xs
xsm
sm
md
lg

เปิดโผหุ้น "ได้-เสีย" หลังบาทอ่อนค่าแรงทะลุ 36 บาท/ดอลลาร์

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



บล.ดาโอ เปิดโผหุ้นได้-เสียประโยชน์ หลังค่าเงินบาทอ่อนค่าทะลุ 36 บาท/ดอลลาร์ มองหุ้นส่งออกอาหาร-อิเล็กทรอนิกส์-ท่องเที่ยวรับอานิงส์เชิงบวก ชู AAI-TU outperform SET มากสุด 60% ส่วนกลุ่มสายการบิน-โรงไฟฟ้า-พลังงาน เสียประโยชน์มากสุด เหตุดันต้นทุนเพิ่มขึ้น จากภาระหนี้สกุลดอลลาร์ มอง AAV-BA มีต้นทุนดอลล์ประมาณ 60% ขณะที่พลังงาน PTTGC-TOP อาจมีบันทึก unrealized fx loss

บทวิเคราะห์หลักทรัพย์จาก บล.ดาโอ (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทแตะระดับที่ 36.11 THB/USD กลับมาอ่อนค่าราว 6.4% เมื่อวันที่ 21 ก.ย.ที่ผ่านมา จากที่แข็งค่ามากสุดในช่วงกลางเดือน ก.ค.23 ที่ราว 33.95 THB/USD ซึ่งถือเป็นการอ่อนค่าที่มากสุดในรอบ 10 เดือน จากความกังวลต่อแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ภายหลัง GDP ของไทย 2Q23 ขยายตัวน้อยกว่าที่คาด ขณะที่เงิน USD ยังแข็งค่าขึ้น โดยมีแรงหนุนจากสัญญาณคุมเข้มนโยบายการเงินของ ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ซึ่งบ่งชี้ว่า วัฏจักรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ยังคงไม่สิ้นสุดลง

อีกทั้งแนวโน้มค่าเงินบาทมีโอกาสอ่อนค่า จากการที่เฟดยังน่าจะส่งสัญญาณในเชิงคุมเข้ม ซึ่งอาจหนุนค่าเงิน USD และบอนด์ยิลด์ของสหรัฐฯ ให้ปรับสูงขึ้น ประกอบกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2023 ที่ดูชะลอลงจากประมาณการเดิม ด้วยแรงกดดันจากการส่งออกที่ชะลอลง

ส่วนมาตรการภาครัฐที่เตรียมจะดำเนินการในระยะข้างหน้าเป็นอีกปัจจัยที่ตลาดรอความชัดเจน เพราะจะมีผลต่อการประเมินสถานะทางการคลัง แนวทางและขนาดการก่อหนี้ รวมไปถึงภาระทางการคลังทั้งในและนอกงบประมาณที่อาจเกิดขึ้นในระยะ 6-12 เดือนข้างหน้า

ทั้งนี้ได้มีการประเมินหุ้นที่ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์จากค่าเงินบาทอ่อนค่า ประกอบด้วย

ชี้ 4 กลุ่มรับอานิสงส์บาทอ่อน มอง AAI-TU outperform SET มากสุด

- สำหรับส่วนหุ้น/อุตสาหกรรมที่คาดว่าจะได้รับผลบวกจาก “ค่าเงินบาทอ่อนค่า”

1) กลุ่มเกษตรและอาหาร เนื่องจากมีรายได้ส่วนใหญ่จากต่างประเทศ โดยเรียงลำดับทุกการอ่อนค่า 1 บาทจะส่งผลต่อกำไรเพิ่มขึ้น ITC +10%, AAI +10%, TU +7%, SUN +3%, PLUS +2%

2) กลุ่มอิเลกทรอนิกส์ เนื่องจากรายได้ส่วนใหญ่มาจากการส่งออกต่างประเทศ โดยเรียงลำดับ ทุกการอ่อนค่า 1 บาทจะส่งผลต่อกำไรเพิ่มขึ้น จะมีผลทำให้กำไรเพิ่มขึ้น KCE +6% และ HANA +5%

