โดย : ปิ่น บุตรี
ไปลาวทีไร ไม่ว่าไปแขวงไหน เมืองไหน ภาคไหน แดนไหน ลาวกลาง เหนือ ใต้ อีสาน สิ่งที่ผมเห็นจนชินตาก็คือ “เบียร์ลาว” ที่คนไทยหลายคนมักตรงๆตามอักษรลาวที่เขียนว่า“เบยลาว” หรือ“เขยลาว”
เบียร์ลาว เป็นเบียร์แห่งชาติลาว มีอยู่แทบทุกซอกทุกมุมของประเทศ ผลิตมาหลายสิบปีแล้ว ได้รับความนิยมอย่างสูงจากประชาชนคนลาว ครองตลาดเครื่องดื่มประเภทนี้ในสปป.ลาว ณ ปัจจุบัน กว่า 95 %
เบียร์ลาวนอกจากจะปรากฏให้เห็นแบบเป็นขวดเล็ก-ใหญ่ และกระป๋อง วางขายทั่วไปตามร้านค้า ร้านอาหารแล้ว ยังมีป้ายโฆษณาเบียร์ลาวปรากฏให้เห็นอยู่เต็มบ้านเต็มเมือง ยิ่งปลายปีนี้ลาวจะเป็นเจ้าภาพซีเกมส์ครั้งที่ 25 ยิ่งทำให้ป้ายโฆษณาซีเกมส์ที่มีเบียร์ลาวเป็นสปอนเซอร์ปรากฏอยู่ทั่วไปหมดตามเขตเมืองใหญ่
เรียกว่าใครที่ไปเยือนลาวแล้วไม่เห็นโลโก้หัวเสือของเบียร์ลาว คงไม่สามารถพูดได้อย่างเต็มปากเต็มคำว่า“ไปลาวมาแล้ว”
สมัยที่ลาวเริ่มเปิดประเทศใหม่ๆ ชื่อเสียงของเบียร์ลาวมักถูกนักเขียน(ชาย)ไทยหลายๆคนที่เคยเข้าไปเที่ยวลาว ณ ขณะนั้น นำมาเล่นมุกประมาณว่า เมื่อไปเมืองลาว ได้ดื่มเบียร์ลาว(นักเขียนบางคนไม่ควรใช้คำว่าดื่มแต่ควรใช้คำว่าอาบจะเหมาะสมกว่า) พอเริ่มกรึ่มเริ่มเมาเบียร์ลาว เริ่มอินไปกับตัวอักษรลาว(แต่อ่านแบบคนไทย) ใจจึงพาลอยากจะเป็น“เขยลาว”มาซะงั้น
สำหรับตัวผม รู้จัก สัมผัส และดื่มด่ำในรสชาติอันนุ่มละมุน(รสเบากว่าเบียร์ไทย) ของเบียร์ลาวหรือเขยลาวมากว่า 10 ปีแล้ว ตั้งแต่ยุคที่เริ่มเข้าไปเที่ยวลาวใหม่ๆ ตอนนั้นเบียร์ลาวแบบขวด ผมเห็นมีแต่ขวดใหญ่ขายราคา 20 กว่าบาทไปจนถึง 40 บาทขึ้นอยู่กับสถานที่ขาย ที่สำคัญเบียร์แบบขวดทำเอา“งง”อยู่พักใหญ่ในสมัยเข้าลาวใหม่ๆ เนื่องจากตอนดื่มเบียร์คนลาวเขาจะถามว่ารับเบียร์กี่แก้ว ผมเห็นว่าการดื่มเบียร์เป็นแก้วนี่มันดูชิลล์เหลือเกิน จึงบอกไปว่า เอามาเบาะๆก่อน “คนละแก้ว” ปรากฏว่าไปกัน 6 คนเบียร์ก็มา 6 ขวดใหญ่ เพราะภาษาลาว คำว่า“แก้ว” คือคำว่า“ขวด”ในภาษาบ้านเรา ส่วนคำเรียก“แก้ว”ในภาษาไทย ภาษาลาว เขาเรียกว่า “จอก” ด้วยเหตุนี้ยุคนั้นผมจึงเสียค่าโง่เรื่องคำเรียก “จอก-แก้ว-ขวด” ไปมากโขนับได้หลายเมาด้วยกัน
นอกจากแบบขวดเบียร์ลาวยังมีแบบกระป๋อง สนนราคาตกกระป๋องละ 10 กว่าบาท ซึ่งด้วยราคาแบบนี้ทำให้เบียร์ลาวกระป๋องกลายเป็นของฝากชั้นดีสำหรับเพื่อนๆผู้มีรสนิยมเดียวกัน(พวกขี้เมา)
