพักค้างบนยอดเขาไข่นุ้ย ปัจจุบันทางอบต.ทุ่งมะพร้าว มีเต็นท์ให้เช้าจำนวนหนึ่ง ส่วนอาหาร น้ำดื่ม ต้องเตรียมขึ้นไปเอง ทั้งนี้ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อบต.ทุงมะพร้าว 076-445-218 หรือที่ 084-309-9222
สำหรับผู้สนใจสัมผัสกับสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆในจังหวัดพังงาเชื่อมโยงกับเขาไข่นุ้ย สามารถสอบถามข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร ได้ที่ ศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยวจังหวัดพังงา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) โทร.0-7648-1900-2
พูดถึงทะเลหมอก ใครและใครหลายคนมักนึกถึงจุดชมทะเลหมอกบนขุนเขา ภูดอย ในภาคเหนือภาคอีสาน
พูดถึงทะเลหมอก ใครและใครหลายคนมักนึกถึงช่วงหน้าหนาว เพราะช่วงนี้มีทะเลหมอกแสนงามให้ชมกัน
แต่ประทานโทษ!!! การไปชมทะเลหมอกของผมในทริปนี้ สวนทางกับข้อความข้างต้นโดยสิ้นเชิง
เพราะผมเลือกไปชมทะเลหมอกที่ภาคใต้ในจังหวัดพังงา และไปในช่วงหน้าร้อนที่อากาศร้อนระยับ ดูๆแล้วไม่น่าเชื่อ ซึ่งตอนแรกผมก็ไม่เชื่อเหมือนกัน หากไม่ได้ไปสัมผัสมากับตัวของตัวเอง
จากอบต.สีชมพูสู่เขาไข่นุ้ย
จังหวัดพังงานั้นมีแหล่งท่องเที่ยวเด่นดังด้านทะเล แต่การล่องใต้มาพังงาในครั้งนี้ หนึ่งในเป้าหมายหลักของผมกลับเป็นการไปชมทะเลหมอกอันชวนทึ่งบน “เขาไข่นุ้ย” แห่งบ้านฝายท่า ต.ทุ่งมะพร้าว อ.ท้ายเหมือง
เขาไข่นุ้ย เป็นแหล่งท่องเที่ยวน้องใหม่มาแรง(มาก) เพิ่งเปิดตัวให้เที่ยวอย่างไม่เป็นทางการเมื่อเร็วๆนี้ ซึ่งทางจังหวัดพังงา กับศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยวจังหวัดพังงา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้ร่วมแรงกันผลักดัน หวังให้แจ้งเกิดเป็นหนึ่งในจุดชมทะเลหมอกชื่อดังของภาคใต้ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเที่ยวพังงาควบคู่ไปกับการเที่ยวทะเลอันเลื่องชื่อของจังหวัดนี้
สำหรับการขึ้นไปเที่ยวชมทะเลหมอกบนยอดเขาไข่นุ้ยของผม เริ่มต้นขึ้นที่ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งมะพร้าว ที่มีอาคารที่ทำการดูกิ๊บเก๋มากเป็นสีชมพูสดใส จนหลายๆคนเรียกว่า “อบต.สีชมพู”
