โดย : ปิ่น บุตรี
แม้“ไดโนเสาร์”จะสูญพันธุ์จากโลกนี้ไป 65 ล้านปีแล้วก็ตาม
แต่ไดโนเสาร์ยังคงเป็นสัตว์ที่มนุษย์เราทุกวันนี้รู้จักกับมันเป็นอย่างดี ปานประหนึ่งว่าเจ้าสัตว์โลกล้านปีที่เป็นเจ้าโลกเมื่อครั้งอดีตกาลยังคงอยู่คู่กับยุคสมัย ยังไม่ได้ล้มหายตายไปจากโลกของเรา ทำให้วันนี้เรื่องราวของไดโนเสาร์ยังคงมีการถ่ายทอดนำเสนอออกมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น หนังสือ ภาพยนตร์ การ์ตูน สารคดี
ในขณะที่เหล่านักโบราณคดีผู้เชี่ยวชาญด้านไดโนเสาร์ วันนี้พวกเขายังคงเดินหน้าขุดหาซากฟอสซิลของไดโนเสาร์ขึ้นมาศึกษาค้นคว้าอย่างไม่หยุดหย่อน เพื่อจะคลี่คลายปริศนามากมายที่ยังขบไม่แตกต่อเจ้าสัตว์ชนิดนี้
อีสาน ถิ่นไดโนเสาร์
เมืองไทยถือเป็นดินแดนแห่งไดโนเสาร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของเอเชีย โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เราไม่เป็นสองรองใครเลย
แน่นอนว่าแหล่งขุดค้น แหล่งค้นพบไดโนเสาร์ที่สำคัญของบ้านเราย่อมหนีไม่พ้นในภาคอีสาน ซึ่งเหตุที่พบไดโนเสาร์เป็นจำนวนมากในภูมิภาคนี้ สันนิษฐานว่า มาจากการที่สภาพแวดล้อมของภาคอีสานในสมัยโบราณ มีภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มน้ำขนาดใหญ่ จึงเป็นแหล่งอาศัยสำคัญของไดโนเสาร์นานาพันธุ์ เมื่อเจ้าสัตว์ดึกดำบรรพ์เหล่านั้นล้มตายครั้งใหญ่จนสูญพันธุ์จากเหตุการณ์ปริศนา(ซึ่งหลายคนเชื่อว่ามาจากอุกาบาตขนาดยักษ์พุ่งชนโลก) ซากของไดโนเสาร์ก็จะถูกตะกอนแม่น้ำกลบฝังไว้จนกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ในที่สุด
สำหรับการขุดค้นหาซากดึกดำบรรพ์ในประเทศไทย เริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 มีรายงานการขุดพบซากกระดูกไดโนเสาร์อย่างเป็นทางการชิ้นแรก ที่ อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น จากนั้นได้มีการขุดค้นซากฟอสซิลไดโนเสาร์ การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับไดโนเสาร์ในบ้านเราเรื่อยมา
จุดสำคัญเห็นจะเป็นการค้นพบ“ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน” ไดโนเสาร์สกุลใหม่และชนิดใหม่ของโลก ทำให้วงการไดโนเสาร์ในบ้านเราคึกคักขึ้นมามากโข
ปัจจุบันแวดวงการศึกษาไดโนเสาร์บ้านเราไม่ไปเพียงไปไกลในระดับโลกเท่านั้น หากแต่แหล่งค้นพบ แหล่งขุดค้น สถานที่ค้นพบซากฟอสซิลและร่องรอยไดโนเสาร์หลายๆแห่งในภาคอีสานยังถูกพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ที่น่าสนใจไม่น้อยเลย โดยเฉพาะที่ภูเวียง จ.ขอนแก่น กับ ที่ภูกุ้มข้าว จ.กาฬสินธุ์
ภูเวียง
การเป็นแหล่งค้นพบซากไดโนเสาร์ครั้งแรกของไทย กอปรกับการเป็นแหล่งขุดค้นไดโนเสาร์สำคัญ ทำให้ภูเวียงกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้เกี่ยวกับไดโนเสาร์ที่โดดเด่นมากแห่งหนึ่งในเมืองไทย
ภูเวียงมีจุดชมไดโนเสาร์หลักๆอยู่ 2 จุด คือ ที่พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง(อ.ภูเวียง) กับ ที่อุทยานแห่งชาติภูเวียง
พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง เป็นพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์แห่งแรกของเมืองไทย น่าสนใจด้วยการจะแสดงในส่วนไฮไลท์อันชวนตื่นตาตื่นใจในบรรยากาศยุคดึกดำบรรพ์ ซึ่งผมเรียกที่นี่ว่าเป็น “จูราสสิคปาร์คภูเวียง”
