โดย : ปิ่น บุตรี
แรกที่ผมบอกใครต่อใครว่า “จะลงใต้ไปนราธิวาส”
ส่วนใหญ่ถามมาคล้ายคลึงกันว่า 1.ไม่กลัวหรือ? 2.ปลอดภัยหรือเปล่า? 3.ไปทำไม?
เรื่องนี้ผมไม่รู้จะตอบยังไง รู้แต่ว่าเคยไปนรามาเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ไม่เจออะไรน่ากลัว เจอแต่บ้านเมืองที่เงียบเหงา ชาวบ้านอยู่กันตามอัตภาพ ส่วนนักท่องเที่ยวหาแทบไม่เจอ
มาวันนี้แม้เหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ยังกรุ่นอยู่ แต่สถานการณ์ในนราธิวาสดูจะดีขึ้นตามลำดับ จนสายการบินวันทูโกเล็งเห็นในศักยภาพ ทำการเปิดเที่ยวบินกรุงเทพฯ-นราธิวาสขึ้นเมื่อเร็วๆนี้(ในราคาที่สมเหตุสมผล)
นั่นทำให้ผมสามารถย่นระยะทางจากเมืองกรุงไปยังสุดด้ามขวานทองของไทยได้เพียงแค่ชั่วโมงครึ่งเท่านั้น
1...
นราธิวาส แปลว่า“ที่อยู่ของคนดี”แต่นราธิวาสโชคไม่ดีเพราะมีคนไม่ดีกลุ่มหนึ่งทำไม่ดี คือก่อความไม่สงบ ทำให้นราในความรับรู้ของคนภายนอกดูค่อนข้างน่ากลัว
แต่นั่นเป็นมายาคติเพียงด้านเดียว ซึ่งเรามักคล้อยตามตามการนำเสนอของสื่อกระแสหลักที่นิยมขายข่าวแบบเน้นความรุนแรง จนกลบข่าวดีๆมุมดีๆในนรา(และยะลา ปัตตานี)ไปเสียสิ้น
อย่างไรก็ตามเมื่อความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย ความจริงด้านดีของนราย่อมไม่ตายเช่นกัน และผมก็โชคดีที่การไปนราหนล่าสุดมีโอกาสได้สัมผัสกับมุมดีๆของเมืองนี้อยู่ไม่น้อยเลย โดยเฉพาะการได้พบกับบังเลาะห์(อับดุลเลาะห์)อันเป็นที่รักใคร่ของชาวนราอย่างคาดไม่ถึง
สำหรับเรื่องเข็มขัดสั้น(คาดไม่ถึง)เรื่องนี้มันเกิดจากความเป็นคนมีหน้าตากลมกลืนกับพื้นที่ ผสมกับการเป็นคนเนียน(มั่วนิ่ม)โดยธรรมชาติ ทำให้บังเลาะห์เข้าใจผิดคิดว่าผมเป็นคนนรา จึงเดินเข้ามาทักทายระหว่างที่ผมยืนคุยกับเพื่อนอยู่หน้าล็อบบี้โรงแรม แต่พอคุยกันรู้ว่าผมมาจากกรุงเทพฯ บังเลาะห์กลับไม่ท่าทีผิดหวัง แต่กลับดูดีใจมากยิ่งขึ้นไปอีก
“นรามันไม่ได้น่ากลัวอย่างที่สื่อบางสำนักเสนอ เพราะถ้ามันรุนแรงน่ากลัวถึงขนาดนั้น(ขั้นมิคสัญญี)พวกผมกับชาวบ้านที่นี่อยู่กันไม่ได้หรอก”
แต่บังเลาะห์ก็ไม่วายเล่ากึ่งตัดพ้อว่า ตั้งแต่เกิดเหตุความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนขึ้น นราธิวาสเสียโอกาสไปเยอะ ทั้งภาคธุรกิจ ภาคการท่องเที่ยว
“ไม่มีใครเขาอยากมาเที่ยว อยากมาลงทุน แม้แต่ทีมฟุตบอล(ไทยลีก)จังหวัดอื่นเขายังไม่กล้ามาเตะ(ทีมเยือน)ที่นี่เลย”
2...
