โดย : เหล็งฮู้ชง
แม้ไม่ใช่ 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก แต่มหาเจดีย์“บุโรพุทโธ”(โบโรบูดูร์(Borobudur) หรือบรมพุทโธ)ก็จัดได้ว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ในระดับน้องๆของสิ่งมหัศจรรย์แห่งโลก ในขณะที่ชาวอินโดนีเซียนต่างยกให้มหาเจดีย์แห่งนี้เป็นสิ่งมหัศจรรย์สำคัญของประเทศและเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของอินโดนีเซีย
จากจาการ์ต้า เมืองหลวงของอินโดฯ(ได้นำเสนอข้อมูลบางส่วนของเมืองนี้ไปในตอนที่แล้ว) ผมเดินทางด้วยสายการบินราคาประหยัดในประเทศ(อินโดฯแอร์ เอเชีย)มุ่งหน้าสู่สนามบินเมืองโซโล เพื่อจะเดินทางต่อด้วยรถบัสต่อสู่เมือง ยอกยาการ์ตา(Yogyakata) หรือยอกยา เมืองเก่าแก่ศูนย์กลางศิลปวัฒนธรรมชวาอันเป็นที่ตั้งของบุโรพุทธโธอันลือลั่น
แต่ว่าก่อนจะไปถึงยังบุโรพุทโธไฮไลท์สำคัญของทริปนี้ เราไปแวะเที่ยวที่“วิหารปรัมบานัน”(Candi Prambanan)กันก่อน
วิหารปรัมบานัน ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านปรัมบานัน ทางทิศตะวันออกของเมืองยอกยา ปรัมบานันเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าบุโรพุทโธ เพราะเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดูที่ใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย
วิหารแห่งนี้มีเทวาลัยหลักขนาดใหญ่ 3 หลังด้วยกัน คือ องค์ประธานหลังกลางที่ใหญ่ที่สุด เด่นที่สุด และสูงที่สุด(ประมาณ 47 เมตร) เป็นเทวาลัยที่สร้างขึ้นถวายแด่พระอิศวร อีก 2 หลังเล็กลงมา แบ่งเป็นเทวาลัยทิศเหนือที่สร้างถวายแด่พระนารายณ์ และเทวาลัยทิศใต้ที่สร้างขึ้นถวายแด่พระพรหม
นอกจากนี้ปรัมบานันยังมีเทวาลัยขนาดเล็กรายรอบอีกร่วม 250 หลังเป็นองค์ประกอบ รวมไปถึงรูปปั้นรูปสลักอีกมากมาย ซึ่งด้วยความเก่า ความเก๋า ความขลัง ความงาม ความยิ่งใหญ่อลังการ และความสำคัญแห่งรอยอดีตในศาสนาฮินดู ทำให้วิหารปรัมบานันได้รับการยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก ในปี ค.ศ.1991
หลังซึมซับความยิ่งใหญ่อลังการของวิหารปรัมบานันกันจนถึงเวลาอันควรแล้ว ผมก็ออกเดินทางต่อไปยังบุโรพุทโธในเขต Magelan ในทันที
ประมาณ 1 ชั่วโมงต่อจากนั้น ผมได้มายืนยังบริเวณทางเข้าบุโรพุทโธที่แหงนหน้ามองขึ้นไปเห็นบุโรพุทโธที่ตั้งตระหง่านโดดเด่นเป็นสง่าบนเนินดินธรรมชาติอยู่ลิบๆ ครับ...เมื่อเห็นอย่างนั้นเราก็ไม่รอช้ารีบจ้ำอ้าวก้าวเดินเข้าสู่มหาเจดีย์บุโรพุทโธอย่างไม่รีรอ
