โดย : ปิ่น บุตรี
วันเด็กปีนี้เพิ่งผ่านพ้นไปไม่กี่วัน แต่วัยเด็กปีนี้ของผมและปีที่ผ่านๆมา มันผ่านพ้นไปหลายปีดีดักแล้ว
เฮ้อ...หลังปีใหม่มานี้ผมรู้สึกว่าตัวเองแก่ขึ้นอีกตั้ง 1 ปีแน่ะ จากอายุ 30 กว่าๆ เป็น 30 กว่า +1 ซึ่งยอมรับว่าช่วง 2-3 ปีหลังมานี่ เมื่อเรามีอายุมากขึ้น “ความต้องการทางแพทย์”(กรุณาอย่าอ่านผิด) ก็พลอยสูงขึ้นตามไปด้วยเพราะในช่วง 2 ปีหลังมานี่ ผมเข้าโรงหมออยู่บ่อยครั้ง
1...
พูดถึงช่วงวัยเด็ก เด็กๆรุ่นผมรุ่นแฟนฉัน ค่อนข้างต่างจากเด็กยุคใหม่สมัยนี้ ยุคนั้นเป็นรุ่นรอยต่อระหว่างยุคดิจิตอลกับอนาล็อก เป็นยุครอยต่อระหว่างยุคซิกตี้กับยุคมิลเลเนียม ผมจึงมีโอกาสได้พบกับสีสันอันหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น บุหรี่หมากฝรั่ง-รถกระป๋อง-อุลตร้าแมน-ไอ้มดแดง-ชาตรี แกรนเอ๊กซ์-สาว สาว สาว-เลดเซฟพลิน-บอยจอร์จ-ฮุ้นปุยเอี๊ยง-ปิติ มานี ชูใจ-แบ๊งก์ซองบุหรี่-ทอยตุ๊กตุ่น ฯลฯ
สิ่งต่างๆเหล่านี้ผมถือเป็น“ความคลาสสิค”สวนทางกับหลานผมที่บอกว่ามัน“โบราณ” และ “เชย”
เอ้า...ก็ว่ากันไป เพราะผมยอมรับว่าตามเด็กยุคใหม่ไม่ค่อยทันหรืออีกนัยหนึ่งคือขี้เกียจตาม ขี้เกียจเล่น ฮิ5 หรือ Hi 5(แต่มีเปิดไว้)เพราะขี้เกียจแอดรูป ไม่อยากตามเคป๊อบเพราะชอบเฮฟวี่เมทัล ไม่อยากตามเด็กแว้นท์เพราะรู้ว่ายมบาลกำลังตามคนพวกนี้อยู่
อย่างไรก็ตามเด็กยุคนี้ก็มีสิ่งที่รุ่นผมไม่มี(หรืออาจมีน้อยจนผมไม่เคยเจอ)และสร้างความประทับใจอยู่บ่อยครั้ง นั่นก็คือ“ไกด์เด็ก”หรือ“ยุวมัคคุเทศน์” ที่กำลังได้รับความนิยมตามแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่ง
ด้วยเหตุนี้ผมจึงอยากฝากไปทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)ว่า ในการประกวดรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยหรือรางวัลกินรี น่าจะมีรางวัลให้ยุวมัคคุเทศก์น้อยบ้าง อย่างน้อยก็เพื่อเป็นขวัญ กำลังใจให้กับเด็กๆ ชุมชน โรงเรียน ที่ร่วมส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย
เพราะจากประสบการณ์ที่ผมเคยเจอไกด์เด็กมาตามแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่ง สิ่งได้รับเหมือนๆกัน คือความน่ารัก ใสซื่อ และความตั้งใจของเหล่าไกด์ตัวน้อย แถมไกด์เด็กหลายๆแห่งปฏิบัติหน้าที่ได้ไม่แพ้ไกด์อาชีพ หรือบางครั้งดีกว่าด้วยซ้ำ เนื่องจากพวกเขา“เขี้ยวยังไม่งอก”เหมือนไกด์อาชีพบางคน
2...
