โดย : ปิ่น บุตรี(pinn109@hotmail.com)
...กาลครั้งหนึ่ง...
เมื่อเกือบๆ 20 ปีที่แล้ว สมัยเรียนมหาวิทยาลัยที่ยังระห่ำห้าว ผมกับเพื่อนเคยดุ่ยๆโบกรถจากแม่สอด ผ่านแม่ระมาด มุ่งหน้าสู่อำเภอชายแดนเหนือสุดของจังหวัดตากที่อำเภอท่าสองยาง
ช่วงนั้นแม้ควันไฟจากสถานการณ์ความไม่สงบระหว่างชาวกะเกรี่ยงกับพม่ายังคงระอุคุกรุ่น มีวัตถุที่ไม่ได้รับเชิญลอยข้ามมาบึ้มบู้ม ตูมตาม ตกในฝั่งไทยอยู่บ่อยๆ กอปรกับการเดินทางก็ไม่ปลอดภัย ยามเย็นย่ำค่ำมืดไปจนถึงเช้าตรู่รถไม่ควรวิ่งผ่านด้วยประการทั้งปวง เพราะมีข่าวว่ามีการปล้นผู้ผ่านทางอยู่บ่อยๆ
ทว่าท่าสองยางกลับเป็นหนึ่งในอำเภอที่ผมประทับใจมาก เพราะผมโชคดีที่ได้รับการอนุเคราะห์จากชาวบ้านผู้ใจดีของที่นี่ พาไปส่งยังหน้าทางหมู่บ้านกระเหรี่ยงหมู่บ้านตัวเลือกในการออกค่ายได้อย่างไม่ยากเย็น แถมยังกำชับว่าถ้าไม่พบผู้ใหญ่บ้าน ไม่มีที่นอน หรือเห็นสภาพแล้วนอนไม่ได้ ให้รีบกลับขึ้นมาที่ป้อมตำรวจก่อนฟ้ามืด แล้วโทรศัพท์หาเขา
สมัยนั้นการติดต่อทางโทรศัพท์ยังใช้โทรศัพท์บ้านกันอยู่เลย มือถือเพิ่งเริ่มๆเข้ามาในบ้านเรา คนส่วนใหญ่ยังไม่มีใช้กันเพราะราคาแพงระยับ และแถวนั้นต่อให้เป็นสมัยนี้มีไอโฟน 4 ใช้ก็ดูจะไม่มีประโยชน์อะไร เพราะสัญญาณไม่มี
สำหรับหมู่บ้านกะเหรี่ยงเป้าหมายนั้น แรกที่มาถึงจุดนัดกับผู้ใหญ่บ้านผมก็ยังงงๆอยู่ว่าหมู่บ้านมันอยู่ตรงไหน เพราะบนถนนที่คดเคี้ยวเลี้ยวโค้งทอดยาวนั้น หากหนึ่งเป็นภูเขาสูงตระหง่าน อีกฟากหนึ่งเป็นผืนป่ารกครึ้มในหุบเหวข้างทาง
แต่แล้วจู่ๆผู้ใหญ่บ้านก็โผล่ออกมาจากป่า(เหว)ข้างทาง แล้วแกก็พาผมไต่ลัดเลาะสันเขาริมทางลงไปสู่หมู่บ้านเล็กกลางป่าใหญ่ในเบื้องล่าง ซึ่งหมู่บ้านที่นี่ขัดสนยากจนมาก และผมก็ตกลงใจจะต้องชวนเพื่อนๆมาทำอะไรสักอย่างหนึ่งที่หมู่บ้านนี้ ไม่ในปีนั้นก็ในปีถัดไป
ทว่าสุดท้ายแล้วเราก็รับตอบจากทางมหาวิทยาลัยว่า ในสถานการณ์ชายแดนคุกรุ่นอย่างนั้น การจะมาออกค่ายอาสาที่นี่มันไม่เหมาะสมด้วยประการทั้งปวง อีกทั้งมันยังรังแต่จะไปเพิ่มภาระให้เจ้าหน้าที่เขาเปล่าๆ ทำให้โครงการออกค่ายที่นี่ถูกพับเก็บไว้ เหลือเพียงความทรงจำ ถึงความงดงามของวิวทิวทัศน์อันสวยงาม อุดมไปด้วยผืนป่า ทะเลภูเขากว้างไกล ถนนหนทางรถน้อย(เพราะไม่ค่อยมีใครผ่าน)บางวันแม้เวลาปาเข้าไป 10 โมงกว่าแล้ว ยังมีทะเลหมอกยามสายหนาแน่นลอยอ้อยอิ่งให้ชมกันเลย
ที่สำคัญคือที่นี่มีน้ำใจหนุนส่งให้ผมได้พบแต่เรื่องราวดีๆกับครั้งแรกที่ท่าสองยาง
...กาลครั้งนี้...
