โดย : หนุ่มลูกทุ่ง
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า งานพุทธศิลป์ตามวัดวาอารามที่สวยงามที่เราเห็นกันอยู่นั้น หนึ่งในยุคสมัยที่ได้ชื่อว่ามีความวิจิตรสวยงาม มีเอกลักษณ์โดดเด่นเป็นเอกอุ ตกทอดจากอดีตมาจนถึงปัจจุบันนี้ คือ ยุคสมัยของสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ซึ่งถือกันว่าเป็นยุคที่รุ่งเรืองที่สุดในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเลยก็ว่าได้ เนื่องจากพระองค์ท่านทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก จึงได้สร้างและบูรณะวัดรวมถึงพระพุทธรูปไว้มากมาย
และนั่นก็เป็นที่มาของการออกลุยกรุง “ทัศนาอาราม งามวิจิตรศิลป์ แผ่นดินพระนั่งเกล้าฯ” ในครั้งนี้ ซึ่งฉันได้ร่วมเดินทางกับคุณจุลภัสสร พนมวัน ณ อยุธยา ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปวัฒนธรรม ที่มักจะพาฉันออกทัวร์ไปสัมผัสกับสีสันของกรุงเทพฯในมุมมองที่น่าสนใจอยู่เสมอ
สำหรับสถานที่แรกเปิดประเดิมของของพวกเราในทริปนี้ ก็คือ “เทวสถานโบสถ์พราหมณ์” ที่ตั้งอยู่ใกล้กับเสาชิงช้าและศาลาว่าการกทม. เป็นศาสนสถานในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู รัชกาลที่ 1 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2327
ต่อมาในรัชสมัยรัชกาลที่ 3 เทวสถานแห่งนี้ก็ได้ถูกใช้เป็นฉากสำคัญในวรรณกรรมอันเลื่องชื่อของสมัยนั้น เรื่อง “ระเด่นลันได” โดยพระมหามนตรี (ทรัพย์) แต่งเป็นบทละครเพื่อล้อเลียนบทละครเรื่องอิเหนา ในเรื่องกล่าวถึงแขกคนหนึ่งชื่อลันได ซัดเซพเนจรมาอาศัยอยู่ใกล้โบสถ์พราหมณ์ในกรุงเทพฯ มีอาชีพสีซอขอทานตามตลาดเสาชิงช้า หน้าโบสถ์พราหมณ์แห่งนี้ จนเป็นที่รู้จักกันทั่วไป แขกลันไดเข้าไปเกี่ยวข้องกับแขกอีกครอบครัวหนึ่ง สามีชื่อประดู่ ภรรยาชื่อนางประแดะ ซึ่งนางประแดะเป็นสาเหตุให้แขกประดู่กับแขกลันไดวิวาทกันบ่อยๆ เรื่องราวต่อจากนี้คงต้องไปหาอ่านกันเอาเอง แต่รับรองว่าสนุกสมคำร่ำลือเป็นแน่แท้
ส่วนภายในเทวสถานโบสถ์พราหมณ์มี อาคาร 3 หลังด้วยกัน เทวสถานหลังเอกเป็นที่ประดิษฐานประธาน ได้แก่ พระศิวะ และศิวลึงค์คู่ ส่วนเทวสถานหลังรอง 2 หลัง ประดิษฐานพระวิษณุ และพระคเณศ ซึ่งเทวสถานแห่งนี้เป็นที่นิยมในการมาสักการะบูชาขอพรกันด้วย
จากนั้นเราเดินเท้าต่อไปยัง “วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร” ซึ่งก็อยู่ถัดจากโบสถ์พราหมณ์มานิดเดียว
วัดสุทัศน์ถูกสถาปนาขึ้นใน พ.ศ.2340 โดยรัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯให้สร้างพระวิหารขึ้นก่อนเพื่อประดิษฐานพระศรีศากยมุนี (พระโต) ซึ่งอัญเชิญมาจากพระวิหารหลวงในวัดมหาธาตุ จ.สุโขทัย แต่ก็สิ้นรัชกาลเสียก่อนที่จะประดิษฐาน
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 2 โปรดเกล้าฯให้สร้างวัดต่อมา แต่ก็สิ้นรัชกาลเสียก่อนจะสร้างเสร็จเช่นกัน การก่อสร้างมาแล้วเสร็จบริบูรณ์เมื่อ พ.ศ.2390 ในรัชสมัยของรัชกาลที่ 3 และพระองค์พระราชทานนามวัดแห่งนี้ว่า “วัดสุทัศนเทพวราราม” ภายในพระอุโบสถขนาดใหญ่ ประดิษฐานพระพุทธตรีโลกเชษฐ์ที่หล่อในสมัยนั้น ที่เบื้องหน้าเป็นพระอสีติมหาสาวก 80 องค์นั่งฟังธรรมเทศนา
