การดำเนินการของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ ศอ.บต. ในการเปิดรับการลงทะเบียนของผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา แม้ว่าในทางปฏิบัติ จะได้รับการตอบรับจากผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างล้นหลามที่เดินทางมาลงทะเบียน พร้อมทั้งให้รายละเอียดเพื่อขอรับการเยียวยาในรูปแบบต่างๆ ทั้งเป็นตัวเงิน เป็นการเยียวยาทางจิตใจ เยียวยาทางศาสนา เยียวยาด้านอาชีพ และอื่นๆ ซึ่งถือว่าในเบื้องต้นไ ด้ผลในด้านการประชาสัมพันธ์ ให้ผู้เป็น “เหยื่อ” สถานการณ์ได้รับรู้เรื่องการเยียวยาที่รัฐบาลให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบที่เกิดขึ้นกับผู้คนในจังหวัดชายแดนภาคใต้
แต่อีกข้อกังวลที่เป็นข้อเท็จจริงที่ทุกฝ่ายไม่ควรจะมองข้าม คือ ผู้ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่ต่างเข้าใจ และคาดหวังว่า ในการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบจะได้รับค่าเยียวยาตามหลักเกณฑ์เดียวกับที่กลุ่มคนเสื้อแดงที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมืองในกรุงเทพฯ คือ เสียชีวิต หรือบาดเจ็บสาหัสได้รับการเยียวยาจำนวน 7.5 ล้าน และบาดเจ็บ พิการ บาดเจ็บเล็กน้อยได้ตามเกณฑ์ที่ลดหลั่นลงไป
คนส่วนใหญ่ที่มาลงทะเบียนเพื่อรับการเยียวยาต่างไม่มีใครทราบรายละเอียดว่ารัฐบาลตั้งวงเงินจำนวน 2,000 ล้าน เพื่อการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และกลุ่มผู้เสียหายที่อยู่ในเกณฑ์ได้รับเงินเยียวยารายละ 7.5 ล้าน มีเพียงกลุ่มเดียวเท่านั้น คือกลุ่มคนที่ถูกเจ้าหน้าที่กระทำให้เสียชีวิต บาดเจ็บ และสูญหาย นอกจากนั้นจะได้เงินเยียวยา แบบไหน จำนวนเท่าไหร่ ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจน
ซึ่งในเบื้องต้น กระทรวงยุติธรรม โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อทำหน้าที่ในการกำหนดกรอบการเยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบในจังหวัดชายแดนภาคใต้จำนวน 8 คณะด้วยกัน ประกอบด้วย
1.คณะอนุกรรมการกำหนดยุทธศาสตร์ประเมินผลการเยียวยา 2.อนุกรรมการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ 3.อนุกรรมการช่วยเหลือเยียวยาเจ้าหน้าที่รัฐที่ได้รับผลกระทบ 4.อนุกรรมการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐในเหตุการณ์ 28 เมษายน 2547 และ 25 ตุลาคม 2547 (เหตุการณ์ตากใบ) 5.อนุกรรมการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบในกรณีถูกบังคับให้สูญหาย ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนวิธีอื่น โดยเจ้าหน้าที่รัฐจนบาดเจ็บ พิการ และเสียชีวิต 6.อนุกรรมการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบเฉพาะกรณี 7.อนุกรรมการช่วยเหลือเยียวยากรณีถูกจับกุม ควบคุม หรือคุมขัง หรือถูกดำเนินคดีโดยไม่มีความผิด และ 8.อนุกรรมการสื่อสารสร้างความเข้าใจทั้งในและต่างประเทศ
โดยคณะกรรมการทุกชุดมีหน้าที่กำหนดกรอบในการเยียวยา ตั้งแต่การกำหนดกลุ่มเป้าหมายตามหลักฐานข้อเท็จจริง ให้การช่วยเหลือเยียวยาผู้เดือดร้อนเพื่อให้มีชีวิตอยู่ต่อไปอย่างมีคุณภาพ เยี่ยมเยือนประชาชนผู้ได้รับความเสียหาย กำหนดมาตรการติดตามประเมินผล ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานให้สังคมได้รับทราบ เชิญหน่วยงานรัฐชี้แจง และให้ข้อมูล แต่งตั้งคณะทำงานช่วยเหลือสนับสนุนการดำเนินการของอนุกรรมการ และดำเนินการอื่นใดตามที่คณะกรรมการเยียวยามอบหมายให้
