โดย : ปิ่น บุตรี
น้ำตาประชาชนท้นประเทศ
เมื่อคามเขตถูกโจรมันปล้นหาย
"พระวิหาร"และผืนขอบที่รอบราย
สองห้าห้าหนึ่ง จารึกไว้ "รัฐบาลไทยขายแผ่นดิน"!!!
-เจิมใจ แย้มผกา-
8 ก.ค. 51
หลังยูเนสโกประกาศการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชาแต่เพียงฝ่ายเดียว
เหตุการณ์นี้ คนเขมรดีใจ คนไทยน้ำตาซึม ผู้เฒ่าผู้แก่บางคนถึงกับร่ำไห้
ในขณะที่ไอ้เหล่ สัปดน ปัสวะ คงยิ้มร่า เพราะสามารถปิดจ็อบได้ตามประสงค์
ไอ้เหลี่ยม ทรราช ก็ยิ้มเพราะอีกไม่นานธุรกิจของมันจะไปสยายปีกในประเทศเพื่อนบ้าน
ไอ้นักวิชาการ“ใจ”หมาก็ยิ้ม ไอ้นักวิชาการธงชั่ว มั่วมั่กๆก็ยิ้ม เพราะเรื่องนี้ไปเข้าทางบทความของมัน
แต่ไอ้ชมพู่ หน้าหมู ปากหมา กลับไม่ยิ้ม หากแต่สำรากออกมาพร้อมสายตาที่ขวางเหมือนหมาบ้าว่า “ปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก มันจะเป็นจะตายกันหรือไงวะ ไอ้หอกหัก!?!“
เรื่องนี้คงป่วยการที่จะถามคนพวกนี้ว่าเป็นคนไทยหรือเปล่า เนื่องจากพฤติกรรมขายชาติมันเด่นชัดอยู่แล้ว
แต่กระนั้นกับคนไทยผู้รักชาติ รักแผ่นดิน ที่เศร้าใจไปกับการเหตุการณ์พระวิหารทั้งหลายก็อย่าได้ไปโกรธเกลียดคนเขมรจนกลายเป็นน้ำผึ้งหยดเดียวไป เพราะเรื่องนี้ประชาชนทั่วไปทั้งไทยและเขมรไม่ได้เกี่ยวข้องด้วย หากแต่มันเกิดจากนักการเมืองชั่วเพียงไม่กี่คนที่นำเรื่องปราสาทพระวิหารไปอิงกับผลประโยชน์ส่วนตัว ทั้งๆที่แนวคิดเริ่มต้นในการสร้างเทวสถานพระวิหารนั้นถือว่าน่ายกย่องเป็นอย่างยิ่ง
นักวิชาการส่วนหนึ่งเชื่อว่า ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 9 กษัตริย์ยโศวรมันที่ 1 ได้เริ่มต้นสร้างเทวสถานพระวิหารขึ้นบนยอดเขาพนมดงรักเพื่อเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ให้ผู้คนในละแวกนี้ได้สักการะบูชา โดยไม่มีการแบ่งแยกในเชื้อชาติหากแต่มีศรัทธาเป็นที่ตั้ง ซึ่งในหนังสือ เมืองประวัติศาสตร์ : เมืองพิมาย เขาพระวิหาร เมืองอุบล เมืองศรีสัชนาลัย โดย รศ.ดร.ธิดา สาระยา ได้เขียนถึงแนวคิดในการสร้างเทวสถานพระวิหารว่า
...ปราสาทพระวิหารบนทิวเขาดงรัก คือประจักษ์พยานของความพยายามที่จะสร้างสมานฉันท์ทางวัฒนธรรมและการเมืองแต่ครั้งอดีตของผู้คนในบริเวณที่ราบสูงโคราชซึ่งอยู่ในดินแดนประเทศไทย และบริเวณที่ราบต่ำของขอมซึ่งอยู่ในบริเวณประเทศกัมพูชาปัจจุบัน...
และ...กษัตริย์ขอมโบราณหลายพระองค์ได้เห็นความสำคัญในการที่จะสร้างสมานฉันท์ทางวัฒนธรรมความเชื่อและการเมืองในหมู่คนสองบริเวณนี้...
หรือ...ในอดีตปราสาทพระวิหาร คือที่ซึ่งคนทุกชาติทุกเผ่าไปจาริกแสวงบุญ และในบางช่วงเวลาที่แห่งนี้รกร้างอยู่กับป่าและขุนเขา พรานป่าและคนส่วยอาจแวะเวียนมาเป็นครั้งคราวขณะที่แหล่งที่ตั้งของปราสาทกลับกลายมาอยู่ตรงรอยต่อทางวัฒนธรรมของประชาชาติ 2 กลุ่ม ซึ่งมีวิวัฒนาการของความเป็นรัฐชาติแยกห่างกันทุกที ชาวไทยในประเทศไทยและชาวเขมรในประเทศกัมพูชา...