อบต.ทุ่งมะพร้าวเป็นหน่วยงานหลักที่ทำหน้าที่จัดกิจกรรมท่องเที่ยวชุมชน พาขึ้นไปสัมผัสกับความงามบนยอดเขาไข่นุ้ย ซึ่งนี่เป็นแค่ช่วงเริ่มต้นตั้งไข่ของการบริหารจัดการ หลายสิ่งหลายอย่างอาจยังไม่เข้าที่เข้าทาง แต่ดูจากความตั้งใจของพี่ๆทีมงาน อบต. ทุ่งมะพร้าวแล้ว น่าจะไปได้สวย ถ้าสามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้ชุมชนได้ในเรื่องของเงินและผลประโยชน์ที่จะตามมาในอนาคตหลังเขาไข่นุ้ยโด่งดัง เพราะต้องยอมรับความจริงๆที่ผ่านมามีหลายๆชุมชนที่มีศักยภาพสูงทางการท่องเที่ยว แต่ว่าพอผลประโยชน์เข้ามา เม็ดเงินเข้ามาแล้วทำให้ชาวบ้านขัดแย้ง แตกแยก จน
วิถีชุมชนเสียศูนย์ไป
อบต.ทุ่งมะพร้าว ปัจจุบันมี “ศุภศักดิ์ โภคบุตร” เป็นนายกอบต. โดยคุณศุภศักดิ์ได้ให้ข้อมูลของเขาไข่นุ้ยกับผมเป็นการเรียกน้ำย่อยก่อนขึ้นไปสัมผัสของจริง ว่า เขาไข่นุ้ยเดิมเป็นพื้นที่ทำสวนยางของชาวบ้าน พวกเขาเห็นทะเลหมอกกันจนชินตา แต่ไม่คิดว่ามันจะกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ จนเมื่อทางอบต.ไปพบและทำการประชาสัมพันธ์ออกไปก็ได้รับการตอบรับอย่างดีเยี่ยม
“เขาไข่นุ้ยมีจุดเด่นอยู่ที่ 5 มหัศจรรย์ คือ 1.พระอาทิตย์ขึ้น 2.พระอาทิตย์ตก 3.ทะเลหมอก 4.ทะเลอันดามัน และ 5.ทิวเขา”
นายกอบต.ทุ่งมะพร้าว ให้ข้อมูลอีกว่า จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของเขาไข่นุ้ยคือสามารถเดินทางขึ้นไปชมทะเลหมอกบนยอดเขาได้ไม่ยาก เพราะเขาไข่นุ้ยอยู่ห่างจากที่ทำการอบต.ทุ่งมะพร้าวแค่ 4 กม. เป็นถนนลูกรัง 3 กม. การเดินทางต้องใช้รถขับเคลื่อน 4 ล้อขับขึ้นไป เพราะมี 2 ช่วงสุดท้ายก่อนถึงยังไม่ได้ปรับถนนเส้นทางจึงชันมาก แต่ก็เป็นแค่ช่วงสั้นๆเท่านั้น จึงใช้เวลาเดินทางจากที่ทำการอบต.ขึ้นไปไม่นาน
นั่นจึงทำให้นักท่องเที่ยวสามารถเลือกพักที่ด้านล่างและเดินทางขึ้นไปชมทะเลหมอกในตอนเช้ามืดได้(มีคนนิยมทำแบบนี้กันพอสมควร) แต่คุณศุภศักดิ์บอกกับผมว่า ถ้าขึ้นไปค้างแรมแบบแคมป์ปิ้งบนยอดเขาไข่นุ้ยจะได้อรรถรส ได้บรรยากาศมากกว่า
แล้วการออกผจญยอดเขาไข่ยุ้ยก็เริ่มขึ้นในช่วงเย็นของวันนั้น
จากอบต. สีชมพู ผมใช่เวลาแค่ประมาณครึ่งชั่วโมงก็มาถึงบนยอดเขาไข่นุ้ย บนนี้สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ของทิวเขาเบื้องหน้าได้อย่างกว้างไกล ให้ความรู้สึกคล้ายกับว่าผมกำลังยืนอยู่บนที่สูงนับพันเมตร แต่นายกอบต. ทุ่งมะพร้าวบอกกับผมว่า บนนี้สูงแค่ 280 กว่าเมตรเท่านั้น(อ้างอิงจากการวัดระดับความสูงของเจ้าหน้าที่ป่าไม้)
อืม...ยอดเขาสูงแค่นี้ แถมรอบข้างยังเป็นสวนยางอีกต่างหาก แล้วมันจะมีทะเลหมอกให้เห็นหรือ...สงสัยจะขึ้นมาฟรีหรือเปล่า...งานนี้ผมอดคิดในใจไม่ได้
