โดย : The Mouse
ทันทีที่รู้ว่าจะได้แวะเวียนไป “เบอร์ลิน” เมืองหลวงที่เต็มไปด้วยบาดแผลแห่งสงคราม สิ่งแรกที่ฉันนึกถึงคือ “กำแพง”
นั่นก็เพราะในช่วงนี้ กำลังมีวาระ “20 ปีแห่งการทลายกำแพง” โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อวันที่ 9 พ.ย.2009 ที่ผ่านมา เป็นวันครบรอบ 2 ทศวรรษของก้าวแรก ที่ชาวเยอรมันตะวันออกได้มีโอกาสข้ามสู่ตะวันตกอย่างเป็นทางการ
ด้วยฉันมีเวลาที่เบอร์ลินเพียงแค่ 2 วัน ดังนั้นทันทีที่เหยียบถึงเขตเบอร์ลินในช่วงบ่าย ก็หมายใจว่าจะตรงดิ่งมุ่งหน้าไปยังรอยต่อระหว่างอดีตฝั่งตะวันออก-ตะวันตก โดยที่พักเพียงคืนเดียว (และคนเดียว) ในเบอร์ลินนั้น ฉันเลือกจุดที่สะดวกที่สุด คือโฮสต์เทลหัวมุมถนนตรงข้ามสถานีรถไฟซูโอโลจิสเชอร์ การ์เท้น (Zoologischer Garten) หรือสถานีสวนสัตว์ (ที่มีเจ้าหมีคนุตเป็นดาวเด่น) ที่ประหนึ่งเป็นหัวลำโพงบวกรวมกับอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ รถไฟและรถเมล์แทบทุกสายจะต้องมาจอดผ่านที่นี่ รวมถึงแอร์พอร์ตบัสที่ตรงสู่สนามบิน
แต่ก่อนจะเริ่มการผจญภัยชมรอยแผลแห่งสงคราม ฉันก็แวะหาซื้อตั๋วเดินทางแบบเหมาจ่ายซะก่อน จะได้ขึ้นรถเมล์ลงรถไฟแบบกี่รอบก็ไม่รู้สึกเสียดาย เพราะแน่นอนว่าอาการ “หลงทาง” เป็นเรื่องชวน ”หลงใหล” ในการเดินทางครั้งแล้วครั้งเล่า
แม้ว่าจะศึกษาเส้นทางมาก่อน แต่พอเจอแผนที่โครงข่ายทางรถไฟที่มีหลากสีหลายเส้น (เมื่อเทียบกับบ้านเราที่มีรถไฟฟ้าแค่ 2 สายบวกกับใต้ดินอีกเพียงแค่ 1 สาย) ทำให้ฉันต้องเสียเวลาพักใหญ่ ตั้งสติเพ่งภาพใยแมงมุมที่ยุ่งเหยิงอยู่ตรงหน้า
วาร์เชาเออร์ สตาร์เซอร์ (Warschauer) คือชื่อสถานีและถนนที่ฉันต้องการไปสู่ “กำแพง” ที่หมายมั่นปั้นใจไว้
ที่จริงแล้วมีรถเมล์ตรงดิ่งไปลงที่ “กำแพง” เลย แต่ฉันก็เลือกที่จะยอมเหนื่อยสักนิดเดินจากสถานีนี้ เพื่อที่จะได้เดินชมบรรยากาศยามบ่ายของชานเมือง และสะพานโอเบอร์บาม (Oberbaumbrücke) สะพานสีแดง 2 ชั้น ซึ่งแรกเริ่มสร้างเมื่อ 300 ปีก่อนเป็นสะพานไม้ (ตามคำว่า Baum ที่หมายถึงต้นไม้) ที่ใช้เปิดปิดได้ประหนึ่งประตูเมือง เมื่อกาลเวลาผ่านไปสะพานไม้ก็ถูกซ่อมแซมให้เข้มแข็งด้วยก้อนอิฐสีแดง และได้เพิ่มหอคอยคู่แบบโกธิกเข้าไป
