โดย หนุ่มลูกทุ่ง
พอใกล้ถึงวันตรุษจีน หรือวันปีใหม่ของชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีนทั้งหลาย มองไปทางไหนก็มีแต่สีแดงกับสีทอง โดยเฉพาะแถวๆ ย่านเยาวราชนั้น สีแดงกับทองเต็มพรืดไปหมดโดยสีแดงนั้นเป็นสีมงคลของชาวจีน เชื่อกันว่าหากใส่เสื้อผ้าสีแดงในวันตรุษจีนจะทำให้พบแต่ความโชคดี ส่วนสีทองนั้นก็เป็นสีมงคลเช่นกัน มีความหมายถึงความเจริญรุ่งเรือง และแน่นอนว่าหมายถึงทองคำที่ตอนนี้ราคาพุ่งขึ้นสูงถึงบาทละ 14,000 แล้วด้วย
พูดถึงเรื่องทองขึ้นมา ฉันก็นึกได้ว่า ที่ย่านเยาวราชนี้เป็นย่านที่มีร้านทองมากที่สุด คือมีถึง 132 ร้านด้วยกัน แต่มีร้านทองร้านหนึ่งที่น่าสนใจ และถือว่าเป็นร้านทองที่เก่าแก่ที่สุดในย่านนี้ โดยมีอายุถึงกว่า 140 ปีแล้ว นั่นก็คือ "ห้างทองตั้งโต๊ะกัง" ซึ่งวันนี้ฉันก็ได้แวะเวียนมาเยี่ยมชมห้างทองแห่งนี้ แต่ไม่ได้มาซื้อทองแต่อย่างใดเพราะสตางค์ในกระเป๋ามีไม่พอ แต่ที่มาชมก็เพราะว่านอกจากที่นี่จะขายทองแล้ว ก็ยังได้เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำทองให้ดูกันอีกด้วย นั่นก็คือ "พิพิธภัณฑ์ทองคำห้างทองตั้งโต๊ะกัง" นั่นเอง
ที่นี่ฉันได้พบกับคุณไชยกิจ ตันติกาญจน์ ผู้สืบทอดกิจการของห้างทองตั้งโต๊ะกังเป็นรุ่นที่ 4 ซึ่งคุณไชยกิจก็เป็นผู้เล่าเรื่องราวความเป็นมาของห้างทองตั้งโต๊ะกังให้ฉันได้ฟังว่า ห้างทองแห่งนี้มีอายุเกือบๆ 140 ปีแล้ว ผู้ก่อตั้งก็คือคุณปู่ทวดซึ่งเดินทางจากเมืองจีนหอบเสื่อผืนหมอนใบเข้ามารับจ้างเป็นช่างทำทองในเมืองไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ห้า แม้ในตอนเริ่มต้นจะมาเพียงตัวเปล่าๆ แต่ก็ทำมาเรื่อยๆ จนมีทุนรอนพอเพียงและสามารถเปิดร้านของตัวเองขึ้นมา
"คุณทวดชื่อว่าโต๊ะกัง แซ่ตั้ง ก็เลยใช้ชื่อร้านว่าตั้งโต๊ะกัง ร้านทองแต่ก่อนก็ไม่ได้เป็นอย่างที่เห็นทุกวันนี้ ไม่ได้มีทองโชว์หน้าร้านหรือมีสต็อกทองเก็บไว้ขาย จะมีก็แค่โต๊ะทำงานของช่างทอง ซึ่งจะนั่งทำไปตามที่ลูกค้ามาสั่งทำ เส้นละบาทสองบาท สลึงสองสลึงก็ว่ากันไป ทำเป็นชิ้นๆ งานไป เพิ่งจะมาเริ่มทำเป็นสต็อกก็ช่วงหลังๆ จากที่เริ่มมีทุนรอนมากขึ้น รู้ว่าลูกค้าซื้อลายนี้ประจำ น้ำหนักขนาดนี้ประจำ ก็ทำเผื่อไว้เลย ลูกค้ามาก็ไม่ต้องมานั่งคอย รับของไปได้เลย" คุณไชยกิจเล่าให้ฉันฟัง