ด้วยเหตุนี้เทวสถานพระวิหารจึงเป็นดังวิหารสวรรค์บนยอดเขาอันสวยงามที่เปิดโอกาสให้คนทุกชาติทุกเผ่าในละแวกนี้ขึ้นไปจาริกแสวงบุญ
แต่อนิจจาหลังการเข้ามาของจักรวรรดินิยมในยุคล่าอานานิคม ฝรั่งเศสได้หยิบยกเขาพระวิหารขึ้นมาเป็นหนึ่งในเกมผลประโยชน์แห่งอินโดจีน โดยฝรั่งเศสได้จุดชนวนเรื่องเขาพระวิหารขึ้นในปี พ.ศ. 2492 และชักใยอยู่เบื้องหลังกัมพูชาจนนำมาซึ่งความร้าวรานของ 2 ประเทศ ก่อนนำไปสู่เหตุการณ์เสียตัวปราสาทพระวิหารของไทยในปี พ.ศ. 2505
งานนี้เห็นได้ชัดว่า 2 ชาติไทย-กัมพูชา เขาพระวิหารกลายเป็นหนึ่งในเกมผลประโยชน์ที่ชาติตะวันตกกำหนดขึ้น
แต่ถึงกระนั้นเมื่อเวลาผันผ่านจากปี พ.ศ. 2505 ความสัมพันธ์ของไทย-เขมร ทางฝั่งเขาพระวิหารก็เริ่มดีขึ้น ประชาชนไปมาหาสู่ พึ่งพาอาศัย คบค้ากันตามอัตภาพ โดยเฉพาะในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาที่ 2 ประเทศเปิดเขาพระวิหารเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ซึ่งผมได้มีโอกาสขึ้นไปเยือนมา 2 ครั้ง และพบเจอภาพอันน่าเห็นใจของคนเขมรผู้ยากไร้ที่ทำมาหากินอยู่แถวนั้น โดยเฉพาะเด็กที่วิ่งขายโปสการ์ดให้กับนักท่องเที่ยวนี่ ผมว่าน่าเห็นใจมาก เนื่องจากเหตุที่พวกเขาต้องประสบชะตากรรมทุกข์ยากเช่นนี้ก็เนื่องมาจากเกมการแย่งชิงอำนาจในประเทศของเขาที่ไม่วาอย่างไร ผู้นำก็เสวยสุขสบายไป ส่วนประชาชนก็บอบช้ำรับชะตากรรมความเลวร้ายของผู้นำไปตามระเบียบ
ที่เขาพระวิหารผมได้พบกับ สะไล นะ เด็กหญิงขายโปสการ์ดที่ใสซื่อ เธอมาวิ่งตามขายโปสการ์ดผม พร้อมความเข้าใจผิดคิดว่าผมเป็นดาราเขมร(สงสัยหน้าผมจะหล่อในสไตล์เขมรแฮะ) ก่อนที่จะเป็นไกด์พาผมไปชมโน่น ชมนี่ เกิดเป็นความทรงจำดีๆปนความเศร้าบนเขาพระวิหาร ซึ่งแรกที่ได้ข่าวว่าไทยและกัมพูชามีความพยายามพัฒนาเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกร่วมกันใน ปี พ.ศ. 2547 ก็รู้สึกยินดียิ่ง
งานนี้เรื่องทำท่าจะไปด้วยดี ถ้าไม่มีผู้นำบางคนของ 2 ประเทศนำเขาพระวิหารมาเป็นเค้กแห่งผลประโยชน์อีกครั้ง โดยผู้นำเขมรต้องการนำเรื่องเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกมาหาเสียงเลือกตั้งเพื่อให้ได้เป็นผู้นำสูงสุดอีกสมัย ในขณะที่อดีตผู้นำไทยก็ใช้เขาพระวิหารต่อรองผลประโยชน์เพื่อแลกกับการทำธุรกิจในอ่าวไทยและเกาะกง
“ถ้านักการเมืองไม่เอาเรื่องเขาพระวิหารมาหาเสียงหวังชนะเลือกตั้ง และนักการเมืองไทยไม่รับลูก เร่งรีบเอื้อประโยชน์ให้นักการเมืองกัมพูชาบรรลุเป้าหมายจะเพ่ออะไรก็ตามแต่ ความวุ่นวายทั้งในประเทศไทยและกัมพูชาก็คงไม่เกิดขึ้น เพราะที่ผ่านมาประชาชนทั้งสองประเทศก็อยู่กันมาด้วยดีแบบพึ่งพาอาศัยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน”