สะพานโอเบอร์บามแห่งนี้ ใช้ชั้นบนเพื่อเดินรถไฟใต้ดินในระยะแรกเพียงแค่ข้ามแม่น้ำสปรี แต่แล้วช่วงสงครามโลกสถานีต้นทางก็ถูกทำลาย จากนั้นเมื่อแบ่งแยกเบอร์ลิน สะพานก็ถูกใช้เป็นด่านผ่านทางเฉพาะชาวเบอร์ลินตะวันตกเท่านั้น และหลังจาก 5 ปีที่เยอรมนีได้รวมประเทศ ก็มีการซ่อมแซมสะพานอีกครั้ง โดยนำเหล็กเข้ามาเสริม แต่ยังคงหน้าตาเดิมไว้ จากนั้นไม่นานรถไฟใต้ดินก็มีโอกาสข้ามสะพานเชื่อมต่อกันทั้งเมืองได้อีกครั้ง
เดินลัดเลาะชมสะพานพอเหนื่อย ฉันก็มุ่งตรงสู่ “กำแพง” ที่ระลึกถึงหนักหนา จริงๆ แล้วแนวกำแพงแห่งการแบ่งแยกนี้ ยังคงมีร่องรอยเป็นก้อนอิฐคู่ฝังอยู่บนพื้นถนน ก่อเป็นแนวยาวต่อเนื่องไปทั่วเบอร์ลิน ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถสังเกตได้
แต่กำแพงที่ฉันกำลังจะไปชมนี่คือ อีสต์ไซด์แกลอรี (East Side Gallery) ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแถบแนวกำแพงเบอร์ลิน ที่จงใจเหลือแผ่นผนังไว้ โดยในส่วนริมแม่น้ำสปรีแห่งนี้ทิ้งไว้ 1.3 เมตร เพื่อจัดแสดงนิทรรศการบอกเล่าเรื่องราวและผลพวงแห่งสงคราม ด้วยผลงานของศิลปินนับร้อยจากหลายประเทศต่างทยอยเดินทางมาแต้มกำแพงแห่งนี้ หลังจากกำแพงเบอร์ลินล่มสลายลง
ภาพบนกำแพงที่โดนใจฉันก็เห็นจะเป็น “จูบมรณะ” (ซึ่งเป็นขั้นกว่าของลีลา “การกอด” เรื่องล่าสุดที่ออกฉายข้างบ้านเราเมื่อสัปดาห์ก่อน) ทว่าการจูบอันลือลั่นสนั่นกำแพงนี้ คัดลอกจากภาพถ่ายการจูบอันดูดดื่มของเลโอนิด เบรสเนฟ ผู้นำสหภาพโซเวียต กับ เอริช โฮเนคเกอร์ ผู้นำเยอรมันตะวันออกในสมัยนั้น ที่แสดงความรักใคร่ พร้อมๆ กับสาบานรักว่ากำแพงเบอร์ลินจะอยู่อีกนับร้อยปี...สร้างความสะอิดสะเอียนไปทั่ว (ไม่แพ้การกอดของชายคู่นั้น)
นอกจากนี้ ยังมีภาพอีกนับร้อยๆ ที่สื่อถึงความต้องการเสรีภาพ สันติภาพ และความหวังต่อโลกในอนาคต
อีสต์ไซด์แกลอรีแห่งนี้นับเป็นศิลปะบันทึกประวัติศาสตร์ที่มีสีสัน และถือว่าเป็นห้องจัดแสดงศิลปะกลางแจ้งที่ใหญ่ที่สุดในโลก แต่ก็ยังมีแนวกำแพงอีกแห่ง คือเมาเออร์พาร์ค (Mauerpark) ซึ่งอยู่ในสวนสาธารณะ เปิดให้ผู้คนมาแสดงฝีมือพ่นสี หรือกราฟิตีกันตามความสร้างสรรค์
แม้จะมีที่ให้มือสมัครเล่นละเลงสีแล้ว แต่ก็น่าเสียดายแผ่นกำแพงตรงอีสต์ไซด์แกลอรีถูกมือบอน (ที่น่าจะมาจากทั่วโลก) ช่วยกันละเลงลวดลาย ชนิดที่อิมเพรสชันนิสต์ตัวแม่ก็ดูไม่ออก เพราะนี่มันทำลายชัดๆ ซึ่งก็มีการบูรณะไปแล้วในปี 2000 พร้อมกับฝังป้ายไว้ตรงกำแพงเชิงขอร้องว่า “อย่าทำเลยนะท่าน” แต่หาห้ามได้ ในที่สุดช่วงก่อนการฉลอง 20 ปีแห่งการทลายกำแพง ก็ต้องวาดภาพเหล่านี้กันใหม่อีกครั้ง
