โดย : ปิ่น บุตรี (pinn109@hotmail.com)
เดี๋ยวนี้งานประเพณีวันเข้าพรรษา นอกจากจะเป็นงานบุญที่ท้องถิ่น ชาวบ้าน ชาวชุมชนจัดขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาแล้ว หลายๆแห่งยังพ่วงการจัดกิจกรรมเพื่อการท่องเที่ยวเข้าไปด้วย ซึ่งงานวันเข้าพรรษาชื่อดังคงหนีไม่พ้นประเพณีแห่เทียน จังหวัดอุบลราชธานี ที่นี่เขาถือเป็นต้นตำรับและเป็นเจ้าแห่งงานแห่เทียน ที่มีแกะสลัก ประดับต้นเทียน อย่างประณีตวิจิตร และมีการจัดตกแต่งรถขบวนแห่ต้นเทียนอย่างสวยงามอลังการ
และด้วยความโด่งดังของงานแห่เทียนอุบล มันได้ส่งอิทธิพลต่อหลายๆจังหวัดในภาคอีสาน(รวมถึงข้ามภาคมายังจังหวัดสุพรรณบุรีด้วย) ซึ่งเดี๋ยวนี้ได้มีการจัดงานแห่เทียนกันอย่างยิ่งใหญ่ไม่น้อยหน้าจังหวัดอุบล โดยเฉพาะในปีนี้ที่นครราชสีมา โคราชบ้านเอ็ง เขาขโมยซีนเมืองดอกบัวงามทำคะแนนนำไปก่อนกับต้นเทียนแสลงใจ ที่แกะเป็นภาพของพี่มาร์คประคองกอดเจ๊ปู เลียนแบบ“แจ๊ค-โรส” ในหนังดังไททานิก ซึ่งช่างต้องการความหมายถึงการปรองดอง เพื่อสะท้อนเรื่องราวแห่งยุคสมัย
แต่งานนี้กลับนักการเมืองบางคนทั้งในซีกรัฐบาลและฝ่ายค้านออกอาการไม่ปลื้ม แถมยังกระเหี้ยนกระหือรือถึงขนาดจะตั้งกรรมการสอบทั้งช่างทำเทียน สื่อมวลชนที่เผยแพร่ และสำนักงานพระพุทธศาสนากันเลยทีเดียว
สงสัยคนพวกนี้จะว่างมาก
เอ...แล้วทำไมพวกเขาไม่เอาเวลางานไปตรวจสอบนักการเมืองที่ทุจริต โกงกิน หรือว่าเมื่อตรวจไปแล้วเจอพวกเดียวกันทั้งนั้น
พูดถึงประเพณีดังวันเข้าพรรษานอกจากงานแห่เทียนอุบลแล้ว ที่จังหวัดสระบุรีเขาก็ขึ้นชื่อกับงานตักบาตรดอกไม้อันเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งชาวอำเภอพระพุทธบาทได้นำดอกเข้าพรรษา(ส่วนใหญ่เป็นสีเหลืองนวล)มาตักบาตรกันที่วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร ที่ปฏิบัติเป็นพุทธบูชาสืบต่อกันมาแต่ช้านานแล้ว
ขณะที่ใน อ.เวียงสา จังหวัดน่าน หลังผ่านพ้นวันเข้าพรรษาไป 1 วัน ที่นี่เขามีการจัดงานประเพณี “ตักบาตรเทียน” อันประเพณีช่วงวันเข้าพรรษาอันโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน อีกทั้งยังเชื่อว่าเป็นงานประเพณีที่มีการจัดขึ้นเพียงหนึ่งเดียวในโลก
ประเพณีตักบาตรเทียนหรือ“ใส่บาตรเทียน” แม้ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แต่เหล่าผู้รู้ในเวียงสาสันนิษฐานตรงกันว่า กำเนิดของการตักบาตรเทียนน่าจะเริ่มขึ้นราวๆปี พ.ศ. 2344 หลังเจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่านองค์ที่ 55 ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สร้าง“วัดบุญยืน”ได้ 1 ปี