ชีวิตไม่สิ้นก็ดิ้นกันไป
บ้านเราแสนสุขใจ แม้จะไม่ปลอดภัย แต่ไม่ว่าที่ไหนไม่สุขใจเหมือนบ้านเรา
สำหรับผู้คนในนรา(และยะลา ปัตตานี) การอยู่ท่ามกลางสถานการณ์ความไม่สงบมากว่า 5 ปี ทำให้พวกเขาชาชิน และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ในหลายด้าน อย่างเช่น การกรีดยางที่เดิมเคยตื่นแต่มืดไปสวนยางเดี๋ยวนี้ส่วนใหญ่เปลี่ยนมากรีดยางกลางวัน แม้จะได้น้ำยางน้อยกว่าแต่มันปลอดภัยกว่า หรืออย่างการจอดมอเตอร์ไซค์ตามที่สาธารณะก็จะเปิดท้ายเบาะให้เห็นเพื่อใครหลายๆคนอุ่นใจ หรือการยินดีให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่รัฐที่ทำถูกต้องอย่างเต็มใจ(ส่วนพวกทำไม่ถูกต้องไม่มีใครเขาให้ความร่วมมืออยู่แล้ว)
ในขณะที่การดำเนินชีวิตประจำวัน เมื่อไม่สามารถหลีกเลี่ยงก็ต้องอยู่กับมันให้ได้ พวกเขาจึงดำเนินชีวิตไปตามปกติ ตามอัตภาพ ชนิดที่หลายคนแสดงออกชัดว่าปลงกับการแก้ปัญหาของภาครัฐ
แต่ถึงกระนั้นชาวนรายังยิ้มได้ เป็นยิ้มสู้ที่ทำให้ผมอุ่นใจไม่น้อย ยิ่งปัจจุบันสถานการณ์ในนราดีขึ้นตามลำดับ ยิ้มนราก็ยิ่งดูสุขใจมากขึ้น
และเพื่อเป็นการพิสูจน์ว่านราไม่น่ากลัวอย่างเป็นข่าว บังเลาะห์ถือโอกาสพาผมสำรวจตัวเมืองนราในช่วงค่ำของวันที่เจอกัน
“คนข้างนอกกลัวกันว่านราตอนกลางคืนชาวบ้านปิดเมืองเป็นเมืองร้าง แต่จริงๆคนที่นี่ใช้ชีวิต กิน เที่ยวกันเหมือนเมืองอื่น”
บังเลาะห์บอกขณะที่พาไปดูร้านอาหารกลางคืนแถวตลาด ชาวบ้านบางคนเมื่อเห็นคนหน้าแปลกแปลกหน้าอย่างผมเดินผ่านต่างก็ยิ้มทักทาย บางคนใจดีถึงขนาดชวนกินข้าว กินน้ำ กินขนม และกินโรตี
“มานราต้องกินโรตี”
บังเลาะห์พูดสั้นๆก่อนพาผมไปนั่งกินโรตีที่ร้านลูกสาวสวย แกสั่งโรตี ชา กาแฟ มาเพียบเต็มโต๊ะ พร้อมกับแนะนำให้ผมรู้จักกับคนโน้นคนนี้ที่นั่งอยู่ในร้านรวมถึงวิถีการทักทายแบบมุสลิม
ชาวบ้านที่นี่เกือบทั้งหมดเป็นมุสลิม พูดภาษามลายูท้องถิ่นเป็นหลัก แต่เวลาคุยกับคนต่างถิ่นอย่างผมเขาจะพูดภาษาไทยกลางชัดเจน(คนที่นี่ไม่พูดภาษาใต้)
หลังกินโรตีอิ่มแปล้ บังเลาะห์โบกมือห้ามผมควักเงินพร้อมบอกเน้นๆว่า “เงินกรุงเทพฯใช้ที่นราไม่ได้” นั่นไม่ได้หมายความว่าคนนราใช้เงินสกุลอื่นไม่ใช้เงินบาทหรอกนะ หากแต่เป็นการเปรียบเปรยว่า เมื่อมานราธิวาสคนนราต้องเป็นเจ้าภาพเลี้ยงดูปูเสื่ออาคันตุกะเพราะฉะนั้นเงินของคนต่างถิ่นหมดสิทธิ์จ่าย ผมจึงสบายแฮไปแบบอิ่มจังตังค์อยู่ครบ
