โดย : ปิ่น บุตรี
“Small is Beautiful”
คือเสน่ห์ของจังหวัดน่านนับจากอดีตถึงปัจจุบัน ส่วนในอนาคตเป็นที่น่าวิตกว่า น่านจะยืนหยัดต้านกระแสธารแห่งการท่องเที่ยวที่รุกเร้าเข้ามาได้มากน้อยแค่ไหน? เพราะนี่ก็ได้ข่าวว่า นายทุนต่างถิ่นระดับบิ๊ดเบิ้มทั้งไทยทั้งเทศได้ทยอยเข้าไปกว้านซื้อที่ซื้อทาง อาคารบ้านช่อง ตึกแถว และเทคโอเวอร์กิจการคนท้องถิ่นกันมาได้พักใหญ่แล้ว
โดยเฉพาะกับโรงแรมไม้เก่าแก่แสนคลาสสิกกลางเมืองนั้น หลายคนบ่นเสียดายเป็นอย่างยิ่ง เพราะหลังจากเสร็จนายทุนผู้ล่ำซำเข้าเทคโอเวอร์ ปรับปรุงใหม่ ราคามันก็อัพพุ่งพรวดแบบก้าวกระโดดมาถึง 10 เท่าตัว
แต่ก็อย่างว่าแหละ เมืองไทยในยุคกระเบื้องเฟื่องฟูลอย-น้ำเต้าน้อยถอยจม ที่เงินเป็นใหญ่ยิ่งกว่าพระเจ้า ทำให้น่านยากที่จะหนีความเปลี่ยนแปลงที่มากับการท่องเที่ยวพ้น แต่จะเปลี่ยนแปลงมาก-น้อย,เร็ว-ช้า,ดีขึ้นหรือเสื่อมลง นับเป็นเรื่องที่น่าติดตามยิ่ง
ของดีที่พระธาตุแช่แห้ง
สำหรับการไปแอ่วเมืองน่านครั้งล่าสุดนั้น บนความเปลี่ยนแปลงที่เริ่มเข้ามาเยือน ผมยังคงไม่เปลี่ยนแปลงต่อการตั้งใจไปไหว้พระธาตุแช่แห้งเหมือนเช่นหลายๆครั้งที่ผ่านมา
พระธาตุแช่แห้ง นอกจากจะพระธาตุศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองน่านแล้ว ยังเป็นพระธาตุประจำคนเกิดปีเถาะ ตามคติความเชื่อเรื่องการไหว้พระธาตุประจำปีเกิดแบบล้านนา ซึ่งวันนี้อยู่ในระหว่างการบูรณะซ่อมแซม
นอกจากองค์พระธาตุแช่แห้งที่ถือเป็นหัวใจสำคัญของวัดพระธาตุแช่แห้งแล้ว วัดแห่งนี้ยังมีของดีอีกหลายหลายให้ผู้สนใจทัศนา แต่น่าเสียดายตรงที่หลายๆคนเมื่อมาไหว้พระธาตุแช่แห้งเสร็จแล้วก็เดินทางกลับ โดยละเลยที่เดินชมสิ่งน่าสนใจภายในวัดนี้ ที่มีปรากฏให้เห็นไล่ไปตั้งแต่บันไดนาคหน้าวัด ที่ 2 ฟากฝั่งทางเดินขึ้นวัดน่ายลไปด้วยพญานาค 2 ตน ตัวยาวเฟื้อยเลื้อย ชูคอตระหง่าน หางเป็นแฉก ทอดยาวไปตามราวทางเดินเข้าวัด
พญานาค 2 ตนนี้ ช่างยุคก่อนสร้างสรรค์ออกมาได้อย่างมีชีวิตชีวา มีพลัง และมีสง่าราศี สมกับเป็นผู้ปกป้องพระพุทธศาสนา นับเป็นอีกหนึ่งเสน่ห์นาคแห่งเมืองน่านคู่กับพญานาคอ้วน 2 ตนที่เลื้อยทะลุเทินโบสถ์-วิหาร แห่งวัดภูมินทร์
จากทางเดินด้านหน้าเมื่อมองเข้าไปจะเห็นองค์พระธาตุแช่แห้งสีทองเหลืองอร่ามตั้งตระหง่านอยู่บนเนินภูเพียงแช่แห้ง(เดิมเป็นยอดดอย) อันเป็นอีกหนึ่งที่มาของชื่อพระธาตุแช่แห้ง