จูราสสิคปาร์คภูเวียง จัดแสดงเรื่องราวของไดโนเสาร์อันหลากหลาย เน้นไปที่ไดโนเสาร์สายพันธุ์ที่ขุดค้นพบเจอในภูเวียง นำโดยไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ของโลก 3 ชนิด ที่ขุดพบเจอที่นี่ ได้แก่
-“ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน” : ไดโนเสาร์กินพืช ตัวยาวประมาณ 15 เมตร สูงราว 3 เมตร มีหางยาวและคอยาวมาก ชนิดต้องแหงนคอตั้งบ่ามอง
- "สยามโมไทรันนัส อีสานเอนซิส" หรือ “ไทรันสยาม” : ไดโนเสาร์กินเนื้อ ตัวยาวประมาณ 7 เมตร หน้าตาดุดันดูหน้ากลัว ยิ่งเมื่อรู้กำพืดขอวมันยิ่งน่ากลัวเข้าไปอีก เพราะเจ้านี่ถือเป็นบรรพบุรุษของ ไทรันโนซอรัส เร็กซ์ หรือ ทีเร็กซ์ จอมโหดในเรื่อง “จูราสสิก ปาร์ค” หนังไดโนเสาร์อันโด่งดัง
-“สยามโมซอรัส สุธีธรริ” : ไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ชนิดแรกที่พบในเมืองไทย ตามข้อมูลระบุว่าหน้าตาของมันคล้ายจระเข้ แต่ผมดูแล้วมันคล้ายไอ้โขงมากกว่า
ส่วนอุทยานแห่งชาติภูเวียง เป็นไซต์งานแหล่งขุดค้นทางโบราณคดีจำนวนหลายหลุม มีหลุมขุดค้นที่ 3 บริเวณประตูตีหมาเป็นไฮไลท์ เพราะมีซากซอโรพอดให้ได้ชมกันอย่างใกล้ชิดเต็มตา
ภูกุ้มข้าว
ปี พ.ศ. 2513 พระครูวิจิตรสหัสคุณ เจ้าอาวาสวัดสักกะวัน ได้พบวัตถุประหลาด ซึ่งท่านคิดว่าเป็นไม้กลายเป็นหิน จึงไม่ได้ดำเนินการอะไรเพิ่มเติม กระทั่งเกือบ 10 ปีผ่านไป มีคณะนักธรณีวิทยาเดินทางมาสำรวจพื้นที่แถบนี้ ถึงได้รู้ว่า ไม้กลายเป็นหินอันที่จริงมันคือ“กระดูกไดโนเสาร์”นั่นเอง
นั่นถือเป็นปฐมบทการขุดค้นหาซากไดโนเสาร์อย่างเป็นทางการขึ้นที่ภูกุ้มข้าว(อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์) อันนำมาสู่ความตื่นตะลึงว่า บริเวณแห่งนี้เป็นแหล่งไดโนเสาร์กินพืชจำนวนมากที่สุดในเมืองไทยเท่าที่มีการค้นพบ คือมีมากกว่า 700 ชิ้น(ข้อมูลจาก ททท.)
เดิมซากไดโนเสาร์จะเก็บไว้ใกล้ๆกับหลมขุดค้นภายในวัดสักกะวัน แต่ด้วยความที่มันมีมากและจำเป็นต้องให้ผู้เชี่ยวชาญดูแลรักษา จึงมีการจัดสร้าง“พิพิธภัณฑ์สิรินธร”ขึ้นที่ภูกุ้มข้าว ใกล้ๆกับแหล่งขุดค้น เพื่อใช้เป็นสถานที่เก็บซากฟอสซิล สถานที่จัดแสดงด้านไดโนเสาร์ ศูนย์วิจัย รวมถึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ ที่ภายหลังการเปิดอย่างเต็มรูปแบบของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ในปี พ.ศ. 2550 ผู้คนต่างก็หลั่งไหลมาตามรอยไดโนเสาร์ที่กาฬสินธ์กันไม่ได้ขาด
พิพิธภัณฑ์สิรินธร เป็นพิพิธภัณฑ์สมัยใหม่บนเนื้อที่กว่า 100 ไร่ เป็นพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ที่ใหญ่ที่สุดและดีที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ภายในพิพิธภัณฑ์แบ่งเป็นโซนต่างๆ นำเสนอเรื่องราวตั้งแต่กำเนิดโลกและจักรวาล ปูพื้นมาสู่ความเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคต่างๆ ก่อนส่งต่อเข้าสู่โซน(ยุค)ไดโนเสาร์ครองโลก ที่จัดแสดงเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับไดโนเสาร์อย่างละเอียด ด้วยเทคนิคอันน่าตื่นตาตื่นใจ ทั้งแสง สี เสียง และหุ่นจำลองทั้งโครงกระดูก ซากฟอสซิล ป่าดึกดำบรรพ์ และหุ่นจำลองไดโนเสาร์เสมือนจริงที่ทำออกมาได้อย่างน่าทึ่ง
