โดย : ปิ่น บุตรี (pinn109@hotmail.com)
อุทัยธานี จังหวัดนี้มี “หุบป่าตาด” แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่มีลักษณะเฉพาะตัวเป็นอันซีนไทยแลนด์อันสำคัญ
หุบป่าตาด ตั้งอยู่ที่หมู่ 1 ต.ทุ่งนางาม ในพื้นที่ดูแลของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุน อ.ลานสัก เดิมทีไม่มีใครรู้ว่ามีป่าประหลาดแห่งนี้อยู่ในอุทัย แต่กับพวกพรานในพื้นที่ที่มาล่าสัตว์หลายคนเคยตามรอยเลียงผามาพบป่าแห่งนี้บ้างแล้ว แต่ก็ไม่ได้สนใจอะไร เพราะสนใจเลียงผามากกว่า
กระทั่งในปี พ.ศ. 2522 พระครูสันติธรรมโกศล(หลวงพ่อทองหยด) เจ้าอาวาสวัดเขาทอง มีเหตุบังเอิญต้องปีนลงไปในหุบเขานี้ที่ปิดล้อม(สมัยนั้นยังไม่มีการระเบิดภูเขาทำเป็นทางเดินเข้าไป) เมื่อลงไปแล้วถึงกับตะลึงในความแปลกพิศวงของป่าโบราณแห่งนี้
หลังจากค้นพบความงามที่ถูกซุกซ่อน ทางจังหวัดอุทัยก็ประกาศเป็นพื้นที่อนุรักษ์ และระเบิดเจาะอุโมงค์เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวด้วยอีกทาง
อย่างไรก็ดีด้วยความแปลกโดดเด่นทำให้ผืนป่าให้นี้ได้รับการยกย่องจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)ให้เป็นอันซีนไทยแลนด์(2)ใน ปี 2547
นั่นถือเป็นตัวผลักดันสำคัญให้หุบป่าตาดโด่งดังเพียงชั่วข้ามคืนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเด่นดังของจังหวัดอุทัยธานีขึ้นมาทันที
สำหรับหุบป่าตาดมีลักษณะเป็นป่าดึกดำบรรพ์ที่อุดมไปด้วย “ต้นตาด” หรือ “ต้นต๋าว” (Arenga pinrata) พืชตระกูลปาล์ม มีใบเป็นแฉกแผ่กว้างสยาย ชอบขึ้นในพื้นที่ป่าดงดิบที่มีอากาศเย็นชื้นสภาพหนาทึบ
ตาดออกลูกเป็นทลายเล็กๆกลมๆ ลูกตาดกินได้ ชาวบ้านนิยมนำเนื้อในมาทำเป็นลูกจากหรือลูกชิด ใบนำไปทำไม้กวาด ยอดอ่อนนำไปต้มจิ้มน้ำพริก
นอกจากตาดแล้วในป่าแห่งนี้ยังมีพันธุ์ไม้เด่นๆ อาทิ เต่าร้าง เปล้า คัดค้าวเล็ก กะพง ยมหิน และอดีตต้นไทรใหญ่
ส่วนที่ถือเป็นดังแม่เหล็กดึงดูดให้คนอยากไปสัมผัสก็คือบรรยากาศแหงนี้ที่มีลักษณะเหมือนป่าโบราณป่าดึกดำบรรพ์ชวนให้นึกถึงหนังเกี่ยวกับไดโนเสาร์ต่างๆ เพราะที่นี่อวลเสน่ห์ไปด้วยต้นตาดหนาแน่นแผ่สยายใบร่มครึ้ม ช่วงกลางหุบมีเวิ้งถ้ำเป็นช่องประตูขนาดใหญ่สามารถเดินทะลุถึงกัน ซึ่งเมื่อผมไปยืน ณ บริเวณนั้นมันช่างให้อารมณ์ โบร๊าณ โบราณ มากๆ
