โดย : ปิ่น บุตรี
ท่ามกลางอากาศหนาวเหน็บ บางคนกลับ“ร้อน”สุดขั้ว
ในห้องแอร์ที่เย็นฉ่ำ บางคนกลับ“ร้อน”เหลือคณา
เป็นร้อน“ภายใน”ที่บ่อยครั้งมิติทาง“โลก”มิอาจเยียวยา
แต่มิติทาง“ธรรม”กลับสามารถลดความรุ่มร้อนกระวนกระวายให้“ภายใน”เข้าสู่สภาวะ“เย็น” ลงได้
เพราะ“ธรรมะ”เปรียบดังสายน้ำที่ช่วยชโลมจิตใจให้ชุ่มชื่น เย็นฉ่ำ
การเข้าวัดถือเป็นหนึ่งในหนทางการเข้าหาธรรมะของชาวพุทธ
แต่ใครจะพบธรรมะหรือพบกิเลส งานนี้นอกจากจะขึ้นอยู่กับสภาพจิตใจของผู้เข้าแล้วยังขึ้นอยู่กับวัดที่เข้าด้วย เพราะปัจจุบันวัดบางวัดแทนที่จะเป็นแหล่งเพิ่มธรรมะขัดเกลาจิตใจ กลับกลายเป็นแหล่งเพิ่มพูนกิเลสให้กลับฆราวาสผู้เข้าวัดไปเสียฉิบ
ทั้งเครื่องราง ของขลัง คุณไสย์ ใบ้หวย เลขเด็ด เสน่ห์ บางวัดพระยอมเห็นแก่เงินทำบุญบริจาค เลยยอมตกเป็นเครื่องมือรับใช้ฝ่ายการเมืองไปอย่างน่าสมเพช และอื่นๆอีกเพียบ
ในขณะที่บางวัดกลับปราศจากซึ่งสิ่งเหล่านี้ มีเพียงหลักธรรมคำสอนเป็นที่ตั้ง หวังเพียงเพื่อให้ผู้เข้าวัดได้พบหนทางที่จะสร้างความเย็นขึ้นในจิตใจ
และหนึ่งในนั้นก็คือ“สวนโมกข์” ดินแดนแห่งพุทธธรรมอันเปี่ยมล้น
1...
สวนโมกข์ มีชื่อเต็มๆว่า "สวนโมกขพลาราม"หรือ “วัดธารน้ำไหล” (ชื่อนี้หลายคนอาจไม่คุ้น) ตั้งอยู่บริเวณริมเขาพุทธทอง ริมทางหลวงหมายเลข 14 บริเวณหลักกม.ที่ 134 อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี
สวนโมกข์ ดินแดนพุทธธรรมแห่งนี้ ท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุ เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2475 เพื่อเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมและจรรโลงพระพุทธศาสนา
ท่านอาจารย์พุทธทาสผู้ล่วงลับได้กล่าวถึงที่มาของชื่อสวนโมกข์ไว้ในหนังสือ “เล่าไว้เมื่อวัยสนธยา อัตชีวประวัติของท่านพุทธทาส” ซึ่งสัมภาษณ์โดยพระประชา ปสนฺนธมฺโม ดังนี้
พระประชา : อาจารย์ครับ ชื่อสวนโมกข์นี่ได้มาอย่างไรครับ
อาจารย์พุทธทาส : (หัวเราะ) “มันก็เป็นธรรมดาแหละ ที่จะต้องตั้งชื่อ แต่ว่าเรื่องชื่อสวนโมกข์นี่ นายธรรมทาสเขาไม่ได้เกี่ยวข้อง หรือไม่มีสิทธิ์ที่จะเกี่ยวข้อง ว่าจะตั้งชื่ออะไร เราว่าไปคนเดียว คิด คิด คิดไปตามไอ้หลักเกณฑ์ หรือตามถ้อยคำที่มีใช้อยู่ และเพื่อขบขันบ้าง เรามันมีนิสัยฮิวเมอริสท์อยู่บ้าง ฟลุคที่ว่ามันมีต้นโมกและต้นพลาที่สวนโมกข์เก่านั่น ต้นโมกนี่ยังอยู่ที่หน้าโบสถ์หลายต้น และต้นพลาก็มีอยู่ทั่วๆ ไป ต้นโมกกับต้นพลา เอาโมกกับพลามาต่อกันเข้า (หัวเราะ) มันก็ได้ความเต็มว่า กำลังแห่งความหลุดพ้น พลังแห่งความหลุดพ้น ส่วนคำว่าอารามย่อมธรรมดา แปลว่าที่ร่มรื่น ที่รื่นรมย์ เมื่อมันฟลุคอย่างนี้มันก็ออกมาจริงจัง ตรงกับความหมายแท้จริงของธรรมะ วัตถุประสงค์ก็คือโมกข์ สถานที่อันเป็นพลังเพื่อโมกขะ ก็เหมาะแล้ว เมื่อแรกเสนอขึ้นมาเขาฟังขัดหูกันทั้งนั้นแหละ แปลก หรือว่าขัดๆ หูไม่รู้อะไร โมกข-พลา ต้องอธิบายให้รู้ว่าธรรมะคืออย่างนั้น มีความหลุดพ้นเป็นวัตถุที่พึงประสงค์ จึงเกิดวันชนิดที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดความหลุดพ้น เรียกว่า โมกขพลาราม”
2...