หลังดื่มด่ำกับศิลปะบนกำแพงสมใจแล้ว ก็จำต้องเร่งทำเวลา ไปที่สถานีออสบาห์นฮอฟ (Ostbahnhof) มุ่งสู่สถานีอันฮาลเตอร์ (Anhalter) ที่อดีตฝั่งตะวันออก เพื่อจะเข้าสู่ โทโปกราฟี ออฟ เทอร์เรอร์ (Topography of Terror Exhibition) นับเป็นอีกงานแสดงที่ใหญ่รองจากอีสต์ไซด์แกลอรี โดยสถานที่แห่งนี้เคยเป็นสำนักงานใหญ่ของตำรวจลับเกสตาโป และหน่วยเอสเอส ผู้ร้ายตัวเอกแห่งสงครามโลกครั้งที่ 2 มีคุกใต้ดินเป็นที่คุมขังและทรมานนักโทษการเมือง
ดังนั้นช่วงเบอร์ลินโดนถล่มในโค้งสุดท้ายของสงคราม อาคารสถานที่รายรอบจึงเป็นเป้าหมายสำคัญ และพื้นที่บริเวณนี้ก็ได้กลายเป็นพรมแดนระหว่างอเมริกันกับโซเวียต จึงมีกำแพงก่อขึ้น เมื่อรวมชาติได้ พื้นที่เอกอุเช่นนี้จึงถูกอนุรักษ์ให้เป็นอนุสรณ์ โดยจัดแสดงภาพเหตุการณ์ต่างๆ ภายใต้การปกครองของนาซี
ฉันเดินถัดไปอีกนิดบนถนนฟรีดริช (Friedrichstrasse) เป็นที่ตั้งของด่านอันโด่งดัง “เช็คพอยต์ชาร์ลี” ที่ปรากฏเป็นฉากในหนังและนิยายอยู่หลายเรื่อง เพราะเป็นเพียงด่านเดียวที่กองกำลังสัมพันธมิตรและชาวต่างชาติสามารถผ่านสู่เบอร์ลินตะวันออกได้ ซึ่งบริเวณนี้มีแค่แผ่นไม้เปิดขึ้นลงให้รถผ่าน จึงมีผู้เสี่ยงวิ่งหนีข้ามแดน หรือขับรถฝ่าเข้ามา ซึ่งสามารถชมเรื่องราวของด่านแห่งนี้ได้ที่พิพิธภัณฑ์ด้านข้าง
ทีแรกฉันก็สงสัยว่าด่านนี้ “ชาร์ลี” เป็นเจ้าของหรือไง แต่จริงๆ แล้วเป็นการเรียกตามโค้ดของกองกำลังทหารสัมพันธมิตร ที่เรียกด่านทั้ง 3 ตามลำดับอักษร เอ – อัลฟา, บี – บราโว และซี-ชาร์ลี นี่เอง ขณะที่ฝ่ายรัสเซียเรียกด่านต่างๆ ตามชื่อถนน
ถ้ามีเวลามากกว่านี้ ฉันจะนั่งลงที่ร้านกาแฟแอดเลอร์ (Cafe Adler) ข้างๆ ด่าน มองไปทางฝั่งตะวันออก นึกถึงภาพประเทศที่ถูกแบ่งเป็น 4 ส่วน (สหรัฐฯ อังกฤษ ฝรั่งเศส และโซเวียต) และเมืองหลวงที่อยู่ในเขตโซเวียตถูกแบ่งเป็น 2 ฝั่ง แผนที่เบอร์ลินตะวันตกเสมือนไข่แดงแห่งโลกเสรีที่ถูกล้อมกรอบด้วยคอมมิวนิสต์
ปี 1961 เบอร์ลินตะวันตกและตะวันออกถูกแบ่งโดยนามธรรม การเดินทางเข้าออกทั้ง 2 ฝั่งทำได้อย่างเสรี แต่การปกครองต่างขั้วก็เปลี่ยนชีวิตชาวเมือง 2 ฝั่งได้อย่างชัดเจน ทำให้ผู้คนฝั่งตะวันออกข้ามมาอยู่ฝั่งตะวันตกนับล้าน จนโซเวียตต้องสร้างกำแพงจริงๆ ขึ้นในปี 1964 พัฒนาการของกำแพงมีถึง 4 รุ่น จากรั้วลวดหนามเป็นก้อนอิฐ และเป็นแผ่นคอนกรีตอย่างที่เห็นกันจนเสร็จสมบูรณ์ในปี 1975