พูดถึงการถือกำเนิดของหุบป่าตาดนั้น จากข้อมูลว่าเคยเป็นถ้ำมาก่อน แต่หลังคาถ้ำได้ยุบตัวกลายเป็นหุบหรือบ่อกลางภูเขาจำนวน 2 ห้อง มีเนื้อที่รวมประมาณ 2 ไร่เศษ มีขอบบ่อสูงถึงราว 150-200 เมตร ทำให้มีสภาพเป็นบ่อกลางภูเขาที่ลึกเอาเรื่อง ซึ่งนักวิชาการได้สันนิษฐานว่าน่าจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกโดยเฉียบพลัน ทำให้หลังคาถ้ำถล่มลงมากลายเป็นบ่อในหุบเขาที่ต้นไม้สามารถขึ้นได้ในบางพันธุ์ เพราะมีข้อจำกัดเรื่องแสงแดด แต่นั่นคงไม่ใช่กับพืชจำพวกตาดที่พวกนกหรือลิงนำผลของมันมากินแล้วอึทิ้งลงไปในหุบเขาที่มีสภาพพื้นที่ที่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของต้นตาดได้เป็นอย่างดี
นั่นจึงทำให้ต้นตาดค่อยเติบโตยึดครองพื้นขยายพวกพ้องเครือญาติกลายเป็นป่าต้นตาดที่ถูกค้นพบและกลายเป็นอันซีนไทยแลนด์ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น
ผมเคยไปหุบป่าตาดครั้งแรกเมื่อประมาณ 10 ที่แล้ว สมัยนั้นที่นี่เงียบมาก คนไปเที่ยวก็น้อยมาก วันที่ผมไปมีคณะเรากลุ่มเดียว เมื่อเดินผ่านอุโมงค์กาลเวลาที่เหม็นขี้ค้างคาวมากๆเข้าไปเที่ยว บรรยากาศยามเย็นภายในแม้จะสวย แต่ก็ดูยะเยือกชวนให้หวั่นๆไม่น้อยเลย
ในสมัยนั้นมีการทำบันไดปูนเดินขึ้นไป มีการปูทางเดินด้วยอิฐตัวหนอนให้เดินชมภายในได้อย่างสะดวกสบาย แต่ประทานโทษ!?! มันมีเสียงทักท้วงจากนักท่องเที่ยวหลายคนว่า สิ่งก่อสร้างภายในหุบป่าตาดดูไม่ค่อยกลมกลืนกับสภาพธรรมชาติเท่าไหร่
จากนั้นเมื่อเวลาผ่านพ้นมา ผมกลับไปอุทัยอีกครั้งหลังน้ำท่วม และได้มีโอกาสแวะไปเที่ยวชมหุบป่าตาด พบว่าที่นี่มีการปรับปรุงสภาพพื้นที่ มีการปรับภูมิทัศน์ที่เพ่งทำเสร็จหมาดๆ ในวันที่ไปบางจุดยังเก็บงานไม่เรียบร้อยดีเลย
สำหรับหุบป่าตาดมาดใหม่นั้น เขามีการจัดทำลานจอดรถอย่างดี มีส่วนจัดแสดงนิทรรศการกลางแจ้งให้ข้อมูลเกี่ยวกับหุบป่าตาดและสถานที่ท่องเที่ยวในละแวกใกล้เคียง รวมถึงมีการปรับปรุงเส้นทางเดินชมศึกษาธรรมชาติให้ดูกลมกลืนกับธรรมชาติมากขึ้น รื้อไอ้ทางเดินอิฐตัวหนอนที่ดูประดักประเดิดทิ้งไป
นอกจากนี้ยังมีเยาวชนจากโรงเรียนแถบนั้นมาทำหน้าที่เป็นไกด์น้อยให้ข้อมูลเพิ่มเติมในการนำชมอีกทาง ซึ่งหุบป่าตาด ณ ปัจจุบัน ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ที่มีศักยภาพมากแห่งหนึ่งในอุทัยธานี ในช่วงวันหยุดจะมีนักเรียน นักศึกษามาทัศนศึกษาหาความรู้กันอยู่เสมอ ดังเช่นในวันที่ผมไปก็ได้เจอกับเหล่าลูกเสือ เนตรนารี จากโรงเรียนในอุทัยมาทัศนศึกษากันเป็นกลุ่มใหญ่