สำหรับวัดบุญยืน(ต.กลางเวียง)ถือเป็นวัดสำคัญคู่เมืองเวียงสา แต่น่าเสียดายที่เมื่อช่วงต้นปี กรมศิลปากรได้มาบูรณะวัดแห่งนี้แล้วดันทาสีทับภาพจิตรกรรมฝาผนังอันเก่าฝีมือช่างพื้นบ้านโบราณไป สร้างความไม่พอใจให้กับชาวชุมชนอย่างมาก ซึ่งวัดแห่งนี้ถือเป็นสถานที่หลักที่ใช้ในประเพณีตักบาตรเทียนมาช้านาน เพราะเป็นวัดที่มีเจ้าคณะอำเภอและพระเถระที่มีอาวุโสอยู่จำพรรษามาตั้งแต่อดีต
ทั้งนี้ในยุคโบราณที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ พระภิกษุสามเณรทุกรูปในเวียงสา ได้กำหนดเอาวันแรม 2 ค่ำ เดือน 8 (หรือเดือน 10 เหนือ) หรือที่คิดง่ายๆว่าหลังวันเข้าพรรษา 1 วัน จัดพิธีสูมาคารวะหรือพิธีขอขมาแก่เจ้าคณะอำเภอและพระชั้นผู้ใหญ่ขึ้น ในขณะที่พุทธบริษัททั้งหลายต่างก็ถือเอาวันเดียวกันนี้นำเทียนและดอกไม้มาถวายแก่พระภิกษุ-สามเณร เพื่อให้ได้มีแสงสว่างไว้ปฏิบัติศาสนกิจและศึกษาพระธรรมวินัยในยามค่ำคืน ซึ่งสอดคล้องกับพุทธบัญญัติที่ให้ญาติโยมได้ถวายเทียนให้กับพระภิกษุ สามเณร
อนึ่งการถวายเทียนเพื่อให้พระ-เณร ได้ใช้แสงสว่างศึกษาพระธรรมวินัยและใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆนั้น ยังมีนัยยะแฝงการแสดงความเคารพต่อพระรัตนตรัย ครูบาอาจารย์ และการแสดงความอ่อนน้อมของเหล่าพระภิกษุสงฆ์ที่จะคารวะกัน โดยยึดถือจำนวนพรรษาหรือปีที่บวชเป็นสำคัญ มากกว่าสมณศักดิ์หรือตำแหน่งในคณะสงฆ์
สิ่งเหล่านี้เมื่อปฏิบัติสืบต่อกันมา ได้เกิดเป็นประเพณีตักบาตรเทียนอันเป็นเอกลักษณ์ขึ้น ซึ่งยุคนี้ พ.ศ. นี้ สังคมร่วมสมัยจะเปลี่ยนไป แสงสว่างจากไฟฟ้าเข้ามาแทนที่แสงเทียน แต่ชาวเวียงสา ก็ยังคงร่วมกันสืบสานประเพณีตักบาตรเทียนให้คงอยู่
โดยประเพณีตักบาตรเทียนที่ผ่านมาจะแบ่งเป็น 2 ช่วงด้วยกัน ช่วงเช้า พิธีจะเริ่มประมาณ 9.00 น. เหล่าพระภิกษุ-สามเณรทั้งหมดในเวียงสา(กว่า 1,000 รูป)และพุทธศาสนิกชน จะนำเทียน ดอกไม้ น้ำส้มป่อย น้ำอบ น้ำหอม มาใส่ลงในภาชนะที่ทางวัดจัดเตรียมไว้ภายในพระอุโบสถ แล้วฆราวาสก็จะพร้อมใจกันนำอาหารมาถวายภัตตาหารเพลแก่พระภิกษุ-สามเณร หลังพระฉันเรียบร้อยแล้ว ชาวบ้านจะรวมหมู่กินอาหารร่วมกัน โดยไม่ลืมที่จะเชิญชวนนักท่องเที่ยวอย่างผมและคนอื่นๆ มากินอาหารร่วมกัน ถือเป็นอาหารพื้นบ้านจานอร่อยที่น้ำใจไทยอย่างนี้ยังคงมีอยู่ทั่วไป เพียงแต่ว่าใครจะได้มีโอกาสไปพบเจอ
