โดย : ปิ่น บุตรี

เอ่ยถึง“วัดพระเกิด”เมืองน่าน
ใครและใครหลายคนที่ไม่ใช่คนน่านส่วนใหญ่ไม่รู้จักวัดนี้(หรือแม้กระทั่งคนน่านบางคนเองก็ไม่รู้จักวัดนี้) เพราะนี่ไม่ใช่วัดชื่อดังในระดับทอปไฟว์ของเมืองน่าน
ตัวผมเองแม้มีโอกาสขึ้นไปแอ่วน่านอยู่บ่อยครั้ง แต่ก็ไม่เคยแวะเวียนเข้าไปไหว้พระที่วัดนี้เลยสักครั้ง กระทั่งเมื่อช่วงเข้าพรรษานี้ ได้มีโอกาสขึ้นไปแอ่วน่านในบรรยากาศหลังน้ำท่วมหมาดๆ ชนิดบางพื้นที่ยังเจิ่งน้ำอยู่ แล้วมีโอกาสได้เข้าไปเที่ยววัดพระเกิด ผมพบว่าวัดแห่งนี้ถือเป็นแหล่งรวมของดีทรงคุณค่าระดับต้นๆในตัวเมืองน่านเลยทีเดียว
วัดพระเกิด...เกิดแต่ใดมา
วัดพระเกิด เป็นวัดที่ได้รับประราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ. 2381 เป็นวัดที่ 19 จากจำนวน 387 วัด ของจังหวัดน่าน (กรมการศาสนา สำรวจเมื่อปี พ.ศ. 2532) จากเอกสารประวัติวัดที่บันทึกเรียบเรียงโดยนายประพันธ์ วิบูลศักดิ์ ระบุความว่า
...วัดพระเกิด สร้างขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2370 โดยไม่ทราบว่าใครเป็นผู้สร้าง บอกเพียงแต่ว่าคนเมืองเทิงเป็นผู้สร้าง ดังมีปรากฏในหนังสือการอ่านศิลาจารึกหลักต่างๆของ อาจารย์กล่ำ ทองคำวรรณ ที่ได้กล่าวถึงวัดพระเกิดคงคาราม ในอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย พูดถึงผู้สร้างวัดนี้ว่า “สำหรับวัดพระเกิดที่จังหวัดน่าน คนเมืองเทิงเป็นผู้สร้าง”
ขณะที่ในหนังสือ “เมืองน่าน”(โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปะ) ของกรมศิลปากร(จัดพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2530) มีข้อมูลกล่าวถึงวัดพระเกิดว่า...ในศิลาจารึกหลักที่ 72 ที่จารึกเมื่อปี พ.ศ. 2043 เป็นอักษรไทยล้านนา(ตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติน่าน) มีข้อความกล่าวว่า พระมหาราชเทวีเจ้า(สันนิษฐานว่าคงจะเป็นผู้เดียวกับ”พระมหาเทวีเจ้าอยู่หัว” พระราชมารดาของพระเมืองแก้ว) ได้มีการให้ฝังสีมา(ผูกพัทธสีมา)ที่วัดพระเกิดและถวายที่นา ตลอดจนครัวเรือนเพื่อทำนาถวายวัด
ในหนังสือเล่มดังกล่าวยังมีข้อความเพิ่มเติมว่า ศิลาจารึกหลักนี้ เข้าใจว่าเดิมอาจจะย้ายมาจากวัดพระเกิดคงคาราม ใน อ.เทิง จ.เชียงราย ตั้งแต่ครั้งเจ้าอัตถวรปัญโญ อพยพครัวเรือนมาจากเมืองเทิง ลงมาตั้งที่เมืองน่านในปี พ.ศ. 2329 เนื่องจากมีร่องรอยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ซึ่งมีอายุใกล้เคียงกับปีที่จารึก ส่วน “วัดพระเกิดคงคาราม” เมืองน่านนั้น สันนิษฐานว่า คงจะสร้างขึ้นโดยชาวเมืองเทิงที่อพยพลงมาอยู่เมืองน่านในยุคหลัง เพราะวัดพระเกิดเมืองน่านมีอายุน้อยกว่าวัดพระเกิดคงคาราม อ.เทิง เชียงราย ที่สร้างขึ้นมาก่อนตั้งแต่ปี พ.ศ.2043

อย่างไรก็ตาม การที่วัดแห่งนี้มีชื่อเรียกสั้นๆว่าวัดพระเกิด(เฉยๆ) ไม่ได้ใช้ชื่อวัดพระเกิดคงคาราม เหมือนต้นฉบับทางเชียงราย ทางนายประพันธ์ ผู้เรียบเรียงตั้งข้อสังเกตว่า น่าจะเกิดจากการตกหล่นคำว่าคงคารามไป
ในเอกสารประวัติวัดชุดนี้ยังกล่าวถึงตำนานปรัมปราของวัดพระเกิดที่เรียบเรียงมาจากคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ว่า...ในตอนที่ปรับสถานที่สร้างวัดนี้ ได้พบพระแก้วแกะสีขาวใสอยู่ในกล่องไม้สาน วางอยู่บนตอไม้ จึงตั้งชื่อวัดว่า “วัดพระเกิด” เพราะพระ(แก้วแกะ)เกิดที่นี่ และได้เก็บพระไว้กับวัดนี้ตลอดมา ปัจจุบันนี้ลือกันว่ามีคนนำออกจากวัดไปเป็นสมบัติส่วนตัวเสียแล้ว...