รศ.ดร.โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ กล่าวไว้ใน "ปมยื้อเขาพระวิหาร ชิ้นเค้กของการเมือง" (สกู๊ปหน้า 1 ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 9 ก.ค.51)
เรียกได้ว่างานนี้ผู้นำสมประโยชน์แต่ประชาชนคนไทยผู้รักชาติ รักแผ่นดิน กลับต้องชอกช้ำอันเนื่องมาจากพฤติกรรมขายชาติของบางคน ซึ่งผมขอย้ำอีกครั้งว่าเหตุการณ์เขาพระวิหารครั้งนี้มิใช่เป็นความขัดแย้งของประชาชนคนไทยกับประชาชนเขมร เพราะฉะนั้นเราต้องไม่นำกรณีปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกไปสร้างความเกลียดชังโกรธแค้นต่อประเทศเพื่อนบ้าน เพราะจะว่าไปประชาชนทั้ง 2 ประเทศ(ไทย-เขมร)ต่างก็ประสบชะตากรรมคล้ายกัน คือมีนักการเมืองร่วมโกงกินผลประโยชน์ของชาติเพื่อนำไปสู่ผลประโยชน์ส่วนตน
นับเป็นเรื่องที่น่าเศร้าเป็นอย่างยิ่งที่บ้านนี้เมืองนี้ มีนักการเมืองเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าผลประโยชน์ของชาติของแผ่นดินขึ้นมาบริหารประเทศ ซึ่งเรื่องนี้จำเป็นที่คนไทยผู้รักชาติ รักแผ่นดิน ต้องช่วยกันบันทึกชื่อของพวกขายชาติ ขายแผ่นดิน ให้คนรุ่นต่อๆไปได้รู้กันว่าพวกมันมีลักษณะอัปลักษณ์อย่างไร
แน่นอนว่าส่วนใหญ่คงบันทึกออกมาคล้ายๆกัน
คือหนึ่งเหล่และหนึ่งเหลี่ยมนั่นเอง!?!
อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง
ชีวิตต้องสู้ ของเด็กขายโปสการ์ดแห่ง“เขาพระวิหาร”
น้ำตาประชาชนท้นประเทศ
เมื่อคามเขตถูกโจรมันปล้นหาย
"พระวิหาร"และผืนขอบที่รอบราย
สองห้าห้าหนึ่ง จารึกไว้ "รัฐบาลไทยขายแผ่นดิน"!!!
-เจิมใจ แย้มผกา-
8 ก.ค. 51
หลังยูเนสโกประกาศการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชาแต่เพียงฝ่ายเดียว
เหตุการณ์นี้ คนเขมรดีใจ คนไทยน้ำตาซึม ผู้เฒ่าผู้แก่บางคนถึงกับร่ำไห้
ในขณะที่ไอ้เหล่ สัปดน ปัสวะ คงยิ้มร่า เพราะสามารถปิดจ็อบได้ตามประสงค์
ไอ้เหลี่ยม ทรราช ก็ยิ้มเพราะอีกไม่นานธุรกิจของมันจะไปสยายปีกในประเทศเพื่อนบ้าน
ไอ้นักวิชาการ“ใจ”หมาก็ยิ้ม ไอ้นักวิชาการธงชั่ว มั่วมั่กๆก็ยิ้ม เพราะเรื่องนี้ไปเข้าทางบทความของมัน
แต่ไอ้ชมพู่ หน้าหมู ปากหมา กลับไม่ยิ้ม หากแต่สำรากออกมาพร้อมสายตาที่ขวางเหมือนหมาบ้าว่า “ปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก มันจะเป็นจะตายกันหรือไงวะ ไอ้หอกหัก!?!“
เรื่องนี้คงป่วยการที่จะถามคนพวกนี้ว่าเป็นคนไทยหรือเปล่า เนื่องจากพฤติกรรมขายชาติมันเด่นชัดอยู่แล้ว
แต่กระนั้นกับคนไทยผู้รักชาติ รักแผ่นดิน ที่เศร้าใจไปกับการเหตุการณ์พระวิหารทั้งหลายก็อย่าได้ไปโกรธเกลียดคนเขมรจนกลายเป็นน้ำผึ้งหยดเดียวไป เพราะเรื่องนี้ประชาชนทั่วไปทั้งไทยและเขมรไม่ได้เกี่ยวข้องด้วย หากแต่มันเกิดจากนักการเมืองชั่วเพียงไม่กี่คนที่นำเรื่องปราสาทพระวิหารไปอิงกับผลประโยชน์ส่วนตัว ทั้งๆที่แนวคิดเริ่มต้นในการสร้างเทวสถานพระวิหารนั้นถือว่าน่ายกย่องเป็นอย่างยิ่ง
