กรมวิทย์ ชู แผนปรับปรุงห้องปฏิบัติการตรวจสอบคุณภาพยาแผนปัจจุบัน เตรียมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
วันนี้ (5 มิ.ย.) ที่โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ เซ็นทรัลลาดพร้าว กทม. นพ.นิพนธิ์ โพธิ์พัฒนชัย รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (วพ.) กล่าวภายหลังเปิดการประชุมเพิ่มความรู้ด้านห้องปฏิบัติการด้านเภสัชภัณฑ์ให้แก่ผู้ผลิตยาในประเทศสมาชิกอาเซียน ว่า จุดประสงค์ของการจัดประชุม คือ เร่งหาทางกำหนดมาตรฐานของห้องปฏิบัติการตรวจสอบคุณภาพยาของอาเซียนให้เป็นแบบเดียวกันทุกประเทศ เพื่อง่ายแก่การส่งออกและนำเข้ายา โดยได้รับความร่วมมือจาก The United States Pharmacopeial Convention (USP) ในองค์ความรู้ในการตรวจสอบยาที่ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะยาแผนปัจจุบัน โดยในอีก 3 ปีข้างหน้าหรือในปี 2558 ไทยจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน จึงมีความจำเป็นที่ต้องสร้างมาตรฐานยาที่มีคุณภาพ ทั้งการส่งออกและนำเข้า
สำหรับไทยในปัจจุบันมีการส่งออกยาแผนปัจจุบันไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ พม่า ลาว กัมพูชา ตกปีละ 6,000 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นยาสามัญ ได้แก่ ยาปฏิชีวนะ ยาหัวใจ ความดันโลหิต และ ยาเบาหวาน ซึ่งทางอาเซียนต้องมี การวางมาตรฐานเดียวกันในผลิต และคุณภาพ เพื่อป้องกันปัญหายาไม่ได้มาตรฐาน และยาปลอม โดยทั้งหมดต้องมีคุณภาพ
ภก.ทัฬห ปึงเจริญกุล ผู้อำนวยการสมาคมไทยอุตสาหกรรมผลิตยาแผนปัจจุบัน กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยส่งออกยาไปยังประเทศเพื่อนบ้านหลายพันล้านบาท เช่น พม่า ตกปีละ 1,000 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มยาปฏิชีวนะ อุตสาหกรรมยาในไทย ถือว่าได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับสามารถส่งออกไปในประเทศสมาชิกได้หมด ยกเว้นประเทศอินโดนีเซีย เนื่องจากติดหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนยาในประเทศที่เข้มงวดไม่เหมือนประเทศอื่น โดยกำหนดให้ต้องมีจดทะเบียนร่วมกับบริษัทยาในประเทศดำเนินการ และต้องแสดงสูตรยา ซึ่งตรงนี้น่ากลัวมาก อาจมีการนำสูตรยาของไทยไปได้
ภก.ทัฬห กล่าวว่า ที่ผ่านมา ได้มีการร้องต่อกรมการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ว่าสามารถปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์ดังกล่าวได้หรือไม่ เนื่องจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนกำหนดให้มีการสร้างมาตรฐานร่วมกัน แต่หากอินโดนีเซียยังใช้หลักเกณฑ์ดังกล่าวก็จะเกิดความไม่เท่าเทียมกันใน ประเทศสมาชิก จึงอยากให้รัฐเข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุนอุตสาหกรรมยาไทย ให้สามารถแข่งขันกับนานาประเทศ และยังมีส่วนช่วยลดการนำเข้ายาต่างประเทศ ที่ตกปีละ 30,000 ล้านบาท
“เกี่ยวกับเรื่องนี้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ให้ความสำคัญเช่นกัน โดยจะมีการประชุมการเตรียมความพร้อมด้านยาในกลุ่มประเทศอาเซียน ระหว่างวันที่ 2-6 กรกฎาคมนี้ ที่โรงแรมสยามซิตี ซึ่งทางสมาคมฯจะเสนอปัญหานี้ในที่ประชุมด้วย” ภก.ทัฬห กล่าว
