xs
xsm
sm
md
lg

สถาปัตยกรรมงดงาม ด้วยพระอัจฉริยภาพ ในรัชกาลที่ 9

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

พระอุโบสถวัดโสธรวรารามฯ สง่างามริมแม่น้ำบางปะกง
หนึ่งในพระราชกรณียกิจอันหลากหลายที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทำเพื่อชาติบ้านเมืองนั้น “งานช่าง” หรืองานด้านสถาปัตยกรรม ศิลปะ และการออกแบบ เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่พระองค์ทรงให้ความสำคัญ เนื่องจากงานสถาปัตยกรรมเหล่านี้ถือเป็นมรดกสำคัญของชาติ สะท้อนให้เห็นถึงความเจริญของชาติและจิตใจของคนไทย และยังจะเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดต่อไป

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประกอบพระราชภารกิจเกี่ยวกับโครงการสถาปัตยกรรมประเภทต่างๆ โดยทรงสนับสนุน และพระราชทานแนวคิดเพิ่มเติมในการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมและงานออกแบบต่างๆ หลายอย่างด้วยกัน ดังต่อไปนี้
อุโบสถวัดพระราม 9 เล็กเเละเรียบง่ายสื่อถึงความพอเพียง
พระอุโบสถวัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก วัดแห่งนี้เกิดขึ้นจากพระราชดำริเริ่มแรกของในหลวงที่ทรงให้แก้ปัญหาน้ำเน่าเสียด้วยวิธีการเติมอากาศที่บึงพระราม 9 ในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ต่อมาพระองค์ได้มีพระราชดำริเพิ่มเติมเพื่อจัดตั้งวัดพระราม 9 กาญจนาภิเษกเพื่อเป็นพุทธสถานในการประกอบกิจของสงฆ์ และเป็นศูนย์รวมจิตใจของราษฎรในการประกอบกิจกรรมต่างๆ

โครงสร้างของวัดออกแบบให้เป็นวัดขนาดเล็กในชุมชนเมืองที่ใช้งบประมาณที่ประหยัด ออกแบบโดยคำนึงถึงความเรียบง่ายและประโยชน์ใช้สอยสูงสุด สำหรับพระอุโบสถทาสีขาว มีลักษณะสถาปัตยกรรมสมัยโบราณผสมผสานกับสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ โดยได้ต้นเค้าของการออกแบบพระอุโบสถจากพระอุโบสถ 3 แห่ง ในสมัยรัตนโกสินทร์ ได้แก่ พระอุโบสถวัดราชาธิวาส กรุงเทพฯ พระอุโบสถวัดพระปฐมเจดีย์ นครปฐม และพระอุโบสถวัดเฉลิมพระเกียรติ นนทบุรี การสร้างวัดแห่งนี้เป็นไปตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีพระราชประสงค์ให้สร้างวัดเล็กๆ เพื่อเป็นแบบอย่างความพอดีและพอเพียง เป็นศูนย์รวมจิตใจของชุมชนที่ตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียง และเพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ตลอดจนกิจกรรมต่างๆในการเผยแพร่ศีลธรรมและจริยธรรมเพื่อการพัฒนาชุมชน อีกทั้งยังเป็นตัวอย่างในการประสานความร่วมมือระหว่าง ชุมชน-วัด-โรงเรียน อีกด้วย

พระอุโบสถวัดโสธรวรารามวรวิหาร จ.ฉะเชิงเทรา พระอุโบสถหลังใหม่ของวัดโสธรวรารามฯ นั้นงดงามเป็นที่เลื่องลือ โดยหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ได้เสด็จพระราชดำเนินมายังวัดโสธรวรารามวรวิหาร เพื่อทรงประกอบพิธีทางศาสนาเนื่องในวันวิสาขบูชา เมื่อปี 2509 พระองค์ทรงมีพระราชดำรัสว่า “ตั้งใจมานมัสการหลวงพ่อพุทธโสธรนานแล้ว ทำไมสร้างพระอุโบสถแบบนี้ไม่สมเกียรติหลวงพ่อพุทธโสธร ให้ปรับปรุงแก้ไขเสียใหม่” ทั้งยังโปรดเกล้าฯให้ปรับปรุงภูมิทัศน์ของโรงเรียนและอาคารหน้าพระอุโบสถให้สมเกียรติ
ศาลหลักเมืองกรุงเทพฯ
พระอุโบสถของวัดโสธรวรารามฯ มีรูปแบบสถาปัตยกรรมเป็นอาคารทรงไทยประยุกต์ หลังคาทรงเครื่องยอด ชนิดยอดทรงมณฑปแบบไทย ต่อเชื่อมด้วยวิหารทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ด้านข้างต่อเชื่อมด้วยอาคารรูปทรงอย่างเดียวกันกับพระวิหาร เป็นอาคารมุขเด็จ เมื่อประกอบกันเข้าแล้วจะเป็นอาคารแบบจตุรมุขทรงปราสาท ภายในตกแต่งด้วยภาพทะเลสีทันดรและจักรวาล นับเป็นสถาปัตยกรรมแนวใหม่ยุครัชกาลที่ 9 และมีคุณลักษณะต้องตามพระราชดำริ คือ ให้เป็นอาคารที่สมเกียรติกับหลวงพ่อพุทธโสธร มีความสง่างาม มีคุณค่าทางศิลปกรรม เหมาะสมที่จะเป็นพุทธสถาน เป็นถาวรวัตถุคู่บ้านคู่เมือง และให้เป็นสมบัติของชาติอันมีค่าในอนาคต

พระเมรุมาศสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 7 ณ ท้องสนามหลวง ในปี 2528 เป็นงานพระราชพิธีใหญ่อีกงานหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสำคัญในการรักษาและทำนุบำรุงศิลปสถาปัตยกรรมของชาติ โดยพระองค์ได้พระราชทานแนวพระราชดำริเพิ่มเติม ขอให้ดำเนินการโดยประหยัด แต่ให้ครบถ้วนตามขัตติยราชประเพณีและสมพระเกียรติพระบรมศพ อีกประการหนึ่งฐานพระเมรุมาศไม่ควรสูงนัก จะเป็นการลำบากแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ที่จะขึ้นถวายพระเพลิงพระบรมศพ ซึ่งเจริญพระชนมายุมากพระพรรษาด้วยกันหลายพระองค์ แสดงให้เห็นถึงการที่ทรงเข้าพระทัยในการออกแบบประโยชน์ใช้สอยให้เหมาะสมต่อผู้ใช้งานด้วย

พระเมรุมาศเป็นอาคารทรงปราสาทแบบจตุรมุข ยอดทรงมณฑปประกอบด้วยพรหมพักตร์ ยอดบนสุดประดิษฐานสัปตปฎลเศวตฉัตร ตัวอาคารประกอบด้วยชั้นฐานทักษิณ ส่วนหลังคาประกอบด้วยมุขทิศและเครื่องยอด ประดับตกแต่งด้วยลวดลายกระดาษทองย่นฉลุสาบสี หน้าบันประดับพระนามาภิไธยย่อ ร.พ. องค์พระเมรุเป็นอาคารโถง ตกแต่งด้วยม่านผาตาด มีฉากบังเพลิง ผนังภายนอกประดับลายกระดาษทองย่นฉลุลายสีแบบลงยา ผนังภายในใช้สีชมพูเป็นพื้นส่วนฐานทักษิณมีบันได 4 ทิศ ประดับด้วยรูปปั้นเทวดา ในท่านั่งบนแท่นเสาพนักลูกกรงระเบียงโดยรอบ
พระรูปของสมเด็จย่าในอุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ
ศาลหลักเมือง กรุงเทพฯ ศาลหลักเมืองนั้นสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 ในปี 2325 ตามประเพณีโบราณในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ก่อนที่จะสร้างเมืองจะต้องทำพิธีการยกเสาหลักเมืองในที่อันเป็นชัยภูมิสำคัญ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านเมืองที่จะสร้างขึ้น เป็นมิ่งขวัญแก่พสกนิกรสำหรับยึดถือทางจิตใจว่าบ้านเมืองที่สร้างขึ้นนั้น มีรากฐานฝังไว้อย่างแน่นอนแล้ว ให้บ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุขรุ่งเรืองสถาพรตลอดไป

ต่อมาในปี 2513 ศาลหลักเมืองทรุดโทรมลงมาก จึงมีการบูรณะต่อเติมดัดแปลงอาคารรูปศาลเป็นจตุรมุข และขยายบริเวณออกให้กว้างขวางขึ้น ส่วนยอดปรางค์นั้นรื้อลงทำใหม่ให้เข้ากับตัวศาล การบูรณะครั้งต่อมาทำขึ้นในคราวฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี เมื่อปี 2525 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพระราชพิธีสมโภชพระหลักเมืองตามโบราณราชประเพณี ในโอกาสนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ปรับปรุงศาลหลักเมืองและอาณาบริเวณรอบศาลหลักเมืองให้กว้างใหญ่งดงามเป็นสง่า สมกับเป็นที่ประดิษฐานแห่งเทพารักษ์ที่รักษาพระนครและเป็นที่เคารพสักการะของปวงชนชาวไทยมาช้านาน โดยการทำการแปลงลักษณะรูปศาลเสียใหม่เป็นแบบจตุรมุข ส่วนยอดปรางค์นั้นให้คงไว้เช่นเดิม