3) กลุ่มท่องเที่ยว ได้อานิสงส์จากค่าเงินบาทอ่อนค่าที่ทำให้คนต่างชาติสนใจมาเที่ยวประเทศไทยมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้ายุโรปและสหรัฐฯ ที่ใกล้เข้าสู่ช่วง high season ของการท่องเที่ยว สำหรับหุ้นที่จะได้ประโยชน์เรียงตามลำดับ ได้แก่ ERW (สัดส่วนรายได้ในไทย 88%) CENTEL (สัดส่วนรายได้ในไทย 80%) และ AOT จะได้ประโยชน์จากจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น

4) อุตสาหกรรมอื่นที่ได้ผลกระทบเชิงบวกจากค่าเงินบาทอ่อน เนื่องจากมีรายได้ส่วนใหญ่มาจากการส่งออก ได้แก่ MEGA ประเมินทุกๆ 1 บาทที่อ่อนค่าทำให้กำไรเพิ่มขึ้น +5% EPG ประเมินทุกๆ 1 บาทที่อ่อนค่าทำให้กำไรเพิ่มขึ้น +3-4% TOG ประเมินทุกๆ 1 บาทที่อ่อนค่าทำให้กำไรเพิ่มขึ้น +3-4% BANPU ทุกๆ 1% ที่เงินบาทอ่อนค่าเทียบกับดอลลาร์สหรัฐจะส่งผลบวกต่อกำไร 3Q23E ประมาณ USD13mn

ทั้งนี้ หุ้นที่ได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่า และมีโอกาส outperform SET มากสุด ได้แก่ AAI, TU (+) AAI (ซื้อ/เป้า 5.00 บาท) มีสัดส่วนรายได้ส่งออกสูงถึง 96% และต้นทุนส่วนใหญ่เป็นเงินบาท ขณะที่ผลการดำเนินงานผ่านจุดต่ำสุดแล้วใน 1Q23 และ 2H23E จะฟื้นมากขึ้น HoH จาก inventory destocking คลี่คลาย ด้านราคาหุ้นช่วงที่ผ่านมาปรับตัวลงถึง -47% YTD สะท้อนปัจจัยลบแล้ว (ITC 29% YTD) (+) TU (ซื้อ/เป้า 16.00 บาท) มีสัดส่วนรายได้ส่งออกสูงถึง 96% และต้นทุน 60-70% เป็นเงินบาท ขณะที่กำไรปกติ 2H23E จะดีต่อเนื่อง HoH จากสถานการณ์ inventory destocking คลี่คลาย และต้นทุนทูน่าทยอยอ่อนตัวลง

สายการบิน-พลังงาน-โรงไฟฟ้า รับผลกระทบบาทอ่อน

- สำหรับหุ้น/อุตสาหกรรมที่คาดว่าจะเสียประโยชน์จาก “ค่าเงินบาทอ่อนค่า”

1) กลุ่มสายการบิน AAV, BA มีโครงสร้างต้นทุนเป็นเงินสกุลดอลลาร์ราว 60% ค่าเงินบาทอ่อนค่าจะทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น สำหรับ AAV มีหนี้เป็น USD ราว 1 พันล้านเหรียญ ทำให้จะมี unrealized FX loss ราว 1 พันล้านบาท จากทุกๆ 1 บาทที่อ่อนค่า

2) กลุ่มพลังงาน มี negative net exposure ต่อการเคลื่อนไหวของสกุลเงินดอลลาร์ต่อสกุลเงินบาท ส่งผลให้อาจจะมีการบันทึก unrealized fx loss สำหรับ PTTGC, TOP ขณะที่ผลกระทบต่อ PTTEP และ SPRC น่าจะมีจำกัดเพราะมีการใช้ USD เป็น functional currency ส่วน IVL มี natural hedge

3) กลุ่มโรงไฟฟ้า เนื่องจากมีเงินกู้สกุลเงินดอลลาร์ส่งผลให้มีการบันทึก unrealized fx loss เข้ามา อย่างไรก็ตาม รายการดังกล่าวเป็นเพียงรายการทางบัญชีและไม่ได้มีผลกระทบต่อกระแสเงินสด ทั้งนี้ หุ้นที่มี impact จากประเด็นดังกล่าวประกอบด้วย GULF, BGRIM, GPSC, RATCH, GUNKUL

4) กลุ่ม IT Distributor SYNEX, SIS เนื่องจากมีการนำเข้าสินค้าโดยใช้เงิน USD ค่าเงินบาทอ่อนค่าจะส่งผลลบด้านต้นทุน


กำลังโหลดความคิดเห็น