โดย : ปิ่น บุตรี
แม่ฮ่องสอน นอกจากจะเป็นเมืองสามหมอกแล้วยังเป็นเมือง“ไทยใหญ่”(ไต)อีกด้วย เพราะเมืองนี้มีชาวไทยใหญ่อาศัยอยู่มากที่สุดในเมืองไทย นั่นจึงทำให้เมืองแม่ฮ่องสอนอบอวลไปด้วยวิถีแห่งไทยใหญ่อันโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ ไม่ว่าจะเป็น วิถีชีวิต วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี อาหารการกิน รวมไปถึงงานศิลปกรรม สถาปัตยกรรม ที่ปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัดตามวัดวาอารามต่างๆ
ดังนั้นใครที่แอ่วเมืองสามหมอกจะพบว่าวัดวาอารามส่วนใหญ่น่ายลไปด้วยงานพุทธศิลป์แบบไทยใหญ่อันเป็นเอกลักษณ์ โดยเฉพาะตามวัดต่างๆในตัวเมืองมีงานศิลปกรรมแบบไทยใหญ่ให้ดูกันเพียบเลย ไม่ว่าจะเป็น วัดพระธาตุดอยกองมู บนดอยกองมูที่ประดิษฐานพระธาตุกองมูศูนย์รวมจิตใจของชาวแม่ฮ่องสอน วัดจองคำ-วัดจองกลาง 2 วัดคู่บริเวณหนองจองคำที่ต่างก็มีสิ่งชวนชมโดดเด่นไปคนละแบบ วัดหัวเวียง กับงานศิลปกรรมไทยใหญ่อันสุดวิจิตร
อย่างไรก็ตามใช่ว่างานพุทธศิลป์เด่นๆจะมีอยู่แค่ในตัวเมืองเท่านั้น เพราะตามนอกเมืองในบางอำเภอก็มีวัดสวยๆงามๆอันทรงคุณค่าให้เราได้ไปชื่นชมในงานศิลปสถาปัตยกรรมแบบไทยใหญ่กันพอสมควร อย่างกับที่ “วัดต่อแพ”นี่ก็เป็นอีกวัดหนึ่งที่มีความงามในระดับเป็นต่อวัดหลายๆวัดเลยทีเดียว
วัดต่อแพ ตั้งอยู่ที่ ต.แม่เงา อ.ขุนยวม(ห่างจากตลาดขุนยวมประมาณ 7 กม.) ผมได้ยินจากปากคำชาวแม่ฮ่องสอนมานานแล้วว่า วัดนี้สวยงามใช่ย่อย ครั้นเมื่อมีโอกาสได้ไปเห็นแบบจะจะเต็ม 2 ลูกกะตา คำว่า“สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น” ดูจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุด แต่ก่อนที่จะไปชมสิ่งสวยๆงามๆในวัดต่อแพ ผมขอพาไปรู้จักประวัติความเป็นมาคร่าวๆของหมู่บ้านต่อแพและวัดต่อแพกันสักหน่อย เพื่อให้เห็นภาพที่มาที่ไปของวัดแห่งนี้ในปัจจุบัน
เริ่มด้วยความเป็นมาของหมู่บ้านต่อแพ เดิมเป็นหมู่บ้านบริวารของหมู่บ้านขุนยวมตั้งอยู่ริมแม่น้ำยวม ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นไทยใหญ่และกะเหรี่ยง ไม่มีหลักฐานว่าอพยพมาจากไหน ต่อมามีคนอพยพมาอยู่มากขึ้น ชาวบ้านจึงขอแยกตัวมาตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่ชื่อว่า“บ้านต่อแพ”(ปี พ.ศ. 2461 ขึ้นทะเบียนหมู่บ้านตามระเบียบการปกครองของกระทรวงมหาดไทย) สำหรับที่มาของชื่อมาจากการที่หมู่บ้านแห่งนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการใช้ไม้ไผ่ต่อเป็นแพ เพื่อให้เป็นพาหนะบรรทุกสินค้าไปทำการติดต่อค้าขายในอำเภอแม่สะเรียง
