โดย : หนุ่มลูกทุ่ง
ว่ากันว่าการศึกษาไม่เกี่ยวกับอายุ เพราะฉะนั้นเราสามารถเรียนรู้กันได้ตลอดชีวิต ดังนั้นฉันจึงขอเลือกการอ่านหนังสือที่เป็นหนึ่งในวิธีการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความคิดและความรู้ของตัวเอง ซึ่งที่“ห้องสมุดนิด้า” หรือ “สำนักบรรณสารการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์” ถือเป็นอีกหนึ่งคลังความรู้ในระดับไม่ธรรมดา เพราะนอกจากจะน่านั่ง น่าอ่านแล้ว ยังมีความไฮเทคเป็นตัวชูโรงอีกด้วย
จุดเริ่มต้นของห้องสมุดแห่งนี้ตั้งขึ้นมาพร้อมกับสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เพื่อส่งเสริมการเรียนการสอน การวิจัย และการฝึกอบรมแก่อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษาของสถาบัน ซึ่งในปัจจุบันห้องสมุดตั้งอยู่บนชั้น 2-4 ของอาคารบุญชนะ อัตถากร และถือเป็นห้องสมุดดิจิตอลอย่างสมบูรณ์แบบภายหลังการปรับปรุงแล้วเสร็จเมื่อเดือนเมษายน ปี พ.ศ.2554 ที่ผ่านมา
แรกที่ก้าวเข้าไปยังห้องสมุดฉันสังเกตเห็นถึงความทันสมัยไฮเทค นับตั้งแต่กระดานฝากข้อมูลแบบดิจิตอล หรือ Digital Memo Board ที่ผู้ใช้บริการห้องสมุดสามารถฝากข้อความให้เพื่อนแบบส่วนตัว คล้ายๆ กับไปแปะกระดาษฝากให้เพื่อนอ่าน และยังมีประกาศข่าวสารจากทางห้องสมุดให้ทุกคนได้รับรู้อย่างทั่วถึง แถมยังเป็นการแสดงผลบนจอทัชสกรีนที่ตอบโต้กันได้ด้วย
นอกจากนี้ที่นี่ยังมี Digital Information Noticaeboard ที่แสดงข้อมูลต่างๆ ของห้องสมุดผ่านจอทัชสกรีนขนาดใหญ่ ต่อด้วยส่วนของ Digital Bookshelves เรียกว่าเป็นชั้นหนังสือแบบดิจิตอล ซึ่งทำให้คนที่เข้ามาใช้บริการห้องสมุดสามารถดูได้ว่ามีหนังสือ หรือภาพยนตร์ใหม่ๆ อะไรบ้างในเดือนนี้ มีการแสดงตัวอย่างให้ดู หรือจะสืบค้นข้อมูลหนังสือจากหน้าจอก็ได้ทันที ส่วนที่ E-Book Station ก็สามารถค้นหาหนังสือจากฐานข้อมูลออนไลน์ของห้องสมุด เลือกหนังสือที่ต้องการเพื่ออ่านผ่านหน้าจอก็ได้ด้วย
สำหรับความทันสมัยของห้องสมุดแห่งนี้ ฉันได้รับคำอธิบายจาก คุณภาวนา เขมะรัตน์ บรรณารักษ์ประจำสำนักบรรณสารการพัฒนา ว่า เนื่องจากทางผู้บริหารของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของเทคโนโลยีที่จะนำมาปรับใช้กับห้องสมุด จึงได้ให้ไปดูงานที่ห้องสมุดของต่างประเทศ และยังให้งบประมาณในการปรับปรุงห้องสมุด โดยการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วยในทุกด้าน อย่างเช่น แสกนวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาเข้าไปในระบบแล้วสามารถสืบค้นจากภายนอกได้ มีอินเตอร์เน็ตโซนให้บริการในทุกชั้น หรือที่เห็นชัดๆ ก็คือ การนำข้อมูลต่างๆ มาแสดงผลบนหน้าจอดิจิตอลที่ใช้งานได้ง่ายกว่าสมัยก่อน