จบจากโรตีมื้ออร่อยบังเลาะห์พานั่งรถชมเมือง ชมหอนาฬิกา อนุสาวรีย์นกกระดาษ แล้วพาไปชม(เธคท้องถิ่น)เพียงแห่งเดียวใต้โรงแรมแห่งหนึ่ง ด้านหน้าเห็นมอเตอร์ไซค์จอดกันเพียบ ที่นี่เปิดทั้งเพลงไทย เพลงมลายู เพลงวัยรุ่น เพลงลูกทุ่ง เพลงเก่า เรียกว่าเอาใจคนหลายวัยเลย
คืนนั้นบังเลาะห์พาตระเวนชมเมืองจนเกือบเที่ยงคืนก่อนล่ำลากลับบ้าน ในขณะที่ผมยังไม่กลับโรงแรม แต่มานั่งดริงก์กับเพื่อนต่อที่ร้านวัยรุ่นหน้าโรงแรม
เด็กที่ร้านคนหนึ่งถามผมว่า“คนกรุงเทพฯ(มาจากกรุงเทพฯ)มาเที่ยวยังนี้ไม่กลัวหรือ?” ผมย้อนถามน้องเขาไปว่า “แล้วน้องล่ะอยู่ทุกวันไม่กลัวหรือ?” เธอบอก “ว่าชินแล้วพี่” พร้อมทิ้งช่วงถอนหายใจก่อนพูดต่อว่า
“กลางคืนในตัวเมืองไม่น่ากลัว เพราะมีตำรวจ ทหารดูแลอยู่ ใครที่ออกมาทำพิรุธเขาสังเกตง่าย แต่กลางวันสิ มีคนเยอะแยะ ใครจะแปลกปลอมเข้ามาก่อเหตุร้ายก็ได้ แต่ว่าที่นี่ไม่มีอะไรหรอก ปลอดภัย ไม่เชื่อตอนเช้าพี่ลองไปเดินตลาดดูสิ จะเห็นชาวบ้านเขาใช้ชีวิตตามปกติ”
จริงดังเธอว่า เพราะตอนเช้าผมไปเดินตลาด เห็นบรรยากาศซื้อขายคึกคักเหมือนตลาดทั่วไป แต่ว่าก็มีทหารยืนคุมอยู่ตามจุดต่างๆ ส่วนมอเตอร์ไซต์ต้องเปิดเบาะให้ตรวจตรา เรียกว่าต้องช่วยกันทั้งชาวบ้านและเจ้าหน้าที่เพื่อความอุ่นใจของส่วนรวม
3...
ไหนๆมานราธิวาสทั้งที ช่วงสายของวันนั้น ผมจึงถืออาสาไปไหว้พระพุทธทักษิณมิ่งมงคลองค์โตสวยงามที่วัดเขากง ไปเที่ยวทะเลสวยและสงบที่อ่าวมะนาว ไปชมความงามของวัดชลธาราสิงเหที่ตากใบ ก่อนเดินทางกลับมาขึ้นเครื่องที่สนามบิน มันช่างบังเอิญอย่างร้ายกาจที่ผมได้เจอกลับบังเลาะห์อีกครั้ง
ครั้งนี้บังเลาะห์เลี้ยงกาแฟ พร้อมกำชับว่า อย่าลืมนรานะ มีโอกาสลงมาเที่ยวอีก
“มาคราวหน้าจะพาไปเที่ยวป่าพรุ(โต๊ะแดง) ป่าบารา-ฮาลา และพาไปนอนบ้านผม”
ผมรับปากบังเลาะห์ว่าจะหาโอกาสล่องใต้ลงไปนราอีกครั้งหรือหลายๆครั้ง พร้อมกับว่าหวังว่าขอให้เหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ยุติในเร็ววัน
4...
แรกที่ผมบอกใครต่อใครว่า “เพิ่งกลับมาจากนราธิวาส”
ส่วนใหญ่ถามมาคล้ายคลึงกันว่า 1.น่ากลัวหรือเปล่า? 2.ปลอดภัยหรือเปล่า?
ผมตอบสั้นๆว่า “ไม่” พร้อมกับนึกในใจดังๆว่า
...ไปบางจังหวัดถิ่นเสื้อแดงยังน่ากลัวกว่าอีก เพราะที่นั่นใครแค่มีความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่าง หากไม่ระวังอาจถูกคนบางกลุ่มที่แอบอ้างประชาธิปไตยแต่แท้จริงบูชาเงินของนช.แม้วคุกคามเอาได้ง่ายๆ ก็ขนาดนายกฯยังไปไม่ได้เลย...