ระหว่างทางมีคนเดินสวนขึ้น-ลง เจดีย์กันขวักไขว่ดูไม่ต่างอะไรกับงานมหกรรมย่อยๆเลย เพราะวันนั้นเป็นวันเสาร์ จึงมีนักเรียน นักศึกษา ประชาชน และนักท่องเที่ยว มาเที่ยวชมบุโรพุทโธกันอย่างเนื่องแน่น ซึ่งนี่ถือเป็นการการันตีความยิ่งใหญ่ของมหาเจดีย์แห่งนี้ได้เป็นอย่างดี
สำหรับมหาเจดีย์แห่งนี้ ไกด์ประจำบุโรพุทโธอธิบายให้ผมฟังว่า นี่เป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างเชิดหน้าชูตาอย่างยิ่งแห่งอินโดนีเซีย ได้รับการยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกในปี ค.ศ. 1991
ตามประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าบุโรพุทโธน่าจะสร้างขึ้นในระหว่าง ค.ศ. 778 ถึง 850 โดยกษัตริย์ราชวงศ์ไศเลนทร์
บุโรพุทโธเป็นงานพุทธสถานแบบฮินดูชวาที่ผสมผสานศิลปะแบบอินเดียกับอินโดนีเซียให้เข้ากันได้อย่างกลมกลืนลงตัว องค์เจดีย์มีลักษณะเป็นรูปทรงดอกบัว(สื่อถึงสัญลักษณ์แห่งพุทธศาสนา) ส่วนแผนผังนั้นเชื่อว่าน่าจะหมายถึงคติจักรวาลและอำนาจของพระพุทธเจ้า อันได้แก่พระพุทธเจ้าผู้สร้างโลกตามคติพุทธมหายาน นอกจากนี้บุโรพุทโธยังมีความลี้ลับบางประการทั้งทางการก่อสร้างและการสื่อสัญลักษณ์ที่ ณ วันนี้ ยังรอให้นักวิชาการได้ค้นคว้าศึกษาตีความกันต่อไป
บุโรพุทโธแบ่งเป็น 3 ชั้นหลักด้วยกัน ซึ่งเปรียบเหมือนชีวิตที่แบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ กามาธาตุ(กามธาตุ) รูปธาตุ และอรูปธาตุ
เอาล่ะ เมื่อรู้เรื่องราวคร่าวๆของมหาเจดีย์แห่งนี้แล้ว ทีนี้ก็ได้เวลาลุยถั่วชมบุโรพุทโธกันแล้ว
จุดแรกก่อนขึ้นไปยังมหาเจดีย์ ผมเดินไปหามุมถ่ายรูปตามแสงบริเวณสนามหญ้ารอบๆก่อนเดินละเลียดสำรวจชมซุ้มพระพุทธรูปมากมาย จากนั้นจึงเดินหน้าต่อไปสู่มหาเจดีย์ชั้นแรก คือ กามาธาตุหรือขั้นตอนที่มนุษย์ยังผูกพันอย่างใกล้ชิดกับความสุขและความร่ำรวยทางโลก ชั้นนี้เปรียบเสมือนส่วนฐานของเจดีย์ มีภาพสลักหินนูนต่ำกว่า 160 ภาพให้เดินชมได้โดยรอบ โดยภาพที่เด่นๆชวนชมในชั้นนี้ก็มี ภาพวิถีชีวิตประจำวันของชาวชวา ภาพแสดงถึงบาปบุญคุณโทษ กฎแห่งกรรมต่างๆ เป็นต้น
แต่ถ้าใครอยากชมภาพสลักหินนูนต่ำอย่างหลากหลาย ขอแนะนำว่าที่ชั้น 2 หรือชั้น รูปธาตุ ที่เปรียบเสมือนขั้นตอนการหลุดพ้นจากกิเลสในทางโลกของมนุษย์เพียงบางส่วน ที่ชั้นนี้มีภาพสลักสวยๆงามๆบนระเบียงให้ชมกันเพียบถึง 1,400 ภาพ(ยาวทั้งหมดเกือบ 4 กม.) ภาพในชั้นนี้ส่วนใหญ่จะเป็นภาพพุทธประวัติที่ได้รับอิทธิพลศิลปะอินเดียในสมัยหลังยุคคุปตะ เน้นการสลักภาพบุคคลที่ดูค่อนข้างอวบอ้วนแต่แฝงความสงบอยู่ในที
อนึ่งการเดินขึ้นชมบุโรพุทโธนั้นผมว่าแค่พอเหงื่อซึมเท่านั้น ไม่ถึงกับเหนื่อยหนาสาหัส ซึ่งเมื่อเดินต่อไปก็จะสู่ชั้นไฮไลท์ในชั้น 3 หรือชั้น อรูปธาตุ ที่เปรียบเสมือนการหลุดพ้นของมนุษย์ ไม่ผูกพันใดๆในทางโลกอีกต่อไป