“น้องเน” ไกด์น้อยที่มาอาสานำเที่ยว พาผมและเพื่อนๆท่องหุบป่าตาดเดินผ่านอุโมงค์แห่งกาลเวลาสู่เขตหุบป่าตาด ที่บรรยากาศในป่าแห่งนี้ยังคงขลังและดูดึกดำบรรพ์ไม่ต่างจากเดิม แต่ก็มีบางสิ่งที่ทำเสริมเติมขึ้นมาเช่น จุดชมวิว ป้ายสื่อความหมายที่ทำใหม่
แรกๆดูน้องเนออกจะเกร็งๆและกลัวผมไม่น้อย เพราะนอกจากจะหน้าตาน่ากลัวแล้วยังกวน Teen อีกต่างหาก แต่หลังจากคุ้นกันแล้ว น้องเนดูจะกล้าพูดกล้าคุยและกล้าโม้มากขึ้น
หลังว่างเว้นจากการท่องหุบป่าตาดไปหลายปี นอกจากหุบป่าตาดที่ถือเป็นไลท์แล้ว ผมเพิ่งทราบว่าที่นี่มีของดีระดับโลกซุกซ่อนอยู่ นั่นก็คือ “กิ้งกือมังกรสีชมพู” (shocking pink millipede)
ชาวบ้านที่นี่เคยเจอเจ้าสัตว์มากขาตัวนี้มานานแล้ว แต่ไม่ได้สนใจคิดว่าเป็นพวกตัวตะเข็บทั่วไป จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2550 เมื่อศ.เฮนริค อิงฮอฟ (Henrik Enghoff) ผู้เชี่ยวชาญด้านกิ้งกือมือหนึ่งของโลกชาวเดนมาร์ก ได้มาเจอเข้าถึงกับตะลึง เพราะเขาพบว่านี่เป็นกิ้งกือชนิดใหม่ของโลก โดยให้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Desmoxytes purpurosea
จากนั้นนักวิทยาศาสตร์ชาวโคนมได้นำไปเผยแพร่ ทำให้หลังจากนั้นในปี 2551 เจ้ากิ้งกือสีชมพูได้รับการประกาศยกย่องจากมหาวิทยาลัยรัฐอะริโซนา สหรัฐอเมริกา ว่านี่เป็นสุดยอดการค้นพบอันดับ 3 ของโลก รองจากการค้นพบซากฟอสซิลไดโนเสาร์ปากเป็ดอายุ 75 ล้านปี ในสหรัฐอเมริกา ที่เป็นอันดับ 2 และการค้นพบกระเบนไฟฟ้าในแอฟริกาที่มาเป็นอันดับ 1
กิ้งกือมังกรสีชมพู อยู่ในวงศ์กิ้งกือมังกร หรือ พาราดอกโซโซมาติดี ตัวมีสีสดใสแบบช็อกกิงพิงค์ มีลักษณะโดดเด่นด้วยลวดลายและปุ่มหนาคล้ายมังกร ตัวเต็มวัยมีขนาดยาวประมาณ 7 เซนติเมตร มีจำนวนปล้องราว 20-40 ปล้อง ในเมืองไทยนอกจากที่หุบป่าตาดเมืองอุทัยแล้ว ยังสามารถพบได้ในป่าที่มีความชื้นสูงและมีความอุดมสมบูรณ์ แถบภาคเหนือตอนล่าง(กลางตอนบน) ตาก กำแพงเพชร และนครสวรรค์
เจ้ากิ้งกือมังกรสีชมพูจะพบได้ในช่วงหน้าฝน ทำให้ช่วงที่ผมไปซึ่งเป็นหน้าแล้ง จึงไม่มีวี่แววของพวกมันปรากฏ งานนี้จึงดูโฉมหน้าคร่าตาของมันได้จากรูปในนิทรรศการเท่านั้น