เพียงก้าวแรกที่ก้าวเข้าสู่สวนโมกข์ ผมรู้สึกได้ว่าตัวเองเหมือนหลุดมาอยู่อีกดินแดนหนึ่ง เป็นดินแดนแห่งธรรมที่ห่างไกลจากความวุ่นวายใดๆ
ระหว่างที่ผมเดินไปตามถนนสายธรรม ความร่มเย็นจากสภาพพื้นที่อันร่มรื่นแผ่ซ่านพลังก่อให้เกิดความเย็นและนิ่งในจิตใจ
ท่านพุทธทาสตั้งปณิธานไว้ 3 ข้อ คือ ให้ทุกคนพยายามเข้าถึงหัวใจแห่งศาสนาของตน ให้ทุกคนทำความเข้าใจหลักสำคัญระหว่างศาสนา และให้ทุกคนเปลื้องตัวออกจากอำนาจวัตถุนิยม ทำให้ซึ่งในสวนโมกข์ไม่มีสิ่งก่อสร้างใหญ่โต เพราะนี่ไม่ใช่เป้าประสงค์ของท่าน หากแต่กลับมีสิ่งก่อสร้างที่มากประโยชน์ใช้สอยและมากไปด้วยปริศนาแห่งธรรม ไม่ว่าจะเป็น ลานหินโค้ง โรงมหรสพทางวิญญาณหรือโรงหนัง สวนหิน อาคารเรือ โรงปั้น สระนาฬิเกร์
แต่ที่ตลกก็คือหลายคนไม่เข้าใจสวนโมกข์ ดังหลวงพี่ท่านหนึ่งที่เล่าให้ฟังว่า “โยมหลายคนที่มาสวนโมกข์มักมาถามอาตมาว่า มีเหรียญท่านอาจารย์พุทธทาสให้เช่าบ้างมั้ย อาตมาก็ได้แต่ตอบไปว่า ที่นี่ไม่มี มีแต่หลักธรรมคำสอนให้โยมนำกลับไปเท่านั้น”
สำหรับหลักธรรมคำสอนที่นี่นั้นถือว่ามีทั้งที่สามารถมองเห็นด้วยตาอย่างข้อคิดคำคมของท่านพุทธทาส หรือต้องใช้ปัญญาไตร่ตรองอย่างภาพปริศนาธรรมต่างๆ รวมถึงที่ต้องใช้จิตพินิจพิจารณา
งานนี้ผมโชคดีที่มีพระสิงห์ทองเขมิโยเป็นผู้นำชมภายในสวนโมกข์ ซึ่งท่านได้เปิดที่นอนของท่านพุทธทาสทั้งในยามจำวัดและยามอาพาธให้ชม พร้อมพาชมสวนโมกข์แบบเจาะลึก โดยสอดแทรกหลักธรรมคำสอนตลอด ไม่เว้นแม่แต่การถูกยุงกัด พระสิงห์ทองยังอธิบายเป็นหลักธรรมลึกซึ้งกินใจได้
เรียกว่าสำหรับบรรพชิตอย่างพระสิงห์ทอง ธรรมะมีอยู่ทุกหนแห่งเพียงแต่ฆราวาสอย่างเราๆท่านๆจะมีดวงตาเห็นธรรมหรือเปล่า
สำหรับจุดที่ท่านเน้นเป็นพิเศษและให้ผมขบคิดอย่างหนักก็เห็นจะเป็นที่โรงมหรสพทางวิญญาณหรือโรงหนังที่มีภาพปริศนาธรรมมากมายให้ขบคิด ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มภาพเซน กลุ่มภาพโลกและปรัชญา กลุ่มภาพสุภาษิต กลุ่มภาพเกี่ยวกับโทสะ โมหะ เป็นต้น ซึ่งท่านพุทธทาสเคยปรารภไว้ว่า “ดูให้ออกสักเรื่องก็คุ้มค่าที่มาที่นี่”