เมื่อเดินทางเส้นทางนาคขึ้นไป ทางซ้ายมือก่อนถึงองค์พระธาตุจะมีวิหารพระพุทธไสยยาสน์(พระนอน)ที่ภายในประดิษฐานพระนอนองค์สีทองอร่าม ยาว 14 เมตร สูง 2 เมตร และยังมีพระพุทธรูปปางมารวิชัยเก่าแก่ สร้างในปี พ.ศ. 2129 ในสมัยพระยาหน่อคำเสถียรไชยสงคราม ให้พุทธศาสนิกชนสักการะบูชา แต่ว่าหลายๆคนมักเดินเลยผ่านไป
แมงหมาเต๊า
ก่อนจะไปชมกับของดีหลากหลายในเขตพระอารามหลวงหรือเขตกำแพงพระธาตุ ผมขอพูดถึงพระธาตุองค์เล็กสีขาวที่อยู่ทางด้านหลังของวัดแห่งนี้กันเสียหน่อย พระธาตุองค์นี้คือ “พระธาตุตะโก้ง” หรือ “พระธาตุแช่แห้งน้อย” ที่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใดไม่ แต่มีหลักฐานว่าบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งสำคัญในสมัยของพระเจ้ามหาวงศ์ เจ้าผู้ครองนครน่านองค์ที่ 61 เมื่อ พ.ศ. 2389
พระธาตุตะโก้ง แม้จะมีองค์เล็กแต่ก็มีความความงามสมส่วนอยู่ในที โดยเฉพาะกับย่อมุมต่างๆจากฐานพระธาตุไล่ขึ้นไป ยามต้องแสงแดดจะเกิดเป็นรูปเงาสวยงาม
จากนี้ไปผมขอนำเข้าสู่พื้นที่ไฮไลท์ในเขตพระอารามหลวงหรือเขตกำแพงพระธาตุ ซึ่งนอกจากองค์พระธาตุแช่แห้งสีทองเด่นแล้ว ทางด้านซ้ายมือขององค์พระธาตุ(จากทางเข้าหลัก) จะพบกับวิหารพระเจ้าทันใจ เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ 3 องค์ ปางมารวิชัย 2 องค์ และปางสมาธิ 1 องค์ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นมาพร้อมๆกับการสร้างองค์พระธาตุ ซึ่งเชื่อกันว่าเมื่อขอพรจากพระเจ้าทันใจแล้ว จะสมหวังรวดเร็วทันใจ
ภายในวิหารพระเจ้าทันใจยังมีเซียมซีให้เสี่ยง ทำนายทายโชค ซึ่งหากใครเสี่ยงได้ใบไม่ดี คนที่นี่เขาเชื่อว่าให้นำไปฝากไว้กับ“แมงหมาเต๊า”ที่เป็นตัวคล้ายกบยักษ์ แต่ส่วนหัวดูคล้ายหมายังไงไม่รู้ ตั้งอยู่ข้างๆกับจุดเสี่ยงเซียมซี ถือเป็นอีกหนึ่งจุดแปลกแตกต่างของพระธาตุแช่แห้ง ที่ผมไปเสี่ยงเซียมซีวัดไหนๆไม่เคยเจอเจ้าตัวหมาเต๊าแบบนี้เลย
ปริศนานาคธรรม
ใครที่มาไหว้พระธาตุแช่แห้งแล้ว ถ้าไม่มีธุระด่วนจี๋ อย่างเพิ่งรีบร้อนกลับ ควรเข้าไปสักการะพระพุทธรูปงามๆในพระวิหารหลวงกันก่อน