อย่างไรก็ตามแม้ไม่เจอกิ้งกือมังกร แต่น้องเนก็พาไปดูรอยตีนเลียงผาที่มาย่ำพื้นเห็นเป็นรอยเท้าอยู่ชัดเจนในแถวเพิงถ้ำ ซึ่งน้องเนบอกกับผมว่าเขาเคยพบเจ้าเลียงผาตัวเป็นๆแบบห่างกันไม่กี่ก้าวมาแล้ว
ในหุบป่าตาดแม้สภาพและบรรยากาศทั่วไปยังคงเหมือนเดิม มีทางเดินสร้างใหม่ที่ดูดีกลมกลืนกว่าแต่ก่อน แต่ที่นี่มีความเปลี่ยนแปลงอันชวนสะดุดตา และชวนให้นึกถึงว่าทุกสิ่งทุกอย่างเมื่อมีเกิดย่อมมีดับไม่จีรังยั่งยืน
เพราะในเส้นทางเดินช่วงแรกผมได้เห็นเจ้าต้นไทรใหญ่ที่ถือเป็นหนึ่งในต้นไม้ไฮไลท์ของที่นี่ถึงขนาดทาง ททท. นำภาพต้นไทรใหญ่ขึ้นกลางดงหุบป่าตาดไปเป็นภาพชูในปกหลังของหนังสือนำเที่ยวจังหวัดอุทัย และใครหลายๆคนเมื่อมาเที่ยวที่นี่ก็มักจะถ่ายภาพของเจ้าต้นไทรใหญ่นี้กลับไป รวมถึงตัวผมด้วย
แต่ในวันที่ผมไป พบว่าเจ้าต้นไทรใหญ่ได้หักโค่นไปตามกาลเวลา เนื่องจากรากของมันได้ไปกลืนกินเจ้าต้นไม้เดิมจนไม่สามารถดำรงอยู่ได้ และรากของเจ้าต้นไทรก็ไม่สามารถยึดโยงตัวเองอยู่ได้ พวกมันทั้งคู่จึงหักโค่นตายตกตามกันไป ปิดตำนานนักบุญแห่งผืนป่า นักฆ่าเลือดเย็นแห่งหุบป่าตาด ที่สุดท้ายแล้วการทำลายผู้อื่นได้ย้อนกลับมาทำลายตัวเองอย่างเลือดเย็นไม่แพ้กัน
หลังเพลิดเพลินอยู่ในหุบป่าตาดกว่า 2 ชั่วโมงผมเดินออกจากอุโมงค์กาลเวลามาเจอกลับน้องลูกเสือและเนตรนารีกำลังง่วนอยู่กับการหุงไฟก่อข้าวทำอาหารกลางวัน ตามโจทย์และคำสั่งของครู เด็กผู้ชายหลายคนยังคงมะงุมมะงาหราหน้ามืดกับการพยายามก่อไฟ ที่ทำเท่าไหร่ไฟก็ไม่ยอมติด
ขณะที่เด็กผู้หญิงส่วนใหญ่ล่วงหน้าไปไกลด้วยการหุงข้าวเสร็จ ลงมือทำอาหาร เตรียมตัวรอหม่ำมื้อเที่ยงกันแล้ว
เห็นบรรยากาศแบบนี้ นอกจากมันมันชวนให้ผมอดนึกถึงสมัยวัยเด็ก เวลาเข้าค่ายลูกเสือที่ต้องจุดไฟให้ติดด้วยไม้ขีดเพียง 3 ก้านไม่ได้แล้ว มันยังให้ผมพบว่าเวลาเรียนนั้น วิชาส่วนใหญ่ต่างแอบลอกกันได้
แต่วิชาก่อไฟไม่สามารถลอกกันได้ด้วยประการทั้งปวง
****************************************
ค่าเข้าชมหุบป่าตาด ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท ชาวต่างชาติ ผู้ใหญ่ 200 บาท เด็ก 100 บาท ในวันหยุดสุดสัปดาห์จะมีไกด์น้อยมาคอยพานำเที่ยวชมตามแต่นักท่องเที่ยวสมัครใจ ผู้สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุน โทร. 0-5698-9128