ครับและนั่นก็เป็นเรื่องราวที่มาที่ไปของชื่อวัดพระเกิด ที่หลังจากเกิดวัดนี้ขึ้นมากว่า 180 ปี ล่าสุดเมื่อเร็วๆนี้ วัดพระเกิดได้เกิดแหล่งของดีขึ้นมาใหม่อีกหนึ่งแห่งในเมืองน่านที่ถือว่าน่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว
กำเนิดพิพิธภัณฑ์ชุมชนบ้านพระเกิด
เดิมทีของดีของเด่นที่น่าสนใจในวัดพระเกิด ได้แก่ พระประธานในวิหารที่มีพุทธสรีระขรึมขลัง เบื้องหลังมีช่องเจาะใส่พระองค์เล็กๆดูมีเอกลักษณ์, หอพระไตรปิฎก ที่เป็นเรือนไม้ฉลุลายขนมปังขิงดูละเมียดสวยงาม และมณฑปครูบาอินผ่อง วิสารโท อดีตเจ้าอาวาสวัดพระเกิดอันเป็นที่เคารพเลื่อมใสศรัทธา

กระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ ชาวชุมชนบ้านพระเกิด(ชุมชนกลุ่มเชื้อสายเจ้าเมืองที่เกิดขึ้นหลัง พ.ศ. 2360 ได้ไม่กี่ปี) ได้จัดเวทีประชาคม แสดงประชามติให้มีการปรับปรุงกุฏิครูบาอินผ่อง เป็นพิพิธภัณฑ์ชุมชนบ้านพระเกิดขึ้น
อ.คำรบ วัชราคม อาจารย์เกษียณ ชาวพัทลุงอายุ 67 ปี ที่ต้องมนต์เมืองน่าน ผู้เป็นหนึ่งในหัวเรี่ยวหัวแรงหลักของพิพิธภัณฑ์ชุมชนแห่งนี้บอกกับผมว่า ครูบาอินผ่องที่มรณภาพไปเมื่อประมาณ 38 ปี ที่แล้ว ท่านได้สะสมอนุรักษ์ โบราณวัตถุข้าวของเครื่องใช้ต่างๆไว้เป็นจำนวนมาก ชาวบ้านส่วนใหญ่จึงเห็นพ้องต้องกันว่า ควรเก็บรักษาศิลปวัตถุล้ำค่าเหล่านี้ไว้เพื่อเป็นสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้ จึงได้จัดเวทีทำประชามติขอปรับปรุงกุฏิครูบาอินผ่องทำเป็น“พิพิธภัณฑ์ชุมชนบ้านพระเกิด” โดยเริ่มก่อตั้ง ปรับแต่ง จัดแสดงข้าวของ ตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. ปีนี้ ก่อนแล้วเสร็จเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 12 มิถุนายน 2554

กุฏิหลังนี้ พระครูวิจิตรนันทสาร เจ้าอาวาสรูปปัจจุบันได้มอบให้ปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์ ตัวโครงสร้างของอาคารใช้ไม้เก่าที่มีอยู่ในวัดเป็นจำนวนมากมาปรับปรุงซ่อมแซม ขณะที่ศิลปวัตถุข้าวของต่างๆที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์นั้น ส่วนหนึ่งเป็นของวัดมาจากของสะสมของครูบาอินผ่อง อีกส่วนหนึ่งเป็นของทีชาวชุมชนช่วยกันบริจาคมา โดยแบ่งพื้นที่จัดแสดงหลักๆเป็น ส่วนจัดแสดงรวม ส่วนห้องพระพุทธศาสนา และส่วนห้องวิถีชีวิตภูมิปัญญาพื้นบ้าน
“พวกเราเป็นสถาปนึก จัดทำกันเอง จัดวางข้าวของกันเอง ตามความเหมาะสม ของบางอย่างหนักมาก คนแก่ๆอย่างพวกเราก็มาช่วยกันยก เหนื่อยแต่ก็ภูมิใจที่ได้ทำ” อ.คำรบ เล่าให้ฟัง
สำหรับข้าวของต่างๆที่จัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์ จะอยู่ที่ชั้น 2 เมื่อเดินขึ้นไปจะเป็นโถงกุฏิจัดแสดงข้าวของเต็มแน่น แต่ดูไม่รกตา แบ่งเป็นพื้นที่ส่วนหน้ากับส่วนหลัง

