โดย : หนุ่มลูกทุ่ง
ในอดีตการประหารชีวิตนักโทษมีการเปลี่ยนเรือนจำเปลี่ยนสถานที่อยู่บ่อยครั้ง จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 7 หลังจากที่ทางการได้สร้างเรือนจำกลางบางขวางหรือคุกบางขวางแล้วเสร็จ ก็ได้ย้ายนักโทษและให้มีการประหารชีวิตที่เรือนจำแห่งนี้ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ที่เล่าเรื่องนักโทษขึ้นมานี่ ไม่ใช่ว่าฉันต้องคดีเป็นนักโทษชายหนีคุกเหมือนใครบางคนหรอกนะ แต่ว่าระหว่างที่ฉันเดินเพลินๆใจลอยอยู่ที่ย่านท่าน้ำนนท์ จู่ๆ 2 เท้าเจ้ากรรมมันพาฉันมาหยุดอยู่ที่หน้าเรือนจำจังหวัดนนทบุรีอย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัว งานนี้เล่นเอาตกใจหันหลังกลับแทบไม่ทัน แต่เมื่อฉันหลังกลับมา เบื้องหน้าที่สายตามองไปมีป้าย“วัดบางขวาง”ติดเด่นสะดุดตาอยู่ มองสอดส่องตรงไปก็น่าจะไม่ไกล ฉันจึงตัดสินใจเดินข้ามถนนไปยังวัดบางขวางตามที่ป้ายเชิญชวน
เมื่อมาถึงวัด แน่นอนว่าสิ่งที่ฉันจะมุ่งหน้าไปก็คือโบสถ์ที่ล้อมรอบด้วยใบเสมา พร้อมกับนึกในใจว่าถ้าวันนี้โชคดี ประตูโบสถ์คงเปิดให้เราได้เข้าไปไหว้พระประธานภายในโบสถ์กัน แล้วโชคก็เข้าข้างฉันจริงๆ เมื่อประตูอุโบสถเปิดอ้าไว้ เท่านั้นยังไม่พอ ฉันยังโชคดี 2 เด้ง เพราะได้เจอกับหลวงพี่ผู้ใจดี มาคอยนำชมพร้อมกับเล่าเรื่องราวต่างๆของวัดแห่งนี้ให้ฟัง
หลวงพี่ท่านบอกว่า ปกติโบสถ์จะเปิดเฉพาะช่วงทำวัตรเช้าและทำวัตรเย็น แต่วันนี้มีผู้ติดต่อมาจึงเปิดเป็นกรณีพิเศษ ฉันจึงโชคดีได้รับอานิสงส์เข้ามาชมโบสถ์แห่งนี้ด้วย
นอกจากนี้หลวงพี่ยังเล่าว่า วัดบางขวางแห่งนี้สันนิษฐานว่า เป็นวัดมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมเรียกว่า “วัดบางยาง”(เพราะเคยมีต้นยางใหญ่ขึ้นอยู่ริมคลอง แต่เมื่อถูกฟ้าผ่าเทศบาลเลยต้องตัดลง) ตั้งอยู่ปลายคลองบางสีทอง ในสมัยนั้นแม่น้ำเจ้าพระยาจากหน้าวัดเขมาภิรตารามถึงปากลำแม่น้ำอ้อม ยังไม่ได้ขุด แม่น้ำเดิมเข้าทางปากคลองตลาดแก้ว(บางกรวย) ใต้วัดค้างคาว ตรงไปออกปากคลองบางกรวยเหนือวัดชลอ แล้วเลี้ยวไปทางเหนือออกปากลำแม่น้ำอ้อม คลองบางสีทองกับคลองบางขวางนั้น เดิมเป็นคลองเดียวกัน