ร้านทองตั้งโต๊ะกังในสมัยก่อตั้งนั้นก็ถือว่าเป็นไปด้วยดี เพราะทำเลที่ตั้งของร้านอยู่ใกล้กับท่าน้ำราชวงศ์ซึ่งจะมีเรือมาลงสินค้า มาซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากัน จึงถือเป็นจุดที่เริ่มต้นของการค้าขาย แล้วพอคนค้าขายได้เงินมาก็มักจะมาซื้อทองเก็บเอาไว้
ไม่เพียงแต่ความเก่าแก่ของร้านทองเท่านั้นที่น่าสนใจ เพราะแม้แต่ตัวตึกอาคารก็ยังมีความเก่าแก่ถึง 80 ปี แถมยังมีความไม่ธรรมดาตรงที่เมื่อสร้างเสร็จใหม่ๆ นั้น ตึกหลังนี้ถือว่าเป็นตึกสูงที่สุดในเยาวราชอีกด้วย
"ตึกนี้สร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 คนสร้างก็คือคุณปู่ ซึ่งเป็นเจ้าของกิจการรุ่นที่สอง ในตอนนั้นได้รับพระราชทานตราตั้งครุฑจากรัชกาลที่ 6 ก็เลยสร้างตึกใหม่ขึ้นเพื่อจะรับตราตั้งนี้ ก็เลยสร้างเป็นตึกเจ็ดชั้น ถือว่าเป็นตึกที่สูงที่สุดของเยาวราชในสมัยนั้น มีสถาปนิกชาวฮอลันดาออกแบบตัวตึก แต่ตกแต่งภายในและเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ เป็นแบบจีน ถือว่าเป็นตึกที่โดดเด่นมากในเยาวราชสมัยนั้นที่มีแต่ตึกสองชั้นเป็นส่วนมาก ซึ่งก็ช่วยในเรื่องของความน่าเชื่อถือ ดูสมฐานะของร้านทองอีกด้วย" คุณไชยกิจ กล่าว
ทีนี้ก็มาถึงเรื่องของความเป็นพิพิธภัณฑ์ห้างทองกันบ้าง คุณไชยกิจตั้งต้นเล่าให้ฟังว่า เมื่อก่อนตึกเจ็ดชั้นนี้ก็ใช้เป็นที่ทำงานและที่อยู่อาศัยของคุณปู่คุณพ่อด้วย แต่ต่อมามีการตัดถนนหนทางเยอะขึ้น รถราวิ่งกันหนวกหู จึงใช้ตึกนี้เป็นสถานที่ทำงาน แล้วไปพักอาศัยที่อื่น ดังนั้นตึกตั้งแต่ชั้นที่ 4 ขึ้นไปที่เคยเป็นที่พักจึงถูกปิดเอาไว้เฉยๆ และปิดร้างอยู่อย่างนี้นานถึง 30-40 ปีเลยทีเดียว
"พอคุณปู่กับคุณพ่อย้ายไป ตั้งแต่ชั้นสามลงมาก็ยังใช้อยู่ แต่ชั้นบนสุดปิดไว้จนไม่มีใครกล้าขึ้น ข้าวของต่างๆ ที่บรรพบุรุษสะสมมาก็เต็มไปหมด อีกทั้งตึกนี้ก็เริ่มโทรม เลยรู้สึกว่าอุตส่าห์สร้างตึกมาอย่างดีแล้ว แล้วก็ได้รางวัลอาคารอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น จากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์อีกด้วย เราก็ควรจะตกแต่งให้ดีๆ"
"แล้วเมื่อประมาณสิบหกปีก่อน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ได้เสด็จมาเยาวราช และเสด็จมาที่ร้านทองตั้งโต๊ะกังเป็นครั้งแรก เราก็รู้สึกว่าอยากจะตกแต่งให้ดูดี จะได้สมฐานะของพระองค์ด้วย" คุณไชยกิจ เล่า