บางภาพดูแล้วก็ตีความเข้าใจได้ง่ายๆอย่างภาพ ต้นไม้ที่อธิบายว่า ในโลกนี้มีพุทธศาสนาเพื่อเข่นฆ่าสิ่งเหล่านี้มิให้เหลือ อาทิ เข่นฆ่าความเมาตำรา เมาอาจารย์ ความหลอกลวง เมาโชคชะตาราศีเป็นต้น หรือภาพ “นางเบ็ด”ที่ดูอีโรติกนิดๆพร้อมคำอธิบายข้างหลังภาพที่สะท้อนความจริงในสังคมยุคนี้ให้เห็น
บางภาพแม้ผมจะดูไม่รู้เรื่อง แต่ว่ากลับเป็นภาพจิตกรรมที่มีคุณค่าทางศิลปะไม่น้อยเลย
ส่วนภาพที่ดูเข้าใจยากก็เห็นจะเป็นภาพแนวเซ็นที่ต้องใช้ความคิดพินิจพิเคราะห์ในการตีความ
นอกจากนี้ยังมีบทกลอนคำสอนของท่านพุทธทาสให้ศึกษากันอีกพอประมาณ อย่างกลอน “มองตัวเองบ้าง” ที่สุดแสนคลาสสิคและคมคาย
เห็นเขามี เลวบ้าง ช่างหัวเขา
มองตัวเรา มีเลวบ้าง อย่างเขาไหม?
จะนินทา ฤษยา เขาทำไม
รีบแก้ไข ชั่วของเรา ให้เบาบาง
มองเขาชั่ว มันมาชั่ว ที่ตัวเรา
ชั่วของเขา เพิ่มให้เรา ไม่รู้สร่าง
มองแต่ดี, ชั่วของเรา ค่อยเพลาจาง
เพราะอางขนาง ที่เขามี ดีกว่าเรา ฯ
ถ้ามองดี ของตัว ต้องระวัง
มักจะพลั่ง เกินงาม ด้วยความเขลา-
ให้ตัวดี จนเกินดี, มีแต่ เงา
เอาจริงเข้า ก็เปล่า, เราหมดดี ฯ
ในขณะที่ภาพซึ่งถือเป็นศูนย์รวมเป็นที่สุดก็คือ ภาพวงกลมสีขาวที่ไม่มีอะไรเลย มีแต่“ความว่าง”เท่านั้น แต่ในความว่างนั่นแหละคือธรรมอันสูงส่งที่ท่านพุทธทาสเน้นอยู่เสมอ
เป็นอยู่ด้วยความว่าง ไม่มีสัญญาณว่าตัวตน : ว่างยิ่งกว่าเงา! ผู้สัมผัส สิ่งถูกสัมผัส ทางสัมผัส ล้วนแต่ว่าง ไม่มีอิทธิพล แห่งสมมติ หรือบัญญัติใดๆ ครอบงำจิต ว่างยิ่งกว่าลม ลอยไป ผ่านอารมณ์หรือผ่านสัมผัสนั้นๆ
พุทธทาสภิกขุ
ผมยืนเพ่งวงกลมสีขาวที่ว่างเปล่าด้วยจิตที่ไม่ว่าง พร้อมกับรู้สึกว่า“ความว่าง” คำๆนี้แม้สั้นง่าย แต่กลับยากมากถึงมากที่สุดที่มนุษย์ปุถุชนจะเข้าถึงและปฏิบัติได้
3...