สำหรับไฮไลท์ของพิพิธภัณฑ์คงหนีไม่พ้นบริเวณโถงไดโนเสาร์ที่จัดทำอย่างอลังการงานสร้าง แสดงเรื่องราวของไดโนเสาร์ 8 สายพันธุ์ที่ค้นพบในเมืองไทยอย่างละเอียดและน่าชม ซึ่งผมขอไล่เลียงไปตามยุค ได้แก่
-ยุคไทรแอสสิก : "อีสานโนซอรัส อรรถวิภัชชิ" เป็นไดโนเสาร์กินพืชที่เก่าแก่ที่สุดในโลก
-ยุคจูแรสสิก : "สเตโกซอร์” ไดโนเสาร์กินพืช มีแผ่นกระดูกขนาดใหญ่เรียงเป็นแถวอยู่บนหลัง ดูต่างจากชนิดอื่นๆ และ "ฮิปซิโลโฟดอน"ไดโนเสาร์กินพืชขนาดเล็กของไทย
-ยุคครีเทเซียส : "ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน","สยามโมไทรันนัส อีสานเอนซิส","สยามโมซอรัส สุธีธรนี" ทั้ง 3 ชนิดนี้จัดเป็นดาวเด่นเหมือนกับที่ภูเวียงซึ่งผมได้ให้ข้อมูลคร่าวๆไปในข้างต้นแล้ว ส่วนสายพันธุ์ที่เหลือก็มี "กินรีมิมัส" ไดโนเสาร์นกกระจอกเทศ ขนาดราว 1-2 เมตร,"ซิตตะโกซอรัส สัตยารักษ์กิ" ไดโนเสาร์ปากนกแก้วชนิดแรกที่พบในไทย
นอกจากไดโนเสาร์ 8 สายพันธุ์แล้ว ที่นี่ยังนำเสนอ วิถีชีวิตของไดโนเสาร์ จำแนกประเภทไดโนเสาร์ให้เห็น นำเสนอเรื่องราวของเทอโรพอด-ไดโนเสาร์กินเนื้อ และซอโรพอด-ไดโนเสาร์กินพืช จัดแสดงฟอสซิลและหุ่นจำลอง(กระดูก)ไดโนเสาร์จำนวนมาก ทั้งพวกเดินดินและพวกบินได้ รวมถึงมีไดโนเสาร์ที่ผมดูแล้วแปลกตาไม่น้อยให้ชมกัน อาทิ ไดโนเสาร์นักวิ่ง ไดโนเสาร์หัวเกราะ ไดโนเสาร์ปากเป็ด ไดโนเสาร์ปากนกแก้ว ไดโนเสาร์ปากจะงอย และอีกเพียบ
สำหรับการชมไดโนเสาร์ที่นี่ถึงแม้จะเป็นหุ่นจำลอง ของที่ทำเลียนแบบขึ้นมา แต่เราต้องดูแต่ตามืออย่าต้อง อย่าไปแตะ สัมผัส ลูบคลำ เพื่อไม่ให้ของดีๆที่ทางพิพิธภัณฑ์ตั้งใจทำมาชำรุด เสียหาย เพราะนั่นถือเป็นการบ่อนทำลายการท่องเที่ยวไทยอีกทางหนึ่ง
แหล่งย่อย
นอกจากภูเวียงและภูกุ้มข้าว 2 แหล่งเที่ยวชมไดโนเสาร์ในระดับไฮไลท์แล้ว ในอีสานยังมีแหล่งชวนชมไดโนเสาร์ที่น่าสนใจ ได้แก่
-“พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน” จ.นครราชสีมา : ที่นี่นอกจากจะมีไม้กลายเป็นหินจำนวนมากแล้ว ยังจัดแสดงเรื่องราวของไดโนเสาร์ มีฟอสซิลให้ชมกันพอหอมปากหอคอ ที่สำคัญคือมีการจัดแสดงให้เห็นถึงไดโนเสาร์โคราชวงศ์ต่าง ๆ ได้แก่ เทอร์โรซอร์โคราช,เทอโรพอดโคราช,แฮดโดรซอร์โคราช ซึ่งใครอยากรู้ว่าไดโนเสาร์จากโคราชบ้านเองมีรูปร่างหน้าตาเป็นยังไงคงต้องหาโอกาสแวะเวียนไปดูกันที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้
-วนอุทยานภูแฝก อ.นาคู จ.กาฬสินธุ์ : มีรอยเท้าไดโนเสาร์ที่มองเห็นชัดเจนมาก 7 รอย จากร่องรอยที่สำรวจพบเจอประมาณ 20 รอย เป็นรอยเท้าของไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ ประทับอยู่บนลานหินยุคคลีเตเซียสตอนต้น อายุประมาณ 140 ล้านปี
-เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จ.เลย : อาณาจักรพืชพรรณไม้แห่งนี้มีของดีในระดับอันซีนไทยแลนด์ซุกซ่อนอยู่ นั่นก็คือ รอยเท้าไดโนเสาร์ร่วม 15 รอย ที่มีทั้งรอยที่เลือนรางและรอยที่ชัดเจนและสมบูรณ์มากที่สุดในเมืองไทย เป็นรอยเท้า 3 นิ้วมี(รอย)เล็บแหลมคล้ายรอยเท้านก เป็นร่องลึกบุ๋มลงไปในพื้นหินมองเห็นชัดเจน มีขนาดกว้าง 30 เซนติเมตร ยาว 35 เซนติเมตร ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านไดโนเสาร์จากเมืองนอกวิเคราะห์ว่า ไดโนเสาร์ตัวนี้น่าจะสูงประมาณ 1.8 เมตร และเดินเร็วประมาณ 8 กม.ต่อชั่วโมง หรือเร็วกว่าคนประมาณ 2 เท่า
