โดย : หนุ่มลูกทุ่ง
การเลือกตั้งผู้ว่า กทม. เมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมาทำเอาหลายๆ คนลุ้นสุดตัวสุดใจ แต่ก็สรุปผลคะแนนออกมาแล้วว่า “คุณชาย” หรือ มรว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร เอาชนะเสาไฟฟ้า... เอ๊ย! ผู้สมัครรายอื่นๆ ได้ แม้ขณะนี้ มรว.สุขุมพันธุ์จะยังไม่ได้รับตำแหน่งผู้ว่า กทม. คนใหม่อย่างเป็นทางการเพราะยังไม่ผ่านการรับรองจาก กกต. แต่นั่นก็แสดงให้ใครบางคนเห็นแล้วว่า พลังของคนกรุงเทพฯ นั้นจะประมาทมิได้ ขณะที่หลังรับตำแหน่งทางคุณชายก็ต้องรีบเดินหน้าทำงานทันที อย่าให้ผู้คนที่เลือกมาเขาเอือม เพราะผลงานไม่ปรากฏ
ฉันเองแม้ไม่ได้เป็นคนกรุงเทพฯ แต่ทั้งอาศัยและทำงานอยู่ในกรุงเทพฯ ก็ร่วมลุ้นไปกับเขาด้วยอย่างใจจดจ่อ และเพื่อให้เข้ากับผลการเลือกตั้งที่ออกมา วันนี้ฉันเลยอยากพามาเยี่ยมบ้านคุณชายที่ “วังสวนผักกาด” แต่จะเรียกว่ามาเยี่ยมคงจะไม่ถูก เพราะแท้จริงแล้วฉันตั้งใจมาที่วังสวนผักกาดนี้เพื่อชมโบราณวัตถุล้ำค่าที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่งที่ “พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด” ด้วยอีกเหตุผลหนึ่ง เผื่อเป็นทางเลือกให้คนที่สนใจตามมาเที่ยวในวันหยุดเสาร์อาทิตย์
“วังสวนผักกาด” ก่อนที่จะเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์อย่างในปัจจุบัน แต่เดิมเคยเป็นสถานที่ประทับของ พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต และ ม.ร.ว.พันธุ์ทิพย์ บริพัตร พระชายา ซึ่งพระองค์เจ้าจุมภฏฯ นี้เป็นพระโอรสของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ท่านเจ้าของวังบางขุนพรหม และยังเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 อีกด้วย นอกจากนั้นยังถือเป็นพระปิตุลา หรือลุงของ มรว.สุขุมพันธุ์อีกด้วย ส่วนเหตุที่วังแห่งนี้ได้ชื่อว่าวังสวนผักกาด ก็เนื่องจากพื้นที่นี้เดิมเคยเป็นสวนผักกาดเก่าของคนจีนมาก่อนนั่นเอง
ด้วยนิสัยและความรักในการเก็บสะสมโบราณวัตถุของท่านเจ้าของบ้านทั้งสองพระองค์ ทำให้วังสวนผักกาดเป็นที่รวบรวมงานศิลปะและโบราณวัตถุชิ้นสำคัญๆ ทั้งของไทยและของโลกไว้จำนวนมาก และทั้งสองพระองค์ก็ได้เปิดวังให้บุคคลภายนอกเข้าชมในขณะที่ท่านเจ้าของยังคงใช้เป็นที่พำนักนับแต่ปี 2495 เป็นต้นมา โดย ม.ร.ว.พันธุ์ทิพย์ หรือ “คุณท่าน” เชื่อว่าโบราณวัตถุที่ท่านสะสมไม่ได้เป็นแค่ทรัพย์สินของท่านแต่ท่านถือว่าโบราณวัตถุเหล่านี้เป็นมรดกตกทอดของมนุษยชาติ ท่านจึงไม่ควรเก็บไว้ชมเพียงผู้เดียว และเปิดโอกาสให้คนอื่นสามารถเข้ามาชมโบราณวัตถุในบ้านของตนได้
ส่วนพระองค์เจ้าจุมภฏฯ หรือ “เสด็จในกรมฯ” ก็ทรงโปรดปรานเครื่องประดับเรือนเป็นอย่างยิ่ง พระองค์จึงทรงตกแต่งตำหนัก ด้วยโบราณวัตถุหลายประเภทที่จะทรงหาได้ทั้งจากในและนอกประเทศ และหลังจากที่พระองค์สิ้นพระชนม์ลงในปี 2502 พระชายาจึงได้อุทิศวังสวนผักกาดแห่งนี้แด่มูลนิธิจุมภฏ-พันทิพย์ เพื่อเป็นพิพิธภัณท์โบราณวัตถุ และเปิดให้บุคคลภายนอกเข้าชมได้นับแต่นั้นมา