ความยาว 1,378 กิโลเมตรของกำแพงเบอร์ลินเป็นสองรองจากกำแพงเมืองจีน นับเป็น “นวัตกรรมของชนชาติ” ที่สหภาพโซเวียตภูมิใจเสียเต็มประดา ทว่าวีรกรรมที่ชาวฝั่งตะวันออกใช้หนีข้ามกำแพง ถือเป็นความสร้างสรรค์ที่กล้าหาญยิ่งกว่า ไม่ว่าจะเป็น การใช้บอลลูน ใช้สลิงไต่ หรือ ขุดอุโมงค์
พูดถึงการหนี ได้เวลาที่ฉันต้องเร่งไปยังศูนย์เอกสารและความทรงจำ (Memorial and documentation center) บนถนนแบร์เนาเออร์ (Bernauer Strasse) แหล่งข้อมูลทั้งเอกสาร ภาพ ข่าว ตลอดช่วงเวลา 28 ปีที่กำแพงก่อตัวขึ้น พร้อมทั้งขึ้นไปบนหอกระจกสูงมองลงมาดู “เส้นทางแห่งความตาย” พื้นที่โล่งว่างระหว่างแนวกำแพงชั้นในกับชั้นนอก ที่มีทั้งลวดหนาม พรมตะปู และปืนกล คอยต้อนรับผู้ท้าทาย ประหนึ่งลานประหารก็ไม่ปาน
ใกล้ค่ำแล้ว ถึงเวลาไปซึมซับบรรยากาศที่ประตูบรานเดนบวร์ก สัญญลักษณ์แห่งสันติภาพ และต่อมาหมายถึงชัยชนะ ด่านประตูชัยแห่งนี้เคยเป็นฉากประวัติศาสตร์ที่ประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกนกล่าวสุนทรพจน์เรียกให้มิคาอิล กอบาชอฟ “พังกำแพง” ซึ่งอีก 2 ปีต่อมากำแพงที่ถูกพังลง แต่ไม่ขอยืนยันว่าเป็นผลงานการตะโกนของเรแกนในครั้งนั้น
บางตำราบอกว่าการทลายกำแพงเกิดขึ้นโดยบังเอิญ เพราะช่วงนั้นมีการชุมนุมเรียกร้องรวมชาติมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้วันที่ 9 พ.ย.1989 รมต.กระทรวงพรอพากันดาของเยอรมันตะวันออกต้องกล่าวสุนทรพจน์หน้าจอ โดยให้ความหวังว่าจะมีการเปิดให้ผ่านแดนได้อย่างอิสระ แต่พอถูกนักข่าวถามว่าเมื่อใด ท่าน รมต.เหลือบไปมองโพย เห็นวันที่พิมพ์เอกสารก็นึกว่าเป็นวันที่บังคับใช้ จึงประกาศออกไปว่า “ทันที”
ทันใดนั้นบริเวณบรานเดนบวร์กเกตก็คึกคักและคราคร่ำไปด้วยผู้คนจากฝั่งตะวันออกที่หลั่งไหลเข้ามา พร้อมๆ กับชาวตะวันตกที่คอยต้อนรับเพื่อนร่วมชาติ และประตูแห่งนี้ก็กลายเป็นสถานที่หลักสำหรับที่รำลึกวันล่มสลายของกำแพงในทุกๆ ปี
ฉันจบวันรำลึกถึงกำแพง ด้วยการซื้อเศษซากของมันมาเก็บไว้เป็นที่ระลึก แม้กำแพงเบอร์ลินล่มสลายแล้ว แต่ยังมีกำแพงอีกมากมาย ที่รอให้เราทลาย...(อ่านต่อตอนหน้า)