หลังจากนั้น ด้วยความที่มีโอกาสเดินทางไปในสปป.ลาว อยู่บ่อยครั้งและพิสมัยในรสชาติเบียร์ลาวเป็นปกติวิสัย(อันที่จริงผมพิสมัยในรสชาติของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชาติทุกชนิดแหละ) ผมจึงพลอยรับรู้ถึงพัฒนาการบางอย่างของเบียร์ลาวเท่าที่ตัวเองสังเกตได้ไปโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว
เบียร์ลาวยุคที่ผมเริ่มดื่มมีโลโก้หัวเสือบนกระป๋องพื้นสีขาวดูเรียบๆง่ายๆ ก่อนจะมาปรับเปลี่ยนลุคให้ดูทันสมัยขึ้นเป็นกระป๋องสีเขียวดังในปัจจุบัน ส่วนรสชาติก็มีการเพิ่มจากรสดั้งเดิมรสคลาสสิคเป็น เบียร์ดำ ไลท์ ดาร์ฟ และมีการผลิตเป็นขวด(แก้ว)เล็กขายในท้องตลาดมากขึ้น มีการเปิดโรงงานผลิตเพิ่มในแขวงจำปาสัก มีการขยายตลาดด้วยการส่งเบียร์ลาวออกไปจำหน่ายในหลายประเทศทั่วโลก อาทิ ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น อังกฤษ อเมริกา เวียดนาม รวมถึงในไทยด้วย
ส่วนงานด้านพีอาร์ประชาสัมพันธ์ เบียร์ลาวก็ทำอย่างกว้างขวาง ลงโฆษณาผ่านสื่อต่างๆมากมาย ทั้ง ทีวี หนังสือพิมพ์ นิตยสาร คัดเอ๊าท์ บิลบอร์ด ฯลฯ อีกทั้งยังเป็นสปอนเซอร์สนับสนุนอะไรต่อมิอะไรอีกมากมายในประเทศนี้ ไม่ว่าจะเป็นป้านร้านค้า โชว์ห่วย ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหาร โรงแรม ภัตตาคาร แผงขายน้ำข้างทาง รวมถึงการทำปฏิทินเบียร์ลาวที่ช่วงหลังมีการจัดประกวดมิสเบียร์ลาวเพื่อคัดเลือกสาวงามมาลงปฏิทินเบียร์ลาวแบบเป็นเรื่องเป็นลาวเหมือนการประกวดนางสาวไทยบ้านเรา
เมื่อได้สาวงามแล้วก็จะมาถ่ายแบบด้วยเสื้อผ้าแบบลาวประยุกต์ นุ่งซิ่นสวยงาม ดูน่ารักสุภาพ ไม่โป๊ยั่วยวนเหมือนปฏิทินโชว์นางแบบในบ้านเรา
พัฒนาการอีกอย่างหนึ่งของเบียร์ลาวที่ผมชื่นชอบเป็นพิเศษก็คือ การมี“สาวเชียร์เบียร์ลาว” มาคอยบริการงานต่างๆด้านการดื่มเบียร์ลาวเหมือนสาวเชียร์เบียร์บ้านเรา แต่ที่ไม่เหมือนกันก็คือการแต่งกายของสาวเบียร์ลาวที่เป็นชุดยูนิฟอร์มมิดชิด สวมเสื้อสีเหลืองรัดกุม นุ่งซิ่นลายสวย บางคนคาดเข็มขัดเงิน ดูงามแบบเรียบง่ายแต่มีเสน่ห์อยู่ในที นับเป็นความงามที่ชวนให้ผู้พิสมัยเบียร์ลาวดื่มด่ำรสชาติของเบียร์ชนิดนี้ได้มีอรรถรสมากขึ้น
อย่างไรก็ตามเมื่อพูดถึงสาวเชียร์เบียร์ลาวแล้ว ผมก็ต้องขอพูดถึงชาวเชียร์เบียร์ไทยบ้าง
สาวเชียร์เบียร์ไทยเรื่องความงามนั้นไม่เป็นรองใครอยู่แล้ว ส่วนเรื่องการแต่งกาย ยูนิฟอร์ม หรือชุดประจำตำแหน่งสาวเชียร์เบียร์ไทยไม่ว่ายี่ห้อไหน จะมีจุดร่วมบางอย่างที่เหมือนกันคือ สั้น(จุ๊ดจู๋) โชว์เนื้อหนัง รัดรูปติ้วๆ