อีกส่วนที่ปรับปรุงใหม่ก็คือ การตกแต่งห้องสมุด จะเลือกใช้สีสันที่มองแล้วสว่าง ดูสบายตา จัดมุมนั่งอ่านหนังสือให้โปร่ง โล่ง นั่งสบาย ส่วนชั้นหนังสือก็มีส่วนเว้าส่วนโค้งให้สวยงามกว่าชั้นหนังสือทั่วไป นอกจากนี้ยังมีการจัดสวนหินที่บริเวณระเบียงของชั้น 4 สำหรับพักสายตาที่เมื่อยล้าจากการอ่านหนังสือ
เมื่อเดินเข้าไปสู่ส่วนแรกของห้องสมุดก็จะเห็นมุมหนังสือแนะนำสีแดงสด ชวนให้เดินเข้าไปหยิบมาอ่าน ต่อด้วยชั้นวางวารสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ หนังสือพิมพ์ต่างๆ ถัดไปเป็น หอจดหมายเหตุ ซึ่งอยู่ในบริเวณเดียวกัน เพื่ออ่านและศึกษาความเป็นมาของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ จากเอกสารและจดหมายเหตุ ดูจากภาพแล้วก็ไม่น่าเชื่อว่าทุ่งบางกะปิเมื่อหลายสิบปีก่อน จะกลายมาเป็นย่านบางกะปิที่แสนจะวุ่นวายในสมัยนี้
ที่บริเวณชั้น 2 นี้ ยังมีส่วนจัดแสดง หนังสือราชวงศ์จักรี ที่จัดแสดงพระราชนิพนธ์และหนังสือเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์และราชวงศ์จักรี รวมถึงส่วน เศรษฐกิจพอเพียงและรางวัลโนเบล ที่รวบรวมหนังสือเกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและโครงการในพระราชดำริ และหนังสือเกี่ยวกับบุคคลและผลงานที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์
และนอกจากจะมีบริการหนังสือและวารสารต่างๆ แล้ว ห้องสมุดแห่งนี้ก็ยังมีบริหารมัลติมีเดียต่างๆ ด้วย เป็นต้นว่า ภาพยนตร์ออกใหม่ ซึ่งสามารถขอยืมมาดูได้ในบริเวณห้องที่จัดไว้ให้ ดูหนังเพลิน นั่งสบายไม่มีเบื่อ
จากนั้นฉันก็เดินขึ้นไปที่ชั้น 3 ชั้นนี้จะเป็นที่รวบรวมหนังสือ วิทยานิพนธ์ และเอกสารเย็บเล่มภาษาไทยทั้งหมด ส่วนหนังสือที่เป็นภาษาอังกฤษจะเก็บอยู่ที่ชั้น 4 และหนังสือส่วนใหญ่ก็จะเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน การทำวิจัย และหนังสือทางวิชาการ เนื่องจากนิด้าเปิดสอนเฉพาะระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ซึ่งมุ่งเน้นด้านการวิจัยเป็นหลัก
ฉันได้เห็นห้องเล็กๆ หลายๆ ห้องทั้งที่ชั้น 3 และชั้น 4 ก็เลยเกิดสงสัยขึ้นมาว่าห้องเหล่านี้ใช้ทำอะไร แล้วก็ได้รับคำตอบจากคุณภาวนาว่า เป็นห้องปาร์ตี้รูม ที่ชั้น 3 เป็นของระดับปริญญาโท และที่ชั้น 4 เป็นของระดับปริญญาเอก ที่จะใช้เพื่อนั่งอ่านหนังสือเป็นกลุ่ม ประชุมปรึกษาหารือ หรือนั่งทำงานแบบเป็นส่วนตัวเพื่อไม่ให้รบกวนคนอื่น ที่สำคัญในแต่ละชั้นจะมีมุม Refreshment Area เป็นมุมนั่งผ่อนคลาย กินขนมจิบน้ำได้ จากห้องสมุดแบบเดิมที่ห้ามนำอาหารและเครื่องดื่มเข้า แต่ที่นี่สามารถนำเข้าไปได้ เพียงแต่ต้องดูแลให้สะอาด และไม่ทำความเสียหายกับหนังสือและอุปกรณ์ต่างๆ ภายในห้องสมุด