อีกทั้งพระองค์ยังได้โปรดเกล้าฯให้หล่อพระพุทธรูปจากกลักฝิ่น ที่พระองค์โปรดให้เผา หน้าพระที่นั่งสุทไธศวรรย์ บริเวณสนามไชย ในการกวาดล้างฝิ่นครั้งใหญ่ พร้อมทั้งทรงประกาศห้ามสูบฝิ่นอันเป็นคุณแก่ชาวสยามทั้งปวง ภายหลังรัชกาลที่ 4 ทรงผูกนามให้ว่า พระพุทธเสรฏฐมุนี ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ ณ ศาลาการเปรียญ
จากวัดสุทัศน์ฉันเดินย้อนไปทางศาลาว่าการกทม. แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าซอยเดินตรงไปทางศาลเจ้าพ่อเสือเพื่อไปยัง “วัดมหรรณพารามวรวิหาร” ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยกรมหมื่นอุดมรัตนราษีหรือพระองค์เจ้าอรรณพ พระราชโอรสในรัชกาลที่ 1
รัชกาลที่ 3 ทรงช่วยสมทบสร้างวัดและยังได้รับสั่งให้เจ้าเมืองเหนือเสาะหาพระพุทธรูปใหญ่มาประดิษฐานเป็นพระประธานพระอุโบสถ แต่อัญเชิญมาไม่ทันพิธีฉลองพระอุโบสถและผูกพัทธสีมา พระองค์จึงทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างพระวิหารซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมศิลปะผสมผสานแบบจีนขึ้นไม่มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ เพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปหลวงพ่อพระร่วงทองคำ
โดยพระร่วงทองคำเป็นพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย สังเกตได้จากผ้าที่ห่มจะเปิดให้เห็นพระเต้า นิ้วมือจะชิดติดกัน พระเกศาขมวดเป็นก้นหอยมีเปลว ปลายสังฆฏิทอดยาวลงมาแบบไม่ตรง ดูอ่อนช้อยมีมิติ ซึ่งถือได้ว่าพระร่วงทองคำองค์นี้มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดองค์หนึ่งในกรุงเทพฯเลยก็ว่าได้
ไหว้ขอพรองค์พระร่วงทองคำแล้วฉันเดินเท้าลัดเลาะผ่านศาลาว่าการกทม. ไปยัง “วัดเทพธิดารามวรวิหาร” พระอารามหลวงศิลปะแบบพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยมีพระอุโบสถ วิหาร และศาลาการเปรียญ ที่มีลักษณะหลังคาและหน้าบันเหมือนกันทั้งหมด คือ ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ และประดับด้วยกระเบื้องเคลือบลวดลายแบบจีน อีกทั้งยังมีตุ๊กตาหินศิลปะจีนตั้งประดับในบริเวณวัดอีกด้วย
วัดแห่งนี้พระองค์โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นให้กับกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ หรือสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าวิลาส พระราชธิดาองค์ใหญ่อันเป็นที่รักของพระองค์เอง ภายในพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธเทววิลาศ พระพุทธรูปศิลาขาวอันเป็นพระประธาน ประดิษฐานอยู่บนบุกษกคล้ายเรือ
ด้านข้างประดิษฐานพระพุทธรูปทรงเครื่องแบบโบราณที่สามารถถอดเครื่องทรงได้ และวัดแห่งนี้ยังเป็นที่จำพรรษาของสุนทรภู่ รัตนกวีแห่งแผ่นดินอีกด้วย
ส่วนวัดที่อยู่ติดกันก็คือ “วัดราชนัดดารามวรวิหาร” ก็เป็นวัดที่มีศิลปกรรมแบบประเพณีนิยมสมัยรัชกาลที่ 3 พระองค์ทรงสร้างวัดนี้ขึ้นเพื่อพระราชทานเป็นเกียรติแก่พระราชนัดดา พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าหญิงโสมนัสวัฒนาวดี
จุดเด่นของวัดแห่งนี้ก็คือ โลหะปราสาท ซึ่งสร้างเมื่อ พ.ศ.2389 เนื่องจากพระองค์รัชกาลที่ 3 ทรงมีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนามาก และทรงมีพระประสงค์จะแสดงพระองค้ป็นมหาอุบาสก จึงได้โปรดเกล้าฯให้สร้างโลหะปราสาทแห่งนี้ขึ้น