ในการปรับปรุงตกแต่งตึกและจัดเก็บข้าวของต่างๆ นั้น ก็ได้มีบรรดาเครื่องมือที่ใช้ทำทองในสมัยก่อนอยู่มากมาย แต่ปัจจุบันไม่ได้ใช้แล้วเนื่องจากมีเครื่องจักรเข้ามาช่วย คุณไชยกิจมีความคิดว่า เครื่องมือช่างเหล่านี้ถ้าโยนทิ้งก็คือสูญ ไม่มีค่าอะไรเลย และจะกลายเป็นว่าของที่บรรพบุรุษอุตส่าห์ทำขึ้นและอุตส่าห์เก็บไว้จะโดนทิ้งขว้างไป อีกทั้งตึกชั้น 4-6 ถ้าไม่ทำอะไรก็จะถูกปิดร้างไปจนโทรมอีก สู้ทำอะไรซักอย่างหนึ่งที่น่าจะดึงคนเข้ามาดู แล้วของที่มีอยู่ก็ไม่ได้ทิ้งเสียหายไป แถมยังเป็นความรู้ให้เด็กรุ่นใหม่ๆ รู้อีกด้วยว่าทองนี่เกิดจากอะไร
"เครื่องไม้เครื่องมือทำทองเหล่านี้ไม่ใช่ว่ามีเงินแล้วก็จะมาซื้อเอาไปแล้วผลิตทองได้เลยนะ สมัยก่อนมันไม่ใช่ แต่มันคืองานฝีมือจริงๆ ก็เลยคิดว่าทำพิพิธภัณฑ์ให้ลูกหลานดูดีกว่า เค้าจะได้รู้ว่าความลำบากในสมัยก่อนว่ากว่าจะได้ทองมาแต่ละเส้นมันเป็นยังไง แล้วจะได้เห็นเครื่องไม้เครื่องมือสมัยก่อนที่เป็นอาจารย์ของเครื่องจักรสมัยนี้"
"และช่างสมัยนี้ซึ่งใช้เครื่องจักรเป็นส่วนมากก็จะได้ไปศึกษาว่าเมื่อก่อนเค้าทำยังไง เครื่องมือเหล่านี้ก็เหมือนกับเป็นตำราให้ช่างได้เรียนรู้ หากทิ้งไปก็ไม่มีค่า แต่เมื่อเก็บไว้ก็มีคุณค่ามหาศาลสำหรับช่าง เลยเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ให้คนขึ้นมาชมได้เมื่อประมาณ 4-5 ปีนี้เอง" คุณไชยกิจ กล่าว
ในส่วนของพิพิธภัณฑ์ซึ่งตั้งอยู่บนชั้น 6 นั้น แม้จะไม่ได้เป็นห้องขนาดใหญ่โต แต่ก็เต็มไปด้วยเครื่องไม้เครื่องมือในการทำทอง เช่น แม่พิมพ์ในการปั๊มทองคำ ซึ่งทำเป็นบล็อกมีลวดลายต่างๆ เช่น รูปมังกร รูปสิงโตจีน รูปเทวดานางฟ้า เวลาจะทำลวดลายก็นำแผ่นทองคำมาวางบนแม่พิมพ์แล้วใช้แรงกระแทกบนแม่พิมพ์ ก็จะเกิดลายขึ้น
แล้วก็ยังมีตราชั่งไม้โบราณที่ไว้ใช้ชั่งน้ำหนักทองก่อนที่จะมีตราชั่งดิจิตอลอย่างสมัยนี้ มีไหน้ำกรดที่ใช้เก็บน้ำกรดเพื่อใช้ในการสกัดทองคำบริสุทธิ์ที่สั่งทำมาเป็นพิเศษจากจังหวัดราชบุรี ในตอนนี้ก็เปลี่ยนเป็นบรรจุภัณฑ์พลาสติกกันหมดแล้ว และนอกจากนั้นก็ยังมีเครื่องมือประเภทปากคีบ คีมหนีบ ค้อน ตะไบ กรรไกร ฯลฯ ที่ใช้สำหรับทำลวดลายของทอง ซึ่งเครื่องมือบางชิ้นช่างทองก็ยังมาหยิบยืมเอาไปใช้บ้างก็มี แล้วก็ยังมีเบ้าหลอมทอง แท่นตีทอง และมีเตาต้มทองซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการทำทองให้ชมกันอีกด้วย