เห็นแบบนี้แล้วใครๆ ก็คงอยากจะมาใช้บริการห้องสมุดนิด้าแห่งนี้เป็นแน่แท้ ซึ่งฉันก็เป็นคนหนึ่งที่คงจะต้องแวะเวียนมาบ่อยๆ แต่ก็อาจจะสงสัยกันว่าคนนอกสามารถเข้าไปใช้บริการได้หรือไม่ ฉันขอเฉลยเลยว่าได้ และทางห้องสมุดยินดีต้อนรับอย่างเต็มที่ โดยบุคคลทั่วไปจะเสียค่าใช้จ่าย 30 บาทต่อวัน ในการมาเข้าใช้บริการ จะอยู่ตั้งแต่ห้องสมุดเปิดจนปิดเลยก็ได้ เพียงแต่ไม่สามารถยืมหนังสือออกนอกห้องสมุดได้
ยิ่งอยู่ในช่วงเปิดเทอมแล้วแบบนี้ ก็ต้องมาหาหนังสืออ่านเพิ่มรอยหยักให้สมองเสียหน่อย เพื่อเพิ่มเติมความรู้ให้กับตัวเอง
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
“ห้องสมุดนิด้า” เปิดบริการวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.00-19.30 น. วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 08.00-20.00 น. ปิดให้บริการในวันหยุดนักขัตฤกษ์ ส่วนวันหยุดชดเชยเปิดบริการตามปกติ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0-2727-3737 หรือดูที่ http://library.nida.ac.thและ http://www.facebook.com/NIDALIBRARY
* * * คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของผู้จัดการท่องเที่ยว Travel @ Manager on Facebook รับข่าวสารทั้งเรื่องกินเรื่องเที่ยวแบบรวดเร็วทันใจ และร่วมสนุกกับกิจกรรมลุ้นรับของรางวัลมากมายคลิกที่นี่เลย!!
***********************************************************************
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com
ว่ากันว่าการศึกษาไม่เกี่ยวกับอายุ เพราะฉะนั้นเราสามารถเรียนรู้กันได้ตลอดชีวิต ดังนั้นฉันจึงขอเลือกการอ่านหนังสือที่เป็นหนึ่งในวิธีการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความคิดและความรู้ของตัวเอง ซึ่งที่“ห้องสมุดนิด้า” หรือ “สำนักบรรณสารการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์” ถือเป็นอีกหนึ่งคลังความรู้ในระดับไม่ธรรมดา เพราะนอกจากจะน่านั่ง น่าอ่านแล้ว ยังมีความไฮเทคเป็นตัวชูโรงอีกด้วย
จุดเริ่มต้นของห้องสมุดแห่งนี้ตั้งขึ้นมาพร้อมกับสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เพื่อส่งเสริมการเรียนการสอน การวิจัย และการฝึกอบรมแก่อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษาของสถาบัน ซึ่งในปัจจุบันห้องสมุดตั้งอยู่บนชั้น 2-4 ของอาคารบุญชนะ อัตถากร และถือเป็นห้องสมุดดิจิตอลอย่างสมบูรณ์แบบภายหลังการปรับปรุงแล้วเสร็จเมื่อเดือนเมษายน ปี พ.ศ.2554 ที่ผ่านมา
แรกที่ก้าวเข้าไปยังห้องสมุดฉันสังเกตเห็นถึงความทันสมัยไฮเทค นับตั้งแต่กระดานฝากข้อมูลแบบดิจิตอล หรือ Digital Memo Board ที่ผู้ใช้บริการห้องสมุดสามารถฝากข้อความให้เพื่อนแบบส่วนตัว คล้ายๆ กับไปแปะกระดาษฝากให้เพื่อนอ่าน และยังมีประกาศข่าวสารจากทางห้องสมุดให้ทุกคนได้รับรู้อย่างทั่วถึง แถมยังเป็นการแสดงผลบนจอทัชสกรีนที่ตอบโต้กันได้ด้วย