หลังโครงการไม่ผ่าน 2 ปีถัดไปผมกับเพื่อนๆผ่านไปทางท่าสองยางอีกครั้ง แต่ครั้งนี้เราโบกรถจากแม่สอดยาวขึ้นไปเที่ยวแม่สะเรียงเลย แล้วต่อด้วยการขึ้นไปแอ่วเมืองสามหมอกแม่ฮ่องสอน ก่อนเข้าปาย กลับลงมาทางเชียงใหม่
จากนั้นผมก็ไม่ได้เหยียบย่างกลับไปท่าสองยางอีกหลายปี จนกระทั่งเรียนจบทำงาน ก็มีเพียงไม่กี่ครั้งที่มีโอกาสได้ผ่านมาผ่านไปในท่าสองยาง แต่ประทานโทษ!?! ผมไม่เคยแวะเที่ยวที่นี่เลยสักครั้งๆ
จนเมื่อไม่กี่วันมานี้พี่ที่นับถือชวนไปเดินป่า “ดอยทูเล-ดอยม่อนคลุย”(นำเสนอไปในตอนที่แล้ว) ผมจึงรีบตอบตกลงทันทีทั้งๆที่ไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับดอยทั้งสอง แต่เมื่อได้ขึ้นไปเป็นผู้พิชิตดอยทั้งสองก็ตอบได้คำเดียวคุ้ม และหากมีโอกาสก็จะกลับไปอีกภายในไม่กี่ปี ก่อนที่เรี่ยวแรงสังขารจะไม่ไหว
หลังกลับลงจากดอยม่อนคลุยที่ภาพของเทืออกเขาดอยทูเล ดอยปุยหลวง ดอยม่อนคลุย ค่อยๆถอยไกลตาออกมา จนผมอดที่จะเกิดความรู้สึก ไกลตา ไกลตีน แต่ใกล้ใจไม่ได้
ระหว่างทางช่วงที่กำลังขยายถนนให้กว้างขวางขึ้น พี่อดุลย์ บุญมาลาย กับ กิตติวงศ์ จอมจันทร์ หรือ ดอย 2 หนุ่ม 2 เมือง แห่ง อบต.ท่าสองยาง(พี่อดุลย์คนเมืองรถป้าลำปาง ดอยคนเมืองสับปะรด ประจวบฯ) ผู้พิสมัยการเดินป่าแต่ไม่พิสมัยป่าเดียวกันก็บอกให้รถจอดข้างทาง
หะแรก ผมนึกว่าทั้งคู่ลงไปยิงกระต่าย แต่ที่ไหนได้พี่อดุลย์กับดอยบอกจะพาผมไปเที่ยวถ้ำริมทาง จากนั้นทั้งคู่ก็เดินลงข้างทางที่มีลำธารน้ำตื้นๆ ใสเย็นไหลเอื่อย พร้อมเชิญชวนให้พวกเราเดินตามมาก ก่อนบอกว่าจะพาไปเที่ยว “ถ้ำทีซอแม” ที่จะสวยหรือไม่สวย อยากให้ผมลองไปสัมผัสด้วยตัวเองดู
สำหรับถ้ำทีซอแม เป็นถ้ำที่ตั้งอยู่ในตำบลท่าสอง ริมทางหลวงหมายเลข 105 กม.ที่ 152+600 (เลยขึ้นไป 600 เมตร จากกม.152) ชื่อถ้ำชาวบ้านตั้งชื่อตามลำห้วยทีซอแมที่ไหลผ่าน
พี่อดุลย์บอกว่า ลำห้วยทีซอแมแถบนี้มีสองสายด้วยกัน สายหนึ่งไหลผ่านถ้ำแห่งนี้ อีกสายหนึ่งไหลผ่านอีกทางก่อนจะไปบรรจบรวมเป็นลำห้วยสายเดียวกัน โดยมีหมู่บ้าน(กะเหรี่ยง)ทีซอแมตั้งอยู่ใกล้ๆกัน