ทันทีที่รู้ว่าจะได้แวะเวียนไป “เบอร์ลิน” เมืองหลวงที่เต็มไปด้วยบาดแผลแห่งสงคราม สิ่งแรกที่ฉันนึกถึงคือ “กำแพง”
นั่นก็เพราะในช่วงนี้ กำลังมีวาระ “20 ปีแห่งการทลายกำแพง” โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อวันที่ 9 พ.ย.2009 ที่ผ่านมา เป็นวันครบรอบ 2 ทศวรรษของก้าวแรก ที่ชาวเยอรมันตะวันออกได้มีโอกาสข้ามสู่ตะวันตกอย่างเป็นทางการ
ด้วยฉันมีเวลาที่เบอร์ลินเพียงแค่ 2 วัน ดังนั้นทันทีที่เหยียบถึงเขตเบอร์ลินในช่วงบ่าย ก็หมายใจว่าจะตรงดิ่งมุ่งหน้าไปยังรอยต่อระหว่างอดีตฝั่งตะวันออก-ตะวันตก โดยที่พักเพียงคืนเดียว (และคนเดียว) ในเบอร์ลินนั้น ฉันเลือกจุดที่สะดวกที่สุด คือโฮสต์เทลหัวมุมถนนตรงข้ามสถานีรถไฟซูโอโลจิสเชอร์ การ์เท้น (Zoologischer Garten) หรือสถานีสวนสัตว์ (ที่มีเจ้าหมีคนุตเป็นดาวเด่น) ที่ประหนึ่งเป็นหัวลำโพงบวกรวมกับอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ รถไฟและรถเมล์แทบทุกสายจะต้องมาจอดผ่านที่นี่ รวมถึงแอร์พอร์ตบัสที่ตรงสู่สนามบิน
แต่ก่อนจะเริ่มการผจญภัยชมรอยแผลแห่งสงคราม ฉันก็แวะหาซื้อตั๋วเดินทางแบบเหมาจ่ายซะก่อน จะได้ขึ้นรถเมล์ลงรถไฟแบบกี่รอบก็ไม่รู้สึกเสียดาย เพราะแน่นอนว่าอาการ “หลงทาง” เป็นเรื่องชวน ”หลงใหล” ในการเดินทางครั้งแล้วครั้งเล่า
แม้ว่าจะศึกษาเส้นทางมาก่อน แต่พอเจอแผนที่โครงข่ายทางรถไฟที่มีหลากสีหลายเส้น (เมื่อเทียบกับบ้านเราที่มีรถไฟฟ้าแค่ 2 สายบวกกับใต้ดินอีกเพียงแค่ 1 สาย) ทำให้ฉันต้องเสียเวลาพักใหญ่ ตั้งสติเพ่งภาพใยแมงมุมที่ยุ่งเหยิงอยู่ตรงหน้า
วาร์เชาเออร์ สตาร์เซอร์ (Warschauer) คือชื่อสถานีและถนนที่ฉันต้องการไปสู่ “กำแพง” ที่หมายมั่นปั้นใจไว้
ที่จริงแล้วมีรถเมล์ตรงดิ่งไปลงที่ “กำแพง” เลย แต่ฉันก็เลือกที่จะยอมเหนื่อยสักนิดเดินจากสถานีนี้ เพื่อที่จะได้เดินชมบรรยากาศยามบ่ายของชานเมือง และสะพานโอเบอร์บาม (Oberbaumbrücke) สะพานสีแดง 2 ชั้น ซึ่งแรกเริ่มสร้างเมื่อ 300 ปีก่อนเป็นสะพานไม้ (ตามคำว่า Baum ที่หมายถึงต้นไม้) ที่ใช้เปิดปิดได้ประหนึ่งประตูเมือง เมื่อกาลเวลาผ่านไปสะพานไม้ก็ถูกซ่อมแซมให้เข้มแข็งด้วยก้อนอิฐสีแดง และได้เพิ่มหอคอยคู่แบบโกธิกเข้าไป