ดังนั้น หน้าที่ของอนุกรรมการทั้งหมด จึงเป็นลักษณะตัวแทนของรัฐบาลที่จะต้องดำเนินการกับเงิน 2,000 ล้าน ให้เป็นธรรม โดยมีหน้าที่ตอบคำถามผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ทุกกลุ่ม ถึงเหตุผลของการได้ และไม่ได้สิทธิในการรับค่าเยียวยา และต้องให้เหตุผลถึงสาเหตุที่ผู้ได้รับผลกระทบในจังหวัดชายแดนภาคใต้แต่ละกลุ่ม จึงไม่เป็นไปตามเกณฑ์ของผู้ชุมนุมทางการเมือง
ดังนั้น “เผือกร้อน” ที่อยู่จะอยู่ในมือของรัฐบาลจึงถูกเปลี่ยนมาอยู่ในมือของอนุกรรมการเยียวยาทั้ง 8 ชุด ด้วยความชาญฉลาดของรัฐบาล ซึ่งนับแต่วันนี้จนถึงวันที่ 30 กันยายน ที่คณะอนุกรรมการทั้ง 8 ชุด อยู่ในวาระการทำหน้าที่อนุกรรมการเยียวยา จะต้องรับบทบาทแทนรัฐบาลเพื่อวางกรอบให้เกิดความเป็นธรรม และเท่าเทียมของผู้ได้รับผลกระทบในจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง
ดังนั้น เมื่อหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทางออกของอนุกรรมการเยียวยาคือ การทำความเข้าใจกับผู้ได้รับผลกระทบ และสังคมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เข้าใจ ถึงจำนวนเงิน 2,000 ล้านบาท ที่จำเป็นต้องมีตัวหารเป็นจำนวนมาก จากจำนวนผู้เสียชีวิต ทั้งเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนร่วม 4,000 ราย ผู้บาดเจ็บอีกกว่า 7,000 ราย จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะได้รับเงินเยียวยาที่เท่าเทียมกับผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมืองที่มีจำนวนน้อยกว่า และต้องอธิบายถึงเรื่องผลกระทบที่เกิดจากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่คงจะไม่เหมือนกับเรื่องผลกระทบของกลุ่มคนทางการเมือง เพราะเป็นคนละเรื่องกัน
ที่สำคัญคือ อนุกรรมการทุกคณะจะต้องก้าวข้ามเรื่องของคน “เสื้อแดง” ให้ได้ เพราะหากเอาเรื่องของคน “เสื้อแดง” เป็นตัวตั้ง และถามคำถามว่า ทำไม่คนที่ได้รับผลกระทบในจังหวัดชายแดนภาคใต้จึงได้สิทธิที่ไม่เท่าเทียมกับกลุ่มการเมืองของคน “เสื้อแดง” การที่จะนำเงิน 2,000 ล้าน มาเพื่อใช้เยียวยาจะเดินหน้าไปไม่ได้อย่างแน่นอน
และเช่นเดียวกัน ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็ต้อง “ก้าวข้าม” เรื่องการเยียวยาทางการเมืองของคน “เสื้อแดง” เพราะหากเอามาตรฐานที่คนเสื้อแดงได้รับการเยียวยามาเป็น “ตัวตั้ง” ก็จะมีการตั้งคำถามเกิดขึ้นมากมาย ซึ่งล้วนเป็นคำถามที่ตอบไม่ได้ หรือตอบได้ก็สร้างความไม่พอใจให้เกิดขึ้น และจะกลายเป็นความขัดแย้งที่ไม่รู้จบ เพราะสุดท้ายแล้ว จำนวนเงินที่ใช้ในการเยียวยาของผู้ได้รับผลกระทบในสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็ไม่สามารถเพิ่มขึ้นตามความต้องการของผู้ได้รับผลกระทบอีกแล้ว
สุดท้าย การเยียวยาด้วยเงินจำนวน 2,000 ล้าน เพื่อสร้างคุณภาพชีวิต และสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงต้องใช้ความ “ปรองดอง” เป็นตัวตั้ง โดยคณะอนุกรรมการทั้งหมดอธิบายให้กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบแต่ละกลุ่มเข้าใจ และยอมรับในกรอบกติกาที่กำหนด เพื่อให้ทุกกลุ่มทุกฝ่ายได้รับความพอใจ และความเป็นธรรมอย่างเท่าเทียม
