xs
xsm
sm
md
lg

จับตารัฐล็อคดาวน์รอบใหม่ ฉุดจีดีพีปีนี้ส่อติดลบต่อเนื่อง-กำไร บจ.หด

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



บล.เอเซียพลัส จับตารัฐบาลประกาศยกระดับมาตรการคุมโควิด มีโอกาสเห็นการล็อกดาวน์ทั่วประเทศเหมือนปี 63 เสี่ยงฉุดเศรษฐกิจไทยปีนี้มีโอกาสติดลบต่อเนื่องอีกปี และกดดันการเติบโตของบริษัทจดทะเบียน เล็งปรับลดเป้ากำไร มอง 4 Sector ที่กำไรน่าจะถูกกดดันมากสุด คือ AUTO,MEDIA, TRANS, CONS ด้าน CGS-CIMB คัด 10 หุ้น Laggard มีอัพไซด์ 10-40% ช่วงตลาดผวาล็อกดาวน์

บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเซียพลัส (ASPS) เปิดเผยผ่านบทวิเคราะห์ว่า ผู้ติดเชื้อ Covid ในไทย ยังแนวโน้มยังเพิ่มและอาจนำไปสู่ Lockdown คล้ายปี 2563 โดยสัญญาณการเพิ่มความเข้มงวดมาตรการควบคุมการระบาดมีให้เห็นอย่างต่อเนื่อง แสดงได้จากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ยังน่ากังวลอยู่ ไม่ว่าจะเป็น

1. จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ (New case) เพิ่มขึ้นสูงล่าสุดเพิ่มขึ้น 7,058 ราย ยังสูงกว่าผู้รักษาหายรายใหม่ (Recovered case) ที่ 4,148 ราย กดดันให้จำนวนผู้ที่อยู่ระหว่าง รักษา (Active case) เดินหน้าทำ New High ต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมีอยู่ 67,614 ราย

2. การระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์ Delta (พบครั้งแรกที่อินเดีย) ซึ่งสามารถแพร่ระบาดได้รวดเร็วเริ่มรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สะท้อนจากสัดส่วนผู้ป่วยจากสายพันธุ์Delta ในเขต กทม. เพิ่มขึ้นจนล่าสุดแตะระดับราว 70% สูงกว่าสายพันธุ์Alpha (พบครั้งแรกที่อังกฤษ) ที่ราว 30% ส่วน ภาพรวมทั้งประเทศพบ COVID-19 สายพันธ์Alpha 65.1%, Delta 32.2% และ Beta (พบครั้งแรกที่แอฟริกาใต้) 2.6 %

และ 3. จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ตรวจพบในพื้นที่ต่างจังหวัดมากขึ้น สะท้อนถึงจำนวนผู้ติดเชื้อเริ่มขยายวงออกไปจากเดิมที่เคยกระจุดอยู่ในเขต กทม. และปริมณฑล โดยปัจจุบัน สัดส่วนผู้ติดเชื้อรายใหม่ใน กทม. ต่อ ต่างจังหวัดอยู่ที่ 50:50 จากก่อนหน้าที่อยู่ราว 60:40

ทั้งนี้จำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลให้การ Lockdown อาจตามมาได้ คล้ายกับช่วง 2Q63 ที่ผ่านมา ที่ Lockdownเข้มงวดนาน 38 วัน เพราะฉนั้นหาก Lockdown เข้มงวดเหมือน ช่วง 2Q63 ประเมิน GDP Growth ไทยปี 64 มีโอกาสติดลบต่อเนื่องเป็นปีที่ 2

มองจีดีพีปีนี้มีโอกาสติดลบ กระทบ Sentiment ตลาดหุ้น

โดย GDP Growth ปี 64 ASPS ประเมินมีโอกาสถูกปรับลง ถือเป็น Sentiment ลบต่อตลาดหุ้น โดยปัจจุบัน สำนักเศรษฐกิจส่วนใหญ่ และConsensus ที่คาด GDP Growth อยู่ในกรอบ 1.5-2%yoy ส่วน ASPS คาด 1.7% แต่ส่วนใหญ่ Assumption ยังไม่รวม Impact ของการ Lockdown 10 จังหวัด ระยะเวลา 1 เดือน ปลายเดือน มิย.- ปลายเดือน ก.ค. และปัจจุบัน รัฐบาลอาจพิจารณาออกมาตรการ Lockdown ทั้งประเทศ จึงเป็นประเด็นที่ต้องติดตาม เพราะหากเกิดขึ้น Impact การปรับลด GDP จะขึ้นกับระยะเวลายาวนาน