สะพานโอเบอร์บามแห่งนี้ ใช้ชั้นบนเพื่อเดินรถไฟใต้ดินในระยะแรกเพียงแค่ข้ามแม่น้ำสปรี แต่แล้วช่วงสงครามโลกสถานีต้นทางก็ถูกทำลาย จากนั้นเมื่อแบ่งแยกเบอร์ลิน สะพานก็ถูกใช้เป็นด่านผ่านทางเฉพาะชาวเบอร์ลินตะวันตกเท่านั้น และหลังจาก 5 ปีที่เยอรมนีได้รวมประเทศ ก็มีการซ่อมแซมสะพานอีกครั้ง โดยนำเหล็กเข้ามาเสริม แต่ยังคงหน้าตาเดิมไว้ จากนั้นไม่นานรถไฟใต้ดินก็มีโอกาสข้ามสะพานเชื่อมต่อกันทั้งเมืองได้อีกครั้ง
เดินลัดเลาะชมสะพานพอเหนื่อย ฉันก็มุ่งตรงสู่ “กำแพง” ที่ระลึกถึงหนักหนา จริงๆ แล้วแนวกำแพงแห่งการแบ่งแยกนี้ ยังคงมีร่องรอยเป็นก้อนอิฐคู่ฝังอยู่บนพื้นถนน ก่อเป็นแนวยาวต่อเนื่องไปทั่วเบอร์ลิน ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถสังเกตได้
แต่กำแพงที่ฉันกำลังจะไปชมนี่คือ อีสต์ไซด์แกลอรี (East Side Gallery) ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแถบแนวกำแพงเบอร์ลิน ที่จงใจเหลือแผ่นผนังไว้ โดยในส่วนริมแม่น้ำสปรีแห่งนี้ทิ้งไว้ 1.3 เมตร เพื่อจัดแสดงนิทรรศการบอกเล่าเรื่องราวและผลพวงแห่งสงคราม ด้วยผลงานของศิลปินนับร้อยจากหลายประเทศต่างทยอยเดินทางมาแต้มกำแพงแห่งนี้ หลังจากกำแพงเบอร์ลินล่มสลายลง
ภาพบนกำแพงที่โดนใจฉันก็เห็นจะเป็น “จูบมรณะ” (ซึ่งเป็นขั้นกว่าของลีลา “การกอด” เรื่องล่าสุดที่ออกฉายข้างบ้านเราเมื่อสัปดาห์ก่อน) ทว่าการจูบอันลือลั่นสนั่นกำแพงนี้ คัดลอกจากภาพถ่ายการจูบอันดูดดื่มของเลโอนิด เบรสเนฟ ผู้นำสหภาพโซเวียต กับ เอริช โฮเนคเกอร์ ผู้นำเยอรมันตะวันออกในสมัยนั้น ที่แสดงความรักใคร่ พร้อมๆ กับสาบานรักว่ากำแพงเบอร์ลินจะอยู่อีกนับร้อยปี...สร้างความสะอิดสะเอียนไปทั่ว (ไม่แพ้การกอดของชายคู่นั้น)
นอกจากนี้ ยังมีภาพอีกนับร้อยๆ ที่สื่อถึงความต้องการเสรีภาพ สันติภาพ และความหวังต่อโลกในอนาคต
อีสต์ไซด์แกลอรีแห่งนี้นับเป็นศิลปะบันทึกประวัติศาสตร์ที่มีสีสัน และถือว่าเป็นห้องจัดแสดงศิลปะกลางแจ้งที่ใหญ่ที่สุดในโลก แต่ก็ยังมีแนวกำแพงอีกแห่ง คือเมาเออร์พาร์ค (Mauerpark) ซึ่งอยู่ในสวนสาธารณะ เปิดให้ผู้คนมาแสดงฝีมือพ่นสี หรือกราฟิตีกันตามความสร้างสรรค์
แม้จะมีที่ให้มือสมัครเล่นละเลงสีแล้ว แต่ก็น่าเสียดายแผ่นกำแพงตรงอีสต์ไซด์แกลอรีถูกมือบอน (ที่น่าจะมาจากทั่วโลก) ช่วยกันละเลงลวดลาย ชนิดที่อิมเพรสชันนิสต์ตัวแม่ก็ดูไม่ออก เพราะนี่มันทำลายชัดๆ ซึ่งก็มีการบูรณะไปแล้วในปี 2000 พร้อมกับฝังป้ายไว้ตรงกำแพงเชิงขอร้องว่า “อย่าทำเลยนะท่าน” แต่หาห้ามได้ ในที่สุดช่วงก่อนการฉลอง 20 ปีแห่งการทลายกำแพง ก็ต้องวาดภาพเหล่านี้กันใหม่อีกครั้ง