ส่วนหน้าโดดเด่นไปด้วยหีบพระธรรมโบราณลงรักปิดทองจำนวนหลายใบ ยอดช่อฟ้า คันทวยหรือค่ำยัน แผลงพระพิมพ์ บานหน้าต่างวัดเก่าแก่ทำด้วยไม้แกะสลัก ขณะที่ส่วนหลัง มีข้าวของชิ้นเด่น อาทิ บุษบก เรือแข่งน่านจำลอง ตาลปัตรเก่า และตู้เก็บตั๋วเมืองหรือคัมภีร์ใบลานอักษรธรรมล้านนา จำนวน 2,323 ผูก แบ่งเป็น 20 หมวด ซึ่งได้ทำการถอดความตั๋วเมืองบางผูกมาพิมพ์เป็นพงศาวดารเมืองน่าน ฉบับวัดพระเกิด(พิมพ์ 2 ภาษา อักษรไทยและอักษรตั๋วเมือง)
ใครที่อยากรู้ว่าพงศาวดารเล่มนี้ถอดความมาจากคัมภีร์ฉบับไหน ผมแนะนะให้ไปถาม อ.คำรบ แล้วก็จะได้รับความกระจ่าง

ชมสิ่งน่าสนใจในส่วนจัดแสดงร่วมไปแล้ว ผมไปต่อยังห้องวิถีชีวิตภูมิปัญญาพื้นบ้าน ที่จัดแสดงข้าวของเครื่องใช้พื้นบ้านต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านบริจาคให้มา ประกอบด้วย เครื่องจักสาน งานไม้ไผ่ กระด้ง ครกไม้ ไหเก่า เครื่องครัว เครื่องกรอฝ้าย หัวสัตว์ เขาสัตว์ ลูกคิด เครื่องบดยา หมวก กบ(มือ)ไสไม้ชนิดต่างๆ และอีกสารพัดสารพันสิ่งของที่ชาวบ้านจะบริจาคมา

จากนั้น อ.คำรบพามาเดินเข้ามาในส่วนไฮไลท์ที่ห้องพระพุทธศาสนา ซึ่งรวบรวมพระพุทธรูปโบราณเก่าแก่เอาไว้เป็นจำนวนมาก ในรูปแบบการจัดแสดงฝีมือชาวบ้านที่ดูดียังกับมืออาชีพเลยทีเดียว
พระพุทธรูปโบราณในห้องนี้ที่เด่นๆก็เห็นจะเป็นพวก พระพุทธรูปไม้ปางต่างๆ ส่วนที่โดดเด่นเป็นพิเศษก็คือ พระพุทธรูปไม้ยืนทรงเครื่องที่สร้างทำอย่างสวยงาม อายุนับร้อยๆปี ซึ่งน่าจะเป็นพระพุทธรูปไม้ยุคเดียวกับพระพุทธรูปไม้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่านที่เก็บของดีคู่บ้านคู่เมืองอย่างงาช้างดำเอาไว้
อย่างไรก็ดีในห้องพระพุทธศาสนาที่มีของดีในระดับต้นๆของเมืองน่านนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ทางพิพิธภัณฑ์จะต้องดูแลอย่างเข้มงวด เฝ้าระวังพระพุทธรูปต่างๆกันเป็นอย่างดี เพราะเมืองไทยเมืองพุทธในยุคนี้ พ.ศ.นี้ มารศาสนามันช่างเยอะเสียเหลือเกิน
คนเก่าเล่าเก่ง
ในวันที่ไปเยือนพิพิธภัณฑ์ชุมชนบ้านพระเกิด ผมไปกับพรรคพวกเป็นหมู่คณะย่อมๆ ซึ่งนอกจาก อ.คำรบจะมาทำหน้าที่ให้ความรู้แล้ว ยังมีคุณลุง คุณป้า คุณย่า คุณยาย มาคอยร่วมด้วยช่วยแนะนำข้าวของต่างๆให้ฟัง อย่างถึงอรรถรส เพราะข้าวของเครื่องใช้หลายอย่าง วิทยากรกิตติมศักดิ์เหล่านั้น เป็นคนนำของตัวเองมาบริจาค หรือไม่ก็รู้จักกับคนบริจาค หรือเคยใช้ข้าวของเหล่านั้นมาไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะกับ 2 คุณยาย คือ คุณยายจำปี เบญจศรีกุล อายุ 81 ปี กับคุณยายสุพิศ ณ น่าน อายุ 83 ปี ที่มาคอยเล่าโน่น นี่ นั่น ให้ผมฟังอย่างเปี่ยมมิตรไมตรี เหมือนกับญาติผู้ใหญ่มาเล่าประสบการณ์ให้ลูกหลานฟัง