พระวิหารหลวงวัดพระธาตุแช่แห้ง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยพระยากานเมือง(พระยาการเมือง) ผู้สร้างพระธาตุแช่แห้ง เป็นพระวิหารที่หันหน้าไปทางทิศตะวันตก หลังคาซ้อน 3 ชั้น สมส่วน สวยงาม
ภายในวิหาร มีพระพุทธรูปประดิษฐานน่าสนใจอยู่หลายองค์ด้วยกัน นำโดย “พระเจ้าล้านทอง” องค์พระประธานปางมารศรีวิชัยศิลปะล้านนา ที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2065 มีพุทธลักษณะงดงาม เป็นหนึ่งในพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองน่าน ร่วมด้วยพระพุทธรูปปางประทับยืนและพระอุ่นเมืองในศิลปะสกุลช่างน่านอันงดงาม
วิหารหลวงวัดพระธาตุแช่แห้งไม่มีจิตรกรรมผาฝนัง แต่ภายนอกวิหารกลับน่ายลไปด้วยงานปูนปั้นฝีมือเอกอุอันเป็นเอกลักษณ์
งานแรกคือสิงห์ 2 ตัวที่ยืนเฝ้าปากประตูเข้าพระวิหารอยู่ สิงห์ 2 ตัวนี้นำคติมาจากชาดกเรื่อง“สิงห์คายนาง”(วรรณกรรมทางพุทธศาสนาเป็นที่นิยมมากทางล้านนา) ซึ่งช่างสามารถปั้นสร้างสรรค์ออกมาได้อย่างมีชีวิตชีวา แถมสิงห์ 2 ตัวนี้ ยังดูเมินหน้าเชิดใส่กันเสียด้วย
ถัดจาก 2 สิงห์ไป งานฝีมือชิ้นถัดไปต้องแหงนหน้าดู เพราะอยู่ตรงบริเวณเหนือประตูทางเข้าขึ้นไป นั่นก็คือ “อัฏฐพญานาคราช” ที่ทำเป็นประติมากรรมปูนปั้นนูนสูงสีขาวไม่ลงสี รูปพญานาค 8 ตัว ฝั่งละ 4 ตัว ใช้ส่วนลำตัวและหางเกาะเกี่ยวกวัดรัดกันไปเป็น 3 ชั้น และมีดอกบัวทั้ง 7 โผล่พุ่งออกมา ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งปริศนาธรรมแห่งพระธาตุแช่แห้ง เช่นเดียวกับชื่อของพระธาตุคือ“แช่แห้ง”(เป็นความเชื่อส่วนบุคคลซึ่งผมได้เขียนถึงเรื่องนี้ไปในตอนที่แล้ว)
แรกที่ผมยังไม่รู้ถึงปริศนาธรรมที่แฝงเร้น สิ่งที่รับรู้จากการชมรูปพญานาคเหล่านี้ คือ นี่คืองานพุทธศิลป์ชั้นเยี่ยมในระดับมาสเตอร์พีช ช่างสมัยก่อนปั้นนาคออกมาได้อย่างถึงอารมณ์ พญานาคดูอวบสมส่วน เลื้อยพลิ้วมีชีวิตชีวา ผิดกับผลของช่างร่วมสมัยในปัจจุบันที่เหนือประตูทางเข้าด้านหลัง ซึ่งแม้จะลงสีทองอร่ามให้พญานาคทั้งแปด แต่ว่างานที่ออกมาดูแข็ง เกร็ง ทื่อ ขาดชีวิตชีวา ตัวพญานาคดูผอมแห้งไม่มีราศียังกับงูดิน เลยทำให้ภาพพญานาคด้านหลังนี้ไม่ค่อยเป็นที่กล่าวถึงเท่าไหร่
สำหรับปริศนานาคธรรม(เป็นความเชื่อส่วนบุคคล)ในภาพอัฏฐพญานาคราช นั้นผู้รู้ต่างตีความออกมาในทิศทางเดียวกัน(อาจต่างกันบ้างตรงรายละเอียดปลีกย่อย) ว่า...