หลังดื่มด่ำกับศิลปะบนกำแพงสมใจแล้ว ก็จำต้องเร่งทำเวลา ไปที่สถานีออสบาห์นฮอฟ (Ostbahnhof) มุ่งสู่สถานีอันฮาลเตอร์ (Anhalter) ที่อดีตฝั่งตะวันออก เพื่อจะเข้าสู่ โทโปกราฟี ออฟ เทอร์เรอร์ (Topography of Terror Exhibition) นับเป็นอีกงานแสดงที่ใหญ่รองจากอีสต์ไซด์แกลอรี โดยสถานที่แห่งนี้เคยเป็นสำนักงานใหญ่ของตำรวจลับเกสตาโป และหน่วยเอสเอส ผู้ร้ายตัวเอกแห่งสงครามโลกครั้งที่ 2 มีคุกใต้ดินเป็นที่คุมขังและทรมานนักโทษการเมือง
ดังนั้นช่วงเบอร์ลินโดนถล่มในโค้งสุดท้ายของสงคราม อาคารสถานที่รายรอบจึงเป็นเป้าหมายสำคัญ และพื้นที่บริเวณนี้ก็ได้กลายเป็นพรมแดนระหว่างอเมริกันกับโซเวียต จึงมีกำแพงก่อขึ้น เมื่อรวมชาติได้ พื้นที่เอกอุเช่นนี้จึงถูกอนุรักษ์ให้เป็นอนุสรณ์ โดยจัดแสดงภาพเหตุการณ์ต่างๆ ภายใต้การปกครองของนาซี
ฉันเดินถัดไปอีกนิดบนถนนฟรีดริช (Friedrichstrasse) เป็นที่ตั้งของด่านอันโด่งดัง “เช็คพอยต์ชาร์ลี” ที่ปรากฏเป็นฉากในหนังและนิยายอยู่หลายเรื่อง เพราะเป็นเพียงด่านเดียวที่กองกำลังสัมพันธมิตรและชาวต่างชาติสามารถผ่านสู่เบอร์ลินตะวันออกได้ ซึ่งบริเวณนี้มีแค่แผ่นไม้เปิดขึ้นลงให้รถผ่าน จึงมีผู้เสี่ยงวิ่งหนีข้ามแดน หรือขับรถฝ่าเข้ามา ซึ่งสามารถชมเรื่องราวของด่านแห่งนี้ได้ที่พิพิธภัณฑ์ด้านข้าง
ทีแรกฉันก็สงสัยว่าด่านนี้ “ชาร์ลี” เป็นเจ้าของหรือไง แต่จริงๆ แล้วเป็นการเรียกตามโค้ดของกองกำลังทหารสัมพันธมิตร ที่เรียกด่านทั้ง 3 ตามลำดับอักษร เอ – อัลฟา, บี – บราโว และซี-ชาร์ลี นี่เอง ขณะที่ฝ่ายรัสเซียเรียกด่านต่างๆ ตามชื่อถนน
ถ้ามีเวลามากกว่านี้ ฉันจะนั่งลงที่ร้านกาแฟแอดเลอร์ (Cafe Adler) ข้างๆ ด่าน มองไปทางฝั่งตะวันออก นึกถึงภาพประเทศที่ถูกแบ่งเป็น 4 ส่วน (สหรัฐฯ อังกฤษ ฝรั่งเศส และโซเวียต) และเมืองหลวงที่อยู่ในเขตโซเวียตถูกแบ่งเป็น 2 ฝั่ง แผนที่เบอร์ลินตะวันตกเสมือนไข่แดงแห่งโลกเสรีที่ถูกล้อมกรอบด้วยคอมมิวนิสต์
ปี 1961 เบอร์ลินตะวันตกและตะวันออกถูกแบ่งโดยนามธรรม การเดินทางเข้าออกทั้ง 2 ฝั่งทำได้อย่างเสรี แต่การปกครองต่างขั้วก็เปลี่ยนชีวิตชาวเมือง 2 ฝั่งได้อย่างชัดเจน ทำให้ผู้คนฝั่งตะวันออกข้ามมาอยู่ฝั่งตะวันตกนับล้าน จนโซเวียตต้องสร้างกำแพงจริงๆ ขึ้นในปี 1964 พัฒนาการของกำแพงมีถึง 4 รุ่น จากรั้วลวดหนามเป็นก้อนอิฐ และเป็นแผ่นคอนกรีตอย่างที่เห็นกันจนเสร็จสมบูรณ์ในปี 1975