อุทัยธานี จังหวัดนี้มี “หุบป่าตาด” แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่มีลักษณะเฉพาะตัวเป็นอันซีนไทยแลนด์อันสำคัญ
หุบป่าตาด ตั้งอยู่ที่หมู่ 1 ต.ทุ่งนางาม ในพื้นที่ดูแลของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุน อ.ลานสัก เดิมทีไม่มีใครรู้ว่ามีป่าประหลาดแห่งนี้อยู่ในอุทัย แต่กับพวกพรานในพื้นที่ที่มาล่าสัตว์หลายคนเคยตามรอยเลียงผามาพบป่าแห่งนี้บ้างแล้ว แต่ก็ไม่ได้สนใจอะไร เพราะสนใจเลียงผามากกว่า
กระทั่งในปี พ.ศ. 2522 พระครูสันติธรรมโกศล(หลวงพ่อทองหยด) เจ้าอาวาสวัดเขาทอง มีเหตุบังเอิญต้องปีนลงไปในหุบเขานี้ที่ปิดล้อม(สมัยนั้นยังไม่มีการระเบิดภูเขาทำเป็นทางเดินเข้าไป) เมื่อลงไปแล้วถึงกับตะลึงในความแปลกพิศวงของป่าโบราณแห่งนี้
หลังจากค้นพบความงามที่ถูกซุกซ่อน ทางจังหวัดอุทัยก็ประกาศเป็นพื้นที่อนุรักษ์ และระเบิดเจาะอุโมงค์เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวด้วยอีกทาง
อย่างไรก็ดีด้วยความแปลกโดดเด่นทำให้ผืนป่าให้นี้ได้รับการยกย่องจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)ให้เป็นอันซีนไทยแลนด์(2)ใน ปี 2547
นั่นถือเป็นตัวผลักดันสำคัญให้หุบป่าตาดโด่งดังเพียงชั่วข้ามคืนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเด่นดังของจังหวัดอุทัยธานีขึ้นมาทันที
สำหรับหุบป่าตาดมีลักษณะเป็นป่าดึกดำบรรพ์ที่อุดมไปด้วย “ต้นตาด” หรือ “ต้นต๋าว” (Arenga pinrata) พืชตระกูลปาล์ม มีใบเป็นแฉกแผ่กว้างสยาย ชอบขึ้นในพื้นที่ป่าดงดิบที่มีอากาศเย็นชื้นสภาพหนาทึบ
ตาดออกลูกเป็นทลายเล็กๆกลมๆ ลูกตาดกินได้ ชาวบ้านนิยมนำเนื้อในมาทำเป็นลูกจากหรือลูกชิด ใบนำไปทำไม้กวาด ยอดอ่อนนำไปต้มจิ้มน้ำพริก
นอกจากตาดแล้วในป่าแห่งนี้ยังมีพันธุ์ไม้เด่นๆ อาทิ เต่าร้าง เปล้า คัดค้าวเล็ก กะพง ยมหิน และอดีตต้นไทรใหญ่
ส่วนที่ถือเป็นดังแม่เหล็กดึงดูดให้คนอยากไปสัมผัสก็คือบรรยากาศแหงนี้ที่มีลักษณะเหมือนป่าโบราณป่าดึกดำบรรพ์ชวนให้นึกถึงหนังเกี่ยวกับไดโนเสาร์ต่างๆ เพราะที่นี่อวลเสน่ห์ไปด้วยต้นตาดหนาแน่นแผ่สยายใบร่มครึ้ม ช่วงกลางหุบมีเวิ้งถ้ำเป็นช่องประตูขนาดใหญ่สามารถเดินทะลุถึงกัน ซึ่งเมื่อผมไปยืน ณ บริเวณนั้นมันช่างให้อารมณ์ โบร๊าณ โบราณ มากๆ