“ลำห้วยที่นี่มีน้ำไหลตลอดทั้งปี ไม่มีเหือดแห้ง” พี่อดุลย์บอกก่อนยืนคุมหลัง ปล่อยให้ดอยเดินนำล่วงหน้าไป
จากริมทางผมเดินตามดอยที่เดินดุ่ยๆลุยน้ำตื้นเข้าไปอย่างชำนาญ ส่วนผมค่อยๆคืบไปเพราะกลัวกล้องจะเปียกและสอดส่ายหามุมถ่ายรูป
ลำห้วยทีซอแมช่วงนี้น้ำเย็นระยับจับจิต ชนิดแค่เดินลุยน้ำในระดับประมาณตาตุ่มถึงหน้าแข้ง มันยังเย็นยะเยือกขึ้นไปถึงหัวใจเลยทีเดียว นอกจากนี้ระหว่างที่เดินมันยังกระตุ้นอารมณ์ให้ผมอดหวนนึกถึงการเดินลุยน้ำท่วมในกรุงเทพฯที่เพิ่งผ่านไปสดๆร้อนๆไม่ได้ว่า มันช่างเป็นอารมณ์ที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เพราะสายน้ำท่วมในกรุงเทพฯที่เจ๊พริตตี้อ่านโพยแกบอกว่าเอาอยู่นั้น มันเน่าเหม็นเหมือนพฤติกรรมนักการเมืองไทยหลายๆคน จนไม่น่าเดินเอาเสียเลย ผิดกลับลำธารน้ำที่นี่ที่ใสสะอาด ไหลเอื่อย น่าเดิน แถมสองข้างทางก็อุดมไปด้วยต้นไม้เขียวครึ้ม
หลังจากเดินไปสักพักประมาณ 150 เมตร ผมก็ได้พบกับช่องแคบของผาหินที่สายน้ำไหลผ่าน ซึ่งพี่อดุลย์บอกว่าเราได้เข้ามาในเขตถ้ำทีซอแมแล้ว
จากนั้นแนวช่องผาก็ทวีความสูงใหญ่ขึ้น ริมหน้าผาทั้งสองน่ามองไปด้วยรูปร่าง ริ้วรอย ร่องรู ทรวดทรง ของภูผาที่ถูกธรรมชาติสรรค์สร้างเกิดเป็นประติมากรรมผาหินรูปร่างแปลกตา
บางช่วงบางตอนมีหยดน้ำซับไหลผ่านชั้นดินลงมา หลายช่วงหลายตอน ด้านล่างของแนวผาถูกน้ำกัดเซาะเป็นเพิงเว้าเข้าไป ชนิดเราสามารถเข้าไปนั่งเล่นนั่งถ่ายรูปในนั้นได้ แต่ต้องระวังหัวโขกตอนมุดเข้าออกหน่อย
นอกจากนี้บางช่วงบางตอนของผายังมีหินย้อยที่เป็นหินเป็นมีน้ำหยดติ๋งๆลงมา ยาวต้องประกายแสงแดดตกกระทบจะเกิดเป็นหินสีเทาอมเขียวอย่างน่ายล
แล้วแนวผาหินก็พาไปถึงยังช่วงที่แคบที่สุด(แต่เราสามารถมุดลอดไปได้) ผาหิน 2 ฟากฝั่งช่วงนี้ น่าดูไปด้วยหินงอกหินย้อย(บางจุดเป็นหินเป็น บางจุดเป็นหินตาย)รูปร่างแปลกตา บางจุดมีตะไคร้เกาะเขียวครึ้ม ด้านบนมีสายน้ำไหลเป็นสายบางๆลงมาผสมกับธารน้ำที่ไหลเอื่อยในเบื้องล่าง ซึ่งไหลไปทะลุอีกฟากหนึ่งของหน้าผา