นอกจากนั้นก็ยังมีสิ่งที่น่าสนใจอย่างรูปภาพเก่าๆ ทั้งภาพบรรพบุรุษผู้ก่อตั้งห้างทองแห่งนี้ และยังมีครุฑสองตัวซึ่งเป็นครุฑตัวแรกๆ ของห้างทองตั้งโต๊ะกังหลังจากได้รับพระราชทานตราตั้งครุฑจากรัชกาลที่ 6 อีกทั้งยังมีโต๊ะช่างทองที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ มาทรงทดลองทำทองเมื่อครั้งที่เสด็จมายังห้างทองตั้งโต๊ะกังอีกด้วย
และนอกจากจะได้ชมเครื่องไม้เครื่องมือการทำทองแล้ว ก็ยังมีการสาธิตการหลอมทองให้ได้ชมกัน และหากมาถูกเวลาที่ช่างทองไม่ยุ่งอยู่กับงานเท่าไรนัก ก็จะได้ชมการทำงานของช่างทองกันที่โต๊ะอย่างใกล้ชิดอีกด้วย
คุณไชยกิจออกตัวว่าพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ก็ยังไม่ได้สมบูรณ์เท่าไรนัก ก็แค่เก็บให้มันเป็นสัดส่วน เวลาคนขึ้นมาชมจะได้สะดวกสบายหน่อย
"คนมาชมก็มีทั้งนักศึกษา ทั้งนักท่องเที่ยว เพราะเรื่องแบบนี้บางคนเขาจะหวง แต่ของเราเปิดหมดเลย ก็เชิญชมได้ ไม่เป็นไร นักท่องเที่ยวก็เยอะ ฝรั่งก็มีเดินมาบอก เนี่ย... รู้มาว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ เราก็เปิดให้เขาเข้าชม เพราะร้านทองไหนๆ ก็ไม่มีพิพิธภัณฑ์ แล้วที่ทางแถวนี้ก็ไม่ใช่ถูกๆ ก็ไม่มีใครจะมานั่งทำพิพิธให้คนชม บางทีก็มีกรุ๊ปทัวร์มาขอขึ้นมาชมก็มี เราก็ยินดี เพราะเราก็ไม่ได้เสียอะไรมาก ตัวตึกเองก็น่าสนใจ ถ้าได้มาชมข้างในก็จะได้รู้ว่าข้างในมีอะไรบ้าง แล้วคนที่มาก็จะได้รู้จักว่าห้างทองตั้งโต๊ะกังนั้นคือใคร นี่ก็เป็นจุดสำคัญเหมือนกัน" คุณไชยกิจกล่าว
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
พิพิธภัณฑ์ทองคำห้างทองตั้งโต๊ะกัง ตั้งอยู่บนชั้น 6 ของห้างทองตั้งโต๊ะกัง ถนนวานิช 1 แขวงจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ เปิดให้เข้าชมตั้งแต่เวลา 09.30-16.00 น. ไม่เสียค่าเข้าชม แต่ควรติดต่อมาล่วงหน้าก่อน (โดยเฉพาะหากมาเป็นหมู่คณะ) สอบถามโทร.0-2224-2422, 0-2622-8640 ถึง 2
อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง
ยลเสน่ห์ย่านเยาวราช ย่ำแดนมังกรกลางกรุง
ตระเวนเยาวราช ไหว้ 8 ศาลเจ้าเอาฤกษ์ตรุษจีน
8 ที่สุดแห่ง“เยาวราช”