ASPS พิจารณาในอดีตจากการ Lockdown รัฐบาลได้ประกาศ Lockdown ระยะเวลา 26 มี.ค.-3 พ.ค.63 รวม 38 วัน ในรอบนั้นมูลค่า Real GDP แต่ละไตรมาสเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว พบว่า 1Q63 ลดลง 5.8 หมื่นล้านบาท และงวด 2Q63 ลดลงแรงถึง 3.23 แสน ล้านบาท และ 3Q63-4Q63 GDP มูลค่า GDP ยังลดลงต่อ เพราะทั่วโลกเผชิญโควิด และนักท่องเที่ยวไม่มีเข้าไทย รวมถึงภาคส่งออกลดลงตามการค้าโลก และถ้าพิจารณา Indicator ในปีที่แล้ว จะพบว่าความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลงต่อเนื่อง และ คนออกจากบ้านลดลง สะท้อนจาก Gogle Mobality

ดังนั้นหากประเมิน รัฐประกาศ Lockdown ทั่วประเทศรอบนี้ (รอรัฐบาลพิจารณา วันที่ 11 -12 กค) คาดจะกระทบเศรษฐกิจเหมือนปีที่แล้ว เบื้องต้นกำหนดไตรมาส 2Q63 เป็นกรณี Worst Case คาด GDP ไทยหากได้รับผลกระทบ Lockdown มูลค่าประเมินจะหดตัวลงไม่ควรเกินนี้ )เพราะปีเพราะเป็นไตรมาสที่เลวร้ายที่สุด) โดยประเมินว่า GDP งวด 2Q64-3Q64- ของประเมินมูลค่าจะลดลงจากปีที่แล้ว คาดจะหดตัวทั้ง qoq และ yoy และมีโอกาสสูงที่ GDP Growth ทั้งปี 64 อาจจะพลิกกลับมาติดลบ

หาก Lockdown กำไร บจ. 3Q64 อาจต่ำสุดของปี

นอกจากนี้อัตราการเติบโตของกำไรเป็นหนึ่งในตัวแปรสำคัญที่ช่วยในการผลักดันตลาด ซึ่งปัจจุบันกำไรบริษัทจดทะเบียนมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น จากการแพร่ระบาดหนักของ COVID-19 ในประเทศ และหากภาครัฐมีการประกาศ Lockdown ในช่วง 3Q64 นี้ มีโอกาสกดดันให้กำไรบริษัทจดทะเบียนเป็นหลุมต่ำสุดของปีและลดลงทั้ง qoq และ yoy ได้ ด้วย 3 เหตุผลดังนี้

1. ตัวเลขผู้ติดเชื้อเฉลี่ยในช่วง 3Q64 เกือบ 6 พันรายต่อวัน และสูงโดดเด่นเกิน 1 เท่าตัวจากไตรมาสที่ผ่านมา อีกทั้งช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนแทบไม่มีผู้ติดเชื้อเลย ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญที่รัฐใช้ในการพิจารณา Lockdown ประเด็นดังกล่าวส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจลดน้อยลง และกระทบต่อภาพรวมกำไรบริษัทจดทะเบียน

2. หากมีการ Lockdown จริง มาตรการน่าจะเข้มงวดขึ้นกว่าทั้งไตรมาสที่ผ่านมา และช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน มาตรการ Lockdown แม้จะช่วยควบคุมการแพร่ระบาดได้ แต่ต้องแลกมากับเศรษฐกิจฟื้นตัวได้ช้าลง ซึ่งหากเปรียบเทียบกับช่วง 3Q63 ไม่ได้มีมาตการคุมเข้มอะไร และช่วง 2Q64 มีเพียงมาตการแบ่งโซนสี ดังนั้นมาตการที่ออกมาน่าจะกดดันเศรษฐกิจและกำไรให้เป็นหลุมพอสมควร