ต่อมาถึงสมัยพระเจ้าปราสาททอง เห็นว่าการเดินเรือตามลำแม่น้ำที่มีอยู่นั้นเป็นการอ้อม ทำให้เปลืองเวลามาก จึงโปรดให้จัดการขุดผืนแผ่นดินจากวัดเขมาภิรตารามถึงปากลำแม่น้ำอ้อม คลองบางสีทองจึงถูกตัดขาดไป ซึ่งคลองตอนต้นยังคงเรียกว่าคลองบางสีทองตามเดิม
ในส่วนของคลองตอนปลายก็ได้เรียกชื่อใหม่ว่า “คลองบางขวาง” สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นด้วยเหตุที่คลองนี้ขวางหน้าในการขุดแม่น้ำนั้นเอง ชาวบ้านจึงเรียกว่า คลองบางขวาง ส่วนวัดก็ได้ถูกเรียกชื่อไปตามชื่อคลองว่า “วัดบางขวาง” จนกระทั่งทุกวันนี้
หลวงพี่เล่าต่อว่า โบสถ์นั้นเดิมเป็นรูปทรงสมัยโบราณ มีพาไลเตี้ยๆ อยู่ด้านหลัง แต่ปัจจุบันถูกบูรณะซ่อมแซมใหม่แล้วโดยพระญาณวโรดม(สนธิ์ กิจฺจกาโร ) เมื่อปี พ.ศ.2503 ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปทรงเครื่อง ที่เรียกกันว่า “พระปางทรมานท้าวมหาชมพู” เป็นพระประธานภายในโบสถ์ พร้อมพระอัครสาวกเบื้องซ้ายและขวา
รอบผนังของอุโบสถด้านใน เขียนภาพจิตกรรมที่รวบรวมเกี่ยวกับเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่สำคัญๆ ของประเทศไทย ส่วนด้านนอกอุโบสถทั้ง 4 ทิศ เป็นที่ตั้งของเจดีย์ 3 ทิศ ภายในเจดีย์มีรูปปั้นเจ้าอาวาสทั้ง 3 รูป ที่มรณภาพไปแล้ว ได้แก่ เจ้าอธิการชื่น เขมงฺกโร, พระครูศีลาภิรม(ท้วม ธมฺมธโร) และพระครูศีลาภิรม(เนตร ปญฺญาทีโป) และอีก 1 ทิศ คือ หอระฆัง ที่สร้างขึ้นมาพร้อมกับอุโบสถ
นอกจากนี้ สิ่งที่น่าสนใจภายในวัดยังมีศาลาการเปรียญ ตึกขาวสมัยโบราณ ซึ่งเป็นศาลาโบราณทรงประยุกต์ สร้างด้วยไม้สักทอง และวิหารที่เก่าแก่ อายุกว่า 100 ปี ภายในเป็นที่เก็บพระพุทธรูปมากมายหลายสมัย และยังเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุอีกด้วย ด้านนอกมีเจดีย์ทั้ง 4 ทิศ เป็นทรงลังกา 2 องค์ และทรงย่อมุมไม้สิบสอง 2 องค์
ขณะที่ฉันเดินชมรอบวิหาร ก็เจอกับเจ้าหน้าที่ทำความสะอาดของทางวัด ซึ่งได้ชี้นิ้วพร้อมให้ข้อมูลกับฉันว่า ตรงที่ที่เป็นเหมือนที่เก็บของเลยจากวิหารไปไม่ไกล แต่ก่อนในอดีตเคยเป็นที่เก็บศพของนักโทษประหารของคุกบางขวาง ซึ่งในกาลนั้น ประตูคุกบางขวางในแดน 7 อันเป็นแดนสำหรับประหาร ตรงกับประตูวัดบางขวาง เมื่อมีการประหารนักโทษเด็ดขาดแล้วก็จะนำศพออกทางประตูนี้เพื่อตรงมายังวัดบางขวางแห่งนี้เรื่อยมา จนกระทั่งทางเรือนจำกลางบางขวางได้มอบพื้นที่แดน 7 ให้เป็นเรือนจำจังหวัดนนทบุรีดังในปัจจุบัน ทำให้ประตูในการนำศพนักโทษประหารออกไปยังวัดบางขวางห่างไกลขึ้นไม่สะดวก จึงได้ย้ายจากวัดบางขวางไปยังวัดบางแพรกใต้แทน