ยกตัวอย่างกระด้งฝัดข้าวที่ดูเผินๆนึกว่าเป็นกระด้งธรรมดา แต่ที่มาที่ไปของกระด้งที่ฟังจากคำบอกเล่าของ 2 คุณยายแล้วมันช่างเหลือร้ายจริงๆ เพราะมันเป็นกระด้งเก่า(อายุร่วม 60ปี)ที่คุณยายลัดดา(ผู้บริจาค)ได้เคยใช้เป็นกระด้งนี้วางลูก 3 คน จาก 4 คน แล้วนำไปส่งให้ญาติถือกระด้งกระทืบบนชานเรือนตรงหัวบันได พร้อมตะโกนว่า “ถ้าเป็นลูกผีให้เอาไปเสียแต่วันนี้ แต่ถ้าเป็นลูกคนให้อยู่กับข้าคอยเลี้ยงดู” ที่เป็นไปตามความเชื่อของคนแถบนี้ว่าถ้าลูกโตมาจะได้ไม่ถูกผีมาตามทวง หรือถูกผีทำให้เจ็บป่วย
หรืออย่างไม้ไผ่ธรรมดามีการผูกตรงหัวนิดหน่อย คุณยายสุพิศกับคุณยายจำปีก็อธิบายว่านี่คือไม้ที่ใช้สำหรับปั่นเอาใยของหยวกกล้วยหรือใยบอนออกจากเนื้อ เวลานำหยวกกล้วยหรือบอนมาแกง ซึ่งผมฟังแล้วรู้สึกหิวแกงไก่ใส่หยวกกล้วยขึ้นมาตะหงิดๆ
นอกจาก 2 ตัวอย่างที่ยกมาแล้วก็ยังมาข้าวของต่างๆอีกมากมายที่เหล่าวิทยากรกิตติมศักดิ์คือคุณลุง คุณป้า คุณย่า คุณยาย มาช่วยกันอธิบายด้วยใบหน้าเปื้อนรอยยิ้มแบบไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อย นับเป็นการสร้างสีสันให้กับพิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีชีวิตชีวามากยิ่งขึ้น ซึ่งถึงแม้ผู้อาวุโสเหล่านี้จะออกตัวว่าเป็นไกด์โบราณ แต่ถ้าไม่ได้คนรุ่นนี้ งานสืบสานศิลปวัฒนธรรมหลายๆอย่างอาจขาดช่วง หรือไม่ก็ถึงขั้นอาจสูญหายไปจากเมืองไทยเลยก็เป็นได้
*****************************************
วัดพระเกิด ตั้งอยู่ที่บ้านพระเกิด ตำบลในเวียง อ.เมือง จ.น่าน ห่างจากตัวเมืองน่านไปประมาณ 2 กม. ไปตามถนนสุมนเทวราช พอถึงทางแยกโรงเรียนสามัคคีวิทยาฯให้เลี้ยวซ้ายไปประมาณ 15 เมตร ก็จะถึงยังวัดพระเกิด
สำหรับพิพิธภัณฑ์ชุมชนบ้านพระเกิด เปิดทุกวันตั้งแต่เวลา 9.00-16.30 น. หากไปเป็นหมู่คณะควรติดต่อก่อนล่วงหน้าที่ 08-9434-4889,08-1882-3188,08-1024-1939
ใกล้ๆกับวัดพระเกิดมี“โฮงเจ้าฟองคำ” คุ้มเจ้าเมืองฝ่ายเหนือ หนึ่งในเรือนเก่าแก่สวยงามของเมืองน่านที่เปิดจัดแสดงเป็นพิพิธภัณฑ์ให้ผู้สนใจได้เข้าชมฟรี เป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจ ที่สามารถเดินไป-มา จากวัดพระเกิดได้
เอ่ยถึง“วัดพระเกิด”เมืองน่าน
ใครและใครหลายคนที่ไม่ใช่คนน่านส่วนใหญ่ไม่รู้จักวัดนี้(หรือแม้กระทั่งคนน่านบางคนเองก็ไม่รู้จักวัดนี้) เพราะนี่ไม่ใช่วัดชื่อดังในระดับทอปไฟว์ของเมืองน่าน
ตัวผมเองแม้มีโอกาสขึ้นไปแอ่วน่านอยู่บ่อยครั้ง แต่ก็ไม่เคยแวะเวียนเข้าไปไหว้พระที่วัดนี้เลยสักครั้ง กระทั่งเมื่อช่วงเข้าพรรษานี้ ได้มีโอกาสขึ้นไปแอ่วน่านในบรรยากาศหลังน้ำท่วมหมาดๆ ชนิดบางพื้นที่ยังเจิ่งน้ำอยู่ แล้วมีโอกาสได้เข้าไปเที่ยววัดพระเกิด ผมพบว่าวัดแห่งนี้ถือเป็นแหล่งรวมของดีทรงคุณค่าระดับต้นๆในตัวเมืองน่านเลยทีเดียว
วัดพระเกิด...เกิดแต่ใดมา