ในช่องแคบช่วงท้ายของหน้าผาที่ตัดชันลงมานี้ โชคดีเหลือเกินที่วันนั้นแสงยามใกล้เที่ยงส่องลงมา เห็นเป็นลำแสงกระจายสวยงาม ชนิดที่ต้องคารวะต่อธรรมชาติต่อการสร้างสรรค์องค์ประกอบต่างๆให้มันเกิดมาพอเหมาะพอดีกัน ก่อนที่พวกเราจะลุยน้ำกลับมาในทางเก่าอีกครั้ง ซึ่งทุกคนในทริปสรุปเป็นเสียงเดียวกันว่า
ถ้ำทีซอแมที่ชาวบ้านเรียกนั้น มันไม่ใช่ถ้ำตามลักษณะทั่วไป หากแต่เป็นซอกผาแคบชันช่วงระยะสั้นๆยาวประมาณ 50 เมตร ที่มีล้ำห้วยทีซอแมไหลผ่าน มีอากาศเย็นสบาย ไม่อับเพราะเป็นช่องมีลมพัดผ่าน อากาศถ่ายเท แถมบางช่วงบางจุดภายในซอกผาแห่งนี้ เมื่อไปนั่งไปยืนแล้วมันก็ให้บรรยากาศเหมือนอยู่ภายในถ้ำไม่น้อยเลย
นับเป็นอันซีนในซอกผา เป็นเสน่ห์ของธรรมชาติริมทาง ที่บ่อยครั้งเรามักจะมุ่งมองความงาม จับโฟกัส ไปยังเป้าหมายใหญ่หรือจุดหมายปลายทาง จนทำให้มองข้ามความงามเล็กๆน้อยๆที่แอบแฝงซ่อนเร้นอยู่ริมสองข้างทางไป
ซึ่งหลายๆครั้งของชีวิตความสุขหาได้มาจากเป้าหมายใหญ่ หาได้จากจุดหมายที่เราหมายมั่นปั้นมือ หรือหาได้มาจากความสำเร็จที่เราวาดหวังไม่ หาก แต่มันกลับมาจากสิ่งเล็กๆ สิ่งซ่อนเร้น บนเส้นทางที่เรามองข้ามไป...
*****************************************
ถ้ำทีซอแม ตั้งอยู่ริมทางหลวงหมายเลข 105 กม.ที่ 152+600 (เลยขึ้นไป 600 เมตร จากกม.152) ใน ต.ท่าสอง อ.ท่าสองยาง จ.ตาก เป็นจุดมาพักผ่อนเล่นน้ำของชาวบ้านในชุมชน เป็นสถานที่ที่ยังไม่เปิดตัวเป็นแหล่งท่องเที่ยวอย่างเป็นทางการ ที่นี่จึงไม่มีป้ายและจุดสังเกตบอกทางไปยังถ้ำ ดังนั้นใครที่อยากแวะชมแวะเที่ยว ต้องสอบถามข้อมูลจากชาวบ้านที่รู้ หรือให้ผู้ที่รู้จักเส้นทางพาไปแวะชม โดยผู้สนใจสามารถโทร.สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อบต.ท่าสองยาง 089-268-0116,081-181-5820
ส่วนผู้ที่ต้องการเที่ยว อ.ท่าสองยาง เชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆใน จ.ตาก สามารถสอบถามข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหาร และการเดินทางเพิ่มเติมได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)สำนักงานตาก โทร. 0-5551-4341 -3
...กาลครั้งหนึ่ง...