สำหรับ “วัดบางแพรกใต้” ตั้งอยู่ด้านหลังติดกับเรือนจำกลางบางขวาง บริเวณแดน 9 และแดน 11 ซึ่งปัจจุบัน แดน 11 นั้นเป็นแดนสำหรับประหารนักโทษเด็ดขาด โดยศพนักโทษที่ถูกประหารแล้วจะถูกนำออกมาทาง “ประตูแดง” หรือที่เรียกกันอีกชื่อว่า “ประตูผี” ซึ่งเป็นประตูบานเล็กๆเตี้ยๆ ทรงคล้ายสี่เหลี่ยมจัตุรัส ทาสีแดงสด
เมื่อนำศพออกทางประตูแดงแล้วก็จะนำมาไว้ในที่เก็บศพที่เยื้องกับประตูเพียงไม่กี่ก้าวเท่านั้น หลวงพี่ที่วัดบางแพรกใต้แห่งนี้เล่าให้ฉันฟังว่า แต่ก่อนในสมัยที่ยังไม่เปลี่ยนวิธีการประหารชีวิตมาเป็นการฉีดยาและยังไม่มีการขอพระราชทานอภัยโทษ มีศพนักโทษประหารที่ถูกนำออกมาทางประตูแดงแห่งนี้อยู่บ่อยครั้ง เมื่อเก็บไว้จนเยอะนานๆทีก็ล้าง(ป่าช้า)สักที
แต่เดี๋ยวนี้แทบไม่มีการประหารนักโทษเลย ทำให้ประตูแดงแห่งนี้แทบคล้ายจะปิดตาย เท่าที่ฉันรู้ว่าคือตั้งแต่เปลี่ยนวิธีการประหารเป็นใช้การฉีดยา เมื่อ พ.ศ.2546 มีการประหารนักโทษเด็ดขาดไป 4 รายเมื่อแรกเริ่มใช้วิธีใหม่ และอีก 2 รายเมื่อปี พ.ศ.2552 รวมเป็น 6 รายเท่านั้น ทำให้ปัจจุบันบริเวณประตูแดงฝั่งวัดบางแพรกใต้มีสภาพเปลี่ยวร้างพอสมควร
ส่วนด้านข้างกับที่เก็บศพเป็นที่ตั้งของอุโบสถ ภายในประดิษฐานพระประธานปางสะดุ้งมาร ถัดไปจากอุโบสถมีมณฑปจตุรมุข ประดิษฐานพระพุทธรูปทั้ง 4 ทิศ ซึ่งแม้วัดบางแพรกใต้แห่งนี้จะเป็นเพียงวัดเล็กๆ แต่ก็มีความสำคัญทางจิตใจกับนักโทษและเรือนจำกลางบางขวางแห่งนี้
นี่คือ 2 วัด ที่มีความเกี่ยวเนื่องกันผ่านคุกบางขวาง ซึ่งแน่นอนว่าเราๆท่านๆ คงไม่มีใครอยากจะไปลิ้มลองบรรยากาศในคุกแห่งนี้เป็นแน่แท้ ฉะนั้นเราควรเข้าวัดฟังธรรม ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรมจรรยา อย่าให้ต้องไปมีโอกาสฟังเทศน์ฟังธรรมอยู่ในห้องลูกกรงเลย
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
วัดบางขวาง ตั้งอยู่ที่ ถ.ประชาราษฎร์ ทางไปท่าน้ำนนท์ ต.บางขวาง ส่วนวัดบางแพรกใต้ ตั้งอยู่ที่ ถ.นนทบุรี 1 ต.สวนใหญ่ อ.เมืองนนทบุรี จ.นนทบุรี