ศาลสมเด็จพระนเรศวร จ.หนองบัวลำภู สร้างขึ้นหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชกระแสรับสั่งต่อเหตุการณ์ผู้ก่อการร้ายบุกยึดสถานีตำรวจอำเภอหนองบัวลำภู ซึ่งขณะนั้นยังเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดอุดรธานี และทรงมีพระราชดำริให้สร้างศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราชขึ้น เพื่อปลุกปลอบขวัญและกำลังใจให้ชาวบ้านรักบ้านรักเมืองว่า “เมื่อครั้งโบราณ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา ได้เคยทรงกรีฑาทัพจากอยุธยาผ่านหนองบัวลำภูแห่งนี้ เพื่อไปทำศึกปกป้องบ้านเมือง”

จากแนวคิดตามพระราชดำริดังกล่าว ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จึงได้รับการออกแบบให้มีลักษณะคล้ายหอพระ หรือศาลที่ประดิษฐานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ประดิษฐานพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราชในท่ายืนขนาดเท่าพระองค์จริง
เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9
อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในเขตคลองสาน กรุงเทพฯ สร้างขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่ พ.ศ. 2536 ที่จะให้อนุรักษ์อาคารเก่าซึ่งมีลักษณะและที่ตั้งใกล้เคียง “บ้าน” ที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเคยประทับ จึงมีพระราชประสงค์ที่จะให้อนุรักษ์ไว้เป็นพิพิธภัณฑ์เทิดพระเกียรติ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และพัฒนาพื้นที่เป็นสวนสาธารณะระดับชุมชน

ภายในอุทยานฯ ยังมีพิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติซึ่งให้ความรู้และบอกเล่าเรื่องราวของสมเด็จย่าตั้งแต่ปฐมวัยและยังเป็นสามัญชนอาศัยอยู่ในย่านวัดอนงคาราม ก่อนจะเลื่อนฐานันดรศักดิ์มาเป็นพระราชชนนีของพระมหากษัตริย์ไทยถึงสองพระองค์ รวมทั้งจัดแสดงพระราชกรณียกิจ และพระราชจริยวัตรของสมเด็จย่าอีกด้วย

หอสมุดดนตรีเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 สร้างขึ้นเนื่องในวโรกาสเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คณะนักดนตรี วงดนตรี อ.ส. วันศุกร์ ได้รับพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้างหอสมุดดนตรีฯ ขึ้น โดยก่อสร้างอาคารเชื่อมกับอาคารห้องสมุดดนตรีทูลกระหม่อมสิรินธร ขยายออกไปทางทิศตะวันตก เพื่อเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าเพลงพระราชนิพนธ์และพระราชกรณียกิจด้านดนตรี ตลอดจนรวบรวมแผ่นเสียงแถบบันทึกเสียง แผ่นซีดี วีดิทัศน์ รวมทั้งสื่อโสตทัศนูปกรณ์ อื่นๆ และโน้ตเพลงพระราชนิพนธ์ที่สมบูรณ์ ทั้งยังเป็นห้องจัดแสดงและบรรเลงดนตรีอีกด้วย

เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 เป็นเรือพระที่นั่งจัดสร้างขึ้นใหม่ในรัชกาลปัจจุบัน มีโขนเรือเป็นรูปนารายณ์ทรงสุบรรณ ซึ่งนำต้นแบบมาจากเรือนารายณ์ทรงสุบรรณลำเดิมที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 และ รัชกาลที่ 4 โดยเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 นี้ กองทัพเรือร่วมกับกรมศิลปากร และสำนักพระราชวัง ได้ดำเนินการจัดสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีในปีกาญจนาภิเษก ที่พระองค์ทรงครองราชย์ครบ 50 ปี มีฐานะเป็นเรือพระที่นั่งรอง ทอดบัลลังก์กัญญาเทียบเท่าเรือพระที่นั่งอนันตนาคราช และเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ พื้นเรือสีแดงชาด น้ำหนัก 20 ตัน กว้าง 3.20 เมตร ยาว 44.30 เมตร ลึก 1.10 เมตร ฝีพายจำนวน 50 นาย นายท้าย 2
กำลังโหลดความคิดเห็น