โดยโลหะปราสาทแห่งนี้เป็นปราสาทสูง 3 ชั้น หลังคามุงด้วยแผ่นทองแดง มียอดรวม 37 ยอด มีบันไดเวียนที่สามารถขึ้นไปสักการะพระบรมสารีริกธาตุ และชมวิวพระนครได้อย่างสวยงาม จากนั้นฉันเดินออกไปยังลานพลับพลามหาเจษฏาบดินทร์ เพื่อสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 3 ก่อนจะมุ่งหน้าไปยังสถานที่สุดท้ายในทริปนี้ คือ “วัดปรินายกวรวิหาร”
วัดปรินายก สร้างขึ้นด้วยแรงศรัทธาของเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเป็นพระหรหมสุรินทร์ พร้อมทำนุบำรุงวัดตลอดมา แต่เมื่อเจ้าพระยาบดินทร์เดชาสิ้นลง รัชกาลที่ 3 จึงทรงรับเป็นองค์อุปถมภ์ ยกให้เป้นพระอารามหลวงพร้อมพระราชทานนามว่าวัดปรินายก เพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงปรินายก (เสนาบดีคู่พระทัย) ของพระองค์
ภายในพระอุโบสถของวัดแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐาน พระมหาสุรภีพุทธพิมพ์ พระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยที่ได้ชื่อว่างามบริสุทธิ์ของฝีมือเชิงประติมากรรมของช่างสยาม
เมื่อไหว้พระเรียบร้อยแล้ว คุณจุลภัสสร วิทยากรของเราก็ได้พาออกไปไหว้รูปเคารพเจ้าพระยาบดินทร์เดชาส่งท้ายทริป ทัศนาอาราม ตามรอยงานศิลป์ ในแผ่นดิน รัชกาลที่ 3 ซึ่งใครสนใจ สามารถหาวันว่างออกท่องกรุงเทพฯชมมรดกแห่งงานพุทธศิลป์อันทรงคุณค่าเหล่านี้ได้ แล้วจะพบว่ากรุงเทพฯ เมืองฟ้าอมรที่พลุกพล่านวุ่นวายรถติดระยับนั้น อีกด้านหนึ่งยังมีสิ่งสวยงามๆมีสิ่งดีๆในค้นหาอยู่ไม่สร่างซา
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า งานพุทธศิลป์ตามวัดวาอารามที่สวยงามที่เราเห็นกันอยู่นั้น หนึ่งในยุคสมัยที่ได้ชื่อว่ามีความวิจิตรสวยงาม มีเอกลักษณ์โดดเด่นเป็นเอกอุ ตกทอดจากอดีตมาจนถึงปัจจุบันนี้ คือ ยุคสมัยของสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ซึ่งถือกันว่าเป็นยุคที่รุ่งเรืองที่สุดในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเลยก็ว่าได้ เนื่องจากพระองค์ท่านทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก จึงได้สร้างและบูรณะวัดรวมถึงพระพุทธรูปไว้มากมาย
และนั่นก็เป็นที่มาของการออกลุยกรุง “ทัศนาอาราม งามวิจิตรศิลป์ แผ่นดินพระนั่งเกล้าฯ” ในครั้งนี้ ซึ่งฉันได้ร่วมเดินทางกับคุณจุลภัสสร พนมวัน ณ อยุธยา ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปวัฒนธรรม ที่มักจะพาฉันออกทัวร์ไปสัมผัสกับสีสันของกรุงเทพฯในมุมมองที่น่าสนใจอยู่เสมอ
สำหรับสถานที่แรกเปิดประเดิมของของพวกเราในทริปนี้ ก็คือ “เทวสถานโบสถ์พราหมณ์” ที่ตั้งอยู่ใกล้กับเสาชิงช้าและศาลาว่าการกทม. เป็นศาสนสถานในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู รัชกาลที่ 1 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2327