เมื่อเข้ามาภายในพิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาดฉันก็ได้พบกับเรือนไทยโบราณ 8 หลัง ซึ่งเป็นส่วนจัดแสดงโบราณวัตถุและเครื่องเรือนเก่าแก่ล้ำค่า เรือนหลังที่ 1-4 จัดเป็นหมู่เรือนไทย เรือนหลังแรกมีทางเดินเชื่อมไปสู่เรือนหลังที่ 2 3 และ 4 ส่วนเรือนหลังที่ 5-8 ปลูกอยู่ห่างกันทางทิศตะวันตก
ฉันเริ่มชมเรือนไทยกลุ่มแรกคือหลังที่ 1-4 บนเรือนไทยหลังที่ 1 นั้นมีพระพุทธรูปงามหลายองค์ที่ไม่ควรพลาดชม ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธรูปปฏิมากรรม 3 องค์ อยู่ในปราสาทจำลองแกะสลักลายไทยลงรักติดกระจก ภายในปราสาทประดิษฐานพระพุทธรูปศิลปะอินเดีย คันธารราฐ พระพุทธรูปศิลปะสมัยอู่ทอง และพระพุทธรูปศิลปะพม่า ทั้ง 3 องค์ล้วนเก่าแก่แต่งดงามทรงคุณค่า
นอกจากนั้นก็ยังมีเทวรูปพระอุมา ศิลปะเขมรแบบสมโบร์ไพรกุก อายุประมาณ 1,300 ปี ได้มาจาก อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว ซึ่งเทวรูปพระอุมานี้เป็นศิลปะชิ้นเยี่ยมของพิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด อีกทั้งยังมีเทวรูปอรรธนารี ศิลปะเขมรแบบบายน เป็นร่างพระศิวะและพระอุมาในร่างเดียวกัน
เดินต่อไปยังเรือนหลังที่ 2 ซึ่งเป็นที่เก็บเครื่องใช้ส่วนพระองค์ของเสด็จในกรมฯ และคุณท่าน ด้านนอก จัดแสดงสัปคับ ตู้พระไตรปิฎก ลายรดน้ำสมัยอยุธยา บนฝาผนังติดตาลปัตรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับราชสกุลบริพัตร งาช้างแกะสลักลายไทย พานประดับมุก ตะลุ่มประดับมุก ตลับงาช้าง เป็นต้น
ฉันยังคงเดินชมโบราณวัตถุบนเรือนไทยหลังที่ 3 และ 4 อย่างเพลิดเพลิน ได้ชมทั้งเครื่องเบญจรงค์ เครื่องถมเงินถมทอง พระพุทธรูปสำริดสมัยต่างๆ ทั้งทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี สุโขทัย ผ้าพระบทพุทธประวัติ และหินสวยงามต่างๆ ฯลฯ
ย้อนกลับมาที่เรือนไทยหลังที่ 1 อีกครั้ง เพราะชั้นล่างของเรือนเป็นที่จัดแสดง "พิพิธภัณฑ์ดนตรี ทูลกระหม่อมบริพัตรฯ" ที่ภายในมีการจัดแสดงเครื่องดนตรีไทยในทูลกระหม่อมบริพัตรฯ ซึ่งพระองค์ได้รับการยกย่องให้เป็น "พระบิดาแห่งเพลงไทยสากล" โดยเครื่องดนตรีที่จัดแสดงอยู่ภายในห้องล้วนมีประวัติและความสำคัญที่น่าสนใจ ได้แก่ กลองโบราณขนาดใหญ่ ระนาด ฆ้อง และซอสามสาย
ส่วนเรือนไทยหลังอื่นๆก็มีการจัดแสดงที่น่าสนใจไม่แพ้เรือนไทยกลุ่มแรก ไม่ว่าจะเป็นเครื่องแก้วเจียระไน และเครื่องแก้วลายทอง และเหรียญกษาปณ์ต่างๆ ในเรือนไทยหลังที่ 5-6 พิพิธภัณฑ์โขนในเรือนไทยหลังที่ 7 และเครื่องปั้นดินเผายุคบ้านเชียงในเรือนไทยหลังที่ 8
และสำหรับสิ่งที่โดดเด่นไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวงในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ก็คือ "หอเขียน" ซึ่งตั้งอยู่บนสนามหญ้าทางทิศใต้ของวังสวนผักกาด ภายในหอเขียนประกอบไปด้วยภาพลายรดน้ำวาดเป็นเรื่องราวพุทธประวัติและเรื่องรามเกียรติ์ ถือเป็นสถาปัตยกรรมชิ้นเอกและเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติชิ้นสำคัญอีกด้วย