พูดถึงการถือกำเนิดของหุบป่าตาดนั้น จากข้อมูลว่าเคยเป็นถ้ำมาก่อน แต่หลังคาถ้ำได้ยุบตัวกลายเป็นหุบหรือบ่อกลางภูเขาจำนวน 2 ห้อง มีเนื้อที่รวมประมาณ 2 ไร่เศษ มีขอบบ่อสูงถึงราว 150-200 เมตร ทำให้มีสภาพเป็นบ่อกลางภูเขาที่ลึกเอาเรื่อง ซึ่งนักวิชาการได้สันนิษฐานว่าน่าจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกโดยเฉียบพลัน ทำให้หลังคาถ้ำถล่มลงมากลายเป็นบ่อในหุบเขาที่ต้นไม้สามารถขึ้นได้ในบางพันธุ์ เพราะมีข้อจำกัดเรื่องแสงแดด แต่นั่นคงไม่ใช่กับพืชจำพวกตาดที่พวกนกหรือลิงนำผลของมันมากินแล้วอึทิ้งลงไปในหุบเขาที่มีสภาพพื้นที่ที่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของต้นตาดได้เป็นอย่างดี
นั่นจึงทำให้ต้นตาดค่อยเติบโตยึดครองพื้นขยายพวกพ้องเครือญาติกลายเป็นป่าต้นตาดที่ถูกค้นพบและกลายเป็นอันซีนไทยแลนด์ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น
ผมเคยไปหุบป่าตาดครั้งแรกเมื่อประมาณ 10 ที่แล้ว สมัยนั้นที่นี่เงียบมาก คนไปเที่ยวก็น้อยมาก วันที่ผมไปมีคณะเรากลุ่มเดียว เมื่อเดินผ่านอุโมงค์กาลเวลาที่เหม็นขี้ค้างคาวมากๆเข้าไปเที่ยว บรรยากาศยามเย็นภายในแม้จะสวย แต่ก็ดูยะเยือกชวนให้หวั่นๆไม่น้อยเลย
ในสมัยนั้นมีการทำบันไดปูนเดินขึ้นไป มีการปูทางเดินด้วยอิฐตัวหนอนให้เดินชมภายในได้อย่างสะดวกสบาย แต่ประทานโทษ!?! มันมีเสียงทักท้วงจากนักท่องเที่ยวหลายคนว่า สิ่งก่อสร้างภายในหุบป่าตาดดูไม่ค่อยกลมกลืนกับสภาพธรรมชาติเท่าไหร่
จากนั้นเมื่อเวลาผ่านพ้นมา ผมกลับไปอุทัยอีกครั้งหลังน้ำท่วม และได้มีโอกาสแวะไปเที่ยวชมหุบป่าตาด พบว่าที่นี่มีการปรับปรุงสภาพพื้นที่ มีการปรับภูมิทัศน์ที่เพ่งทำเสร็จหมาดๆ ในวันที่ไปบางจุดยังเก็บงานไม่เรียบร้อยดีเลย
สำหรับหุบป่าตาดมาดใหม่นั้น เขามีการจัดทำลานจอดรถอย่างดี มีส่วนจัดแสดงนิทรรศการกลางแจ้งให้ข้อมูลเกี่ยวกับหุบป่าตาดและสถานที่ท่องเที่ยวในละแวกใกล้เคียง รวมถึงมีการปรับปรุงเส้นทางเดินชมศึกษาธรรมชาติให้ดูกลมกลืนกับธรรมชาติมากขึ้น รื้อไอ้ทางเดินอิฐตัวหนอนที่ดูประดักประเดิดทิ้งไป
นอกจากนี้ยังมีเยาวชนจากโรงเรียนแถบนั้นมาทำหน้าที่เป็นไกด์น้อยให้ข้อมูลเพิ่มเติมในการนำชมอีกทาง ซึ่งหุบป่าตาด ณ ปัจจุบัน ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ที่มีศักยภาพมากแห่งหนึ่งในอุทัยธานี ในช่วงวันหยุดจะมีนักเรียน นักศึกษามาทัศนศึกษาหาความรู้กันอยู่เสมอ ดังเช่นในวันที่ผมไปก็ได้เจอกับเหล่าลูกเสือ เนตรนารี จากโรงเรียนในอุทัยมาทัศนศึกษากันเป็นกลุ่มใหญ่