สำหรับหนล่าสุดที่ผมเจอกับทีมไกด์เด็ก ก็คือที่ พระธาตุไชยา อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ที่อยู่ในความดูแลของ สำนักพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
ไกด์เด็กที่นี่ดูเผินๆก็ทำหน้าที่เหมือนไกด์เด็กทั่วไป แต่เมื่อดูอย่างเพ่งพินิจแล้ว พวกเขามีบางสิ่งบางอย่างให้พูดถึง
วันนั้นพวกเขาแม้จะมากันในเสื้อทีมสีแดงสด แต่พวกเขาก็ไม่ใช่ผู้ฝักใฝ่ลัทธิเสื้อแดงแต่อย่างใด (ส่วนจะชอบผีแดงหรือหงส์แดงงานนี้ผมลืมถามไป)แต่นี่เป็นเสื้อทีมที่พวกเขาใส่กันมานานแล้ว ก่อนมีม็อบเสื้อแดงเสียอีก(ส่วนถ้าดูจากเขตพื้นที่แล้วเดาได้ไม่ยากว่าสีเหลืองนอนมาแน่นอน)
วันนั้นผมไม่ได้สนใจสีเสื้อของพวกเขาหรอก ที่สนใจคือการทำหน้าที่นำเที่ยวชมพระธาตุไชยาต่างหาก
ว่าแล้วน้องอนุวัติ ผลฉวี หัวหน้าทีม ก็พาผมและคณะไปสัมผัสกับเรื่องราวและสิ่งน่าสนใจของพระธาตุไชยาในทันที ซึ่งผมขอเล่าข้อมูลที่น้องอนุวัติ อธิบายคร่าวๆให้ฟัง ดังนี้ว่า
พระธาตุไชยาสร้างขึ้นราวปี พ.ศ. 1300 ภายในบรรจุพระสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าแต่ไม่มีหลักฐานยืนยันว่าเป็นส่วนใด
องค์พระธาตุไชยาเป็นศิลปะศรีวิชัย ผ่านการบูรณะมาหลายครั้ง มีการบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยท่านเจ้าคุณชยาภิวัฒน์สุภัทรสังฆปาโมกข์ หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “ท่านเจ้าคุณหนู”
จากนั้นอนุวัติส่งไม้ต่อให้ น้องวัชรินทร์ ทองก้อน หรือ“น้องนิว” ตัวอ้วนกลมมาอธิบายถึงเหตุผลว่า ทำไมองค์พระธาตุไชยาต้องตั้งอยู่กลางน้ำ
น้องนิวบอกว่า แต่ก่อนองค์พระธาตุเกิดการทับถมพื้นดินมากกว่า 1 เมตร ชาวบ้านที่นี่จึงช่วยกันขุดคูน้ำล้อมรอบ เพื่อไม่ให้แผ่นดินทับถมฐานของพระธาตุอีก จากนั้นน้องนิวแถมด้วยตำนานการเกิดตาน้ำท่าองค์พระธาตุว่า ในปีหนึ่ง เมืองไชยาเกิดแห้งแล้งหนัก ไม่มีน้ำที่จะดื่มกิน พระบรมธาตุได้แสดงปาฏิหารย์ ให้เกิดมีตาน้ำผุดทั่วมุมฐานเจดีย์เพื่อช่วยชาวบ้านที่ประสบภัยแล้งหนัก แต่ต่อมาได้มีการปิดตาน้ำลง 3 ตา เพราะเกรงว่าพระธาตุจะทรุดตัว หลงเหลือไว้ให้ดูเป็นอนุสรณ์ 1 ตาน้ำ ซึ่งตาน้ำนี้ได้นำไปใช้ในพิธีสำคัญต่างๆ
“ส่วนความหมายของเจดีย์คือ 481 คือ 4 เป็นเจดีย์ 4 องค์ 4 มุม 4 ฐาน คืออริยสัจ 4 ส่วน 8 คือ เจดีย์บริวารชั้นละ 8 องค์ องค์เล็ก คือมรรค 8 ผล 8 ส่วน 1 คือ ยอดของพระบรมธาตุคือ นิพพานธรรม การหลุดพ้น”
น้องนิวอธิบาย ก่อนที่น้องทั้ง 2 จะพาผมไปชมลวดลายศิลปะปูนปั้นประดับองค์พระธาตุตามทิศต่างๆ แล้วต่อด้วยการพาไปชมพระพุทธรูปที่ระเบียงคด