หอเขียนหลังนี้เสด็จในกรมฯได้นำสิ่งปลูกสร้างมาจากวัดบ้านกลิ้ง จ.พระนครศรีอยุธยา ในปี พ.ศ. 2501 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์ให้สถาปัตยกรรมของไทยคงอยู่ ภายหลังการซ่อมแซมและอนุรักษ์เสร็จเรียบร้อย เสด็จในกรมฯ ได้มอบเป็นของขวัญวันเกิดแก่ชายาของท่าน เนื่องในวันครบรอบอายุ 50 ปี โดยหอเขียนหลังนี้ถือเป็นสถาปัตยกรรมชิ้นเอกของพิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาดและเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ยังคงหลงเหลือให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาต่อไป
นอกจากนั้นแล้ว ที่วังสวนผักกาดแห่งนี้ยังมี "ห้องศิลปนิทรรศมารศี" ซึ่งเป็นส่วนจัดแสดงผลงานและกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมและนิทรรศการศิลปะหมุนเวียนตลอดปี และ "ห้องบ้านเชียง" จัดแสดงมรดกทางวัฒนธรรมแห่งสำคัญของไทยสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ทั้งสองส่วนนี้จัดแสดงอยู่ในศิลปาคารจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์ ไม่ควรพลาดชมเช่นเดียวกัน
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด เปิดให้เข้าชมทุกวัน ในเวลา 09.00-16.00 น. ยกเว้น วันที่ 8 มีนาคม และ 5 ธันวาคม ของทุกปี ราคาค่าเข้าชม คนไทย 50 บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท สามารถนั่งรถไฟฟ้ามาลงที่สถานีพญาไท ออกทางออกที่ 4 เดินตรงมาทางถนนศรีอยุธยาฝั่งโรงพยาบาลเดชามาประมาณ 300 ม. วังสวนผักกาดจะอยู่ทางขวามือ และมีรถประจำทางสาย 14, 72 ผ่าน หากขับรถมาเองด้านในมีที่จอดรถ สอบถามโทร. 0-2246-1775-6 ต่อ 229, 0-2245-4934 หรือที่ www.suanpakkad.com
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com
การเลือกตั้งผู้ว่า กทม. เมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมาทำเอาหลายๆ คนลุ้นสุดตัวสุดใจ แต่ก็สรุปผลคะแนนออกมาแล้วว่า “คุณชาย” หรือ มรว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร เอาชนะเสาไฟฟ้า... เอ๊ย! ผู้สมัครรายอื่นๆ ได้ แม้ขณะนี้ มรว.สุขุมพันธุ์จะยังไม่ได้รับตำแหน่งผู้ว่า กทม. คนใหม่อย่างเป็นทางการเพราะยังไม่ผ่านการรับรองจาก กกต. แต่นั่นก็แสดงให้ใครบางคนเห็นแล้วว่า พลังของคนกรุงเทพฯ นั้นจะประมาทมิได้ ขณะที่หลังรับตำแหน่งทางคุณชายก็ต้องรีบเดินหน้าทำงานทันที อย่าให้ผู้คนที่เลือกมาเขาเอือม เพราะผลงานไม่ปรากฏ
ฉันเองแม้ไม่ได้เป็นคนกรุงเทพฯ แต่ทั้งอาศัยและทำงานอยู่ในกรุงเทพฯ ก็ร่วมลุ้นไปกับเขาด้วยอย่างใจจดจ่อ และเพื่อให้เข้ากับผลการเลือกตั้งที่ออกมา วันนี้ฉันเลยอยากพามาเยี่ยมบ้านคุณชายที่ “วังสวนผักกาด” แต่จะเรียกว่ามาเยี่ยมคงจะไม่ถูก เพราะแท้จริงแล้วฉันตั้งใจมาที่วังสวนผักกาดนี้เพื่อชมโบราณวัตถุล้ำค่าที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่งที่ “พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด” ด้วยอีกเหตุผลหนึ่ง เผื่อเป็นทางเลือกให้คนที่สนใจตามมาเที่ยวในวันหยุดเสาร์อาทิตย์