ต่อมาในรัชสมัยรัชกาลที่ 3 เทวสถานแห่งนี้ก็ได้ถูกใช้เป็นฉากสำคัญในวรรณกรรมอันเลื่องชื่อของสมัยนั้น เรื่อง “ระเด่นลันได” โดยพระมหามนตรี (ทรัพย์) แต่งเป็นบทละครเพื่อล้อเลียนบทละครเรื่องอิเหนา ในเรื่องกล่าวถึงแขกคนหนึ่งชื่อลันได ซัดเซพเนจรมาอาศัยอยู่ใกล้โบสถ์พราหมณ์ในกรุงเทพฯ มีอาชีพสีซอขอทานตามตลาดเสาชิงช้า หน้าโบสถ์พราหมณ์แห่งนี้ จนเป็นที่รู้จักกันทั่วไป แขกลันไดเข้าไปเกี่ยวข้องกับแขกอีกครอบครัวหนึ่ง สามีชื่อประดู่ ภรรยาชื่อนางประแดะ ซึ่งนางประแดะเป็นสาเหตุให้แขกประดู่กับแขกลันไดวิวาทกันบ่อยๆ เรื่องราวต่อจากนี้คงต้องไปหาอ่านกันเอาเอง แต่รับรองว่าสนุกสมคำร่ำลือเป็นแน่แท้
ส่วนภายในเทวสถานโบสถ์พราหมณ์มี อาคาร 3 หลังด้วยกัน เทวสถานหลังเอกเป็นที่ประดิษฐานประธาน ได้แก่ พระศิวะ และศิวลึงค์คู่ ส่วนเทวสถานหลังรอง 2 หลัง ประดิษฐานพระวิษณุ และพระคเณศ ซึ่งเทวสถานแห่งนี้เป็นที่นิยมในการมาสักการะบูชาขอพรกันด้วย
จากนั้นเราเดินเท้าต่อไปยัง “วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร” ซึ่งก็อยู่ถัดจากโบสถ์พราหมณ์มานิดเดียว
วัดสุทัศน์ถูกสถาปนาขึ้นใน พ.ศ.2340 โดยรัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯให้สร้างพระวิหารขึ้นก่อนเพื่อประดิษฐานพระศรีศากยมุนี (พระโต) ซึ่งอัญเชิญมาจากพระวิหารหลวงในวัดมหาธาตุ จ.สุโขทัย แต่ก็สิ้นรัชกาลเสียก่อนที่จะประดิษฐาน
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 2 โปรดเกล้าฯให้สร้างวัดต่อมา แต่ก็สิ้นรัชกาลเสียก่อนจะสร้างเสร็จเช่นกัน การก่อสร้างมาแล้วเสร็จบริบูรณ์เมื่อ พ.ศ.2390 ในรัชสมัยของรัชกาลที่ 3 และพระองค์พระราชทานนามวัดแห่งนี้ว่า “วัดสุทัศนเทพวราราม” ภายในพระอุโบสถขนาดใหญ่ ประดิษฐานพระพุทธตรีโลกเชษฐ์ที่หล่อในสมัยนั้น ที่เบื้องหน้าเป็นพระอสีติมหาสาวก 80 องค์นั่งฟังธรรมเทศนา
อีกทั้งพระองค์ยังได้โปรดเกล้าฯให้หล่อพระพุทธรูปจากกลักฝิ่น ที่พระองค์โปรดให้เผา หน้าพระที่นั่งสุทไธศวรรย์ บริเวณสนามไชย ในการกวาดล้างฝิ่นครั้งใหญ่ พร้อมทั้งทรงประกาศห้ามสูบฝิ่นอันเป็นคุณแก่ชาวสยามทั้งปวง ภายหลังรัชกาลที่ 4 ทรงผูกนามให้ว่า พระพุทธเสรฏฐมุนี ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ ณ ศาลาการเปรียญ
จากวัดสุทัศน์ฉันเดินย้อนไปทางศาลาว่าการกทม. แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าซอยเดินตรงไปทางศาลเจ้าพ่อเสือเพื่อไปยัง “วัดมหรรณพารามวรวิหาร” ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยกรมหมื่นอุดมรัตนราษีหรือพระองค์เจ้าอรรณพ พระราชโอรสในรัชกาลที่ 1
รัชกาลที่ 3 ทรงช่วยสมทบสร้างวัดและยังได้รับสั่งให้เจ้าเมืองเหนือเสาะหาพระพุทธรูปใหญ่มาประดิษฐานเป็นพระประธานพระอุโบสถ แต่อัญเชิญมาไม่ทันพิธีฉลองพระอุโบสถและผูกพัทธสีมา พระองค์จึงทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างพระวิหารซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมศิลปะผสมผสานแบบจีนขึ้นไม่มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ เพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปหลวงพ่อพระร่วงทองคำ
โดยพระร่วงทองคำเป็นพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย สังเกตได้จากผ้าที่ห่มจะเปิดให้เห็นพระเต้า นิ้วมือจะชิดติดกัน พระเกศาขมวดเป็นก้นหอยมีเปลว ปลายสังฆฏิทอดยาวลงมาแบบไม่ตรง ดูอ่อนช้อยมีมิติ ซึ่งถือได้ว่าพระร่วงทองคำองค์นี้มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดองค์หนึ่งในกรุงเทพฯเลยก็ว่าได้