นอกจากนี้ที่นี่ยังมี Digital Information Noticaeboard ที่แสดงข้อมูลต่างๆ ของห้องสมุดผ่านจอทัชสกรีนขนาดใหญ่ ต่อด้วยส่วนของ Digital Bookshelves เรียกว่าเป็นชั้นหนังสือแบบดิจิตอล ซึ่งทำให้คนที่เข้ามาใช้บริการห้องสมุดสามารถดูได้ว่ามีหนังสือ หรือภาพยนตร์ใหม่ๆ อะไรบ้างในเดือนนี้ มีการแสดงตัวอย่างให้ดู หรือจะสืบค้นข้อมูลหนังสือจากหน้าจอก็ได้ทันที ส่วนที่ E-Book Station ก็สามารถค้นหาหนังสือจากฐานข้อมูลออนไลน์ของห้องสมุด เลือกหนังสือที่ต้องการเพื่ออ่านผ่านหน้าจอก็ได้ด้วย
สำหรับความทันสมัยของห้องสมุดแห่งนี้ ฉันได้รับคำอธิบายจาก คุณภาวนา เขมะรัตน์ บรรณารักษ์ประจำสำนักบรรณสารการพัฒนา ว่า เนื่องจากทางผู้บริหารของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของเทคโนโลยีที่จะนำมาปรับใช้กับห้องสมุด จึงได้ให้ไปดูงานที่ห้องสมุดของต่างประเทศ และยังให้งบประมาณในการปรับปรุงห้องสมุด โดยการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วยในทุกด้าน อย่างเช่น แสกนวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาเข้าไปในระบบแล้วสามารถสืบค้นจากภายนอกได้ มีอินเตอร์เน็ตโซนให้บริการในทุกชั้น หรือที่เห็นชัดๆ ก็คือ การนำข้อมูลต่างๆ มาแสดงผลบนหน้าจอดิจิตอลที่ใช้งานได้ง่ายกว่าสมัยก่อน
อีกส่วนที่ปรับปรุงใหม่ก็คือ การตกแต่งห้องสมุด จะเลือกใช้สีสันที่มองแล้วสว่าง ดูสบายตา จัดมุมนั่งอ่านหนังสือให้โปร่ง โล่ง นั่งสบาย ส่วนชั้นหนังสือก็มีส่วนเว้าส่วนโค้งให้สวยงามกว่าชั้นหนังสือทั่วไป นอกจากนี้ยังมีการจัดสวนหินที่บริเวณระเบียงของชั้น 4 สำหรับพักสายตาที่เมื่อยล้าจากการอ่านหนังสือ
เมื่อเดินเข้าไปสู่ส่วนแรกของห้องสมุดก็จะเห็นมุมหนังสือแนะนำสีแดงสด ชวนให้เดินเข้าไปหยิบมาอ่าน ต่อด้วยชั้นวางวารสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ หนังสือพิมพ์ต่างๆ ถัดไปเป็น หอจดหมายเหตุ ซึ่งอยู่ในบริเวณเดียวกัน เพื่ออ่านและศึกษาความเป็นมาของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ จากเอกสารและจดหมายเหตุ ดูจากภาพแล้วก็ไม่น่าเชื่อว่าทุ่งบางกะปิเมื่อหลายสิบปีก่อน จะกลายมาเป็นย่านบางกะปิที่แสนจะวุ่นวายในสมัยนี้
ที่บริเวณชั้น 2 นี้ ยังมีส่วนจัดแสดง หนังสือราชวงศ์จักรี ที่จัดแสดงพระราชนิพนธ์และหนังสือเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์และราชวงศ์จักรี รวมถึงส่วน เศรษฐกิจพอเพียงและรางวัลโนเบล ที่รวบรวมหนังสือเกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและโครงการในพระราชดำริ และหนังสือเกี่ยวกับบุคคลและผลงานที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์
และนอกจากจะมีบริการหนังสือและวารสารต่างๆ แล้ว ห้องสมุดแห่งนี้ก็ยังมีบริหารมัลติมีเดียต่างๆ ด้วย เป็นต้นว่า ภาพยนตร์ออกใหม่ ซึ่งสามารถขอยืมมาดูได้ในบริเวณห้องที่จัดไว้ให้ ดูหนังเพลิน นั่งสบายไม่มีเบื่อ