แน่นอนว่าชุดประจำตำแหน่งสาวเชียร์เบียร์ไทยย่อม“ไม่”ถูกจริตของใครและใครบางคน แต่หากใครได้ลองคุยกับสาวเชียร์เบียร์จะรู้ว่าส่วนใหญ่พวกเขาไม่อยากแต่งหรอกชุดหวาบหวิวแบบนี้ แต่คนเราเมื่อเลือกไม่ได้ ต้องทำมาหากิน มันย่อมเป็นไปตามวิถี เพราะยังไงๆนี่คืออาชีพสุจริตที่ดีกว่าพวกโกงกินบ้านเมืองเป็นหมื่นๆเท่า
นอกจากนี้เรื่องของชุดสาวเชียร์เบียร์ผมว่ามันยังสะท้อนถึงรสนิยมของนักดื่มเบียร์ในประเทศนี้ได้พอตัวทีเดียว เพราะบรรดานักดื่มเมื่อเจอสาวสวยๆ อ้อนเก่งๆ ชุดหวิวนิดๆ มาเสนอขายเบียร์ หลายคนเห็นแล้วใจแทบละลาย งานนี้ไม่เมาไม่ได้ ไอ้อารมณ์แบบนี้ ผมเคยเป็นมาแล้ว บ่อยด้วย ซึ่งสุดท้ายพวกที่ได้ไปเต็มๆก็คือบริษัทผู้ขายเบียร์ในบ้านเรานั่นเอง
ด้วยเหตุนี้การไปเที่ยวลาว เมืองปากเซ แขวงจำปาสัก ในหนล่าสุดที่ผ่านมา เมื่อมีโอกาสได้ดื่มเบียร์ในร้านริมโขงแห่งหนึ่งโดยมีสาวเชียร์เบียร์ลาวชุดสุภาพเรียบร้อย นุ่งซิ่นสวยงาม มาทำหน้าที่รินเบียร์ ผมจึงรู้สึกว่ามันช่างเป็นวัฒนธรรมการดื่มเบียร์+เชียร์เบียร์ที่แตกต่างจากบ้านเราไม่น้อยเลย
แต่ไม่ว่าจะแตกต่างแค่ไหนสุดท้ายมันก็เมาคือกัน ซึ่งพอกลับเข้าไทยที่อุบล(อีก 2 วันถัดไป) ผมมีโอกาสได้ไปต่ออารมณ์เบียร์ในร้านข้าวต้มใหญ่ร้านหนึ่ง ไม่น่าเชื่อว่าร้านข้าวต้มที่นี่จะมีสาวเชียร์เบียร์เพียบเลยตั้ง 7-8 คนแนะ มากันเกือบทุกยี่ห้อในชุดยูนิฟอร์ม เหลือง เขียว น้ำเงิน แดง ขาว
งานนี้เพียงพวกเธอเห็นผมทำท่าจะสั่งเบียร์ ต่างรีบตรงรี่เข้ามาแนะนำสรรพคุณเบียร์ของตัวเอง ปานประหนึ่งผมเป็นเทพมีสาวงามนุ่งรัดรูปสั้นๆมารายล้อม พร้อมออดอ้อนสารพัดเพื่อให้สั่งเบียร์ของ(ยี่ห้อ)เธอ จนผมรู้สึกว่านี่เป็นไม่กี่ครั้งในชีวิตที่มีสาวงามรุมล้อม แต่กลับอึดอัดอย่างบอกไม่ถูก สุดท้ายจึงตัดสินใจบอกกับสาวเชียร์เบียร์เหล่านั้นที่มารุมล้อมว่า
“เอางี้ พี่ขอเหล้า...ขวดนึง พร้อมน้ำแข็ง มิกเซอร์”
***********************************************************
หมายเหตุ : บทความนี้ไม่ได้เขียนขึ้นเพื่อโฆษณาเบียร์ลาวแต่อย่างใด และก็ไม่ได้เขียนขึ้นเพื่อส่งเริมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพียงแต่อยากให้เห็นถึงวิถียุคใหม่บางอย่างของประเทศเพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียง
ไปลาวทีไร ไม่ว่าไปแขวงไหน เมืองไหน ภาคไหน แดนไหน ลาวกลาง เหนือ ใต้ อีสาน สิ่งที่ผมเห็นจนชินตาก็คือ “เบียร์ลาว” ที่คนไทยหลายคนมักตรงๆตามอักษรลาวที่เขียนว่า“เบยลาว” หรือ“เขยลาว”
เบียร์ลาว เป็นเบียร์แห่งชาติลาว มีอยู่แทบทุกซอกทุกมุมของประเทศ ผลิตมาหลายสิบปีแล้ว ได้รับความนิยมอย่างสูงจากประชาชนคนลาว ครองตลาดเครื่องดื่มประเภทนี้ในสปป.ลาว ณ ปัจจุบัน กว่า 95 %
เบียร์ลาวนอกจากจะปรากฏให้เห็นแบบเป็นขวดเล็ก-ใหญ่ และกระป๋อง วางขายทั่วไปตามร้านค้า ร้านอาหารแล้ว ยังมีป้ายโฆษณาเบียร์ลาวปรากฏให้เห็นอยู่เต็มบ้านเต็มเมือง ยิ่งปลายปีนี้ลาวจะเป็นเจ้าภาพซีเกมส์ครั้งที่ 25 ยิ่งทำให้ป้ายโฆษณาซีเกมส์ที่มีเบียร์ลาวเป็นสปอนเซอร์ปรากฏอยู่ทั่วไปหมดตามเขตเมืองใหญ่
เรียกว่าใครที่ไปเยือนลาวแล้วไม่เห็นโลโก้หัวเสือของเบียร์ลาว คงไม่สามารถพูดได้อย่างเต็มปากเต็มคำว่า“ไปลาวมาแล้ว”
สมัยที่ลาวเริ่มเปิดประเทศใหม่ๆ ชื่อเสียงของเบียร์ลาวมักถูกนักเขียน(ชาย)ไทยหลายๆคนที่เคยเข้าไปเที่ยวลาว ณ ขณะนั้น นำมาเล่นมุกประมาณว่า เมื่อไปเมืองลาว ได้ดื่มเบียร์ลาว(นักเขียนบางคนไม่ควรใช้คำว่าดื่มแต่ควรใช้คำว่าอาบจะเหมาะสมกว่า) พอเริ่มกรึ่มเริ่มเมาเบียร์ลาว เริ่มอินไปกับตัวอักษรลาว(แต่อ่านแบบคนไทย) ใจจึงพาลอยากจะเป็น“เขยลาว”มาซะงั้น
สำหรับตัวผม รู้จัก สัมผัส และดื่มด่ำในรสชาติอันนุ่มละมุน(รสเบากว่าเบียร์ไทย) ของเบียร์ลาวหรือเขยลาวมากว่า 10 ปีแล้ว ตั้งแต่ยุคที่เริ่มเข้าไปเที่ยวลาวใหม่ๆ ตอนนั้นเบียร์ลาวแบบขวด ผมเห็นมีแต่ขวดใหญ่ขายราคา 20 กว่าบาทไปจนถึง 40 บาทขึ้นอยู่กับสถานที่ขาย ที่สำคัญเบียร์แบบขวดทำเอา“งง”อยู่พักใหญ่ในสมัยเข้าลาวใหม่ๆ เนื่องจากตอนดื่มเบียร์คนลาวเขาจะถามว่ารับเบียร์กี่แก้ว ผมเห็นว่าการดื่มเบียร์เป็นแก้วนี่มันดูชิลล์เหลือเกิน จึงบอกไปว่า เอามาเบาะๆก่อน “คนละแก้ว” ปรากฏว่าไปกัน 6 คนเบียร์ก็มา 6 ขวดใหญ่ เพราะภาษาลาว คำว่า“แก้ว” คือคำว่า“ขวด”ในภาษาบ้านเรา ส่วนคำเรียก“แก้ว”ในภาษาไทย ภาษาลาว เขาเรียกว่า “จอก” ด้วยเหตุนี้ยุคนั้นผมจึงเสียค่าโง่เรื่องคำเรียก “จอก-แก้ว-ขวด” ไปมากโขนับได้หลายเมาด้วยกัน
นอกจากแบบขวดเบียร์ลาวยังมีแบบกระป๋อง สนนราคาตกกระป๋องละ 10 กว่าบาท ซึ่งด้วยราคาแบบนี้ทำให้เบียร์ลาวกระป๋องกลายเป็นของฝากชั้นดีสำหรับเพื่อนๆผู้มีรสนิยมเดียวกัน(พวกขี้เมา)