พญานาค 8 ตัว ที่เกี่ยวกวัดกันอยู่นั้น ถ้าเพ่งมองให้ดีจะเห็นเป็นรูปฟอร์มของพระพุทธรูปหรือบางคนตีความเป็นรูปพระพุทธองค์นั่งขัดสมาธิ บางคนมองเป็นเจดีย์ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต่างเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น
ส่วนพญานาคทั้ง 8 นั้น หมายถึง อริยมรรคแปด อันเป็นแปดเส้นทางที่พระตถาคตใช้สอนพุทธศาสนิกชนให้เดินสู่หนทางแห่งความหลุดพ้น ขณะที่การเกี่ยวกันเป็น 3 ชั้นนั้น แทนองค์ 3 ในพระพุทธศาสนา ได้ กฎไตรลักษณ์ การเกิด ตั้งอยู่ และดับไป หรือ ศีล สมาธิ ปัญญา หรือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นต้น ด้านดอกบัว 7 ดอก แทนอภิธรรมา 7 คัมภีร์ หรือ หลักธรรมสัปปุริสัทธรรม 7 ประการ
อย่างไรก็ดีงานปูนปั้นพญานาคเกี่ยวกวัดแฝงปริศนาธรรม ใช่มีแต่ทางฝั่งด้านหน้าวิหารเท่านั้น ที่ด้านหลังวิหารก็มี เป็นผลงานฝีมือเชิงช่างร่วมสมัยในปัจจุบัน ซึ่งทั้งหลายทั้งปวงแล้ว อัฏฐพญานาคราช เป็นหนึ่งในปริศนาธรรมที่สื่อให้ผู้คนทำความดีผ่านสิ่งๆต่างที่กล่าวมา
แต่กระนั้นก็ใช่ว่าทุกคนจะมองเห็นไปในทิศทาง(ธรรม)เดียวกันหมด เพราะมีบางคนที่ผมไปเจอ เขาตีตัวเลขทางธรรมที่แอบแฝงอยู่ในภาพอัฏฐพญานาคราช เป็นหวยเลขเด็ดไปเสียนี่
*****************************************
พระธาตุแช่แห้ง ตั้งอยู่ที่บ้านหนองเต่า ต.ม่วงตึ๊ด กิ่ง อ.ภูเพียง จากตัวเมืองน่านข้ามสะพานแม่น้ำน้ำ ไปตามถนนสายน่าน-แม่จริม (ทางหลวงหมายเลข 1168 ประมาณ 3 กม.) ทุกๆปีจะมีงานนมัสการพระบรมธาตุแช่แห้ง ระหว่างวันขึ้น 11 ค่ำ ถึง 15 ค่ำเดือน 6 ทางเหนือ ซึ่งจะอยู่ราวปลายเดือนกุมภาพันธ์หรือต้นเดือนมีนาคมของทุกปี ผู้สนใจสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับพระธาตุแช่แห้งเพิ่มเติมได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานแพร่ (รับผิดชอบพื้นที่แพร่ น่าน อุตรดิตถ์) โทร. 0-5452-1118,0-5452-1127
“Small is Beautiful”
คือเสน่ห์ของจังหวัดน่านนับจากอดีตถึงปัจจุบัน ส่วนในอนาคตเป็นที่น่าวิตกว่า น่านจะยืนหยัดต้านกระแสธารแห่งการท่องเที่ยวที่รุกเร้าเข้ามาได้มากน้อยแค่ไหน? เพราะนี่ก็ได้ข่าวว่า นายทุนต่างถิ่นระดับบิ๊ดเบิ้มทั้งไทยทั้งเทศได้ทยอยเข้าไปกว้านซื้อที่ซื้อทาง อาคารบ้านช่อง ตึกแถว และเทคโอเวอร์กิจการคนท้องถิ่นกันมาได้พักใหญ่แล้ว
โดยเฉพาะกับโรงแรมไม้เก่าแก่แสนคลาสสิกกลางเมืองนั้น หลายคนบ่นเสียดายเป็นอย่างยิ่ง เพราะหลังจากเสร็จนายทุนผู้ล่ำซำเข้าเทคโอเวอร์ ปรับปรุงใหม่ ราคามันก็อัพพุ่งพรวดแบบก้าวกระโดดมาถึง 10 เท่าตัว
แต่ก็อย่างว่าแหละ เมืองไทยในยุคกระเบื้องเฟื่องฟูลอย-น้ำเต้าน้อยถอยจม ที่เงินเป็นใหญ่ยิ่งกว่าพระเจ้า ทำให้น่านยากที่จะหนีความเปลี่ยนแปลงที่มากับการท่องเที่ยวพ้น แต่จะเปลี่ยนแปลงมาก-น้อย,เร็ว-ช้า,ดีขึ้นหรือเสื่อมลง นับเป็นเรื่องที่น่าติดตามยิ่ง
ของดีที่พระธาตุแช่แห้ง