จากนั้นฉันก็เดินขึ้นไปที่ชั้น 3 ชั้นนี้จะเป็นที่รวบรวมหนังสือ วิทยานิพนธ์ และเอกสารเย็บเล่มภาษาไทยทั้งหมด ส่วนหนังสือที่เป็นภาษาอังกฤษจะเก็บอยู่ที่ชั้น 4 และหนังสือส่วนใหญ่ก็จะเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน การทำวิจัย และหนังสือทางวิชาการ เนื่องจากนิด้าเปิดสอนเฉพาะระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ซึ่งมุ่งเน้นด้านการวิจัยเป็นหลัก
ฉันได้เห็นห้องเล็กๆ หลายๆ ห้องทั้งที่ชั้น 3 และชั้น 4 ก็เลยเกิดสงสัยขึ้นมาว่าห้องเหล่านี้ใช้ทำอะไร แล้วก็ได้รับคำตอบจากคุณภาวนาว่า เป็นห้องปาร์ตี้รูม ที่ชั้น 3 เป็นของระดับปริญญาโท และที่ชั้น 4 เป็นของระดับปริญญาเอก ที่จะใช้เพื่อนั่งอ่านหนังสือเป็นกลุ่ม ประชุมปรึกษาหารือ หรือนั่งทำงานแบบเป็นส่วนตัวเพื่อไม่ให้รบกวนคนอื่น ที่สำคัญในแต่ละชั้นจะมีมุม Refreshment Area เป็นมุมนั่งผ่อนคลาย กินขนมจิบน้ำได้ จากห้องสมุดแบบเดิมที่ห้ามนำอาหารและเครื่องดื่มเข้า แต่ที่นี่สามารถนำเข้าไปได้ เพียงแต่ต้องดูแลให้สะอาด และไม่ทำความเสียหายกับหนังสือและอุปกรณ์ต่างๆ ภายในห้องสมุด
เห็นแบบนี้แล้วใครๆ ก็คงอยากจะมาใช้บริการห้องสมุดนิด้าแห่งนี้เป็นแน่แท้ ซึ่งฉันก็เป็นคนหนึ่งที่คงจะต้องแวะเวียนมาบ่อยๆ แต่ก็อาจจะสงสัยกันว่าคนนอกสามารถเข้าไปใช้บริการได้หรือไม่ ฉันขอเฉลยเลยว่าได้ และทางห้องสมุดยินดีต้อนรับอย่างเต็มที่ โดยบุคคลทั่วไปจะเสียค่าใช้จ่าย 30 บาทต่อวัน ในการมาเข้าใช้บริการ จะอยู่ตั้งแต่ห้องสมุดเปิดจนปิดเลยก็ได้ เพียงแต่ไม่สามารถยืมหนังสือออกนอกห้องสมุดได้
ยิ่งอยู่ในช่วงเปิดเทอมแล้วแบบนี้ ก็ต้องมาหาหนังสืออ่านเพิ่มรอยหยักให้สมองเสียหน่อย เพื่อเพิ่มเติมความรู้ให้กับตัวเอง
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
“ห้องสมุดนิด้า” เปิดบริการวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.00-19.30 น. วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 08.00-20.00 น. ปิดให้บริการในวันหยุดนักขัตฤกษ์ ส่วนวันหยุดชดเชยเปิดบริการตามปกติ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0-2727-3737 หรือดูที่ http://library.nida.ac.thและ http://www.facebook.com/NIDALIBRARY
* * * คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของผู้จัดการท่องเที่ยว Travel @ Manager on Facebook รับข่าวสารทั้งเรื่องกินเรื่องเที่ยวแบบรวดเร็วทันใจ และร่วมสนุกกับกิจกรรมลุ้นรับของรางวัลมากมายคลิกที่นี่เลย!!
***********************************************************************
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com