ในอดีตการประหารชีวิตนักโทษมีการเปลี่ยนเรือนจำเปลี่ยนสถานที่อยู่บ่อยครั้ง จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 7 หลังจากที่ทางการได้สร้างเรือนจำกลางบางขวางหรือคุกบางขวางแล้วเสร็จ ก็ได้ย้ายนักโทษและให้มีการประหารชีวิตที่เรือนจำแห่งนี้ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ที่เล่าเรื่องนักโทษขึ้นมานี่ ไม่ใช่ว่าฉันต้องคดีเป็นนักโทษชายหนีคุกเหมือนใครบางคนหรอกนะ แต่ว่าระหว่างที่ฉันเดินเพลินๆใจลอยอยู่ที่ย่านท่าน้ำนนท์ จู่ๆ 2 เท้าเจ้ากรรมมันพาฉันมาหยุดอยู่ที่หน้าเรือนจำจังหวัดนนทบุรีอย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัว งานนี้เล่นเอาตกใจหันหลังกลับแทบไม่ทัน แต่เมื่อฉันหลังกลับมา เบื้องหน้าที่สายตามองไปมีป้าย“วัดบางขวาง”ติดเด่นสะดุดตาอยู่ มองสอดส่องตรงไปก็น่าจะไม่ไกล ฉันจึงตัดสินใจเดินข้ามถนนไปยังวัดบางขวางตามที่ป้ายเชิญชวน
เมื่อมาถึงวัด แน่นอนว่าสิ่งที่ฉันจะมุ่งหน้าไปก็คือโบสถ์ที่ล้อมรอบด้วยใบเสมา พร้อมกับนึกในใจว่าถ้าวันนี้โชคดี ประตูโบสถ์คงเปิดให้เราได้เข้าไปไหว้พระประธานภายในโบสถ์กัน แล้วโชคก็เข้าข้างฉันจริงๆ เมื่อประตูอุโบสถเปิดอ้าไว้ เท่านั้นยังไม่พอ ฉันยังโชคดี 2 เด้ง เพราะได้เจอกับหลวงพี่ผู้ใจดี มาคอยนำชมพร้อมกับเล่าเรื่องราวต่างๆของวัดแห่งนี้ให้ฟัง
หลวงพี่ท่านบอกว่า ปกติโบสถ์จะเปิดเฉพาะช่วงทำวัตรเช้าและทำวัตรเย็น แต่วันนี้มีผู้ติดต่อมาจึงเปิดเป็นกรณีพิเศษ ฉันจึงโชคดีได้รับอานิสงส์เข้ามาชมโบสถ์แห่งนี้ด้วย
นอกจากนี้หลวงพี่ยังเล่าว่า วัดบางขวางแห่งนี้สันนิษฐานว่า เป็นวัดมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมเรียกว่า “วัดบางยาง”(เพราะเคยมีต้นยางใหญ่ขึ้นอยู่ริมคลอง แต่เมื่อถูกฟ้าผ่าเทศบาลเลยต้องตัดลง) ตั้งอยู่ปลายคลองบางสีทอง ในสมัยนั้นแม่น้ำเจ้าพระยาจากหน้าวัดเขมาภิรตารามถึงปากลำแม่น้ำอ้อม ยังไม่ได้ขุด แม่น้ำเดิมเข้าทางปากคลองตลาดแก้ว(บางกรวย) ใต้วัดค้างคาว ตรงไปออกปากคลองบางกรวยเหนือวัดชลอ แล้วเลี้ยวไปทางเหนือออกปากลำแม่น้ำอ้อม คลองบางสีทองกับคลองบางขวางนั้น เดิมเป็นคลองเดียวกัน