สำหรับการไปแอ่วเมืองน่านครั้งล่าสุดนั้น บนความเปลี่ยนแปลงที่เริ่มเข้ามาเยือน ผมยังคงไม่เปลี่ยนแปลงต่อการตั้งใจไปไหว้พระธาตุแช่แห้งเหมือนเช่นหลายๆครั้งที่ผ่านมา
พระธาตุแช่แห้ง นอกจากจะพระธาตุศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองน่านแล้ว ยังเป็นพระธาตุประจำคนเกิดปีเถาะ ตามคติความเชื่อเรื่องการไหว้พระธาตุประจำปีเกิดแบบล้านนา ซึ่งวันนี้อยู่ในระหว่างการบูรณะซ่อมแซม
นอกจากองค์พระธาตุแช่แห้งที่ถือเป็นหัวใจสำคัญของวัดพระธาตุแช่แห้งแล้ว วัดแห่งนี้ยังมีของดีอีกหลายหลายให้ผู้สนใจทัศนา แต่น่าเสียดายตรงที่หลายๆคนเมื่อมาไหว้พระธาตุแช่แห้งเสร็จแล้วก็เดินทางกลับ โดยละเลยที่เดินชมสิ่งน่าสนใจภายในวัดนี้ ที่มีปรากฏให้เห็นไล่ไปตั้งแต่บันไดนาคหน้าวัด ที่ 2 ฟากฝั่งทางเดินขึ้นวัดน่ายลไปด้วยพญานาค 2 ตน ตัวยาวเฟื้อยเลื้อย ชูคอตระหง่าน หางเป็นแฉก ทอดยาวไปตามราวทางเดินเข้าวัด
พญานาค 2 ตนนี้ ช่างยุคก่อนสร้างสรรค์ออกมาได้อย่างมีชีวิตชีวา มีพลัง และมีสง่าราศี สมกับเป็นผู้ปกป้องพระพุทธศาสนา นับเป็นอีกหนึ่งเสน่ห์นาคแห่งเมืองน่านคู่กับพญานาคอ้วน 2 ตนที่เลื้อยทะลุเทินโบสถ์-วิหาร แห่งวัดภูมินทร์
จากทางเดินด้านหน้าเมื่อมองเข้าไปจะเห็นองค์พระธาตุแช่แห้งสีทองเหลืองอร่ามตั้งตระหง่านอยู่บนเนินภูเพียงแช่แห้ง(เดิมเป็นยอดดอย) อันเป็นอีกหนึ่งที่มาของชื่อพระธาตุแช่แห้ง
เมื่อเดินทางเส้นทางนาคขึ้นไป ทางซ้ายมือก่อนถึงองค์พระธาตุจะมีวิหารพระพุทธไสยยาสน์(พระนอน)ที่ภายในประดิษฐานพระนอนองค์สีทองอร่าม ยาว 14 เมตร สูง 2 เมตร และยังมีพระพุทธรูปปางมารวิชัยเก่าแก่ สร้างในปี พ.ศ. 2129 ในสมัยพระยาหน่อคำเสถียรไชยสงคราม ให้พุทธศาสนิกชนสักการะบูชา แต่ว่าหลายๆคนมักเดินเลยผ่านไป
แมงหมาเต๊า
ก่อนจะไปชมกับของดีหลากหลายในเขตพระอารามหลวงหรือเขตกำแพงพระธาตุ ผมขอพูดถึงพระธาตุองค์เล็กสีขาวที่อยู่ทางด้านหลังของวัดแห่งนี้กันเสียหน่อย พระธาตุองค์นี้คือ “พระธาตุตะโก้ง” หรือ “พระธาตุแช่แห้งน้อย” ที่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใดไม่ แต่มีหลักฐานว่าบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งสำคัญในสมัยของพระเจ้ามหาวงศ์ เจ้าผู้ครองนครน่านองค์ที่ 61 เมื่อ พ.ศ. 2389
พระธาตุตะโก้ง แม้จะมีองค์เล็กแต่ก็มีความความงามสมส่วนอยู่ในที โดยเฉพาะกับย่อมุมต่างๆจากฐานพระธาตุไล่ขึ้นไป ยามต้องแสงแดดจะเกิดเป็นรูปเงาสวยงาม
จากนี้ไปผมขอนำเข้าสู่พื้นที่ไฮไลท์ในเขตพระอารามหลวงหรือเขตกำแพงพระธาตุ ซึ่งนอกจากองค์พระธาตุแช่แห้งสีทองเด่นแล้ว ทางด้านซ้ายมือขององค์พระธาตุ(จากทางเข้าหลัก) จะพบกับวิหารพระเจ้าทันใจ เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ 3 องค์ ปางมารวิชัย 2 องค์ และปางสมาธิ 1 องค์ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นมาพร้อมๆกับการสร้างองค์พระธาตุ ซึ่งเชื่อกันว่าเมื่อขอพรจากพระเจ้าทันใจแล้ว จะสมหวังรวดเร็วทันใจ