“พระพุทธรูปที่ระเบียงคดสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลายมีทั้งหมด 180 องค์ ทุกองค์แกะสลักจากหินทรายสีแดง ที่ไม่ค่อยมีในเมืองไทย แต่มีมากในเขมร ซึ่งต้องใช้การชักลากกันมาเป็นเวลาหลายเดือน และนำมาแกะสลักโดยสกุลช่างไชยา ก่อนนำถวายวัดเป็นพุทธบูชา”
น้องอนุวัติให้ความรู้พอสังเขป ซึ่งจากการได้เดินชมพระพระธาตุไชยาด้วยกัน น้องทั้ง 2 ถือว่าทำหน้าที่ได้ดีมาก แม้ไม่คล่องเปรี๊ยะเหมือนไกด์อาชีพ แต่ว่าความเป็นธรรมชาตินี่แหละคือเสน่ห์ของพวกเขา
3...
ผมเดินตามน้อง 2 คน ออกจากองค์พระธาตุ
ขณะกำลังหยิบรองเท้าที่ถอดไว้ใส่ เพราะตอนเข้าเขตองค์พระธาตุไชยา น้องเขาบอกให้ถอดรองเท้าเพราะเป็นเขตศักดิ์สิทธิ์ เป็นเขตสะอาดของพระพุทธศาสนา เราทุกคนในคณะไม่มีใครขัดข้อง เพราะเข้าใจกฎข้อนี้ดีและหลายๆที่เขาก็ทำแบบนี้กัน
แต่ประทานโทษ เรื่องมันเหมือนจะจบ แต่ยังไม่จบ!!! เพราะหลังจากนี้อีกไม่ถึงอึดใจ มีทัวร์กลุ่มใหญ่คณะหนึ่งมาลงที่วัดพระธาตุไชยา พวกเขามีไกด์อาชีพนำมาด้วย
ครั้นเมื่อคณะนักท่องเที่ยวที่มาจะเดินเข้าในเขตพระธาตุ น้องๆทีมไกด์เด็กได้บอกให้ทุกคนกรุณาถอดรองเท้า เพราะเป็นเขตสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ผลก็คือผู้ใหญ่บางคนทำตาม บางคนไม่ทำ บางคนบ่น บางคนต่อว่าเด็ก ส่วนที่แสบที่สุดก็คือไกด์ผู้ใหญ่ ไกด์อาชีพที่นำนักท่องเที่ยวมา กลับบอกกลุ่มนักท่องเที่ยวเหล่านั้นว่า ไม่ต้องถอดหรอก เพราะมันไม่สะดวก เสียเวลา เนื่องจากมันเย็นแล้ว เดี๋ยวทัวร์ของเขาจะเดินทางเข้าที่พักดึก จึงบอกให้ทุกคน(ที่บางคนกำลังจะถอดรองเท้า)เดินเข้าไปในพื้นที่องค์พระธาตุได้ทั้งๆที่ยังใส่รองเท้าอยู่
แน่นอนว่าน้องไกด์พูดไม่ออก ส่วนผมเห็นพฤติกรรมแบบหนีแล้วก็ต้องลอบถอนหายใจ เพราะในขณะที่เด็กๆ ปฏิบัติตนอยู่ในกฎข้อบังคับของพื้นที่ ผู้ใหญ่กับทำตัวตรงกันข้าม แหกกฎเฉยเลย
เรื่องนี้แม้จะดูเป็นเล็กน้อยในสายตาของคนทั่วไป แต่เมื่อเห็นอย่างนี้ ได้ยินอย่างนี้ มันก็ทำให้ผมพลอยอดนึกถึงสำนวนที่ว่า “แก่เพราะกินข้าว เฒ่าเพราะอยู่นาน” ไม่ได้
วันเด็กปีนี้เพิ่งผ่านพ้นไปไม่กี่วัน แต่วัยเด็กปีนี้ของผมและปีที่ผ่านๆมา มันผ่านพ้นไปหลายปีดีดักแล้ว
เฮ้อ...หลังปีใหม่มานี้ผมรู้สึกว่าตัวเองแก่ขึ้นอีกตั้ง 1 ปีแน่ะ จากอายุ 30 กว่าๆ เป็น 30 กว่า +1 ซึ่งยอมรับว่าช่วง 2-3 ปีหลังมานี่ เมื่อเรามีอายุมากขึ้น “ความต้องการทางแพทย์”(กรุณาอย่าอ่านผิด) ก็พลอยสูงขึ้นตามไปด้วยเพราะในช่วง 2 ปีหลังมานี่ ผมเข้าโรงหมออยู่บ่อยครั้ง
1...
