"สุพัฒนพงษ์" ลั่นมาตรการระยะสั้นพร้อมรับมือทุกวิกฤต รวมถึงกรณีความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน มั่นใจเศรษฐกิจไทยปี 65 โตได้ 4% นักท่องเที่ยวทยอยเข้าไทยตามเป้า คลังชู 7 เรื่องขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ทั้งการลงทุน นโยบายการเงิน การคลัง และเศรษฐกิจดิจิทัล ”อีอีซี” เร่งเครื่องลงทุน 2.2ล้านบาทใน 5 ปี หวังอีก 7 ปีข้างหน้า ไทยก้าวสู่ประเทศพัฒนา ด้าน"ชัยวุฒิ"ย้ำเศรษฐกิจดิจิทัลมาแน่ภายใน 5 ปี พร้อมลุยกวาดล้างอาชญากรรมไซเบอร์ หวังสร้างความเชื่อมั่นบนแพลตฟอร์มออนไลน์ เอกชนรัฐประสานเสียงเศรษฐกิจไทยโตแน่ "ผยง"แนะเกาะกระแสเมกะเทรนด์ช่วยเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวเข้มแข็ง ส่วนEAบิ๊กพลังงานบริสุทธิ์เน้นพัฒนาเทคโนโลยี และศักยภาพคนช่วยดึงนักลงทุนต่างชาติได้ ด้านศุภชัย เจียรวนนท์" บิ๊กบอสซีพี มองธุรกิจยุคใหม่ต้องปรับเปลี่ยนองค์กรรับยุคดิจิทัล พลังงานสะอาด
นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวปาฐกถาในงานสัมมนาออนไลน์ 2022 Next Economic Chapter: New Challenges and Opportunities ขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลังวิกฤตโควิด-19 จัดโดย Ibusiness และธนาคารกรุงไทยว่า ปี 2565 เศรษฐกิจไทยยังคงมีสัญญาณบวกที่ยังเติบโตต่อเนื่องโดยคาดว่าจะโตได้ในระดับประมาณ 3-4% จากปี 2564 ตามการคาดการณ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)และกระทรวงการคลังแม้ว่าระยะสั้นจะมีความท้าทายจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆแต่รัฐได้เตรียมมาตรการที่จะดูแลไว้แล้วรวมไปถึงระยะยาวที่จะปรับโฉมอุตสาหกรรมไปสู่เป้าหมายใหม่เพื่อผ่านวิกฤติโควิด-19และพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทยให้กลับมาเข้มแข็งยิ่งกว่าเดิม
สำหรับระยะสั้นสิ่งที่รัฐบาลเตรียมไว้คือการสำรองวัคซีนเพื่อป้องกันโควิด-19 ถึง 90 ล้านโดสเพื่อรองรับการแพร่ระบาดที่ยังคงมีอยู่ รวมไปถึงมาตรการต่างๆที่จะเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจเช่น มาตรการคนละครึ่ง บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ฯลฯ มาตรการในการแก้ไขปัญหาหนี้ทั้งระบบ การดูแลภาวะเงินเฟ้อในการควบคุมราคาสินค้าอุปโภคและบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่จะรักษาขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศให้คงอยู่ได้แม้ระยะสั้นที่จะแทรกเข้าอย่างกรณีความขัดแย้งของรัสเซีย-ยูเครนซึ่งหากบานปลายรัฐบาลก็ยังคงจะมีนโยบายดูแลเพื่อประคับประคองการฟื้นฟูเศรษฐกิจต่อไป