ไหว้ขอพรองค์พระร่วงทองคำแล้วฉันเดินเท้าลัดเลาะผ่านศาลาว่าการกทม. ไปยัง “วัดเทพธิดารามวรวิหาร” พระอารามหลวงศิลปะแบบพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยมีพระอุโบสถ วิหาร และศาลาการเปรียญ ที่มีลักษณะหลังคาและหน้าบันเหมือนกันทั้งหมด คือ ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ และประดับด้วยกระเบื้องเคลือบลวดลายแบบจีน อีกทั้งยังมีตุ๊กตาหินศิลปะจีนตั้งประดับในบริเวณวัดอีกด้วย
วัดแห่งนี้พระองค์โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นให้กับกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ หรือสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าวิลาส พระราชธิดาองค์ใหญ่อันเป็นที่รักของพระองค์เอง ภายในพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธเทววิลาศ พระพุทธรูปศิลาขาวอันเป็นพระประธาน ประดิษฐานอยู่บนบุกษกคล้ายเรือ
ด้านข้างประดิษฐานพระพุทธรูปทรงเครื่องแบบโบราณที่สามารถถอดเครื่องทรงได้ และวัดแห่งนี้ยังเป็นที่จำพรรษาของสุนทรภู่ รัตนกวีแห่งแผ่นดินอีกด้วย
ส่วนวัดที่อยู่ติดกันก็คือ “วัดราชนัดดารามวรวิหาร” ก็เป็นวัดที่มีศิลปกรรมแบบประเพณีนิยมสมัยรัชกาลที่ 3 พระองค์ทรงสร้างวัดนี้ขึ้นเพื่อพระราชทานเป็นเกียรติแก่พระราชนัดดา พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าหญิงโสมนัสวัฒนาวดี
จุดเด่นของวัดแห่งนี้ก็คือ โลหะปราสาท ซึ่งสร้างเมื่อ พ.ศ.2389 เนื่องจากพระองค์รัชกาลที่ 3 ทรงมีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนามาก และทรงมีพระประสงค์จะแสดงพระองค้ป็นมหาอุบาสก จึงได้โปรดเกล้าฯให้สร้างโลหะปราสาทแห่งนี้ขึ้น
โดยโลหะปราสาทแห่งนี้เป็นปราสาทสูง 3 ชั้น หลังคามุงด้วยแผ่นทองแดง มียอดรวม 37 ยอด มีบันไดเวียนที่สามารถขึ้นไปสักการะพระบรมสารีริกธาตุ และชมวิวพระนครได้อย่างสวยงาม จากนั้นฉันเดินออกไปยังลานพลับพลามหาเจษฏาบดินทร์ เพื่อสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 3 ก่อนจะมุ่งหน้าไปยังสถานที่สุดท้ายในทริปนี้ คือ “วัดปรินายกวรวิหาร”
วัดปรินายก สร้างขึ้นด้วยแรงศรัทธาของเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเป็นพระหรหมสุรินทร์ พร้อมทำนุบำรุงวัดตลอดมา แต่เมื่อเจ้าพระยาบดินทร์เดชาสิ้นลง รัชกาลที่ 3 จึงทรงรับเป็นองค์อุปถมภ์ ยกให้เป้นพระอารามหลวงพร้อมพระราชทานนามว่าวัดปรินายก เพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงปรินายก (เสนาบดีคู่พระทัย) ของพระองค์
ภายในพระอุโบสถของวัดแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐาน พระมหาสุรภีพุทธพิมพ์ พระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยที่ได้ชื่อว่างามบริสุทธิ์ของฝีมือเชิงประติมากรรมของช่างสยาม
เมื่อไหว้พระเรียบร้อยแล้ว คุณจุลภัสสร วิทยากรของเราก็ได้พาออกไปไหว้รูปเคารพเจ้าพระยาบดินทร์เดชาส่งท้ายทริป ทัศนาอาราม ตามรอยงานศิลป์ ในแผ่นดิน รัชกาลที่ 3 ซึ่งใครสนใจ สามารถหาวันว่างออกท่องกรุงเทพฯชมมรดกแห่งงานพุทธศิลป์อันทรงคุณค่าเหล่านี้ได้ แล้วจะพบว่ากรุงเทพฯ เมืองฟ้าอมรที่พลุกพล่านวุ่นวายรถติดระยับนั้น อีกด้านหนึ่งยังมีสิ่งสวยงามๆมีสิ่งดีๆในค้นหาอยู่ไม่สร่างซา