-ต.พนอมแทน ท่าอุเทน ริมทางหลวงสายนครพนม-บ้านแพง จ.นครพนม : เดิมที่นี่เป็นบ่อเหมืองหินของเอกชน ต่อมามีการขุดค้นพบรอยเท้าไดโนเสาร์มากมายจนน่าตื่นตะลึง ว่ากันว่าเดิมพบมากกว่า 1,000 รอย แต่ถูกระเบิดทิ้งเสียหายไปจำนวนมาก จนปัจจุบันเหลืออยู่ 199 รอย รอยเท้าที่พบเป็น 3 นิ้วชัดเจน คล้ายรอยเท้าไก่ ปลายนิ้วมีรอยเล็ยแหลมคม เป็นลักษณะของไดโนเสาร์กินเนื้อ หากินกันเป็นฝูง สันนิษฐานว่าเป็นกลุ่มพวกไดโนเสาร์นกกระจอกเทศ
แหล่งใหม่
ความเป็นดินแดนไดโนเสาร์ของอีสานยังคงไม่หยุดอยู่เพียงเท่านี้ ในวันนี้ หากแต่ยังมีการค้นพบ การสำรวจพบหลักฐาน ร่องรอยใหม่ๆของไดโนเสาร์เพิ่มขึ้นอยู่เรื่อยๆ ดังกรณี 3 แหล่งค้นพบสำคัญแห่งใหม่ ได้แก่
-ภูกระดึง จ.เลย : สุดยอดภูแห่งภาคอีสาน แหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมตลอดกาล มีการค้นพบซากไดโนเสาร์แห่งใหม่ในปลายปี 2553 มากถึง 5 แหล่งด้วยกัน คือ ภูน้อย ภูผาเทิบ ภูขวาง ภูท่าสองคอน และที่ผากก การค้นพบครั้งนี้ถือเป็นเรื่องใหม่ที่น่าตื่นเต้นในวงการไดโนเสาร์ไม่น้อย เพราะมีการค้นพบชิ้นส่วนไดโนเสาร์กลุ่มโปรซอโรพอดเกือบครบทุกชิ้นจำนวน 30 ชิ้น ที่สมบูรณ์มากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีอายุราว 209 ล้านปี อีกทั้งยังมีการค้นพบรอยเท้าไดโนเสาร์ 4 นิ้วที่มีส่วนที่มีลักษณะเป็นเหมือนเดือยของไก่เพิ่มขึ้นมา และการค้นพบชิ้นส่วนกระดูกหัวไหล่ของไดโนเสาร์กินพืชที่ใหญ่ที่สุดในเมืองไทย
-บ้านโนนตูม ชัยภูมิ : ที่นี่เมื่อไม่นานมานี้มีการค้นพบรอยเท้าไดโนเสาร์กินพืชและรอยเท้าไดโนเสาร์กินสัตว์อยู่ด้วยกันเป็นแห่งแรก นอกจากนี้ยังมีการค้นพบรอยเท้าไดโนเสาร์พันธุ์ใหม่ที่ยังไม่มีการค้นพบที่ใดมาก่อนในโลก คาดว่าเป็นไดโนเสาร์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก มีอายุประมาณ 210 ล้านปี โดยรอยเท้านี้ได้มีการจำลองไปแสดงไว้ที่อาคารสิรินธร พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน ที่โคราชบ้านเอง
-ภูน้อย จ.กาฬสินธุ์ : เมืองฟ้าแดดสงยางยังเป็นขุดค้นพบซากไดโนเสาร์อย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อไม่นานมานี้มีรายงานการค้นพบซากฟอสซิลได้โนเสาร์แห่งใหม่ที่ภูน้อย เป็นจำนวนมากกว่า 400 ชิ้น มีมากกว่า 3 ตัวในหลุมเดียวกัน เป็นไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่ อายุราว 150 ล้านปี นับเป็นซากฟอสซิลที่ใหญ่และสมบูรณ์ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ถูกค้นพบในขณะนี้ ซึ่งถูกนำมาศึกษาต่อที่ห้องวิจัย ของพิพิธภัณฑ์สิรินธร ในจังหวัดเดียวกัน
อย่างไรก็ตามในแหล่งค้นพบซากไดโนเสาร์แห่งใหม่ทั้ง 3 แหล่งนั้น ปัจจุบันยังไม่เปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยว ส่วนในอนาคตจะเปิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวหรือไม่เป็นเรื่องที่ต้องติดตามกันต่อไป ส่วนเรื่องที่ไม่ต้องติดตามก็คือ
วันนี้เมืองไทยได้ชื่อว่าเป็นผู้นำอันดับหนึ่งด้านไดโนเสาร์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
อ้อ!?! นี่นับคิดเฉพาะไดโนเสาร์จริงๆ ไม่ได้คิดรวมพวกนักการเมืองพันธุ์ไดโนเสาร์เข้ามาด้วย เพราะถ้าคิดควบรวมพวกนั้นเข้ามา ตำแหน่งแชมป์ประเทศด้านไดโนเสาร์ของโลก คงไม่หนีไม่ไหนไกล