ภายในวิหารพระเจ้าทันใจยังมีเซียมซีให้เสี่ยง ทำนายทายโชค ซึ่งหากใครเสี่ยงได้ใบไม่ดี คนที่นี่เขาเชื่อว่าให้นำไปฝากไว้กับ“แมงหมาเต๊า”ที่เป็นตัวคล้ายกบยักษ์ แต่ส่วนหัวดูคล้ายหมายังไงไม่รู้ ตั้งอยู่ข้างๆกับจุดเสี่ยงเซียมซี ถือเป็นอีกหนึ่งจุดแปลกแตกต่างของพระธาตุแช่แห้ง ที่ผมไปเสี่ยงเซียมซีวัดไหนๆไม่เคยเจอเจ้าตัวหมาเต๊าแบบนี้เลย
ปริศนานาคธรรม
ใครที่มาไหว้พระธาตุแช่แห้งแล้ว ถ้าไม่มีธุระด่วนจี๋ อย่างเพิ่งรีบร้อนกลับ ควรเข้าไปสักการะพระพุทธรูปงามๆในพระวิหารหลวงกันก่อน
พระวิหารหลวงวัดพระธาตุแช่แห้ง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยพระยากานเมือง(พระยาการเมือง) ผู้สร้างพระธาตุแช่แห้ง เป็นพระวิหารที่หันหน้าไปทางทิศตะวันตก หลังคาซ้อน 3 ชั้น สมส่วน สวยงาม
ภายในวิหาร มีพระพุทธรูปประดิษฐานน่าสนใจอยู่หลายองค์ด้วยกัน นำโดย “พระเจ้าล้านทอง” องค์พระประธานปางมารศรีวิชัยศิลปะล้านนา ที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2065 มีพุทธลักษณะงดงาม เป็นหนึ่งในพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองน่าน ร่วมด้วยพระพุทธรูปปางประทับยืนและพระอุ่นเมืองในศิลปะสกุลช่างน่านอันงดงาม
วิหารหลวงวัดพระธาตุแช่แห้งไม่มีจิตรกรรมผาฝนัง แต่ภายนอกวิหารกลับน่ายลไปด้วยงานปูนปั้นฝีมือเอกอุอันเป็นเอกลักษณ์
งานแรกคือสิงห์ 2 ตัวที่ยืนเฝ้าปากประตูเข้าพระวิหารอยู่ สิงห์ 2 ตัวนี้นำคติมาจากชาดกเรื่อง“สิงห์คายนาง”(วรรณกรรมทางพุทธศาสนาเป็นที่นิยมมากทางล้านนา) ซึ่งช่างสามารถปั้นสร้างสรรค์ออกมาได้อย่างมีชีวิตชีวา แถมสิงห์ 2 ตัวนี้ ยังดูเมินหน้าเชิดใส่กันเสียด้วย
ถัดจาก 2 สิงห์ไป งานฝีมือชิ้นถัดไปต้องแหงนหน้าดู เพราะอยู่ตรงบริเวณเหนือประตูทางเข้าขึ้นไป นั่นก็คือ “อัฏฐพญานาคราช” ที่ทำเป็นประติมากรรมปูนปั้นนูนสูงสีขาวไม่ลงสี รูปพญานาค 8 ตัว ฝั่งละ 4 ตัว ใช้ส่วนลำตัวและหางเกาะเกี่ยวกวัดรัดกันไปเป็น 3 ชั้น และมีดอกบัวทั้ง 7 โผล่พุ่งออกมา ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งปริศนาธรรมแห่งพระธาตุแช่แห้ง เช่นเดียวกับชื่อของพระธาตุคือ“แช่แห้ง”(เป็นความเชื่อส่วนบุคคลซึ่งผมได้เขียนถึงเรื่องนี้ไปในตอนที่แล้ว)
แรกที่ผมยังไม่รู้ถึงปริศนาธรรมที่แฝงเร้น สิ่งที่รับรู้จากการชมรูปพญานาคเหล่านี้ คือ นี่คืองานพุทธศิลป์ชั้นเยี่ยมในระดับมาสเตอร์พีช ช่างสมัยก่อนปั้นนาคออกมาได้อย่างถึงอารมณ์ พญานาคดูอวบสมส่วน เลื้อยพลิ้วมีชีวิตชีวา ผิดกับผลของช่างร่วมสมัยในปัจจุบันที่เหนือประตูทางเข้าด้านหลัง ซึ่งแม้จะลงสีทองอร่ามให้พญานาคทั้งแปด แต่ว่างานที่ออกมาดูแข็ง เกร็ง ทื่อ ขาดชีวิตชีวา ตัวพญานาคดูผอมแห้งไม่มีราศียังกับงูดิน เลยทำให้ภาพพญานาคด้านหลังนี้ไม่ค่อยเป็นที่กล่าวถึงเท่าไหร่
สำหรับปริศนานาคธรรม(เป็นความเชื่อส่วนบุคคล)ในภาพอัฏฐพญานาคราช นั้นผู้รู้ต่างตีความออกมาในทิศทางเดียวกัน(อาจต่างกันบ้างตรงรายละเอียดปลีกย่อย) ว่า...