“วังสวนผักกาด” ก่อนที่จะเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์อย่างในปัจจุบัน แต่เดิมเคยเป็นสถานที่ประทับของ พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต และ ม.ร.ว.พันธุ์ทิพย์ บริพัตร พระชายา ซึ่งพระองค์เจ้าจุมภฏฯ นี้เป็นพระโอรสของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ท่านเจ้าของวังบางขุนพรหม และยังเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 อีกด้วย นอกจากนั้นยังถือเป็นพระปิตุลา หรือลุงของ มรว.สุขุมพันธุ์อีกด้วย ส่วนเหตุที่วังแห่งนี้ได้ชื่อว่าวังสวนผักกาด ก็เนื่องจากพื้นที่นี้เดิมเคยเป็นสวนผักกาดเก่าของคนจีนมาก่อนนั่นเอง
ด้วยนิสัยและความรักในการเก็บสะสมโบราณวัตถุของท่านเจ้าของบ้านทั้งสองพระองค์ ทำให้วังสวนผักกาดเป็นที่รวบรวมงานศิลปะและโบราณวัตถุชิ้นสำคัญๆ ทั้งของไทยและของโลกไว้จำนวนมาก และทั้งสองพระองค์ก็ได้เปิดวังให้บุคคลภายนอกเข้าชมในขณะที่ท่านเจ้าของยังคงใช้เป็นที่พำนักนับแต่ปี 2495 เป็นต้นมา โดย ม.ร.ว.พันธุ์ทิพย์ หรือ “คุณท่าน” เชื่อว่าโบราณวัตถุที่ท่านสะสมไม่ได้เป็นแค่ทรัพย์สินของท่านแต่ท่านถือว่าโบราณวัตถุเหล่านี้เป็นมรดกตกทอดของมนุษยชาติ ท่านจึงไม่ควรเก็บไว้ชมเพียงผู้เดียว และเปิดโอกาสให้คนอื่นสามารถเข้ามาชมโบราณวัตถุในบ้านของตนได้
ส่วนพระองค์เจ้าจุมภฏฯ หรือ “เสด็จในกรมฯ” ก็ทรงโปรดปรานเครื่องประดับเรือนเป็นอย่างยิ่ง พระองค์จึงทรงตกแต่งตำหนัก ด้วยโบราณวัตถุหลายประเภทที่จะทรงหาได้ทั้งจากในและนอกประเทศ และหลังจากที่พระองค์สิ้นพระชนม์ลงในปี 2502 พระชายาจึงได้อุทิศวังสวนผักกาดแห่งนี้แด่มูลนิธิจุมภฏ-พันทิพย์ เพื่อเป็นพิพิธภัณท์โบราณวัตถุ และเปิดให้บุคคลภายนอกเข้าชมได้นับแต่นั้นมา
เมื่อเข้ามาภายในพิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาดฉันก็ได้พบกับเรือนไทยโบราณ 8 หลัง ซึ่งเป็นส่วนจัดแสดงโบราณวัตถุและเครื่องเรือนเก่าแก่ล้ำค่า เรือนหลังที่ 1-4 จัดเป็นหมู่เรือนไทย เรือนหลังแรกมีทางเดินเชื่อมไปสู่เรือนหลังที่ 2 3 และ 4 ส่วนเรือนหลังที่ 5-8 ปลูกอยู่ห่างกันทางทิศตะวันตก
ฉันเริ่มชมเรือนไทยกลุ่มแรกคือหลังที่ 1-4 บนเรือนไทยหลังที่ 1 นั้นมีพระพุทธรูปงามหลายองค์ที่ไม่ควรพลาดชม ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธรูปปฏิมากรรม 3 องค์ อยู่ในปราสาทจำลองแกะสลักลายไทยลงรักติดกระจก ภายในปราสาทประดิษฐานพระพุทธรูปศิลปะอินเดีย คันธารราฐ พระพุทธรูปศิลปะสมัยอู่ทอง และพระพุทธรูปศิลปะพม่า ทั้ง 3 องค์ล้วนเก่าแก่แต่งดงามทรงคุณค่า
นอกจากนั้นก็ยังมีเทวรูปพระอุมา ศิลปะเขมรแบบสมโบร์ไพรกุก อายุประมาณ 1,300 ปี ได้มาจาก อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว ซึ่งเทวรูปพระอุมานี้เป็นศิลปะชิ้นเยี่ยมของพิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด อีกทั้งยังมีเทวรูปอรรธนารี ศิลปะเขมรแบบบายน เป็นร่างพระศิวะและพระอุมาในร่างเดียวกัน
เดินต่อไปยังเรือนหลังที่ 2 ซึ่งเป็นที่เก็บเครื่องใช้ส่วนพระองค์ของเสด็จในกรมฯ และคุณท่าน ด้านนอก จัดแสดงสัปคับ ตู้พระไตรปิฎก ลายรดน้ำสมัยอยุธยา บนฝาผนังติดตาลปัตรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับราชสกุลบริพัตร งาช้างแกะสลักลายไทย พานประดับมุก ตะลุ่มประดับมุก ตลับงาช้าง เป็นต้น