จากนั้นในช่วงบ่าย เป็นช่วงของพิธีตักบาตรเทียน ซึ่งพระภิกษุ-สามเณรจะค่อยเดินออกมาจากโบสถ์ นำเทียนมาใส่ในบาตรที่ตั้งอยู่บนผ้าอาบน้ำฝนบนโต๊ะยาวหน้าโบสถ์ที่มีทั้งหมด 69 จุด (แทนจำนวน 68 วัด ส่วนอีก 1 จุด นับรวมแทน 11 สำนักสงฆ์ในเวียงสา)
เมื่อพระ-เณร นำใส่บาตรจนเสร็จสิ้น ก็ถึงคราวของเหล่าพุทธบริษัทที่จะนำเทียนและดอกไม้ที่เตรียมมา เดินตักบาตรเทียนกันเป็นแถวยาว ด้วยใบหน้าอิ่มเอิบเปี่ยมศรัทธา โดยชาวบ้านส่วนใหญ่นิยมตักบาตรจำนวน 99 เล่ม ตามความเชื่อในเรื่องของเลขมงคล
หลังเสร็จสิ้นจากการนำเทียนใส่บาตร พระภิกษุ-สามเณรจะเดินกลับเข้าในโบสถ์อีกครั้ง เพื่อทำพิธีสูมาคารวะแก่พระแก้ว 5 โกฐากส์ ได้แก่ พระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ร่วมด้วย พระกรรมฐาน และพระอาจารย์ผู้สอนกรรมฐาน รวมถึงการขอขมาแก่เจ้าคณะอำเภอและพระเถระชั้นผู้ใหญ่ผู้มีอายุพรรษามากกาลตามลำดับ
จากนั้นกระบวนการสุดท้าย พระภิกษุและสามเณรจะแบ่งเทียนและดอกไม้ นำห่อด้วยผ้าสบงนำกลับวัดของตนเอง เพื่อนำไปจุดบูชาพระรัตนตรัยหรือเก็บไว้เป็นมงคล ถือเป็นอันเสร็จสิ้นพิธี
สำหรับประเพณีตักบาตรเทียนนั้น จะมีเพียงหนึ่งเดียวในโลกอย่างที่ทางจังหวัดและทาง ททท.เขาประชาสัมพันธ์หรือเปล่า? เรื่องนี้ผมไม่กล้าการันตี แต่ผมก็ยังไม่เคยเห็นประเพณีแบบนี้ในที่ใด
นอกจากนี้การได้มีโอกาสไปร่วมงานบาตรเทียนกับชาวเวียงสาเมื่อปีที่แล้ว ผมยอมรับว่านี่เป็นประเพณีที่มีเสน่ห์มาก เพราะภาครัฐยังไม่ลงไปปรุงแต่ง สร้างภาพ และโหมโปรโมท อย่างเกินงามเหมือนประเพณีท้องถิ่นหลายๆแห่ง หากแต่เป็นงานที่ดูเปี่ยมไปด้วยศรัทธาของชาวบ้านที่มาร่วมงาน ผู้เฒ่าผู้แก่ คนหนุ่มสาว ลูกเด็กเล็กแดง ต่างเทจิตศรัทธาให้กับงานนี้
และผมก็ได้แต่หวังว่า งานประเพณีดีๆที่มีเอกลักษณ์แบบนี้ ไม่ควรถูกแปลงเป็นสินค้าทางการท่องเที่ยวที่เน้นด้านการขายเพื่อหวังเม็ดเงิน หวังทำยอดของนักท่องเที่ยวเป็นหลัก หากแต่ควรที่จะมุ่งเน้นในด้านการอนุรักษ์สืบสานศิลปวัฒนธรรมอันดีงาม และความศรัทธาที่ชาวชุมชนทำเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ซึ่งแม้นี่จะตีเป็นมูลค่าไม่ได้ แต่ว่านี่คือสิ่งทรงคุณค่าที่ยั่งยืนกว่าสิ่งที่เป็นเม็ดเงินและยอดตัวเลขจำนวนนักท่องเที่ยวแบบไม่สามารถเทียบเคียงกันได้
*****************************************
ปีนี้ ททท.สำนักงานแพร่(รับผิดชอบพื้นที่ แพร่ น่าน อุตรดิตถ์) เชิญชวนผู้สนใจ ร่วมอนุรักษ์สืบสานศิลปวัฒนธรรม และร่วมบำเพ็ญกุศลทานบารมี ในงานประเพณีตักบาตรเทียน วันที่ 4 ส.ค. 55 ณ วัดบุญยืน ต.กลางเวียง อ.เวียงสา จ.น่าน ผู้สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 0-5452-1118,0-5452-1127, 0-5478-1872