หลังกลับออกจากสวนโมกข์ แม้ผมคนกิเลสหนาจะไม่ได้ธรรมะแบบเป็นเรื่องเป็นราวกลับออกไป แต่ผมก็พบว่า ในโลกที่สับสนวุ่นวายนั้น ยังมีสวนโมกข์เป็นหนึ่งในที่พักพิงสำหรับผู้ที่ต้องการความสงบและความเย็น
เป็นความเย็นจากภายใน ที่แม้ภายนอก รอบข้าง จะสับสนวุ่นวายร้อนรุ่มร้อนเร่า แต่ภายในกลับไร้ซึ่งความร้อนรุ่มกระวนกระวายใดๆ
ท่ามกลางอากาศหนาวเหน็บ บางคนกลับ“ร้อน”สุดขั้ว
ในห้องแอร์ที่เย็นฉ่ำ บางคนกลับ“ร้อน”เหลือคณา
เป็นร้อน“ภายใน”ที่บ่อยครั้งมิติทาง“โลก”มิอาจเยียวยา
แต่มิติทาง“ธรรม”กลับสามารถลดความรุ่มร้อนกระวนกระวายให้“ภายใน”เข้าสู่สภาวะ“เย็น” ลงได้
เพราะ“ธรรมะ”เปรียบดังสายน้ำที่ช่วยชโลมจิตใจให้ชุ่มชื่น เย็นฉ่ำ
การเข้าวัดถือเป็นหนึ่งในหนทางการเข้าหาธรรมะของชาวพุทธ
แต่ใครจะพบธรรมะหรือพบกิเลส งานนี้นอกจากจะขึ้นอยู่กับสภาพจิตใจของผู้เข้าแล้วยังขึ้นอยู่กับวัดที่เข้าด้วย เพราะปัจจุบันวัดบางวัดแทนที่จะเป็นแหล่งเพิ่มธรรมะขัดเกลาจิตใจ กลับกลายเป็นแหล่งเพิ่มพูนกิเลสให้กลับฆราวาสผู้เข้าวัดไปเสียฉิบ
ทั้งเครื่องราง ของขลัง คุณไสย์ ใบ้หวย เลขเด็ด เสน่ห์ บางวัดพระยอมเห็นแก่เงินทำบุญบริจาค เลยยอมตกเป็นเครื่องมือรับใช้ฝ่ายการเมืองไปอย่างน่าสมเพช และอื่นๆอีกเพียบ
ในขณะที่บางวัดกลับปราศจากซึ่งสิ่งเหล่านี้ มีเพียงหลักธรรมคำสอนเป็นที่ตั้ง หวังเพียงเพื่อให้ผู้เข้าวัดได้พบหนทางที่จะสร้างความเย็นขึ้นในจิตใจ
และหนึ่งในนั้นก็คือ“สวนโมกข์” ดินแดนแห่งพุทธธรรมอันเปี่ยมล้น
1...
สวนโมกข์ มีชื่อเต็มๆว่า "สวนโมกขพลาราม"หรือ “วัดธารน้ำไหล” (ชื่อนี้หลายคนอาจไม่คุ้น) ตั้งอยู่บริเวณริมเขาพุทธทอง ริมทางหลวงหมายเลข 14 บริเวณหลักกม.ที่ 134 อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี
สวนโมกข์ ดินแดนพุทธธรรมแห่งนี้ ท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุ เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2475 เพื่อเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมและจรรโลงพระพุทธศาสนา
ท่านอาจารย์พุทธทาสผู้ล่วงลับได้กล่าวถึงที่มาของชื่อสวนโมกข์ไว้ในหนังสือ “เล่าไว้เมื่อวัยสนธยา อัตชีวประวัติของท่านพุทธทาส” ซึ่งสัมภาษณ์โดยพระประชา ปสนฺนธมฺโม ดังนี้
พระประชา : อาจารย์ครับ ชื่อสวนโมกข์นี่ได้มาอย่างไรครับ
อาจารย์พุทธทาส : (หัวเราะ) “มันก็เป็นธรรมดาแหละ ที่จะต้องตั้งชื่อ แต่ว่าเรื่องชื่อสวนโมกข์นี่ นายธรรมทาสเขาไม่ได้เกี่ยวข้อง หรือไม่มีสิทธิ์ที่จะเกี่ยวข้อง ว่าจะตั้งชื่ออะไร เราว่าไปคนเดียว คิด คิด คิดไปตามไอ้หลักเกณฑ์ หรือตามถ้อยคำที่มีใช้อยู่ และเพื่อขบขันบ้าง เรามันมีนิสัยฮิวเมอริสท์อยู่บ้าง ฟลุคที่ว่ามันมีต้นโมกและต้นพลาที่สวนโมกข์เก่านั่น ต้นโมกนี่ยังอยู่ที่หน้าโบสถ์หลายต้น และต้นพลาก็มีอยู่ทั่วๆ ไป ต้นโมกกับต้นพลา เอาโมกกับพลามาต่อกันเข้า (หัวเราะ) มันก็ได้ความเต็มว่า กำลังแห่งความหลุดพ้น พลังแห่งความหลุดพ้น ส่วนคำว่าอารามย่อมธรรมดา แปลว่าที่ร่มรื่น ที่รื่นรมย์ เมื่อมันฟลุคอย่างนี้มันก็ออกมาจริงจัง ตรงกับความหมายแท้จริงของธรรมะ วัตถุประสงค์ก็คือโมกข์ สถานที่อันเป็นพลังเพื่อโมกขะ ก็เหมาะแล้ว เมื่อแรกเสนอขึ้นมาเขาฟังขัดหูกันทั้งนั้นแหละ แปลก หรือว่าขัดๆ หูไม่รู้อะไร โมกข-พลา ต้องอธิบายให้รู้ว่าธรรมะคืออย่างนั้น มีความหลุดพ้นเป็นวัตถุที่พึงประสงค์ จึงเกิดวันชนิดที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดความหลุดพ้น เรียกว่า โมกขพลาราม”
2...