ความยาว 1,378 กิโลเมตรของกำแพงเบอร์ลินเป็นสองรองจากกำแพงเมืองจีน นับเป็น “นวัตกรรมของชนชาติ” ที่สหภาพโซเวียตภูมิใจเสียเต็มประดา ทว่าวีรกรรมที่ชาวฝั่งตะวันออกใช้หนีข้ามกำแพง ถือเป็นความสร้างสรรค์ที่กล้าหาญยิ่งกว่า ไม่ว่าจะเป็น การใช้บอลลูน ใช้สลิงไต่ หรือ ขุดอุโมงค์
พูดถึงการหนี ได้เวลาที่ฉันต้องเร่งไปยังศูนย์เอกสารและความทรงจำ (Memorial and documentation center) บนถนนแบร์เนาเออร์ (Bernauer Strasse) แหล่งข้อมูลทั้งเอกสาร ภาพ ข่าว ตลอดช่วงเวลา 28 ปีที่กำแพงก่อตัวขึ้น พร้อมทั้งขึ้นไปบนหอกระจกสูงมองลงมาดู “เส้นทางแห่งความตาย” พื้นที่โล่งว่างระหว่างแนวกำแพงชั้นในกับชั้นนอก ที่มีทั้งลวดหนาม พรมตะปู และปืนกล คอยต้อนรับผู้ท้าทาย ประหนึ่งลานประหารก็ไม่ปาน
ใกล้ค่ำแล้ว ถึงเวลาไปซึมซับบรรยากาศที่ประตูบรานเดนบวร์ก สัญญลักษณ์แห่งสันติภาพ และต่อมาหมายถึงชัยชนะ ด่านประตูชัยแห่งนี้เคยเป็นฉากประวัติศาสตร์ที่ประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกนกล่าวสุนทรพจน์เรียกให้มิคาอิล กอบาชอฟ “พังกำแพง” ซึ่งอีก 2 ปีต่อมากำแพงที่ถูกพังลง แต่ไม่ขอยืนยันว่าเป็นผลงานการตะโกนของเรแกนในครั้งนั้น
บางตำราบอกว่าการทลายกำแพงเกิดขึ้นโดยบังเอิญ เพราะช่วงนั้นมีการชุมนุมเรียกร้องรวมชาติมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้วันที่ 9 พ.ย.1989 รมต.กระทรวงพรอพากันดาของเยอรมันตะวันออกต้องกล่าวสุนทรพจน์หน้าจอ โดยให้ความหวังว่าจะมีการเปิดให้ผ่านแดนได้อย่างอิสระ แต่พอถูกนักข่าวถามว่าเมื่อใด ท่าน รมต.เหลือบไปมองโพย เห็นวันที่พิมพ์เอกสารก็นึกว่าเป็นวันที่บังคับใช้ จึงประกาศออกไปว่า “ทันที”
ทันใดนั้นบริเวณบรานเดนบวร์กเกตก็คึกคักและคราคร่ำไปด้วยผู้คนจากฝั่งตะวันออกที่หลั่งไหลเข้ามา พร้อมๆ กับชาวตะวันตกที่คอยต้อนรับเพื่อนร่วมชาติ และประตูแห่งนี้ก็กลายเป็นสถานที่หลักสำหรับที่รำลึกวันล่มสลายของกำแพงในทุกๆ ปี
ฉันจบวันรำลึกถึงกำแพง ด้วยการซื้อเศษซากของมันมาเก็บไว้เป็นที่ระลึก แม้กำแพงเบอร์ลินล่มสลายแล้ว แต่ยังมีกำแพงอีกมากมาย ที่รอให้เราทลาย...(อ่านต่อตอนหน้า)