แม้“ไดโนเสาร์”จะสูญพันธุ์จากโลกนี้ไป 65 ล้านปีแล้วก็ตาม
แต่ไดโนเสาร์ยังคงเป็นสัตว์ที่มนุษย์เราทุกวันนี้รู้จักกับมันเป็นอย่างดี ปานประหนึ่งว่าเจ้าสัตว์โลกล้านปีที่เป็นเจ้าโลกเมื่อครั้งอดีตกาลยังคงอยู่คู่กับยุคสมัย ยังไม่ได้ล้มหายตายไปจากโลกของเรา ทำให้วันนี้เรื่องราวของไดโนเสาร์ยังคงมีการถ่ายทอดนำเสนอออกมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น หนังสือ ภาพยนตร์ การ์ตูน สารคดี
ในขณะที่เหล่านักโบราณคดีผู้เชี่ยวชาญด้านไดโนเสาร์ วันนี้พวกเขายังคงเดินหน้าขุดหาซากฟอสซิลของไดโนเสาร์ขึ้นมาศึกษาค้นคว้าอย่างไม่หยุดหย่อน เพื่อจะคลี่คลายปริศนามากมายที่ยังขบไม่แตกต่อเจ้าสัตว์ชนิดนี้
อีสาน ถิ่นไดโนเสาร์
เมืองไทยถือเป็นดินแดนแห่งไดโนเสาร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของเอเชีย โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เราไม่เป็นสองรองใครเลย
แน่นอนว่าแหล่งขุดค้น แหล่งค้นพบไดโนเสาร์ที่สำคัญของบ้านเราย่อมหนีไม่พ้นในภาคอีสาน ซึ่งเหตุที่พบไดโนเสาร์เป็นจำนวนมากในภูมิภาคนี้ สันนิษฐานว่า มาจากการที่สภาพแวดล้อมของภาคอีสานในสมัยโบราณ มีภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มน้ำขนาดใหญ่ จึงเป็นแหล่งอาศัยสำคัญของไดโนเสาร์นานาพันธุ์ เมื่อเจ้าสัตว์ดึกดำบรรพ์เหล่านั้นล้มตายครั้งใหญ่จนสูญพันธุ์จากเหตุการณ์ปริศนา(ซึ่งหลายคนเชื่อว่ามาจากอุกาบาตขนาดยักษ์พุ่งชนโลก) ซากของไดโนเสาร์ก็จะถูกตะกอนแม่น้ำกลบฝังไว้จนกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ในที่สุด
สำหรับการขุดค้นหาซากดึกดำบรรพ์ในประเทศไทย เริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 มีรายงานการขุดพบซากกระดูกไดโนเสาร์อย่างเป็นทางการชิ้นแรก ที่ อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น จากนั้นได้มีการขุดค้นซากฟอสซิลไดโนเสาร์ การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับไดโนเสาร์ในบ้านเราเรื่อยมา
จุดสำคัญเห็นจะเป็นการค้นพบ“ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน” ไดโนเสาร์สกุลใหม่และชนิดใหม่ของโลก ทำให้วงการไดโนเสาร์ในบ้านเราคึกคักขึ้นมามากโข
ปัจจุบันแวดวงการศึกษาไดโนเสาร์บ้านเราไม่ไปเพียงไปไกลในระดับโลกเท่านั้น หากแต่แหล่งค้นพบ แหล่งขุดค้น สถานที่ค้นพบซากฟอสซิลและร่องรอยไดโนเสาร์หลายๆแห่งในภาคอีสานยังถูกพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ที่น่าสนใจไม่น้อยเลย โดยเฉพาะที่ภูเวียง จ.ขอนแก่น กับ ที่ภูกุ้มข้าว จ.กาฬสินธุ์
ภูเวียง
การเป็นแหล่งค้นพบซากไดโนเสาร์ครั้งแรกของไทย กอปรกับการเป็นแหล่งขุดค้นไดโนเสาร์สำคัญ ทำให้ภูเวียงกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้เกี่ยวกับไดโนเสาร์ที่โดดเด่นมากแห่งหนึ่งในเมืองไทย
ภูเวียงมีจุดชมไดโนเสาร์หลักๆอยู่ 2 จุด คือ ที่พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง(อ.ภูเวียง) กับ ที่อุทยานแห่งชาติภูเวียง
พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง เป็นพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์แห่งแรกของเมืองไทย น่าสนใจด้วยการจะแสดงในส่วนไฮไลท์อันชวนตื่นตาตื่นใจในบรรยากาศยุคดึกดำบรรพ์ ซึ่งผมเรียกที่นี่ว่าเป็น “จูราสสิคปาร์คภูเวียง”