บนชั้น 3 มีฐานเป็นลานทรงกลม เจดีย์เล็ก ๆ 3 แถว 72 องค์รายล้อมรอบเจดีย์องค์ใหญ่(แถวแรก 16 องค์, แถวสอง 24 องค์,แถวสาม 32 องค์) ซึ่งมีหลายคนตีความว่าอาจจะสื่อถึงการหลุดพ้นใน 3 ระดับคือ นิพพาน ปรินิพพาน และมหานิพพาน ส่วนเจดีย์องค์ใหญ่ยักษ์ตรงกลางนั้นน่าจะหมายถึงแกนจักรวาล
สำหรับเจดีย์องค์เล็กๆจำนวนมาก บนชั้น 3 นี้ หากสังเกตดีๆจะพบว่ามีลักษณะค่อนข้างต่างไปจากเจดีย์บ้านเรา คือเป็นเจดีย์ยอดตัด(ไม่ใช่ยอดแหลมเหมือนบ้านเรา) และเป็นเจดีย์โปร่ง ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปนั่งปางมารวิชัย ซึ่งถือเป็นเกราะกำบังการลักลอบตัดเศียร และการทำลายพระพุทธรูปได้เป็นอย่างดี
แต่กระนั้นก็มีเจดีย์อยู่ 2 จุด ที่พังทลายไปเผยให้เห็นองค์พระพุทธรูปภายใน ซึ่งตอนหลังกลายเป็นมุมถ่ายถ่ายรูปยอดฮิตของนักท่องเที่ยวไป ส่วนเจดีย์อีก 1 องค์ที่น่าสนใจไม่แพ้กันก็คือ เจดีย์ที่ผมเรียกว่า“เจดีย์พระพุทธอธิษฐาน” เพราะในเจดีย์องค์นั้นจะมีพระพุทธรูปที่ชาวอินโดฯเชื่อว่าศักดิ์สิทธิ์ สามารถลูบคลำอธิษฐานขอพรให้สมหวังได้ ส่วนใครเจ็บไข้ได้ป่วยตรงส่วนไหนของร่างกายก็ให้ลูบคลำตรงส่วนนั้น ซึ่งก็ทำให้พระพุทธรูปองค์นี้เริ่มเป็นมันเลื่อมๆแล้วเพราะมีคนมาลูบขอพรกันเป็นประจำ
นี่แหละความเชื่อความหวัง ไม่ว่าชาติไหนในโลกก็มีเหมือนกันทั้งนั้น
อ้อ!!! มีอย่างหนึ่งบนบุโรพุทโธที่อาจดูขัดตาชาวพุทธอย่างเราๆท่านๆนั่นก็คือ การที่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ทั้งชาวอินโดนีเซียนและชาวต่างชาติที่ไม่ใช่ชาวพุทธ ต่างปฏิบัติต่อองค์พระพุทธรูปเหมือนรูปปั้นทั่วไปไม่ใช่สิ่งศักดิ์สิทธิ์อย่างที่เรานับถือ แต่หากมองด้วยใจเป็นธรรมนั่นเป็นเพราะประชากรอินโดนีเซียนส่วนใหญ่เป็นมุสลิม(ส่วนนักท่องเที่ยวต่างชาติก็นับถือศาสนาอื่น) นอกจากนี้หากเรานำหลักคิดแบบพุทธมาเป็นแนวทางสิ่งที่เราเห็น ณ เบื้องหน้านี้ต่างเป็นสิ่งสมมติทั้งสิ้น
ส่วนถ้าใครมองโลกด้วยความเป็นจริงก็จะพบว่ามีบางสิ่งควรให้การยกย่องต่อชาวอินโดฯไม่น้อยเลย เพราะแม้ว่าส่วนใหญ่ชาวอินโดฯจะเป็นมุสลิม แต่ว่าพวกเขา(เท่าที่ได้สอบถามจากนักท่องเที่ยวหลายๆคน)ต่างก็ภาคภูมิใจในพุทธศาสนาสถานแห่งนี้ ไม่เพียงเท่านั้นพวกเขายังได้ดูแลรักษามหาเจดีย์บุโรพุทโธให้อยู่ในสภาพที่ค่อนข้างดี
ในขณะที่บ้านเราที่เป็นเมืองพุทธ แต่กลับปรากฏว่านับจากอดีตถึงปัจจุบันยังคงมีข่าวการทำร้าย ทำลาย พุทธศาสนสถานและศาสนสถานอื่นๆอยู่เสมอมา
อา...เพราะเหตุใดถึงเป็นเช่นนั้น!?!