เมื่อเกือบๆ 20 ปีที่แล้ว สมัยเรียนมหาวิทยาลัยที่ยังระห่ำห้าว ผมกับเพื่อนเคยดุ่ยๆโบกรถจากแม่สอด ผ่านแม่ระมาด มุ่งหน้าสู่อำเภอชายแดนเหนือสุดของจังหวัดตากที่อำเภอท่าสองยาง
ช่วงนั้นแม้ควันไฟจากสถานการณ์ความไม่สงบระหว่างชาวกะเกรี่ยงกับพม่ายังคงระอุคุกรุ่น มีวัตถุที่ไม่ได้รับเชิญลอยข้ามมาบึ้มบู้ม ตูมตาม ตกในฝั่งไทยอยู่บ่อยๆ กอปรกับการเดินทางก็ไม่ปลอดภัย ยามเย็นย่ำค่ำมืดไปจนถึงเช้าตรู่รถไม่ควรวิ่งผ่านด้วยประการทั้งปวง เพราะมีข่าวว่ามีการปล้นผู้ผ่านทางอยู่บ่อยๆ
ทว่าท่าสองยางกลับเป็นหนึ่งในอำเภอที่ผมประทับใจมาก เพราะผมโชคดีที่ได้รับการอนุเคราะห์จากชาวบ้านผู้ใจดีของที่นี่ พาไปส่งยังหน้าทางหมู่บ้านกระเหรี่ยงหมู่บ้านตัวเลือกในการออกค่ายได้อย่างไม่ยากเย็น แถมยังกำชับว่าถ้าไม่พบผู้ใหญ่บ้าน ไม่มีที่นอน หรือเห็นสภาพแล้วนอนไม่ได้ ให้รีบกลับขึ้นมาที่ป้อมตำรวจก่อนฟ้ามืด แล้วโทรศัพท์หาเขา
สมัยนั้นการติดต่อทางโทรศัพท์ยังใช้โทรศัพท์บ้านกันอยู่เลย มือถือเพิ่งเริ่มๆเข้ามาในบ้านเรา คนส่วนใหญ่ยังไม่มีใช้กันเพราะราคาแพงระยับ และแถวนั้นต่อให้เป็นสมัยนี้มีไอโฟน 4 ใช้ก็ดูจะไม่มีประโยชน์อะไร เพราะสัญญาณไม่มี
สำหรับหมู่บ้านกะเหรี่ยงเป้าหมายนั้น แรกที่มาถึงจุดนัดกับผู้ใหญ่บ้านผมก็ยังงงๆอยู่ว่าหมู่บ้านมันอยู่ตรงไหน เพราะบนถนนที่คดเคี้ยวเลี้ยวโค้งทอดยาวนั้น หากหนึ่งเป็นภูเขาสูงตระหง่าน อีกฟากหนึ่งเป็นผืนป่ารกครึ้มในหุบเหวข้างทาง
แต่แล้วจู่ๆผู้ใหญ่บ้านก็โผล่ออกมาจากป่า(เหว)ข้างทาง แล้วแกก็พาผมไต่ลัดเลาะสันเขาริมทางลงไปสู่หมู่บ้านเล็กกลางป่าใหญ่ในเบื้องล่าง ซึ่งหมู่บ้านที่นี่ขัดสนยากจนมาก และผมก็ตกลงใจจะต้องชวนเพื่อนๆมาทำอะไรสักอย่างหนึ่งที่หมู่บ้านนี้ ไม่ในปีนั้นก็ในปีถัดไป
ทว่าสุดท้ายแล้วเราก็รับตอบจากทางมหาวิทยาลัยว่า ในสถานการณ์ชายแดนคุกรุ่นอย่างนั้น การจะมาออกค่ายอาสาที่นี่มันไม่เหมาะสมด้วยประการทั้งปวง อีกทั้งมันยังรังแต่จะไปเพิ่มภาระให้เจ้าหน้าที่เขาเปล่าๆ ทำให้โครงการออกค่ายที่นี่ถูกพับเก็บไว้ เหลือเพียงความทรงจำ ถึงความงดงามของวิวทิวทัศน์อันสวยงาม อุดมไปด้วยผืนป่า ทะเลภูเขากว้างไกล ถนนหนทางรถน้อย(เพราะไม่ค่อยมีใครผ่าน)บางวันแม้เวลาปาเข้าไป 10 โมงกว่าแล้ว ยังมีทะเลหมอกยามสายหนาแน่นลอยอ้อยอิ่งให้ชมกันเลย
ที่สำคัญคือที่นี่มีน้ำใจหนุนส่งให้ผมได้พบแต่เรื่องราวดีๆกับครั้งแรกที่ท่าสองยาง
...กาลครั้งนี้...