ต่อมาถึงสมัยพระเจ้าปราสาททอง เห็นว่าการเดินเรือตามลำแม่น้ำที่มีอยู่นั้นเป็นการอ้อม ทำให้เปลืองเวลามาก จึงโปรดให้จัดการขุดผืนแผ่นดินจากวัดเขมาภิรตารามถึงปากลำแม่น้ำอ้อม คลองบางสีทองจึงถูกตัดขาดไป ซึ่งคลองตอนต้นยังคงเรียกว่าคลองบางสีทองตามเดิม
ในส่วนของคลองตอนปลายก็ได้เรียกชื่อใหม่ว่า “คลองบางขวาง” สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นด้วยเหตุที่คลองนี้ขวางหน้าในการขุดแม่น้ำนั้นเอง ชาวบ้านจึงเรียกว่า คลองบางขวาง ส่วนวัดก็ได้ถูกเรียกชื่อไปตามชื่อคลองว่า “วัดบางขวาง” จนกระทั่งทุกวันนี้
หลวงพี่เล่าต่อว่า โบสถ์นั้นเดิมเป็นรูปทรงสมัยโบราณ มีพาไลเตี้ยๆ อยู่ด้านหลัง แต่ปัจจุบันถูกบูรณะซ่อมแซมใหม่แล้วโดยพระญาณวโรดม(สนธิ์ กิจฺจกาโร ) เมื่อปี พ.ศ.2503 ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปทรงเครื่อง ที่เรียกกันว่า “พระปางทรมานท้าวมหาชมพู” เป็นพระประธานภายในโบสถ์ พร้อมพระอัครสาวกเบื้องซ้ายและขวา
รอบผนังของอุโบสถด้านใน เขียนภาพจิตกรรมที่รวบรวมเกี่ยวกับเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่สำคัญๆ ของประเทศไทย ส่วนด้านนอกอุโบสถทั้ง 4 ทิศ เป็นที่ตั้งของเจดีย์ 3 ทิศ ภายในเจดีย์มีรูปปั้นเจ้าอาวาสทั้ง 3 รูป ที่มรณภาพไปแล้ว ได้แก่ เจ้าอธิการชื่น เขมงฺกโร, พระครูศีลาภิรม(ท้วม ธมฺมธโร) และพระครูศีลาภิรม(เนตร ปญฺญาทีโป) และอีก 1 ทิศ คือ หอระฆัง ที่สร้างขึ้นมาพร้อมกับอุโบสถ
นอกจากนี้ สิ่งที่น่าสนใจภายในวัดยังมีศาลาการเปรียญ ตึกขาวสมัยโบราณ ซึ่งเป็นศาลาโบราณทรงประยุกต์ สร้างด้วยไม้สักทอง และวิหารที่เก่าแก่ อายุกว่า 100 ปี ภายในเป็นที่เก็บพระพุทธรูปมากมายหลายสมัย และยังเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุอีกด้วย ด้านนอกมีเจดีย์ทั้ง 4 ทิศ เป็นทรงลังกา 2 องค์ และทรงย่อมุมไม้สิบสอง 2 องค์
ขณะที่ฉันเดินชมรอบวิหาร ก็เจอกับเจ้าหน้าที่ทำความสะอาดของทางวัด ซึ่งได้ชี้นิ้วพร้อมให้ข้อมูลกับฉันว่า ตรงที่ที่เป็นเหมือนที่เก็บของเลยจากวิหารไปไม่ไกล แต่ก่อนในอดีตเคยเป็นที่เก็บศพของนักโทษประหารของคุกบางขวาง ซึ่งในกาลนั้น ประตูคุกบางขวางในแดน 7 อันเป็นแดนสำหรับประหาร ตรงกับประตูวัดบางขวาง เมื่อมีการประหารนักโทษเด็ดขาดแล้วก็จะนำศพออกทางประตูนี้เพื่อตรงมายังวัดบางขวางแห่งนี้เรื่อยมา จนกระทั่งทางเรือนจำกลางบางขวางได้มอบพื้นที่แดน 7 ให้เป็นเรือนจำจังหวัดนนทบุรีดังในปัจจุบัน ทำให้ประตูในการนำศพนักโทษประหารออกไปยังวัดบางขวางห่างไกลขึ้นไม่สะดวก จึงได้ย้ายจากวัดบางขวางไปยังวัดบางแพรกใต้แทน