พอใกล้ถึงวันตรุษจีน หรือวันปีใหม่ของชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีนทั้งหลาย มองไปทางไหนก็มีแต่สีแดงกับสีทอง โดยเฉพาะแถวๆ ย่านเยาวราชนั้น สีแดงกับทองเต็มพรืดไปหมดโดยสีแดงนั้นเป็นสีมงคลของชาวจีน เชื่อกันว่าหากใส่เสื้อผ้าสีแดงในวันตรุษจีนจะทำให้พบแต่ความโชคดี ส่วนสีทองนั้นก็เป็นสีมงคลเช่นกัน มีความหมายถึงความเจริญรุ่งเรือง และแน่นอนว่าหมายถึงทองคำที่ตอนนี้ราคาพุ่งขึ้นสูงถึงบาทละ 14,000 แล้วด้วย
พูดถึงเรื่องทองขึ้นมา ฉันก็นึกได้ว่า ที่ย่านเยาวราชนี้เป็นย่านที่มีร้านทองมากที่สุด คือมีถึง 132 ร้านด้วยกัน แต่มีร้านทองร้านหนึ่งที่น่าสนใจ และถือว่าเป็นร้านทองที่เก่าแก่ที่สุดในย่านนี้ โดยมีอายุถึงกว่า 140 ปีแล้ว นั่นก็คือ "ห้างทองตั้งโต๊ะกัง" ซึ่งวันนี้ฉันก็ได้แวะเวียนมาเยี่ยมชมห้างทองแห่งนี้ แต่ไม่ได้มาซื้อทองแต่อย่างใดเพราะสตางค์ในกระเป๋ามีไม่พอ แต่ที่มาชมก็เพราะว่านอกจากที่นี่จะขายทองแล้ว ก็ยังได้เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำทองให้ดูกันอีกด้วย นั่นก็คือ "พิพิธภัณฑ์ทองคำห้างทองตั้งโต๊ะกัง" นั่นเอง
ที่นี่ฉันได้พบกับคุณไชยกิจ ตันติกาญจน์ ผู้สืบทอดกิจการของห้างทองตั้งโต๊ะกังเป็นรุ่นที่ 4 ซึ่งคุณไชยกิจก็เป็นผู้เล่าเรื่องราวความเป็นมาของห้างทองตั้งโต๊ะกังให้ฉันได้ฟังว่า ห้างทองแห่งนี้มีอายุเกือบๆ 140 ปีแล้ว ผู้ก่อตั้งก็คือคุณปู่ทวดซึ่งเดินทางจากเมืองจีนหอบเสื่อผืนหมอนใบเข้ามารับจ้างเป็นช่างทำทองในเมืองไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ห้า แม้ในตอนเริ่มต้นจะมาเพียงตัวเปล่าๆ แต่ก็ทำมาเรื่อยๆ จนมีทุนรอนพอเพียงและสามารถเปิดร้านของตัวเองขึ้นมา
"คุณทวดชื่อว่าโต๊ะกัง แซ่ตั้ง ก็เลยใช้ชื่อร้านว่าตั้งโต๊ะกัง ร้านทองแต่ก่อนก็ไม่ได้เป็นอย่างที่เห็นทุกวันนี้ ไม่ได้มีทองโชว์หน้าร้านหรือมีสต็อกทองเก็บไว้ขาย จะมีก็แค่โต๊ะทำงานของช่างทอง ซึ่งจะนั่งทำไปตามที่ลูกค้ามาสั่งทำ เส้นละบาทสองบาท สลึงสองสลึงก็ว่ากันไป ทำเป็นชิ้นๆ งานไป เพิ่งจะมาเริ่มทำเป็นสต็อกก็ช่วงหลังๆ จากที่เริ่มมีทุนรอนมากขึ้น รู้ว่าลูกค้าซื้อลายนี้ประจำ น้ำหนักขนาดนี้ประจำ ก็ทำเผื่อไว้เลย ลูกค้ามาก็ไม่ต้องมานั่งคอย รับของไปได้เลย" คุณไชยกิจเล่าให้ฉันฟัง