ยกเว้นแต่ว่า ผู้ได้รับผลกระทบจะไม่ยอมรับในกติกาดังกล่าว เพราะเห็นว่าเป็นความไม่เท่าเทียม และไม่เป็นธรรม ก็จะถือว่าคณะอนุกรรมการเยียวยาหมดหน้าที่ และจะเป็นหน้าที่ของรัฐบาลในการที่จะตอบคำถาม และสร้างมาตรฐานของความเป็นธรรมให้เกิดขึ้น
แต่อีกข้อกังวลที่เป็นข้อเท็จจริงที่ทุกฝ่ายไม่ควรจะมองข้าม คือ ผู้ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่ต่างเข้าใจ และคาดหวังว่า ในการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบจะได้รับค่าเยียวยาตามหลักเกณฑ์เดียวกับที่กลุ่มคนเสื้อแดงที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมืองในกรุงเทพฯ คือ เสียชีวิต หรือบาดเจ็บสาหัสได้รับการเยียวยาจำนวน 7.5 ล้าน และบาดเจ็บ พิการ บาดเจ็บเล็กน้อยได้ตามเกณฑ์ที่ลดหลั่นลงไป
คนส่วนใหญ่ที่มาลงทะเบียนเพื่อรับการเยียวยาต่างไม่มีใครทราบรายละเอียดว่ารัฐบาลตั้งวงเงินจำนวน 2,000 ล้าน เพื่อการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และกลุ่มผู้เสียหายที่อยู่ในเกณฑ์ได้รับเงินเยียวยารายละ 7.5 ล้าน มีเพียงกลุ่มเดียวเท่านั้น คือกลุ่มคนที่ถูกเจ้าหน้าที่กระทำให้เสียชีวิต บาดเจ็บ และสูญหาย นอกจากนั้นจะได้เงินเยียวยา แบบไหน จำนวนเท่าไหร่ ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจน
ซึ่งในเบื้องต้น กระทรวงยุติธรรม โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อทำหน้าที่ในการกำหนดกรอบการเยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบในจังหวัดชายแดนภาคใต้จำนวน 8 คณะด้วยกัน ประกอบด้วย
1.คณะอนุกรรมการกำหนดยุทธศาสตร์ประเมินผลการเยียวยา 2.อนุกรรมการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ 3.อนุกรรมการช่วยเหลือเยียวยาเจ้าหน้าที่รัฐที่ได้รับผลกระทบ 4.อนุกรรมการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐในเหตุการณ์ 28 เมษายน 2547 และ 25 ตุลาคม 2547 (เหตุการณ์ตากใบ) 5.อนุกรรมการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบในกรณีถูกบังคับให้สูญหาย ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนวิธีอื่น โดยเจ้าหน้าที่รัฐจนบาดเจ็บ พิการ และเสียชีวิต 6.อนุกรรมการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบเฉพาะกรณี 7.อนุกรรมการช่วยเหลือเยียวยากรณีถูกจับกุม ควบคุม หรือคุมขัง หรือถูกดำเนินคดีโดยไม่มีความผิด และ 8.อนุกรรมการสื่อสารสร้างความเข้าใจทั้งในและต่างประเทศ
โดยคณะกรรมการทุกชุดมีหน้าที่กำหนดกรอบในการเยียวยา ตั้งแต่การกำหนดกลุ่มเป้าหมายตามหลักฐานข้อเท็จจริง ให้การช่วยเหลือเยียวยาผู้เดือดร้อนเพื่อให้มีชีวิตอยู่ต่อไปอย่างมีคุณภาพ เยี่ยมเยือนประชาชนผู้ได้รับความเสียหาย กำหนดมาตรการติดตามประเมินผล ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานให้สังคมได้รับทราบ เชิญหน่วยงานรัฐชี้แจง และให้ข้อมูล แต่งตั้งคณะทำงานช่วยเหลือสนับสนุนการดำเนินการของอนุกรรมการ และดำเนินการอื่นใดตามที่คณะกรรมการเยียวยามอบหมายให้