เดี๋ยวนี้งานประเพณีวันเข้าพรรษา นอกจากจะเป็นงานบุญที่ท้องถิ่น ชาวบ้าน ชาวชุมชนจัดขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาแล้ว หลายๆแห่งยังพ่วงการจัดกิจกรรมเพื่อการท่องเที่ยวเข้าไปด้วย ซึ่งงานวันเข้าพรรษาชื่อดังคงหนีไม่พ้นประเพณีแห่เทียน จังหวัดอุบลราชธานี ที่นี่เขาถือเป็นต้นตำรับและเป็นเจ้าแห่งงานแห่เทียน ที่มีแกะสลัก ประดับต้นเทียน อย่างประณีตวิจิตร และมีการจัดตกแต่งรถขบวนแห่ต้นเทียนอย่างสวยงามอลังการ
และด้วยความโด่งดังของงานแห่เทียนอุบล มันได้ส่งอิทธิพลต่อหลายๆจังหวัดในภาคอีสาน(รวมถึงข้ามภาคมายังจังหวัดสุพรรณบุรีด้วย) ซึ่งเดี๋ยวนี้ได้มีการจัดงานแห่เทียนกันอย่างยิ่งใหญ่ไม่น้อยหน้าจังหวัดอุบล โดยเฉพาะในปีนี้ที่นครราชสีมา โคราชบ้านเอ็ง เขาขโมยซีนเมืองดอกบัวงามทำคะแนนนำไปก่อนกับต้นเทียนแสลงใจ ที่แกะเป็นภาพของพี่มาร์คประคองกอดเจ๊ปู เลียนแบบ“แจ๊ค-โรส” ในหนังดังไททานิก ซึ่งช่างต้องการความหมายถึงการปรองดอง เพื่อสะท้อนเรื่องราวแห่งยุคสมัย
แต่งานนี้กลับนักการเมืองบางคนทั้งในซีกรัฐบาลและฝ่ายค้านออกอาการไม่ปลื้ม แถมยังกระเหี้ยนกระหือรือถึงขนาดจะตั้งกรรมการสอบทั้งช่างทำเทียน สื่อมวลชนที่เผยแพร่ และสำนักงานพระพุทธศาสนากันเลยทีเดียว
สงสัยคนพวกนี้จะว่างมาก
เอ...แล้วทำไมพวกเขาไม่เอาเวลางานไปตรวจสอบนักการเมืองที่ทุจริต โกงกิน หรือว่าเมื่อตรวจไปแล้วเจอพวกเดียวกันทั้งนั้น
พูดถึงประเพณีดังวันเข้าพรรษานอกจากงานแห่เทียนอุบลแล้ว ที่จังหวัดสระบุรีเขาก็ขึ้นชื่อกับงานตักบาตรดอกไม้อันเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งชาวอำเภอพระพุทธบาทได้นำดอกเข้าพรรษา(ส่วนใหญ่เป็นสีเหลืองนวล)มาตักบาตรกันที่วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร ที่ปฏิบัติเป็นพุทธบูชาสืบต่อกันมาแต่ช้านานแล้ว
ขณะที่ใน อ.เวียงสา จังหวัดน่าน หลังผ่านพ้นวันเข้าพรรษาไป 1 วัน ที่นี่เขามีการจัดงานประเพณี “ตักบาตรเทียน” อันประเพณีช่วงวันเข้าพรรษาอันโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน อีกทั้งยังเชื่อว่าเป็นงานประเพณีที่มีการจัดขึ้นเพียงหนึ่งเดียวในโลก
ประเพณีตักบาตรเทียนหรือ“ใส่บาตรเทียน” แม้ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แต่เหล่าผู้รู้ในเวียงสาสันนิษฐานตรงกันว่า กำเนิดของการตักบาตรเทียนน่าจะเริ่มขึ้นราวๆปี พ.ศ. 2344 หลังเจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่านองค์ที่ 55 ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สร้าง“วัดบุญยืน”ได้ 1 ปี