ร้านทองตั้งโต๊ะกังในสมัยก่อตั้งนั้นก็ถือว่าเป็นไปด้วยดี เพราะทำเลที่ตั้งของร้านอยู่ใกล้กับท่าน้ำราชวงศ์ซึ่งจะมีเรือมาลงสินค้า มาซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากัน จึงถือเป็นจุดที่เริ่มต้นของการค้าขาย แล้วพอคนค้าขายได้เงินมาก็มักจะมาซื้อทองเก็บเอาไว้
ไม่เพียงแต่ความเก่าแก่ของร้านทองเท่านั้นที่น่าสนใจ เพราะแม้แต่ตัวตึกอาคารก็ยังมีความเก่าแก่ถึง 80 ปี แถมยังมีความไม่ธรรมดาตรงที่เมื่อสร้างเสร็จใหม่ๆ นั้น ตึกหลังนี้ถือว่าเป็นตึกสูงที่สุดในเยาวราชอีกด้วย
"ตึกนี้สร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 คนสร้างก็คือคุณปู่ ซึ่งเป็นเจ้าของกิจการรุ่นที่สอง ในตอนนั้นได้รับพระราชทานตราตั้งครุฑจากรัชกาลที่ 6 ก็เลยสร้างตึกใหม่ขึ้นเพื่อจะรับตราตั้งนี้ ก็เลยสร้างเป็นตึกเจ็ดชั้น ถือว่าเป็นตึกที่สูงที่สุดของเยาวราชในสมัยนั้น มีสถาปนิกชาวฮอลันดาออกแบบตัวตึก แต่ตกแต่งภายในและเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ เป็นแบบจีน ถือว่าเป็นตึกที่โดดเด่นมากในเยาวราชสมัยนั้นที่มีแต่ตึกสองชั้นเป็นส่วนมาก ซึ่งก็ช่วยในเรื่องของความน่าเชื่อถือ ดูสมฐานะของร้านทองอีกด้วย" คุณไชยกิจ กล่าว
ทีนี้ก็มาถึงเรื่องของความเป็นพิพิธภัณฑ์ห้างทองกันบ้าง คุณไชยกิจตั้งต้นเล่าให้ฟังว่า เมื่อก่อนตึกเจ็ดชั้นนี้ก็ใช้เป็นที่ทำงานและที่อยู่อาศัยของคุณปู่คุณพ่อด้วย แต่ต่อมามีการตัดถนนหนทางเยอะขึ้น รถราวิ่งกันหนวกหู จึงใช้ตึกนี้เป็นสถานที่ทำงาน แล้วไปพักอาศัยที่อื่น ดังนั้นตึกตั้งแต่ชั้นที่ 4 ขึ้นไปที่เคยเป็นที่พักจึงถูกปิดเอาไว้เฉยๆ และปิดร้างอยู่อย่างนี้นานถึง 30-40 ปีเลยทีเดียว
"พอคุณปู่กับคุณพ่อย้ายไป ตั้งแต่ชั้นสามลงมาก็ยังใช้อยู่ แต่ชั้นบนสุดปิดไว้จนไม่มีใครกล้าขึ้น ข้าวของต่างๆ ที่บรรพบุรุษสะสมมาก็เต็มไปหมด อีกทั้งตึกนี้ก็เริ่มโทรม เลยรู้สึกว่าอุตส่าห์สร้างตึกมาอย่างดีแล้ว แล้วก็ได้รางวัลอาคารอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น จากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์อีกด้วย เราก็ควรจะตกแต่งให้ดีๆ"
"แล้วเมื่อประมาณสิบหกปีก่อน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ได้เสด็จมาเยาวราช และเสด็จมาที่ร้านทองตั้งโต๊ะกังเป็นครั้งแรก เราก็รู้สึกว่าอยากจะตกแต่งให้ดูดี จะได้สมฐานะของพระองค์ด้วย" คุณไชยกิจ เล่า