ดังนั้น หน้าที่ของอนุกรรมการทั้งหมด จึงเป็นลักษณะตัวแทนของรัฐบาลที่จะต้องดำเนินการกับเงิน 2,000 ล้าน ให้เป็นธรรม โดยมีหน้าที่ตอบคำถามผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ทุกกลุ่ม ถึงเหตุผลของการได้ และไม่ได้สิทธิในการรับค่าเยียวยา และต้องให้เหตุผลถึงสาเหตุที่ผู้ได้รับผลกระทบในจังหวัดชายแดนภาคใต้แต่ละกลุ่ม จึงไม่เป็นไปตามเกณฑ์ของผู้ชุมนุมทางการเมือง
ดังนั้น “เผือกร้อน” ที่อยู่จะอยู่ในมือของรัฐบาลจึงถูกเปลี่ยนมาอยู่ในมือของอนุกรรมการเยียวยาทั้ง 8 ชุด ด้วยความชาญฉลาดของรัฐบาล ซึ่งนับแต่วันนี้จนถึงวันที่ 30 กันยายน ที่คณะอนุกรรมการทั้ง 8 ชุด อยู่ในวาระการทำหน้าที่อนุกรรมการเยียวยา จะต้องรับบทบาทแทนรัฐบาลเพื่อวางกรอบให้เกิดความเป็นธรรม และเท่าเทียมของผู้ได้รับผลกระทบในจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง
ดังนั้น เมื่อหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทางออกของอนุกรรมการเยียวยาคือ การทำความเข้าใจกับผู้ได้รับผลกระทบ และสังคมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เข้าใจ ถึงจำนวนเงิน 2,000 ล้านบาท ที่จำเป็นต้องมีตัวหารเป็นจำนวนมาก จากจำนวนผู้เสียชีวิต ทั้งเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนร่วม 4,000 ราย ผู้บาดเจ็บอีกกว่า 7,000 ราย จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะได้รับเงินเยียวยาที่เท่าเทียมกับผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมืองที่มีจำนวนน้อยกว่า และต้องอธิบายถึงเรื่องผลกระทบที่เกิดจากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่คงจะไม่เหมือนกับเรื่องผลกระทบของกลุ่มคนทางการเมือง เพราะเป็นคนละเรื่องกัน
ที่สำคัญคือ อนุกรรมการทุกคณะจะต้องก้าวข้ามเรื่องของคน “เสื้อแดง” ให้ได้ เพราะหากเอาเรื่องของคน “เสื้อแดง” เป็นตัวตั้ง และถามคำถามว่า ทำไม่คนที่ได้รับผลกระทบในจังหวัดชายแดนภาคใต้จึงได้สิทธิที่ไม่เท่าเทียมกับกลุ่มการเมืองของคน “เสื้อแดง” การที่จะนำเงิน 2,000 ล้าน มาเพื่อใช้เยียวยาจะเดินหน้าไปไม่ได้อย่างแน่นอน
และเช่นเดียวกัน ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็ต้อง “ก้าวข้าม” เรื่องการเยียวยาทางการเมืองของคน “เสื้อแดง” เพราะหากเอามาตรฐานที่คนเสื้อแดงได้รับการเยียวยามาเป็น “ตัวตั้ง” ก็จะมีการตั้งคำถามเกิดขึ้นมากมาย ซึ่งล้วนเป็นคำถามที่ตอบไม่ได้ หรือตอบได้ก็สร้างความไม่พอใจให้เกิดขึ้น และจะกลายเป็นความขัดแย้งที่ไม่รู้จบ เพราะสุดท้ายแล้ว จำนวนเงินที่ใช้ในการเยียวยาของผู้ได้รับผลกระทบในสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็ไม่สามารถเพิ่มขึ้นตามความต้องการของผู้ได้รับผลกระทบอีกแล้ว
สุดท้าย การเยียวยาด้วยเงินจำนวน 2,000 ล้าน เพื่อสร้างคุณภาพชีวิต และสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงต้องใช้ความ “ปรองดอง” เป็นตัวตั้ง โดยคณะอนุกรรมการทั้งหมดอธิบายให้กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบแต่ละกลุ่มเข้าใจ และยอมรับในกรอบกติกาที่กำหนด เพื่อให้ทุกกลุ่มทุกฝ่ายได้รับความพอใจ และความเป็นธรรมอย่างเท่าเทียม
ยกเว้นแต่ว่า ผู้ได้รับผลกระทบจะไม่ยอมรับในกติกาดังกล่าว เพราะเห็นว่าเป็นความไม่เท่าเทียม และไม่เป็นธรรม ก็จะถือว่าคณะอนุกรรมการเยียวยาหมดหน้าที่ และจะเป็นหน้าที่ของรัฐบาลในการที่จะตอบคำถาม และสร้างมาตรฐานของความเป็นธรรมให้เกิดขึ้น