แต่ไม่เห็นทะเลหมอกก็ไม่เป็นไร เพราะภาพดวงตะวันลาลับขอบฟ้าของที่นี่ในเย็นวันนั้นถือว่าใช้ได้ พระอาทิตย์ดวงกลมโตค่อยๆลาหายเข้าไปในกลีบเมฆ ท่ามกลางองค์ประกอบของทิวทัศน์ที่มองลงไปเห็นทะเลอันดามัน มีเขาหน้ายักษ์ทอดตัวขวางหน้าอีกที ซึ่งถ้าวันไหนท้องฟ้าเปิดเป็นใจ คุณศุภศักดิ์บอกว่าสามารถมองเห็นไปถึงเกาะสิมิลันเลยทีเดียว
เขาไข่นุ้ย ชื่อนี้ได้แต่ใดมา
หลังพระอาทิตย์ลาลับ ความมืดย่างกรายเข้ามาเยี่ยมเยือน
บนยอดเขาไข่นุ้ยมีจุดกางเต็นท์ให้เลือกทั้งที่เป็นลานโล่ง หรือในสวนยางที่มีความเป็นส่วนตัวได้บรรยากาศแตกต่างไปอีกแบบ
ใครใคร่นอนในทำเลแบบไหนก็สามารถเลือกเอาได้ตามสะดวก โดยทั้ง 2 จุด มีห้องน้ำลำลองไว้บริการ ให้ปลดทุกข์ หนัก - เบา ส่วนเรื่องการอาบน้ำนั้นยังไม่พร้อม แต่ไม่ต้องอาบหรอกครับ เพราะไม่น่าเชื่อว่าในหน้าร้อนที่อากาศเบื้องล่างร้อนระยับ บนยอดเขาเตี้ยๆลูกนี้ในยามค่ำคืนกลับมีอากาศเย็นระยับ ยิ่งผสมกับสายลมแรงลมที่พัดกระโชก ทำให้ในค่ำคืนนั้นบนยอดเขาไข่นุ้ยมีอากาศหนาวยะเยือกในระดับน้องๆของยอดดอยสูงๆในภาคเหนือ
เมื่อได้ที่ทางกางเต็นท์ เก็บสัมภาระกันเรียบร้อยแล้ว พวกเรามานั่งหม่ำอาหารกัน
ให้หายหิว หลังจากนั้นก็นั่งสังสรรค์พูดคุยกันใต้ม่านฟ้าท่ามกลางแสงดาวที่พราวพร่าง
ระหว่างนั้นมีคุณลุงคนหนึ่งเข้ามาร่วมพูดคุยด้วย ชาวบ้านในวงเรียกแกว่า“บังไข่” พร้อมกับบอกกับผมว่า ยังขาด“บังนุ้ย”อีกคน นี่ถ้ามาครบทั้งคู่ ใช่เลย “เขาไข่นุ้ย”
หะแรกผมนึกว่าชาวบ้านคนนั้นพูดเล่น แต่คล้อยหลังไปสักพักคุณลุงที่ชาวบ้านเรียกว่าบังนุ้ยได้เดินเข้ามาร่วมวงด้วยเหมือนมีใครเขียนบทไว้
แล้วทั้งบังไข่กับบังนุ้ยก็ได้เล่าตำนานที่มาของชื่อเขาไข่นุ้ยให้ผมฟังว่า แต่ก่อนเขาลูกนี้ไม่มีชื่อเรียก เป็นพื้นที่สวนยางของชาวบ้าน บังไข่ หรือ “ศักดิ์ แคล่วคลอง” มีพื้นที่สวนยางอยู่ฝั่งตะวันตกหรือฝั่งทะเลอันดามัน ส่วนบังนุ้ย หรือ “นุ้ย นิ่งราวี” มีพื้นที่สวนยางอยู่ฝั่งตะวันออกหรือฝั่งภูตาจอ
จากนั้นเมื่อไม่นานมานี้ได้มีนักศึกษาจากลาดกระบังมาทำกิจกรรมแล้วมาพักอยู่ในชุมชน แล้วบังทั้งคู่ได้นำน้องๆนักศึกษาขึ้นมาชมทะเลหมอกบนยอดเขา พวกนักศึกษาจึงตั้งชื่อเขาลูกนี้ว่า “ภูไข่นุ้ย” ตามชื่อเล่นของบังไข่และบังนุ้ยซึ่งมีสวนยางอยู่ติดกับพื้นที่ยอดเขา
ครั้นเมื่อเขาลูกนี้เปิดตัวเป็นแหล่งท่องเที่ยวจุดชมทะเลหมอกอันสวยงามแห่งใหม่ในภาคใต้ ทางผู้ว่าราชการจังหวัดพังงาได้มีโอกาสมาสำรวจยอดเขาลูกนี้เพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว จึงได้เสนอแนะทางอบต.ทุ่งมะพร้าวว่า น่าจะเปลี่ยนชื่อเป็น “เขาไข่นุ้ย” เพราะชื่อภูนั้นฟังออกไปทางภาคอีสาน ภาคเหนือมากกว่า