จูราสสิคปาร์คภูเวียง จัดแสดงเรื่องราวของไดโนเสาร์อันหลากหลาย เน้นไปที่ไดโนเสาร์สายพันธุ์ที่ขุดค้นพบเจอในภูเวียง นำโดยไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ของโลก 3 ชนิด ที่ขุดพบเจอที่นี่ ได้แก่
-“ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน” : ไดโนเสาร์กินพืช ตัวยาวประมาณ 15 เมตร สูงราว 3 เมตร มีหางยาวและคอยาวมาก ชนิดต้องแหงนคอตั้งบ่ามอง
- "สยามโมไทรันนัส อีสานเอนซิส" หรือ “ไทรันสยาม” : ไดโนเสาร์กินเนื้อ ตัวยาวประมาณ 7 เมตร หน้าตาดุดันดูหน้ากลัว ยิ่งเมื่อรู้กำพืดขอวมันยิ่งน่ากลัวเข้าไปอีก เพราะเจ้านี่ถือเป็นบรรพบุรุษของ ไทรันโนซอรัส เร็กซ์ หรือ ทีเร็กซ์ จอมโหดในเรื่อง “จูราสสิก ปาร์ค” หนังไดโนเสาร์อันโด่งดัง
-“สยามโมซอรัส สุธีธรริ” : ไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ชนิดแรกที่พบในเมืองไทย ตามข้อมูลระบุว่าหน้าตาของมันคล้ายจระเข้ แต่ผมดูแล้วมันคล้ายไอ้โขงมากกว่า
ส่วนอุทยานแห่งชาติภูเวียง เป็นไซต์งานแหล่งขุดค้นทางโบราณคดีจำนวนหลายหลุม มีหลุมขุดค้นที่ 3 บริเวณประตูตีหมาเป็นไฮไลท์ เพราะมีซากซอโรพอดให้ได้ชมกันอย่างใกล้ชิดเต็มตา
ภูกุ้มข้าว
ปี พ.ศ. 2513 พระครูวิจิตรสหัสคุณ เจ้าอาวาสวัดสักกะวัน ได้พบวัตถุประหลาด ซึ่งท่านคิดว่าเป็นไม้กลายเป็นหิน จึงไม่ได้ดำเนินการอะไรเพิ่มเติม กระทั่งเกือบ 10 ปีผ่านไป มีคณะนักธรณีวิทยาเดินทางมาสำรวจพื้นที่แถบนี้ ถึงได้รู้ว่า ไม้กลายเป็นหินอันที่จริงมันคือ“กระดูกไดโนเสาร์”นั่นเอง
นั่นถือเป็นปฐมบทการขุดค้นหาซากไดโนเสาร์อย่างเป็นทางการขึ้นที่ภูกุ้มข้าว(อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์) อันนำมาสู่ความตื่นตะลึงว่า บริเวณแห่งนี้เป็นแหล่งไดโนเสาร์กินพืชจำนวนมากที่สุดในเมืองไทยเท่าที่มีการค้นพบ คือมีมากกว่า 700 ชิ้น(ข้อมูลจาก ททท.)
เดิมซากไดโนเสาร์จะเก็บไว้ใกล้ๆกับหลมขุดค้นภายในวัดสักกะวัน แต่ด้วยความที่มันมีมากและจำเป็นต้องให้ผู้เชี่ยวชาญดูแลรักษา จึงมีการจัดสร้าง“พิพิธภัณฑ์สิรินธร”ขึ้นที่ภูกุ้มข้าว ใกล้ๆกับแหล่งขุดค้น เพื่อใช้เป็นสถานที่เก็บซากฟอสซิล สถานที่จัดแสดงด้านไดโนเสาร์ ศูนย์วิจัย รวมถึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ ที่ภายหลังการเปิดอย่างเต็มรูปแบบของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ในปี พ.ศ. 2550 ผู้คนต่างก็หลั่งไหลมาตามรอยไดโนเสาร์ที่กาฬสินธ์กันไม่ได้ขาด
พิพิธภัณฑ์สิรินธร เป็นพิพิธภัณฑ์สมัยใหม่บนเนื้อที่กว่า 100 ไร่ เป็นพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ที่ใหญ่ที่สุดและดีที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ภายในพิพิธภัณฑ์แบ่งเป็นโซนต่างๆ นำเสนอเรื่องราวตั้งแต่กำเนิดโลกและจักรวาล ปูพื้นมาสู่ความเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคต่างๆ ก่อนส่งต่อเข้าสู่โซน(ยุค)ไดโนเสาร์ครองโลก ที่จัดแสดงเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับไดโนเสาร์อย่างละเอียด ด้วยเทคนิคอันน่าตื่นตาตื่นใจ ทั้งแสง สี เสียง และหุ่นจำลองทั้งโครงกระดูก ซากฟอสซิล ป่าดึกดำบรรพ์ และหุ่นจำลองไดโนเสาร์เสมือนจริงที่ทำออกมาได้อย่างน่าทึ่ง