หลังโครงการไม่ผ่าน 2 ปีถัดไปผมกับเพื่อนๆผ่านไปทางท่าสองยางอีกครั้ง แต่ครั้งนี้เราโบกรถจากแม่สอดยาวขึ้นไปเที่ยวแม่สะเรียงเลย แล้วต่อด้วยการขึ้นไปแอ่วเมืองสามหมอกแม่ฮ่องสอน ก่อนเข้าปาย กลับลงมาทางเชียงใหม่
จากนั้นผมก็ไม่ได้เหยียบย่างกลับไปท่าสองยางอีกหลายปี จนกระทั่งเรียนจบทำงาน ก็มีเพียงไม่กี่ครั้งที่มีโอกาสได้ผ่านมาผ่านไปในท่าสองยาง แต่ประทานโทษ!?! ผมไม่เคยแวะเที่ยวที่นี่เลยสักครั้งๆ
จนเมื่อไม่กี่วันมานี้พี่ที่นับถือชวนไปเดินป่า “ดอยทูเล-ดอยม่อนคลุย”(นำเสนอไปในตอนที่แล้ว) ผมจึงรีบตอบตกลงทันทีทั้งๆที่ไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับดอยทั้งสอง แต่เมื่อได้ขึ้นไปเป็นผู้พิชิตดอยทั้งสองก็ตอบได้คำเดียวคุ้ม และหากมีโอกาสก็จะกลับไปอีกภายในไม่กี่ปี ก่อนที่เรี่ยวแรงสังขารจะไม่ไหว
หลังกลับลงจากดอยม่อนคลุยที่ภาพของเทืออกเขาดอยทูเล ดอยปุยหลวง ดอยม่อนคลุย ค่อยๆถอยไกลตาออกมา จนผมอดที่จะเกิดความรู้สึก ไกลตา ไกลตีน แต่ใกล้ใจไม่ได้
ระหว่างทางช่วงที่กำลังขยายถนนให้กว้างขวางขึ้น พี่อดุลย์ บุญมาลาย กับ กิตติวงศ์ จอมจันทร์ หรือ ดอย 2 หนุ่ม 2 เมือง แห่ง อบต.ท่าสองยาง(พี่อดุลย์คนเมืองรถป้าลำปาง ดอยคนเมืองสับปะรด ประจวบฯ) ผู้พิสมัยการเดินป่าแต่ไม่พิสมัยป่าเดียวกันก็บอกให้รถจอดข้างทาง
หะแรก ผมนึกว่าทั้งคู่ลงไปยิงกระต่าย แต่ที่ไหนได้พี่อดุลย์กับดอยบอกจะพาผมไปเที่ยวถ้ำริมทาง จากนั้นทั้งคู่ก็เดินลงข้างทางที่มีลำธารน้ำตื้นๆ ใสเย็นไหลเอื่อย พร้อมเชิญชวนให้พวกเราเดินตามมาก ก่อนบอกว่าจะพาไปเที่ยว “ถ้ำทีซอแม” ที่จะสวยหรือไม่สวย อยากให้ผมลองไปสัมผัสด้วยตัวเองดู
สำหรับถ้ำทีซอแม เป็นถ้ำที่ตั้งอยู่ในตำบลท่าสอง ริมทางหลวงหมายเลข 105 กม.ที่ 152+600 (เลยขึ้นไป 600 เมตร จากกม.152) ชื่อถ้ำชาวบ้านตั้งชื่อตามลำห้วยทีซอแมที่ไหลผ่าน
พี่อดุลย์บอกว่า ลำห้วยทีซอแมแถบนี้มีสองสายด้วยกัน สายหนึ่งไหลผ่านถ้ำแห่งนี้ อีกสายหนึ่งไหลผ่านอีกทางก่อนจะไปบรรจบรวมเป็นลำห้วยสายเดียวกัน โดยมีหมู่บ้าน(กะเหรี่ยง)ทีซอแมตั้งอยู่ใกล้ๆกัน