สำหรับในช่วงกลางดึกของคืนวันนั้น ระหว่างที่พวกเราพูดคุยกันอย่างออกรส จู่ๆก็มีสายหมอกขาวโพลนลอยละลิ่วปลิวฟุ้งมาปกคลุมอย่างหนาแน่นไปทั่วบริเวณ ชนิดที่หากนั่งห่างกันออกไปแค่ประมาณ 5 เมตรก็ไม่สามารถมองเห็นหน้าคร่าตากันได้แล้ว
ละอองหมอกที่ปลิวฟุ้งในค่ำคืนนั้นมันทำให้ผมมุดเข้าเต็นท์นอนตาหลับ ด้วยเปี่ยมไปด้วยความหวังว่าเช้าวันรุ่งขึ้น บนยอดเขาไข่นุ้ยจะมีทะเลหมอกให้ยลกัน ไม่มากก็น้อย
เขาไข่นุ้ย ทะเลหมอกสุดเจ๋ง
เวลาประมาณ 6 โมงเช้าของวันใหม่ ผมมุดเต็นท์ออกมาไล่เลี่ยกับนักท่องเที่ยวคนอื่นๆที่มาพักค้างแรมบนยอดเขาไข่นุ้ย ขณะที่มีนักท่องเที่ยวอีกหลายคนได้เดินทางจากพื้นล่างขึ้นมาสมทบเพื่อเฝ้ารอชมทะเลหมอกบนยอดเขาแห่งนี้
แล้วช่วงเวลาไม่นานเกินรอ ท้องฟ้าก็ค่อยๆไล่โทนสว่างขึ้น เบื้องหน้าทางฝั่งตะวันออก มองลงไปเห็นทะเลหมอกขาวโพลนลอยอ้อยอิ่งปกคลุมทิวเขาน้อยใหญ่ โดยมีเขาลูกสูงๆโผล่แพลมพ้นยอดออกมา มองเห็นเป็นมิติไล่ระดับเป็นชั้นๆซ้อนกันไปท่ามกลางทองฟ้าสีทองไล่เฉดโทน สาดส่องแสงลงไปอาบไล้มวลหมู่ทะเลหมอกที่ลอยอยู่เบื้องล่างอย่างสวยงาม ดูปานประหนึ่งจุดเชื่อมระหว่างโลกมนุษย์กับสวรรค์ชั้นฟ้าเลยทีเดียว
สำหรับกลุ่มเขาลูกน้อยใหญ่ที่เห็นเบื้องหน้า มีแนวเขาลำแก่น เขากะปง เขาพังงา และแนวเทือกเขาภูตาจอที่ตั้งตระหง่านอยู่ในแนวหลังมองเห็นเด่นสุด ซึ่งยอดภูตาจอ(ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโตนปริวรรต)นั้น ได้ชื่อว่าเป็นอีกหนึ่งจุดชมทะเลหมอกที่สวยงามในอันดับต้นๆของภาคใต้ ที่วันนี้ถูกเทียบชั้นด้วยแหล่งท่องเที่ยวน้องใหม่อย่างเขาไข่นุ้ยที่มีความงามสูสีกัน(ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคน) เพียงแต่ว่าเขาไข่นุ้ยนั้นเตี้ยกว่า ขึ้นไปสะดวกกว่า
บนยอดเขาไข่นุ้ยมีจุดชมวิวทะเลหมอกอยู่ 2 จุด จุดบนมองเห็นได้ในมุมกว้างไกล ส่วนจุดล่างมีต้นไม้ขึ้นเป็นฉากหน้า และมีป้ายให้ถ่ายรูป ส่วนทิวทัศน์โดยรวมนั้นมองเห็นคล้ายๆกัน แตกต่างกันในรายละเอียดนิดหน่อย
เหตุที่เขาไข่นุ้ยแม้จะเป็นเขาลูกเตี้ยๆ แต่ว่ามีหมอกเยอะ มีทะเลหมอกอย่างหนาแน่นให้สัมผัสกันนั้น “กิติศักดิ์ ใจเย็น” หรือ “โจ” เลขาฯอบต.ทุ่งมะพร้าว ผู้ขึ้น-ลง เขาไข่นุ้ยมานับสิบๆครั้ง ให้ข้อมูลกับผมว่า บริเวณที่เห็นทะเลหมอกในเบื้องหน้านั้นเป็นช่องเขาขนาดใหญ่ ล้อมรอบด้วยภูเขาใหญ่ๆตามที่กล่าวมาข้างต้น ถือเป็นจุดรวมของหมอกชั้นดี