วัดพระเกิด เป็นวัดที่ได้รับประราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ. 2381 เป็นวัดที่ 19 จากจำนวน 387 วัด ของจังหวัดน่าน (กรมการศาสนา สำรวจเมื่อปี พ.ศ. 2532) จากเอกสารประวัติวัดที่บันทึกเรียบเรียงโดยนายประพันธ์ วิบูลศักดิ์ ระบุความว่า
...วัดพระเกิด สร้างขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2370 โดยไม่ทราบว่าใครเป็นผู้สร้าง บอกเพียงแต่ว่าคนเมืองเทิงเป็นผู้สร้าง ดังมีปรากฏในหนังสือการอ่านศิลาจารึกหลักต่างๆของ อาจารย์กล่ำ ทองคำวรรณ ที่ได้กล่าวถึงวัดพระเกิดคงคาราม ในอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย พูดถึงผู้สร้างวัดนี้ว่า “สำหรับวัดพระเกิดที่จังหวัดน่าน คนเมืองเทิงเป็นผู้สร้าง”
ขณะที่ในหนังสือ “เมืองน่าน”(โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปะ) ของกรมศิลปากร(จัดพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2530) มีข้อมูลกล่าวถึงวัดพระเกิดว่า...ในศิลาจารึกหลักที่ 72 ที่จารึกเมื่อปี พ.ศ. 2043 เป็นอักษรไทยล้านนา(ตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติน่าน) มีข้อความกล่าวว่า พระมหาราชเทวีเจ้า(สันนิษฐานว่าคงจะเป็นผู้เดียวกับ”พระมหาเทวีเจ้าอยู่หัว” พระราชมารดาของพระเมืองแก้ว) ได้มีการให้ฝังสีมา(ผูกพัทธสีมา)ที่วัดพระเกิดและถวายที่นา ตลอดจนครัวเรือนเพื่อทำนาถวายวัด
ในหนังสือเล่มดังกล่าวยังมีข้อความเพิ่มเติมว่า ศิลาจารึกหลักนี้ เข้าใจว่าเดิมอาจจะย้ายมาจากวัดพระเกิดคงคาราม ใน อ.เทิง จ.เชียงราย ตั้งแต่ครั้งเจ้าอัตถวรปัญโญ อพยพครัวเรือนมาจากเมืองเทิง ลงมาตั้งที่เมืองน่านในปี พ.ศ. 2329 เนื่องจากมีร่องรอยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ซึ่งมีอายุใกล้เคียงกับปีที่จารึก ส่วน “วัดพระเกิดคงคาราม” เมืองน่านนั้น สันนิษฐานว่า คงจะสร้างขึ้นโดยชาวเมืองเทิงที่อพยพลงมาอยู่เมืองน่านในยุคหลัง เพราะวัดพระเกิดเมืองน่านมีอายุน้อยกว่าวัดพระเกิดคงคาราม อ.เทิง เชียงราย ที่สร้างขึ้นมาก่อนตั้งแต่ปี พ.ศ.2043
อย่างไรก็ตาม การที่วัดแห่งนี้มีชื่อเรียกสั้นๆว่าวัดพระเกิด(เฉยๆ) ไม่ได้ใช้ชื่อวัดพระเกิดคงคาราม เหมือนต้นฉบับทางเชียงราย ทางนายประพันธ์ ผู้เรียบเรียงตั้งข้อสังเกตว่า น่าจะเกิดจากการตกหล่นคำว่าคงคารามไป
ในเอกสารประวัติวัดชุดนี้ยังกล่าวถึงตำนานปรัมปราของวัดพระเกิดที่เรียบเรียงมาจากคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ว่า...ในตอนที่ปรับสถานที่สร้างวัดนี้ ได้พบพระแก้วแกะสีขาวใสอยู่ในกล่องไม้สาน วางอยู่บนตอไม้ จึงตั้งชื่อวัดว่า “วัดพระเกิด” เพราะพระ(แก้วแกะ)เกิดที่นี่ และได้เก็บพระไว้กับวัดนี้ตลอดมา ปัจจุบันนี้ลือกันว่ามีคนนำออกจากวัดไปเป็นสมบัติส่วนตัวเสียแล้ว...