จากหมู่บ้านมาดูความเป็นมาของวัดต่อแพกันบ้าง วัดแห่งนี้ เดิมเป็นพื้นที่วัดร้าง มีเจดีย์เก่าแก่ มีกองอิฐ ซากปรักหักพัง และป่ารกทึบ(มีเรื่องเล่าว่าสมัยก่อนวัดร้างที่นี่ผีดุมาก) กระทั่งในปี พ.ศ.2461 มีพระธุดงค์เดินทางมาจากพม่าแล้วมาตั้งเป็นสำนักสงฆ์ขึ้น หลังจากนั้นพ่อค้าที่เดินทางไปค้าขายยังแม่สะเรียงและพม่าด้วยการล่องแพไปจากที่นี่ ได้ร่วมมือกับชาวบ้านสร้างศาลาการเปรียญขึ้น พร้อมกับทำการบูรณะเจดีย์ที่พักพังด้วยการสร้างเจดีย์องค์ใหม่ครอบโดยได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระอรหันต์เข้าไปด้วย และยังได้สร้างวิหารขึ้นมาคู่กับองค์เจดีย์ด้วย
จากนั้นวัดต่อแพได้ทำการพัฒนาปรับปรุงเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งนอกจากจะเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวชุมชนแล้วยังเป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวน่าสนใจของอำเภอขุนยวมอีกด้วย
แรกที่ก้าวเข้าเขตวัดต่อแพ ความงามของเจดีย์กับวิหารเก่าขลังหลังคาซ้อนหลายชั้นกลางวัดก็พุ่งเข้าจับหมับในหัวใจทันที
สำหรับเจดีย์และวิหารที่ตั้งเคียงข้างกันเป็นศิลปะไทยใหญ่ผสมพม่า ฐานเจดีย์แปดเหลี่ยมด้านล่างเป็นสีขาว ช่วงบนเป็นสีทองอร่ามตา ตามทิศต่างๆของเจดีย์จะมีซุ้มพระประจำ และมีสิงห์ตั้งตระหง่านคุมอยู่ทั้ง 4 มุม ในขณะที่ส่วนยอดประดับด้วยฉัตรโลหะ 7 ชั้น บนฉัตรมีระฆังแขวนห้อยอยู่จำนวนมาก ยามต้องลมระฆังเหล่านี้จะให้ซุ่มเสียงกรุ๊งกริ้งดังกังวานไปทั่วบริเวณ สร้างพลังขรึมขลังในจิตใจได้ไม่น้อยเลย
จากองค์เจดีย์-วิหาร ผมเดินไปยืนอ่านป้ายเชิญชวนดูสิ่งน่าสนใจที่ทางวัดเขียนขึ้น มีทั้ง อนุสรณ์สถานทหารญี่ปุ่นที่บริเวณหน้าวัด ศาลาชมวิวที่ด้านข้างวัดใกล้ๆกับศาลาการเปรียญซึ่งในยามหน้าฝน หน้านา มองออกไปจะเห็นท้องทุ่งนาขั้นบันไดเล็กๆเขียวขจี มีหมู่บ้านและภูเขาเป็นฉากหลังงามเด่น ต้นศรีมหาโพธิ์จากอินเดีย เถาสะบ้าใหญ่เก่าแก่อายุเกือบ 100 ปี และศาลาการเปรียญหลังงามที่ภายในมีสิ่งน่าสนใจให้ชมมากมาย
ศาลาหลังนี้เป็นศิลปะไทยใหญ่ผสมพม่า เป็นศาลาชั้นเดียวใต้ถุนสูง หลังคาซ้อนหลายชั้น มีการประดับตกแต่งลวดลายฉลุตามจุดต่างๆแบบพองาม บริเวณใต้ถุนศาลาแขวนไว้ด้วยเถาลูกสะบ้าเขียนข้อความคติเตือนใจ ส่วนในอาคารศาลามีของดีชวนชมต่างๆ อาทิ ภาพถ่ายเก่าแกของวัด แล้วต่อด้วยการชื่นชมกับพระพุทธรูปศิลปะพม่า ไทยใหญ่ ที่มีทั้งพระประธาน พระพุทธรูปทรงเครื่อง พระบัวเข็ม และอีกมากมายหลายองค์
นอกจากนี้ยังมีธรรมาสน์สวยงามเก่าแก่ จองพารา ตั้งให้ชมอยู่ในบริเวณเดียวกัน ส่วนที่ปลีกตัวแยกกลุ่มออกมาเล็กน้อยก็คือ ผ้าม่านประดับทับทิมอันเก่าแก่สวยงาม ผ้าม่านผืนนี้ เป็นผ้ากำมะหยี่เย็บด้วยมือทั้งผืน กว้าง 1.65 เมตร ยาว 3.80 เมตร มีอายุกว่า 150 ปี ทำขึ้นในพม่าแล้วมีผู้ใจบุญนำมาถวายให้เจ้าอาวาสวัดต่อแพองค์แรก ในผืนผ้าประดับตกแต่งอย่างวิจิตรด้วยลูกปัด มุก และทับทิมแท้จำนวนมาก เป็นเรื่องราวพุทธประวัติ ตอนพระเวสสันดรชาดก เสด็จประพาสอุทยานฯ ผ้าผืนนี้ใช้เป็นผ้ากั้นในงานบุญมงคลต่างๆ นับเป็นอีกหนึ่งของดีของวัดต่อแพที่ไม่ควรพลาดการชื่นชมด้วยประการทั้งปวง