สำหรับวัดบุญยืน(ต.กลางเวียง)ถือเป็นวัดสำคัญคู่เมืองเวียงสา แต่น่าเสียดายที่เมื่อช่วงต้นปี กรมศิลปากรได้มาบูรณะวัดแห่งนี้แล้วดันทาสีทับภาพจิตรกรรมฝาผนังอันเก่าฝีมือช่างพื้นบ้านโบราณไป สร้างความไม่พอใจให้กับชาวชุมชนอย่างมาก ซึ่งวัดแห่งนี้ถือเป็นสถานที่หลักที่ใช้ในประเพณีตักบาตรเทียนมาช้านาน เพราะเป็นวัดที่มีเจ้าคณะอำเภอและพระเถระที่มีอาวุโสอยู่จำพรรษามาตั้งแต่อดีต
ทั้งนี้ในยุคโบราณที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ พระภิกษุสามเณรทุกรูปในเวียงสา ได้กำหนดเอาวันแรม 2 ค่ำ เดือน 8 (หรือเดือน 10 เหนือ) หรือที่คิดง่ายๆว่าหลังวันเข้าพรรษา 1 วัน จัดพิธีสูมาคารวะหรือพิธีขอขมาแก่เจ้าคณะอำเภอและพระชั้นผู้ใหญ่ขึ้น ในขณะที่พุทธบริษัททั้งหลายต่างก็ถือเอาวันเดียวกันนี้นำเทียนและดอกไม้มาถวายแก่พระภิกษุ-สามเณร เพื่อให้ได้มีแสงสว่างไว้ปฏิบัติศาสนกิจและศึกษาพระธรรมวินัยในยามค่ำคืน ซึ่งสอดคล้องกับพุทธบัญญัติที่ให้ญาติโยมได้ถวายเทียนให้กับพระภิกษุ สามเณร
อนึ่งการถวายเทียนเพื่อให้พระ-เณร ได้ใช้แสงสว่างศึกษาพระธรรมวินัยและใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆนั้น ยังมีนัยยะแฝงการแสดงความเคารพต่อพระรัตนตรัย ครูบาอาจารย์ และการแสดงความอ่อนน้อมของเหล่าพระภิกษุสงฆ์ที่จะคารวะกัน โดยยึดถือจำนวนพรรษาหรือปีที่บวชเป็นสำคัญ มากกว่าสมณศักดิ์หรือตำแหน่งในคณะสงฆ์
สิ่งเหล่านี้เมื่อปฏิบัติสืบต่อกันมา ได้เกิดเป็นประเพณีตักบาตรเทียนอันเป็นเอกลักษณ์ขึ้น ซึ่งยุคนี้ พ.ศ. นี้ สังคมร่วมสมัยจะเปลี่ยนไป แสงสว่างจากไฟฟ้าเข้ามาแทนที่แสงเทียน แต่ชาวเวียงสา ก็ยังคงร่วมกันสืบสานประเพณีตักบาตรเทียนให้คงอยู่
โดยประเพณีตักบาตรเทียนที่ผ่านมาจะแบ่งเป็น 2 ช่วงด้วยกัน ช่วงเช้า พิธีจะเริ่มประมาณ 9.00 น. เหล่าพระภิกษุ-สามเณรทั้งหมดในเวียงสา(กว่า 1,000 รูป)และพุทธศาสนิกชน จะนำเทียน ดอกไม้ น้ำส้มป่อย น้ำอบ น้ำหอม มาใส่ลงในภาชนะที่ทางวัดจัดเตรียมไว้ภายในพระอุโบสถ แล้วฆราวาสก็จะพร้อมใจกันนำอาหารมาถวายภัตตาหารเพลแก่พระภิกษุ-สามเณร หลังพระฉันเรียบร้อยแล้ว ชาวบ้านจะรวมหมู่กินอาหารร่วมกัน โดยไม่ลืมที่จะเชิญชวนนักท่องเที่ยวอย่างผมและคนอื่นๆ มากินอาหารร่วมกัน ถือเป็นอาหารพื้นบ้านจานอร่อยที่น้ำใจไทยอย่างนี้ยังคงมีอยู่ทั่วไป เพียงแต่ว่าใครจะได้มีโอกาสไปพบเจอ
จากนั้นในช่วงบ่าย เป็นช่วงของพิธีตักบาตรเทียน ซึ่งพระภิกษุ-สามเณรจะค่อยเดินออกมาจากโบสถ์ นำเทียนมาใส่ในบาตรที่ตั้งอยู่บนผ้าอาบน้ำฝนบนโต๊ะยาวหน้าโบสถ์ที่มีทั้งหมด 69 จุด (แทนจำนวน 68 วัด ส่วนอีก 1 จุด นับรวมแทน 11 สำนักสงฆ์ในเวียงสา)