3. 4 Sector ที่กำไรน่าจะถูกกดดันมากสุดหากมีการ Lockdown คือ AUTO,MEDIA, TRANS, CONS โดย Sector ดังกล่าวเคยพลิกเป็นขาดทุนในช่วง2Q63 ซึ่งอยู่ในช่วงที่มีมาตรการ Lockdown ขณะเดียวกันกำไรหุ้นกลุ่มพลังงานอาจพยุงกำไรตลาดได้น้อยลง หากกลุ่ม OPEC มีการปรับเพิ่มกำลังผลิตในไตรมาสนี้กดดดันให้ราคาน้ำมันมีโอกาสย่อตัวหลังจากทำจุดสูงสุดในรอบ 3 ปี ช่วงต้นไตรมาส

ทั้ง 3 ปัจจัยล้วนกดดันกำไรบริษัทจดทะเบียนเป็นหลุมต่ำสุดของปีและลดลงทั้งqoq และ yoy หากการ Lockdown คุมเข้มและยืดเยิ้อกินระยะเวลานาน นอกจากนี้ในมุมมอง EPS Consensus ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูงถึง 83.6 บาท/หุ้น(สูงกว่าที่ ASPS ประเมินไว้ที่ 71.2 บาท/หุ้น มาก) ถือเป็นความเสี่ยงสำคัญที่น่าจะเห็นการปรับประมาณการกำไรลงในช่วงต่อจากนี้
 
CGS-CIMB คัด 10 หุ้น Laggard อัพไซด์ 10-40% ช่วงตลาดล็อกดาวน์

ด้านบทวิเคราะห์หลักทรัพย์จาก บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CGS-CIMB เปิดเผยว่า จากการที่ตลาดหุ้นไทยปรับลดลงมา 3.1% ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ตามความกังวลจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศที่สูงต่อเนื่อง การกระจายวัคซีนที่ล่าช้า และมาตรการกึ่งล็อคดาวน์ 30 วัน ซึ่งในวันจันทร์หน้า (12 ก.ค.64) จะครบกำหนดมาตรการ

ทั้งนี้ หากจำนวนผู้ติดเชื้อยังสูงอยู่ในระดับ 5-6 พันรายวัน มองว่ามีความเป็นไปได้ที่ทางรัฐบาลจะออกมาตรการเพิ่มเติมหรืออาจจะเป็นการล็อคดาวน์ ในพื้นที่เสี่ยงสูงหรือพื้นที่สีแดง ชึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อตลาดฯ ได้อีกครั้ง ดังนั้นในช่วงนี้ตลาดหุ้นไทย มีโอกาสจะซึมๆ ลงรอความชัดเจนของการล็อคดาวน์ในสัปดาห์หน้า ซึ่งหากมีการล็อคดาวน์บางส่วนจริงก็อาจจะทำให้ตลาดตกใจลงไปที่ระดับ 1,540-1,550 จุดได้

อย่างไรก็ตาม ในระยะสั้น แต่น่าจะมีการฟื้นตัวเหมือนคราวก่อนที่ประกาศกึ่งล็อกดาวน์ได้ ดังนั้น มองว่าในช่วงนี้เป็นโอกาสทยอยสะสมหุ้นที่ปรับตัวลงมาแย่กว่าตลาด (laggard) ที่มี downside risk จำกัดและมี upside สูง จากราคาเป้าหมายเฉลี่ยของ Bloomberg consensus ซึ่งประกอบไปด้วย

BBL (-6.1%) มี upside 41% จากราคาเป้าหมายที่ 152.35 บาท

MC (-7.7%) มี upside 36% จากราคาเป้าหมายที่ 12.42 บาท

STEC (-11.3%) มี upside 32% จากราคาเป้าหมายที่ 17.73 บาท

SCB (-8.7%) มี upside 27% จาก ราคาเป้าหมายที่ 119.85 บาท

VGI (-11.4%) มี upside 23% จากราคาเป้าหมายที่ 7.25 บาท

ORI (-8.5%) มี upside 23% จากราคาเป้าหมาย ที่ 10.54 บาท

CK (-7.0%) มี upside 22% จากราคาเป้าหมายที่ 22.76 บาท

PLANB (-9.8%) มี upside 19% จากราคาเป้าหมายที่ 7.14 บาท

TOP (-8.6%) มี upside 19% จากราคา เป้าหมายที่ 62.93 บาท

SPRC (-10.4%) มี upside 13% จากราคาเป้าหมายที่ 10.24 บาท


กำลังโหลดความคิดเห็น