สำหรับ “วัดบางแพรกใต้” ตั้งอยู่ด้านหลังติดกับเรือนจำกลางบางขวาง บริเวณแดน 9 และแดน 11 ซึ่งปัจจุบัน แดน 11 นั้นเป็นแดนสำหรับประหารนักโทษเด็ดขาด โดยศพนักโทษที่ถูกประหารแล้วจะถูกนำออกมาทาง “ประตูแดง” หรือที่เรียกกันอีกชื่อว่า “ประตูผี” ซึ่งเป็นประตูบานเล็กๆเตี้ยๆ ทรงคล้ายสี่เหลี่ยมจัตุรัส ทาสีแดงสด
เมื่อนำศพออกทางประตูแดงแล้วก็จะนำมาไว้ในที่เก็บศพที่เยื้องกับประตูเพียงไม่กี่ก้าวเท่านั้น หลวงพี่ที่วัดบางแพรกใต้แห่งนี้เล่าให้ฉันฟังว่า แต่ก่อนในสมัยที่ยังไม่เปลี่ยนวิธีการประหารชีวิตมาเป็นการฉีดยาและยังไม่มีการขอพระราชทานอภัยโทษ มีศพนักโทษประหารที่ถูกนำออกมาทางประตูแดงแห่งนี้อยู่บ่อยครั้ง เมื่อเก็บไว้จนเยอะนานๆทีก็ล้าง(ป่าช้า)สักที
แต่เดี๋ยวนี้แทบไม่มีการประหารนักโทษเลย ทำให้ประตูแดงแห่งนี้แทบคล้ายจะปิดตาย เท่าที่ฉันรู้ว่าคือตั้งแต่เปลี่ยนวิธีการประหารเป็นใช้การฉีดยา เมื่อ พ.ศ.2546 มีการประหารนักโทษเด็ดขาดไป 4 รายเมื่อแรกเริ่มใช้วิธีใหม่ และอีก 2 รายเมื่อปี พ.ศ.2552 รวมเป็น 6 รายเท่านั้น ทำให้ปัจจุบันบริเวณประตูแดงฝั่งวัดบางแพรกใต้มีสภาพเปลี่ยวร้างพอสมควร
ส่วนด้านข้างกับที่เก็บศพเป็นที่ตั้งของอุโบสถ ภายในประดิษฐานพระประธานปางสะดุ้งมาร ถัดไปจากอุโบสถมีมณฑปจตุรมุข ประดิษฐานพระพุทธรูปทั้ง 4 ทิศ ซึ่งแม้วัดบางแพรกใต้แห่งนี้จะเป็นเพียงวัดเล็กๆ แต่ก็มีความสำคัญทางจิตใจกับนักโทษและเรือนจำกลางบางขวางแห่งนี้
นี่คือ 2 วัด ที่มีความเกี่ยวเนื่องกันผ่านคุกบางขวาง ซึ่งแน่นอนว่าเราๆท่านๆ คงไม่มีใครอยากจะไปลิ้มลองบรรยากาศในคุกแห่งนี้เป็นแน่แท้ ฉะนั้นเราควรเข้าวัดฟังธรรม ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรมจรรยา อย่าให้ต้องไปมีโอกาสฟังเทศน์ฟังธรรมอยู่ในห้องลูกกรงเลย
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
วัดบางขวาง ตั้งอยู่ที่ ถ.ประชาราษฎร์ ทางไปท่าน้ำนนท์ ต.บางขวาง ส่วนวัดบางแพรกใต้ ตั้งอยู่ที่ ถ.นนทบุรี 1 ต.สวนใหญ่ อ.เมืองนนทบุรี จ.นนทบุรี