สำหรับไฮไลท์ของพิพิธภัณฑ์คงหนีไม่พ้นบริเวณโถงไดโนเสาร์ที่จัดทำอย่างอลังการงานสร้าง แสดงเรื่องราวของไดโนเสาร์ 8 สายพันธุ์ที่ค้นพบในเมืองไทยอย่างละเอียดและน่าชม ซึ่งผมขอไล่เลียงไปตามยุค ได้แก่
-ยุคไทรแอสสิก : "อีสานโนซอรัส อรรถวิภัชชิ" เป็นไดโนเสาร์กินพืชที่เก่าแก่ที่สุดในโลก
-ยุคจูแรสสิก : "สเตโกซอร์” ไดโนเสาร์กินพืช มีแผ่นกระดูกขนาดใหญ่เรียงเป็นแถวอยู่บนหลัง ดูต่างจากชนิดอื่นๆ และ "ฮิปซิโลโฟดอน"ไดโนเสาร์กินพืชขนาดเล็กของไทย
-ยุคครีเทเซียส : "ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน","สยามโมไทรันนัส อีสานเอนซิส","สยามโมซอรัส สุธีธรนี" ทั้ง 3 ชนิดนี้จัดเป็นดาวเด่นเหมือนกับที่ภูเวียงซึ่งผมได้ให้ข้อมูลคร่าวๆไปในข้างต้นแล้ว ส่วนสายพันธุ์ที่เหลือก็มี "กินรีมิมัส" ไดโนเสาร์นกกระจอกเทศ ขนาดราว 1-2 เมตร,"ซิตตะโกซอรัส สัตยารักษ์กิ" ไดโนเสาร์ปากนกแก้วชนิดแรกที่พบในไทย
นอกจากไดโนเสาร์ 8 สายพันธุ์แล้ว ที่นี่ยังนำเสนอ วิถีชีวิตของไดโนเสาร์ จำแนกประเภทไดโนเสาร์ให้เห็น นำเสนอเรื่องราวของเทอโรพอด-ไดโนเสาร์กินเนื้อ และซอโรพอด-ไดโนเสาร์กินพืช จัดแสดงฟอสซิลและหุ่นจำลอง(กระดูก)ไดโนเสาร์จำนวนมาก ทั้งพวกเดินดินและพวกบินได้ รวมถึงมีไดโนเสาร์ที่ผมดูแล้วแปลกตาไม่น้อยให้ชมกัน อาทิ ไดโนเสาร์นักวิ่ง ไดโนเสาร์หัวเกราะ ไดโนเสาร์ปากเป็ด ไดโนเสาร์ปากนกแก้ว ไดโนเสาร์ปากจะงอย และอีกเพียบ
สำหรับการชมไดโนเสาร์ที่นี่ถึงแม้จะเป็นหุ่นจำลอง ของที่ทำเลียนแบบขึ้นมา แต่เราต้องดูแต่ตามืออย่าต้อง อย่าไปแตะ สัมผัส ลูบคลำ เพื่อไม่ให้ของดีๆที่ทางพิพิธภัณฑ์ตั้งใจทำมาชำรุด เสียหาย เพราะนั่นถือเป็นการบ่อนทำลายการท่องเที่ยวไทยอีกทางหนึ่ง
แหล่งย่อย
นอกจากภูเวียงและภูกุ้มข้าว 2 แหล่งเที่ยวชมไดโนเสาร์ในระดับไฮไลท์แล้ว ในอีสานยังมีแหล่งชวนชมไดโนเสาร์ที่น่าสนใจ ได้แก่
-“พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน” จ.นครราชสีมา : ที่นี่นอกจากจะมีไม้กลายเป็นหินจำนวนมากแล้ว ยังจัดแสดงเรื่องราวของไดโนเสาร์ มีฟอสซิลให้ชมกันพอหอมปากหอคอ ที่สำคัญคือมีการจัดแสดงให้เห็นถึงไดโนเสาร์โคราชวงศ์ต่าง ๆ ได้แก่ เทอร์โรซอร์โคราช,เทอโรพอดโคราช,แฮดโดรซอร์โคราช ซึ่งใครอยากรู้ว่าไดโนเสาร์จากโคราชบ้านเองมีรูปร่างหน้าตาเป็นยังไงคงต้องหาโอกาสแวะเวียนไปดูกันที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้
-วนอุทยานภูแฝก อ.นาคู จ.กาฬสินธุ์ : มีรอยเท้าไดโนเสาร์ที่มองเห็นชัดเจนมาก 7 รอย จากร่องรอยที่สำรวจพบเจอประมาณ 20 รอย เป็นรอยเท้าของไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ ประทับอยู่บนลานหินยุคคลีเตเซียสตอนต้น อายุประมาณ 140 ล้านปี
-เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จ.เลย : อาณาจักรพืชพรรณไม้แห่งนี้มีของดีในระดับอันซีนไทยแลนด์ซุกซ่อนอยู่ นั่นก็คือ รอยเท้าไดโนเสาร์ร่วม 15 รอย ที่มีทั้งรอยที่เลือนรางและรอยที่ชัดเจนและสมบูรณ์มากที่สุดในเมืองไทย เป็นรอยเท้า 3 นิ้วมี(รอย)เล็บแหลมคล้ายรอยเท้านก เป็นร่องลึกบุ๋มลงไปในพื้นหินมองเห็นชัดเจน มีขนาดกว้าง 30 เซนติเมตร ยาว 35 เซนติเมตร ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านไดโนเสาร์จากเมืองนอกวิเคราะห์ว่า ไดโนเสาร์ตัวนี้น่าจะสูงประมาณ 1.8 เมตร และเดินเร็วประมาณ 8 กม.ต่อชั่วโมง หรือเร็วกว่าคนประมาณ 2 เท่า