นอกจากนี้ในระยะยาวรัฐบาลมีความตั้งใจส่งเสริมเศรษฐกิจใหม่ และอยากให้ภาคเอกชนมีบทบาทมากในการฟื้นตัวเศรษฐกิจใน 5 อุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ ประกอบด้วย 1.อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า 2.ท่องเที่ยว 3.ดิจิทัลและอิเล็คทรอนิกส์ 4.ยา 5.พลังงานสะอาดซี่งจะเสริมจากเศรษฐกิจเดิมหรืออุตสาหกรรมเดิมที่ไทยมีความเข้มแข็งอยู่แล้ว โดยรอเพียงภาคเอกชนที่จะมาลงทุนและวันนี้สัญญาณชี้ได้ตามตัวเลขที่กล่าวไปข้างต้น โดยเฉพาะนักลงทุนต่างประเทศมีความสนใจลงทุนในหลายๆเรื่องนี้มากขี้น และเชื่อมั่นว่าการดำเนินการเพื่อให้ประเทศไทยก้าวไปสู่อุตสาหกรรมยุคใหม่ให้ได้จะเป็นกำลังสำคัญเป็นจุดสำคัญที่รัฐบาลต้องร่วมมือกับเอกชนเพื่อความเข้มแข็งมากกว่าเดิมและดีกว่าเดิม
*คลังชู7เรื่องขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย*
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวในงานเดียวกันว่า ใน ปี 2565 จะเป็นปีที่เศรษฐกิจฟื้นตัว แต่ต้องขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการโควิดควบคู่ไปด้วย โดยในปีนี้เศรษฐกิจไทยจะสามารถเติบโตได้ในระดับ 4% และเติบได้อีกในอนาคต จะต้องมีแรงขับเคลื่อน 7 เรื่องด้วยกัน ประกอบด้วย 1.การลงทุนจากภาครัฐผ่านโครงการต่างๆ โดยเฉพาะการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก หรือ EEC และการเปลี่ยนแปลงเป็นระบบเศรษฐกิจมูลค่าสูง ทั้งในด้านการผลิตและบริการ
2.การพัฒนาเศรษฐกิจใหม่หรือเศรษฐกิจดิจิทัล 3.การพัฒนาเพื่อรองรับการเปลี่ยนภูมิอากาศโลก 4.ด้านสุขภาพ หลังจากสังคมไทยเริ่มเข้าสู่สังคมสูงวัยจำเป็นจะต้องมีการปรับตัว ซึ่งในประเทศอื่นเริ่มเห็นแนวโน้มนี้เช่นกัน 5.การเปลี่ยนแปลงสู่ระบบการเงินดิจิทัล ซึ่งต่อจากนี้จะต้องมีการพัฒนารวมกันทั้งภาคสถาบันการเงิน ตลาดทุน และการกำกับดูแล เพื่อให้สินทรัพย์ดิจิทัล และการระดมทุนที่ไม่จำเป็นต้องมีคนกลางเกิดขึ้นผ่านระบบ P2P และคราวด์ฟันด์ดิ้ง
6.การพัฒนา SME ซึ่งประเทศไทยจำเป็นต้องมีการส่งเสริมให้มีสตาร์ทอัปเพิ่มมากขึ้น7.การใช้นโยบายการเงิน-การคลัง ซึ่งต่อจากนี้ในระยะกลาง-ยาว รัฐบาลยังต้องใช้นโยบายการคลัง และการเงินแบบผ่อนคลายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง
"นโยบายการคลังและการเงินต้องสอดประสานกัน เรายังต้องการเงินที่ผ่อนคลายเพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้เต็มที่ ส่วนการใช้จ่ายภาครัฐที่หลายคนห่วงว่าเพดานหนี้สาธารณะจะเกินเพดานนั้น การที่เราเพิ่มเพดานขึ้น 70% แต่ไม่จำเป็นว่าเราจะต้องใช้เต็มเพดานเสมอไปเราจะต้องบริหารตามความเหมาะสม และดูสถานการณ์ด้วย"
*"ชัยวุฒิ"ย้ำเศรษฐกิจดิจิทัลมาแน่อีก5ปี*
นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวเพิ่มเติมในงานว่า เป้าหมายสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลต้องมีจีดีพีให้ถึง 30% ของจีดีพีรวมให้ได้ภายในปี 2570 ซึ่งเราสามารถทำได้เนื่องจากมีการวางโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถรองรับการเติบโตได้ในอนาคต นอกจากนี้ประชากรไทยอยู่ในสังคมยังคุ้นเคยกับการใช้ช่องทางออนไลน์มากขึ้น โดยมีการใช้มือถือสมาร์ทโฟนติดต่อสื่อสารกันมากถึง 90 ล้านเครื่อง มีการใช้อินเทอร์เน็ตกว่า 70% ซึ่งสูงมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ
นอกจากนี้ รัฐบาลมีแผนที่จะจัดสร้างดิจิทัลวัลเล่ย์ในพื้นที่ EEC จำนวน 600 ไร่ เพื่อสร้างอาคาร ระบบอำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อให้ผู้ประกอบการ SME สตาร์ทอัพทางด้านดิจิทัลมาใช้ลงทุน และทำธุรกิจใหม่ๆ ในด้านดิจิทัล ร่วมถึงการดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติเข้ามาด้วยการส่งเสริมสิทธิประโยชน์การลงทุนเพื่อให้เกิดธุรกิจใหม่ๆ ด้านดิจิทัลในไทยบนพื้นที่ EEC
สุดท้ายคือ การสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ระบบสิ่งแรกที่ผมจะทำคือการออกฎหมายและกฎเกณฑ์เพื่อแก้ไขปัญหานี้ให้ดียิ่งขึ้น และอาจมีการแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เพิ่มอำนาจให้ภาครัฐ เพิ่มอำนาจให้ตำรวจในการดำเนินคดี และต้องช่วยกันเตือนพ่อแม่พี่น้องให้รู้เท่าทัน ให้มีภูมิต้านทานภัยที่มาจากโลกออนไลน์ทั้งหมด
*เอกชน-รัฐประสานเสียงศก.ไทยปีนี้โตแน่4%*
นายคณิศแสงสุพรรณเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) กล่าวว่าปี 2565เศรษฐกิจไทยมีโอกาสเติบโตได้ระดับเฉลี่ย 4%จากปี 2564แม้ว่าจะคงไม่อาจกลับไปสู่ระดับก่อนเกิดโควิด-19ได้ซึ่งคาดจะต้องใช้ระยะเวลาอีก 12-15เดือนโดยสกพอ.มีเป้าหมายที่จะขับเคลื่อนการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี)ระยะ 2ใน 5ปี(ปี2565-69 )ให้ได้ 2.2ล้านล้านบาทหรือเฉลี่ย 6แสนล้านบาทต่อปีที่จะมีส่วนสำคัญที่จะผลักดันให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้ปีละ 5%และหากทำได้สัดส่วนนี้ติดต่อกันอีก 7ปีก็จะทำให้ไทยพ้นจากกับดักรายได้ปานกลางก้าวสู่ประเทศพัฒนาได้ในปี 2572ตามเป้าหมายที่วางไว้
ขณะที่นายผยงศรีวณิชประธานสมาคมธนาคารไทยและกรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงไทย (KTB)กล่าวว่าในปี 2565เศรษฐกิจไทยกำลังเข้าสู่เส้นทางการฟื้นตัวที่ชัดเจนขึ้นหลังจากเผชิญกับสถานการณ์วิกฤตในช่วง 2ปีที่ผ่านมาโดยที่ประชุมร่วมคณะกรรมการภาคเอกชน 3สถาบัน (กกร.)ครั้งล่าสุดได้คาดการณ์ว่าปี 2565เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้มากขึ้นที่ 3.0-4.5%เทียบกับปี 2564ที่ขยายตัว 0.5-1.5%แต่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังมีอัตราการฟื้นตัวไม่เท่ากันในแต่ละภาคส่วนและยังมีความเปราะบางสูงโดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวและกำลังซื้อของครัวเรือนที่ถูกกดดันจากภาระหนี้ที่สูงขึ้นรวดเร็วจากผลกระทบของโควิด-19
สำหรับแนวโน้มต่อจากนี้ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐภาคเอกชนและภาคการเงินประเมินในทิศทางเดียวกันว่าต้องเร่งใช้โอกาสจากตัวขับเคลื่อนใหม่ๆ (New growth driver)และกระแสเมกะเทรนด์ของโลกเพื่อเร่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้ฟื้นตัวอย่างเข้มแข็งบนแนวคิดของการเติบโตอย่างทั่วถึงและยั่งยืนโดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลสมัยใหม่เข้าไปเปลี่ยนโฉมการดำเนินธุรกิจจะเป็นไปในวงกว้างและเข้มข้นขึ้นซึ่งประเทศไทยมีความตื่นตัวและเป็นตัวแปรสำคัญในการกำหนดทิศทางของทุกภาคส่วนรวมทั้งภาคการเงินในการปรับตัวสู่โมเดลเศรษฐกิจใหม่
*EAแนะพัฒนาคนเทคโนโลยีดึงต่างชาติลงทุน*
นายสมโภชน์อาหุนัยประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทพลังานบริสุทธิ์จำกัด (มหาชน)หรือ EAกล่าวว่าการดำเนินงานของบริษัทในยุคดิจิทัลต้องปรับตัวเพื่อให้ทันกับเทรนด์ของโลกเน้นพลังงานสะอาดและการพัฒนาสินค้าด้วยการเพิ่ม value addedสร้างแบรนด์เพื่อแข่งขันกับต่างชาติได้ รวมถึงการพัฒนาคนให้มีศักยภาพเพื่อผลักดันให้จากเดิมค่าแรงต่ำจะได้เพิ่มสูงขึ้นต้องเร่งพัฒนาเพราะไม่เช่นนั้นเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศจะไหลไปยังประเทศเพื่อนบ้าน
ทั้งนี้ EAเริ่มจากการเป็นบริษัทที่ทำการพลังงานทางเลือกพลังงานสีเขียวจึงเป็นเป้าหมายหลักเพราะจากเดิมการใช้น้ำมันจะหันไปใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นดังนั้นต้องช่วยกันแก้ปัญหาซึ่งปัจจุบันการใช้ไบโอดีเซลจะน้อยลงเพราะอนาคตในไม่ช้าเครื่องบินที่บินไปประเทศต่างๆจะมีการวัดค่าคาร์บอนหากเกินมาตรฐานต้องจ่ายภาษีและ EAมุ่งพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆเพื่อใช้ไฟฟ้าแทนน้ำมันทั้งเรือรถที่เน้นการใช้ไฟฟ้าแทนการใช้น้ำมัน
*CPเน้นปรับตัวรับดิจิทัล*
นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ CP กล่าวว่าการทำธุรกิจยุคใหม่ต้องปรับเปลี่ยนองค์กร เพราะยุคปัจจุบันไม่ว่าการทำงานหรือหรืออื่นๆ ปรับเปลี่ยนไป คนหันมาใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้น แทบทุกธุรกิจต้องพึ่งพาอินเทอร์เน็ต
โดยมองว่าปีนี้ เชื่อว่าไม่นานโควิด-19 จะกลายเป็นโรคธรรมดาที่รักษากันได้คล้ายๆ ไข้หวัดทั่วไป จึงไม่น่าจะส่งผลต่อเศรษฐกิจเหมือนช่วงการระบาดแรกๆ ดังนั้น เชื่อว่าทิศทางเศรษฐกิจน่าจะขับเคลื่อนไปได้ แม้ทั่วโลกจะรับรู้ถึงผลกระทบจากตัวเลขเงินเฟ้อที่สหรัฐฯ
อย่างไรก็ตาม การบริหารงานยุคหลังโควิดและในอีก 5 ปีข้างหน้า พัฒนาสินค้าเกษตรและส่งเสริม SME สร้างวิสาหกิจชุมชน smart farming ด้านโลจิสติกส์ ส่งเสริม EEC smart city เป็นต้น ส่วนบุคลากรนั้นจะต้องปั้นนักวิทยาศาสตร์ เพราะไทยเราควรส่งเสริมเด็กที่จบด้านวิศวกรรม และไอที เพราะยุคสมัยนี้ การทำงานยุคดิจิทัลต้องอาศัยความชำนาญด้านเทคโนโลยี ในส่วนของซีพี เองใช้ระบบไอทีต่อเนื่องมา เพราะพฤติกรรมของคนยุคใหม่เปลี่ยนไป คนจะไม่เดินทาง การสั่งอาหาร การดูแลสุขภาพ และอื่นๆ สามารถทำผ่านอินเตอร์เน็ตได้