“ลำห้วยที่นี่มีน้ำไหลตลอดทั้งปี ไม่มีเหือดแห้ง” พี่อดุลย์บอกก่อนยืนคุมหลัง ปล่อยให้ดอยเดินนำล่วงหน้าไป
จากริมทางผมเดินตามดอยที่เดินดุ่ยๆลุยน้ำตื้นเข้าไปอย่างชำนาญ ส่วนผมค่อยๆคืบไปเพราะกลัวกล้องจะเปียกและสอดส่ายหามุมถ่ายรูป
ลำห้วยทีซอแมช่วงนี้น้ำเย็นระยับจับจิต ชนิดแค่เดินลุยน้ำในระดับประมาณตาตุ่มถึงหน้าแข้ง มันยังเย็นยะเยือกขึ้นไปถึงหัวใจเลยทีเดียว นอกจากนี้ระหว่างที่เดินมันยังกระตุ้นอารมณ์ให้ผมอดหวนนึกถึงการเดินลุยน้ำท่วมในกรุงเทพฯที่เพิ่งผ่านไปสดๆร้อนๆไม่ได้ว่า มันช่างเป็นอารมณ์ที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เพราะสายน้ำท่วมในกรุงเทพฯที่เจ๊พริตตี้อ่านโพยแกบอกว่าเอาอยู่นั้น มันเน่าเหม็นเหมือนพฤติกรรมนักการเมืองไทยหลายๆคน จนไม่น่าเดินเอาเสียเลย ผิดกลับลำธารน้ำที่นี่ที่ใสสะอาด ไหลเอื่อย น่าเดิน แถมสองข้างทางก็อุดมไปด้วยต้นไม้เขียวครึ้ม
หลังจากเดินไปสักพักประมาณ 150 เมตร ผมก็ได้พบกับช่องแคบของผาหินที่สายน้ำไหลผ่าน ซึ่งพี่อดุลย์บอกว่าเราได้เข้ามาในเขตถ้ำทีซอแมแล้ว
จากนั้นแนวช่องผาก็ทวีความสูงใหญ่ขึ้น ริมหน้าผาทั้งสองน่ามองไปด้วยรูปร่าง ริ้วรอย ร่องรู ทรวดทรง ของภูผาที่ถูกธรรมชาติสรรค์สร้างเกิดเป็นประติมากรรมผาหินรูปร่างแปลกตา
บางช่วงบางตอนมีหยดน้ำซับไหลผ่านชั้นดินลงมา หลายช่วงหลายตอน ด้านล่างของแนวผาถูกน้ำกัดเซาะเป็นเพิงเว้าเข้าไป ชนิดเราสามารถเข้าไปนั่งเล่นนั่งถ่ายรูปในนั้นได้ แต่ต้องระวังหัวโขกตอนมุดเข้าออกหน่อย
นอกจากนี้บางช่วงบางตอนของผายังมีหินย้อยที่เป็นหินเป็นมีน้ำหยดติ๋งๆลงมา ยาวต้องประกายแสงแดดตกกระทบจะเกิดเป็นหินสีเทาอมเขียวอย่างน่ายล
แล้วแนวผาหินก็พาไปถึงยังช่วงที่แคบที่สุด(แต่เราสามารถมุดลอดไปได้) ผาหิน 2 ฟากฝั่งช่วงนี้ น่าดูไปด้วยหินงอกหินย้อย(บางจุดเป็นหินเป็น บางจุดเป็นหินตาย)รูปร่างแปลกตา บางจุดมีตะไคร้เกาะเขียวครึ้ม ด้านบนมีสายน้ำไหลเป็นสายบางๆลงมาผสมกับธารน้ำที่ไหลเอื่อยในเบื้องล่าง ซึ่งไหลไปทะลุอีกฟากหนึ่งของหน้าผา
