สำนักข่าวซินหัว แถลงอย่างเป็นทางการว่าจะออกคอลเลกชันภาพถ่ายสื่อดิจิทัลผ่านโทเค็นที่ไม่สามารถเปลี่ยนได้ หรือ NFTs ซึ่งเป็นครั้งแรกสำหรับสื่อจีนในการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน แม้ว่าทางรัฐบาลจีนจะเดินหน้ากวาดล้างทุกส่วนที่เกี่ยวของกับคริปโตและบิทคอยน์ก็ตาม
จากการรายงานของ cointelegraph ระบุว่าการออกแถลงการโดยสำนักข่าวซินหัว ระบุในประกาศอย่างเป็นทางการว่ามีแผนจะออก NFTs เป็นภาพถ่ายจำนวน 11 ภาพ ทั้งหมดถ่ายโดยนักข่าวในปี 2564 โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายทางออนไลน์ เวลา 20.00 น. (1200GMT) ในวันที่ 24 ธันวาคม แต่ละรุ่นจำกัดจำนวน 10,000 ชุด ซึ่งคอลเลกชั่นดังกล่าว รวมถึงภาพถ่ายฉลองครบรอบ 100 ปีของพรรคคอมมิวนิสต์จีนเพื่อที่จะ "ประทับความทรงจำดิจิทัลไว้ในเมตาเวิร์ส" ข้อความที่ระบุในเอกสารดังกล่าว
ขณะที่ The Securities Times ซึ่งเป็นสื่ออย่างเป็นทางการ ก่อนหน้านี้เคยเรียก metaverse ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ใช้ร่วมกันซึ่งใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือนเป็น "แนวคิดที่ยิ่งใหญ่และมายา" ขณะที่ People's Daily ซึ่งเป็นกระบอกเสียงของพรรคเมื่อเดือนที่แล้ววิพากษ์วิจารณ์พวกเขาว่าอาจเป็นการฉ้อโกง
อย่างไรก็ดีก่อนหน้านี้ที่สาธารณรัฐประชาชนจีน (PRC) พยายามในการกีดกันเทคโนโลยีบล็อคเชนไม่ว่าจะเป็นการปราบปราม crypto ทั่วประเทศทั้งการห้ามทำเหมือง Bitcoin (BTC) และ Ether (ETH) โดยประเทศจีนได้ตั้งเป้าไปที่ NFTs และ metaverses และเสนอว่าพวกเขาควรได้รับการตรวจสอบอย่างหนัก แม้จะมีความรู้สึกต่อต้าน crypto แต่ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยี Tencent และ Huawei ก็ยังคงเดินหน้าในความพยายามสร้างอาณาจักรธุรกิจในพื้นที่โลกเสมือน metaverse
ขณะเดียวกันในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคริปโตอื่นๆ ในประเทศจีนก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน โดยในช่วงต้นเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปราบปรามการคริปโตในวงกว้าง เว็บไซต์บางแห่งในกรุงปักกิ่ง รวมถึง ChainNews ได้ทำการปิดตัวลง ซึ่งหลายแพลทฟอร์มด้านบล็อกเชนและคริปโตได้ย้ายออกไปและมุ่งเน้นไปที่ชุมชนที่กำลังเติบโตบน Twitter และ Telegram แทน
อย่างไรก็ตามสิ่งที่น่าแปลกใจเพราะไม่ใช่ครั้งแรกของประเทศที่เข้าสู่ NFT ในช่วง "DeFi Summer 2.0" โดย South China Morning Post ได้สร้างชุดของ NFT โดยใช้มาตรฐานโทเค็นใหม่ที่เรียกว่า "ARTIFACT" ซึ่งออกแบบมาเพื่อรักษาทรัพย์สินในอดีตบนบล็อกเชน
อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่ควรทราบคือการที่ SCMP ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ที่ฮ่องกง ด้วยเหตุนี้จึงได้รับประโยชน์จากความเป็นอิสระระดับสูงจากเขตพื้นที่บริหารพิเศษ โดยไม่ถูกครอบงำจากรัฐบาลจีน ตลอดจนอำนาจบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และตุลาการที่เป็นอิสระซึ่งเป็นที่รู้จักในฮ่องกง
ขณะที่ NFTs ในฮ่องกงเองนั้น ถือว่าไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่สำหรับเทคโนโลยีบล็อคเชนหรือการสร้าง NFT โดยในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา มีนักเคลื่อนไหวที่สนับสนุนฮ่องกงสามารถสร้างบทความจากหนังสือพิมพ์เพื่อประชาธิปไตยของฮ่องกง และบันทึกเป็น NFTs ไปยังบล็อกเชน นอกจากนี้ยังมีการอัปโหลดบทความ Apple Daily มากกว่า 4,000 บทความไปยัง ARWeave ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มจัดเก็บข้อมูลบล็อกเชนยอดนิยมที่ได้รับการสนับสนุนโดย Andreessen Horowitz
อย่างไรก็ดีท้ายที่สุด การเปิดตัว NFT ของจีนทำให้เกิดคำถามว่า การออก NFT ของ Xinhua ส่งสัญญาณต่อการทุจริต คอรัปชั่น หรือการหาช่องทางฟอกเงินผ่านเทคโนโลยีบล็อกเชนหรือไม่ ซึ่ง ณ ปัจจุบันนี้ ผู้สนับสนุน NFT ของจีนยังคงถูกจำกัดในกิจกรรมการค้าของตน เมื่อซื้อ NFT แล้วจะไม่สามารถขายต่อได้ ในขณะที่สกุลเงินเดียวที่มีให้สำหรับแฟน NFT ก็คือสกุลเงินประจำชาติ นั่นคือ หยวน จากจุดยืนต่อต้านคริปโตของจีนเป็นส่วนใหญ่ และจำเป็นต้องมีหลักฐานเพิ่มเติมว่าจีนจะย้ายเข้าสู่พื้นที่บล็อกเชน