แรกที่ผมบอกใครต่อใครว่า “จะลงใต้ไปนราธิวาส”
ส่วนใหญ่ถามมาคล้ายคลึงกันว่า 1.ไม่กลัวหรือ? 2.ปลอดภัยหรือเปล่า? 3.ไปทำไม?
เรื่องนี้ผมไม่รู้จะตอบยังไง รู้แต่ว่าเคยไปนรามาเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ไม่เจออะไรน่ากลัว เจอแต่บ้านเมืองที่เงียบเหงา ชาวบ้านอยู่กันตามอัตภาพ ส่วนนักท่องเที่ยวหาแทบไม่เจอ
มาวันนี้แม้เหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ยังกรุ่นอยู่ แต่สถานการณ์ในนราธิวาสดูจะดีขึ้นตามลำดับ จนสายการบินวันทูโกเล็งเห็นในศักยภาพ ทำการเปิดเที่ยวบินกรุงเทพฯ-นราธิวาสขึ้นเมื่อเร็วๆนี้(ในราคาที่สมเหตุสมผล)
นั่นทำให้ผมสามารถย่นระยะทางจากเมืองกรุงไปยังสุดด้ามขวานทองของไทยได้เพียงแค่ชั่วโมงครึ่งเท่านั้น
1...
นราธิวาส แปลว่า“ที่อยู่ของคนดี”แต่นราธิวาสโชคไม่ดีเพราะมีคนไม่ดีกลุ่มหนึ่งทำไม่ดี คือก่อความไม่สงบ ทำให้นราในความรับรู้ของคนภายนอกดูค่อนข้างน่ากลัว
แต่นั่นเป็นมายาคติเพียงด้านเดียว ซึ่งเรามักคล้อยตามตามการนำเสนอของสื่อกระแสหลักที่นิยมขายข่าวแบบเน้นความรุนแรง จนกลบข่าวดีๆมุมดีๆในนรา(และยะลา ปัตตานี)ไปเสียสิ้น
อย่างไรก็ตามเมื่อความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย ความจริงด้านดีของนราย่อมไม่ตายเช่นกัน และผมก็โชคดีที่การไปนราหนล่าสุดมีโอกาสได้สัมผัสกับมุมดีๆของเมืองนี้อยู่ไม่น้อยเลย โดยเฉพาะการได้พบกับบังเลาะห์(อับดุลเลาะห์)อันเป็นที่รักใคร่ของชาวนราอย่างคาดไม่ถึง
สำหรับเรื่องเข็มขัดสั้น(คาดไม่ถึง)เรื่องนี้มันเกิดจากความเป็นคนมีหน้าตากลมกลืนกับพื้นที่ ผสมกับการเป็นคนเนียน(มั่วนิ่ม)โดยธรรมชาติ ทำให้บังเลาะห์เข้าใจผิดคิดว่าผมเป็นคนนรา จึงเดินเข้ามาทักทายระหว่างที่ผมยืนคุยกับเพื่อนอยู่หน้าล็อบบี้โรงแรม แต่พอคุยกันรู้ว่าผมมาจากกรุงเทพฯ บังเลาะห์กลับไม่ท่าทีผิดหวัง แต่กลับดูดีใจมากยิ่งขึ้นไปอีก
“นรามันไม่ได้น่ากลัวอย่างที่สื่อบางสำนักเสนอ เพราะถ้ามันรุนแรงน่ากลัวถึงขนาดนั้น(ขั้นมิคสัญญี)พวกผมกับชาวบ้านที่นี่อยู่กันไม่ได้หรอก”
แต่บังเลาะห์ก็ไม่วายเล่ากึ่งตัดพ้อว่า ตั้งแต่เกิดเหตุความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนขึ้น นราธิวาสเสียโอกาสไปเยอะ ทั้งภาคธุรกิจ ภาคการท่องเที่ยว
“ไม่มีใครเขาอยากมาเที่ยว อยากมาลงทุน แม้แต่ทีมฟุตบอล(ไทยลีก)จังหวัดอื่นเขายังไม่กล้ามาเตะ(ทีมเยือน)ที่นี่เลย”
2...