ครับและนั่นก็เป็นเรื่องราวที่มาที่ไปของชื่อวัดพระเกิด ที่หลังจากเกิดวัดนี้ขึ้นมากว่า 180 ปี ล่าสุดเมื่อเร็วๆนี้ วัดพระเกิดได้เกิดแหล่งของดีขึ้นมาใหม่อีกหนึ่งแห่งในเมืองน่านที่ถือว่าน่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว
กำเนิดพิพิธภัณฑ์ชุมชนบ้านพระเกิด
เดิมทีของดีของเด่นที่น่าสนใจในวัดพระเกิด ได้แก่ พระประธานในวิหารที่มีพุทธสรีระขรึมขลัง เบื้องหลังมีช่องเจาะใส่พระองค์เล็กๆดูมีเอกลักษณ์, หอพระไตรปิฎก ที่เป็นเรือนไม้ฉลุลายขนมปังขิงดูละเมียดสวยงาม และมณฑปครูบาอินผ่อง วิสารโท อดีตเจ้าอาวาสวัดพระเกิดอันเป็นที่เคารพเลื่อมใสศรัทธา
กระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ ชาวชุมชนบ้านพระเกิด(ชุมชนกลุ่มเชื้อสายเจ้าเมืองที่เกิดขึ้นหลัง พ.ศ. 2360 ได้ไม่กี่ปี) ได้จัดเวทีประชาคม แสดงประชามติให้มีการปรับปรุงกุฏิครูบาอินผ่อง เป็นพิพิธภัณฑ์ชุมชนบ้านพระเกิดขึ้น
อ.คำรบ วัชราคม อาจารย์เกษียณ ชาวพัทลุงอายุ 67 ปี ที่ต้องมนต์เมืองน่าน ผู้เป็นหนึ่งในหัวเรี่ยวหัวแรงหลักของพิพิธภัณฑ์ชุมชนแห่งนี้บอกกับผมว่า ครูบาอินผ่องที่มรณภาพไปเมื่อประมาณ 38 ปี ที่แล้ว ท่านได้สะสมอนุรักษ์ โบราณวัตถุข้าวของเครื่องใช้ต่างๆไว้เป็นจำนวนมาก ชาวบ้านส่วนใหญ่จึงเห็นพ้องต้องกันว่า ควรเก็บรักษาศิลปวัตถุล้ำค่าเหล่านี้ไว้เพื่อเป็นสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้ จึงได้จัดเวทีทำประชามติขอปรับปรุงกุฏิครูบาอินผ่องทำเป็น“พิพิธภัณฑ์ชุมชนบ้านพระเกิด” โดยเริ่มก่อตั้ง ปรับแต่ง จัดแสดงข้าวของ ตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. ปีนี้ ก่อนแล้วเสร็จเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 12 มิถุนายน 2554
กุฏิหลังนี้ พระครูวิจิตรนันทสาร เจ้าอาวาสรูปปัจจุบันได้มอบให้ปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์ ตัวโครงสร้างของอาคารใช้ไม้เก่าที่มีอยู่ในวัดเป็นจำนวนมากมาปรับปรุงซ่อมแซม ขณะที่ศิลปวัตถุข้าวของต่างๆที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์นั้น ส่วนหนึ่งเป็นของวัดมาจากของสะสมของครูบาอินผ่อง อีกส่วนหนึ่งเป็นของทีชาวชุมชนช่วยกันบริจาคมา โดยแบ่งพื้นที่จัดแสดงหลักๆเป็น ส่วนจัดแสดงรวม ส่วนห้องพระพุทธศาสนา และส่วนห้องวิถีชีวิตภูมิปัญญาพื้นบ้าน
“พวกเราเป็นสถาปนึก จัดทำกันเอง จัดวางข้าวของกันเอง ตามความเหมาะสม ของบางอย่างหนักมาก คนแก่ๆอย่างพวกเราก็มาช่วยกันยก เหนื่อยแต่ก็ภูมิใจที่ได้ทำ” อ.คำรบ เล่าให้ฟัง