หลังจากนั้น ด้วยความที่มีโอกาสเดินทางไปในสปป.ลาว อยู่บ่อยครั้งและพิสมัยในรสชาติเบียร์ลาวเป็นปกติวิสัย(อันที่จริงผมพิสมัยในรสชาติของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชาติทุกชนิดแหละ) ผมจึงพลอยรับรู้ถึงพัฒนาการบางอย่างของเบียร์ลาวเท่าที่ตัวเองสังเกตได้ไปโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว
เบียร์ลาวยุคที่ผมเริ่มดื่มมีโลโก้หัวเสือบนกระป๋องพื้นสีขาวดูเรียบๆง่ายๆ ก่อนจะมาปรับเปลี่ยนลุคให้ดูทันสมัยขึ้นเป็นกระป๋องสีเขียวดังในปัจจุบัน ส่วนรสชาติก็มีการเพิ่มจากรสดั้งเดิมรสคลาสสิคเป็น เบียร์ดำ ไลท์ ดาร์ฟ และมีการผลิตเป็นขวด(แก้ว)เล็กขายในท้องตลาดมากขึ้น มีการเปิดโรงงานผลิตเพิ่มในแขวงจำปาสัก มีการขยายตลาดด้วยการส่งเบียร์ลาวออกไปจำหน่ายในหลายประเทศทั่วโลก อาทิ ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น อังกฤษ อเมริกา เวียดนาม รวมถึงในไทยด้วย
ส่วนงานด้านพีอาร์ประชาสัมพันธ์ เบียร์ลาวก็ทำอย่างกว้างขวาง ลงโฆษณาผ่านสื่อต่างๆมากมาย ทั้ง ทีวี หนังสือพิมพ์ นิตยสาร คัดเอ๊าท์ บิลบอร์ด ฯลฯ อีกทั้งยังเป็นสปอนเซอร์สนับสนุนอะไรต่อมิอะไรอีกมากมายในประเทศนี้ ไม่ว่าจะเป็นป้านร้านค้า โชว์ห่วย ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหาร โรงแรม ภัตตาคาร แผงขายน้ำข้างทาง รวมถึงการทำปฏิทินเบียร์ลาวที่ช่วงหลังมีการจัดประกวดมิสเบียร์ลาวเพื่อคัดเลือกสาวงามมาลงปฏิทินเบียร์ลาวแบบเป็นเรื่องเป็นลาวเหมือนการประกวดนางสาวไทยบ้านเรา
เมื่อได้สาวงามแล้วก็จะมาถ่ายแบบด้วยเสื้อผ้าแบบลาวประยุกต์ นุ่งซิ่นสวยงาม ดูน่ารักสุภาพ ไม่โป๊ยั่วยวนเหมือนปฏิทินโชว์นางแบบในบ้านเรา
พัฒนาการอีกอย่างหนึ่งของเบียร์ลาวที่ผมชื่นชอบเป็นพิเศษก็คือ การมี“สาวเชียร์เบียร์ลาว” มาคอยบริการงานต่างๆด้านการดื่มเบียร์ลาวเหมือนสาวเชียร์เบียร์บ้านเรา แต่ที่ไม่เหมือนกันก็คือการแต่งกายของสาวเบียร์ลาวที่เป็นชุดยูนิฟอร์มมิดชิด สวมเสื้อสีเหลืองรัดกุม นุ่งซิ่นลายสวย บางคนคาดเข็มขัดเงิน ดูงามแบบเรียบง่ายแต่มีเสน่ห์อยู่ในที นับเป็นความงามที่ชวนให้ผู้พิสมัยเบียร์ลาวดื่มด่ำรสชาติของเบียร์ชนิดนี้ได้มีอรรถรสมากขึ้น
อย่างไรก็ตามเมื่อพูดถึงสาวเชียร์เบียร์ลาวแล้ว ผมก็ต้องขอพูดถึงชาวเชียร์เบียร์ไทยบ้าง
สาวเชียร์เบียร์ไทยเรื่องความงามนั้นไม่เป็นรองใครอยู่แล้ว ส่วนเรื่องการแต่งกาย ยูนิฟอร์ม หรือชุดประจำตำแหน่งสาวเชียร์เบียร์ไทยไม่ว่ายี่ห้อไหน จะมีจุดร่วมบางอย่างที่เหมือนกันคือ สั้น(จุ๊ดจู๋) โชว์เนื้อหนัง รัดรูปติ้วๆ