พูดถึงช่วงวัยเด็ก เด็กๆรุ่นผมรุ่นแฟนฉัน ค่อนข้างต่างจากเด็กยุคใหม่สมัยนี้ ยุคนั้นเป็นรุ่นรอยต่อระหว่างยุคดิจิตอลกับอนาล็อก เป็นยุครอยต่อระหว่างยุคซิกตี้กับยุคมิลเลเนียม ผมจึงมีโอกาสได้พบกับสีสันอันหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น บุหรี่หมากฝรั่ง-รถกระป๋อง-อุลตร้าแมน-ไอ้มดแดง-ชาตรี แกรนเอ๊กซ์-สาว สาว สาว-เลดเซฟพลิน-บอยจอร์จ-ฮุ้นปุยเอี๊ยง-ปิติ มานี ชูใจ-แบ๊งก์ซองบุหรี่-ทอยตุ๊กตุ่น ฯลฯ
สิ่งต่างๆเหล่านี้ผมถือเป็น“ความคลาสสิค”สวนทางกับหลานผมที่บอกว่ามัน“โบราณ” และ “เชย”
เอ้า...ก็ว่ากันไป เพราะผมยอมรับว่าตามเด็กยุคใหม่ไม่ค่อยทันหรืออีกนัยหนึ่งคือขี้เกียจตาม ขี้เกียจเล่น ฮิ5 หรือ Hi 5(แต่มีเปิดไว้)เพราะขี้เกียจแอดรูป ไม่อยากตามเคป๊อบเพราะชอบเฮฟวี่เมทัล ไม่อยากตามเด็กแว้นท์เพราะรู้ว่ายมบาลกำลังตามคนพวกนี้อยู่
อย่างไรก็ตามเด็กยุคนี้ก็มีสิ่งที่รุ่นผมไม่มี(หรืออาจมีน้อยจนผมไม่เคยเจอ)และสร้างความประทับใจอยู่บ่อยครั้ง นั่นก็คือ“ไกด์เด็ก”หรือ“ยุวมัคคุเทศน์” ที่กำลังได้รับความนิยมตามแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่ง
ด้วยเหตุนี้ผมจึงอยากฝากไปทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)ว่า ในการประกวดรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยหรือรางวัลกินรี น่าจะมีรางวัลให้ยุวมัคคุเทศก์น้อยบ้าง อย่างน้อยก็เพื่อเป็นขวัญ กำลังใจให้กับเด็กๆ ชุมชน โรงเรียน ที่ร่วมส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย
เพราะจากประสบการณ์ที่ผมเคยเจอไกด์เด็กมาตามแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่ง สิ่งได้รับเหมือนๆกัน คือความน่ารัก ใสซื่อ และความตั้งใจของเหล่าไกด์ตัวน้อย แถมไกด์เด็กหลายๆแห่งปฏิบัติหน้าที่ได้ไม่แพ้ไกด์อาชีพ หรือบางครั้งดีกว่าด้วยซ้ำ เนื่องจากพวกเขา“เขี้ยวยังไม่งอก”เหมือนไกด์อาชีพบางคน
2...