นักวิชาการส่วนหนึ่งเชื่อว่า ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 9 กษัตริย์ยโศวรมันที่ 1 ได้เริ่มต้นสร้างเทวสถานพระวิหารขึ้นบนยอดเขาพนมดงรักเพื่อเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ให้ผู้คนในละแวกนี้ได้สักการะบูชา โดยไม่มีการแบ่งแยกในเชื้อชาติหากแต่มีศรัทธาเป็นที่ตั้ง ซึ่งในหนังสือ เมืองประวัติศาสตร์ : เมืองพิมาย เขาพระวิหาร เมืองอุบล เมืองศรีสัชนาลัย โดย รศ.ดร.ธิดา สาระยา ได้เขียนถึงแนวคิดในการสร้างเทวสถานพระวิหารว่า
...ปราสาทพระวิหารบนทิวเขาดงรัก คือประจักษ์พยานของความพยายามที่จะสร้างสมานฉันท์ทางวัฒนธรรมและการเมืองแต่ครั้งอดีตของผู้คนในบริเวณที่ราบสูงโคราชซึ่งอยู่ในดินแดนประเทศไทย และบริเวณที่ราบต่ำของขอมซึ่งอยู่ในบริเวณประเทศกัมพูชาปัจจุบัน...
และ...กษัตริย์ขอมโบราณหลายพระองค์ได้เห็นความสำคัญในการที่จะสร้างสมานฉันท์ทางวัฒนธรรมความเชื่อและการเมืองในหมู่คนสองบริเวณนี้...
หรือ...ในอดีตปราสาทพระวิหาร คือที่ซึ่งคนทุกชาติทุกเผ่าไปจาริกแสวงบุญ และในบางช่วงเวลาที่แห่งนี้รกร้างอยู่กับป่าและขุนเขา พรานป่าและคนส่วยอาจแวะเวียนมาเป็นครั้งคราวขณะที่แหล่งที่ตั้งของปราสาทกลับกลายมาอยู่ตรงรอยต่อทางวัฒนธรรมของประชาชาติ 2 กลุ่ม ซึ่งมีวิวัฒนาการของความเป็นรัฐชาติแยกห่างกันทุกที ชาวไทยในประเทศไทยและชาวเขมรในประเทศกัมพูชา...
ด้วยเหตุนี้เทวสถานพระวิหารจึงเป็นดังวิหารสวรรค์บนยอดเขาอันสวยงามที่เปิดโอกาสให้คนทุกชาติทุกเผ่าในละแวกนี้ขึ้นไปจาริกแสวงบุญ
แต่อนิจจาหลังการเข้ามาของจักรวรรดินิยมในยุคล่าอานานิคม ฝรั่งเศสได้หยิบยกเขาพระวิหารขึ้นมาเป็นหนึ่งในเกมผลประโยชน์แห่งอินโดจีน โดยฝรั่งเศสได้จุดชนวนเรื่องเขาพระวิหารขึ้นในปี พ.ศ. 2492 และชักใยอยู่เบื้องหลังกัมพูชาจนนำมาซึ่งความร้าวรานของ 2 ประเทศ ก่อนนำไปสู่เหตุการณ์เสียตัวปราสาทพระวิหารของไทยในปี พ.ศ. 2505
งานนี้เห็นได้ชัดว่า 2 ชาติไทย-กัมพูชา เขาพระวิหารกลายเป็นหนึ่งในเกมผลประโยชน์ที่ชาติตะวันตกกำหนดขึ้น
แต่ถึงกระนั้นเมื่อเวลาผันผ่านจากปี พ.ศ. 2505 ความสัมพันธ์ของไทย-เขมร ทางฝั่งเขาพระวิหารก็เริ่มดีขึ้น ประชาชนไปมาหาสู่ พึ่งพาอาศัย คบค้ากันตามอัตภาพ โดยเฉพาะในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาที่ 2 ประเทศเปิดเขาพระวิหารเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ซึ่งผมได้มีโอกาสขึ้นไปเยือนมา 2 ครั้ง และพบเจอภาพอันน่าเห็นใจของคนเขมรผู้ยากไร้ที่ทำมาหากินอยู่แถวนั้น โดยเฉพาะเด็กที่วิ่งขายโปสการ์ดให้กับนักท่องเที่ยวนี่ ผมว่าน่าเห็นใจมาก เนื่องจากเหตุที่พวกเขาต้องประสบชะตากรรมทุกข์ยากเช่นนี้ก็เนื่องมาจากเกมการแย่งชิงอำนาจในประเทศของเขาที่ไม่วาอย่างไร ผู้นำก็เสวยสุขสบายไป ส่วนประชาชนก็บอบช้ำรับชะตากรรมความเลวร้ายของผู้นำไปตามระเบียบ