*****************************************
บุโรพุทโธ เป็นศาสนสถานสำคัญของอินโดนีเซียตั้งอยู่ในเมืองยอกยาการ์ตา อู่วัฒนธรรมแห่งชวา ที่นอกจากปรัมบานันและบุโรพุทโธแล้วยังมีสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจ อาทิ ภูเขาไฟเมอร์ราพี, Kraton หรือวังสุลต่าน, วังตามันซารี ส่วนเมืองโซโลที่อยู่ใกล้เคียงนั้นก็ได้ชื่อว่าเป็นเมืองบาติก(ปาเต๊ะ)ที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก อินโดฯใช้เงินสกุลรูเปีย มีอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 1 บาท ประมาณ 250-300 รูปเปีย(ตามการขึ้นลงของค่าเงิน) เทียบเวลาตรงกับเมืองไทย ทั้งนี้ผู้สนใจข้อมูลท่องเที่ยวเกี่ยวกับอินโดนีเซียสามารถสอบถามได้ที่ สถานทูตอินโดนีเซียประจำประเทศไทย โทร. 0-2252-3135-9
แม้ไม่ใช่ 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก แต่มหาเจดีย์“บุโรพุทโธ”(โบโรบูดูร์(Borobudur) หรือบรมพุทโธ)ก็จัดได้ว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ในระดับน้องๆของสิ่งมหัศจรรย์แห่งโลก ในขณะที่ชาวอินโดนีเซียนต่างยกให้มหาเจดีย์แห่งนี้เป็นสิ่งมหัศจรรย์สำคัญของประเทศและเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของอินโดนีเซีย
จากจาการ์ต้า เมืองหลวงของอินโดฯ(ได้นำเสนอข้อมูลบางส่วนของเมืองนี้ไปในตอนที่แล้ว) ผมเดินทางด้วยสายการบินราคาประหยัดในประเทศ(อินโดฯแอร์ เอเชีย)มุ่งหน้าสู่สนามบินเมืองโซโล เพื่อจะเดินทางต่อด้วยรถบัสต่อสู่เมือง ยอกยาการ์ตา(Yogyakata) หรือยอกยา เมืองเก่าแก่ศูนย์กลางศิลปวัฒนธรรมชวาอันเป็นที่ตั้งของบุโรพุทธโธอันลือลั่น
แต่ว่าก่อนจะไปถึงยังบุโรพุทโธไฮไลท์สำคัญของทริปนี้ เราไปแวะเที่ยวที่“วิหารปรัมบานัน”(Candi Prambanan)กันก่อน
วิหารปรัมบานัน ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านปรัมบานัน ทางทิศตะวันออกของเมืองยอกยา ปรัมบานันเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าบุโรพุทโธ เพราะเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดูที่ใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย
วิหารแห่งนี้มีเทวาลัยหลักขนาดใหญ่ 3 หลังด้วยกัน คือ องค์ประธานหลังกลางที่ใหญ่ที่สุด เด่นที่สุด และสูงที่สุด(ประมาณ 47 เมตร) เป็นเทวาลัยที่สร้างขึ้นถวายแด่พระอิศวร อีก 2 หลังเล็กลงมา แบ่งเป็นเทวาลัยทิศเหนือที่สร้างถวายแด่พระนารายณ์ และเทวาลัยทิศใต้ที่สร้างขึ้นถวายแด่พระพรหม