แต่ที่ผมเห็นว่าเด็ดดวงที่สุดก็เห็นจะเป็นการที่วัดนี้เขาชู“ส้วมพระ” หรือ“ถานพระ”หรือ“เว็จกุฎีพระ”เป็นหนึ่งในของดีนี่แหละ
บ๊ะ อย่างนี้เห็นทีจะพลาดไม่ได้ ยิ่งบังเอิญผมรู้สึกตะหงิดๆขึ้นมาพอดี มันจึงเป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นก 2 ตัวไปโดยปริยาย ว่าแล้วผมจึงเดินลุยถั่วไปยังถานพระอย่างไม่รีรอ
ถานพระแห่งนี้เป็นถานโบราณเป็นส่วนหนึ่งของศาลาการเปรียญ สร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2464 โน่น แต่ทางวัดเพิ่งบูรณะใหม่เมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว(2551) ความเก่าขรึมขลังหลายส่วนจึงหายไป แต่ว่าสิ่งที่ได้แทนมาก็คือ ความแข็งแรง คงทน และความสะอาดสะอ้าน ในขณะที่รูปทรงนั้นยังคงเดิมคือเป็นอาคารไม้มุงหลังคาแป้นเกร็ด หลังคาซ้อนกันหลายชั้นดูจากภายนอกเป็นส้วมที่สง่างามโดยเฉพาะส่วนหลังคาที่สมส่วนลงตัว ส่วนภายในส้วมนั้นก็ให้บรรยากาศชวนปลดทุกข์ไม่น้อย
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการปลดทุกข์ทางกาย สามารถทำให้ทุกข์หายได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น ผิดกับการปลดทุกข์ทางใจที่สามารถช่วยให้เราคลายทุกข์ได้อย่างจีรังยั่งยืน
แต่ทว่าโลกนี้จะมีใครสักกี่คนสามารถปลดทุกข์ทางใจได้อย่างถาวร?
แม่ฮ่องสอน นอกจากจะเป็นเมืองสามหมอกแล้วยังเป็นเมือง“ไทยใหญ่”(ไต)อีกด้วย เพราะเมืองนี้มีชาวไทยใหญ่อาศัยอยู่มากที่สุดในเมืองไทย นั่นจึงทำให้เมืองแม่ฮ่องสอนอบอวลไปด้วยวิถีแห่งไทยใหญ่อันโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ ไม่ว่าจะเป็น วิถีชีวิต วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี อาหารการกิน รวมไปถึงงานศิลปกรรม สถาปัตยกรรม ที่ปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัดตามวัดวาอารามต่างๆ
ดังนั้นใครที่แอ่วเมืองสามหมอกจะพบว่าวัดวาอารามส่วนใหญ่น่ายลไปด้วยงานพุทธศิลป์แบบไทยใหญ่อันเป็นเอกลักษณ์ โดยเฉพาะตามวัดต่างๆในตัวเมืองมีงานศิลปกรรมแบบไทยใหญ่ให้ดูกันเพียบเลย ไม่ว่าจะเป็น วัดพระธาตุดอยกองมู บนดอยกองมูที่ประดิษฐานพระธาตุกองมูศูนย์รวมจิตใจของชาวแม่ฮ่องสอน วัดจองคำ-วัดจองกลาง 2 วัดคู่บริเวณหนองจองคำที่ต่างก็มีสิ่งชวนชมโดดเด่นไปคนละแบบ วัดหัวเวียง กับงานศิลปกรรมไทยใหญ่อันสุดวิจิตร
อย่างไรก็ตามใช่ว่างานพุทธศิลป์เด่นๆจะมีอยู่แค่ในตัวเมืองเท่านั้น เพราะตามนอกเมืองในบางอำเภอก็มีวัดสวยๆงามๆอันทรงคุณค่าให้เราได้ไปชื่นชมในงานศิลปสถาปัตยกรรมแบบไทยใหญ่กันพอสมควร อย่างกับที่ “วัดต่อแพ”นี่ก็เป็นอีกวัดหนึ่งที่มีความงามในระดับเป็นต่อวัดหลายๆวัดเลยทีเดียว