ในการปรับปรุงตกแต่งตึกและจัดเก็บข้าวของต่างๆ นั้น ก็ได้มีบรรดาเครื่องมือที่ใช้ทำทองในสมัยก่อนอยู่มากมาย แต่ปัจจุบันไม่ได้ใช้แล้วเนื่องจากมีเครื่องจักรเข้ามาช่วย คุณไชยกิจมีความคิดว่า เครื่องมือช่างเหล่านี้ถ้าโยนทิ้งก็คือสูญ ไม่มีค่าอะไรเลย และจะกลายเป็นว่าของที่บรรพบุรุษอุตส่าห์ทำขึ้นและอุตส่าห์เก็บไว้จะโดนทิ้งขว้างไป อีกทั้งตึกชั้น 4-6 ถ้าไม่ทำอะไรก็จะถูกปิดร้างไปจนโทรมอีก สู้ทำอะไรซักอย่างหนึ่งที่น่าจะดึงคนเข้ามาดู แล้วของที่มีอยู่ก็ไม่ได้ทิ้งเสียหายไป แถมยังเป็นความรู้ให้เด็กรุ่นใหม่ๆ รู้อีกด้วยว่าทองนี่เกิดจากอะไร
"เครื่องไม้เครื่องมือทำทองเหล่านี้ไม่ใช่ว่ามีเงินแล้วก็จะมาซื้อเอาไปแล้วผลิตทองได้เลยนะ สมัยก่อนมันไม่ใช่ แต่มันคืองานฝีมือจริงๆ ก็เลยคิดว่าทำพิพิธภัณฑ์ให้ลูกหลานดูดีกว่า เค้าจะได้รู้ว่าความลำบากในสมัยก่อนว่ากว่าจะได้ทองมาแต่ละเส้นมันเป็นยังไง แล้วจะได้เห็นเครื่องไม้เครื่องมือสมัยก่อนที่เป็นอาจารย์ของเครื่องจักรสมัยนี้"
"และช่างสมัยนี้ซึ่งใช้เครื่องจักรเป็นส่วนมากก็จะได้ไปศึกษาว่าเมื่อก่อนเค้าทำยังไง เครื่องมือเหล่านี้ก็เหมือนกับเป็นตำราให้ช่างได้เรียนรู้ หากทิ้งไปก็ไม่มีค่า แต่เมื่อเก็บไว้ก็มีคุณค่ามหาศาลสำหรับช่าง เลยเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ให้คนขึ้นมาชมได้เมื่อประมาณ 4-5 ปีนี้เอง" คุณไชยกิจ กล่าว
ในส่วนของพิพิธภัณฑ์ซึ่งตั้งอยู่บนชั้น 6 นั้น แม้จะไม่ได้เป็นห้องขนาดใหญ่โต แต่ก็เต็มไปด้วยเครื่องไม้เครื่องมือในการทำทอง เช่น แม่พิมพ์ในการปั๊มทองคำ ซึ่งทำเป็นบล็อกมีลวดลายต่างๆ เช่น รูปมังกร รูปสิงโตจีน รูปเทวดานางฟ้า เวลาจะทำลวดลายก็นำแผ่นทองคำมาวางบนแม่พิมพ์แล้วใช้แรงกระแทกบนแม่พิมพ์ ก็จะเกิดลายขึ้น
แล้วก็ยังมีตราชั่งไม้โบราณที่ไว้ใช้ชั่งน้ำหนักทองก่อนที่จะมีตราชั่งดิจิตอลอย่างสมัยนี้ มีไหน้ำกรดที่ใช้เก็บน้ำกรดเพื่อใช้ในการสกัดทองคำบริสุทธิ์ที่สั่งทำมาเป็นพิเศษจากจังหวัดราชบุรี ในตอนนี้ก็เปลี่ยนเป็นบรรจุภัณฑ์พลาสติกกันหมดแล้ว และนอกจากนั้นก็ยังมีเครื่องมือประเภทปากคีบ คีมหนีบ ค้อน ตะไบ กรรไกร ฯลฯ ที่ใช้สำหรับทำลวดลายของทอง ซึ่งเครื่องมือบางชิ้นช่างทองก็ยังมาหยิบยืมเอาไปใช้บ้างก็มี แล้วก็ยังมีเบ้าหลอมทอง แท่นตีทอง และมีเตาต้มทองซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการทำทองให้ชมกันอีกด้วย