ที่เขาพระวิหารผมได้พบกับ สะไล นะ เด็กหญิงขายโปสการ์ดที่ใสซื่อ เธอมาวิ่งตามขายโปสการ์ดผม พร้อมความเข้าใจผิดคิดว่าผมเป็นดาราเขมร(สงสัยหน้าผมจะหล่อในสไตล์เขมรแฮะ) ก่อนที่จะเป็นไกด์พาผมไปชมโน่น ชมนี่ เกิดเป็นความทรงจำดีๆปนความเศร้าบนเขาพระวิหาร ซึ่งแรกที่ได้ข่าวว่าไทยและกัมพูชามีความพยายามพัฒนาเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกร่วมกันใน ปี พ.ศ. 2547 ก็รู้สึกยินดียิ่ง
งานนี้เรื่องทำท่าจะไปด้วยดี ถ้าไม่มีผู้นำบางคนของ 2 ประเทศนำเขาพระวิหารมาเป็นเค้กแห่งผลประโยชน์อีกครั้ง โดยผู้นำเขมรต้องการนำเรื่องเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกมาหาเสียงเลือกตั้งเพื่อให้ได้เป็นผู้นำสูงสุดอีกสมัย ในขณะที่อดีตผู้นำไทยก็ใช้เขาพระวิหารต่อรองผลประโยชน์เพื่อแลกกับการทำธุรกิจในอ่าวไทยและเกาะกง
“ถ้านักการเมืองไม่เอาเรื่องเขาพระวิหารมาหาเสียงหวังชนะเลือกตั้ง และนักการเมืองไทยไม่รับลูก เร่งรีบเอื้อประโยชน์ให้นักการเมืองกัมพูชาบรรลุเป้าหมายจะเพ่ออะไรก็ตามแต่ ความวุ่นวายทั้งในประเทศไทยและกัมพูชาก็คงไม่เกิดขึ้น เพราะที่ผ่านมาประชาชนทั้งสองประเทศก็อยู่กันมาด้วยดีแบบพึ่งพาอาศัยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน”
รศ.ดร.โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ กล่าวไว้ใน "ปมยื้อเขาพระวิหาร ชิ้นเค้กของการเมือง" (สกู๊ปหน้า 1 ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 9 ก.ค.51)
เรียกได้ว่างานนี้ผู้นำสมประโยชน์แต่ประชาชนคนไทยผู้รักชาติ รักแผ่นดิน กลับต้องชอกช้ำอันเนื่องมาจากพฤติกรรมขายชาติของบางคน ซึ่งผมขอย้ำอีกครั้งว่าเหตุการณ์เขาพระวิหารครั้งนี้มิใช่เป็นความขัดแย้งของประชาชนคนไทยกับประชาชนเขมร เพราะฉะนั้นเราต้องไม่นำกรณีปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกไปสร้างความเกลียดชังโกรธแค้นต่อประเทศเพื่อนบ้าน เพราะจะว่าไปประชาชนทั้ง 2 ประเทศ(ไทย-เขมร)ต่างก็ประสบชะตากรรมคล้ายกัน คือมีนักการเมืองร่วมโกงกินผลประโยชน์ของชาติเพื่อนำไปสู่ผลประโยชน์ส่วนตน
นับเป็นเรื่องที่น่าเศร้าเป็นอย่างยิ่งที่บ้านนี้เมืองนี้ มีนักการเมืองเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าผลประโยชน์ของชาติของแผ่นดินขึ้นมาบริหารประเทศ ซึ่งเรื่องนี้จำเป็นที่คนไทยผู้รักชาติ รักแผ่นดิน ต้องช่วยกันบันทึกชื่อของพวกขายชาติ ขายแผ่นดิน ให้คนรุ่นต่อๆไปได้รู้กันว่าพวกมันมีลักษณะอัปลักษณ์อย่างไร
แน่นอนว่าส่วนใหญ่คงบันทึกออกมาคล้ายๆกัน
คือหนึ่งเหล่และหนึ่งเหลี่ยมนั่นเอง!?!
อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง
ชีวิตต้องสู้ ของเด็กขายโปสการ์ดแห่ง“เขาพระวิหาร”