วัดต่อแพ ตั้งอยู่ที่ ต.แม่เงา อ.ขุนยวม(ห่างจากตลาดขุนยวมประมาณ 7 กม.) ผมได้ยินจากปากคำชาวแม่ฮ่องสอนมานานแล้วว่า วัดนี้สวยงามใช่ย่อย ครั้นเมื่อมีโอกาสได้ไปเห็นแบบจะจะเต็ม 2 ลูกกะตา คำว่า“สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น” ดูจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุด แต่ก่อนที่จะไปชมสิ่งสวยๆงามๆในวัดต่อแพ ผมขอพาไปรู้จักประวัติความเป็นมาคร่าวๆของหมู่บ้านต่อแพและวัดต่อแพกันสักหน่อย เพื่อให้เห็นภาพที่มาที่ไปของวัดแห่งนี้ในปัจจุบัน
เริ่มด้วยความเป็นมาของหมู่บ้านต่อแพ เดิมเป็นหมู่บ้านบริวารของหมู่บ้านขุนยวมตั้งอยู่ริมแม่น้ำยวม ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นไทยใหญ่และกะเหรี่ยง ไม่มีหลักฐานว่าอพยพมาจากไหน ต่อมามีคนอพยพมาอยู่มากขึ้น ชาวบ้านจึงขอแยกตัวมาตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่ชื่อว่า“บ้านต่อแพ”(ปี พ.ศ. 2461 ขึ้นทะเบียนหมู่บ้านตามระเบียบการปกครองของกระทรวงมหาดไทย) สำหรับที่มาของชื่อมาจากการที่หมู่บ้านแห่งนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการใช้ไม้ไผ่ต่อเป็นแพ เพื่อให้เป็นพาหนะบรรทุกสินค้าไปทำการติดต่อค้าขายในอำเภอแม่สะเรียง
จากหมู่บ้านมาดูความเป็นมาของวัดต่อแพกันบ้าง วัดแห่งนี้ เดิมเป็นพื้นที่วัดร้าง มีเจดีย์เก่าแก่ มีกองอิฐ ซากปรักหักพัง และป่ารกทึบ(มีเรื่องเล่าว่าสมัยก่อนวัดร้างที่นี่ผีดุมาก) กระทั่งในปี พ.ศ.2461 มีพระธุดงค์เดินทางมาจากพม่าแล้วมาตั้งเป็นสำนักสงฆ์ขึ้น หลังจากนั้นพ่อค้าที่เดินทางไปค้าขายยังแม่สะเรียงและพม่าด้วยการล่องแพไปจากที่นี่ ได้ร่วมมือกับชาวบ้านสร้างศาลาการเปรียญขึ้น พร้อมกับทำการบูรณะเจดีย์ที่พักพังด้วยการสร้างเจดีย์องค์ใหม่ครอบโดยได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระอรหันต์เข้าไปด้วย และยังได้สร้างวิหารขึ้นมาคู่กับองค์เจดีย์ด้วย
จากนั้นวัดต่อแพได้ทำการพัฒนาปรับปรุงเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งนอกจากจะเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวชุมชนแล้วยังเป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวน่าสนใจของอำเภอขุนยวมอีกด้วย
แรกที่ก้าวเข้าเขตวัดต่อแพ ความงามของเจดีย์กับวิหารเก่าขลังหลังคาซ้อนหลายชั้นกลางวัดก็พุ่งเข้าจับหมับในหัวใจทันที
สำหรับเจดีย์และวิหารที่ตั้งเคียงข้างกันเป็นศิลปะไทยใหญ่ผสมพม่า ฐานเจดีย์แปดเหลี่ยมด้านล่างเป็นสีขาว ช่วงบนเป็นสีทองอร่ามตา ตามทิศต่างๆของเจดีย์จะมีซุ้มพระประจำ และมีสิงห์ตั้งตระหง่านคุมอยู่ทั้ง 4 มุม ในขณะที่ส่วนยอดประดับด้วยฉัตรโลหะ 7 ชั้น บนฉัตรมีระฆังแขวนห้อยอยู่จำนวนมาก ยามต้องลมระฆังเหล่านี้จะให้ซุ่มเสียงกรุ๊งกริ้งดังกังวานไปทั่วบริเวณ สร้างพลังขรึมขลังในจิตใจได้ไม่น้อยเลย