สำหรับหนล่าสุดที่ผมเจอกับทีมไกด์เด็ก ก็คือที่ พระธาตุไชยา อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ที่อยู่ในความดูแลของ สำนักพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
ไกด์เด็กที่นี่ดูเผินๆก็ทำหน้าที่เหมือนไกด์เด็กทั่วไป แต่เมื่อดูอย่างเพ่งพินิจแล้ว พวกเขามีบางสิ่งบางอย่างให้พูดถึง
วันนั้นพวกเขาแม้จะมากันในเสื้อทีมสีแดงสด แต่พวกเขาก็ไม่ใช่ผู้ฝักใฝ่ลัทธิเสื้อแดงแต่อย่างใด (ส่วนจะชอบผีแดงหรือหงส์แดงงานนี้ผมลืมถามไป)แต่นี่เป็นเสื้อทีมที่พวกเขาใส่กันมานานแล้ว ก่อนมีม็อบเสื้อแดงเสียอีก(ส่วนถ้าดูจากเขตพื้นที่แล้วเดาได้ไม่ยากว่าสีเหลืองนอนมาแน่นอน)
วันนั้นผมไม่ได้สนใจสีเสื้อของพวกเขาหรอก ที่สนใจคือการทำหน้าที่นำเที่ยวชมพระธาตุไชยาต่างหาก
ว่าแล้วน้องอนุวัติ ผลฉวี หัวหน้าทีม ก็พาผมและคณะไปสัมผัสกับเรื่องราวและสิ่งน่าสนใจของพระธาตุไชยาในทันที ซึ่งผมขอเล่าข้อมูลที่น้องอนุวัติ อธิบายคร่าวๆให้ฟัง ดังนี้ว่า
พระธาตุไชยาสร้างขึ้นราวปี พ.ศ. 1300 ภายในบรรจุพระสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าแต่ไม่มีหลักฐานยืนยันว่าเป็นส่วนใด
องค์พระธาตุไชยาเป็นศิลปะศรีวิชัย ผ่านการบูรณะมาหลายครั้ง มีการบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยท่านเจ้าคุณชยาภิวัฒน์สุภัทรสังฆปาโมกข์ หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “ท่านเจ้าคุณหนู”
จากนั้นอนุวัติส่งไม้ต่อให้ น้องวัชรินทร์ ทองก้อน หรือ“น้องนิว” ตัวอ้วนกลมมาอธิบายถึงเหตุผลว่า ทำไมองค์พระธาตุไชยาต้องตั้งอยู่กลางน้ำ
น้องนิวบอกว่า แต่ก่อนองค์พระธาตุเกิดการทับถมพื้นดินมากกว่า 1 เมตร ชาวบ้านที่นี่จึงช่วยกันขุดคูน้ำล้อมรอบ เพื่อไม่ให้แผ่นดินทับถมฐานของพระธาตุอีก จากนั้นน้องนิวแถมด้วยตำนานการเกิดตาน้ำท่าองค์พระธาตุว่า ในปีหนึ่ง เมืองไชยาเกิดแห้งแล้งหนัก ไม่มีน้ำที่จะดื่มกิน พระบรมธาตุได้แสดงปาฏิหารย์ ให้เกิดมีตาน้ำผุดทั่วมุมฐานเจดีย์เพื่อช่วยชาวบ้านที่ประสบภัยแล้งหนัก แต่ต่อมาได้มีการปิดตาน้ำลง 3 ตา เพราะเกรงว่าพระธาตุจะทรุดตัว หลงเหลือไว้ให้ดูเป็นอนุสรณ์ 1 ตาน้ำ ซึ่งตาน้ำนี้ได้นำไปใช้ในพิธีสำคัญต่างๆ
“ส่วนความหมายของเจดีย์คือ 481 คือ 4 เป็นเจดีย์ 4 องค์ 4 มุม 4 ฐาน คืออริยสัจ 4 ส่วน 8 คือ เจดีย์บริวารชั้นละ 8 องค์ องค์เล็ก คือมรรค 8 ผล 8 ส่วน 1 คือ ยอดของพระบรมธาตุคือ นิพพานธรรม การหลุดพ้น”