สำหรับข้าวของต่างๆที่จัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์ จะอยู่ที่ชั้น 2 เมื่อเดินขึ้นไปจะเป็นโถงกุฏิจัดแสดงข้าวของเต็มแน่น แต่ดูไม่รกตา แบ่งเป็นพื้นที่ส่วนหน้ากับส่วนหลัง
ส่วนหน้าโดดเด่นไปด้วยหีบพระธรรมโบราณลงรักปิดทองจำนวนหลายใบ ยอดช่อฟ้า คันทวยหรือค่ำยัน แผลงพระพิมพ์ บานหน้าต่างวัดเก่าแก่ทำด้วยไม้แกะสลัก ขณะที่ส่วนหลัง มีข้าวของชิ้นเด่น อาทิ บุษบก เรือแข่งน่านจำลอง ตาลปัตรเก่า และตู้เก็บตั๋วเมืองหรือคัมภีร์ใบลานอักษรธรรมล้านนา จำนวน 2,323 ผูก แบ่งเป็น 20 หมวด ซึ่งได้ทำการถอดความตั๋วเมืองบางผูกมาพิมพ์เป็นพงศาวดารเมืองน่าน ฉบับวัดพระเกิด(พิมพ์ 2 ภาษา อักษรไทยและอักษรตั๋วเมือง)
ใครที่อยากรู้ว่าพงศาวดารเล่มนี้ถอดความมาจากคัมภีร์ฉบับไหน ผมแนะนะให้ไปถาม อ.คำรบ แล้วก็จะได้รับความกระจ่าง
ชมสิ่งน่าสนใจในส่วนจัดแสดงร่วมไปแล้ว ผมไปต่อยังห้องวิถีชีวิตภูมิปัญญาพื้นบ้าน ที่จัดแสดงข้าวของเครื่องใช้พื้นบ้านต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านบริจาคให้มา ประกอบด้วย เครื่องจักสาน งานไม้ไผ่ กระด้ง ครกไม้ ไหเก่า เครื่องครัว เครื่องกรอฝ้าย หัวสัตว์ เขาสัตว์ ลูกคิด เครื่องบดยา หมวก กบ(มือ)ไสไม้ชนิดต่างๆ และอีกสารพัดสารพันสิ่งของที่ชาวบ้านจะบริจาคมา
จากนั้น อ.คำรบพามาเดินเข้ามาในส่วนไฮไลท์ที่ห้องพระพุทธศาสนา ซึ่งรวบรวมพระพุทธรูปโบราณเก่าแก่เอาไว้เป็นจำนวนมาก ในรูปแบบการจัดแสดงฝีมือชาวบ้านที่ดูดียังกับมืออาชีพเลยทีเดียว
พระพุทธรูปโบราณในห้องนี้ที่เด่นๆก็เห็นจะเป็นพวก พระพุทธรูปไม้ปางต่างๆ ส่วนที่โดดเด่นเป็นพิเศษก็คือ พระพุทธรูปไม้ยืนทรงเครื่องที่สร้างทำอย่างสวยงาม อายุนับร้อยๆปี ซึ่งน่าจะเป็นพระพุทธรูปไม้ยุคเดียวกับพระพุทธรูปไม้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่านที่เก็บของดีคู่บ้านคู่เมืองอย่างงาช้างดำเอาไว้
อย่างไรก็ดีในห้องพระพุทธศาสนาที่มีของดีในระดับต้นๆของเมืองน่านนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ทางพิพิธภัณฑ์จะต้องดูแลอย่างเข้มงวด เฝ้าระวังพระพุทธรูปต่างๆกันเป็นอย่างดี เพราะเมืองไทยเมืองพุทธในยุคนี้ พ.ศ.นี้ มารศาสนามันช่างเยอะเสียเหลือเกิน
คนเก่าเล่าเก่ง