จากองค์เจดีย์-วิหาร ผมเดินไปยืนอ่านป้ายเชิญชวนดูสิ่งน่าสนใจที่ทางวัดเขียนขึ้น มีทั้ง อนุสรณ์สถานทหารญี่ปุ่นที่บริเวณหน้าวัด ศาลาชมวิวที่ด้านข้างวัดใกล้ๆกับศาลาการเปรียญซึ่งในยามหน้าฝน หน้านา มองออกไปจะเห็นท้องทุ่งนาขั้นบันไดเล็กๆเขียวขจี มีหมู่บ้านและภูเขาเป็นฉากหลังงามเด่น ต้นศรีมหาโพธิ์จากอินเดีย เถาสะบ้าใหญ่เก่าแก่อายุเกือบ 100 ปี และศาลาการเปรียญหลังงามที่ภายในมีสิ่งน่าสนใจให้ชมมากมาย
ศาลาหลังนี้เป็นศิลปะไทยใหญ่ผสมพม่า เป็นศาลาชั้นเดียวใต้ถุนสูง หลังคาซ้อนหลายชั้น มีการประดับตกแต่งลวดลายฉลุตามจุดต่างๆแบบพองาม บริเวณใต้ถุนศาลาแขวนไว้ด้วยเถาลูกสะบ้าเขียนข้อความคติเตือนใจ ส่วนในอาคารศาลามีของดีชวนชมต่างๆ อาทิ ภาพถ่ายเก่าแกของวัด แล้วต่อด้วยการชื่นชมกับพระพุทธรูปศิลปะพม่า ไทยใหญ่ ที่มีทั้งพระประธาน พระพุทธรูปทรงเครื่อง พระบัวเข็ม และอีกมากมายหลายองค์
นอกจากนี้ยังมีธรรมาสน์สวยงามเก่าแก่ จองพารา ตั้งให้ชมอยู่ในบริเวณเดียวกัน ส่วนที่ปลีกตัวแยกกลุ่มออกมาเล็กน้อยก็คือ ผ้าม่านประดับทับทิมอันเก่าแก่สวยงาม ผ้าม่านผืนนี้ เป็นผ้ากำมะหยี่เย็บด้วยมือทั้งผืน กว้าง 1.65 เมตร ยาว 3.80 เมตร มีอายุกว่า 150 ปี ทำขึ้นในพม่าแล้วมีผู้ใจบุญนำมาถวายให้เจ้าอาวาสวัดต่อแพองค์แรก ในผืนผ้าประดับตกแต่งอย่างวิจิตรด้วยลูกปัด มุก และทับทิมแท้จำนวนมาก เป็นเรื่องราวพุทธประวัติ ตอนพระเวสสันดรชาดก เสด็จประพาสอุทยานฯ ผ้าผืนนี้ใช้เป็นผ้ากั้นในงานบุญมงคลต่างๆ นับเป็นอีกหนึ่งของดีของวัดต่อแพที่ไม่ควรพลาดการชื่นชมด้วยประการทั้งปวง
แต่ที่ผมเห็นว่าเด็ดดวงที่สุดก็เห็นจะเป็นการที่วัดนี้เขาชู“ส้วมพระ” หรือ“ถานพระ”หรือ“เว็จกุฎีพระ”เป็นหนึ่งในของดีนี่แหละ
บ๊ะ อย่างนี้เห็นทีจะพลาดไม่ได้ ยิ่งบังเอิญผมรู้สึกตะหงิดๆขึ้นมาพอดี มันจึงเป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นก 2 ตัวไปโดยปริยาย ว่าแล้วผมจึงเดินลุยถั่วไปยังถานพระอย่างไม่รีรอ
ถานพระแห่งนี้เป็นถานโบราณเป็นส่วนหนึ่งของศาลาการเปรียญ สร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2464 โน่น แต่ทางวัดเพิ่งบูรณะใหม่เมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว(2551) ความเก่าขรึมขลังหลายส่วนจึงหายไป แต่ว่าสิ่งที่ได้แทนมาก็คือ ความแข็งแรง คงทน และความสะอาดสะอ้าน ในขณะที่รูปทรงนั้นยังคงเดิมคือเป็นอาคารไม้มุงหลังคาแป้นเกร็ด หลังคาซ้อนกันหลายชั้นดูจากภายนอกเป็นส้วมที่สง่างามโดยเฉพาะส่วนหลังคาที่สมส่วนลงตัว ส่วนภายในส้วมนั้นก็ให้บรรยากาศชวนปลดทุกข์ไม่น้อย
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการปลดทุกข์ทางกาย สามารถทำให้ทุกข์หายได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น ผิดกับการปลดทุกข์ทางใจที่สามารถช่วยให้เราคลายทุกข์ได้อย่างจีรังยั่งยืน
แต่ทว่าโลกนี้จะมีใครสักกี่คนสามารถปลดทุกข์ทางใจได้อย่างถาวร?