เมื่อพระ-เณร นำใส่บาตรจนเสร็จสิ้น ก็ถึงคราวของเหล่าพุทธบริษัทที่จะนำเทียนและดอกไม้ที่เตรียมมา เดินตักบาตรเทียนกันเป็นแถวยาว ด้วยใบหน้าอิ่มเอิบเปี่ยมศรัทธา โดยชาวบ้านส่วนใหญ่นิยมตักบาตรจำนวน 99 เล่ม ตามความเชื่อในเรื่องของเลขมงคล
หลังเสร็จสิ้นจากการนำเทียนใส่บาตร พระภิกษุ-สามเณรจะเดินกลับเข้าในโบสถ์อีกครั้ง เพื่อทำพิธีสูมาคารวะแก่พระแก้ว 5 โกฐากส์ ได้แก่ พระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ร่วมด้วย พระกรรมฐาน และพระอาจารย์ผู้สอนกรรมฐาน รวมถึงการขอขมาแก่เจ้าคณะอำเภอและพระเถระชั้นผู้ใหญ่ผู้มีอายุพรรษามากกาลตามลำดับ
จากนั้นกระบวนการสุดท้าย พระภิกษุและสามเณรจะแบ่งเทียนและดอกไม้ นำห่อด้วยผ้าสบงนำกลับวัดของตนเอง เพื่อนำไปจุดบูชาพระรัตนตรัยหรือเก็บไว้เป็นมงคล ถือเป็นอันเสร็จสิ้นพิธี
สำหรับประเพณีตักบาตรเทียนนั้น จะมีเพียงหนึ่งเดียวในโลกอย่างที่ทางจังหวัดและทาง ททท.เขาประชาสัมพันธ์หรือเปล่า? เรื่องนี้ผมไม่กล้าการันตี แต่ผมก็ยังไม่เคยเห็นประเพณีแบบนี้ในที่ใด
นอกจากนี้การได้มีโอกาสไปร่วมงานบาตรเทียนกับชาวเวียงสาเมื่อปีที่แล้ว ผมยอมรับว่านี่เป็นประเพณีที่มีเสน่ห์มาก เพราะภาครัฐยังไม่ลงไปปรุงแต่ง สร้างภาพ และโหมโปรโมท อย่างเกินงามเหมือนประเพณีท้องถิ่นหลายๆแห่ง หากแต่เป็นงานที่ดูเปี่ยมไปด้วยศรัทธาของชาวบ้านที่มาร่วมงาน ผู้เฒ่าผู้แก่ คนหนุ่มสาว ลูกเด็กเล็กแดง ต่างเทจิตศรัทธาให้กับงานนี้
และผมก็ได้แต่หวังว่า งานประเพณีดีๆที่มีเอกลักษณ์แบบนี้ ไม่ควรถูกแปลงเป็นสินค้าทางการท่องเที่ยวที่เน้นด้านการขายเพื่อหวังเม็ดเงิน หวังทำยอดของนักท่องเที่ยวเป็นหลัก หากแต่ควรที่จะมุ่งเน้นในด้านการอนุรักษ์สืบสานศิลปวัฒนธรรมอันดีงาม และความศรัทธาที่ชาวชุมชนทำเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ซึ่งแม้นี่จะตีเป็นมูลค่าไม่ได้ แต่ว่านี่คือสิ่งทรงคุณค่าที่ยั่งยืนกว่าสิ่งที่เป็นเม็ดเงินและยอดตัวเลขจำนวนนักท่องเที่ยวแบบไม่สามารถเทียบเคียงกันได้
*****************************************
ปีนี้ ททท.สำนักงานแพร่(รับผิดชอบพื้นที่ แพร่ น่าน อุตรดิตถ์) เชิญชวนผู้สนใจ ร่วมอนุรักษ์สืบสานศิลปวัฒนธรรม และร่วมบำเพ็ญกุศลทานบารมี ในงานประเพณีตักบาตรเทียน วันที่ 4 ส.ค. 55 ณ วัดบุญยืน ต.กลางเวียง อ.เวียงสา จ.น่าน ผู้สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 0-5452-1118,0-5452-1127, 0-5478-1872