หุ้นไทยปิด -4.51 จุด โบรกฯเผยตลาดกังวลอัตราตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐเดือนสิงหาคม ที่ยังคงพุ่งสูงอย่างต่อเนื่อง แม้โดยรวมจะสอดคล้องกับที่คาดการณ์ไว้ ชี้อาจกระทบภาพรวมเศรษฐกิจต่อหุ้นเอเซียบ้าง แต่ยังถือว่าน้อย เพราะตลาดหุ้นไทยมีความแข็งแกร่งเมื่อเทียบกับตลาดโลกจากหลายปัจจัยบวก ทั้งแนวโน้มเศรษฐกิจอาเซียน ที่โตต่อเนื่อง ในช่วง 2 ปีข้างหน้า พร้อมประเมินกรอบการลงทุนวันพรุ่งนี้แนวรับที่ 1,640 จุด และแนวต้านที่ 1,686 จุด
ตลาดหุ้นไทยปิดทำการซื้อขายวันที่ 14 กันยายน 2565 ปรับตัวลดลง -4.51 จุด หรือ -0.27% โดยปิดตลาดที่ 1,656.58 จุด มูลค่าการซื้อขาย 72,610.35 ล้านบาท โดยภาพรวมการซื้อขายหุ้นวันนี้ ดัชนีปรับตัวลงสอดคล้องภูมิภาค โดยระหว่างวันดัชนีปรับตัวขึ้นสูงสุดที่ 1,660.42 จุด ขณะเดียวกันก็ปรับตัวลดลงต่ำสุดที่ 1,642.53 จุด
ขณะที่หลักทรัพย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงในวันนี้เพิ่มขึ้นจำนวน 518 หลักทรัพย์ ไม่เปลี่ยนแปลงจำนวน 582 หลักทรัพย์ และปรับตัวลดลงจำนวน 1,135 หลักทรัพย์
ด้านปริมาณการซื้อขายจำแนกตามกลุ่มนักลงทุนพบว่า นักลงทุนในประเทศซื้อสุทธิกว่า +3,008.69 ล้านบาท และ บัญชี บล.ซื้อสุทธิกว่า +967.31 ล้านบาท ในทางกลับกันพบว่านักลงทุนสถาบันขายสุทธิกว่า -2,752.28 ล้านบาท และนักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิกว่า -1,223.71 ล้านบาท
ส่วนหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด 5 หลักทรัพย์
1.DELTA มูลค่าการซื้อขาย 4,892.78 ล้านบาท ปิดที่ 622.00 บาท เพิ่มขึ้น 10.00 บาท
2.TLI มูลค่าการซื้อขาย 3,481.32 ล้านบาท ปิดที่ 16.30 บาท เพิ่มขึ้น 0.40 บาท
3.SCC มูลค่าการซื้อขาย 3,319.76 ล้านบาท ปิดที่ 346.00 บาท ลดลง 8.00 บาท
4.CH มูลค่าการซื้อขาย 2,330.85 ล้านบาท ปิดที่ 5.60 บาท เพิ่มขึ้น 0.72 บาท
5.KBANK มูลค่าการซื้อขาย 1,845.82 ล้านบาท ปิดที่ 150.00 บาท ลดลง 1.00 บาท
ด้านดัชนี SET100 ที่มีราคาปรับตัวบวกเพิ่มขึ้นมากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่
1.AEONTS ปิดที่ 177.50 บาท เพิ่มขึ้น 1.50 บาทหรือ 0.85%
2.KCE ปิดที่ 52.00 บาท เพิ่มขึ้น 1.00 บาทหรือ 1.96 %
3.BLA ปิดที่ 34.75 บาท เพิ่มขึ้น 0.75 บาทหรือ 2.21%
4.SCGP ปิดที่ 56.25 บาท เพิ่มขึ้น 0.75 บาทหรือ 1.35%
5.INTUCH ปิดที่ 73.75 บาท เพิ่มขึ้น 0.50 บาทหรือ 0.68%
ส่วนดัชนี SET100 ที่มีราคาปรับตัวลดลงมากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่
1.SCC ปิดที่ 346.00 บาท ลดลง 8.00 บาท หรือ 2.26 %
2.BH ปิดที่ 225.00 บาท ลดลง 6.00 บาท หรือ 2.60%
3.EGCO ปิดที่ 177.00 บาท ลดลง 3.00 บาท หรือ 1.67%
4.CPN ปิดที่ 68.25 บาท ลดลง 1.25 บาท หรือ 1.80%
5.JMT ปิดที่ 76.00 บาท ลดลง 1.00 บาท หรือ 1.30%
ส่วนดัชนี SET100 ปิดที่ 2,257.30 จุด ลดลง -11.01 จุด หรือ -0.49% ด้านดัชนี SET50 ปิดที่ 996.41 จุด ลดลง -5.32 จุด หรือ -0.53% และดัชนีตลาด mai ปิดที่ 686.60 จุด เพิ่มขึ้น 2.74 จุด หรือ 0.40%
นายกิจพณ ไพรไพศาลกิจ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์และนักกลยุทธ์ บล.โอยูบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยวันนี้ปรับตัวลงสอดคล้องกับตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชีย ตอบรับตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐเดือน ส.ค.ออกมาสูงกว่าคาด
อย่างไรก็ตามตลาดหุ้นไทยถือว่าแข็งแกร่งเมื่อเทียบกับตลาดโลก เช่นเดียวกับตลาดหุ้นสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม ที่ปรับลงมาน้อยกว่าตลาดอื่นในภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากประเทศในกลุ่มนี้มีแนวโน้มเศรษฐกิจเติบโตได้ดีในช่วง 2 ปีข้างหน้า สวนทางเศรษฐกิจยุโรปและสหรัฐที่มีโอกาสถดถอย เนื่องจากเอเชียได้รับผลกระทบน้อยกว่า
ขณะที่ปัจจัยที่ทำให้กลุ่มประเทศอาเซียนมีแนวโน้มทางเศรษฐกิจเติบโตมาจากการเปิดเมืองหรือการเปิดประเทศ, มีเงินทุนสำรองสูง โดยสิงคโปร์มีเงินทุนสำรองติดอันดับ 12 ของโลก, ไทย อันดับที่ 15, อินโดนีเซีย อันดับที่ 22, มาเลเซีย อันดับที่ 24, เวียดนาม อันดับที่ 26 และฟิลิปปินส์ อันดับที่ 28
ส่วนแนวโน้มการลงทุนวันพรุ่งนี้ มองว่าตลาดฯ ในระยะสั้นนี้น่าจะแกว่งตัวอยู่ในกรอบเพื่อรอผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในสัปดาห์หน้าว่าจะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยเท่าใด ภาพดังกล่าวยังเป็นแรงกดดันในระยะนี้ โดยประเมินกรอบการลงทุนวันพรุ่งนี้ให้แนวรับที่ 1,640 จุด และแนวต้านที่ 1,686 จุด