ชีวิตไม่สิ้นก็ดิ้นกันไป
บ้านเราแสนสุขใจ แม้จะไม่ปลอดภัย แต่ไม่ว่าที่ไหนไม่สุขใจเหมือนบ้านเรา
สำหรับผู้คนในนรา(และยะลา ปัตตานี) การอยู่ท่ามกลางสถานการณ์ความไม่สงบมากว่า 5 ปี ทำให้พวกเขาชาชิน และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ในหลายด้าน อย่างเช่น การกรีดยางที่เดิมเคยตื่นแต่มืดไปสวนยางเดี๋ยวนี้ส่วนใหญ่เปลี่ยนมากรีดยางกลางวัน แม้จะได้น้ำยางน้อยกว่าแต่มันปลอดภัยกว่า หรืออย่างการจอดมอเตอร์ไซค์ตามที่สาธารณะก็จะเปิดท้ายเบาะให้เห็นเพื่อใครหลายๆคนอุ่นใจ หรือการยินดีให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่รัฐที่ทำถูกต้องอย่างเต็มใจ(ส่วนพวกทำไม่ถูกต้องไม่มีใครเขาให้ความร่วมมืออยู่แล้ว)
ในขณะที่การดำเนินชีวิตประจำวัน เมื่อไม่สามารถหลีกเลี่ยงก็ต้องอยู่กับมันให้ได้ พวกเขาจึงดำเนินชีวิตไปตามปกติ ตามอัตภาพ ชนิดที่หลายคนแสดงออกชัดว่าปลงกับการแก้ปัญหาของภาครัฐ
แต่ถึงกระนั้นชาวนรายังยิ้มได้ เป็นยิ้มสู้ที่ทำให้ผมอุ่นใจไม่น้อย ยิ่งปัจจุบันสถานการณ์ในนราดีขึ้นตามลำดับ ยิ้มนราก็ยิ่งดูสุขใจมากขึ้น
และเพื่อเป็นการพิสูจน์ว่านราไม่น่ากลัวอย่างเป็นข่าว บังเลาะห์ถือโอกาสพาผมสำรวจตัวเมืองนราในช่วงค่ำของวันที่เจอกัน
“คนข้างนอกกลัวกันว่านราตอนกลางคืนชาวบ้านปิดเมืองเป็นเมืองร้าง แต่จริงๆคนที่นี่ใช้ชีวิต กิน เที่ยวกันเหมือนเมืองอื่น”
บังเลาะห์บอกขณะที่พาไปดูร้านอาหารกลางคืนแถวตลาด ชาวบ้านบางคนเมื่อเห็นคนหน้าแปลกแปลกหน้าอย่างผมเดินผ่านต่างก็ยิ้มทักทาย บางคนใจดีถึงขนาดชวนกินข้าว กินน้ำ กินขนม และกินโรตี
“มานราต้องกินโรตี”
บังเลาะห์พูดสั้นๆก่อนพาผมไปนั่งกินโรตีที่ร้านลูกสาวสวย แกสั่งโรตี ชา กาแฟ มาเพียบเต็มโต๊ะ พร้อมกับแนะนำให้ผมรู้จักกับคนโน้นคนนี้ที่นั่งอยู่ในร้านรวมถึงวิถีการทักทายแบบมุสลิม
ชาวบ้านที่นี่เกือบทั้งหมดเป็นมุสลิม พูดภาษามลายูท้องถิ่นเป็นหลัก แต่เวลาคุยกับคนต่างถิ่นอย่างผมเขาจะพูดภาษาไทยกลางชัดเจน(คนที่นี่ไม่พูดภาษาใต้)
หลังกินโรตีอิ่มแปล้ บังเลาะห์โบกมือห้ามผมควักเงินพร้อมบอกเน้นๆว่า “เงินกรุงเทพฯใช้ที่นราไม่ได้” นั่นไม่ได้หมายความว่าคนนราใช้เงินสกุลอื่นไม่ใช้เงินบาทหรอกนะ หากแต่เป็นการเปรียบเปรยว่า เมื่อมานราธิวาสคนนราต้องเป็นเจ้าภาพเลี้ยงดูปูเสื่ออาคันตุกะเพราะฉะนั้นเงินของคนต่างถิ่นหมดสิทธิ์จ่าย ผมจึงสบายแฮไปแบบอิ่มจังตังค์อยู่ครบ