เพียงก้าวแรกที่ก้าวเข้าสู่สวนโมกข์ ผมรู้สึกได้ว่าตัวเองเหมือนหลุดมาอยู่อีกดินแดนหนึ่ง เป็นดินแดนแห่งธรรมที่ห่างไกลจากความวุ่นวายใดๆ
ระหว่างที่ผมเดินไปตามถนนสายธรรม ความร่มเย็นจากสภาพพื้นที่อันร่มรื่นแผ่ซ่านพลังก่อให้เกิดความเย็นและนิ่งในจิตใจ
ท่านพุทธทาสตั้งปณิธานไว้ 3 ข้อ คือ ให้ทุกคนพยายามเข้าถึงหัวใจแห่งศาสนาของตน ให้ทุกคนทำความเข้าใจหลักสำคัญระหว่างศาสนา และให้ทุกคนเปลื้องตัวออกจากอำนาจวัตถุนิยม ทำให้ซึ่งในสวนโมกข์ไม่มีสิ่งก่อสร้างใหญ่โต เพราะนี่ไม่ใช่เป้าประสงค์ของท่าน หากแต่กลับมีสิ่งก่อสร้างที่มากประโยชน์ใช้สอยและมากไปด้วยปริศนาแห่งธรรม ไม่ว่าจะเป็น ลานหินโค้ง โรงมหรสพทางวิญญาณหรือโรงหนัง สวนหิน อาคารเรือ โรงปั้น สระนาฬิเกร์
แต่ที่ตลกก็คือหลายคนไม่เข้าใจสวนโมกข์ ดังหลวงพี่ท่านหนึ่งที่เล่าให้ฟังว่า “โยมหลายคนที่มาสวนโมกข์มักมาถามอาตมาว่า มีเหรียญท่านอาจารย์พุทธทาสให้เช่าบ้างมั้ย อาตมาก็ได้แต่ตอบไปว่า ที่นี่ไม่มี มีแต่หลักธรรมคำสอนให้โยมนำกลับไปเท่านั้น”
สำหรับหลักธรรมคำสอนที่นี่นั้นถือว่ามีทั้งที่สามารถมองเห็นด้วยตาอย่างข้อคิดคำคมของท่านพุทธทาส หรือต้องใช้ปัญญาไตร่ตรองอย่างภาพปริศนาธรรมต่างๆ รวมถึงที่ต้องใช้จิตพินิจพิจารณา
งานนี้ผมโชคดีที่มีพระสิงห์ทองเขมิโยเป็นผู้นำชมภายในสวนโมกข์ ซึ่งท่านได้เปิดที่นอนของท่านพุทธทาสทั้งในยามจำวัดและยามอาพาธให้ชม พร้อมพาชมสวนโมกข์แบบเจาะลึก โดยสอดแทรกหลักธรรมคำสอนตลอด ไม่เว้นแม่แต่การถูกยุงกัด พระสิงห์ทองยังอธิบายเป็นหลักธรรมลึกซึ้งกินใจได้
เรียกว่าสำหรับบรรพชิตอย่างพระสิงห์ทอง ธรรมะมีอยู่ทุกหนแห่งเพียงแต่ฆราวาสอย่างเราๆท่านๆจะมีดวงตาเห็นธรรมหรือเปล่า
สำหรับจุดที่ท่านเน้นเป็นพิเศษและให้ผมขบคิดอย่างหนักก็เห็นจะเป็นที่โรงมหรสพทางวิญญาณหรือโรงหนังที่มีภาพปริศนาธรรมมากมายให้ขบคิด ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มภาพเซน กลุ่มภาพโลกและปรัชญา กลุ่มภาพสุภาษิต กลุ่มภาพเกี่ยวกับโทสะ โมหะ เป็นต้น ซึ่งท่านพุทธทาสเคยปรารภไว้ว่า “ดูให้ออกสักเรื่องก็คุ้มค่าที่มาที่นี่”