น้องนิวอธิบาย ก่อนที่น้องทั้ง 2 จะพาผมไปชมลวดลายศิลปะปูนปั้นประดับองค์พระธาตุตามทิศต่างๆ แล้วต่อด้วยการพาไปชมพระพุทธรูปที่ระเบียงคด
“พระพุทธรูปที่ระเบียงคดสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลายมีทั้งหมด 180 องค์ ทุกองค์แกะสลักจากหินทรายสีแดง ที่ไม่ค่อยมีในเมืองไทย แต่มีมากในเขมร ซึ่งต้องใช้การชักลากกันมาเป็นเวลาหลายเดือน และนำมาแกะสลักโดยสกุลช่างไชยา ก่อนนำถวายวัดเป็นพุทธบูชา”
น้องอนุวัติให้ความรู้พอสังเขป ซึ่งจากการได้เดินชมพระพระธาตุไชยาด้วยกัน น้องทั้ง 2 ถือว่าทำหน้าที่ได้ดีมาก แม้ไม่คล่องเปรี๊ยะเหมือนไกด์อาชีพ แต่ว่าความเป็นธรรมชาตินี่แหละคือเสน่ห์ของพวกเขา
3...
ผมเดินตามน้อง 2 คน ออกจากองค์พระธาตุ
ขณะกำลังหยิบรองเท้าที่ถอดไว้ใส่ เพราะตอนเข้าเขตองค์พระธาตุไชยา น้องเขาบอกให้ถอดรองเท้าเพราะเป็นเขตศักดิ์สิทธิ์ เป็นเขตสะอาดของพระพุทธศาสนา เราทุกคนในคณะไม่มีใครขัดข้อง เพราะเข้าใจกฎข้อนี้ดีและหลายๆที่เขาก็ทำแบบนี้กัน
แต่ประทานโทษ เรื่องมันเหมือนจะจบ แต่ยังไม่จบ!!! เพราะหลังจากนี้อีกไม่ถึงอึดใจ มีทัวร์กลุ่มใหญ่คณะหนึ่งมาลงที่วัดพระธาตุไชยา พวกเขามีไกด์อาชีพนำมาด้วย
ครั้นเมื่อคณะนักท่องเที่ยวที่มาจะเดินเข้าในเขตพระธาตุ น้องๆทีมไกด์เด็กได้บอกให้ทุกคนกรุณาถอดรองเท้า เพราะเป็นเขตสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ผลก็คือผู้ใหญ่บางคนทำตาม บางคนไม่ทำ บางคนบ่น บางคนต่อว่าเด็ก ส่วนที่แสบที่สุดก็คือไกด์ผู้ใหญ่ ไกด์อาชีพที่นำนักท่องเที่ยวมา กลับบอกกลุ่มนักท่องเที่ยวเหล่านั้นว่า ไม่ต้องถอดหรอก เพราะมันไม่สะดวก เสียเวลา เนื่องจากมันเย็นแล้ว เดี๋ยวทัวร์ของเขาจะเดินทางเข้าที่พักดึก จึงบอกให้ทุกคน(ที่บางคนกำลังจะถอดรองเท้า)เดินเข้าไปในพื้นที่องค์พระธาตุได้ทั้งๆที่ยังใส่รองเท้าอยู่
แน่นอนว่าน้องไกด์พูดไม่ออก ส่วนผมเห็นพฤติกรรมแบบหนีแล้วก็ต้องลอบถอนหายใจ เพราะในขณะที่เด็กๆ ปฏิบัติตนอยู่ในกฎข้อบังคับของพื้นที่ ผู้ใหญ่กับทำตัวตรงกันข้าม แหกกฎเฉยเลย
เรื่องนี้แม้จะดูเป็นเล็กน้อยในสายตาของคนทั่วไป แต่เมื่อเห็นอย่างนี้ ได้ยินอย่างนี้ มันก็ทำให้ผมพลอยอดนึกถึงสำนวนที่ว่า “แก่เพราะกินข้าว เฒ่าเพราะอยู่นาน” ไม่ได้