ในวันที่ไปเยือนพิพิธภัณฑ์ชุมชนบ้านพระเกิด ผมไปกับพรรคพวกเป็นหมู่คณะย่อมๆ ซึ่งนอกจาก อ.คำรบจะมาทำหน้าที่ให้ความรู้แล้ว ยังมีคุณลุง คุณป้า คุณย่า คุณยาย มาคอยร่วมด้วยช่วยแนะนำข้าวของต่างๆให้ฟัง อย่างถึงอรรถรส เพราะข้าวของเครื่องใช้หลายอย่าง วิทยากรกิตติมศักดิ์เหล่านั้น เป็นคนนำของตัวเองมาบริจาค หรือไม่ก็รู้จักกับคนบริจาค หรือเคยใช้ข้าวของเหล่านั้นมาไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะกับ 2 คุณยาย คือ คุณยายจำปี เบญจศรีกุล อายุ 81 ปี กับคุณยายสุพิศ ณ น่าน อายุ 83 ปี ที่มาคอยเล่าโน่น นี่ นั่น ให้ผมฟังอย่างเปี่ยมมิตรไมตรี เหมือนกับญาติผู้ใหญ่มาเล่าประสบการณ์ให้ลูกหลานฟัง
ยกตัวอย่างกระด้งฝัดข้าวที่ดูเผินๆนึกว่าเป็นกระด้งธรรมดา แต่ที่มาที่ไปของกระด้งที่ฟังจากคำบอกเล่าของ 2 คุณยายแล้วมันช่างเหลือร้ายจริงๆ เพราะมันเป็นกระด้งเก่า(อายุร่วม 60ปี)ที่คุณยายลัดดา(ผู้บริจาค)ได้เคยใช้เป็นกระด้งนี้วางลูก 3 คน จาก 4 คน แล้วนำไปส่งให้ญาติถือกระด้งกระทืบบนชานเรือนตรงหัวบันได พร้อมตะโกนว่า “ถ้าเป็นลูกผีให้เอาไปเสียแต่วันนี้ แต่ถ้าเป็นลูกคนให้อยู่กับข้าคอยเลี้ยงดู” ที่เป็นไปตามความเชื่อของคนแถบนี้ว่าถ้าลูกโตมาจะได้ไม่ถูกผีมาตามทวง หรือถูกผีทำให้เจ็บป่วย
หรืออย่างไม้ไผ่ธรรมดามีการผูกตรงหัวนิดหน่อย คุณยายสุพิศกับคุณยายจำปีก็อธิบายว่านี่คือไม้ที่ใช้สำหรับปั่นเอาใยของหยวกกล้วยหรือใยบอนออกจากเนื้อ เวลานำหยวกกล้วยหรือบอนมาแกง ซึ่งผมฟังแล้วรู้สึกหิวแกงไก่ใส่หยวกกล้วยขึ้นมาตะหงิดๆ
นอกจาก 2 ตัวอย่างที่ยกมาแล้วก็ยังมาข้าวของต่างๆอีกมากมายที่เหล่าวิทยากรกิตติมศักดิ์คือคุณลุง คุณป้า คุณย่า คุณยาย มาช่วยกันอธิบายด้วยใบหน้าเปื้อนรอยยิ้มแบบไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อย นับเป็นการสร้างสีสันให้กับพิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีชีวิตชีวามากยิ่งขึ้น ซึ่งถึงแม้ผู้อาวุโสเหล่านี้จะออกตัวว่าเป็นไกด์โบราณ แต่ถ้าไม่ได้คนรุ่นนี้ งานสืบสานศิลปวัฒนธรรมหลายๆอย่างอาจขาดช่วง หรือไม่ก็ถึงขั้นอาจสูญหายไปจากเมืองไทยเลยก็เป็นได้
*****************************************
วัดพระเกิด ตั้งอยู่ที่บ้านพระเกิด ตำบลในเวียง อ.เมือง จ.น่าน ห่างจากตัวเมืองน่านไปประมาณ 2 กม. ไปตามถนนสุมนเทวราช พอถึงทางแยกโรงเรียนสามัคคีวิทยาฯให้เลี้ยวซ้ายไปประมาณ 15 เมตร ก็จะถึงยังวัดพระเกิด
สำหรับพิพิธภัณฑ์ชุมชนบ้านพระเกิด เปิดทุกวันตั้งแต่เวลา 9.00-16.30 น. หากไปเป็นหมู่คณะควรติดต่อก่อนล่วงหน้าที่ 08-9434-4889,08-1882-3188,08-1024-1939
ใกล้ๆกับวัดพระเกิดมี“โฮงเจ้าฟองคำ” คุ้มเจ้าเมืองฝ่ายเหนือ หนึ่งในเรือนเก่าแก่สวยงามของเมืองน่านที่เปิดจัดแสดงเป็นพิพิธภัณฑ์ให้ผู้สนใจได้เข้าชมฟรี เป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจ ที่สามารถเดินไป-มา จากวัดพระเกิดได้