บางภาพดูแล้วก็ตีความเข้าใจได้ง่ายๆอย่างภาพ ต้นไม้ที่อธิบายว่า ในโลกนี้มีพุทธศาสนาเพื่อเข่นฆ่าสิ่งเหล่านี้มิให้เหลือ อาทิ เข่นฆ่าความเมาตำรา เมาอาจารย์ ความหลอกลวง เมาโชคชะตาราศีเป็นต้น หรือภาพ “นางเบ็ด”ที่ดูอีโรติกนิดๆพร้อมคำอธิบายข้างหลังภาพที่สะท้อนความจริงในสังคมยุคนี้ให้เห็น
บางภาพแม้ผมจะดูไม่รู้เรื่อง แต่ว่ากลับเป็นภาพจิตกรรมที่มีคุณค่าทางศิลปะไม่น้อยเลย
ส่วนภาพที่ดูเข้าใจยากก็เห็นจะเป็นภาพแนวเซ็นที่ต้องใช้ความคิดพินิจพิเคราะห์ในการตีความ
นอกจากนี้ยังมีบทกลอนคำสอนของท่านพุทธทาสให้ศึกษากันอีกพอประมาณ อย่างกลอน “มองตัวเองบ้าง” ที่สุดแสนคลาสสิคและคมคาย
เห็นเขามี เลวบ้าง ช่างหัวเขา
มองตัวเรา มีเลวบ้าง อย่างเขาไหม?
จะนินทา ฤษยา เขาทำไม
รีบแก้ไข ชั่วของเรา ให้เบาบาง
มองเขาชั่ว มันมาชั่ว ที่ตัวเรา
ชั่วของเขา เพิ่มให้เรา ไม่รู้สร่าง
มองแต่ดี, ชั่วของเรา ค่อยเพลาจาง
เพราะอางขนาง ที่เขามี ดีกว่าเรา ฯ
ถ้ามองดี ของตัว ต้องระวัง
มักจะพลั่ง เกินงาม ด้วยความเขลา-
ให้ตัวดี จนเกินดี, มีแต่ เงา
เอาจริงเข้า ก็เปล่า, เราหมดดี ฯ
ในขณะที่ภาพซึ่งถือเป็นศูนย์รวมเป็นที่สุดก็คือ ภาพวงกลมสีขาวที่ไม่มีอะไรเลย มีแต่“ความว่าง”เท่านั้น แต่ในความว่างนั่นแหละคือธรรมอันสูงส่งที่ท่านพุทธทาสเน้นอยู่เสมอ
เป็นอยู่ด้วยความว่าง ไม่มีสัญญาณว่าตัวตน : ว่างยิ่งกว่าเงา! ผู้สัมผัส สิ่งถูกสัมผัส ทางสัมผัส ล้วนแต่ว่าง ไม่มีอิทธิพล แห่งสมมติ หรือบัญญัติใดๆ ครอบงำจิต ว่างยิ่งกว่าลม ลอยไป ผ่านอารมณ์หรือผ่านสัมผัสนั้นๆ
พุทธทาสภิกขุ
ผมยืนเพ่งวงกลมสีขาวที่ว่างเปล่าด้วยจิตที่ไม่ว่าง พร้อมกับรู้สึกว่า“ความว่าง” คำๆนี้แม้สั้นง่าย แต่กลับยากมากถึงมากที่สุดที่มนุษย์ปุถุชนจะเข้าถึงและปฏิบัติได้
3...
หลังกลับออกจากสวนโมกข์ แม้ผมคนกิเลสหนาจะไม่ได้ธรรมะแบบเป็นเรื่องเป็นราวกลับออกไป แต่ผมก็พบว่า ในโลกที่สับสนวุ่นวายนั้น ยังมีสวนโมกข์เป็นหนึ่งในที่พักพิงสำหรับผู้ที่ต้องการความสงบและความเย็น
เป็นความเย็นจากภายใน ที่แม้ภายนอก รอบข้าง จะสับสนวุ่นวายร้อนรุ่มร้อนเร่า แต่ภายในกลับไร้ซึ่งความร้อนรุ่มกระวนกระวายใดๆ