นอกจากนั้นก็ยังมีสิ่งที่น่าสนใจอย่างรูปภาพเก่าๆ ทั้งภาพบรรพบุรุษผู้ก่อตั้งห้างทองแห่งนี้ และยังมีครุฑสองตัวซึ่งเป็นครุฑตัวแรกๆ ของห้างทองตั้งโต๊ะกังหลังจากได้รับพระราชทานตราตั้งครุฑจากรัชกาลที่ 6 อีกทั้งยังมีโต๊ะช่างทองที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ มาทรงทดลองทำทองเมื่อครั้งที่เสด็จมายังห้างทองตั้งโต๊ะกังอีกด้วย
และนอกจากจะได้ชมเครื่องไม้เครื่องมือการทำทองแล้ว ก็ยังมีการสาธิตการหลอมทองให้ได้ชมกัน และหากมาถูกเวลาที่ช่างทองไม่ยุ่งอยู่กับงานเท่าไรนัก ก็จะได้ชมการทำงานของช่างทองกันที่โต๊ะอย่างใกล้ชิดอีกด้วย
คุณไชยกิจออกตัวว่าพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ก็ยังไม่ได้สมบูรณ์เท่าไรนัก ก็แค่เก็บให้มันเป็นสัดส่วน เวลาคนขึ้นมาชมจะได้สะดวกสบายหน่อย
"คนมาชมก็มีทั้งนักศึกษา ทั้งนักท่องเที่ยว เพราะเรื่องแบบนี้บางคนเขาจะหวง แต่ของเราเปิดหมดเลย ก็เชิญชมได้ ไม่เป็นไร นักท่องเที่ยวก็เยอะ ฝรั่งก็มีเดินมาบอก เนี่ย... รู้มาว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ เราก็เปิดให้เขาเข้าชม เพราะร้านทองไหนๆ ก็ไม่มีพิพิธภัณฑ์ แล้วที่ทางแถวนี้ก็ไม่ใช่ถูกๆ ก็ไม่มีใครจะมานั่งทำพิพิธให้คนชม บางทีก็มีกรุ๊ปทัวร์มาขอขึ้นมาชมก็มี เราก็ยินดี เพราะเราก็ไม่ได้เสียอะไรมาก ตัวตึกเองก็น่าสนใจ ถ้าได้มาชมข้างในก็จะได้รู้ว่าข้างในมีอะไรบ้าง แล้วคนที่มาก็จะได้รู้จักว่าห้างทองตั้งโต๊ะกังนั้นคือใคร นี่ก็เป็นจุดสำคัญเหมือนกัน" คุณไชยกิจกล่าว
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
พิพิธภัณฑ์ทองคำห้างทองตั้งโต๊ะกัง ตั้งอยู่บนชั้น 6 ของห้างทองตั้งโต๊ะกัง ถนนวานิช 1 แขวงจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ เปิดให้เข้าชมตั้งแต่เวลา 09.30-16.00 น. ไม่เสียค่าเข้าชม แต่ควรติดต่อมาล่วงหน้าก่อน (โดยเฉพาะหากมาเป็นหมู่คณะ) สอบถามโทร.0-2224-2422, 0-2622-8640 ถึง 2
อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง
ยลเสน่ห์ย่านเยาวราช ย่ำแดนมังกรกลางกรุง
ตระเวนเยาวราช ไหว้ 8 ศาลเจ้าเอาฤกษ์ตรุษจีน
8 ที่สุดแห่ง“เยาวราช”