นอกจากนี้ปรัมบานันยังมีเทวาลัยขนาดเล็กรายรอบอีกร่วม 250 หลังเป็นองค์ประกอบ รวมไปถึงรูปปั้นรูปสลักอีกมากมาย ซึ่งด้วยความเก่า ความเก๋า ความขลัง ความงาม ความยิ่งใหญ่อลังการ และความสำคัญแห่งรอยอดีตในศาสนาฮินดู ทำให้วิหารปรัมบานันได้รับการยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก ในปี ค.ศ.1991
หลังซึมซับความยิ่งใหญ่อลังการของวิหารปรัมบานันกันจนถึงเวลาอันควรแล้ว ผมก็ออกเดินทางต่อไปยังบุโรพุทโธในเขต Magelan ในทันที
ประมาณ 1 ชั่วโมงต่อจากนั้น ผมได้มายืนยังบริเวณทางเข้าบุโรพุทโธที่แหงนหน้ามองขึ้นไปเห็นบุโรพุทโธที่ตั้งตระหง่านโดดเด่นเป็นสง่าบนเนินดินธรรมชาติอยู่ลิบๆ ครับ...เมื่อเห็นอย่างนั้นเราก็ไม่รอช้ารีบจ้ำอ้าวก้าวเดินเข้าสู่มหาเจดีย์บุโรพุทโธอย่างไม่รีรอ
ระหว่างทางมีคนเดินสวนขึ้น-ลง เจดีย์กันขวักไขว่ดูไม่ต่างอะไรกับงานมหกรรมย่อยๆเลย เพราะวันนั้นเป็นวันเสาร์ จึงมีนักเรียน นักศึกษา ประชาชน และนักท่องเที่ยว มาเที่ยวชมบุโรพุทโธกันอย่างเนื่องแน่น ซึ่งนี่ถือเป็นการการันตีความยิ่งใหญ่ของมหาเจดีย์แห่งนี้ได้เป็นอย่างดี
สำหรับมหาเจดีย์แห่งนี้ ไกด์ประจำบุโรพุทโธอธิบายให้ผมฟังว่า นี่เป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างเชิดหน้าชูตาอย่างยิ่งแห่งอินโดนีเซีย ได้รับการยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกในปี ค.ศ. 1991
ตามประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าบุโรพุทโธน่าจะสร้างขึ้นในระหว่าง ค.ศ. 778 ถึง 850 โดยกษัตริย์ราชวงศ์ไศเลนทร์
บุโรพุทโธเป็นงานพุทธสถานแบบฮินดูชวาที่ผสมผสานศิลปะแบบอินเดียกับอินโดนีเซียให้เข้ากันได้อย่างกลมกลืนลงตัว องค์เจดีย์มีลักษณะเป็นรูปทรงดอกบัว(สื่อถึงสัญลักษณ์แห่งพุทธศาสนา) ส่วนแผนผังนั้นเชื่อว่าน่าจะหมายถึงคติจักรวาลและอำนาจของพระพุทธเจ้า อันได้แก่พระพุทธเจ้าผู้สร้างโลกตามคติพุทธมหายาน นอกจากนี้บุโรพุทโธยังมีความลี้ลับบางประการทั้งทางการก่อสร้างและการสื่อสัญลักษณ์ที่ ณ วันนี้ ยังรอให้นักวิชาการได้ค้นคว้าศึกษาตีความกันต่อไป
บุโรพุทโธแบ่งเป็น 3 ชั้นหลักด้วยกัน ซึ่งเปรียบเหมือนชีวิตที่แบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ กามาธาตุ(กามธาตุ) รูปธาตุ และอรูปธาตุ