แน่นอนว่าชุดประจำตำแหน่งสาวเชียร์เบียร์ไทยย่อม“ไม่”ถูกจริตของใครและใครบางคน แต่หากใครได้ลองคุยกับสาวเชียร์เบียร์จะรู้ว่าส่วนใหญ่พวกเขาไม่อยากแต่งหรอกชุดหวาบหวิวแบบนี้ แต่คนเราเมื่อเลือกไม่ได้ ต้องทำมาหากิน มันย่อมเป็นไปตามวิถี เพราะยังไงๆนี่คืออาชีพสุจริตที่ดีกว่าพวกโกงกินบ้านเมืองเป็นหมื่นๆเท่า
นอกจากนี้เรื่องของชุดสาวเชียร์เบียร์ผมว่ามันยังสะท้อนถึงรสนิยมของนักดื่มเบียร์ในประเทศนี้ได้พอตัวทีเดียว เพราะบรรดานักดื่มเมื่อเจอสาวสวยๆ อ้อนเก่งๆ ชุดหวิวนิดๆ มาเสนอขายเบียร์ หลายคนเห็นแล้วใจแทบละลาย งานนี้ไม่เมาไม่ได้ ไอ้อารมณ์แบบนี้ ผมเคยเป็นมาแล้ว บ่อยด้วย ซึ่งสุดท้ายพวกที่ได้ไปเต็มๆก็คือบริษัทผู้ขายเบียร์ในบ้านเรานั่นเอง
ด้วยเหตุนี้การไปเที่ยวลาว เมืองปากเซ แขวงจำปาสัก ในหนล่าสุดที่ผ่านมา เมื่อมีโอกาสได้ดื่มเบียร์ในร้านริมโขงแห่งหนึ่งโดยมีสาวเชียร์เบียร์ลาวชุดสุภาพเรียบร้อย นุ่งซิ่นสวยงาม มาทำหน้าที่รินเบียร์ ผมจึงรู้สึกว่ามันช่างเป็นวัฒนธรรมการดื่มเบียร์+เชียร์เบียร์ที่แตกต่างจากบ้านเราไม่น้อยเลย
แต่ไม่ว่าจะแตกต่างแค่ไหนสุดท้ายมันก็เมาคือกัน ซึ่งพอกลับเข้าไทยที่อุบล(อีก 2 วันถัดไป) ผมมีโอกาสได้ไปต่ออารมณ์เบียร์ในร้านข้าวต้มใหญ่ร้านหนึ่ง ไม่น่าเชื่อว่าร้านข้าวต้มที่นี่จะมีสาวเชียร์เบียร์เพียบเลยตั้ง 7-8 คนแนะ มากันเกือบทุกยี่ห้อในชุดยูนิฟอร์ม เหลือง เขียว น้ำเงิน แดง ขาว
งานนี้เพียงพวกเธอเห็นผมทำท่าจะสั่งเบียร์ ต่างรีบตรงรี่เข้ามาแนะนำสรรพคุณเบียร์ของตัวเอง ปานประหนึ่งผมเป็นเทพมีสาวงามนุ่งรัดรูปสั้นๆมารายล้อม พร้อมออดอ้อนสารพัดเพื่อให้สั่งเบียร์ของ(ยี่ห้อ)เธอ จนผมรู้สึกว่านี่เป็นไม่กี่ครั้งในชีวิตที่มีสาวงามรุมล้อม แต่กลับอึดอัดอย่างบอกไม่ถูก สุดท้ายจึงตัดสินใจบอกกับสาวเชียร์เบียร์เหล่านั้นที่มารุมล้อมว่า
“เอางี้ พี่ขอเหล้า...ขวดนึง พร้อมน้ำแข็ง มิกเซอร์”
***********************************************************
หมายเหตุ : บทความนี้ไม่ได้เขียนขึ้นเพื่อโฆษณาเบียร์ลาวแต่อย่างใด และก็ไม่ได้เขียนขึ้นเพื่อส่งเริมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพียงแต่อยากให้เห็นถึงวิถียุคใหม่บางอย่างของประเทศเพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียง