xs
xsm
sm
md
lg

เงินเฟ้อพุ่งรอบ 13 ปี กระทบ Index-ฟันด์โฟลว์-กำไรบจ.

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เอเซียพลัส ประเมินเงินเฟ้อพุ่งรอบ 13 ปี กระทบ SET Index - ฟันด์โฟลว์ และความสามารถทำกำไร บจ. พร้อมเปิดโผ 12 กลุ่มอุตสาหกรรม เงินเฟ้อส่งผลกระทบความสามารถทำกำไร หลังต้นทุนพลังงานเพิ่มขึ้น ส่งผ่านไปสู่ราคาสินค้าและบริการ ตลอดจนกระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค ขณะที่ปรับขึ้นราคาสินค้าตามต้นทุนไม่ได้ทั้งหมด วัสดุฯ -อสังหาฯ- รับเหมาฯ ยัน โรงไฟฟ้า- ยานยนต์ สะเทือน ขณะที่กลุ่มแบง์ กลับรับอานิสงส์บวก

บทวิเคราะห์หลักทรัพย์ จาก บล.เอเซียพลัส เปิดเผยว่า หลังจากกระทรวงพาณิชย์ ประกาศตัวเลข เงินเฟ้อเดือน พ.ค.65 ของประเทศไทย ออกมาที่ 7.1% YoY สูงสุดในรอบ 13 ปี เป็นตัวเลขที่สูงกว่า Consensus ซึ่งคาดการณ์ไว้ที่ 5.7% YoY แต่ถือเป็นระดับที่ใกล้เคียงกับที่เราคาดไว้ (กรอบ 6.6- 7.7%) ผลกระทบของเงินเฟ้อที่สูงเห็นว่ามีผลเชิงลบอย่างน้อย 3 ส่วน คือ 1)เป็นแรงกดดันทําให้ กนง. ต้องพิจารณาปรับขึ้นดอกเบี้ยเร็วขึ้น ซึ่งการปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.25% จะทําให้ SET Index เป้าหมายลดลง 88 จุดมาอยู่ที่ 1722 จุด

2) ค่าเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าลง ซึ่งในที่สุดก็จะส่งผลทําให้Fund Flow ไหลออกจากตลาดการเงินบ้านเรา และ 3) เป็นปัจจัยที่สร้างแรงกดดันต่อกลุ่มอุตสาหกรรมที่ไม่สามารถผลักภาระต้นทุนส่วนเพิ่มไปยังผู้บริโภคได้ ซึ่งจะทําให้ผลประกอบการ 2Q65 ชะลอตัวลง ส่วนกลุ่มอุตสาหกรรมที่พอจะเป็นความหวังน่าจะเป็นกลุ่มท่องเที่ยวและบริการ ซึ่งได้ประโยชน์จากการเปิดเมือง

เปิดโผ 12 กลุ่มอุตฯ ไหนรับผลกระทบดี- ร้าย หลังเฟ้อพ.ค. พุ่ง 7.1

บล.เอเซียพลัส ระบุด้วยว่า เงินเฟ้อพุ่งกระทบต่อความสามารถในการทำกำไรของหลายบริษัท โดยอัตราเงินเฟ้อเดือน พ.ค 65 ที่พุ่งขึ้นสูงสุดในรอบ 13 ปี จากผลกระทบของต้นทุนพลังงานที่เพิ่มขึ้นได้ถูกส่งผ่านไปสู่ราคาสินค้า และนอกจากจะส่งผลลบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคแล้ว ยังมีผลต่อความสามารถในการทำกำไรของหลายธุรกิจที่อาจไม่สามารถปรับราคาสินค้าได้ตามต้นทุนได้ทั้งหมด โดยฝ่ายวิจัยรวบรวมกลุ่มอุตสาหกรรมหลักๆที่น่าจะได้รับผลกระทบ ดังนี้

กลุ่มวัสดุก่อสร้าง : โครงสร้างต้นทุนการผลิตที่สำคัญคือต้นทุนพลังงาน อาทิ ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ รวมถึงต้นทุนค่าขนส่งที่เพิ่มตามราคาน้ำมันดีเซล กระทบต่อผู้ผลิตปูนซีเมนต์ (SCC,SCCC,TPIPL) ผู้ผลิตวัสดุก่อสร้าง (DCC,DRT,VNG) โดยผู้ผลิตแต่ละรายมีแนวทางบรรเทาผลกระทบคล้ายคลึงกัน ได้แก่การปรับราคาสินค้าเพิ่มขึ้น การใช้พลังงานทดแทน และล็อกราคาวัตถุดิบไว้ล่วงหน้าบางส่วน เชื่อผลกระทบต่อประมาณการกำไรปีนี้ยังมีไม่มาก แต่หากสถานการณ์ยึดเยื้อจะมีผลต่อการปรับประมาณการกำไรปีหน้า

กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง : รับผลกระทบจากต้นทุนวัสดุก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 40-50% ของต้นทุนก่อสร้างทั้งหมด โดยบริษัทรับเหมาที่รับงานภาครัฐจะได้รับการชดเชยบางส่วนจากค่า K ซึ่งในสูตรคำนวณค่า K จะมีองค์ประกอบของดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างประเภทต่างๆและดัชนีราคาผู้บริโภคของประเทศอยู่ด้วย โดยภาครัฐจะจ่ายชดเชยเฉพาะส่วนที่เกิน 4% จากค่า K ฐานที่คำนวณ ณ วันเปิดซองประกวดราคา

กลุ่มพัฒนาที่อยู่อาศัย : โครงสร้างต้นทุนงานก่อสร้างและแรงงานคิดเป็นสัดส่วนราว 40-50% ของต้นทุนรวม แม้ได้รับผลกระทบจากต้นทุนพลังงานและวัสดุก่อสร้างสูงขึ้น แต่คาดผู้ประกอบการสามารถบริหารจัดการได้ ผ่านการสั่งซื้อวัสดุก่อสร้างล่วงหน้า, ปรับรูปแบบงานก่อสร้างและ Design เช่น ลด Facility / Function ที่ไม่จำเป็นต่อการใช้งาน รวมถึงปรับขึ้นราคาขาย จึงเชื่อว่าจะไม่กระทบต่อประสิทธิภาพการทำกำไรอย่างมีนัยฯ

กลุ่มเช่าซื้อ : แนวโน้มความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ในกลุ่มเช่าซื้อบ้าง โดยกลุ่มสินเชื่อเช่าซื้อรถบรรทุก (THANI และ ASK) จะกระทบบ้าง แต่ลูกหนี้ของ THANI และASK ที่เป็นผู้ประกอบการรถบรรทุกรายกลางและรายใหญ่ (50% ของสินเชื่อรวม) มีสามารถในปรับเพิ่มค่าขนส่งจากลูกค้าได้ตามทิศทางราคาน้ำมัน ขณะที่กลุ่มสินเชื่อจำนำทะเบียน (MTC SAWAD และ TIDLOR) และสินเชื่อบัตรเครดิตและบุคคล (AEONTS) ยังเห็นแรงหนุนจากแนวโน้มความต้องการใช้สินเชื่อเติบโต จึงประเมินว่ายังบริหารจัดการได้

กลุ่มเกษตร-อาหาร : กลุ่มหมูและไก่จะกระทบจำกัด เพราะราคาหมูและไก่ปรับสูงขึ้นในงวด 2Q65 ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยประเมิน TU จะกระทบมากสุด กดดันจากแนวโน้มราคาวัตถุดิบอาหารทะเล (ทูน่า) บรรจุภัณฑ์ (กระป๋องและซอง) ส่วนผสมของอาหาร (น้ำมันพืช) ที่ปรับสูงขึ้นในปี 65

กลุ่มปิโตรเลียม และถ่านหิน : ต้นทุนพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตโดยรวม เพราะในกระบวนการผลิตและขนส่งจะมีต้นทุนเชื้อเพลิงเป็นส่วนประกอบหลัก ทำให้ต้นทุนโดยรวมของกลุ่มปรับตัวสูงขึ้น แต่อย่างไรก็ตามต้นทุนเชื้อเพลิงที่ปรับตัวสูงขึ้นดังกล่าวจะถูกชดเชยด้วยราคาขายเฉลี่ยผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมทั้งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ รวมถึงถ่านหิน ที่ปรับตัวขึ้นมีนัยฯ และในอัตราที่มากกว่าการปรับขึ้นของต้นทุนทำให้สุทธิแล้วสำหรับกลุ่มปิโตรเลียมและถ่านหินน่าจะได้ประโยชน์จากราคาพลังงานที่ปรับตัวขึ้น

กลุ่มปิโตรเคมี : ต้นทุนพลังงานที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบเชิงลบต่อกลุ่มปิโตรเคมีเนื่องจากต้นทุนเชื้อเพลิงเป็นส่วนประกอบหลักในกระบวนการผลิตและขนส่ง ขณะที่ราคาขายผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีปรับตัวขึ้นตามไม่ทัน เพราะถูกกดดันจากความต้องการใช้ที่ชะลอตัวจากภาวะเศรษฐกิจ ทำให้อัตรากำไรของกลุ่มปิโตรเคมีโดยภาพรวมปรับตัวลดลง

กลุ่มโรงไฟฟ้า :  สำหรับต้นทุนพลังงานที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มขึ้นตามไปด้วย คาดจะส่งผลกระทบโดยตรงในเชิงลบต่อกลุ่มโรงไฟฟ้า SPP ซึ่งมีสัดส่วนการขายไฟฟ้าให้กลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรมค่อนข้างสูง อย่าง BGRIM, GPSC,BPP ซึ่งใช้ก๊าซธรรมชาติ, ถ่านหิน เป็นต้นทุนการผลิตหลักกว่า 50% จึงส่งผลกระทบโดยตรงต่อ margin กำไร สะท้อนได้จากผลประกอบการที่ย่ำแย่ในช่วง 1Q65 และคาดยังต่อเนื่องในช่วง 2Q65 แม้จะมีการปรับขึ้นค่า ft เพื่อชดเชยต้นทุนพลังงานได้บ้างก็ตามแต่คาดยังชดเชยไว้ได้ไม่หมด

กลุ่มยานยนต์ :  หลักๆ รับผลกระทบจากต้นทุนเหล็ก แต่เริ่มมีการทยอยเจรจาส่งผ่านราคาสินค้าไปยังค่ายรถยนต์ คาดทิศทางมาร์จิ้นเริ่มดีขึ้นช่วง 2H65 เลือกหุ้นที่สถานะการเงินเป็น Net Cash ภายใต้สถานการณ์ที่มีความไม่แน่นอนสูง คาดประคองการจ่ายเงินปันผลใกล้เคียงปีก่อน อย่าง SAT(FV@B24) และ STANLY(FV@B241)

กลุ่มเครื่องดื่ม : (OSP, SAPPE) ต้นทุนหลักๆ ที่ปรับขึ้น คือ ขวด อย่าง แก้วและพลาสติก แต่ละบริษัทมีการบริหารจัดการแตกต่างกัน อย่าง OSP ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ราคา 12 บาท ส่วน SAPPE ที่มีการบริหารต้นทุน Stock แทน เลือก OSP(FV@B37) จากการครองส่วนแบ่งการตลาดเบอร์ 1 ในไทย หากต้นทุนลดย่อมได้ประโยชน์จาก Economies of scale มากกว่า

กลุ่มร้านอาหาร : M(FV@B60) รับผลกระทบจากต้นทุนวัตุดิบ อย่างหมู (สัดส่วน 20% ของต้นทุนผลิต) ที่ใช้การ Lock ราคารายเดือน (ส่วนเป็ด 20% ของต้นทุน Lock ต้นทุนทั้งปีแล้ว) รวมทั้งทิศทางราคาน้ำมันดีเซลที่ปรับขึ้น ส่งผลต่อค่าขนส่ง (สัดส่วน 3% - 5%ของ CGS) อย่างไรก็ดีฝ่ายวิจัยให้น้ำหนักการฟื้นตัวของรายได้ ล่าสุด พ.ค. ฟื้นตัวในระดับ85% ของ Pre-COVID เทียบกับ 77% ช่วง เม.ย. 65 และ 80% ในงวด 1Q65

กลุ่มธนาคาร : ความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือนและธุรกิจ อาจถูกกดดัน แต่ประเมินอยู่ภายใต้การบริหารจัดการ ตามแผนการปรับโครงสร้างหนี้ระยะยาวให้กับลูกหนี้และการตั้งสำรองล่วงหน้า ก่อนหน้านี้ กอปรกับหาก กนง. เริ่มขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายและ ธ.พ. เริ่มขยับอัตราดอกเบี้ย M – Rate ตามคาดหนุนกำไรก่อนสำรอง (PPOP) สูงขึ้น ทำให้ความสามารถในการตั้งสำรอง (ECL) สูงขึ้น ภาพรวมข้างต้นบวกกับ ธ.พ. ใหญ่ อย่าง BBL(FV@B152), KBANK(FV@B174), KTB(FV@B16.1) และ SCB(FV@B140)


กำลังโหลดความคิดเห็น