“น้องเน” ไกด์น้อยที่มาอาสานำเที่ยว พาผมและเพื่อนๆท่องหุบป่าตาดเดินผ่านอุโมงค์แห่งกาลเวลาสู่เขตหุบป่าตาด ที่บรรยากาศในป่าแห่งนี้ยังคงขลังและดูดึกดำบรรพ์ไม่ต่างจากเดิม แต่ก็มีบางสิ่งที่ทำเสริมเติมขึ้นมาเช่น จุดชมวิว ป้ายสื่อความหมายที่ทำใหม่
แรกๆดูน้องเนออกจะเกร็งๆและกลัวผมไม่น้อย เพราะนอกจากจะหน้าตาน่ากลัวแล้วยังกวน Teen อีกต่างหาก แต่หลังจากคุ้นกันแล้ว น้องเนดูจะกล้าพูดกล้าคุยและกล้าโม้มากขึ้น
หลังว่างเว้นจากการท่องหุบป่าตาดไปหลายปี นอกจากหุบป่าตาดที่ถือเป็นไลท์แล้ว ผมเพิ่งทราบว่าที่นี่มีของดีระดับโลกซุกซ่อนอยู่ นั่นก็คือ “กิ้งกือมังกรสีชมพู” (shocking pink millipede)
ชาวบ้านที่นี่เคยเจอเจ้าสัตว์มากขาตัวนี้มานานแล้ว แต่ไม่ได้สนใจคิดว่าเป็นพวกตัวตะเข็บทั่วไป จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2550 เมื่อศ.เฮนริค อิงฮอฟ (Henrik Enghoff) ผู้เชี่ยวชาญด้านกิ้งกือมือหนึ่งของโลกชาวเดนมาร์ก ได้มาเจอเข้าถึงกับตะลึง เพราะเขาพบว่านี่เป็นกิ้งกือชนิดใหม่ของโลก โดยให้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Desmoxytes purpurosea
จากนั้นนักวิทยาศาสตร์ชาวโคนมได้นำไปเผยแพร่ ทำให้หลังจากนั้นในปี 2551 เจ้ากิ้งกือสีชมพูได้รับการประกาศยกย่องจากมหาวิทยาลัยรัฐอะริโซนา สหรัฐอเมริกา ว่านี่เป็นสุดยอดการค้นพบอันดับ 3 ของโลก รองจากการค้นพบซากฟอสซิลไดโนเสาร์ปากเป็ดอายุ 75 ล้านปี ในสหรัฐอเมริกา ที่เป็นอันดับ 2 และการค้นพบกระเบนไฟฟ้าในแอฟริกาที่มาเป็นอันดับ 1
กิ้งกือมังกรสีชมพู อยู่ในวงศ์กิ้งกือมังกร หรือ พาราดอกโซโซมาติดี ตัวมีสีสดใสแบบช็อกกิงพิงค์ มีลักษณะโดดเด่นด้วยลวดลายและปุ่มหนาคล้ายมังกร ตัวเต็มวัยมีขนาดยาวประมาณ 7 เซนติเมตร มีจำนวนปล้องราว 20-40 ปล้อง ในเมืองไทยนอกจากที่หุบป่าตาดเมืองอุทัยแล้ว ยังสามารถพบได้ในป่าที่มีความชื้นสูงและมีความอุดมสมบูรณ์ แถบภาคเหนือตอนล่าง(กลางตอนบน) ตาก กำแพงเพชร และนครสวรรค์
เจ้ากิ้งกือมังกรสีชมพูจะพบได้ในช่วงหน้าฝน ทำให้ช่วงที่ผมไปซึ่งเป็นหน้าแล้ง จึงไม่มีวี่แววของพวกมันปรากฏ งานนี้จึงดูโฉมหน้าคร่าตาของมันได้จากรูปในนิทรรศการเท่านั้น