“ทะเลหมอกบนเขาไข่นุ้ยจะเปลี่ยนรูปทรงอยู่เรื่อยๆไปตามกระแสลม ส่วนโอกาสในการพบทะเลหมอกในทุกๆเช้านั้นมีมากถึง 80% มากน้อยต่างกันไป ดูสวยงามแตกต่างกันแล้วแต่คนชอบ และสามารถชมทะเลหมอกได้ทุกฤดู อย่างฤดูร้อนที่ใครคิดว่าจะไม่มีหมอก บนยอดเขาไข่นุ้ยก็มีหมอกให้สัมผัสกันอย่างที่เห็น”
โจบอกกับผม พร้อมๆกับตั้งข้อสังเกตอีกว่า บริเวณใต้ดินเหนือทะเลหมอกน่าจะมีสายแร่เยอะ เพราะในอดีตคนสมัยก่อนแถวนี้มีวิธีดูว่าบริเวณไหนถ้ามีหมอกเยอะ ใต้ดินบริเวณนั้นจะมีแร่เยอะ
เรื่องนี้จริงเท็จอย่างไรผมมิอาจรู้ได้ รู้แต่ว่าภาพเบื้องหน้าของผม หากถ่ายภาพแล้วนำไปให้คนอื่นดูโดยไม่บอกสถานที่ บอกจังหวัด หลายคนคงเดาผิด คิดว่าเป็นทะเลหมอกหน้าหนาวตามขุนเขาภูดอยทางภาคเหนือ ภาคอีสาน หรือไม่ถ้าเป็นใกล้กรุงฯ ก็แถวมวกเหล็ก ปากช่อง วังน้ำเขียว หรือแก่งกระจาน
แต่นี่ไม่น่าเชื่อว่าภาพที่เห็นมันเกิดขึ้นที่จังหวัดพังงาแถมเป็นในช่วงหน้าร้อนอีกต่างหาก
นับว่าเขาไข่นุ้ยเป็นบรรยากาศของพังงาไม่น่าเชื่อ ที่หากใครได้ไปสัมผัสทะเลหมอกอันสวยงามบนยอดเขาแห่งนี้แล้ว
แม้จะไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ
*****************************************
เขาไข่นุ้ย ตั้งอยู่ที่ บ้านฝายท่า ต.ทุ่งมะพร้าว อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา โดยทางอบต.ทุ่งมะพร้าวมีโครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ด้วยการปรับพื้นที่ จัดแต่งภูมิทัศน์ให้เหมาะสม ปรับแต่งลานการเต็นท์ จัดสร้างห้องน้ำ ห้องอาบน้ำ และไฟส่องสว่าง
การขึ้นยอดเขาไข่นุ้ย เมื่อการบริหารจัดการเข้าที่เข้าทาง ทางอบต.ทุ่งมะพร้าวจะกำหนดให้ใช้บริการรถของชุมชนเพื่อเป็นการกระจายรายได้ โดยให้นักท่องเที่ยวมาต่อรถ เปลี่ยนรถ ที่อบต. แล้วเดินทางด้วยรถโฟล์วีลขึ้นสู่ยอดเขา ในอัตราค่ารถขึ้น-ลงคนละ 100 บาท(เที่ยวละ 50 บาท) หรือหากเหมาคิดคันละ 500 บาท นั่งได้ 6 คน
การพักค้างบนยอดเขาไข่นุ้ย ปัจจุบันทางอบต.ทุ่งมะพร้าว มีเต็นท์ให้เช้าจำนวนหนึ่ง ส่วนอาหาร น้ำดื่ม ต้องเตรียมขึ้นไปเอง ทั้งนี้ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อบต.ทุงมะพร้าว 076-445-218 หรือที่ 084-309-9222
สำหรับผู้สนใจสัมผัสกับสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆในจังหวัดพังงาเชื่อมโยงกับเขาไข่นุ้ย สามารถสอบถามข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร ได้ที่ ศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยวจังหวัดพังงา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) โทร.0-7648-1900-2