วันนี้ (5 มิ.ย.) ที่โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ เซ็นทรัลลาดพร้าว กทม. นพ.นิพนธิ์ โพธิ์พัฒนชัย รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (วพ.) กล่าวภายหลังเปิดการประชุมเพิ่มความรู้ด้านห้องปฏิบัติการด้านเภสัชภัณฑ์ให้แก่ผู้ผลิตยาในประเทศสมาชิกอาเซียน ว่า จุดประสงค์ของการจัดประชุม คือ เร่งหาทางกำหนดมาตรฐานของห้องปฏิบัติการตรวจสอบคุณภาพยาของอาเซียนให้เป็นแบบเดียวกันทุกประเทศ เพื่อง่ายแก่การส่งออกและนำเข้ายา โดยได้รับความร่วมมือจาก The United States Pharmacopeial Convention (USP) ในองค์ความรู้ในการตรวจสอบยาที่ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะยาแผนปัจจุบัน โดยในอีก 3 ปีข้างหน้าหรือในปี 2558 ไทยจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน จึงมีความจำเป็นที่ต้องสร้างมาตรฐานยาที่มีคุณภาพ ทั้งการส่งออกและนำเข้า
สำหรับไทยในปัจจุบันมีการส่งออกยาแผนปัจจุบันไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ พม่า ลาว กัมพูชา ตกปีละ 6,000 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นยาสามัญ ได้แก่ ยาปฏิชีวนะ ยาหัวใจ ความดันโลหิต และ ยาเบาหวาน ซึ่งทางอาเซียนต้องมี การวางมาตรฐานเดียวกันในผลิต และคุณภาพ เพื่อป้องกันปัญหายาไม่ได้มาตรฐาน และยาปลอม โดยทั้งหมดต้องมีคุณภาพ
ภก.ทัฬห ปึงเจริญกุล ผู้อำนวยการสมาคมไทยอุตสาหกรรมผลิตยาแผนปัจจุบัน กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยส่งออกยาไปยังประเทศเพื่อนบ้านหลายพันล้านบาท เช่น พม่า ตกปีละ 1,000 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มยาปฏิชีวนะ อุตสาหกรรมยาในไทย ถือว่าได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับสามารถส่งออกไปในประเทศสมาชิกได้หมด ยกเว้นประเทศอินโดนีเซีย เนื่องจากติดหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนยาในประเทศที่เข้มงวดไม่เหมือนประเทศอื่น โดยกำหนดให้ต้องมีจดทะเบียนร่วมกับบริษัทยาในประเทศดำเนินการ และต้องแสดงสูตรยา ซึ่งตรงนี้น่ากลัวมาก อาจมีการนำสูตรยาของไทยไปได้
ภก.ทัฬห กล่าวว่า ที่ผ่านมา ได้มีการร้องต่อกรมการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ว่าสามารถปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์ดังกล่าวได้หรือไม่ เนื่องจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนกำหนดให้มีการสร้างมาตรฐานร่วมกัน แต่หากอินโดนีเซียยังใช้หลักเกณฑ์ดังกล่าวก็จะเกิดความไม่เท่าเทียมกันใน ประเทศสมาชิก จึงอยากให้รัฐเข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุนอุตสาหกรรมยาไทย ให้สามารถแข่งขันกับนานาประเทศ และยังมีส่วนช่วยลดการนำเข้ายาต่างประเทศ ที่ตกปีละ 30,000 ล้านบาท
“เกี่ยวกับเรื่องนี้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ให้ความสำคัญเช่นกัน โดยจะมีการประชุมการเตรียมความพร้อมด้านยาในกลุ่มประเทศอาเซียน ระหว่างวันที่ 2-6 กรกฎาคมนี้ ที่โรงแรมสยามซิตี ซึ่งทางสมาคมฯจะเสนอปัญหานี้ในที่ประชุมด้วย” ภก.ทัฬห กล่าว