เอาล่ะ เมื่อรู้เรื่องราวคร่าวๆของมหาเจดีย์แห่งนี้แล้ว ทีนี้ก็ได้เวลาลุยถั่วชมบุโรพุทโธกันแล้ว
จุดแรกก่อนขึ้นไปยังมหาเจดีย์ ผมเดินไปหามุมถ่ายรูปตามแสงบริเวณสนามหญ้ารอบๆก่อนเดินละเลียดสำรวจชมซุ้มพระพุทธรูปมากมาย จากนั้นจึงเดินหน้าต่อไปสู่มหาเจดีย์ชั้นแรก คือ กามาธาตุหรือขั้นตอนที่มนุษย์ยังผูกพันอย่างใกล้ชิดกับความสุขและความร่ำรวยทางโลก ชั้นนี้เปรียบเสมือนส่วนฐานของเจดีย์ มีภาพสลักหินนูนต่ำกว่า 160 ภาพให้เดินชมได้โดยรอบ โดยภาพที่เด่นๆชวนชมในชั้นนี้ก็มี ภาพวิถีชีวิตประจำวันของชาวชวา ภาพแสดงถึงบาปบุญคุณโทษ กฎแห่งกรรมต่างๆ เป็นต้น
แต่ถ้าใครอยากชมภาพสลักหินนูนต่ำอย่างหลากหลาย ขอแนะนำว่าที่ชั้น 2 หรือชั้น รูปธาตุ ที่เปรียบเสมือนขั้นตอนการหลุดพ้นจากกิเลสในทางโลกของมนุษย์เพียงบางส่วน ที่ชั้นนี้มีภาพสลักสวยๆงามๆบนระเบียงให้ชมกันเพียบถึง 1,400 ภาพ(ยาวทั้งหมดเกือบ 4 กม.) ภาพในชั้นนี้ส่วนใหญ่จะเป็นภาพพุทธประวัติที่ได้รับอิทธิพลศิลปะอินเดียในสมัยหลังยุคคุปตะ เน้นการสลักภาพบุคคลที่ดูค่อนข้างอวบอ้วนแต่แฝงความสงบอยู่ในที
อนึ่งการเดินขึ้นชมบุโรพุทโธนั้นผมว่าแค่พอเหงื่อซึมเท่านั้น ไม่ถึงกับเหนื่อยหนาสาหัส ซึ่งเมื่อเดินต่อไปก็จะสู่ชั้นไฮไลท์ในชั้น 3 หรือชั้น อรูปธาตุ ที่เปรียบเสมือนการหลุดพ้นของมนุษย์ ไม่ผูกพันใดๆในทางโลกอีกต่อไป
บนชั้น 3 มีฐานเป็นลานทรงกลม เจดีย์เล็ก ๆ 3 แถว 72 องค์รายล้อมรอบเจดีย์องค์ใหญ่(แถวแรก 16 องค์, แถวสอง 24 องค์,แถวสาม 32 องค์) ซึ่งมีหลายคนตีความว่าอาจจะสื่อถึงการหลุดพ้นใน 3 ระดับคือ นิพพาน ปรินิพพาน และมหานิพพาน ส่วนเจดีย์องค์ใหญ่ยักษ์ตรงกลางนั้นน่าจะหมายถึงแกนจักรวาล
สำหรับเจดีย์องค์เล็กๆจำนวนมาก บนชั้น 3 นี้ หากสังเกตดีๆจะพบว่ามีลักษณะค่อนข้างต่างไปจากเจดีย์บ้านเรา คือเป็นเจดีย์ยอดตัด(ไม่ใช่ยอดแหลมเหมือนบ้านเรา) และเป็นเจดีย์โปร่ง ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปนั่งปางมารวิชัย ซึ่งถือเป็นเกราะกำบังการลักลอบตัดเศียร และการทำลายพระพุทธรูปได้เป็นอย่างดี