พญานาค 8 ตัว ที่เกี่ยวกวัดกันอยู่นั้น ถ้าเพ่งมองให้ดีจะเห็นเป็นรูปฟอร์มของพระพุทธรูปหรือบางคนตีความเป็นรูปพระพุทธองค์นั่งขัดสมาธิ บางคนมองเป็นเจดีย์ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต่างเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น
ส่วนพญานาคทั้ง 8 นั้น หมายถึง อริยมรรคแปด อันเป็นแปดเส้นทางที่พระตถาคตใช้สอนพุทธศาสนิกชนให้เดินสู่หนทางแห่งความหลุดพ้น ขณะที่การเกี่ยวกันเป็น 3 ชั้นนั้น แทนองค์ 3 ในพระพุทธศาสนา ได้ กฎไตรลักษณ์ การเกิด ตั้งอยู่ และดับไป หรือ ศีล สมาธิ ปัญญา หรือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นต้น ด้านดอกบัว 7 ดอก แทนอภิธรรมา 7 คัมภีร์ หรือ หลักธรรมสัปปุริสัทธรรม 7 ประการ
อย่างไรก็ดีงานปูนปั้นพญานาคเกี่ยวกวัดแฝงปริศนาธรรม ใช่มีแต่ทางฝั่งด้านหน้าวิหารเท่านั้น ที่ด้านหลังวิหารก็มี เป็นผลงานฝีมือเชิงช่างร่วมสมัยในปัจจุบัน ซึ่งทั้งหลายทั้งปวงแล้ว อัฏฐพญานาคราช เป็นหนึ่งในปริศนาธรรมที่สื่อให้ผู้คนทำความดีผ่านสิ่งๆต่างที่กล่าวมา
แต่กระนั้นก็ใช่ว่าทุกคนจะมองเห็นไปในทิศทาง(ธรรม)เดียวกันหมด เพราะมีบางคนที่ผมไปเจอ เขาตีตัวเลขทางธรรมที่แอบแฝงอยู่ในภาพอัฏฐพญานาคราช เป็นหวยเลขเด็ดไปเสียนี่
*****************************************
พระธาตุแช่แห้ง ตั้งอยู่ที่บ้านหนองเต่า ต.ม่วงตึ๊ด กิ่ง อ.ภูเพียง จากตัวเมืองน่านข้ามสะพานแม่น้ำน้ำ ไปตามถนนสายน่าน-แม่จริม (ทางหลวงหมายเลข 1168 ประมาณ 3 กม.) ทุกๆปีจะมีงานนมัสการพระบรมธาตุแช่แห้ง ระหว่างวันขึ้น 11 ค่ำ ถึง 15 ค่ำเดือน 6 ทางเหนือ ซึ่งจะอยู่ราวปลายเดือนกุมภาพันธ์หรือต้นเดือนมีนาคมของทุกปี ผู้สนใจสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับพระธาตุแช่แห้งเพิ่มเติมได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานแพร่ (รับผิดชอบพื้นที่แพร่ น่าน อุตรดิตถ์) โทร. 0-5452-1118,0-5452-1127