ฉันยังคงเดินชมโบราณวัตถุบนเรือนไทยหลังที่ 3 และ 4 อย่างเพลิดเพลิน ได้ชมทั้งเครื่องเบญจรงค์ เครื่องถมเงินถมทอง พระพุทธรูปสำริดสมัยต่างๆ ทั้งทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี สุโขทัย ผ้าพระบทพุทธประวัติ และหินสวยงามต่างๆ ฯลฯ
ย้อนกลับมาที่เรือนไทยหลังที่ 1 อีกครั้ง เพราะชั้นล่างของเรือนเป็นที่จัดแสดง "พิพิธภัณฑ์ดนตรี ทูลกระหม่อมบริพัตรฯ" ที่ภายในมีการจัดแสดงเครื่องดนตรีไทยในทูลกระหม่อมบริพัตรฯ ซึ่งพระองค์ได้รับการยกย่องให้เป็น "พระบิดาแห่งเพลงไทยสากล" โดยเครื่องดนตรีที่จัดแสดงอยู่ภายในห้องล้วนมีประวัติและความสำคัญที่น่าสนใจ ได้แก่ กลองโบราณขนาดใหญ่ ระนาด ฆ้อง และซอสามสาย
ส่วนเรือนไทยหลังอื่นๆก็มีการจัดแสดงที่น่าสนใจไม่แพ้เรือนไทยกลุ่มแรก ไม่ว่าจะเป็นเครื่องแก้วเจียระไน และเครื่องแก้วลายทอง และเหรียญกษาปณ์ต่างๆ ในเรือนไทยหลังที่ 5-6 พิพิธภัณฑ์โขนในเรือนไทยหลังที่ 7 และเครื่องปั้นดินเผายุคบ้านเชียงในเรือนไทยหลังที่ 8
และสำหรับสิ่งที่โดดเด่นไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวงในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ก็คือ "หอเขียน" ซึ่งตั้งอยู่บนสนามหญ้าทางทิศใต้ของวังสวนผักกาด ภายในหอเขียนประกอบไปด้วยภาพลายรดน้ำวาดเป็นเรื่องราวพุทธประวัติและเรื่องรามเกียรติ์ ถือเป็นสถาปัตยกรรมชิ้นเอกและเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติชิ้นสำคัญอีกด้วย
หอเขียนหลังนี้เสด็จในกรมฯได้นำสิ่งปลูกสร้างมาจากวัดบ้านกลิ้ง จ.พระนครศรีอยุธยา ในปี พ.ศ. 2501 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์ให้สถาปัตยกรรมของไทยคงอยู่ ภายหลังการซ่อมแซมและอนุรักษ์เสร็จเรียบร้อย เสด็จในกรมฯ ได้มอบเป็นของขวัญวันเกิดแก่ชายาของท่าน เนื่องในวันครบรอบอายุ 50 ปี โดยหอเขียนหลังนี้ถือเป็นสถาปัตยกรรมชิ้นเอกของพิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาดและเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ยังคงหลงเหลือให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาต่อไป
นอกจากนั้นแล้ว ที่วังสวนผักกาดแห่งนี้ยังมี "ห้องศิลปนิทรรศมารศี" ซึ่งเป็นส่วนจัดแสดงผลงานและกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมและนิทรรศการศิลปะหมุนเวียนตลอดปี และ "ห้องบ้านเชียง" จัดแสดงมรดกทางวัฒนธรรมแห่งสำคัญของไทยสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ทั้งสองส่วนนี้จัดแสดงอยู่ในศิลปาคารจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์ ไม่ควรพลาดชมเช่นเดียวกัน
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด เปิดให้เข้าชมทุกวัน ในเวลา 09.00-16.00 น. ยกเว้น วันที่ 8 มีนาคม และ 5 ธันวาคม ของทุกปี ราคาค่าเข้าชม คนไทย 50 บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท สามารถนั่งรถไฟฟ้ามาลงที่สถานีพญาไท ออกทางออกที่ 4 เดินตรงมาทางถนนศรีอยุธยาฝั่งโรงพยาบาลเดชามาประมาณ 300 ม. วังสวนผักกาดจะอยู่ทางขวามือ และมีรถประจำทางสาย 14, 72 ผ่าน หากขับรถมาเองด้านในมีที่จอดรถ สอบถามโทร. 0-2246-1775-6 ต่อ 229, 0-2245-4934 หรือที่ www.suanpakkad.com
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com