แต่กระนั้นก็มีเจดีย์อยู่ 2 จุด ที่พังทลายไปเผยให้เห็นองค์พระพุทธรูปภายใน ซึ่งตอนหลังกลายเป็นมุมถ่ายถ่ายรูปยอดฮิตของนักท่องเที่ยวไป ส่วนเจดีย์อีก 1 องค์ที่น่าสนใจไม่แพ้กันก็คือ เจดีย์ที่ผมเรียกว่า“เจดีย์พระพุทธอธิษฐาน” เพราะในเจดีย์องค์นั้นจะมีพระพุทธรูปที่ชาวอินโดฯเชื่อว่าศักดิ์สิทธิ์ สามารถลูบคลำอธิษฐานขอพรให้สมหวังได้ ส่วนใครเจ็บไข้ได้ป่วยตรงส่วนไหนของร่างกายก็ให้ลูบคลำตรงส่วนนั้น ซึ่งก็ทำให้พระพุทธรูปองค์นี้เริ่มเป็นมันเลื่อมๆแล้วเพราะมีคนมาลูบขอพรกันเป็นประจำ
นี่แหละความเชื่อความหวัง ไม่ว่าชาติไหนในโลกก็มีเหมือนกันทั้งนั้น
อ้อ!!! มีอย่างหนึ่งบนบุโรพุทโธที่อาจดูขัดตาชาวพุทธอย่างเราๆท่านๆนั่นก็คือ การที่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ทั้งชาวอินโดนีเซียนและชาวต่างชาติที่ไม่ใช่ชาวพุทธ ต่างปฏิบัติต่อองค์พระพุทธรูปเหมือนรูปปั้นทั่วไปไม่ใช่สิ่งศักดิ์สิทธิ์อย่างที่เรานับถือ แต่หากมองด้วยใจเป็นธรรมนั่นเป็นเพราะประชากรอินโดนีเซียนส่วนใหญ่เป็นมุสลิม(ส่วนนักท่องเที่ยวต่างชาติก็นับถือศาสนาอื่น) นอกจากนี้หากเรานำหลักคิดแบบพุทธมาเป็นแนวทางสิ่งที่เราเห็น ณ เบื้องหน้านี้ต่างเป็นสิ่งสมมติทั้งสิ้น
ส่วนถ้าใครมองโลกด้วยความเป็นจริงก็จะพบว่ามีบางสิ่งควรให้การยกย่องต่อชาวอินโดฯไม่น้อยเลย เพราะแม้ว่าส่วนใหญ่ชาวอินโดฯจะเป็นมุสลิม แต่ว่าพวกเขา(เท่าที่ได้สอบถามจากนักท่องเที่ยวหลายๆคน)ต่างก็ภาคภูมิใจในพุทธศาสนาสถานแห่งนี้ ไม่เพียงเท่านั้นพวกเขายังได้ดูแลรักษามหาเจดีย์บุโรพุทโธให้อยู่ในสภาพที่ค่อนข้างดี
ในขณะที่บ้านเราที่เป็นเมืองพุทธ แต่กลับปรากฏว่านับจากอดีตถึงปัจจุบันยังคงมีข่าวการทำร้าย ทำลาย พุทธศาสนสถานและศาสนสถานอื่นๆอยู่เสมอมา
อา...เพราะเหตุใดถึงเป็นเช่นนั้น!?!
*****************************************
บุโรพุทโธ เป็นศาสนสถานสำคัญของอินโดนีเซียตั้งอยู่ในเมืองยอกยาการ์ตา อู่วัฒนธรรมแห่งชวา ที่นอกจากปรัมบานันและบุโรพุทโธแล้วยังมีสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจ อาทิ ภูเขาไฟเมอร์ราพี, Kraton หรือวังสุลต่าน, วังตามันซารี ส่วนเมืองโซโลที่อยู่ใกล้เคียงนั้นก็ได้ชื่อว่าเป็นเมืองบาติก(ปาเต๊ะ)ที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก อินโดฯใช้เงินสกุลรูเปีย มีอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 1 บาท ประมาณ 250-300 รูปเปีย(ตามการขึ้นลงของค่าเงิน) เทียบเวลาตรงกับเมืองไทย ทั้งนี้ผู้สนใจข้อมูลท่องเที่ยวเกี่ยวกับอินโดนีเซียสามารถสอบถามได้ที่ สถานทูตอินโดนีเซียประจำประเทศไทย โทร. 0-2252-3135-9