อย่างไรก็ตามแม้ไม่เจอกิ้งกือมังกร แต่น้องเนก็พาไปดูรอยตีนเลียงผาที่มาย่ำพื้นเห็นเป็นรอยเท้าอยู่ชัดเจนในแถวเพิงถ้ำ ซึ่งน้องเนบอกกับผมว่าเขาเคยพบเจ้าเลียงผาตัวเป็นๆแบบห่างกันไม่กี่ก้าวมาแล้ว
ในหุบป่าตาดแม้สภาพและบรรยากาศทั่วไปยังคงเหมือนเดิม มีทางเดินสร้างใหม่ที่ดูดีกลมกลืนกว่าแต่ก่อน แต่ที่นี่มีความเปลี่ยนแปลงอันชวนสะดุดตา และชวนให้นึกถึงว่าทุกสิ่งทุกอย่างเมื่อมีเกิดย่อมมีดับไม่จีรังยั่งยืน
เพราะในเส้นทางเดินช่วงแรกผมได้เห็นเจ้าต้นไทรใหญ่ที่ถือเป็นหนึ่งในต้นไม้ไฮไลท์ของที่นี่ถึงขนาดทาง ททท. นำภาพต้นไทรใหญ่ขึ้นกลางดงหุบป่าตาดไปเป็นภาพชูในปกหลังของหนังสือนำเที่ยวจังหวัดอุทัย และใครหลายๆคนเมื่อมาเที่ยวที่นี่ก็มักจะถ่ายภาพของเจ้าต้นไทรใหญ่นี้กลับไป รวมถึงตัวผมด้วย
แต่ในวันที่ผมไป พบว่าเจ้าต้นไทรใหญ่ได้หักโค่นไปตามกาลเวลา เนื่องจากรากของมันได้ไปกลืนกินเจ้าต้นไม้เดิมจนไม่สามารถดำรงอยู่ได้ และรากของเจ้าต้นไทรก็ไม่สามารถยึดโยงตัวเองอยู่ได้ พวกมันทั้งคู่จึงหักโค่นตายตกตามกันไป ปิดตำนานนักบุญแห่งผืนป่า นักฆ่าเลือดเย็นแห่งหุบป่าตาด ที่สุดท้ายแล้วการทำลายผู้อื่นได้ย้อนกลับมาทำลายตัวเองอย่างเลือดเย็นไม่แพ้กัน
หลังเพลิดเพลินอยู่ในหุบป่าตาดกว่า 2 ชั่วโมงผมเดินออกจากอุโมงค์กาลเวลามาเจอกลับน้องลูกเสือและเนตรนารีกำลังง่วนอยู่กับการหุงไฟก่อข้าวทำอาหารกลางวัน ตามโจทย์และคำสั่งของครู เด็กผู้ชายหลายคนยังคงมะงุมมะงาหราหน้ามืดกับการพยายามก่อไฟ ที่ทำเท่าไหร่ไฟก็ไม่ยอมติด
ขณะที่เด็กผู้หญิงส่วนใหญ่ล่วงหน้าไปไกลด้วยการหุงข้าวเสร็จ ลงมือทำอาหาร เตรียมตัวรอหม่ำมื้อเที่ยงกันแล้ว
เห็นบรรยากาศแบบนี้ นอกจากมันมันชวนให้ผมอดนึกถึงสมัยวัยเด็ก เวลาเข้าค่ายลูกเสือที่ต้องจุดไฟให้ติดด้วยไม้ขีดเพียง 3 ก้านไม่ได้แล้ว มันยังให้ผมพบว่าเวลาเรียนนั้น วิชาส่วนใหญ่ต่างแอบลอกกันได้
แต่วิชาก่อไฟไม่สามารถลอกกันได้ด้วยประการทั้งปวง
****************************************
ค่าเข้าชมหุบป่าตาด ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท ชาวต่างชาติ ผู้ใหญ่ 200 บาท เด็ก 100 บาท ในวันหยุดสุดสัปดาห์จะมีไกด์น้อยมาคอยพานำเที่ยวชมตามแต่นักท่องเที่ยวสมัครใจ ผู้สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุน โทร. 0-5698-9128