จบจากโรตีมื้ออร่อยบังเลาะห์พานั่งรถชมเมือง ชมหอนาฬิกา อนุสาวรีย์นกกระดาษ แล้วพาไปชม(เธคท้องถิ่น)เพียงแห่งเดียวใต้โรงแรมแห่งหนึ่ง ด้านหน้าเห็นมอเตอร์ไซค์จอดกันเพียบ ที่นี่เปิดทั้งเพลงไทย เพลงมลายู เพลงวัยรุ่น เพลงลูกทุ่ง เพลงเก่า เรียกว่าเอาใจคนหลายวัยเลย
คืนนั้นบังเลาะห์พาตระเวนชมเมืองจนเกือบเที่ยงคืนก่อนล่ำลากลับบ้าน ในขณะที่ผมยังไม่กลับโรงแรม แต่มานั่งดริงก์กับเพื่อนต่อที่ร้านวัยรุ่นหน้าโรงแรม
เด็กที่ร้านคนหนึ่งถามผมว่า“คนกรุงเทพฯ(มาจากกรุงเทพฯ)มาเที่ยวยังนี้ไม่กลัวหรือ?” ผมย้อนถามน้องเขาไปว่า “แล้วน้องล่ะอยู่ทุกวันไม่กลัวหรือ?” เธอบอก “ว่าชินแล้วพี่” พร้อมทิ้งช่วงถอนหายใจก่อนพูดต่อว่า
“กลางคืนในตัวเมืองไม่น่ากลัว เพราะมีตำรวจ ทหารดูแลอยู่ ใครที่ออกมาทำพิรุธเขาสังเกตง่าย แต่กลางวันสิ มีคนเยอะแยะ ใครจะแปลกปลอมเข้ามาก่อเหตุร้ายก็ได้ แต่ว่าที่นี่ไม่มีอะไรหรอก ปลอดภัย ไม่เชื่อตอนเช้าพี่ลองไปเดินตลาดดูสิ จะเห็นชาวบ้านเขาใช้ชีวิตตามปกติ”
จริงดังเธอว่า เพราะตอนเช้าผมไปเดินตลาด เห็นบรรยากาศซื้อขายคึกคักเหมือนตลาดทั่วไป แต่ว่าก็มีทหารยืนคุมอยู่ตามจุดต่างๆ ส่วนมอเตอร์ไซต์ต้องเปิดเบาะให้ตรวจตรา เรียกว่าต้องช่วยกันทั้งชาวบ้านและเจ้าหน้าที่เพื่อความอุ่นใจของส่วนรวม
3...
ไหนๆมานราธิวาสทั้งที ช่วงสายของวันนั้น ผมจึงถืออาสาไปไหว้พระพุทธทักษิณมิ่งมงคลองค์โตสวยงามที่วัดเขากง ไปเที่ยวทะเลสวยและสงบที่อ่าวมะนาว ไปชมความงามของวัดชลธาราสิงเหที่ตากใบ ก่อนเดินทางกลับมาขึ้นเครื่องที่สนามบิน มันช่างบังเอิญอย่างร้ายกาจที่ผมได้เจอกลับบังเลาะห์อีกครั้ง
ครั้งนี้บังเลาะห์เลี้ยงกาแฟ พร้อมกำชับว่า อย่าลืมนรานะ มีโอกาสลงมาเที่ยวอีก
“มาคราวหน้าจะพาไปเที่ยวป่าพรุ(โต๊ะแดง) ป่าบารา-ฮาลา และพาไปนอนบ้านผม”
ผมรับปากบังเลาะห์ว่าจะหาโอกาสล่องใต้ลงไปนราอีกครั้งหรือหลายๆครั้ง พร้อมกับว่าหวังว่าขอให้เหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ยุติในเร็ววัน
4...
แรกที่ผมบอกใครต่อใครว่า “เพิ่งกลับมาจากนราธิวาส”
ส่วนใหญ่ถามมาคล้ายคลึงกันว่า 1.น่ากลัวหรือเปล่า? 2.ปลอดภัยหรือเปล่า?
ผมตอบสั้นๆว่า “ไม่” พร้อมกับนึกในใจดังๆว่า
...ไปบางจังหวัดถิ่นเสื้อแดงยังน่ากลัวกว่าอีก เพราะที่นั่นใครแค่มีความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่าง หากไม่ระวังอาจถูกคนบางกลุ่มที่แอบอ้างประชาธิปไตยแต่แท้จริงบูชาเงินของนช.แม้วคุกคามเอาได้ง่ายๆ ก็ขนาดนายกฯยังไปไม่ได้เลย...