ในช่องแคบช่วงท้ายของหน้าผาที่ตัดชันลงมานี้ โชคดีเหลือเกินที่วันนั้นแสงยามใกล้เที่ยงส่องลงมา เห็นเป็นลำแสงกระจายสวยงาม ชนิดที่ต้องคารวะต่อธรรมชาติต่อการสร้างสรรค์องค์ประกอบต่างๆให้มันเกิดมาพอเหมาะพอดีกัน ก่อนที่พวกเราจะลุยน้ำกลับมาในทางเก่าอีกครั้ง ซึ่งทุกคนในทริปสรุปเป็นเสียงเดียวกันว่า
ถ้ำทีซอแมที่ชาวบ้านเรียกนั้น มันไม่ใช่ถ้ำตามลักษณะทั่วไป หากแต่เป็นซอกผาแคบชันช่วงระยะสั้นๆยาวประมาณ 50 เมตร ที่มีล้ำห้วยทีซอแมไหลผ่าน มีอากาศเย็นสบาย ไม่อับเพราะเป็นช่องมีลมพัดผ่าน อากาศถ่ายเท แถมบางช่วงบางจุดภายในซอกผาแห่งนี้ เมื่อไปนั่งไปยืนแล้วมันก็ให้บรรยากาศเหมือนอยู่ภายในถ้ำไม่น้อยเลย
นับเป็นอันซีนในซอกผา เป็นเสน่ห์ของธรรมชาติริมทาง ที่บ่อยครั้งเรามักจะมุ่งมองความงาม จับโฟกัส ไปยังเป้าหมายใหญ่หรือจุดหมายปลายทาง จนทำให้มองข้ามความงามเล็กๆน้อยๆที่แอบแฝงซ่อนเร้นอยู่ริมสองข้างทางไป
ซึ่งหลายๆครั้งของชีวิตความสุขหาได้มาจากเป้าหมายใหญ่ หาได้จากจุดหมายที่เราหมายมั่นปั้นมือ หรือหาได้มาจากความสำเร็จที่เราวาดหวังไม่ หาก แต่มันกลับมาจากสิ่งเล็กๆ สิ่งซ่อนเร้น บนเส้นทางที่เรามองข้ามไป...
*****************************************
ถ้ำทีซอแม ตั้งอยู่ริมทางหลวงหมายเลข 105 กม.ที่ 152+600 (เลยขึ้นไป 600 เมตร จากกม.152) ใน ต.ท่าสอง อ.ท่าสองยาง จ.ตาก เป็นจุดมาพักผ่อนเล่นน้ำของชาวบ้านในชุมชน เป็นสถานที่ที่ยังไม่เปิดตัวเป็นแหล่งท่องเที่ยวอย่างเป็นทางการ ที่นี่จึงไม่มีป้ายและจุดสังเกตบอกทางไปยังถ้ำ ดังนั้นใครที่อยากแวะชมแวะเที่ยว ต้องสอบถามข้อมูลจากชาวบ้านที่รู้ หรือให้ผู้ที่รู้จักเส้นทางพาไปแวะชม โดยผู้สนใจสามารถโทร.สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อบต.ท่าสองยาง 089-268-0116,081-181-5820
ส่วนผู้ที่ต้องการเที่ยว อ.ท่าสองยาง เชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆใน จ.ตาก สามารถสอบถามข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหาร และการเดินทางเพิ่มเติมได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)สำนักงานตาก โทร. 0-5551-4341 -3