-ต.พนอมแทน ท่าอุเทน ริมทางหลวงสายนครพนม-บ้านแพง จ.นครพนม : เดิมที่นี่เป็นบ่อเหมืองหินของเอกชน ต่อมามีการขุดค้นพบรอยเท้าไดโนเสาร์มากมายจนน่าตื่นตะลึง ว่ากันว่าเดิมพบมากกว่า 1,000 รอย แต่ถูกระเบิดทิ้งเสียหายไปจำนวนมาก จนปัจจุบันเหลืออยู่ 199 รอย รอยเท้าที่พบเป็น 3 นิ้วชัดเจน คล้ายรอยเท้าไก่ ปลายนิ้วมีรอยเล็ยแหลมคม เป็นลักษณะของไดโนเสาร์กินเนื้อ หากินกันเป็นฝูง สันนิษฐานว่าเป็นกลุ่มพวกไดโนเสาร์นกกระจอกเทศ
แหล่งใหม่
ความเป็นดินแดนไดโนเสาร์ของอีสานยังคงไม่หยุดอยู่เพียงเท่านี้ ในวันนี้ หากแต่ยังมีการค้นพบ การสำรวจพบหลักฐาน ร่องรอยใหม่ๆของไดโนเสาร์เพิ่มขึ้นอยู่เรื่อยๆ ดังกรณี 3 แหล่งค้นพบสำคัญแห่งใหม่ ได้แก่
-ภูกระดึง จ.เลย : สุดยอดภูแห่งภาคอีสาน แหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมตลอดกาล มีการค้นพบซากไดโนเสาร์แห่งใหม่ในปลายปี 2553 มากถึง 5 แหล่งด้วยกัน คือ ภูน้อย ภูผาเทิบ ภูขวาง ภูท่าสองคอน และที่ผากก การค้นพบครั้งนี้ถือเป็นเรื่องใหม่ที่น่าตื่นเต้นในวงการไดโนเสาร์ไม่น้อย เพราะมีการค้นพบชิ้นส่วนไดโนเสาร์กลุ่มโปรซอโรพอดเกือบครบทุกชิ้นจำนวน 30 ชิ้น ที่สมบูรณ์มากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีอายุราว 209 ล้านปี อีกทั้งยังมีการค้นพบรอยเท้าไดโนเสาร์ 4 นิ้วที่มีส่วนที่มีลักษณะเป็นเหมือนเดือยของไก่เพิ่มขึ้นมา และการค้นพบชิ้นส่วนกระดูกหัวไหล่ของไดโนเสาร์กินพืชที่ใหญ่ที่สุดในเมืองไทย
-บ้านโนนตูม ชัยภูมิ : ที่นี่เมื่อไม่นานมานี้มีการค้นพบรอยเท้าไดโนเสาร์กินพืชและรอยเท้าไดโนเสาร์กินสัตว์อยู่ด้วยกันเป็นแห่งแรก นอกจากนี้ยังมีการค้นพบรอยเท้าไดโนเสาร์พันธุ์ใหม่ที่ยังไม่มีการค้นพบที่ใดมาก่อนในโลก คาดว่าเป็นไดโนเสาร์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก มีอายุประมาณ 210 ล้านปี โดยรอยเท้านี้ได้มีการจำลองไปแสดงไว้ที่อาคารสิรินธร พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน ที่โคราชบ้านเอง
-ภูน้อย จ.กาฬสินธุ์ : เมืองฟ้าแดดสงยางยังเป็นขุดค้นพบซากไดโนเสาร์อย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อไม่นานมานี้มีรายงานการค้นพบซากฟอสซิลได้โนเสาร์แห่งใหม่ที่ภูน้อย เป็นจำนวนมากกว่า 400 ชิ้น มีมากกว่า 3 ตัวในหลุมเดียวกัน เป็นไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่ อายุราว 150 ล้านปี นับเป็นซากฟอสซิลที่ใหญ่และสมบูรณ์ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ถูกค้นพบในขณะนี้ ซึ่งถูกนำมาศึกษาต่อที่ห้องวิจัย ของพิพิธภัณฑ์สิรินธร ในจังหวัดเดียวกัน
อย่างไรก็ตามในแหล่งค้นพบซากไดโนเสาร์แห่งใหม่ทั้ง 3 แหล่งนั้น ปัจจุบันยังไม่เปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยว ส่วนในอนาคตจะเปิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวหรือไม่เป็นเรื่องที่ต้องติดตามกันต่อไป ส่วนเรื่องที่ไม่ต้องติดตามก็คือ
วันนี้เมืองไทยได้ชื่อว่าเป็นผู้นำอันดับหนึ่งด้านไดโนเสาร์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
อ้อ!?! นี่นับคิดเฉพาะไดโนเสาร์จริงๆ ไม่ได้คิดรวมพวกนักการเมืองพันธุ์ไดโนเสาร์เข้ามาด้วย เพราะถ้าคิดควบรวมพวกนั้นเข้ามา ตำแหน่งแชมป์ประเทศด้านไดโนเสาร์ของโลก คงไม่หนีไม่ไหนไกล